ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

บทความ....เที่ยวเกาะสอง พม่าประเทศ ในมุมมองแบบโบราณคดีทัศนา

เริ่มโดย คุณาพร., 03:22 น. 29 ต.ค 53

คุณาพร.

บทความ......เที่ยวเกาะสอง พม่าประเทศ  ในมุมมองแบบโบราณคดีทัศนา

เนื่องด้วยต้องลงพื้นที่ศึกษาวิจัยใน "โครงการพัฒนานักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา กิจกรรมศึกษาชุมชน และแหล่งเรียนรู้ด้วยการสำรวจเชิงลึก ณ จังหวัดระนอง วันที่ 18-20 ตุลาคม 2553" โดยการนำทีมของท่าน รศ.ดร.ปัญญา เลิศไกร พานักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาฯ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราชลงไปสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชนในภาพรวมของจังหวัดระนองอันก่อให้เกิดประสบการณ์ในการลงพื้นที่ การสัมภาษณ์(informal interview) และสังเกตแบบมีส่วนร่วม(Participant Observation)ซึ่งให้ความแตกต่างจากการลงพื้นที่ ณ สถานที่แห่งอื่น เนื่องด้วยในจังหวัดระนองมีประชากรชาวพม่าที่อพยพโยกย้ายเข้ามาขายแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆเป็นจำนวนมาก  ถึงกับมีคำกล่าวของคนที่นี่ว่า "เดินเที่ยวในตลาดเจอคนสิบเอ็ดคน สิบคนเป็นพม่า" ส่วนอาชีพที่ชาวพม่านิยมทำกันในจังหวัดระนองเท่าที่สอบถามข้อมูลจากท่านผู้รู้หลายๆท่านได้ความว่า ที่นิยมเป็นอันดับต้นๆเลยคือเข้ามาขายแรงงานในการประมง  ขายแรงงานแบกหามปลาและสัตว์ทะเลตามท่าเรือ  นอกจากนี้ยังมีการแอบเปิดร้านค้าในลักษณะต่างๆ เช่น ร้านอาหาร  ร้านตัดผม ร้านคาราโอเกะ ร้านขายปลา  ร้านขายผัก ร้านโชว์ห่วย เป็นต้น

               เช้าวันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 หลังจากลงพื้นที่ศึกษาวิจัยในหัวข้อข้างต้นเสร็จผู้เขียนและเพื่อนๆในทีมจึงได้มีโอกาสเดินทางเข้าไปเรียนรู้ทางขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวพม่าที่เกาะสอง (Kawthaung) หรือเกาตอง ในภาษาพม่า(Kaw Thaung)ซึ่งเข้าใจว่าชาวพม่าเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "เกาตอง" แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น "เกาะสอง" จวบจนปัจจุบัน พวกฝรั่งที่มาเที่ยวไม่ได้เรียกว่าเกาะสองเหมือนคนไทยหรือพม่าแต่กลับเรียกว่า "วิคเทอเรีย พ้อยส์" (Victoria Point หรือ Victoria Point of  Ko Song) ไหนๆก็จะเดินทางเข้าสู่ผืนแผ่นดินของประเทศเพื่อนบ้านแล้วผู้เขียนจึงชักชวนท่านผู้อ่านทั้งหลายมาทำความรู้จักกับประเทศพม่ารวมทั้งประวัติศาสตร์ความเป็นมาของประเทศพม่าร่วมกันโดยย่อดังนี้

                กระทรวงการต่างประเทศ, ราชบัณฑิตยสถาน และสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้นิยามความหมายของคำว่าประเทศพม่าเอาไว้สรุปความได้ว่า ประเทศพม่า หมายถึง 1 (พะม่า) ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  พม่า ในสมัยก่อนเรียก "พม่าประเทศ" เพราะเป็นคำโบราณเก่าแก่คร่ำครึ มีตัวอย่างทั่วไปเช่น รามัญประเทศ(คือ มอญ) กัมพุชประเทศ(คือ เขมร) ล้านนาประเทศ(คือ ล้านนา) รวมทั้งสยามประเทศ(คือ กรุงสยาม)ประเทศพม่ามีพื้นที่ทั้งสิ้นราว 657,740 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย)  เมืองหลวงชื่อนครเนปิดอว์  มีประชากรราว 57.5 ล้านคน(ค.ศ. 2008) ภาษาราชการใช้ภาษาพม่า ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3.8 และศาสนาฮินดู ร้อยละ 0.05 (กระทรวงการต่างประเทศ,2553, ราชบัณฑิตยสถาน,2542, สุจิตต์ วงษ์เทศ,2545)

               นอกจากนี้ สุเนตร ชุตินธรานนท์, สุชาติ หงษา และอาทร จันทวิมล ได้กล่าวเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศพม่าเอาไว้ในกรณีศึกษา "มองพม่าผ่านมุมมองแบบพม่า" และ "พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า" สรุปได้ดังนี้ ในคำว่า "พม่า" ล้วนมีมิติที่หลากหลาย คำว่าพม่าอาจจะหมายถึงคนพม่าที่อยู่ในประเทศ หรือคนที่ลี้ภัยหรือประกอบธุรกิจการค้านอกประเทศ พม่ากลุ่มที่เป็นกองทัพ หรือประชาชนทั่วไป หรือเป็นพม่าที่เป็นชาติพันธุ์เบอมัน(Burman) หรือที่เป็นชนกลุ่มน้อยก็ได้  กิจกรรมของพม่ามีหลากหลายมหาศาลมาก บางครั้งไม่สามารถตีแบ่งแยกแยะว่าเป็นการเมือง ศาสนา สังคม และประวัติศาสตร์ เพราะสิ่งเหล่านี้มีการร้อยรัดเข้าด้วยกัน อย่างการย้ายเมืองหลวงจากกรุงย่างกุ้งไปที่เนปิดอว์ ก็สามารถอธิบายได้หลากหลายมิติทั้งการเมือง ศาสนา และประวัติศาสตร์ ขึ้นอยู่กับจะเอามิติส่วนไหนมานำเสนอ แต่ส่วนใหญ่จะพิจารณาจากตรรกะทางการเมืองมาเป็นตัวตั้ง ในการนับถือศาสนาของชาวพม่าก็เช่นเดียวกัน มีประชากรชาวพม่าที่นับถือพระพุทธศาสนาถึงร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าชาวพม่าส่วนใหญ่มีความศรัทธาในศาสนาพุทธมากเพียงไหน ตามความเชื่อและคติคิดแบบพม่าล้วนเชื่อว่าพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศพม่า เมื่อคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย ได้อุปถัมภ์การสังคายนา ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 236 ได้มีการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแถบ ประเทศต่าง ๆ รวม 9 สายด้วยกัน พม่าก็อยู่ในส่วนของสุวรรณภูมิด้วย และชาวพม่ายังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ทางตอนใต้ของพม่า ซึ่งในกรณีนี้เองสุชาติ หงษา(นักประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา)ได้แย้งเอาไว้ว่า สุวรรณภูมิไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสะเทิม แต่อยู่ที่นครปฐม โดยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆเช่นพระปฐมเจดีย์ เป็นประจักษ์พยาน
(สุเนตร ชุตินธรานนท์,2553, สุชาติ หงษา,2549, อาทร จันทวิมล,2548)

               จากทรรศนะของนักวิชาการที่ได้กล่าวมาข้างต้นจึงพอสรุปได้ว่า ประเทศพม่า คือชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  สมัยก่อนเรียก "พม่าประเทศ" เพราะเป็นคำโบราณเก่าแก่คร่ำครึมาเเต่โบราณ  ประเทศพม่ามีเมืองหลวงชื่อนครเนปิดอว์  มีประชากรราว 57.5 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คำว่า "พม่า" ล้วนมีมิติที่หลากหลาย โดยสามารถหมายถึงคนพม่าที่อยู่ในประเทศ หรือคนที่ลี้ภัยหรือประกอบธุรกิจการค้านอกประเทศ พม่ากลุ่มที่เป็นกองทัพ หรือประชาชนทั่วไป หรือเป็นพม่าที่เป็นชาติพันธุ์เบอมัน(Burman) หรือที่เป็นชนกลุ่มน้อยก็ได้ นอกจากนี้ชาวพม่าส่วนใหญ่ยังเชื่อว่า สุวรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองสะเทิม ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของประเทศอีกด้วย




ภาพประกอบ 1 ลงเรือไปเกาะสอง ประเทศพม่า

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่าโดยย่อ
(ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่าโดยย่อ  :   จากการศึกษาของ ภัทรดิศ ดิศกุล/สุเนตร ชุตินธรานนท์/สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ/ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ และ Maung Htin Aung  สรุปความโดย อ.คุณาพร ไชยโรจน์)
               
               ประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานมีทั้งยุคที่เรืองอำนาจ และยุคที่ตกต่ำจากผลของการรบพุ่งกับอริประเทศ  การเมืองในราชสำนัก และการล่าอาณานิคมจากประเทศทางแถบยุโรปตะวันตก เป็นดังที่ ภัทรดิศ ดิศกุล, สุเนตร ชุตินธรานนท์, สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ  และ Maung Htin Aung ได้ศึกษาไว้พอที่จะสรุปความรวมได้ว่า เป็นที่ยอมรับกันว่าพม่าเป็นประเทศที่ใกล้ชิดกันแค่ปลายจมูกกับไทย แต่คนไทยกลับรู้เรื่องของประเทศแห่งนี้น้อยมาก เรารู้เพียงแค่ประวัติศาสตร์การสู้รบที่มีมายาวนานแต่หากจะสาวไปถึงเรื่องราวความเป็น "พม่าศึกษา" แล้วนั้นช่างน่าสนใจเป็นยิ่ง เชื่อกันว่าชนชาติ "พยุ" หรือ "ปยู" ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในประเทศพม่าก่อนการอพยพลงมาของชนชาติทิเบต-พม่า เรียกว่า "อาณาจักรศรีเกษตร" ต่อมาราวปี พ.ศ. 1250-1300 ชาวปยูได้อพยพไปทำให้อาณาจักรศรีเกษตรเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ.1392 เมืองพุกามของชนชาติพม่า(เมืองพุกาม หรืออาณาจักรอริมัททนปุระ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของลุ่มแม่น้ำอิระวดี)ได้เริ่มเข้ามาอยู่ในขั้นประวัติศาสตร์พร้อมกับการที่พระเจ้าปยินพยะ ได้สร้างกำแพงล้อมรอบเมืองพุกาม รวมทั้งได้รวบรวมชนหลายเผ่าเข้าเป็นชาติเดียวกันและขยายอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเก่า  ต่อมาพระเจ้าอโนรถาได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1587 โดยงานที่สำคัญของพระองค์มี 2 อย่างก็คือ การก่อสร้างระบบชลประทานขึ้นทางทิศตะวันออกของเมืองพุกาม และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท

                พระเจ้าอโนรถาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1620  โดยมีพระเจ้าสอลูขึ้นครองราชแทนและทรงสิ้นพระชนชีพในปี พ.ศ.1627  พระเจ้ากยันซิตถาทรงขึ้นครองราชย์ต่อและขยายอาณาจักรพม่าจนเรืองอำนาจไปทั่วแหลมอินโดจีน นอกจากนี้พระเจ้ากยันซิตถายังทรงต้องเจียดเวลาส่วนหนึ่งมาปราบปรามเอาดินแดนคืนจากพวกมอญชาวหงสาวดีซึ่งตั้งตนเป็นอิสระ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องจวบจนพระเจ้ากยันซิตถาสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.1655 ราชโอรสของพระองค์คือเจ้าชายราชกุมารได้โปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำจารึก 4 ภาษาขึ้น(ภาษาบาลี  ปยู  มอญ  และพม่า)ต่อมาพระราชนัดดาของพระเจ้ากยันซิตถาทรงครองราชต่อคือ พระเจ้าอลองคสิถุ ซึ่งในสมัยรัชกาลของพระเจ้าอลองคสิถุนี้เองมีความยาวนานถึง 55 ปี ในพงศาวดารพม่าจารึกเอาไว้ว่าพระเจ้าอลองคสิถุ ได้ทรงปราบปรามกบฏทางภาคใต้ของแคว้นยะไข่ และทรงขยายอำนาจไปจนถึงเมืองตะนาวศรี จวบจนสิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ราว 70 พรรษา

