ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ล้างบางระบอบทักษิณสำเร็จแล้ว!!

เริ่มโดย เหมี่ยวฉ่องหยิน, 23:23 น. 20 ม.ค 57

dj cop

                            " อากาศยามคำคืนปักษ์ใต้บ้านเราช่วงนี้  เย็นสบายดีจัง......    ลมพัดเย็น สดชื่น เงียบสงบ เหมาะที่อยู่คุยกะตัวเองเพียงลำพัง......    นึกอยากถามตัวเองว่า  ในฐานะประชาชนคนธรรมดาที่เกิดในชายคาประเทศไทย เราจะมีส่วนที่ยินตรงไหน   ที่จะช่วยกันแก้ปัญหาของบ้านเมืองที่สาหัสสากรรจ์....     แตกแยก แบ่งข้าง ทุกฐานะชั้นชน  ตั้งแต่ผู้ดี ไพร่  จนถึงเตียงนอน ......     กติกาสากลในระบอบการปกครองคือประชาธิปไตย  ผู้บริหารบ้านเมืองต้องมาจากเสียงของประชาชน    และลุกจากอำนาจด้วยเสียงประชาชน......   เราไม่ได้ใหม่จนเกินไปนักถ้านับจากปี พ.ศ 2475      กว่าจะสุขงอมอเมริกาก็ต้องใช้เวลาเป็น 100 ปี     ถึงจะมีประธานาธิปดีผิวสี...      อีกสองปีบ้านไกล้เรื่อนเคียงเราเค้าจะเปิดบ้านเปิดหน้าต่าง   จะจัดงานสมโภชน์ใหญ่โตต้อนรับขับสู้ญาติมิตรมาเยี่ยมเยียน....   รีบรบกันให้เสร็จ ๆ  จะได้ดับบ้านดับเรื่อนเหมือนเพื่อนเค้าบ้าง.................... ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน

[v]

เอาเป็นว่าล้างระบอบทักษิณได้เมือไหร่ ความจริงก็จะปรากฎเอง ไม่กลัวหรอกครับว่าเสื้อแดงจะออกมา ถ้าล้างระบอบทักษิณให้หมดไปจากเมืองไทยได้ เพราะพวกมันไม่มีทุนหนุนหลังนั่นเอง

Bangdan SKL

ควายตาบอด....หากินในป่าใหญ่

Mr.No

คุณฉ่๋องฉี่

อ้างถึงเรื่องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ สว. ผมไม่เห็นว่าระบอบทักษิณจะไปสร้างปัญหาอะไรกับการแก้ไข สว. ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด คุณช่วยบอกหน่อยว่าให้ สว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดเป็นปัญหากับประเทศอย่างไรและผมเห็นคนที่มีปัญหาคือ สว.สรรหาที่ไปยื่นคำร้องต่อศาลต่างหาก

คุณน่าจะแคลงใจเรื่องไม่รับอำนาจศาลมากกว่า

รธม 50..
มาตรา ๖๘ (วรรคหนึ่ง) "บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการ ซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ... มิได้"

รัฐสภานั้นเขาถือว่าเป็นองค์กรผู้ทรงอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขามีอำนาจตามที่ กม.ให้อำนาจหน้าที่เอาไว้ รัฐสภาจึงไม่ใช่บุคคล แล้วก็รัฐสภาก็ไม่ได้ใช้สิทธิ เขามีอำนาจหน้าที่ที่จะทำต่างหาก

ในขณะที่ขั้นตอนการรับคำร้องงของศาลล่ะ การรับเรื่องนี่ว่าเข้าข่าย ม.68 นี้ มันเข้าข่ายไหม ผมถามคุณกลับบ้างการไปยื่นเรื่องโดยตรง โดยไม่ผ่านอัยการให้พิจารณาก่อนี่ชอบด้วยวิธีไหม

ผมเห็นคุณสนใจเรื่องหลักการถ่วงดุลย์ของมองเตสกิเออร์มาก ขอถามคุณหน่อยว่าศาลรัฐธรรมนูญอยู่ตรงไหนของหลักการแบ่งอำนาจนี้


........................... รัฐธรรมนูญ...................................

นิติบัญญัติ................... บริหาร.........................ตุลาการ

และถามคุณด้วยว่าอะไรที่เป็นอำนาจถ่วงดุลย์ของศาลรัฐธรรมนูญ

เรื่องเขาพระวิหาร คงต้องรบกวนคุณบอกอีกสักหน่อยว่าเป็นปัญหาจากระบอบทักษิณอย่างไรไม่เข้าใจคำถาม

เรื่องทุจริตจำนำข้าว ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นตอนของการกล่าวหา อย่าพึ่งด่วนสรุป ให้คนที่ถูกกล่าวหาได้เข้ามาชี้แจงก่อน
ปัญหาของแพง โอ้คลูกชายทักษิณแนะนำแล้วว่า ให้คุณไปกินข้าวที่หน้าทำการพรรคประชาธิปัตย์ อิอิ ล้อเล่น

มองอย่างใจเป็นธรรมหน่อย สินค้าบางอย่างแพงขึ้น แต่สินค้าบางอย่างก็อาจถูกลง แต่ความรู้สึกของเราคือ เหมารวมว่าแพงขึ้นทั้งหมด
ยอมรับกันให้ได้ก่อนว่า นานวันเข้าราคาสินค้าและบริการ ก็ต้องขยับตัวสูงขึ้นไปเรื่อย ไม่มีวันลดกว่าเดิมหรอก
แม้รัฐจะกดราคาได้ในวันนี้ ไม่ช้าไม่นานมันก็ต้องขึ้นอยู่ดี สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะ ประเทศไทย

ลดราคาน้ำมัน มีด้วยเหรอขอหลักฐานมาให้ดูหน่อยซิ

ส่วนเรื่องน้ำมันคงขี้เกียจอธิบาย ผมไม่มีความรู้ ผมแค่สงสัยที่คุณบอกว่าเราเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน อยากให้คุณเล่าตรงนี้ให้ฟังต่างหาก


ผมตัดประเด็นอื่น ๆ ออก เพราะมันวนไปมาไม่มีที่จะจบ เพราะหากการเสวนาของคุณจะอยู่บนพื้นฐานที่ตั้งกรอบเหตุและผลไว้แค่ แค่ ประชาธิปัตย์ กับ เพื่อไทย  แบบที่ผมเคยเจอคนพวกนี้แสดงความเห็นมาหลายคน (ไม่ต่างกัน)

ผมคัดเฉพาะประเด็นนี้มาตอบคุณ เพราะเห็นว่า ถ้าคุณถามในสาระและข้อเท็จจริง ผมก็จะลองแสดงความคิดเห็นดู ด้วยความรู้กฎหมายที่ครูบาอาจารย์ท่านได้ประสิทธิประสาทมาให้บ้าง

กรณีที่มา สว. นั้น ผมอ่านคำตอบคุณแถมด้วยการแสดงผังดุลอำนาจที่คุณยกมาแล้วก็พอเดาได้ว่า นี่เป็นผังคุ้น ๆ  และเชื่อว่าคุณก็เป็นพวกบรรดาสาวกของ นายเอกชัย ไชยนุวัติ
ที่พักหลังมานี้พอได้แสดงกึ๋นออกทีวีรายการโน้นรายการนี้แล้วเสื้อแดงเฮกันใหญ่ ก็เลยเห็นออกทางช่อง 11 ชักจะถี่
ประเด็นผังที่คุณยกมานั่นน่ะ... ผมว่ามันผิดนะ... คุณพยายามเขียน รัฐธรรมนุญไว้ข้างบนเพื่อชี้ให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญอยู่สูงสุด และหลั่นลงมาเป็น องค์กรทั้งสาม  ...คำตอบคือ "ผิด!"

รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมาย มิใช่องค์กร ..แค่คุณวางผังแบบนี้มันก็ผิดแล้ว  เพราะนั่นหมายถึงทุกคนอ่านก็จะนึกว่า แต่ละองค์กรมีอิสระขึ้นตรงกับกฎหมายรัฐธรรนูญอย่างเดียว แบบงานนี้ องค์กรอื่นไม่ต้องมายุ่ง

ที่ถูกต้อง  ในการทำความเข้าใจคือ ทั้งสามองค์กร ต้องเขียนอยู่ในวงกลมใหญ่วงเดียวกันคือ วงกลม "รัฐธรรมนูญ" ซึ่งจะสามารถทำความเข้าใจได้สอดคล้องตาม มาตรา 3 ที่ระบุชัดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ..พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทาง นิติบัญญัติ, บริหาร, และตุลาการ  ส่วนว่าแต่ละองค์กรนั้นถ่วงดุลกันอย่างไร ผมขี้เกียจเขียนลองไปหาหนังสือเด็ก ชั้น ม.1 อ่านก็คงมี 


   คุณถามผมว่า การให้ สว. มาจากการเลือกตั้งมันจะเป็นปัญหากับประเทศอย่างไร ? จะให้ผมตอบอย่างไรล่ะ..เพราะศาลฯ ท่านก็วินิจฉัยไปหมดแล้วว่ามันขัดต่อรัฐธรรมนูญ  แล้วอีกอย่างผมเคารพในคำวินิจฉัย ซึ่งถือว่าคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษานั้น ครอบคลุมและผูกพันทุกองค์กร และถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิติรัฐ ที่หากคนไม่เชื่อหรือไม่ฟังศาล มันก็รู้จะอยู่กันอย่างไรในสังคม

ดังนั้นถ้าจะถามความเห็นผม..เพื่อประกอบเสวนากัน คุณกับผมต้องตกลงกันว่า จะคุยกันบนพื้นฐานที่เราจะต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน เพราะมันจะได้ใกล้เคียงว่าเราคุยกันในระบอบนิติรัฐ เพราะไม่งั้นมันไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเหมือนกับ นั่งคุยกับโจรเปล่า ๆ (อันนี้ไม่หยาบนะ..เพราะเป็นภาษาในนักกฎหมายจะเข้าใจกัน)


ผมอธิบายเรื่องนี้ให้คุณและฝากไปถึง นายเอกชัย  ด้วยความรู้กฎหมายพื้น ๆ จากคนแก่บ้านนอกให้ฟัง และเผื่อเพื่อน ๆ ในกิมหยงที่ชอบเรื่องการเมืองโดยเฉพาะเกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งหากต้องการแบบละเอียดก็มีให้อ่านตามคำวินิจฉัยของศาลท่าน แต่ผมจะประมวลให้อ่านแบบเข้าใจง่ายๆ แบบบ้าน ๆ

ประเด็นที่ แก๊งค์ สส. + สว ของเสื้อแดง ขอแก้ไข ร่าง กม.รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในเรื่องที่มาของ สว นี้ โดยไปร้อง ว่า แก๊งค์เหล่านี้กระทำผิด กล่าวคือ หมกเม็ดตั้งแต่ขึ้นการอภิปราย ซึ่งหากใครได้ติดตามการอภิปรายในสภาแล้วก็จะรู้สึกหมั่นไส้จริง ๆ ทั้ง ตัวประธาน,และลิ่วล้อจอมประท้วงตัดเกม ฯลฯ เพราะไม่ได้ให้โอกาส สส.อีกฝ่ายอภิปรายแย้งหรือแสดงความเห็นตามที่ควรจะให้สิทธิตามกฎหมาย แต่ใช้วิธีการรวบรัดสั่งปิดอภิปรายและลงมติรายมาตราอย่างน่าเกลียด (อันนี้ถ้าใครได้ติดตามทีวีก็คงรู้ดี)

ไอ้ที่แสบกว่าก็คือ พอถึงวันที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ  เกิดพบว่า ฉบับที่นำขึ้นทูลเกล้าให้ในหลวงเซ็น กับฉบับที่อภิปรายกันในสภามันมีเนื้อหาแตกต่างกัน พูดง่าย ๆ ก็คือมีการสอดไส้เข้าไปแล้วให้ในหลวงท่านเซ็น!  นี่คือ แสบสุดๆ  ที่เป็นเรื่อง มิบังควร!

เพราะร่างใหม่ดันมีการแก้ไขเพิ่มเติม หลักการสำคัญในมาตรา 116(2) ที่ให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดวาระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที!  ทั้งที่ของเดิมไม่มีเรื่องนี้ ...นั่นเท่ากับว่า เป็นการกระทำที่ต้องถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดข้อเท็จจริง

   ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สามัญชนก็คิดได้ง่าย ๆ ติ๊งต่างคล้ายกับเราตกลงทำสัญญาจำนองที่ดินกับใคร เราก็คุยกันในสาระกันเรียบร้อยแล้วว่าจะ จำนองเท่าไหร่? ดอกเบี้ยอย่างไร ? สภาพที่ดินหนแห่งเป็นแบบไหน, แต่เมื่อตกลงเขียนออกมาเป็นสัญญาแล้ว ปรากฏอีกฝ่ายดันเห็นว่าฝ่ายเจ้าของที่ดิน ก็ชาวบ้านซื่อ ๆ ..อ่านหนังสือไม่ออก..ไม่ค่อยรู้เรื่อง สัญญงสัญญา....หมอนี่ก็ไปแปลงสารเปลี่ยนสัญญาทำเป็นสัญญายกให้ แทนที่จะเป็น จำนอง    แค่นี้คงเห็นภาพว่า นิติกรรมนั้นมันก็ไม่ต่างอะไรกับการสำคัญผิดในสาระสำคัญนิติกรรมตามหลักกฎหมายแล้วมิใช่หรือ? 

