ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

“3G” ของเรา ไม่ไกลตัว รู้ประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz. โดย กสทช.

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 14:26 น. 31 ส.ค 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

วันนี้(31 สิงหาคม 2555) เวลา 10.00 น. ที่โรงแรมซากุระ อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  กสทช.จัดงานประชาสัมพันธ์เชิงลึก การประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz. โดย ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์  เลขานุการ รองประธาน กสทช. และ ดร. พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์  นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการประมูลและ ออกแบบตลาด งานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และ คุณภิรพล ลาภาโรจน์กิจ  ส.ส.จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ มาร่วมเป็นเกียรติในงาน พร้อมแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นๆอีกมาก และประชาชนทั่วไปที่มารับฟังในงานนี้

[attach=2]

สิ่งของที่จะนำไปประมูลคือ ใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ในย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับการให้บริการข้อมูลหรืออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ผู้ที่รับใบอนุญาตจะใช้คลื่นความถี่นี้เพื่อให้บริการข้อมูลแบบไร้สายที่รวดเร็ว ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่สามารถใช้คลื่นความถี่ ดังกล่าวมากมาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค แท๊บเล็ต เป็นต้น และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆต่อไปในอนาคต ดังนั้น ความต้องการบริการข้อมูลมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันผู้ประกอบการมีคลื่นความถี่ไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต ส่งผลให้คุณภาพการให้บริการไม่ดีเท่าที่ควร การประมูลคลื่นความถี่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองความต้องการในการใช้บริการข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆได้ทัน 

ทั้งนี้รัฐไม่ได้ขายคลื่นความถี่ไปเลยแต่เป็นการให้ใบอนุญาตซึ่งมีระยะเวลา 15 ปี นับจากวันที่ได้รับใบอนุญาต ภายใน 15 ปีนี้ผู้รับใบอนุญาตสามารถใช้คลื่นความถี่ในการให้บริการได้ แต่ถ้าครบกำหนด 15 ปีผู้ประกอบการจะต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. แล้ว กสทช.จะนำคลื่นความถี่นั้นกลับมาประมูลใหม่ซึ่งการประมูลเป็นวิธีจัดสรรคคลื่นความถี่ที่ดีที่สุด นอกจากมีความโปร่งใสและยุติธรรมแล้วยังสามารถจัดสรรคลื่นความถี่ไปให้ผู้ที่สามารถนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์หลักของการประมูลนั้นอย่างน้อยที่สุดการประมูลต้องมีความโปร่งใสและยุติธรรม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม หากมีการแข่งขันทั้งในด้านคุณภาพและราคา ผู้บริโภคจะได้ผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นการประมูลจึงต้องเน้นไปที่การจัดสรรทรัพยากรให้กับผู้ที่สามารถนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม 

กฏของการประมูลจะส่งผลให้ผู้ประกอบการอย่างน้อยสามรายขึ้นไปได้รับใบอนุญาต ดังนั้นจะไม่มีการผูกขาดแน่นอน ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องลงสนามเพื่อแข่งขันทั้งในด้านราคาค่าบริการและคุณภาพของบริการ การแข่งขันเหล่านี้จะทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพและอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ กสทช.ได้ออกกฎเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการที่ชนะประมูลต้องสร้างเครือข่ายเพื่อให้บริการข้อมูลครอบคลุมประชากรร้อยละ 50 ภายในสองปี และ ร้อยละ 80 ภายในสี่ปี โดยมีความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับที่ดี ดังนั้นประชาชนส่วนใหญ่จะมีโอกาสได้ใช้ 3G หลังจากการประมูลอย่างแน่นอน 

คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ ของคนไทยทุกคน การจัดสรรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือหน้าที่ของ กสทช. หลังจากนี้ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า เมื่อเริ่มต้นการประมูลและสิ้นสุดการประมูลคลื่นแล้ว ค่าบริการและคุณภาพของ การบริการ 3 G  ของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะเป็นไปตามที่  กสทช. ได้ตั้งใจจะให้เป็นไปหรือเปล่า

หากใครยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่  2.1 GHz สามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ได้ ที่ไฟล์แนบด้านล่าง ครับ

คลิกดาวน์โหลด

ทีมงานประชาสัมพันธ์

 ส-ดีใจ

Jack Ass

จะสัมนาหาหอกอะไร ว่างมากพวกมึงก็รีบประมูลได้แล้ว จะแดกกันไปถึงไหน แม่งจะล้าหลังเท่า"เขมรแดง"แล้วรู้มั้งไหม

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยรองตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง