ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชักพระเมืองสงขลา

เริ่มโดย Big MaHad, 21:25 น. 31 ต.ค 55

Big MaHad

เนื่องในเทศกาลงานชักพระนี้ ผมเกิดข้อสงสัยขึ้นมากับเรือพระดังนี้ครับ

1. เรือพระดั้งเดิมของสงขลามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำกับวัสดุอะไร ท่านใดมีรูปเรือพระเก่าๆ โปรดนำมาเผยแพร่จะเป็นวิทยาทานมากครับ

2. เรือพระแบบโฟมสีฉูดฉาด อย่างในปัจจุบันนี้ มีมากี่ปีแล้วครับ เริ่มมีในสมัยใด วัดใดเป็นวัดแรกๆที่มีการประดิษฐ์กันมา ช่างที่ทำในยุคแรกๆ ยังพออยู่กันอีกไหมครับ

3. แต่ก่อนเขานำเรือพระมาประกวดประขันกันที่ไหนครับ ก่อนจะมาที่สระบัว หรือที่สระบัวแต่ดั้งเดิมแล้ว

ขอบคุณมากครับ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: Big MaHad เมื่อ 21:25 น.  31 ต.ค 55
เนื่องในเทศกาลงานชักพระนี้ ผมเกิดข้อสงสัยขึ้นมากับเรือพระดังนี้ครับ

1. เรือพระดั้งเดิมของสงขลามีลักษณะเป็นอย่างไร ทำกับวัสดุอะไร ท่านใดมีรูปเรือพระเก่าๆ โปรดนำมาเผยแพร่จะเป็นวิทยาทานมากครับ

2. เรือพระแบบโฟมสีฉูดฉาด อย่างในปัจจุบันนี้ มีมากี่ปีแล้วครับ เริ่มมีในสมัยใด วัดใดเป็นวัดแรกๆที่มีการประดิษฐ์กันมา ช่างที่ทำในยุคแรกๆ ยังพออยู่กันอีกไหมครับ

3. แต่ก่อนเขานำเรือพระมาประกวดประขันกันที่ไหนครับ ก่อนจะมาที่สระบัว หรือที่สระบัวแต่ดั้งเดิมแล้ว

ขอบคุณมากครับ
ส.อ่านหลังสือ รอคำตอบเหมือนท่าน
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

เณรเทือง

เล่าจากความทรงจำส่วนตัวนะครับ
สมัยตอนผมไปเที่ยวงานชักพระสงขลาตอนนั้นก็เด็กมาก อยู่ในช่วง 2511-2518
บ้านแม่เฒ่าผมอยู่บ้านบ่อสระ ตำบลชิงโค สมัยนั้นยังขึ้นต่ออำเภอเมืองสงขลา ยังไม่จัดตั้ง อ.สิงหนคร
ถนนจากด้านหัวเขาแดงเป็นต้นไปยังเป็นถนนลูกรังมีฝุ่นคลุ้ง เวลาฝนตกก็กลายเป็นดินเหนียวๆ
การชักพระ ที่นั่นเรียกลากพระ
เรือพระทำด้วยไม้ไม่มีล้อมีลักษณะคล้ายเรือสองลำวางขนานกันยึดด้วยแพกลางสำหรับวางพระประธาน
การตกแต่งใช้ไม้กระดานทาสี มีบุษบกหรือฉัตรประดับพระประธาน สวยคล้ายๆกัน
วัดที่มีลูกศิษย์ลูกหามากหน่อยก็ดูยิ่งใหญ่หน่อย
บนเรือพระมีมือตีกลองดีโพน มีภาชนะรองรับหนมต้ม หนมเจาะหู หนมลา
การลากใช้เชือก คนลากยืนสองแถว เมื่อลากผ่านไป คุณยายแก่ๆ บ้างก็มานั้งไหว้เรือพระและนำหนมต้ม
มาแขวนที่เรือพระ
ผมเคยลากพระจากวัดบ่อสระไปวัดต่างหน มีการประกวดเรือพระกันที่นั่น
บางปีมีเรือพระแฟนซีล้อเลียนตามหลังเรือพระจริงเค้าเรียก "โหมวเมา"
โดยทำเป็นเรือพระเล็กๆ มีคนปลอมเป็นพระประธานโดยทาดินเหนียวตามร่างกาย นั่งสมาธินิ่งมาก
มีคนเมาและคนชอบสนุกช่วยกันลาก