กรณีนี้ก็เช่นกัน..  และหนักยิ่งกว่าเพราะเป็นถึงร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ  เพราะศาลท่านเมื่อไต่สวนแล้วก็ได้ข้อยุติว่าร่างที่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ไม่ใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดชเสนอ และมีการสอดไส้เพิ่มเติมเข้าไปซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการจึงเท่ากับว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดบทบัญญัติมาตรา 291 (1)

นี่ไม่รวมประเด็นอื่นที่ไม่ต้องให้ศาลท่านพิจารณาแต่เราใช้สามัญสำนึกก็คงนึกภาพออกว่าในกระบวนการตรากฎหมายใด  หากกระบวนการมันไม่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย,ศีลธรรม,จรรยาของประเทศแล้วขนาดแค่สัญญาทั่วไปมันก็ตกเป็นโมฆะ,เป็นโมฆียะไปแล้ว แต่นี่ กระบวนการมันมั่วตั้งแต่ สส.นั่งเสียบบัตรแทนคนอื่น นับสิบ ๆ บัตร ทั้งที่กฎหมายประกอบก็ระบุชัดว่า สส.มีแค่ 1 สิทธิ 1 เสียง ข้อนี้ศาลท่านก็วินิจฉัยชัดว่า "ชั่ว" ได้ใจแล้ว นี่ดีที่ท่านไม่ชูป้าย one man one vote ให้ไปสำนึกเรื่องสิทธิประชาธิปไตยก็ดีถมไปแล้ว


ทีนี้..ผมคิดว่ามาถึงคำถามที่คุณและหลายคนคงอยากรู้ว่า พวกบ้านนอกกิมหยงหาดใหญ่ คิดยังไงกับมาตรานี้ และเรื่องของ "อำนาจศาล" ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68

ผมอธิบายให้คุณเข้าใจอย่างช้า ๆ ..อ่านและคิดตามผมดี ๆ นะ (ยังไงผมฝากให้ นายเอกชัย ไปอ่านด้วย)

ประการที่ 1. ว่าด้วยลักษณะก่อน...คุณต้องเข้าใจว่า  กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น แตกต่างจาก กฎหมายทั่วไป เพราะมีสภาพเป็นกฎหมายมหาชน ทีต้องมีการตีความควบคู่กันไปโดยเฉพาะทางรัฐศาสตร์,และนิติศาสตร์ และการทำความเข้าใจในเรื่องของเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดก่อน ซึ่งจะไปเทียบกับพวกกฎหมายอาญา ไม่ได้ นั่นเป็นกฎหมายที่ต้องตีความตามตัวบทอย่างเคร่งครัด และต้องตีความไปในทางที่แคบตามที่ตัวบทระบุไว้ เพราะกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษ มีสภาพบังคับชัดเจน ดังนั้นถ้าผิดตกไม่ชัด จึงต้องยกประโยชน์ให้เสมอ

     ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า ..เวลาที่ศาลรัฐธรรมนุญท่านออกนั่งบังลังก์วินิจฉัยใด ๆ มักจะต้องนำเอาเจตนารมย์แห่งกฎหมายมาพิเคราะห์เสมอ นี่จึงเป็นที่มาว่า เหตุใดการไต่สวนหรือวินิจฉัยเพื่อมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งใด ๆ จึงต้องกระทำเป็นองค์คณะ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ที่จะนำไปสู่ข้อยุติอันเป็นบรรทัดฐานได้

      เมื่อพิจารณา มาตรา 68 คุณต้องย้อนไปดูก่อนว่า มันอยู่ในหมวดใด ซึ่งหมวดหมู่จะเป็นส่วนของการกำกับให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับใคร..ใครมีสิทธิ..ใครทำอะไรได้บ้าง

      มาตรา 68 อยู่ในหมวดพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึงหมวดนี้ที่มาที่เป็น มันเป็นผลมาการลงประชามติโดยประชาชนในการร่าง จึงได้มาซึ่งหมวดและมาตรานี้ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิทักษ์และปกป้องกฎหมายที่พวกเค้าได้ร่วมร่าง..ดังนั้นมาตรานี้จึงเขียนชัดว่า   

มาตรา ๖๘
"..บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการ ดังกล่าว ...."


ในวรรคหนึ่งผมคิดว่าคุณอ่านแล้วคงพอเข้าใจได่ว่าเป็น "การห้าม" มิให้ใครก็ตามอ้างเอาสิทธิหรือเสรีภาพที่ตนเองมีเอาไปใช้ และการใช้สิทธิทีกฎหมายให้นั้น ดันเอาไปใช้เพื่อสองประการคือ "ล้มล้าง"  หรือ "ให้ได้มาซึ่งอำนาจ" ที่ไม่สอดคล้องหรือพูดง่าย ๆ คือ ขัดต่อกฎหมายนี้

   มีคำถามว่า และถ้าจะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี่ แก้ไขได้หรือไม่?  คำตอบคือ แก้ได้
   คำถามต่อไปก็คือ  แล้วใครมีสิทธิในการเสนอแก้.... คำตอบก็คือ สส.ในสภา

สองคำถามนี้ ...เสื้อแดงมักพยายามนำไปพูดกรอกหูพวกเดียวกันว่า นั่นไงเห็นมั้ยว่าเป็นสิทธิของ สส. (สิทธิการแก้ไข ตาม ม.291) แล้ว ศาลมีอำนาจอะไรมาขวาง?

   คำตอบก็คือ  ..มาตรา 68 เค้าก็บอกชัดว่า  ไอ้พวกที่อ้างว่ามีสิทธิ เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งก็รวมความถึง ม.291 ด้วย เพราะบรรดา สส. ก็ถือเป็นบุคคลที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนุญที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ได้  ซึ่งศาลท่านก็ไม่ได้บอกว่า "แก้ไม่ได้" แต่เอ็งจะแก้เพื่อไปขัดกับ มาตรา 68 ซึ่งเป็น "สิทธิ" ที่กว้างกว่านั่น คือ  "ใครก็ได้ที่พบเห็นการกระทำ เมื่อพบว่ามีการใช้สิทธิที่ขัดกับกฎหมาย และได้นำเรื่องที่พบนั้น ไปร้องศาลให้ท่านพิจารณาว่า ไอ้ที่ทำซึ่งหมายถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มันผิด..ศาลท่านก็มีสิทธิจะไต่สวนพิจารณาได้ ตาม มาตรา 68 ว่า ...ทำไม่ได้!"

ส่วนจะมีปัญหาที่ชอบเถียงกันนักว่า...ร้องตรงได้หรือต้องให้อัยการ อันนี้ ศาลท่านวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ยื่นตรงกับศาลก็ได้  แต่ถ้าจะมาเถียงศาลอีกว่า แล้วจะระบุอัยการไว้ทำไม และอัยการมีหน้าที่อะไร  ผมจะอธิบายให้คุณเข้าใจง่าย ๆ แบบตามหลักภาษาไทยในเบื้องต้นก่อนดังนี้

   ตามวรรคสอง ของ มาตรา 68 ระบุว่า

"......ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว..."

