ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โรคทอนซิล (Tonsil) ตัดทิ้งดีหรือไม่

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 09:44 น. 28 มิ.ย 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

โรคทอนซิล (Tonsil) ตัดทิ้งดีหรือไม่

รศ.พญ.กิติรัตน์ อังกานนท์
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

            ต่อมทอนซิลนั้นมีประโยชน์ มีหน้าที่อย่างไรบ้างและถ้าเกิดจำเป็นที่จะต้องรักษาโดยการตัดทิ้ง จะมีผลเสียหรือจะมีผลร้ายต่อร่างกายของเราบ้างหรือไม่

            ต่อมทอนซิล ก็คือต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมที่ตั้งอยู่ในช่องปาก มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหารว่าเป็นด่านแรก หน้าที่รองก็คือ สร้างภูมิคุ้มกันแต่ไม่ใช่ส่วนที่สำคัญ หน้าที่หลักคือการทำลายเชื้อโรคในช่องปากมากกว่า ก็จะมีทุก ๆ คนหรือเรียกว่ากับกักของเชื้อโรค

โรคใดบ้างที่จะเกิดขึ้นกับต่อมทอนซิล

            โรคต่อมทอนซิลส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ติดเชื้อแล้วก็สาเหตุของโรคติดเชื้อก็คือมักจะเป็นแบคทีเรีย เป็นส่วนใหญ่ส่วนน้อยก็จะเป็นเชื้อไวรัส และส่วนน้อยลงไปอีกก็คือเชื้อราหรือเชื้อวัณโรคส่วนใหญ่ก็จะเป็นแบคทีเรียทั่วไป โรคของต่อมทอนซิลไม่ได้มีแต่โรคติดเชื้ออย่างเดียวส่วนน้อยก็จะเกิดเป็นโรคมะเร็งได้ด้วย  ถ้าโรคที่คุณหมอบอกมาในข้างต้นเกิดขึ้นกับต่อมทอนซิลแล้วจะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แล้วก็จะมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามาทีหลังอีกไหม

            ที่กล่าวมาแล้วส่วนใหญ่จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เพราะฉะนั้นอาการส่วนใหญ่ก็จะไม่รุนแรงมากก็จะเป็นไข้เจ็บคอ แต่ก็มีส่วนน้อยอีกเหมือนกันเช่น โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (Streptococcus) หรือไวรัสบางชนิดก็สมารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่เรามักจะกลัวคือ การอุดกลั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากว่าต่อมทอนซิลอยู่ในช่องปากพอดี ถ้าเกิดว่ามันมีการอักเสบและโตมากก็จะมีการอุดกลั้นทางเดินหายใจมาได้ นอกจากนี้ยังมีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากแบคทีเรียชนิด Streptococcus จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของโรคหัวใจ แล้วก็โรคไตได้ ถ้ามีระยะรุนแรงก็จะมีปัญหาต่อร่างกายได้ในภายหลัง  ปัญหาส่วนใหญ่มักพบกับเด็กๆ ในกลุ่มผุ้ป่วยกลุ่มอื่นๆนั้นมักพบปัญหาเกี่ยวกับต่อมทอนซิลบ้างได้หรือไม่

            ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน 10 ปี เพราะหลัง 10 ปีไปแล้วก็จะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยก่อน 20 ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบส่วนใหญ่จะไม่พบคนไข้ในวัยกลางคนไปแล้ว ถ้าพบหลังจากนั้นคนไข้มีต่อมทอนซิลอักเสบหรือเจ็บข้างใดข้างหนึ่งให้นึกถึงโรคมะเร็งของต่อมทอนซิลไว้ด้วย

จะขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานโรคได้ดีกว่าเด็กๆ ไหมถึงจะพบปัญหาต่อมทอนซิลนี้น้อย  ใช่ค่ะ ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันกับของคนปกติจะดีขึ้นหลัง 6 ขวบไปแล้ว

โรคต่อมทอนซิลเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร อื่นๆ อย่างไรบ้าง

            โรคส่วนใหญ่ก็เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้อยก็จะเกิดจากเชื้อไวรัส กับเชื้อรา การติดต่อก็จะเกิดจากการหายใจ ไอ จาม หรือใช้ภาชนะที่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำรวมหัน ก็เป็นโรคที่สามารถติดต่อคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ในระบบการหายใจ