                ผู้ที่ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าอลองคสิถุ คือพระเจ้านรถุ ซึ่งเป็นโอรสองค์ที่สองของพระองค์  ในระหว่างปี พ.ศ.1708-1716 เรื่องในราชสำนักถือเป็นเรื่องลับ แทบไม่มีบันทึกอะไรเอาไว้เลยจวบจนเจ้าชายนรปติสิถุ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์จากการช่วยเหลือของชาวลังกา  ต่อมาในปี พ.ศ.1754 เจ้าชายเขยะเถนขะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาโดยได้พระนามใหม่ว่า พระเจ้าถิโลมินโล พระองค์ทรงสร้างเจดีย์มหาโพธิ(เลียนแบบมหาวิหารโพธิที่พุทธคยา) รัชกาลของพระองค์คงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.1774 ต่อมาราชโอรสองค์แรกนามว่า นรสิงห์ อุซานา ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ จวบจนปี พ.ศ.1778 ราชโอรสองค์เล็กนาม เจ้าชายกโยซวาที่ 1 ก็ได้ขึ้นครองราชย์แทนและสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา(ปี พ.ศ.1793) เจ้าชายอุซานา(พระนัดดา)ขึ้นครองราชย์ต่อและสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นเพียง 4 ปีคือในปี พ.ศ.1799  ต่อมาโอรสของพระสนมได้แย่งราชสมบัติจากรัชทายาทโดยชอบธรรมของพระเจ้าอุซานา(เจ้าชายถินคถุ) โดยนรสีหบดี ได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินนาม "พระเจ้านรถิหปเต" (พระเจ้าหนีเจ๊ก) ในปี พ.ศ.1826 กองทัพจีนซึ่งมีชาวมองโกลเป็นแม่ทัพได้ยกทัพมาปราบพม่าจนถึงเมืองพุกาม พระเจ้านรถิหปเตได้เสด็จหนีไปยังเมืองแปร(คือที่มาของ ตรุกผยี หรือพระเจ้าหนีเจ๊ก)ต่อมามีการเจรจากันพระเจ้านรถิหปเตซึ่งทรงยอมแพ้และส่งคณะทูตไปยังกรุงปักกิ่งขอร้องให้พระเจ้ากุบไลข่าน ถอนกองทัพจีนออกไป ดินแดนทางภาคเหนือของพม่าจึงตกอยู่ใต้การปกครองของจีนจนถึงปี พ.ศ.1846

                ต่อมาพระเจ้านรถิหปเต ถูกราชโอรสของพระองค์เองคือ "เจ้าชายถิหถู" วางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ที่เมืองแปรเมื่อปี พ.ศ.1830 และในปีเดียวกันนี้เองที่กองทัพจีนได้ยกลงมาตีพม่าอีกรอบ(แต่พ่ายกลับออกไป) เมืองพุกามได้รับความบอบช้ำมากจากการรบครั้งดังกล่าวจนทำให้ชนชาติไทยที่เคยอาศัยอยู่ในพม่าไหวตัวขึ้นและมีการปกครองตนเองเป็นประเทศราชขึ้นต่อจีนแต่เพียงในนามเท่านั้น  โดยในระยะนี้ประเทศพม่าได้แบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ ทางทิศใต้ที่พวกมอญอาศัยอยู่ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าฟ้ารั่ว  ทางทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองอังวะ ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ 3 พี่น้องไทยคือ อถินขยะ ราชสังกรัม และถิหถุ ส่วนทางทิศตะวัน ออกคือเมืองตองอู "อถิขยะ"ได้ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินในปี พ.ศ.1890 จวบจนมีผู้ที่สืบเชื้อสายลงมาแต่พระองค์คือ "พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้" สามารถปราบเมืองหงสาวดีได้สำเร็จในปี พ.ศ.2082 และได้ตั้งราชอาณาจักรพม่าอันทรงอำนาจขึ้น

                พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงมีแม่ทัพสำคัญมีตำแหน่งว่า "บุเรงนอง" (พระเชษฐา) หลังจากตีเมืองหงสาวดีแตกแล้วพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ก็ทรงย้ายราชธานีที่ประทับมายังเมืองหงสาวดี จากนั้นก็ทำการรบพุ่งกับเมืองพม่า มอญ ยะไข่ และไทยใหญ่ และได้ทั้งหมดไว้ในราชอาณาจักร พอปี พ.ศ.2091 ก็ทรงยกทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาแต่ตีไม่สำเร็จจึงยกทัพกลับ(คราวสมเด็จพระสุริโยทัย และพระราชบุตรีขาดคอช้าง) หลังจากนั้นพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ก็ทรงติดสุราอย่างร้ายกาจจนพวกมอญเกิดกบฏขึ้นที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ทรงให้บุเรงนองออกจากเมืองหงสาหมายไปตีมอญให้ราบแต่ยังไปไม่ถึงเมาะตะมะพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ก็ถูกจับและลอบปลงพระชนม์ ช่วงนั้นเมืองหงสาวดีปั่นป่วนมากเพราะเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองแปรต่างแข็งข้อตั้งตนเป็นอิสระ บุเรงนองที่ว่าเก่งกล้าสามารถแล้วยังต้องหนีไปรวบรวมกำลังเสียระยะหนึ่ง  ครั้งกลับมาอีกทีบุเรงนองจึงปราบทั้งเมืองแปร เมืองตองอู และเมืองหงสาวดีเสร็จสรรพแล้วราชาภิเษกเป็น "พระเจ้าหงสาวดี" เมื่อปี พ.ศ.2094 พระองค์ทรงปราบได้ทั้งพม่า มอญ ไทยใหญ่ ยะไข่ ล้านนาเชียงใหม่ ประเทศล้านช้าง ตลอดจนตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อปี พ.ศ.2112  ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ ได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของการเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2112 ว่า "ในปี พ.ศ. 2112 รัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราช กรุงศรีอยุธยาต้องพ่ายแพ้แก่พม่าเป็นครั้งแรกให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) แห่งกรุงหงสาวดี  ครั้งนั้นกรุงศรีอยุธยาต้องเสียช้างเผือก 4 เชือก ขุนศึก 3 ท่าน ได้แก่ พระราเมศวร  พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามซึ่งเป็นหัวหน้าในการต่อสู้ข้าศึกให้แก่พม่าไปเมืองหงสาวดี และยังต้องส่งส่วยเป็นประจำอีกด้วย"



ภาพประกอบ 2 อนุสาวรีย์ผู้ชนะสิบทิศ หรือพระเจ้าบุเรงนอง ที่ท่าขึ้เหล็ก
ที่มาของภาพประกอบ 2 (www. gotoknow.org/file/wullopporn/lis...age%3D10)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองครองกรุงหงสาวดีอยู่นานถึง 30 ปีก็สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2124  เจ้าชายมังชัยสิงห์(ราชโอรส)ได้ขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดีองค์ที่สองทรงพระนามว่า "พระเจ้านันทบุเรง" แต่ไม่เข้มแข็งเท่าพระบิดา เมื่อครั้งยกทัพมาปราบประเทศไทยก็ทรงแพ้สมเด็จพระนเรศวรติดๆกันถึง 4 ครั้ง จวบจนหงสาวดีเสื่อมอำนาจลงเพราะความวุ่นวายหลายๆอย่างที่ตามมาภายในราชสำนัก  แม้จนพระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงเองก็มาอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้นของไทย  ต่อมาพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองถูก "นัดจินหน่อง" (ราชบุตรของพระเจ้าตองอู)ลอบวางยาพิษจนสิ้นพระชนม์ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่หงสาวดีตกต่ำทางอำนาจมาก เมืองพม่าแตกแยกกระจายออกเป็น 3 ก๊กคือเมืองแปร เมืองตองอู และเมืองอังวะ(ปี พ.ศ.2147 สมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จยกทัพหมายจะไปตีเมืองอังวะแต่ไปประชวรสวรรคตเสียก่อนที่เมืองหางของไทยใหญ่ กองทัพไทยจึงถอยกลับ) ต่อมาพระเจ้าอังวะนาม "มหาธรรมราชา" มีอำนาจกล้าแข็งมากปราบได้ทั้งเมืองแปร เมืองตองอู และเมืองมอญทางใต้(ช่วงนี้เองที่เมืองหงสาวดีได้กลับมาเป็นราชธานีอีกครั้งหนึ่ง) ต่อมาพระเจ้าหงสาวดีมหาธรรมราชาถูกลอบปรงพระชนม์โดยราชบุตรประจวบกับพระเจ้าแปรเรืองอำนาจขึ้นจึงทรงย้ายราชธานีไปที่เมืองอังวะอีกครั้งและเปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินเรื่อยมาตามลำดับดังนี้ พระเจ้าสุทโธธรรมราช  พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา  พระเจ้ามหาธรรมราชาธิบดี

                ต่อมาเมืองอังวะซึ่งเป็นราชธานีของพม่าแตกในราวปี พ.ศ.2295 เพราะถูกพระยาหงสาวดี "ตละปั้น" ตีแตก  ถึงปี พ.ศ.2296-2298 มีชาวพม่าคนหนึ่งชื่อ "อองไจยะ" ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงนามว่า "พระเจ้าอลองพญา" ยกทัพลงมาตีเมืองอังวะได้ รวมถึงตีเมืองใหญ่อีกหลายเมืองจนราบได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงทางฝ่ายใต้ของพม่าเสียใหม่คือ "เมืองร่างกุ้ง" หรือ "เมืองย่างกุ้ง" หลังจากที่พระเจ้าอลองพญาทรงครองราชได้เพียง 8 ปีก็ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคบิด ต่อมาโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอลองพญาได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อคือ พระเจ้านวงดอคยี  และพระเจ้าสินพยูชิน(พระเจ้าช้างเผือก)ตามลำดับ  ต่อมาพระเจ้าสินพยูชินทรงพอพระทัยโปรดให้ "อะแซหวุ่นกี้" ยกทัพลงมาปราบประเทศไทยในปี พ.ศ.2318 (สมัยเจ้าพระยาจักรี รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)แต่ต้องยกทัพกลับเพราะพระเจ้าสินพยูชินได้สิ้นพระชนม์ลงในห้วงเวลาดังกล่าวพอดี  ต่อมาเกิดเหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักขึ้นหลายเรื่องคือพระเจ้าสินคุถูกปลงพระชนม์โดย "โบดอปยา" ซึ่งต่อมาโบดอปยาได้สถาปนาตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ทรงพระนามว่า "พระเจ้าปะดุง" โดยพระองค์ทรงย้ายราชธานีของพม่าไปอยู่ที่ "เมืองอมรปุระ" ในปี พ.ศ.2328 พระเจ้าปะดุงได้ยกทัพลงมาตีประเทศไทยแต่พ่ายกลับไป(เรียกสงครามคราวนั้นว่า  สงครามเก้าทัพ)จวบจนในปี พ.ศ.2362 พระเจ้าพะคยีดอ ได้ทรงเสวยราชย์ต่อจากพระเจ้าปะดุง

                พระเจ้าพะคยีดอได้ทำสงครามกับอังกฤษและพ่ายแพ้อย่างราบคาบในปี พ.ศ.2369(ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์) ในช่วงนี้เองที่พม่าต้องเสียหัวเมืองมอญทางใต้ปากน้ำสาละวินตลอดเมืองทะวาย เมืองตะนาวศรี เมืองยะไข่ และเมืองอาหมทางต่อแดนอินเดียไปเป็นของอังกฤษ อนุชาของพระองค์ทรงนามว่า "ถรวัดดี" ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อและสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2389 พระเจ้าพุกาม จึงขึ้นครองราชสมบัติแทนและรบกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2394 (ในต้นรัชกาลที่ 4 ของไทย)รบกันครั้งนี้ปรากฏว่าอังกฤษได้ทั้งเมืองมอญ เมืองแปร และเมืองหงสาวดี ไว้ในครอบครอง ต่อมาพระเจ้ามินดง ได้ยกทัพมาตีเมืองอมรปุระได้โดยง่าย  ทรงจับพระเจ้าพุกามและสถาปนาตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินของประเทศพม่าในปี พ.ศ.2396 (ตรงกับรัชกาลที่ 4 ของไทย) พระเจ้ามินดงได้ทรงให้สร้างเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งตั้งอยู่เหนือเมืองอมรปุระเป็นราชธานีในราวปี พ.ศ.2400  พระเจ้ามินดงได้ส่งทูตไปเจรจาหย่าศึกกับอังกฤษ โดยอังกฤษได้หัวเมืองมอญทางฝ่ายเหนือไว้ในปกครองทั้งหมด แต่นั้นประเทศพม่าจึงแยกออกเป็น 2 อาณาเขตคือ "พม่าใต้" อยู่ในปกครองของอังกฤษ  และ "พม่าเหนือ" พระเจ้าแผ่นดินของพม่ายังคงปกครองตามเดิม