อ่านตามหลักภาษาไทยและภาษากฎหมาย คำว่า "และ"  กับ "หรือ" มันถือเป็นคนละความหมาย  คำว่า "และ" นั่นมีสภาพบังคับหรือเป็นคุณสมบัติที่จะต้องทำทั้งให้ครบทั้งสองประการเพื่อให้ครบองค์ประกอบ หมายถึง คุณต้องทำอย่างนี้และอีกอย่าง ด้วยเสมอ  ส่วน "หรือ" คือการ ทำสิ่งใดสิ่งหนี่งก็ได้แล้วแต่ความหมาย

   กรณีมีผู้ร้องศาลรัฐธรรมนูญโดยยื่นผ่านอัยการสูงสุด กระบวนการก็คือ  อัยการต้องไต่สวนข้อเท็จจริง และต้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น (ย้ำว่า และต้องยื่น) แต่อัยการจะมาใช้ใช้หลักธรรมดา ว่า เห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง  แบบขั้นตอนตาม ป.วิ อาญานั่น มันคนละเรื่องกัน  ดังนั้นที่ผ่านมา อัยการเมื่อรับเอาไว้แล้ว แต่ดันทำตัวเหนือศาลเอาคือไม่ยอมปฏิบัติตาม ม.68 คือไม่ส่งให้ศาลฯ ดังนั้นการร้องจึงกลายเป็นไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา แต่เมื่อมีผู้เห็นว่าอัยการเอาเรื่องไปดองไว้ไม่ยอมส่งประชาชนก็ยื่นต่อศาลโดยตรง ซึ่งศาลท่านก็วินิจฉัยชัดว่า "ได้"

   เหตุผลที่ "ได้" ก็เพราะ ยึดหลักตามหมวดของกฎหมายไง.....หมวดนี้ว่าด้วยเรื่อง "สิทธิ" ของผู้พบเห็นการกระทำ เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ  ซึ่งเป็น "สิทธิ" ซึ่งจะเป็นใครก็ได้ ดังนั้นจึงให้เข้าใจด้วยว่า มาตรานี้มิใช่ระบุให้เป็น "สิทธิ" ของอัยการสูงสุด เพราะอัยการสูงสุดอาจมิใช่ผู้ทราบการกระทำนั้นก็ได้

     กรณีต่อมาก็คือ การที่มาตรานี้เขียนว่า "..ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว..." ถ้าจะตีความตามตัวอักษรแบบดื้อ ๆ (ไม่ยึดเอาเจตนารมณ์) ก็อ่านได้ชัดว่า องค์ประกอบในวรรคนี้ จะต้องประกอบด้วย

   1. มีการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลใดก็ได้ หรือเป็นพรรคการเมืองใดก็ใดเกิดขึ้น
   2. มีผู้ทราบว่ามีการกระทำผิดนั้น
   3. เป็นสิทธิของผู้ทราบนั้นที่จะเสนอเรื่อง
            3.1 ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง  และ
           3.2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เลิกการกระทำ..."

   อ่านองค์ประกอบแล้วพอเห็นมั้ยว่า..เหตุใด ศาลรัฐธรรมนูญท่านถึงได้อธิบายว่า คนอย่างเรา ๆ มีสิทธิยื่นโดยตรง

   ส่วนที่มีคำถามว่า แล้วเหตุใดถึงต้องให้อัยการสูงสดเข้ามามีส่วนในการรับเรื่องร้องทุกข์ ..เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องซับซ้อนอะไรเพราะเหตุว่า การยื่นให้อัยการสูงสุดไปตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อการตรวจทานในฐานะของ "รัฐ" เพื่อกลั่นกรองชั้นหนึ่ง ส่วนจะทำความเห็นอย่างไรก็เป็นเรื่องที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นไป แต่มิได้หมายความว่า จะไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ! 
   เพราะกฎหมายบัญญัตชัดว่า "ต้องยื่น" ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงต้องยื่นต่อไปให้จบกระบวนความ ซึ่งในกรณีอัยการสูงสุดมีความเห็นอย่างไรไม่ใช่ประเด็น เพราะศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลพิเศษที่ใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน (คนละอย่างกับคดีอาญา) ดังนั้น การที่ให้มีการยื่นเรื่องถึงอัยการสูงสุดหรือประชาชนต้องยื่นต่อศาล จึงเป็นการถ่วงดุลที่จะนำไปพิจารณาขั้นไต่สวนว่ามีหรือไม่มีมูลอย่างไร ศาลท่านจะเรียกหาหรือทำการไต่สวนตามความเห็นที่ปรากฏในอัยการและตามคำร้องเอง ในกรณีที่เป็นการฟ้องร้อง "รัฐ" หากอัยการมีความเห็นไปในทางสนับสนุนรัฐ(ซึ่งเป็นปกติปฏิบัติ) ศาลท่านจะเป็นคนพิจารณาเองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม นี่จึงเป็นกรณีพิเศษที่ถือว่าเป็นการมองทั้งฝ่ายคือ ฝ่ายของรัฐ และฝ่ายประชาชน

   มีคนชอบพูดว่า "สิทธิ" กับ "อำนาจ" เป็นคนละเรื่อง ไม่น่าเชื่อว่านักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างนายเอกชัย ไชยนุวัติ ที่เหล่าเสื้อแดงซูฮก ที่อุตส่าห์ยกตัวอย่างว่า "จู่  ๆ ผมจะสั่งให้คุณแก้ผ้า ..คุณจะแก้มั้ย?"  เพื่อยกตัวอย่างสนับสนนุให้เห็นว่า "สิทธิ" กับ "อำนาจ" คนละเรื่อง และพยายามจะชี้ให้เห็นว่า มาตรา 68 เป็นแค่ "สิทธิ" แต่ไม่มีอำนาจ

ดังนั้นนายคนนี้จึงพยายามจะอธิบายโยงไปให้เห็นว่า การที่ศาลไปบอกว่า บรรดา สส. ที่แก้ไขกฎหมายตาม ม.291 เป็นสิทธิและอำนาจของเค้า ศาลไม่มีอำนาจไปก้าวก่าย ศาลจะก้าวก่ายก็ได้ก็ต่อเมื่อ การแก้ไขนั้นเป็นล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่าน้น!
   
   คนเรียนกฎหมายจะเข้าใจดีว่า คำว่า "สิทธิและอำนาจ" นั้นมันมีมาแต่แรกอยู่แล้ว  ถ้าจะอธิบายตามนิติปรัชญา ก็น่าจะรู้ว่า "สิทธิ" มันมีมาตั้งแต่เกิด เป็น "สิทธิตามธรรมชาติ" และ "สิทธิตามกฎหมาย" อันนี้น่าจะรู้

   ดังนั้นเวลาเราเรียนกฎหมายเบื้องต้น เราจะได้พบความหมายง่าย ๆ ว่า "สิทธิ" ก็คืออำนาจอันชอบธรรมหรือความชอบธรรมที่บุคคลสามารถใช้ยันกับบุคคลอื่นเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนที่พึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งสิทธิคือ ประโยชน์ที่บุคคลมีความชอบธรรมที่จะได้รับ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้