ชญาดา เวชศิริโรจน์

ตั้งกะจำความได้ ตอน ป.1 ก็เห็นเรือพระ แระค่ะ ตอนนี้ก็ 41 ปีแระ (ไม่ได้โม้ อิ อิ ) สมัยนั้นกับสมัยนี้ก็ทำกับโฟมเช่นกันค่ะสีสันไม่แตกต่างกัน แต่ในความรู้สึกสมัยนู้นนสวยกว่าเยอะ มีเกร็ดพญานาคที่ทำจาก?(น่าจะพลาสติก)หลากหลายสี เขียว ทอง เหลือง แดงคละกันไปแว๊ปแว๊ปแวมๆสะท้อนแสงสวยมากค่ะ ปัจจุบันไม่เห็นแระค่ะ ส่วนการประกวดก็จัดแถวแหลม สมิหลา แถวนางเงือกหนะค่ะ ส่วนแถวระแวกบ้านเราเค้าก็มีการจัดประกวดเรือพระลำเล็กๆ ยาวประมาณ 24 นิ้วได้กระมังค่ะ แต่ปัจจุบันไม่มีใครสานต่อแล้วค่ะ ก็เลยอดดูไปโดยปริยาย ที่เล่ามาก็คือความทรงจำที่ยังจำได้นะค่ะ โย่วว   

jj2508

เท่าที่จำได้ประมาณ ปี 2517 เดิมจัดที่แหลมสนอ่อนเรือพระยังเป็นลูกผสมหัวพยานาคทำจากไม้แต่กนกทำจากโฟมแต่ละลำจะไม่ใใหญ่มากยาวไม่เกิน 7 เมตร ต่อมาปี18 -25 มาจัดที่สระบ่อเฉพาะปี 18 วัดโพธิ์ทำลำใหญ่มากยาวประมาณ 15 เมตรและได้ที่ 1ปี 19 เรือพระจึงเริ่มลำใหญ่ 12-15 เมตรและมีการนำพลาสติกสะท้อนแสงมาทำเป็นเกล็ดพยานาคอยู่หลายปี วัดที่ได้ที่ 1 แข่งขันกันตลอดคือ วัดบางดานและวัดเขาแก้ว ปี 26 มาจัดที่หาดชลาทัศน์ ตั้งแต่ ปี 27 เป็นต้นมาก็จัดที่สระบัวตลอด ปัจจุบันไม่เหมือนเดิมเพราะจะใช้เรือพระลำเก่าตกแต่งเพิ่มเติ่มนิดหน่อยเพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับเงินรางวัล จึงไม่ค่อยได้เห็นของแปลกใหม่เท่าที่ควรเมื่อก่อนเขาทำปีต่อปีเปลี่ยนแบบตลอด ปี 17-19 ยังมีเรือพระทางน้ำมาจอดที่ริมทะเลแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว

wancc

อ้างจาก: jj2508 เมื่อ 12:30 น.  01 พ.ย 55
เท่าที่จำได้ประมาณ ปี 2517 เดิมจัดที่แหลมสนอ่อนเรือพระยังเป็นลูกผสมหัวพยานาคทำจากไม้แต่กนกทำจากโฟมแต่ละลำจะไม่ใใหญ่มากยาวไม่เกิน 7 เมตร ต่อมาปี18 -25 มาจัดที่สระบ่อเฉพาะปี 18 วัดโพธิ์ทำลำใหญ่อยู่หลายปี วัดที่ได้ที่ 1 แข่งขันกันตลอดคือ วัดบางดานและวัดเขาแก้ว ปี 26 มาจัดที่หาดชลาทัศน์ ตั้งแต่ ปี 27 เป็นต้นมาก็จัดที่สระบัวตลอด ปัจจุบันไม่เหมือนเดิมเพราะจะใช้เรือพระลำเก่าตกแต่งเพิ่มเติ่มนิดหน่อยเพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับเงินรางวัล จึงไม่ค่อยได้เห็นของแปลกใหม่เท่าที่ควรเมื่อก่อนเขาทำปีต่อปีเปลี่ยนแบบตลอด ปี 17-19 ยังมีเรือพระทางน้ำมาจอดที่ริมทะเลแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว
ขอเพิ่มเติมนะครับ เท่าที่่จำความได้เมื่อปี 10 เรือพระใช้รถบรรทุก 6 ล้อ ห้วและหางพญานาคแกะด้วยไม้ ส่วนลำตัวจะใช้ผ้าทาสี สมัยนั้นยังไม่มีการประกวดใด ๆ สำหรับสาเหตุที่เปลี่ยนการจัดประกวดเรือพระที่ชลาทัศน์ไปเป็นที่สระบัว เนื่องจากมีฝนและลมแรงมาก ทำให้เรือพระที่เข้าประกวดเสียหายครับ

คนเขารูปช้าง

สืบเนื่องจากคุณBig MaHad ได้ถามเกี่ยวกับเรือพระของสงขลาแต่ก่อนนี้มีลักษณะอย่างไร
ซึ่งภาพเรือพระเก่าของสงขลาผมได้นำมาลงไปแล้วในกระทู้เก่าๆ ขอนำมาให้ชมกันใหม่นะครับ
ก่อนอื่นของเล่าจากความทรงจำกันก่อนนะครับ เรือพระตอนผมเด็กๆนั้น ตัวเรือส่วนใหญ่ไม่ได้ทำจากโฟม
และลงสีฉูดฉาดเหมือนในทุกวันนี้นะครับ วัดในเมืองนั้นส่วนใหญ่จะเอารถบรรทุกมาต่อเป็นเรือพระ ช่วงไหนมีคนลากน้อย
ก็ขับช่วยได้ด้วย เอาไม้ไผ่เป็นลำมาผ่าเหลาผูกเป็นโครงเรือเข้ากับตัวรถ เอาผ้าดิบมาบุบนโครงไม้ไผ่รูปตัวเรือ
มีการลงสี และเขียนลวดลายบนผ้าเป็นเกร็ดพญานาค ส่วนหัวพญานาครู้สึกไม่ได้ทำจากโฟมนำมาอัดติดกันและสลักเป็น
หัวพญานาคในแบบ 3 มิติแบบในปัจจุบัน ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นไม้อัดติดบนโครงไม้จริง เลื่อยฉลุเป็นลายกนกหัวพญานาค
แล้วลงสีทรงจะออกไปในแบบ 2 มิติครับ

มาดูรูปเรือพระวัดโรงวาสในปี 2512 ที่น้าชายของผมท่านบวชในปีนั้นกันครับ

คนเขารูปช้าง

คราวนี้มาดูรูปย้อนถอยหลังไปเก่าสุดของเรือพระที่สงขลาที่ผมมีอยู่ครับ
เป็นภาพที่ถ่ายก่อนปี 2500 ครับ ก่อนผมเกิดอีกไม่ทราบปีแน่นอนน้าชายของผม
ได้ถ่ายไว้ตอนเรือพระผ่านมาแถวๆบ้าน บ้านอยู่ตรงนางงามซอย1 ด้านถนนไทรบุรี(หัวถนนสตูล)ครับ

ที่เป็นเป็นต้นไม้ใหญ่ๆอยู่หลังเรือพระคือมะขามใหญ่ในวัดดอนแย้ครับ

คนเขารูปช้าง

อีกรูปครับที่ถ่ายด้วยมุมใกล้เคียงกันมาก
มองจากริมถนนไทรบุรีบริเวณหัวถนนสตูลไปทางวัดดอนแย้ - วัดเลียบ

คนเขารูปช้าง

คราวนี้น้าชายผมเปลี่ยนตำแหน่งที่ถ่าย เดินไปตามถนนไทรบุรี
ถึงมุมวัดเลียบแล้วเลี้ยวขวาลงไปตามถนนสงขลาบุรีไปทางตะวันตก(ทะเลสาบ)เล็กน้อย
แล้วถ่ายภาพนี้มาให้ได้ชมกัน