                หลังพระเจ้ามินดงสิ้นพระชนม์ และพระเจ้าสีป่อได้ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อก็เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักพม่าประเทศอย่างใหญ่หลวง เมื่อมีการสังหารขุนนาง  เจ้านายหลายพระองค์ ซึ่งในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้ศึกษาไว้เป็นการเฉพาะว่า  "เมื่อพระเจ้ามินดงสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสีป่อ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ และพระนางอเลนันดอ ก็ให้ทำพิธีอภิเษกสมรสพระเจ้าสีป่อ กับเจ้าหญิงสุปายาคย และสุปยาลัต ราชธิดาองค์ใหญ่และองค์กลางของนาง ครั้งเมื่อข่าวแพร่ไปว่าเรื่องทั้งหมดเป็นอุบายของพระนางอเลนันดอ และเจ้านายลูกเธออื่นๆถูกคุมขังอยู่ ประชาชนรวมทั้งบริวารของเจ้านายเหล่านั้นก็พากันโกรธแค้น พระนางอเลนันดอกับมนตรีแตงดา ซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งในขณะนั้นจึงคบคิดกันฆ่าเจ้านายรวมทั้งจอมมารดาและลูกกับเจ้าน้ององค์หญิงของเจ้าชายองค์นั้น รวมทั้งขุนนางที่เป็นญาติสนิทก็ถูกฆ่าตาย จำนวนเจ้านายกับญาติวงศ์ที่ถูกฆ่าครั้งนั้นรวมกันถึงราว 80 คน ว่าฆ่ากันอยู่ 3 วันจึงหมด เพราะซ่อนฆ่าที่ในวังแต่กลางคืนหวังจะมิให้พวกชาวเมืองรู้"  พระเจ้าสีป่อทรงเป็นคนอ่อนแอ ด้านราชการงานเมืองจึงตกแก่พระราชินีสุปยาลัต และแตงดาหวุ่นคยี(อัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร) ด้านอังกฤษในขณะนั้นเห็นว่าพม่ากำลังอ่อนแอมากจึงยกทัพมาตีเป็นครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2428 (ปีที่ 18 ในรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์) พระเจ้าสีป่อถูกอังกฤษเนรเทศไปอยู่อินเดียจนสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2458 ส่วนราชินีสุปยาลัตก็ถูกเนรเทศไปอยู่ที่รัตนคิรี จวบจนพระสวามีสิ้นพระชนม์จึงได้รับอนุญาตให้กลับมาอยู่ที่เมืองย่างกุ้งจนสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ.2468  ด้านพระนางอเลนันดอถูกส่งไปอยู่เมืองเมาะลำเลิงจนสิ้นพระชนม์ ส่วนแตงดาหวุ่นคยีนั้นก็ถูกส่งไปคุมขังไว้ที่เมืองคัตตัก(อินเดีย)จนเมื่อป่วยหนักใกล้จะตายรัฐบาลอังกฤษจึงยอมปล่อยให้กลับมาตายที่เมืองมัณฑะเลย์ อังกฤษปกครองพม่าในฐานะเมืองขึ้นอยู่ราว 63 ปี จึงมอบเอกราชให้แก่ประเทศพม่าในวันที่ 4 มกราคม ปี พ.ศ.2491
(ภัทรดิศ ดิศกุล,2545, สุเนตร ชุตินธรานนท์,2553, สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ,2514, ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ,2553, Maung Htin Aung,1967)
(ประวัติศาสตร์ชนชาติพม่าโดยย่อ  :   จากการศึกษาของ ภัทรดิศ ดิศกุล/สุเนตร ชุตินธรานนท์/สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ/ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ และ Maung Htin Aung  สรุปความโดย อ.คุณาพร ไชยโรจน์)




ภาพประกอบ 3  พระราชินีสุปายาลัต เเละพระเจ้าสีป่อ
ที่มาของภาพประกอบ 3 (www.dek-d.com/board/view.php%3Fid%3D1949638)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

รู้จักเกาะสอง (Kawthaung) ประเทศพม่า
               เกาะสอง (Kawthaung) หรือเกาตอง ในภาษาพม่า(Kaw Thaung) ซึ่งชาวพม่าเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "เกาตอง" แต่คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น "เกาะสอง" จวบจนปัจจุบันก็ยังเรียกกันอยู่ พวกฝรั่งที่มาเที่ยวที่นี่ไม่ได้เรียกว่าเกาะสองเหมือนคนไทยหรือพม่าแต่กลับเรียกว่า "วิคเทอเรีย พ้อยส์" (Victoria Point หรือ Victoria Point of  Ko Song) เกาะสองจริงๆแล้วไม่ใช่เกาะแต่หากเป็นเพียงดินแดนแหลมทางตอนใต้ของประเทศพม่าตรงข้ามฝั่งจังหวัดระนองอันมีแม่น้ำกระบุรีกั้นขวางพอดี  เกาะสองเป็นจังหวัดหนึ่งของมณฑลตะนาวศรี หรือตะนิ้นตายี ดิวิชั่น(Tanintharyi Division)ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศพม่า การเดินทางไปเกาะสองนักท่องเที่ยวต้องทำบัตรผ่านแดนไปกลับที่บริเวณด่านตรวจคนท่าน้ำระนอง(สะพานปลา)เสียก่อน  เสร็จแล้วจากนั้นจึงใช้บริการเรือหางยาวจากท่าสะพานปลาของจังหวัดระนองได้อย่างค่อนข้างสะดวกพอควรในการเดินทางข้ามฟากจากฝั่งไทยไปสู่ดินแดนของประเทศพม่า  ราว 45 นาทีโดยประมาณก็จะถึงยังที่หมาย  สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในเกาะสองก็ อาทิ อนุสาวรีย์บุเรงนอง โรงแรมคาสิโน ศาสนสถานต่างๆ(ซึ่งมีตั้งอยู่หลายแห่งบนเนินเขา) รวมถึงร้านขายสินค้าประเภทต่างๆที่มีเปิดอยู่อย่างค่อนข้างหนาตา 

             
              วันพุธที่ 20 ตุลาคม 2553 ผู้เขียนและคณะออกเดินทางจากโรงแรม Tinidee Ranong มาถึงยังสะพานปลา(ด่านตรวจคนท่าน้ำระนอง)เพื่อทำบัตรผ่านแดนไปกลับระนอง-เกาะสอง ประเทศพม่า เสร็จแล้วจากนั้นจึงลงเรือหางยาวที่ได้เหมาลำเอาไว้ 2 ลำเดินทางมุ่งสู่จังหวัดเกาะสอง ใช้เวลาราว 45 นาทีก็ขึ้นถึงฝั่งอย่างปลอดภัย(โดยมีด่านของไทย และพม่าตั้งจุดตรวจกลางน้ำเป็นระยะๆ) ขึ้นถึงฝั่งแล้วต้องขึ้นไปที่จุดตรวจคนเข้าเมืองของเกาะสองอีกที่หนึ่งเพื่อตรวจใบหน้าว่าใช่คนเดียวกับในบัตรผ่านแดนไปกลับหรือไม่  จากนั้นจึงทำการจ้างไกด์นำเที่ยว 1 คนรวมถึงรถนำเที่ยว+คนขับเสียอีก 1 คัน  รถนำเที่ยวคันที่คณะของผู้เขียนจ้างเอาไว้สำหรับนำเที่ยวในครั้งนี้เป็นรถกระบะเสริมหลังคาแบบรถสองแถวในเมืองไทย  เจ้าของรถเล่าว่าซื้อมาในราคา 1 ล้านบาทสำหรับนำเที่ยวโดยเฉพาะ ซึ่งหากมองโดยภาพรวมถือว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างแพงมาก(ถ้าซื้อในเมืองไทยน่าจะแค่หลัก 6-7 แสนบาทเท่านั้น)ทราบมาว่าภาษีเกี่ยวกับรถยนต์ของที่นี่เก็บแพงมากครับ  การใช้รถใช้ถนนของชาวพม่าที่เกาะสองแห่งนี้ก็มีอะไรที่แปลกแตกต่างจากในบ้านเราหลายอย่าง อาทิ การใช้ถนน ชาวพม่าจะขับรถเลนขวาตลอด(เมืองไทยขับเลนซ้าย) โดยเฉพาะถนนในประเทศพม่า(เกาะสอง)นี้เองตรงหัวเลี้ยวหรือสี่แยกไม่มีไฟแดงนะครับ  ท่านไม่ต้องไปพะวงกับปัญหาเรื่องไฟแดง ไฟเหลือง ไฟเขียว ที่นี่มีอย่างเดียวคือ "ไฟไปตลอด" คนขับรถของที่นี่ต้องระวังกันเอาเองว่าเส้นทางแบบไหนควรจอด เส้นทางแบบไหนควรใช้ความเร็วได้  สอบถามเอาจากคนขับรถนำเที่ยวอีกว่าแล้วถ้าเกิดปัญหารถชนกันล่ะจะแก้อย่างไร?  ได้ความว่าถ้าเกิดรถเฉี่ยวชนกันที่นี่ ปกติแล้วจะไม่มีใครไปแจ้งตำรวจ  ที่เกาะสองประเทศพม่าเขาถือกันว่าถ้าไปแจ้งตำรวจแล้วนี่ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ดีไม่ดีหากตกลงกันไม่ได้อาจถูกริบใบขับขี่ตลอดชีพเอาง่ายๆ คนที่นี่เลยไม่นิยมไปแจ้งความดำเนินคดีกันหากมีเหตุรถเฉี่ยวชน แต่ใช้วิธีตกลงกันเอาเอง ช่วยๆกันออกค่าซ่อมรถ เพื่อไม่ต้องเสี่ยงกับการลงโทษของทางการ(คนที่นี่เขาเล่ามา)




ภาพประกอบ 4  เดินทางไปเกาะสอง(กลางทะเลประเทศพม่า)
ภาพประกอบ 5  ด่านตรวจคนเข้าเกาะสองประเทศพม่ากลางทะเล(ปกติห้ามถ่ายรูป เเต่เผอิญมือมันเผลอไปกดชัดเตอร์เข้าน่ะ)
ภาพประกอบ 6  เกาะสอง ประเทศพม่า(มองจากบนเรือหางยาวข้ามฟาก)
ภาพประกอบ 7  เกาะสอง ประเทศพม่า(มองจากบนเรือหางยาวข้ามฟาก อีกภาพ)
ภาพประกอบ 8  ท่าเทียบเรือโดยสารที่ท่าน้ำเกาะสอง ประเทสพม่า(ขึ้นลำบากพอดู)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ได้คุยกับไกด์นำเที่ยวว่าจะนำคณะของเราไปไหว้พระที่วัดแห่งหนึ่งอันตั้งอยู่บนเนินเขา  จำชื่อวัดภาษาพม่าไม่ได้แล้วล่ะว่าเรียกว่าวัดอะไร แต่เห็นคนพม่าที่นี่เรียกกันเป็นภาษาไทยว่า "วัดแห่งความสุข" นัยว่ามาไหว้พระที่วัดแห่งนี้แล้วคงได้ความสุขกลับไปจนถึงบ้านอะไรประมาณนี้(มั๊ง) วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกหนึ่งในเกาะสอง สามารถมองเห็นทะเลได้อย่างชัดเจนสวยงาม น่าเสียดายที่คณะของผู้เขียนมาถึงเอาตอนวันฝนตกหนักเปียกกันไปตามๆกัน แต่มาถึงวัดแห่งความสุขแล้วขอมาไหว้พระท่านสักนิด(ขอเกรดผ่านวิชาบางวิชา พระท่านคงช่วยทางใจได้บ้างนะ ฮา) ก่อนเดินเข้าสู่ซุ้มประตูของวัดแห่งความสุขท่านต้องถอดรองเท้าสถานเดียวครับ ไม่ว่าอากาศจะร้อนตับแลบ  พื้นจะระอุเหมือนไฟลวก ก็ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่ถอดรองเท้าท่านก็หมดสิทธิ์เข้าศาสนสถานแห่งนี้ วันนี้ฝนตกเลยเดินได้ค่อนข้างเย็นเท้าเสียหน่อย ถอดรองเท้ากับถุงเท้าที่เปียกน้ำพอควรฝากเอาไว้กับมุมฝากรองเท้าของทางวัด(ตอนมาเอารองเท้าคืนจึงทำบุญตรงจุดฝากรองเท้านี้เสียอีกจุดหนึ่ง) ซื้อดอกไม้สีขาวๆจากแม่ค้า(สาวน้อย)ชาวพม่าที่พูดภาษาไทยได้คล่องพอตัวเสีย 10 บาท  ลืมบอกไปอย่างหนึ่งครับ คนพม่าที่เกาะสองแห่งนี้สวนใหญ่ฟังและพูดภาษาไทยได้ดีพอตัวเลยนะครับ ส่วนเงินตราก็สามารถใช้เงินบาทไทยในการซื้อสินค้าได้เลย แต่ถ้าเป็นร้านเล็กๆแนะนำให้ใช้เงินจำนวนเท่ากับราคาสินค้าในการซื้อ เพราะบางครั้งท่านจะได้รับเงินทอนเป็นเงินจ๊าบ(สืบทราบมาว่าคนพม่าชอบเงินไทยมากกว่าเงินสกุลตัวเองเสียอีก  เขาว่าเงินบาทไทยมั่นคงดีกว่าเงินจ๊าบ)

               มาเข้าเรื่องกันต่อครับ ผู้เขียนได้ซื้อดอกไม้พม่าเสีย 10 บาทและมีโอกาสเข้าไปไหว้พระประธานในเจดีย์สีทองอร่ามองค์หนึ่งนามว่า "เจดีย์แห่งความสงบ" ซึ่งคนพม่านิยมเรียกองค์เจดีย์แห่งนี้ว่า Byi Taw Aye สืบรายละเอียดของวัดแห่งความสุขและองค์เจดีย์ได้ความว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นราวปี ค.ศ.1948 อันตรงกับปี พ.ศ.2491 เพื่อเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ(อังกฤษปกครอบพม่าในฐานะเมืองขึ้นอยู่ราว 63 ปี จึงมอบเอกราชให้แก่ประเทศพม่าในวันที่ 4 มกราคม ปี พ.ศ.2491) องค์เจดีย์ของวัดพม่าแห่งนี้ที่ชื่อ Byi Taw Aye หากมองดูโดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะรู้สึกละม้ายคลับคล้ายคลับคาว่าเคยเห็นมาแล้วที่ชเวดากอง เมืองย่างกุ้ง(องค์เจดีย์ของ Byi Taw Aye น่าจะได้รับอิทธิพลทางศิลปะการสร้างและตกแต่งมาจากเจดีย์ชเวดากอง ไม่มากก็น้อย) ส่วนปลายยอดขององค์เจดีย์ Byi Taw Aye มีลักษณะคล้ายขององค์เจดีย์สุเล ที่เมืองย่างกุ้ง ซึ่งก็น่าจะเป็นการรับเอาอิทธิพลทางความเชื่อตามหลักศาสนามาอีกทอดหนึ่ง



ภาพประกอบ 9    ทางเดินที่เเสนลาดชันในเกาะสอง พม่า
ภาพประกอบ 10   ทางเดินในเกาะสอง
ภาพประกอบ 11   วัดเเห่งความสุข ในวันฝนตกหนาเม็ด
ภาพประกอบ 12   ผู้เขียนถ่ายคู่กับองค์เจดีย์ Byi Taw Aye ในวัดเเห่งความสุข

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ประติมากรรมชุดตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ที่วัดแห่งความสุข
               
               ผู้เขียนพยายามเดินชมรูปงานประติมากรรมประดับตกแต่งศาสนสถานแห่งนี้(วัดแห่งความสุข)อยู่เป็นเวลาพอสมควร  ก็ได้ถ่ายรูปงานประติมากรรมประดับซุ้มทางเดิน(อยู่ทางซ้ายมือของซุ้มประตูทางเข้าวัด)เสีย 2 รูป  เอามาวิเคราะห์ดูแล้วว่าเป็นรูปงานประติมากรรมแบบรูปทรงอิสระ(Round Relief)สามารถแลมองได้รอบด้าน ส่วนฉากหลังหรือผนังมีภาพทิวทัศน์(Landscape Painting)ประดับตกแต่งด้วยศิลปะแบบพม่านิยมอย่างสวยงาม ส่วนสีที่ใช้วาดและระบายมองแล้วเดาเอาว่าน่าจะเป็นสีน้ำมัน(oil color/Oil paint)หรือสีพลาสติก(Plastic color )สำหรับเขียนป้ายโฆษณา (จีรพันธ์ สมประสงค์  :  ภาพทิวทัศน์ หรือ Landscape Painting เป็นจิตรกรรมที่แสดงเกี่ยวกับภูมิประเทศ บรรยากาศ เวลา ซึ่งมีจำนวนพื้นที่ที่แสดงเกี่ยวกับทิวทัศน์ ดิน ต้นไม้ มากกว่าจำนวนพื้นที่ที่แสดงเกี่ยวกับน้ำทะเลหรืออากาศ) สันนิษฐานเอาว่ารูปงานประติมากรรมทั้งสองนี้น่าจะปั้นโดยเน้นเนื้อเรื่องมาจาก "ตำนานพระเจ้า 10 ชาติ" หรือเรื่องราวใน 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะบรรลุพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลัก  โดยรูปงานชุดแรกที่ผู้เขียนถ่ายรูปมาเป็นรูปของชายชราร่างกำยำถือดาบหมายจะสังหารหนุ่มน้อยนายหนึ่งที่ถูกพันธนาการเอาไว้ มีหญิงสาวนางหนึ่งไหว้ขอชีวิต  งานชุดนี้น่าจะมาจากตำนานพระเจ้า 10 ชาติตอน "พระจันทกุมาร"  ส่วนรูปถ่ายชุดที่ 2 ที่ได้ถ่ายมาเป็นรูปนายพรานจับงูใหญ่(เข้าใจเอาว่าน่าจะเป็นพญานาค)มีพราหมณ์แก่ตนหนึ่งยืนมองและมองอะไรบางอย่างในมือให้ไว้ งานชุดที่สองนี้ก็น่าที่จะมาจากตำนานเรื่องพระเจ้า 10 ชาติเช่นเดียวกันกับชิ้นแรก คือช่างปั้นสร้างมาจากตอนที่มีชื่อว่า "พระภูริทัต"  ผู้เขียนจึงขอเล่าเรื่องราวความเป็นมาในงานประติมากรรมประดับตกแต่งซุ้มทางเดินภายในวัดแห่งความสุขเสียแต่เล็กน้อยพอเข้าใจร่วมกัน ดังนี้


ตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระจันทกุมาร 
               
               ตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระจันทกุมาร  ครั้งพระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นเจ้าชายจันทกุมารพระโอรสแห่งพระเจ้าเอกราช เมืองบุปผวดี เมืองแห่งนี้มีปุโรหิตคนหนึ่งชื่อ "กัณฑหาลพราหมณ์" ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาคดีความ แต่ด้วยกัณฑหาลพราหมณ์มีแต่ความโลภ ทุจริตต่อหน้าที่บ่อยครั้ง และมักที่จะตัดสินให้คนที่มาติดสินบนแก่เขาเป็นผู้ถูกเสมอ ครั้งหนึ่งเจ้าชายจันทกุมารได้รับการร้องเรียนจากผู้แพ้คดีทั้งที่ตนเป็นฝ่ายถูก เจ้าชายเห็นว่าเรื่องมีมูลจึงให้รื้อคดีดังกล่าวขึ้นมาใหม่อีกครั้งจนความจริงปรากฏ ประชาชนชาวเมืองต่างให้ความเลื่อมใสเป็นยิ่ง เรื่องในครั้งนี้เองเป็นเหตุให้กัณฑหาลพราหมณ์เสื่อมจากอำนาจและได้รับความอับอายเป็นยิ่ง ครั้งเวลาผ่านไปนานพอสมควรพระเจ้าเอกราชทรงพระสุบิน(ฝัน)เห็นดินแดนแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันสวยงามยิ่ง ตื่นขึ้นมาก็เอาเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้กัณฑหาลพราหมณ์ฟัง ว่าทำอย่างไรหน๋อจึงจะไปถึงวิมานดังกล่าวได้  เนื่องด้วยกัณฑหาลพราหมณ์ผูกใจเจ็บเจ้าชายจันทกุมารจากเหตุการณ์ครั้งผ่านมาอย่างไม่ลืมจึงออกอุบายว่า พระเจ้าเอกราชสามารถที่จะไปยังดินแดนดังกล่าวได้เพียงแต่ต้องบูชายัญสละสิ่งที่เป็นของรักบางอย่างเพียงเท่านั้นคือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว เศรษฐี พระมเหสี พระราชธิดา และพระราชโอรถ อย่างล่ะสี่  โดยการบูชายัญด้วยการขุดหลุมฝังทั้งเป็น รวมถึงตัดคอสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้คนประชาชนรวมถึงชาวเมืองพอทราบข่าวต่างตกอยู่ในความหวาดกลัว ร้องไห้ อ้อนวอนขอร้องพระเจ้าเอกราชให้ทรงเปลี่ยนความคิด แม้นเจ้าชายจันทกุมารจะกราบทูลพระบิดาว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงกลอุบายของกัณฑหาลพราหมณ์ที่ผูกใจเจ็บตนในเหตุการณ์ครั้งก่อน พระบิดาก็มิอาจรับฟังแต่ประการใด  ได้แต่โลเลในคำตัดสินให้จับบูชายัญ(ตามคำขอของกัณฑหาลพราหมณ์) และปล่อยเสีย(ตามคำขอของเจ้าชายจันทกุมาร) อยู่ถึง 3 ครั้งกลับไปมา 

               พอถึงครั้งที่ 4 ด้วยวาจายุยงของกัณฑหาลพราหมณ์จึงทำให้พระเจ้าเอกราชทรงขาดสติไปสิ้น ในใจนึกอยากแต่จะไปให้ถึงสวรรค์ดังกล่าว พระองค์ทรงเร่งให้กัณฑหาลพราหมณ์รีบกระทำพิธีบูชายัญแต่โดยไว  กัณฑหาลพราหมณ์เริ่มมีรอยยิ้มในใจ  เดินเข้าหาเจ้าชายจันทกุมารเป็นคนแรก ยกดาบขึ้นหมายที่จะใช้เลือดจากพระศอ(คอ)ของเจ้าชายเป็นเครื่องบูชายัญ  ขณะเดียวกันนั้นพระนางจันทา(ชายาของเจ้าชายจันทกุมาร)ก็อธิษฐานถึงคุณงามความดีที่ตนและเจ้าชายจันทกุมารได้สั่งสมมา ไม่มีจิตโกรธเคืองพระบิดาผู้หลงผิด  และกัณฑหาลพราหมณ์ผู้อำมหิตแต่ประการใด วินาทีที่กัณฑหาลพราหมณ์จะลงดาบให้สาสมแก่แรงแค้นปรากฏว่าเกิดมหาสายฟ้าฟาดเข้าใส่กลางพิธีบูชายัญ พร้อมเสียงตะโกนลงมาจากฟากฟ้าว่า "ห้ามทำร้ายเจ้าชายจันทกุมาร และผองพระประยูรญาติทั้งปวง มิฉะนั้นจะโดนทุบด้วยค้อนเหล็กแดง"  กัณฑหาลพราหมณ์ผู้อำมหิตเเหงนหน้ามองขึ้นไปตามเสียงบนฟ้าแล้วแทบเป็นลมล้มทั้งยืน  ภาพที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าคือพระอินทร์ยืนถือค้อนเหล็กแดงมีเปลวไฟลุกแดงฉาน  พระอินทร์ทรงสั่งให้พระเจ้าเอกราช และกัณฑหาลพราหมณ์รีบปล่อยทุกคนในพิธีบูชายัญ หากไม่ทำตามที่สั่งพระองค์จะส่งทั้งสองไปอยู่ยังขุมนรกตราบชั่วนิจนิรันดร์ รับสั่งเสร็จด้วยวาจาที่กร้าวพระท่านจึงหายไปในอากาศธาตุ  พระเจ้าเอกราชกลัวจนตัวสั่นรีบสั่งให้ทหารปล่อยตัวทุกคนในพิธีบูชายัญ ส่วนชาวเมืองที่โกรธแค้นได้รุมกันทำร้ายกัณฑหาลพราหมณ์จนถึงแก่ความตาย  พระเจ้าเอกราชถูกถอดออกจากตำแหน่งกษัตริย์และเนรเทศออกจากเมืองไป  ชาวเมืองต่างพร้อมใจอภิเษกเจ้าชายจันทกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์แทน บุปผวดีก็กลับเข้าสู่ความปกติสุขตราบแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



ภาพประกอบ  13  รูปงานประติมากรรมตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระจันทกุมาร   

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระภูริทัติ
               
               ตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระภูริทัติ  ครั้งพระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นพระภูริทัติมี เรื่องเล่าแต่นานมาว่าพระเจ้าพรหมทัต แห่งเมืองพาราณสีทรงมีพระธิดาทรงพระสิริโฉมงดงามนามว่าพระนางสมุททชา ได้อภิเษกสมรสกับพญานาคนามว่า ฐตรฐ กษัตริย์แห่งเมืองนาคมีโอรสด้วยกัน 4 พระองค์ โดยองค์ที่ 2 นามว่า "ทัตตกุมาร" มีปัญญาเฉลียวฉลาดหลักแหลมกว่าพระองค์อื่น ฐตรฐมักจะพาออกงานพระราชพิธีสำคัญๆเป็นประจำทุกปี ครั้งหนึ่งฝ่ายฐตรฐพระบิดาพาทัตตกุมารไปเฝ้าท้าววิรูปักษ์ จ้าวแห่งนาคทั้งปวงอันนำพาเหล่านาคทั้งหลายขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้งพระอินทร์ทรงตั้งคำถามขึ้นมาข้อหนึ่งแต่เหล่าเทวาและนาคราชมิอาจตอบคำถามได้ด้วยความงวยงง ทัตตกุมารจึงแสดงความเฉลียวฉลาดออกมาในคราบัดนั้นตอบคำถามของพระอินทร์ได้อย่างแตกฉาน สร้างความพอพระทัยให้แก่พระองค์เป็นยิ่ง ประทานตั้งชื่อเพิ่มเติมให้แก่ทัตตกุมารว่า "ภูริทัตตกุมาร" อันแปลว่า "กุมารผู้ซึ่งมีสติปัญญากว้างใหญ่ประดุจดั่งผืนแผ่นดิน"  อยู่มานานวันภูริทัตตกุมารนึกอยากที่จะไปเกิดเป็นเทวาบนสวรรค์ชั้นดังกล่าวบ้างจึงตั้งรักษาศีลอุโบสถ ณ จอมปลวกใต้ร่มไทรริมฝั่งแม่น้ำยมุนา จิตก็อธิษฐานว่า "เรานี้หน๋าจะขอรักษาศีลนี้ให้มั่น ผู้ใดจักต้องการเนื้อเรา หนังเรา ชีวิตเราก็จงเอาไปเสียเถิด" อยู่มาวันหนึ่งนายพราน 2 พ่อลูกได้มารู้ความลับของภูริทัตตกุมารเข้าว่ามิใช่มนุษย์แต่เป็นนาค และวอนขอให้ภูริทัตตกุมารพาไปเที่ยวเมืองนาคเป็นเวลา 1 ปีจนสุขสำราญดี ครั้งครบเวลา 1 ปีภูริทัตตกุมารก็พานายพรานทั้ง 2 มาส่งยังเมืองมนุษย์และขอให้เก็บความลับที่ตนเป็นนาคเอาไว้ให้มั่นเพราะไม่ต้องการให้ใครมารบกวนขณะรักษาศีลอุโบสถ

               ต่อมานายพรานผู้พ่อเกิดอยากได้แก้วมณีอันล้ำค่าจากพราหมณ์ผู้มีเวทมนต์กล้าแข็งท่านหนึ่ง จึงเกิดการตกลงกันว่านายพรานจะบอกที่อยู่ของภูริทัตตกุมารให้ แต่ต้องแลกกันคาถามนต์จับงูชื่อ "อาลัมพายน์" ฝ่ายพรานผู้ลูกไม่เห็นด้วยกับการกระทำของบิดาจึงแยกตัวออกห่างไปบวชเป็นฤาษีในป่าลึก ปรากฏว่าหลังจากพราหมณ์ได้ตัวภูริทัตตกุมารไว้ในครอบครองแล้วก็มอบแก้วมณีให้แก่นายพรานผู้พ่อไป แต่ขณะที่นายพรานจะรับแก้วมณีนั้นเอง ด้วยความประมาณแก้วมณีหลุดจากมือตกน้ำจมหายไปยังดินแดนแห่งนาคแทน นายพรานผู้พ่อร่ำไห้ด้วยความเสียดายเพราะความโลภนั่นเองตนจึงสูญเสียของรักทั้ง 3 จนสูญสิ้น(เสียไมตรีกับภูริทัตตกุมาร  เสียบุตรชาย  และเสียแก้วมณี) ต่อมาพราหมณ์จอมขมังเวทผู้ชั่วช้าได้นำพาภูริทัตตกุมารในร่างของนาคออกไปตระเวนแสดงตามหมู่บ้านต่างๆได้เงินเป็นกอบเป็นกำมากมายแต่ก็ไม่ยอมปล่อยภูริทัตตกุมารให้เป็นอิสระแต่ประการใด  ครั้งกาลเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ราวสัก 1 เดือนเต็มปรากฏไม่มีผู้ใดพบเห็นภูริทัตตกุมาร ณ สถานที่รักษาอุโบสถศีลแต่ประการใด ทำให้พี่น้องอีก 4 ตนอันประกอบไปด้วย พี่ชายและน้องชายทั้ง 3 รวมทั้งน้องสาวต่างมารดาอีก 1 นางเป็นห่วงยิ่ง ทั้ง 4 พี่น้องจึงช่วยกันออกตามหาภูริทัตตกุมารด้วยความยากยิ่งดังนี้ อริฏฐนาคไปตามหาที่บนสรวงสวรรค์  สุโภคนาคไปตามหาที่ป่าหิมพานต์  ส่วนสุทัสสนนาคและน้องสาวต่างมารดาไปตามหายังโลกมนุษย์(สุทัสสนนาค แปลงเป็นพระฤาษี ส่วนน้องสาวต่างมารดา แปลงเป็นเขียดซ่อนอยู่ที่มวยผมของพระฤาษีแปลง) ครั้งสุทัสสนนาคทราบข่าวจากชาวเมืองว่ามีพราหมณ์แก่กล้าอำนาจได้จับนาคตนหนึ่งมาแสดงเพื่อเก็บทรัพย์เข้าสู่ส่วนตนอย่างละโมบ ฤาษีแปลงผู้เป็นพี่ชายของภูริทัตตกุมารจึงเดินทางไปร่วมชมการแสดงดังกล่าวและกล่าววาจาท้าทายพราหมณ์ชั่วให้นำนาคตนดังกล่าวมาสู้กับเขียดน้อยของตน เขียดน้อยได้คายพิษออกมาเพียง 3 หยดทำให้พราหมณ์ชั่วซึ่งถูกไอพิษดังกล่าวกลายเป็นโรคเรื้อนขึ้นมาในทันทีและจำต้องปล่อยให้ภูริทัตตกุมารเป็นอิสระและมีการฉลองการกลับมาของภูริทัตตกุมารอยู่ยาวนานในเมืองนาค และนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาทั้งเมืองนาคและเมืองมนุษย์ต่างก็อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขตราบนานเท่านาน

อนึ่ง ในเรื่องของ "ศีลอุโบสถ" นี้เอง ประณีต ก้องสมุทร ได้ศึกษาเอาไว้ในบทความชุด "ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ" สรุปความได้ดังนี้ อุโบสถศีลคือศีลที่ประกอบด้วยองค์ 8 ดังนี้คือ
1. ปาณาติปาตา  เวรมณี  งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
2. อทินนาทานา  เวรมณี  งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
3. อพรหมจริยา  เวรมณี  งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
4. มุสาวาทา    เวรมณี  งดเว้นจากการกล่าวเท็จ
5. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี งดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
6. วิกาลโภชนา  เวรมณี งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
7. นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนมาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา  เวรมณี  งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล ลูบทาทัด  ทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้  ของหอม  เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะ แห่งการแต่งตัว
8. อุจจาสยนมหาสยนา  เวรมณี  งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
(ประณีต ก้องสมุทร,2545)




ภาพประกอบ 14  ประติมากรรมตำนานพระเจ้า 10 ชาติ ตอนพระภูริทัติ   

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ตัวอับเฉา
             
                มองดูรูปงานประติมากรรมประดับตกแต่งวัดแห่งความสุขของพม่าแล้วยังไม่เจอ "ตัวอับเฉา" แต่ประการใด คงเป็นเพราะมิใช่วัดจีนกระมังจึงไม่มีตัวอับเฉา (ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์  :  ตัวอับเฉา คือตุ๊กตาศิลาจีนจำพวกหนึ่ง ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์โจว ราวศตวรรษที่ 11-771 ปีก่อน ค.ศ. สมัยก่อนนิยมสร้างเพื่อประดับทางเดินเข้าสู่ป่าช้าใหญ่ขององค์จักพรรดิจีนตรงบริเวณ "ถนนศักดิ์สิทธิ์" หรือ Sacred Way) ตัวอับเฉานั้นเท่าที่ผู้เขียนเคยศึกษาจากตำราทางคติจีนนิยมหลายๆเล่มพอที่จะสรุปความได้ว่า สมัยก่อนประเทศจีนเดินทางมาค้าขายกับสยามประเทศ ฝ่ายจีนเอาสินค้าขึ้นเรือสำเภามา ส่วนใหญ่นั้นประกอบไปด้วยเพชรนิลจินดา ผ้าไหม เครื่องถ้วยชามแบบจีนนิยม และจำพวกเครื่องถ้วยสังคโลก เป็นอาทิ  ตอนขามาด้วยเรือต้องบรรทุกของเบาดังกล่าวมาข้างต้นจึงจำเป็นต้องหาสิ่งที่มาคอยถ่วงท้องเรือไว้มิให้เรือโครงเครง ซึ่งก็คือการบรรทุกเอาก้อนหินขนาดใหญ่ลงมาถ่วงไว้ในท้องเรือนั่นเอง  และด้วยการเดินทางในแต่ละครั้งกินเวลายาวนานยิ่งนักพวกช่างฝีมือที่โดยสารมาในเรือด้วยจึงทำการแกะสลักหินสำหรับถ่วงท้องเรือดังกล่าวเพื่อฆ่าเวลาในแต่ละวัน  พอขึ้นถึงฝั่งน้ำของสยามประเทศได้จึงทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจนหมดสิ้น ได้ข้าว และอาหารประเภทต่างๆกลับประเทศจีน ด้วยข้าวนั้นมีความหนักในการถ่วงท้องเรืออยู่แล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้หินดังกล่าวมาข้างตนถ่วงอีก  พ่อค้าชาวจีนจึงนิยมนำหิน หรือศิลาอับเฉามาถวายวัดเพื่อความเป็นศิริมงคลในการเดินทางกลับประเทศนั่นเอง โดยวัดที่เป็นที่นิยมในการนำหินอับเฉามาถวายนั้นก็มีด้วยกันหลายวัดแต่ที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเห็นจะเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ที่เรารู้จักกันนั่นเอง (ตามประเพณีโบราณนิยมเชื่อว่าวัดโพธิ์คือวัดประจำรัชกาลที่ 3 และถือว่าศิลปะจีนเป็นศิลปะนิยมประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย)



ตามหาสัตว์ประหลาดแห่งพม่าประเทศ
               
               ไหนๆก็มาถึงวัดพม่าในประเทศกำเนิดแล้ว  ผู้เขียนเลยพยายามมองหางานจิตรกรรม-ประติมากรรมตกแต่งศาสนสถานบางอย่างภายในวัดแห่งความสุขอยู่นานแต่ก็ยังหาไม่เจอ ครับสิ่งที่ผู้เขียนพยายามเมียงมองหาเป็นเพียงรูปวาดหรือรูปปั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับสัตว์หายากในตำนานของประเทศพม่า นานๆจึงจะเจอเสียครั้งหนึ่ง(เฉพาะในวัดพม่านะครับ) จึงขอเท้าความเสียหน่อยเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของสัตว์ในตำนาน หายาก อันเป็นที่สนอกสนใจของผู้เขียน  ราว 5-6 ปีก่อนขณะที่ผู้เขียนได้ทำวิจัยเกี่ยวกับคตินิยม-คุณค่าแห่งงานประติมากรรมรูปสัตว์ในวัดพุทธนิกายหินยาน อยู่นั้นเอง ได้มีโอกาสเดินทางไปหาข้อมูลทำวิจัยเพียงบางส่วนในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย(ไทรบุรี กลันตัน แลปะลิส)ได้พบเจอรูปงานประติมากรรม และประฏิมากรรม มากมาย ได้ชมภาพจิตรกรรมประดับฝาผนังอุโบสถของวัดเจติยาราม บ้านทุ่งควาย อำเภอเปินดังฯ รัฐเกดะห์(ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย เป็นรูปวาดหายากมีชื่อว่า "เงือกงู"  ได้ชมรูปประติมากรรมพระพรหม 4 หน้า(แบบแปลกๆ คือหน้าทั้ง 4 ของพระพรหมอยู่หันมาทางทิศเดียวกันหมด)ที่วัดดำรงรัตนาราม อำเภอสุไหปัตตานี รัฐเกดะห์(ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซีย  และหนึ่งในนั้นที่หายากชวนให้สืบค้นหาก็คือรูปงานประติมากรรมสัตว์ผสมที่วัดพม่าบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย วันพม่าแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดไทยที่ชื่อ "วัดไชยมังคลาราม" ส่วนวัดพม่าที่ผู้เขียนกล่าวอ้างถึงนี้มีชื่อว่า "Burmese Buddhst Temple" ภายในวัดก็มีพระประธานและศิลปะแบบพม่าปกติ แต่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่าที่อื่นก็คือรูปงานประติมากรรมหลังอุโบสถที่แสดงรูปลักษณ์ของสัตว์ผสม 2 ตนยืนเท้าหน้าทั้งสองเหยียบลูกโลกอยู่อย่างแปลกประหลาดไม่เคยพบเห็นมาก่อนในชีวิตว่ามันคือตัวอะไร ลักษณะรูปร่างและกีบเท้าคล้ายม้า มีเกล็ดเหมือนกิเลน มีหางเหมือนปลา มีเขาเหมือนกวาง มีปีกเหมือนนก มีงวงมีงาเหมือนช้าง มีฟันเหมือนพญาราชสีห์  ด้วยความสงสัยและใคร่รู้กลับมาถึงเมืองไทยได้ก็นำรูปภาพสัตว์ประหลาดดังกล่าวมาให้ท่าน รศ.นพพร ด่านสกุล ชมเป็นขวัญตา ท่านบอกไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นตัวอะไรเพราะไม่เคยเจอ แนะนำให้ส่งไปให้ท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ สหายของท่านดูให้ว่าเป็นตัวอะไร  ได้รับความแจ้งกลับดังนี้  "สุจิตต์ วงษ์เทศ  :  คงเป็นรูปปั้นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่วัดพม่า เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ดูรูปแล้วเป็นฝีมือช่างอารมณ์ดี แต่ไม่รู้เลยว่าตัวอะไร เพราะลักษณะผสมหลายสายพันธุ์จนน่าทำเป็นการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่" (สุจิตต์ วงษ์เทศ,2548)

              คำตอบที่ได้มาจากท่านสุจิตต์ วงษ์เทศ ในครานั้นสอดคล้องสัมพันธ์กับที่ท่านเศรษฐมันต์ กาญจนกุล(ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทยระดับแถวหน้าของประเทศ, Hopfe (ใน Religions of the World) และรองศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม(ผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัยด้านศาสนา)ได้ศึกษาเอาไว้พอที่จะสรุปได้ว่า  "ในโลกใบนี้นั้นไม่มีอะไรที่ยิ่งใหญ่เหนือจินตนาการของมนุษย์ จินตนาการคือทุกสิ่งทุกอย่างของมนุษย์ทุกคน หากเปรียบจินตนาการเสมือนต้นไม้ใหญ่แล้ว จินตนาการก็คือลำต้นของต้นไม้ ผลสำเร็จจากความคิด จากจินตนาการก็คือ ดอก ใบ ผล แต่ส่วนสำคัญแรกเริ่มที่จะขาดเสียมิได้เลยก็คือราก ซึ่งเปรียบเสมือนความเชื่อ การสร้างรูปงานจิตรกรรมและประติมากรรมนั้นส่วนหนึ่งก็มาจากจินตนาการอันพิเรนหลากคิดของมนุษย์ บ้างก็ผสมผสานกับความเชื่อประจำถิ่น รากเหง้าทางความเชื่อนั้นมีปรากฏให้ได้เห็นอย่างหลากหลายและแพร่กระจายไปในทั่วทุกมุมโลก คล้ายการนับถือศาสนา หรือ Religion ว่าคือความเกรงกลัวที่บุคคลมีต่อดวงวิญญาณหรือเทพเจ้า ในอดีตศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ก็มีความเชื่อในยุคเริ่มแรกแบบ Animism หรือวิญญาณนิยม เพราะเข้าใจว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ในสิ่งที่ตนนับถือ ตราบปัจจุบันก็ยังเชื่อกันอยู่" (เศรษฐมันต์ กาญจนกุล,2545, Hopfe Lewis M,1983, สุจิตรา อ่อนค้อม,2542)


              ต่อมาผู้เขียนได้ทำรายงานการค้นคว้าวิจัยบทความทางไทยคดีศึกษาส่งท่าน อ.ดร.ฉันทัส ทองช่วย เนื้อหาเกี่ยวกับรูปงานประติมากรรมสัตว์ประหลาดที่พานพบในวัดพม่า เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย ตอนหนึ่งว่า  "คุณาพร ไชยโรจน์  :  สิ่งที่ได้เห็นคงจะเป็นประติมากรรมรูปสัตว์ผสม ผู้เขียนเคยออกสำรวจสัตว์หิมพานต์ตามที่ต่างๆ มาก็มาก แต่ยอมรับเลยว่าพอมาเจอสัตว์ตัวนี้แล้ว งงจริงๆ ว่าตัวอะไร เพราะพลิกตำรามาก็หลายเล่มแล้ว แต่ยังไม่เคยเจอคำตอบเลย นกหัสดีลิงค์ก็ไม่ใช่ กิเลนก็ไม่เชิง ทางผู้เขียนจึงขอสรุปว่าเจ้าสิ่งนี้เป็นสัตว์ผสม ซึ่งผู้เขียนก็เคยอ่านเจอในตำราเหมือนกันว่าบางครั้งพวกช่างเขียนก็มักจะผูกสัตว์ประหลาดขึ้นมา เพียงเพื่อให้เกิดขึ้นมาเป็นรูปร่างเท่านั้น มิได้มีเรื่องราวใดๆ เจ้าตัวนี้ก็คงจะอยู่ในมูลเหตุข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงเชิญท่านผู้อ่านมองดูสัตว์ตัวดังกล่าวได้ตามสะดวก ซึ่งก็ดูประหลาดจริงๆ มีเขากวาง มีปีกของนก  มีหางเหมือนปลา  แถมยังมีงวงมีงาแบบช้างอีกด้วย"
(คุณาพร ไชยโรจน์/ บทความ  :  งานประติมากรรมรูปสัตว์ที่แพร่สะพัดในวัดในพระพุทธศาสนา ประเทศมาเลเซีย  ในโครงการทัศนศึกษา หาข้อมูล เพิ่มพูนประสบการณ์ สร้างงานไทยคดี ณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม พ.ศ.2546)


จวบจนทางผู้เขียนได้เปิดเจอรูปสัตว์ผสมดังกล่าวอีกครั้งในนิตยสารขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อนุสาร อ.ส.ท.) แต่จำเล่นและปีไม่ได้แล้ว  เป็นรูปการฟ้อนรำ ณ วัดแห่งหนึ่งของนางรำหญิง-ชาย  ส่วนสถานที่เข้าใจเอาว่าน่าจะเป็นวัดพุทธที่ตั้งอยู่แถวชายแดนไทย-พม่า(ภาคเหนือ) มีรูปสัตว์ผสมดังกล่าวประดับตกตกแต่งเครื่องดนตรีหลายประเภทอย่างสวยงาม ผู้เขียนจึงพยายามสืบเสาะค้นคว้าจากตำราภาษาพม่า(รบกวนให้ท่านผู้รู้ช่วยแปลภาษาให้ส่วนหนึ่ง) เก็บเอาประสบการณ์ในการเดินทางเข้าประเทศพม่าในหลายๆครั้ง พูดคุยกับนักศึกษาศิลปะชาวพม่าบ้างในบางครั้ง  พอได้ความกระจ่างแจ้งว่ารูปงานประติมากรรมสัตว์ผสมที่ทางผู้เขียนได้ถ่ายภาพเก็บไว้ที่วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียนั้นมิได้เกิดจากการปั้นเพื่อตอบสนองอารมณ์ศิลป์ หรือปั้นเอาสนุกของช่างปั้นแต่ประการใด แต่เป็นสัตว์ในตำนานของประเทศพม่าที่มีความเชื่อสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนานว่าเป็น "สัตว์ศักดิ์สิทธิ์" อันมีชื่อเสียงเรียงนามว่า "ตัวปัญจรูป"



ภาพประกอบ  15  วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ภาพประกอบ  16  สัตว์ประหลาดที่วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ปัญจรูป สัตว์เทพในนิยายปรัมปราแห่งล้านนา และพม่าประเทศ 
              ปัญจรูป สัตว์เทพในนิยายปรัมปราแห่งล้านนา และพม่าประเทศ  เชื่อกันว่าปัญจรูปเป็นสัตว์ของทางล้านนาแต่ในพม่าประเทศเองก็มีความเชื่อในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของสัตว์เทพตนนี้กันอย่างแพร่หลาย  ตอนที่ผู้เขียนไปเที่ยวพม่าเคยสอบถามไกด์นำเที่ยวชาวพม่าอยู่หลายคนบอกเล่าตรงกันว่า ปัญจรูปเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพม่า ถือเป็น "สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติพม่า" มาช้านานแต่โบร่ำโบราณ และมักมีการสร้างตัวปัญจรูปเอาไว้ตามศาสนสถานทางพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการสร้างเพื่อประดับวัดในพระพุทธศาสนาของพม่า และการสร้างปัญจรูปเพื่อประดับตกแต่งเครื่องดนตรีบางจำพวก เป็นต้น  ตัวปัญจรูปประกอบไปด้วยการผสมของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ถึง 5 สายพันธุ์ด้วยกันคือ
1. ปัญจรูป มีหัวเป็นพญาสิงห์ แสดงสีหน้าดุดันมีอำนาจ
2. ปัญจรูป มีงวงและงาเป็นพญาช้างสาร มักตวัดงวงและงาขึ้นสู่แดนสวรรค์
3. ปัญจรูป มีขาและเขาเป็นพญากวางอันงามสง่า
4. ปัญจรูป มีปีกเป็นพญาหงส์ สยายปีกอย่างงามงดน่าแลชม
5. ปัญจรูป มีลำตัวและส่วนหางเป็นพญาปลา พลิ้วไหวแต่แฝงไว้ด้วยอำนาจแห่งสายนทีอันกร้าวกราด

             
              กระแสคติชนบางกลุ่มในพม่าบ้างก็เชื่อกันว่า "ปัญจรูป หมายถึงพระเจ้าทั้ง 5 พระองค์ที่ถือกำเนิดเกิดมาเพื่อดับทุกให้แก่ชาวโลก ในคติแบบพุทธศาสนานิกายหินยาน" นอกจากนี้หากใครเคยได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศพม่าบ่อยๆโดยเฉพาะได้โดยสารเครื่องบินของสายการบินเมียนมาร์ แอร์เวย์  (Myanmar Airways International)คงจะพอคุ้นตากับตัวปัญจรูปอยู่ไม่น้อยเพราะสายการบิน Myanmar Airways International แห่งนี้ใช้ตัวปัญจรูปเป็นสัญลักษณ์ของสายการบินมาเป็นเวลายาวนานแล้วเช่นกัน  อนึ่ง ทางแถบล้านนายังมีความเชื่อเกี่ยวกับปัญจรูปด้วยว่า "ปัญจรูปเป็นสัตว์แห่งโลกทั้งสาม" ถึงตรงนี้ผู้เขียนขออธิบายสักเล็กน้อยว่าโลกทั้งสามนี้นั้น หมายถึง 1.โลกแห่งมนุษย์  2.โลกแห่งเทวดา และ 3.โลกแห่งนรก (โลกทั้ง 3 นี้เป็นคติคิดเชื่อแบบพุทธศาสนา และพราหมณ์-ฮินดู แบบผสมผสาน) โดยในงานมงคลของชาวล้านนาจะมีการนำฆ้องมาแขวนไว้ใต้ตัวปัญจรูป เพื่อตีให้เกิดเสียงดังในงานมงคลพิธีต่างๆ เชื่อว่าเสียงการตีฆ้องนี้เองจะดังไปปลุกให้ตัวปัญจรูปตื่นขึ้น และอวยพรให้งานมงคลพิธีนั้นๆให้ประสบแต่โชคดี สุขสวัสดิ์สมหวังในสิ่งต่างๆได้ 

              อนึ่ง ในเรื่องเกี่ยวกับคำว่า "โลกทั้งสาม" นี้ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี พ.ศ.2544 ได้อธิบายความเอาไว้เพิ่มเติมว่า  "โลกทั้งสาม หรือไตรสูรย์ หมายถึง โลก นรก สวรรค์ หรืออดีต ปัจจุบัน และอนาคต" (ถวัลย์ ดัชนี,2552)
     



ภาพประกอบ  17  ตัวปัญจรูป  สัตว์เทพในนิยายปรัมปราแห่งล้านนา และพม่าประเทศ  (ถ่ายที่วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย)
ภาพประกอบ  18 ตัวปัญจรูป  สัตว์เทพในนิยายปรัมปราแห่งล้านนา และพม่าประเทศ  (ถ่ายที่วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย)
ภาพประกอบ  19  ตัวปัญจรูป  สัตว์สัญลักษณ์ประจำสายการบินเมียนมาร์ แอร์เวย์ (Myanmar Airways International)
ที่มาของภาพประกอบ 19 (www.polaristravel.tarad.com)
ภาพประกอบ  20  ตัวปัญจรูป  สัตว์สัญลักษณ์ประจำสายการบินเมียนมาร์ แอร์เวย์ (Myanmar Airways International)
ที่มาของภาพประกอบ 20 (.dion.ne.jp/~srk-989/spott...asia.htm" target="_blank">www..dion.ne.jp/~srk-989/spott...asia.htm)


****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

คือวิถีชีวิตแห่ง Victoria Point of  Ko Song
               
               หลังจากชวนท่านผู้อ่านไหว้พระที่วัดแห่งความสุข ไหว้องค์เจดีย์ Byi Taw Aye รวมถึงเที่ยวนอกลู่นอกทางไปออกที่วัดพม่า Burmese Buddhst Temple เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซียแล้วนั้น  ขอพาวกกลับมาชมทัศนียภาพโดยรวมของเกาะสองกันต่อครับ  ผู้เขียนมีโอกาสได้เดินเที่ยวสำรวจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านชาวเมืองเกาะสองอยู่ราวครึ่งวัน  พบว่าชาวพม่าที่นี่ส่วนใหญ่พูดภาษาไทยได้ค่อนข้างดีในระดับหนึ่ง ถามไถ่เอาตอนซื้อสินค้าพอเข้าใจว่าภาษาไทยนั้นสำคัญมาก เพราะคนไทยชอบเข้ามาเที่ยวที่นี่ หากร้านค้าร้านไหนพูดภาษาไทยได้ก็จะขายสินค้าได้มากตามไปด้วย ส่วนทางเดินในการไปมาหาสู่กันระหว่างถนนแต่ล่ะเส้นคล้ายๆกับในประเทศไทยครับ คล้ายๆกับแถวย่านบ่อยาง ในจังหวัดสงขลายังไงยังงั้นเลย สินค้าที่มีวางขายให้นักท่องเที่ยวเลือกชมก็มีหลากหลาย เช่น แป้งทานาคา เพชร พลอย ทับทิม เครื่องประดับต่างๆ ผ้า เครื่องไม้ ยาพื้นเมืองต่างๆ โดยเฉพาะแป้งทานาคานั้นเป็นที่นิยมของหนุ่มสาวที่นี่มาก ว่ากันว่าสาว หรือหนุ่มพม่าคนไหนทาแป้งทานาคาไว้ที่แก้มทั้งสองข้างแล้วจะถือกันว่ากิ๊บเก๋ และ popular ในหมู่ชาวพม่ามากๆ(สังเกตได้จากชาวพม่าที่ค้าขายอยู่ตามทางที่ผู้เขียนเดินผ่าน 10 ร้านจะมีทาแป้งทานาคาซะ 7-8 ร้าน) การทาแป้งทานาคานี้เองก็มีวิธีการทาได้หลากหลายเช่นกันครับ  อย่างคุณไกด์นำเที่ยวที่ทางคณะของผู้เขียนจ้างให้นำเที่ยวนี้เขาชื่อคุณ "ซัดดำ" (เสียดายที่ลืมถ่ายภาพไว้)ไกด์ท่านนี้พูดภาษาไทยได้คล่องพอตัว  ภาษาอังกฤษคล่องมาก ถามไปถามมาว่าพูดได้ถึง 7 ภาษา ที่เก๋สุดของไกด์ท่านนี้ก็คงจะเป็นการทาแป้งทานาคาที่ไม่เหมือนใคร(ประมาณเดินไปไหนคนมองกันทั้งบางล่ะ) แก้มทางซ้ายจะทาแป้งแล้วเขียนทับเป็นเลข 10 ส่วนทางแก้มด้านขวาจะทาแป้งแล้วเขียนเป็นเลข 9 ด้วยความสงสัยเลยถามไปว่ามีความหมายหรือเปล่าที่ทาแป้งเป็นเลข 9 และเลข 10  เจ้าตัวตอบแบบอายๆว่ามันเก๋ดีและ popular ในหมู่หนุ่มๆชาวพม่า ประมาณทาแป้งทานาคาแบบนี้แล้วสาวเหลียวสาวชอบ(ไกด์เขาว่ามาน่ะ) ผู้เขียนก็ซื้อแป้งทานาคามาไว้กระปุกหนึ่งเหมือนกัน ราคาแค่ 35 บาท(กระปุกใหญ่)ตอนแรกกะว่าจะทำแบบคุณซัดดำ(ไกด์นำเที่ยว)ประมาณทาแป้งทานาคาทั้ง 2 แก้มเป็นเลข 9 และ 10 แล้วไปเดินอวดแถวตึกเรียนปริญญาเอก........แต่เกรงใจพวกเพื่อนๆน่ะ เลยเอาไว้วันหลังดีกว่า(ฮา)

               เดินซื้อของจนเหนื่อยเพราะทางเดินบนเกาะสองส่วนใหญ่เป็นทางลาดต่ำ ชันและลื่นมาก(วันที่ผมมาเที่ยวฝนตกหนักพอควร) เดินชมเมืองไปเรื่อยๆก็ไปเจอเข้ากับหน้าจานดาวเทียม KU_ ตัวหนึ่ง จำได้ว่าเป็นหน้าจานเหลืองของค่าย DTV มองๆดูเห็นมีบ้านชาวพม่าที่นี่ติดจานเหลือง DTV ไว้หลายสิบหลัง สอบถามได้ความว่าในรายการของ DTV มีช่องรายการจากประเทศพม่าเยอะพอดู รวมถึงชาวพม่าส่วนใหญ่ของที่นี่ฟังภาษาไทยออก จานเหลืองจึงเป็นที่โปรดปรานของคนที่นี่กัน ถามพระที่เดินผ่านไปมาแถวจุดซื้อขายสินค้าได้ความรู้ประดับตัวอีกหน่อยว่าช่องรายการของประเทศพม่านั้นไม่มากเหมือนกับประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรายการเกี่ยวกับการเมือง ทหาร หรือรายการเกี่ยวกับศาสนาเสียเป็นส่วนมาก จานดาวเทียมนำเข้าจากประเทศไทยจึงถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งของคนที่นี่ เดินสังเกตไปมาอีกรอบหนึ่งเห็นจานแดงของทรูติดอยู่อีกหลายบ้าน รวมถึงจานดำแบบ C_ ด้วยที่เป็นที่นิยมของคนที่นี่ เดินเที่ยวจนเหนื่อยเลยมองซ้ายมองขวาจนเจอร้านขายข้าวแกงของชาวพม่าอยู่ร้านหนึ่งกะว่ามื้อนี้จะขอไปฝากท้องไว้ที่ร้านนี้สักครั้ง ส่วนคุณไกด์คนเก่งบอกลาผู้เขียนไปเล่นสนุกสักประเดี๋ยว  งงๆว่าไอ้ "เล่นสนุก" นี่มันอะไรถามไปนิดได้คำตอบมาว่า "ไปเล่นสนุกเกอร์" คนที่นี่ชอบเรียก "สนุก" (สะ-หนุก) ฟังแล้วก็งงๆแต่ก็พอเข้าใจ(ว่าเข้านั่น) คุยกับไกด์เสร็จเข้าไปสั่งอาหารเสีย 2 อย่างคือปลาต้มจืดอย่างหนึ่ง แลแกงหมูอีกอย่างหนึ่ง กินกับข้าวสวยร้อนๆและผัก+น้ำพริกพม่า  รสชาตินั้นหรือ ข้าว เหมือนข้าวร้านอาหารตามสั่งในเมืองไทยทุกประการ ปลาต้มจืดรสชาติหวานๆ(คนที่นี่คงชอบอาหารรสไม่จัดกระมัง) แกงหมู ออกรสชาดคล้ายมัสมั่นหมูที่เมืองไทยแต่รสชาดออกจัดจ้านกว่าด้วยเครื่องแกงแบบพม่า คนที่นี่กินน้ำพริกคล้ายคนไทยแต่ส่วนผสมของน้ำพริกมีกุ้งแห้งที่หยาบกว่าของไทย ผักกินกับน้ำพริกก็มีคล้ายกับของไทย มีใบบัวบก ลูกมะเขือ แตงกวา เป็นอาทิ หลังจากอิ่มท้องในแบบเมนูพม่าราคาไม่แพงแล้ว จึงขอเดินชมเมืองเกาะสองต่ออีกไม่นานจึงเห็นสมควรแก่เวลาขอขึ้นเรือหางยาวกลับเข้าฝั่งไทยด้วยความสุขสวัสดีไว้คราหน้ามีโอกาสจะแวะมาเยี่ยมอีก เรื่องราวการท่องเที่ยวเกาะสอง พม่าประเทศ  ในมุมมองแบบโบราณคดีทัศนาก็คงจบลงด้วยประการฉะนี้แล  เอวัง

..............................................................................................................................
บทความกึ่งวิชาการ  :  เที่ยวเกาะสอง พม่าประเทศ  ในมุมมองแบบโบราณคดีทัศนา
วันพฤหัสบดี ที่ 28 ตุลาคม ปี พ.ศ.2553
เขียน/เรียบเรียง/ถ่ายภาพประกอบ  :  อ.คุณาพร ไชยโรจน์ (E-Mail  :  samara17520@gmail.com)
นักศึกษาระดับปริญญาเอก  สาขาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาฯ  ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
เว็บไซต์เพื่อศิลปวัฒนธรรมไทยภาคใต้(ของคุณดล นภดล มณีวัต)
www.siamsouth.com
เว็บบอร์ดห้องคุยกับคุณาพร. (ศิลปวัฒนธรรมไทยภาคใต้/คตินิยม/ตำนาน/โบราณคดี/วิจารณ์ภาพยนตร์เรท NC20/นวัตกรรม และสิ่งที่ฉันอยากจะเขียน)
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0


******บทความที่น่าสนใจในห้องคุยกับคุณาพร(เพียงส่วนหนึ่ง)******
ถอดจิตรกรรมชุดมหาชาติที่วัดคูเต่า จังหวัดสงขลา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=47.0;all
เปิดกรุต้นตำนานเทวดาอารักษ์ประจำถิ่น "ทวดงู" (animism  :  sacred snake)
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=46.0;all
มองต่างมุม  :  ความเชื่อ............ทวดแม่จามจุรี (ทวดไกรสิงห์ ราชสีห์)
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=11250.0
เล่าเรื่องรามเกียรติ์ผ่านบานหน้าต่างอุโบสถวัดคลองแห สงขลา
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=1019.0;all
บทความ  :  แนวคิดเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง  กรณีศึกษาเด็กติดเกม  และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในวัยรุ่นไทย
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=18004.0;all
บทความพิเศษ...............Snuff Film หนังแห่งตำนาน
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=16344.0
..............................................................................................................................