   ส่วนในกฎหมายมหาชน มักจะมีคำว่า "อำนาจ" หรือ "อำนาจหน้าที่" เข้ามาเพื่อขยายความหมายของ สิทธิ,อำนาจให้เข้มข้นในสภาพบังคับโดยเฉพาะกับเจ้าพนักงานของรัฐ เช่น อำนาจในการค้น,อานาจในการจับกุม ฯลฯ ซึ่งแล้วแต่พฤติการณ์ส่วนว่าจะทำ "ค้น"หรือไม่ ก็แล้วแต่กรณี แต่ให้อำนาจไว้ส่วนคำว่า "อำนาจหน้าที่" ก็เป็นสภาพที่เน้นการกระทำที่มากขึ้นคือเพิ่มหน้าที่เข้าไปเพื่อให้ บุคคลคนนั้นนอกจากมีอำนาจแล้วต้องถือเป็นหน้าที่ต้องกระทำด้วย

   ตัวอย่างเช่นกรณี บิดามารดา มีสิทธิและอำนาจในการปกครองบุตรมาแต่แรก และเมื่อกฎหมายเข้ามากำหนดให้เพิ่ม "หน้าที่" นั่นคือ การกระชับเพื่อให้ การทรงสิทธิและอำนาจของบิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตรต้องเป็น "หน้าที่" ที่ต้องกระทำ เพื่อให้สถาบันครอบครัวสามารถเป็นหลักประกันว่า บิดามารดาซึ่งต้องมีหน้าที่เลี้ยงดูอบรมบุตรตามธรรมชาติแล้ว รัฐยังเน้นให้เป็นหน้าที่เพื่อให้กระบวนการเลี้ยงดูนั้นมีความมั่นคงและมีสภาพบังคับด้วย อย่างนี้เป็นต้น

     ผมเขียนมายาว.... ทั้งที่ไม่น่าเขียน แต่คิดว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับอีกหลายคน และเพื่อน ๆ ในกิมหยง ที่อาจยังไม่เห็นภาพ

   แต่ถ้าคิดว่า สิ่งที่ผมเขียนมา ยังไม่สามารถทำให้คุณเชื่อว่า นี่คือหลักกฎหมายและเป็นเรื่องเดียวกับที่ ศาลท่านวินิจฉัย ก็คงต้อง เอวัง...เพราะผมคิดว่า ผมคงไม่ต่างอะไรกำลังเสวนากับ "โจร" ที่ไม่เคยยอมรับว่า ศาลตัดสินถูกต้อง  ฉันใด..ก็ฉันนั้น


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

คนรัถการ

Mr.No ดิฉันอ่านบทความของคุณทุกตัวอักษร เป็นความรู้ที่ทำให้ดิฉันเข้าใจกฎหมายมากยิ่งขึ้น ขอบคุณมากๆ  กปปส.สู้สู้

[v]

อ่านบทความของ MR No แล้ว(อธิบายได้ละเอียดดีมาก) พวกควายแดง หน้าหงายกันไปเลย ชอบแถไปแบบข้างๆคูๆ   อันไหนศาลตัดสินเข้าข้างพวกมันๆ ก็บอกว่าศาลยุติธรรม  แต่ถ้าไม่ตัดสินเข้าข้างพวกมันๆ บอกว่าศาลเอียง ไม่ยุติธรรม   พวกมันยังไม่เข้าใจตัวเองเลย ไหนผิดไหนถูกมันยังไม่รู้เลย  รอแต่เจ้านาย(ชั่วๆ)ของพวกมันดึงเชือกไปทางไหนมันก็ไปทางนั้นแหละ เอ้า...มอ ๆ ๆ

เด็กใต้รักจริง

ทำไมถึงแก้ไขให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดไม่ได้อ่ะครับ ในเมื่อแต่ก่อนก็เลือกตั้ง100% ใครมีรายงานการวินิจฉัยของตลก.ศาลรธน.บ้างครับ
...น้ำหมึกปลายปากกา ไม่ได้สอนประสบการณ์ชีวิต...

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

สุดยอดครับท่าน Mr.No  ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้
เข้ามาอ่านนี่แทบไม่ต้องถามซ้ำๆเลย
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

แมงสาป

 ส.ยกน้ิวให้   ส.หลกจริง ต้องอย่างนั้น  แมงสาปด้วยกันต้องยกหางกันเอง  เยี่ยม  ส.ก๊ากๆ ส.ก๊ากๆ ส.ก๊ากๆ

เหมี่ยวฉ่องหยิน

อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:47 น.  23 ม.ค 57
คุณฉ่๋องฉี่


ดังนั้นถ้าจะถามความเห็นผม..เพื่อประกอบเสวนากัน คุณกับผมต้องตกลงกันว่า จะคุยกันบนพื้นฐานที่เราจะต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน เพราะมันจะได้ใกล้เคียงว่าเราคุยกันในระบอบนิติรัฐ เพราะไม่งั้นมันไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเหมือนกับ นั่งคุยกับโจรเปล่า ๆ (อันนี้ไม่หยาบนะ..เพราะเป็นภาษาในนักกฎหมายจะเข้าใจกัน)


อืมมม...  ผมตอบตามความเข้าใจของผมแล้วกัน เพราะเรื่องโต้แย้งนี้ มาจากต้นตอที่คุณเล่ามาว่า "ระบอบทักษิณไม่เชื่อคำตัดสินศาล" ผมก็แค่จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไมทางระบอบทักษิณเป็นเช่นนั้น ผมจะพิมพ์สั้นๆ ให้กระชับ เพราะผมว่าเรื่องนี้มันน่าเบื่อ บางส่วนจะข้ามๆ ไป ไม่พิมพ์ให้หมดทุกอย่าง ในฐานะคุณเคยเรียน กม. คุณน่าจะเข้าใจอะไรได้ง่าย


อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:47 น.  23 ม.ค 57
ผมอธิบายเรื่องนี้ให้คุณและฝากไปถึง นายเอกชัย  ด้วยความรู้กฎหมายพื้น ๆ จากคนแก่บ้านนอกให้ฟัง และเผื่อเพื่อน ๆ ในกิมหยงที่ชอบเรื่องการเมืองโดยเฉพาะเกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งหากต้องการแบบละเอียดก็มีให้อ่านตามคำวินิจฉัยของศาลท่าน แต่ผมจะประมวลให้อ่านแบบเข้าใจง่ายๆ แบบบ้าน ๆ

ประเด็นที่ แก๊งค์ สส. + สว ของเสื้อแดง ขอแก้ไข ร่าง กม.รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในเรื่องที่มาของ สว นี้ โดยไปร้อง ว่า แก๊งค์เหล่านี้กระทำผิด กล่าวคือ หมกเม็ดตั้งแต่ขึ้นการอภิปราย ซึ่งหากใครได้ติดตามการอภิปรายในสภาแล้วก็จะรู้สึกหมั่นไส้จริง ๆ ทั้ง ตัวประธาน,และลิ่วล้อจอมประท้วงตัดเกม ฯลฯ เพราะไม่ได้ให้โอกาส สส.อีกฝ่ายอภิปรายแย้งหรือแสดงความเห็นตามที่ควรจะให้สิทธิตามกฎหมาย แต่ใช้วิธีการรวบรัดสั่งปิดอภิปรายและลงมติรายมาตราอย่างน่าเกลียด (อันนี้ถ้าใครได้ติดตามทีวีก็คงรู้ดี)

