ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ตอบ

รูปแนบ: (ล้างรูป)
Restrictions: 10 per post (10 remaining), maximum total size 6.40 MB, maximum individual size 4.88 MB
เลือกที่นี่เพื่อลบไฟล์แนบของคุณ
คลิกเพื่อใส่รูปหรือลากรูปมาวางตรงนี้
ตัวเลือกเพิ่มเติม...
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พิมพ์คำว่า กิมหยง ลงในคำตอบ:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง

สรุปหัวข้อ

กระทู้โดย ทีมงานบ้านเรา
 - 13:38 น. 25 ธ.ค 61
ที่มา สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ชะลอการนำเข้ามะพร้าวตามความตกลงของ WTO และ AFTA ปี 2562 พร้อมเห็นชอบเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลือง เพื่อใช้ในการบริโภคทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิตอาหารสัตว์

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า คณะกรรมการฯ มีมติให้ชะลอการนำเข้ามะพร้าวตามความตกลงของ WTO และ AFTA ปี 2562 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีข้อมูลจากคณะทำงานระดับจังหวัด

โดยในช่วงกลางเดือนมกราคม 2562 จะมีการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะนำข้อมูลจากทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกร ที่จะเสนอข้อมูลปริมาณมะพร้าวที่ผลิตได้ภายในประเทศ มาประกอบการพิจารณา

รวมถึงมีการเสนอแนวความคิดเพิ่มเติม เพื่อให้การบริหารจัดการมะพร้าวในปี 2562 มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น อาทิ การกำหนดสัดส่วนการซื้อมะพร้าว โดยมีแนวคิดว่าจะต้องมีการซื้อภายในประเทศให้หมดก่อนแล้วค่อยมีการนำเข้าจากต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบให้มีการเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2562 เนื่องจากมีปริมาณไม่เพียงพอ ซึ่งประเทศไทยผลิตได้เพียงประมาณ 40,000 กว่าตัน ในขณะที่เราต้องการบริโภคทั้งภาคอุตสาหกรรมหรือการผลิตอาหารสัตว์เกือบ 3,000,000 ตัน

โดยกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ คือ เกรดถั่วเหลืองเพื่อสกัดน้ำมัน ราคา ณ หน้าฟาร์ม 17.50 บาท/ก.ก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 18.25 บาท/ก.ก. เกรดถั่วเหลืองเพื่ออาหารสัตว์ ราคา ณ หน้าฟาร์ม 17.75 บาท/ก.ก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 18.50 บาท/ก.ก. และเกรดถั่วเหลืองเพื่อแปรรูปอาหาร ราคา ณ หน้าฟาร์ม 19.75 บาท/ก.ก. ราคา ณ หน้าโรงงาน กทม. 20.50บาท/ก.ก.

อย่างไรก็ตามได้กำหนดกรอบการบริหารการจัดการการนำเข้าจำนวน 3 ปี ซึ่งจะพิจารณาปีต่อปี