จะเห็นป้ายโฆษณานาฬิกายี่ห้อดังอยู่ตรงมุมกำแพงวัดยางทองครับ

คนเขารูปช้าง

เมื่อน้าชายผมเดินลงไปตามถนนสงขลาบุรี ถึงมุมวัดยางทอง
และหันไปทางถนนนางงาม(ทิศใต้) ยืนอยู่หน้าสถานีดับเพลิงของเทศบาลฯ(ในปัจจุบัน)
ได้ถ่ายภาพเรือพระอีกลำมาให้ชมกันครับ
จะเห็นบางลำก็มีเชือกให้คนลากขณะตระเวนบนถนนในตัวเมือง บางลำไม่มีครับ

Destiny

ภาพทุกภาพของคุณคนเขารูปช้างสวยทุกภาพเลย เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า  ส.ยกน้ิวให้
อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจหนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"  พระบรมราชปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

Kungd4d

 ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ ขอขอบคุณท่านคนเขารูปช้างมากครับ ที่นำภาพเก่าๆ สวยๆ ในอดีตมาให้ชมกันครับ  ส.ก๊ากๆ ส.ก๊ากๆ

คนเขารูปช้าง

อ้างจาก: jj2508 เมื่อ 12:30 น.  01 พ.ย 55
เท่าที่จำได้ประมาณ ปี 2517 เดิมจัดที่แหลมสนอ่อนเรือพระยังเป็นลูกผสมหัวพยานาคทำจากไม้แต่กนกทำจากโฟมแต่ละลำจะไม่ใใหญ่มากยาวไม่เกิน 7 เมตร ต่อมาปี18 -25 มาจัดที่สระบ่อเฉพาะปี 18 วัดโพธิ์ทำลำใหญ่มากยาวประมาณ 15 เมตรและได้ที่ 1ปี 19 เรือพระจึงเริ่มลำใหญ่ 12-15 เมตรและมีการนำพลาสติกสะท้อนแสงมาทำเป็นเกล็ดพยานาคอยู่หลายปี วัดที่ได้ที่ 1 แข่งขันกันตลอดคือ วัดบางดานและวัดเขาแก้ว ปี 26 มาจัดที่หาดชลาทัศน์ ตั้งแต่ ปี 27 เป็นต้นมาก็จัดที่สระบัวตลอด ปัจจุบันไม่เหมือนเดิมเพราะจะใช้เรือพระลำเก่าตกแต่งเพิ่มเติ่มนิดหน่อยเพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับเงินรางวัล จึงไม่ค่อยได้เห็นของแปลกใหม่เท่าที่ควรเมื่อก่อนเขาทำปีต่อปีเปลี่ยนแบบตลอด ปี 17-19 ยังมีเรือพระทางน้ำมาจอดที่ริมทะเลแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว


ผมขอเสริมที่คุณjj2508 เล่าว่า ปี 26 มาจัดที่หาดชลาทัศน์ ด้วยรูปเรือพระในปี 2526 ดังนี้ครับ

คนเขารูปช้าง


คนเขารูปช้าง


คนเขารูปช้าง


dj cop

                  " ขอขอบคุณ คนเขารูปช้างท่ี่นำภาพประเพณีชักพระในอดีตมาให้ชมกัน   ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้  วันก่อนไปดูงานประกวดเรือพระที่สนามสระบัวสงขลา  พบภาพไม่ประทับใจเรือพระบางลำที่ไม่ได้รับรางวัล  เขียนข้อมความประท้วง ประชดใช้คำไม่สุภาพมาก ๆๆๆๆๆๆ ด่าบุพการี   ไม่สมควรเหมาะสมจริง ๆ  "   ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน

Big MaHad

ขอบคุณมากๆๆๆๆ ครับทุกท่านที่ได้เข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้ ความทรงจำ และภาพถ่ายเกี่ยวกับเรือพระในสมัยก่อนของเมืองสงขลาครับ ส-ดีใจ
อดีตคือรากฐานของปัจจุบัน...ปัจจุบันคือรากฐานของอนาคต