เรื่องการแปรญัตติในสภานั้น ในการประชุมของรัฐสภา เค้ามีการลงมติตกลงกำหนดเวลาในการเสนอคำแปรญัตติภายใน 15 วัน คือวันที่ 4 เมษา 56 เป็นวันที่รัฐสภารับหลักการ นับไป 15 วัน สมาชิกรัฐสภาสามารถที่จะเสนอคำแปรญัตติได้ตลอดเวลาจนถึงระยะเวลาที่สิ้นสุด ก็คือวันที่ 19 เมษา 56 จึงไม่ใช่ว่ามีเวลาให้ฝ่ายค้านน้อยเพียงแค่ 1 วัน ตามที่ศาลว่า ปัญหามันคือก่อนหน้านั้น 14 วันทำไมฝ่ายค้านไม่มาเสนอคำแปรญัตติ จะมาเพิ่มวันแปรญัตติเพิ่มอีก 60 วันในวันสุดท้ายทำไม

คุณไม่รู้ หรือว่าแกล้งไม่รู้ ว่าฝ่ายค้านบ้านเรานั้นเก่งกาจในเรื่องการค้านขนาดไหน สส.ฝั่งรัฐบาลไม่มีทางสู้ได้หรอกครับเรื่อง  ตีรวน งอแง ประท้วง วอล์คเอาท์ ขนาดเหลือ 1 วันยังส่ง 56 คนมาแปรญัตติ

มองอย่างใจเป็นธรรมสักนิดครับ จะผ่าน กม. อะไรสักอย่างนี่มันช่างแสนยากเย็นลำบากไหมครับ คุณจำกรณีที่ นาซ่ามาขอใช้สนามบินอู่ตะเภา เพื่อศึกษาวิจัยสภาวะของบรรยากาศได้ไหมครับ ไทยจะได้ประโยชน์ตั้งเยอะแยะถ้าโครงการนี้มันสำเร็จ นี่ก็เล่นการเมืองกันเลยเถิด ค้านกันเสียจนโครงการนี้ มีอันเป็นไปจนต้องพับเสื่อกลับบ้าน



อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:47 น.  23 ม.ค 57
ไอ้ที่แสบกว่าก็คือ พอถึงวันที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ  เกิดพบว่า ฉบับที่นำขึ้นทูลเกล้าให้ในหลวงเซ็น กับฉบับที่อภิปรายกันในสภามันมีเนื้อหาแตกต่างกัน พูดง่าย ๆ ก็คือมีการสอดไส้เข้าไปแล้วให้ในหลวงท่านเซ็น!  นี่คือ แสบสุดๆ  ที่เป็นเรื่อง มิบังควร!

ผมจะแก้ไขความเข้าใจคุณเสียใหม่นะ คุณแค่เชื่อฝ่ายตรงข้ามกับระบอบทักษิณ ที่อาศัยคำวินิจฉัยมาเป็นประโยชน์เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อโจมตีเท่านั้นเอง

.... เมื่อมีผู้ยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานสภาแล้ว จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของร่างรัฐธรรมนูญนั้นโดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทน ในชั้นตอนนี้อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมได้ หลังจากแก้ไขเพิ่มเติมแล้วประธานรัฐสภาก็จะบรรจุร่างนั้นเข้าสู่วาระการประชุมต่อไป

คุณกล่าวมาว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติม หลักการสำคัญในมาตรา 116(2)  ถามว่าจริงไหม ก็ตอบว่าจริง แต่มันก็ไม่ได้ส่งผลเสียหายในทางกระบวนการขั้นตอนเลย ฟังให้จบก่อนนะ

นายอุดมเดช รัตนเสถียร ยื่นให้ร่างฯ ให้ประธานสภารับเรื่อง หลังจากนั้น ร่างก็ส่งเข้าระบบธุรการประทับตรารับ ตอนนั้นเอกสารชิ้นนั้นมันเป็นร่างๆ หนึ่ง มันก็ผ่านธุรการตรวจสอบ งานพิมพ์ จัดหน้า แก้ไข หรือเพิ่มเติม  เมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมเสร็จแล้วประธานรัฐสภาก็เอาร่างที่แก้ไขที่เพิ่มเติมอัพเดตอันนั้นเข้าสู่วาระการประชุม

แต่จุดสำคัญมันอยู่ตรงนี้คือ คือการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการจริงๆ แล้วก็คือตอนเปิดรัฐสภา เมื่อประธานบรรจุร่างดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุม ร่างที่อัพเดตล่าสุดอันนั้น ก็ได้ถูกแจกจ่ายให้ต่อสมาชิกรัฐสภาทุกคนได้ใช้เป็นฐานในการพิจารณา

มันไม่มีหรอกครับ ที่บอกว่าสอดใส้ไปให้ในหลวงท่านทรงลงพระปรมาภิไธย เพราะร่างที่นำขึ้นทูลเกล้า ก็คือร่างที่ผ่านการลงมติครั้งสุดท้ายด้วยการขานชื่อ (ไม่ใช่การเสียบบัตรนับ) เป็นร่างที่ไม่มีการแก้ไขหรือเพิ่มอะไรเข้าไปอีกทั้งสิ้น 

หวังว่าคงเข้าใจ และครั้งหน้ารับข้อมูลอะไรมากรุณากลั่นกรองก่อน อย่าตกเป็นเหยื่อเชื่อพวกหวังผลประโยชน์ทางการเมืองอีกต่อไปครับ 


อ้างจาก: Mr.No เมื่อ 20:47 น.  23 ม.ค 57
เพราะร่างใหม่ดันมีการแก้ไขเพิ่มเติม หลักการสำคัญในมาตรา 116(2) ที่ให้ ส.ว.ซึ่งสิ้นสุดวาระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ทันที!  ทั้งที่ของเดิมไม่มีเรื่องนี้ ...นั่นเท่ากับว่า เป็นการกระทำที่ต้องถือว่ามีเจตนาที่จะปกปิดข้อเท็จจริง

   ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สามัญชนก็คิดได้ง่าย ๆ ติ๊งต่างคล้ายกับเราตกลงทำสัญญาจำนองที่ดินกับใคร เราก็คุยกันในสาระกันเรียบร้อยแล้วว่าจะ จำนองเท่าไหร่? ดอกเบี้ยอย่างไร ? สภาพที่ดินหนแห่งเป็นแบบไหน, แต่เมื่อตกลงเขียนออกมาเป็นสัญญาแล้ว ปรากฏอีกฝ่ายดันเห็นว่าฝ่ายเจ้าของที่ดิน ก็ชาวบ้านซื่อ ๆ ..อ่านหนังสือไม่ออก..ไม่ค่อยรู้เรื่อง สัญญงสัญญา....หมอนี่ก็ไปแปลงสารเปลี่ยนสัญญาทำเป็นสัญญายกให้ แทนที่จะเป็น จำนอง    แค่นี้คงเห็นภาพว่า นิติกรรมนั้นมันก็ไม่ต่างอะไรกับการสำคัญผิดในสาระสำคัญนิติกรรมตามหลักกฎหมายแล้วมิใช่หรือ? 

กรณีนี้ก็เช่นกัน..  และหนักยิ่งกว่าเพราะเป็นถึงร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ  เพราะศาลท่านเมื่อไต่สวนแล้วก็ได้ข้อยุติว่าร่างที่ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ไม่ใช่ร่างเดิมที่นายอุดมเดชเสนอ และมีการสอดไส้เพิ่มเติมเข้าไปซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักการจึงเท่ากับว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดบทบัญญัติมาตรา 291 (1)

นี่ไม่รวมประเด็นอื่นที่ไม่ต้องให้ศาลท่านพิจารณาแต่เราใช้สามัญสำนึกก็คงนึกภาพออกว่าในกระบวนการตรากฎหมายใด  หากกระบวนการมันไม่ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย,ศีลธรรม,จรรยาของประเทศแล้วขนาดแค่สัญญาทั่วไปมันก็ตกเป็นโมฆะ,เป็นโมฆียะไปแล้ว แต่นี่ กระบวนการมันมั่วตั้งแต่ สส.นั่งเสียบบัตรแทนคนอื่น นับสิบ ๆ บัตร ทั้งที่กฎหมายประกอบก็ระบุชัดว่า สส.มีแค่ 1 สิทธิ 1 เสียง ข้อนี้ศาลท่านก็วินิจฉัยชัดว่า "ชั่ว" ได้ใจแล้ว นี่ดีที่ท่านไม่ชูป้าย one man one vote ให้ไปสำนึกเรื่องสิทธิประชาธิปไตยก็ดีถมไปแล้ว


ทีนี้..ผมคิดว่ามาถึงคำถามที่คุณและหลายคนคงอยากรู้ว่า พวกบ้านนอกกิมหยงหาดใหญ่ คิดยังไงกับมาตรานี้ และเรื่องของ "อำนาจศาล" ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 68

ผมอธิบายให้คุณเข้าใจอย่างช้า ๆ ..อ่านและคิดตามผมดี ๆ นะ (ยังไงผมฝากให้ นายเอกชัย ไปอ่านด้วย)

ประการที่ 1. ว่าด้วยลักษณะก่อน...คุณต้องเข้าใจว่า  กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น แตกต่างจาก กฎหมายทั่วไป เพราะมีสภาพเป็นกฎหมายมหาชน ทีต้องมีการตีความควบคู่กันไปโดยเฉพาะทางรัฐศาสตร์,และนิติศาสตร์ และการทำความเข้าใจในเรื่องของเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ชัดก่อน ซึ่งจะไปเทียบกับพวกกฎหมายอาญา ไม่ได้ นั่นเป็นกฎหมายที่ต้องตีความตามตัวบทอย่างเคร่งครัด และต้องตีความไปในทางที่แคบตามที่ตัวบทระบุไว้ เพราะกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษ มีสภาพบังคับชัดเจน ดังนั้นถ้าผิดตกไม่ชัด จึงต้องยกประโยชน์ให้เสมอ

     ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า ..เวลาที่ศาลรัฐธรรมนุญท่านออกนั่งบังลังก์วินิจฉัยใด ๆ มักจะต้องนำเอาเจตนารมย์แห่งกฎหมายมาพิเคราะห์เสมอ นี่จึงเป็นที่มาว่า เหตุใดการไต่สวนหรือวินิจฉัยเพื่อมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งใด ๆ จึงต้องกระทำเป็นองค์คณะ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ที่จะนำไปสู่ข้อยุติอันเป็นบรรทัดฐานได้

      เมื่อพิจารณา มาตรา 68 คุณต้องย้อนไปดูก่อนว่า มันอยู่ในหมวดใด ซึ่งหมวดหมู่จะเป็นส่วนของการกำกับให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับใคร..ใครมีสิทธิ..ใครทำอะไรได้บ้าง

      มาตรา 68 อยู่ในหมวดพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ซึงหมวดนี้ที่มาที่เป็น มันเป็นผลมาการลงประชามติโดยประชาชนในการร่าง จึงได้มาซึ่งหมวดและมาตรานี้ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิทักษ์และปกป้องกฎหมายที่พวกเค้าได้ร่วมร่าง..ดังนั้นมาตรานี้จึงเขียนชัดว่า   

มาตรา ๖๘
"..บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการ ดังกล่าว ...."


ในวรรคหนึ่งผมคิดว่าคุณอ่านแล้วคงพอเข้าใจได่ว่าเป็น "การห้าม" มิให้ใครก็ตามอ้างเอาสิทธิหรือเสรีภาพที่ตนเองมีเอาไปใช้ และการใช้สิทธิทีกฎหมายให้นั้น ดันเอาไปใช้เพื่อสองประการคือ "ล้มล้าง"  หรือ "ให้ได้มาซึ่งอำนาจ" ที่ไม่สอดคล้องหรือพูดง่าย ๆ คือ ขัดต่อกฎหมายนี้

   มีคำถามว่า และถ้าจะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี่ แก้ไขได้หรือไม่?  คำตอบคือ แก้ได้
   คำถามต่อไปก็คือ  แล้วใครมีสิทธิในการเสนอแก้.... คำตอบก็คือ สส.ในสภา

สองคำถามนี้ ...เสื้อแดงมักพยายามนำไปพูดกรอกหูพวกเดียวกันว่า นั่นไงเห็นมั้ยว่าเป็นสิทธิของ สส. (สิทธิการแก้ไข ตาม ม.291) แล้ว ศาลมีอำนาจอะไรมาขวาง?

   คำตอบก็คือ  ..มาตรา 68 เค้าก็บอกชัดว่า  ไอ้พวกที่อ้างว่ามีสิทธิ เสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งก็รวมความถึง ม.291 ด้วย เพราะบรรดา สส. ก็ถือเป็นบุคคลที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนุญที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้ได้  ซึ่งศาลท่านก็ไม่ได้บอกว่า "แก้ไม่ได้" แต่เอ็งจะแก้เพื่อไปขัดกับ มาตรา 68 ซึ่งเป็น "สิทธิ" ที่กว้างกว่านั่น คือ  "ใครก็ได้ที่พบเห็นการกระทำ เมื่อพบว่ามีการใช้สิทธิที่ขัดกับกฎหมาย และได้นำเรื่องที่พบนั้น ไปร้องศาลให้ท่านพิจารณาว่า ไอ้ที่ทำซึ่งหมายถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มันผิด..ศาลท่านก็มีสิทธิจะไต่สวนพิจารณาได้ ตาม มาตรา 68 ว่า ...ทำไม่ได้!"


