ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไอแบงก์ระส่ำพอร์ตเงินฝากรายย่อยหด ดึงรัฐวิสาหกิจฝากเพิ่มแก้เกม

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 15:02 น. 04 มี.ค 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

ไอแบงก์ระส่ำพอร์ตเงินฝากรายย่อยหด แห่ถอนเงิน 7 พันล้านบาท ดึงรัฐวิสาหกิจฝากเพิ่มแก้เกม

updated: 03 มี.ค. 2556 เวลา 00:10:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ไอแบงก์ระส่ำพอร์ตเงินฝากรายย่อยหด พากันแห่ถอนเงิน 7 พันล้านบาท ธนาคารใช้วิธีดึงรัฐวิสาหกิจฝากเพิ่มทดแทน ชี้สัญญาณอันตราย ด้าน "ธานินทร์" สั่งเร่งสะสางคดีให้จบ ประสานแบงก์ชาติสอบ 21 คดีเพิ่ม หวังมัดคนทำผิดให้อยู่หมัด

แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) หลังจากลูกค้ารายย่อยไม่เชื่อมั่นธนาคารที่มีหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นสูง จนสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ติดลบ จึงทยอยถอนเงินฝากออกไป ปรากฏว่านับตั้งแต่ต้น ก.พ. 2556 กระทั่งถึงขณะนี้มียอดถอนเงินออกแล้วราว 7,000 ล้านบาท โดยเฉพาะจากผู้ฝากเงินรายย่อยในเขตภาคใต้

ทั้งนี้พื้นที่ภาคใต้มีสาขา 30 แห่ง (ทั่วประเทศมี 107 สาขา) มีพอร์ตเงินฝากรายย่อยสูงที่สุด หรือกว่า 10% ของพอร์ตเงินฝากรวมทั้งหมด 1.1-1.2 แสนล้านบาทในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีลูกค้าเงินฝากที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐฝากเงินกลับเข้ามา 7,200 ล้านบาท อาทิ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ฝากเงินเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา 4,500 ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) อีกกว่า 1,000 ล้านบาท ดังนั้นจึงไม่ได้มีผลกระทบมากนัก

"การถอนเงินฝากของรายย่อย ถือว่ามีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของไอแบงก์ เนื่องจากพันธกิจหลักของธนาคารเน้นที่รายย่อยและลูกค้ามุสลิม ถึงแม้ว่าเมื่อดูพอร์ตเงินฝากทั้งหมดที่ผ่านมาจะมีสัดส่วนรายย่อยเพียง 20% หรือ 2.4 หมื่นล้านบาทก็ตาม แต่การถอนอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนดังกล่าวปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 15% หรือต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท จึงนับได้ว่าเป็นสัญญาณอันตราย" แหล่งข่าวกล่าว

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัจจุบันพอร์ตเงินฝากของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 70% ซึ่งกระทบเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายย่อยและลูกค้ามุสลิมเป็น 50% ภายในปี 2558-2559 จากปัจจุบันอยู่ที่ 25%

แหล่งข่าว กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีการตรวจสอบการปล่อยสินเชื่อ 21 คดีที่เป็นต้นเหตุทำให้ธนาคารเกิดปัญหาหนี้เสียจำนวนมากนั้น ขณะนี้นายธานินทร์ อังสุวรังษี กรรมการผู้จัดการ ได้สั่งให้เร่งสะสางคดีทั้งหมดโดยเร็ว โดยให้ขอความร่วมมือจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการตรวจสอบหาหลักฐานเพิ่มเติม จากผลตรวจสอบเดิมที่เคยส่งมาให้ธนาคารเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2555

โดยล่าสุดคณะกรรมการสอบสวนชุดที่ 1 ที่มีนายเปรมกมลย์ ทินกร ณ อยุธยา เป็นประธาน ได้ประสานกับทาง ธปท.แล้ว โดยขอความร่วมมือจาก ธปท.เป็นการพิเศษ จากปกติที่ ธปท.จะตรวจสอบการทำงานของธนาคารเฉพาะกิจเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

"การส่งเอกสารให้ ธปท.ตรวจสอบเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 21 คดี เป็นการขอให้ตรวจสอบเป็นพิเศษ ซึ่งหลังจากนี้ทาง ธปท.ก็จะส่งรายงานมาอีกครั้งในเดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้" แหล่งข่าวกล่าว

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า หากจะให้ ธปท. ตรวจสอบเพิ่มเติมคงไม่มีปัญหา เพราะปกติ ธปท. ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบแบงก์รัฐให้เป็นรายปีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อสอบแล้วหากพบเหตุผิดปกติด้านต่าง ๆ ก็จะมีการรายงานไปถึงธนาคาร และกระทรวงการคลังอย่างสม่ำเสมอ

กุบกับไปไหน


ก๋วยเจ๋ง

ลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็นใคร?วิธีอนุมัติก็น่าสงสัย ไม่ต้องเดาก็รู้ว่า"หนัก"

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง