ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไม่รู้จะทุบไหม

เริ่มโดย Singoraman, 12:31 น. 16 พ.ย 52

หม่องวิน มอไซ

ส่วนภาพนี้มาจากหนังสือ รายงานกิจการประจำปี ๒๕๐๓-๒๕๐๔ ของจังหวัดสงขลา
คุณเอนก นาวิกมูล สำเนามาลงพิมพ์ไว้ในหนังสือ สมุดภาพสงขลา พ.ศ. ๒๕๕๑ ครับ

สังเกตว่าสมัยนั้น รั้วของศาล ยังใช้ต้นอากาเว่ (ศรนารายณ์) ปลูกประดับไว้
ซึ่งเปลี่ยนมาเป็นต้นเฟื่องฟ้า ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลาในปัจจุบัน
ทั้งสองภาพข้างบนนี้ ผ่านมาเกือบ 50 ปีแล้วครับ



Singoraman

ภาพศาลากลางจังหวัด น่าจะถ่ายจากไหนครับ อ.หม่องวินฯ
หรือจะเป็นถ่ายจากเครื่องบิน

หม่องวิน มอไซ

ถ่ายจากเครื่องบินแน่นอนครับ ตัวเมืองสงขลาถ่ายจากมุมสูงได้เพียง 3 แห่งเท่านั้นคือจากเขาน้อย เขาตังกวนและเขาค่ายม่วง

ประวัติของศาลจังหวัดสงขลา

เดิมศาลจังหวัดสงขลา คือ ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช เนื่องจากขณะที่จัดตั้งศาลยุติธรรมแบบใหม่ขึ้นตามหัวเมืองต่าง ๆ นั้น การปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยนั้นใช้ระบบเทศาภิบาล แบ่งเขตปกครองออกเป็นมณฑลเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

พระธรรมนูญศาลหัวเมือง ร.ศ.116 (พ.ศ.2439) ซึ่งกำหนดรูปแบบของศาลที่จะตั้งขึ้น บัญญัติให้มีศาลยุติธรรมในหัวเมืองเป็น 3 ชั้น คือศาลมณฑล ศาลเมืองและศาลแขวงเพื่อให้สอดคล้องกับแบบการปกครองดังกล่าว และได้จัดตั้งศาลมณฑลขึ้นมณฑลละ 1 ศาล ณ เมืองอันเป็นที่ตั้งศาลาว่าการมณฑล

และโดยที่มณฑลนครศรีธรรมราชมีศาลาว่าการมณฑลอยู่ที่จังหวัดสงขลา ศาลมณฑลนครศรีธรรมราชจึงตั้งขึ้นที่จังหวัดสงขลา เปิดทำการเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ร.ศ.116 มีพระยาพิทักษ์เทพธานีเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลนครศรีธรรมราชคนแรกโดยใช้ที่ทำการร่วมกับที่ว่าการมณฑล ณ จวนเมืองเก่า ซึ่งเป็นตึกแบบจีน (ปัจจุบัน เป็นที่ทำการโทรศัพท์กลางและร้านค้า) ศาลยุติธรรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ในกาลต่อมาได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง กล่าวโดยสรุปก็คือ

ยกเลิกอำนาจศาลมณฑลในการพิจารณาพิพากษาความอุทธรณ์จากศาลต่ำในมณฑลนั้น ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ในกรุงเทพมหานคร ต่อมาได้
มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เปลี่ยนคำว่า "เมือง" เป็น "จังหวัด" ให้เรียก "ผู้ว่าราชการเมือง" เป็น "ผู้ว่าราชการจังหวัด" กระทรวงยุติธรรมจึงได้ประกาศลงวันที่ 15 มิถุนายน 2459 ให้เปลี่ยนคำว่า "ศาลเมือง" เป็น "ศาลจังหวัด"เพื่อให้สอดคล้องกัน โดยให้คงมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาอย่างเดิม

และ ต่อมาพระธรรมนูญศาลยุติธรรมแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2473 ได้แก้ไของค์คณะของศาลจังหวัดเป็นว่า จะต้องมีผู้พิพากษาสองนายจึงจะเป็นองค์คณะที่จะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้เต็มตามกฎหมาย จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงในเขตจังหวัดนั้นได้ทุกบทกฎหมาย และทำให้ศาลมณฑลคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะภายในเขตจังหวัดอันเป็นที่ตั้งศาลมณฑลไปโดยปริยาย

ศาลมณฑลและศาลจังหวัดจึงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้เท่ากัน ดังนั้นเมื่อมีการยุบเลิกมณฑลใน พ.ศ. 2476 ดังกล่าวมาข้างต้นการ
เปลี่ยนฐานะจาก "ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช" เป็น "ศาลจังหวัดสงขลา" จึงเท่ากับเป็นการเปลี่ยนชื่อเรียก เพราะตามกฎหมายยังคงมีอำนาจหน้าที่อย่างเดิมทุกประการ

ต่อมาที่ทำการคับแคบไม่สามารถขยายต่อเติมได้เพราะอยู่ติดกับเรือนจำสงขลา ทั้งตัวอาคารที่ทำการสร้างมานานชำรุดทรุดโทรม จึงมีโครงการจะย้ายที่ทำการศาลแห่งใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2471จนกระทั่ง พ.ศ. 2477 หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงยุติธรรมภาคใต้ จึงเลือกที่ดินทางทิศตะวันออกของวัดสระเกษ เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เป็นที่สร้างศาลแห่งใหม่ โดยได้ทำการฝังรากเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2479
เริ่มก่อสร้าง ในเดือนเมษายน 2480 เสร็จเรียบร้อย เมื่อ วันที่ 21 พฤษภาคม 2484 ทำพิธีเปิดอาคารที่ทำการศาลใหม่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 โดยพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ ประธานศาลฎีกา ในขณะนั้น (ปัจจุบันนี้ใช้เป็นที่ทำการศาลแขวงสงขลา)

พี่

โฟกัสภาคใต้ รายสัปดาห์ วันที่ 12 - 18 ธันวาคม 2552