ภาพประกอบ  21  ร้านค้าของชาวพม่าบนเกาะสอง
ภาพประกอบ  22  ร้านค้าของชาวพม่าบนเกาะสอง(อีกรูป)
ภาพประกอบ  23  ชาวพม่าที่เกาะสอง นิยมชมรายการทีวีของไทยมาก ติดจานเหลือง DTV ซะหลายบ้าน
ภาพประกอบ  24  อิ่มท้องเเบบชาวเกาะสอง ประเทศพม่า
ภาพประกอบ  25  อิ่มท้องเเบบไม่เเพงร้านพม่าเซอร์วิส

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

บรรณานุกรม

กระทรวงการต่างประเทศ.สหภาพพม่า Union of Myanmar.(http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=49).
             วันที่ 25 ตุลาคม 2553.
คุณาพร ไชยโรจน์.บทความ  :  งานประติมากรรมรูปสัตว์ที่แพร่สะพัดในวัดในพระพุทธศาสนา ประเทศ                               
             มาเลเซีย ใน รวมบทนิพนธ์ โครงการทัศนศึกษา หาข้อมูล เพิ่มพูนประสบการณ์ สร้างงานไทยคดี ณ
             ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม พ.ศ.2546.สงขลา  :  มหาวิทยาลัยทักษิณ,2546.
จีรพันธ์ สมประสงค์.ประวัติศิลปะ.กรุงเทพฯ  :  โอเดียนสโตร์,2533.
ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ.หนึ่งเดียวของวัดในอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าเผา.(http://gotoknow.org/blog/pongsupa/9832).
             วันที่ 26 ตุลาคม 2553.
ประณีต ก้องสมุทร.ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ.(http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html).
             วันที่ 27 ตุลาคม 2553.
ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์.รัชกาลที่ 3 กับการสร้างวัดสำคัญกำเนิดตุ๊กตาศิลาจีน.กรุงเทพฯ  :  ชมรมเด็ก,2544. 
ไมตรี ลิมปิชาติ.สารคดีประวัติชีวิตและผลงานของนักจิตรกรรมสากล มนุษย์ต่างดาว ถวัลย์ ดัชนี.กรุงเทพฯ 
             :  วสี ครีเอชั่น,2552.
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ  :  นานมีบุ๊คส์
             พับลิเคชั่นส์,2546.
เศรษฐมันต์ กาญจนกุล.สรรพสัตว์ในหิมพานต์.กรุงเทพฯ  :  อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์,2545.
สุจิตรา อ่อนค้อม.ศาสนาเปรียบเทียบ.กรุงเทพฯ  :  ดวงแก้ว,2542.
สุจิตต์ วงษ์เทศ.บทความ งูทวด-ทวดงู ที่สทิงหม้อ สงขลา ใน ไพร่บ้านพลเมือง หนังสือพิมพ์ข่าวสด
              วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2548.กรุงเทพฯ  :  ข่าวสด,2548.
สุชาติ หงษา.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา.กรุงเทพฯ  :  ธรรมสภา,2549.
สุเนตร ชุตินธรานนท์.บรรยายพิเศษหัวข้อ "ประวัติศาสตร์พม่า: ความหลากหลาย อำนาจ ความรู้ และความ
             เป็นอื่น".เชียงใหม่  :  คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์
             และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) ร่วมกับศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษาเพื่อการพัฒนา,2553.
สุภัทรดิศ ดิศกุล,สันติ เล็กสุขุม และสุจิตต์ วงษ์เทศ.เที่ยวดงเจดีย์ ที่พม่าประเทศ ทางประวัติศาสตร์ศิลปะ
             และวัฒนธรรม.กรุงเทพฯ  :  มติชน,2545.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.เที่ยวเมืองพม่า.กรุงเทพฯ  :  มติชน,2514.
อาทร จันทวิมล.ประวัติของแผ่นดินไทย.กรุงเทพฯ  :  อักษรไทย,2548.
Hopfe, Lewis M.Religions of the World.3 edition,New York  :  Macmillian Publishing Co. Inc., 1983.
Maung Htin Aung.A History of Burma. Columbia University Press,1967.


...



รายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการอ้างอิง

1. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
2. ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล
3. รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละผู้เชี่ยวชาญ
             ประวัติศาสตร์พม่า
4. รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม
5. ดร.สุชาติ หงษา
6. ดร.อาทร จันทวิมล
7. ดร.ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
8. ดร.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี พ.ศ.2544
9. รศ.นพพร ด่านสกุล
10. สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เมื่อปี พ.ศ. 2545 และรางวัลศรีบูรพาคนที่ 5 ปี พ.ศ.2536 
11. เศรษฐมันต์ กาญจนกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนภาพจิตรกรรมไทยระดับแถวหน้าของประเทศไทย
12. ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
13. ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์
14. จีรพันธ์ สมประสงค์   
15. ประณีต ก้องสมุทร
16. Maung Htin Aung (หม่องทินอ่อง) นักการทูต และนักประวัติศาสตร์ชาตินิยมผู้มีชื่อเสียงในประเทศพม่า
17.  Hopfe, Lewis M.
;) ;) ;) ;) ;)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ส่วนในฝั่งไทยที่จังหวัดระนองผู้เขียนก็มีโอกาสได้ไปเที่ยวในหลายๆสถานที่  อาทิ ที่ภูเขาหญ้า  ท้าทายมากครับ ตอนขึ้นนี่เหนื่อยเเทบขาดใจ(330 ขั้น)  ตอนลงก็เสียวตกบรรได  ขึ้นไปเเล้วก็ต้องตีระฆังเอาฤกษ์เอาชัยสินะ  อิอิ ;)

1. เขาหญ้า
2. ทางขึ้นเขาหญ้า 330 ขั้น(เข่าอ่อนกันพอดี)
3. พอขึ้นมาถึงยอดเขาหญ้า  มองลงไปหวาดเสียวมากกกกก
4. มีเเต่หญ้าจริงๆ
5. ผู้เขียนกับการตีระฆังเอาฤกษ์เอาชัยบนเขาหญ้า

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ไปศึกษาวิถีชีวิตของชาวมอเเกน ที่เกาะเหลา

1. ลงเรือที่ท่าสะพานปลา ระนอง
2. ลงเรือช่วงนี้คลื่นน่ากลัวมาก  ขึ้นฝั่งที่เกาะเหลา
3. ชววิถีการตั้งบ้านเรือนเเบบมดเเกน(ยิปซีทะเล)
4. ชาวมอเเกน ให้การต้อนรับทางคณะเป็นอย่างดี
5. หัวหน้าหมู่บ้านของชาวมอเเกน  ติดจานดาวเทียม C_ ทันสมัยมากกกกกกก
;)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

1. พื้นดินบริเวณตั้งบ้านของชาวมอเเกนปลูกพืชไม่ได้  เลยต้องปลูกบนบ้านเเทน
2. ทางเดินในหมู่บ้านของชาวมอเเกน
3. อะไรตกอยู่เต็มทางเดินน่ะ
4. รู้สึกจะเป็นเครื่องดื่มที่ผู้ชายชาวมอเเกนของที่นี่นิยมดื่มกันน่ะ
5. มอเเกนที่นี่เป็นคริสต์นะครับ(เเตกต่างจากที่ภูเก็ตที่เป็นมุสลิม)
;D

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

เดินมากๆชักปวดขา  เลยพากันไปเที่ยวบ่อน้ำร้อน
;)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

1. ลงเรือไปเลอีกครั้ง
2. บรรยากาศเเสนดี
3. เเต่ชักงงๆ.....มาจอดตรงเเพกลางทะเลทำไม?
4. สรุปว่าเรือเสียครับ(ซ่อมอยู่ราว 45 นาที ตากเเดดดำกันถ้วนหน้า ฮา)
5. ผู้ร่วมชะตากรรมเรือเสียกลางทะเล 555+
;D

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

1. กลับมาโรงเเรมทินิดี ระนอง ได้ก็นอนเป็นตาย
2. สมกับคำกล่าวที่ว่า "ระนอง เมืองฝน 8 เเดด 4 จริงๆ"
3. ดึกๆชักหิวเลยสั่งของมากินเเก้หิว
4. โค๊ก+น้ำเเข็งเปล่า  ราคา 40 บาท!!!!  เเพงมากกกกกกกอาหารในโรงเเรม
5. ชีสเบอร์เกอร์ ราคาจานละ 110 บาทส่งถึงเตียงนอน  กินเเล้วอิ่มพอดี(เเต่เเพงง่ะ)
;)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

มีเรื่องตลกอยู่เรื่องหนึ่งนะเออ......ผู้เขียนกับเพื่อนๆไปเที่ยวกันจนดึก(ดึกมากๆ)กลับมาหิวอีกล่ะ  เงินน่ะพอมีเเต่ไม่มีอะไรให้ซื้อฮะจิ(ตี 2)ร้านค้าก็ปิดกันหมด  ร้านข้าวต้มก็ไม่อยากเดินไป(เกือบครึ่งกิโล)............เลยจำใจยัดเจ้าพวกนี้เข้ากระเพาะเเทน(เห็นตั้งโชว์อยู่บนโต๊ะในห้องนอน) อิ่มเหมือนกันโฟ๊ยยยยยย

ปล.  ดีกว่าไม่มีอะไรกิน   ;D

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

ขากลับหาดใหญ่ผ่านพัดลุง..........เเวะหลานตาชูหน่อยจิ

1. ที่นั่งประจำของผม
2. เลือกเมนู
3. จานพร้อม  อาวุธพร้อม
4. จานเเรกยำปลาหมึก.....เเซบดี ;D

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

คุณาพร.

1. มาร้านหลานตาชู ถ้าไม่สังสเต็กก็กะไรอยู่นา  สเต็กเนื้อกวาง+มันบด ของโปรดครับท่าน
2. สเต็กเนื้อกวางเเทบไม่มีไขมันติดจานเลย  เนื้อออกรสชาดหวานๆนุ่มๆอร่อยมาก
3. เมนูเเนะนำครับ  ซาซิมิสด  อร่อยมากโดยเฉพาะเนื้อปลาทูน่า(ที่เห็นสีเเดงๆกลางเรือนั่นเเหล่ะครับ)จานนี้ราคา 150 บาทถ้วนจ้า
4. สุดท้าย.........อ่านซะ
;)

****** บทความพิเศษ : เปิดกรุหนังต้องห้าม (Prohibited Films) *******
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=19768.0

เว็บบอร์ดส่วนตัว  :  ห้องคุยกับคุณาพร
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?board=11.0

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู

พี่แอ๊ด

เข้ามาอ่านและดูภาพประกอบ
เคยไปเที่ยวเกาะสอง  ประเทศพม่า  เมื่อ 20 ปีก่อน  ตอนนั้นเป็นวันสงกรานต์  เมืองเขา
เล่นสาดน้ำด้วย   สมัยนั้นนั่งเรือยังไม่มีเสื้อชูชีพ  น่ากลัวมาก  สภาพของเกาะสองเมื่อ 20 ปีกับปัจจุบันไม่ต่างกันมาก    เดี๋ยวขอไปรื้อรูปเก่ามาแจมนะคะ