ลักษณะอาการจำเพาะของโรคต่อมทอนซิลอักเสบนั้น เราจะสังเกตการผิดปกติได้อย่างไรบ้าง

            คนไข้ที่เป็นต่อมทอนซิลอักเสบนั้นก็จะมีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ อาการที่แตกต่างจากเด็กธรรมดาคือ คนไข้จะมีการกลืนลำบาก กลืนแล้งเจ็บคอ คนไข้เด็กก็จะมีอาการน้ำลายไหลเพราะเขากาลืนลำบากและน้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมาให้เราเป็นที่สังเกต หรือคนไข้เจ็บคอมากๆ ก็จะมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหารเพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เขาเจ็บอยู่ ต่อมทอนซิลก็จะรุนแรงกว่าโรคเจ็บคอหวัดธรรมดา

การรักษาในปัจจุบันว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วเราจะมีการรักษาอย่างไรบ้างหรือว่าตัดทิ้งอย่างเดียวจะเป็นทางเลือกอย่างไรบ้าง การรักษาทอนซิลอักเสบจะมีการรักษาโดยการใช้ยาปฎิชีวนะเพราะส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรียการให้ยาปฎิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อเแบคทีเรียก็เป็นหลักสำคัญในการรักษาโรค และคนไข้ส่วนใหญ่ก็จะหายได้หรือาการดีขึ้นจากการให้ยา การตัดทิ้งนั้นน้อยมาก สำหรับยาปฎิชีวนะก็มีหลายชนิดแนะนำว่าควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งและรับประทานให้นานพอ เช่น 7-10 วัน การรักษาแบบให้ยาปฎิชีวนะแล้วต้องให้การรักษาแบบประคับประคองรวมด้วย เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ดื่มน้ำมากๆ หรืออาตต้องไให้น้ำเกลือถ้าผู้ป่วยทานอาหารไม่ค่อยได้ แลให้ทานอาหารอ่อนๆ  ปัญหาการตัดทิ้งถ้ากรณีใดบ้างที่ผู้ป่วยจำเป็นหรือได้รับคำแนะนำว่าต้องตัดทิ้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

            ผู้ป่วยที่จะต้องตัดต่อมทอนซิลออกมีข้อบ่งชี้คือว่าผู้ป่วยนี้มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยมากเป็นเกิน 7 ครั้งใน 1 ปี หรือว่าเกิน 5 ครั้งติดกัน 2 ปี หรือ 3 ครั้งติดกัน 3 ปี ในการอักเสบนี้ควรจะได้รับการตรวจจากแพทย์และได้รับการยืนยันว่าเป็นต่อมทอนซิลอักเสบจริง เช่นมีทอนซิลเป็นหนอง หรือมีอาการไข้ นอกจากนี้เราจะตัดต่อมทอนซิลทิ้งสำหรับคนไข้ที่ใช้ยาปฎิชีวนะหลายชนิดไม่ดีขึ้น หรือในเก็กท่ทต่อมทอนซิลอักเสบก้อนโตมากอุดตันทางเดินหายใจมีอาการหายใจลำบากกินลำบาก ส่วนในผู้ใหญ่ข้อบ่งชี้ที่จะตัดต่อมทอนซิลทิ้งคือ ก้อนโตผิดปกติหรือข้างใดข้างหนึ่งโจผิดปกติและสงสียว่าอาจจะเป็นมะเร็งในต่อมทอนซิลเราจะตัดออกมาตรวจ การตรวจและรักษาก็ต้องขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย



เมื่อตัดต่อมทอนซิลทิ้งควรทำหรือไม่ควรทำจะเกิดอย่างไรกับร่างกายบ้างไหม
            การผ่าตัดต่อมทอนซิลควรทำในผู้ป่วยที่มีการอักเสบบ่อย โดยเฉพาะทุกครั้งที่อักเสบแล้วเป็นหนองหรือเป็นมากจนร่างกายทรุดโทรม และถ้าเป็นเด็กก็จะหยุดเรียนบ่อยร่างกายไม่ค่อยโต ผู้ใหญ่ก็เช่นกัน ถ้าป่วยมากเป็นบ่อยขาดงานบ่อยก็ควรจะทำ สำหรับข้อดีและข้อเสียในการตัดต่อมทอนซิล สำหรับข้อดีในการตัดต่อมทอนซิล
            กำจัดไม่ให้ติดเชื้อ ทำให้ไม่ติดเชื้อบ่อย สำหรับผู้ป่วยเด็กการเดินหายใจก็จะโล่งขึ้นด้วย

สำหรับข้อเสียในการตัดต่อมทอนซิล
            ในการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไม่มีข้อเสียเมื่อเราตัดสินใจจะตัดทิ้งตามข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องมักจะเป็นต่อมที่ไม่ทำงานแล้ว ต่อมที่ไม่ทำงานจะไม่ฆ่าเชื้อโรคแต่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคเราจึงต้องตัดทิ้ง แล้วต่อมน้ำเหลืองในช่องคอที่ทำงานจับเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลนี้ก็มีมาก ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเสียภูมิต้านทานไป สรุปข้อเสียไม่มีแต่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ตัดต่อมทอนซิลทิ้งไปแล้วจะมีวิธีการพิเศษที่จะดูแลร่างกายมากกว่าผู้คนที่ยังมีต่อมไหม เราเริ่มดูแลตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกที่ตัดทิ้งไป

            1. ควบคุมอาหารหลังผ่าตัด จะต้องรับประทานอาหารเหลวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เจ็บคอและไม่ให้เลือดออกจากแผล
            2. หลังจาก 7 วันแรกที่ตัดให้รับประทานอาหารอ่อนและไม่ร้อนด้วย เพื่อไม่ให้เลือดออกอีก
            3. หลังจาก 14 วันไปแล้วก็ไม่มีปัญหาอะรก็ทานยาปฎิชีวนะหลังผ่าตัดและป้อนน้ำสะอาดให้เสมอ และหลังจากนั้นร่างกายก็เป็นปกติการตัดต่อมทอนซิลไม่ได้ทำให้เราอ่อนแอลงหรือติดเชื้อง่ายขึ้นแต่ประการใด

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จแล้วนอนโรงพยาบาลกี่วัน

            ก็จะนอนพักฟื้น 1-2 วัน ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่ที่มีความแข็งแรงก็จะไม่มีปัญหาอะไรก็มักจะกลับบ้านได้เลยแต่ถ้าเป็นเด็กเราต้องเช็คดูว่ามีอาการอย่างไร รับประทานอาหารหรือไม่ ดื่มน้ำได้หรือไม่

การป้องกันไม่ให้มีสุขภาพเกี่ยวกับโรคต่อมทอนซิลว่าเราจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง

คนปกติก็จะไม่ค่อยเป็นต่อมทอนซิลกันอยู่แล้ว ถ้าเกิดเป็นขึ้นมาการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรังก็คือว่า เมื่อเป็นต่อมทอนซิลก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาและคำแนะนำ และเมื่อมีการติดเชื้อควรจะมีการรักษาให้หายคือการรับประทานยาปฎิชีวนะตามที่หมอสั่งและเหมาะสมกับระยะเวลาที่ยาวนานคือ 7-10 วัน ไม่แนะนำให้ซื้อยารับประทานเองเพราะถ้าใช้วิธีนั้นก็จะได้รับยาไม่ถูกต้อง พอทานอยู่ 2-3 วันพอเห็นอาการดีขึ้นก็หยุดไป แล้ว 2-3 วันก็จะเป็นใหม่แล้วก็จะทานยาเดิมไม่ได้ เพราะเกิดอาการดื้อยาก็จะเป็นปัญหาต่อมทอนซิลอักเสบและจะมีปัญหาเรื้อรัง ยาปฏิชีวนะที่ได้รับจากคุณหมอหลายๆ โรคเลยจำเป็นจะต้องใช้ยาชนิดนี้ จำเป็นไหมจะต้องรับประทานยาให้หมดตามจำนวนที่คุณหมอให้มาหรือพอโรคหายแล้วก็หยุดยากลุ่มนี้ได้ ยาปฎิชีวนะที่หมอให้มาสมควรที่จะทานให้หมดทุกคางเพราะโรคต่างกันแต่ละโรคจะมีระยะเวลาไม่เท่ากันส่วนใหญ่คนไข้พอทานยา 3 วันก็จะรู้สึกดีขึ้นก็อย่าพึ่งหยุดยาต้องทานให้โรคมันหายขาดจะได้ไม่ดื้อยาต่อไป