อะไรของคุณครับ ร่ายมายืดยาว วกไปวนมาอ่านไปอ่านมามันขัดกันมั่วอิรุงตุงนังไปหมด คนที่อ่านๆ กันนี่ ถามจริงๆ เหอะ คนที่ว่าอ่านจบหน่ะ อ่านรู้เรื่องกันไหม เพราะคุณพูดมาเหมือนคนไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย

เอาประเด็นก่อน

สว สรรหากับ สมาชิกรัฐสภาจำนวนนึงได้ไปยื่นเรื่องกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ สว.นี้ เป็นการล้มล้างการปกครอง เป็นการได้อำนาจมาด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย โดยอ้างตาม ม.68

ทีนี้เรื่องของเรื่องมันก็คือ เมื่อคำวินิจฉัยออกมา มันก็สร้างความกังขา มีการถกเถียงกันในหมู่นักกฎหมายในเรื่องคำวินิฉัยก็เท่านั้น
ที่เค้าถกๆ กันก็คือ เรื่องที่กล่าวหาไปน่ะศาลมีอำนาจเข้ามารับเรื่องที่มันเข้าตาม ม.68 อย่างไร

"..บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้... "

ทีนี้นักกฎหมายฝั่งที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิฉัย รวมทั้งฝ่ายระบอบทักสิน  ก็ออกมาโต้แย้ง คือศาลไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่องๆ นี้ เพราะมันไม่ได้เข้าข่าย

เจตนารมณ์ ม.68 มันอยู่ตรงไหน แปลหยาบๆ ตามความคิดของผมก็คือ ห้ามเปลี่ยนระบอบการปกครองในปัจจุบัน

ตัวอย่างเหมือนกับว่า คนเราทั่วๆ ไปนี่ จะไปใช้สิทธิที่ตนมี อย่างสมมุติว่าไปก่อม้อบเย้วๆ ไปเดินขบวนประกาศว่าฉันจะไม่เอาการปกครองนี้แล้วนะ จะเอาระบบการปกครองแบบระบบประธานาธิบดีดีกว่า อะไรอย่างนี้มันไม่ได้ แค่เนี้ย ผมเห็นคุณตีความเสียยืดยาวเลย อิอิ

อย่างที่ว่าไปข้างต้นก่อนหน้า นักกฎหมายฝั่งระบอบทักษิณ เค้าจึงบอกว่าศาลไม่มีอำนาจที่จะรับเรื่องๆ นี้เพราะมันไม่เข้าข่าย เป็นการขยายเขตแดนอำนาจของศาล เพราะเขาถือว่ารัฐสภานั้นเป็นองค์กรผู้ทรงอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้ใช้สิทธิ แต่เขามีอำนาจ แค่นี้ล่ะ

ที่เหลือ คุณและท่านผู้อ่านลองคิดตัดสินใจเองเอาดูว่าคุณจะเชื่อในฝั่งไหน สำหรับตัวผมก็เชื่อเช่นกันว่าศาลไม่มีอำนาจมารับเรื่องๆ นี้

ผมขี้เกียจมานั่งตีความ คำว่า สิทธิ และคำว่า อำนาจ กับคุณ เพราะผมว่ามันมั่ว อำนาจก็คืออำนาจ สิทธิก็คือสิทธิ  ตำรวจจับผู้ร้ายตำรวจใช้อำนาจตามที่กฏหมายให้มา ตำรวจไม่ได้ใช้สิทธิในการจับผู้ร้ายอะไรอย่างนี้เป็นต้น 

สรุป คือไม่ต้องร่ายกันยืดยาว ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่จะเอาโต้แย้งแต่ผมขี้เกียจจะพิมพ์แล้ว พิมพ์เอาที่เป็นสาระ ผมพิมพ์เองผมยังเวียนหัว ที่เล่ามาให้ฟังนั่นก็ยังเป็นแค่เพียงบางส่วน ที่เป็นสาเหตุว่าทำไมทางพรรคเพื่อไทยเค้าตั้งโต๊ะไม่รับอำนาจศาล หวังว่าคุณน่าจะเข้าใจ

โอเค๊ ?  ส.ฉันเอง



เหมี่ยวฉ่องหยิน


เพิ่มเรื่องเสียบบัตรอีกนิดนึงละกัน เพราะศาลที่เค้ากล่าวถึงกระบวนการที่มิชอบมีสามอย่าง เสียบบัตร เปลี่ยนร่าง วันแปรฯน้อย..

เรื่องการเสียบบัตรแทนกัน เป็นเรื่องของรัฐสภา การสอดบัตรแทนกันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของบุคคลนั้น ๆ ต้องร้องไปยัง ปปช.  ไม่ใช่ว่าผมเห็นว่ามันถูกต้อง สำหรับผมการเสียบบัตรแทนกันก็เป็นสิ่งที่ต่ำช้าเช่นกัน

แต่ผมจะพูดในภาพตามหัวข้อว่า ทำไมระบอบทักษิณไม่ยอมรับคำตัดสินของศาลตามที่คุณถามมา

คุณลองคิดดูเล่นๆ ตรงนี้ก่อนนะ ว่าตามคำร้องที่ผู้ร้องว่าไว้ว่ามีการเสียบบัตรแทนกัน 8 ใบ ถามดูเล่นๆ ว่า ถ้าเอา 8 เสียงนี้ออกไป มติความเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมนี้จะเปลี่ยนไปไหม ถึงหัก 8 เสียงนี้ออกไป ร่างมันก็ยังผ่านมติอยู่ดีจริงไหม

ทั้งนี้ผมไม่ได้พูดถึงหลักการขั้นตอนข้อเท็จจริงในการพิสูจน์คำร้อง เพราะศาลเค้าวิฉัยเอาจากคำร้องเป็นหลัก ศาลไม่ได้ไต่สวนเรื่องเสียบบัตรแทนกันนั้นว่ามันจริงไหม และเรื่องๆ นี้ในขณะนั้น ก็ยังไม่ได้มีองค์กรหรือหน่อยงานใดมาไต่สวนจนเป็นได้ข้อยุติ

ตามนั้นครับ ครบทั้งสามเรื่องนะ
จบข่าว

Mr.No

อ้างถึงผมขี้เกียจมานั่งตีความ คำว่า สิทธิ และคำว่า อำนาจ กับคุณ เพราะผมว่ามันมั่ว อำนาจก็คืออำนาจ สิทธิก็คือสิทธิ  ตำรวจจับผู้ร้ายตำรวจใช้อำนาจตามที่กฏหมายให้มา ตำรวจไม่ได้ใช้สิทธิในการจับผู้ร้ายอะไรอย่างนี้เป็นต้น


สิทธิ, สิทธิ์   [สิดทิ, สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและ
หน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป., ส.);
(กฎ) อํานาจที่จะกระทําการใด?ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับ
การรับรองจากกฎหมาย. (อ. right).


ข้างบนผมเอามาจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตฯ ซึงในทางกฎหมายถือเป็นการใช้อ้างอิงได้(อันนี้นักกฏหมายทั่วไปทราบ) นี่เรื่องง่าย ๆ อย่าตะแบง เพราะเถียงศาลไหนก็แพ้.

สิทธิ หมายถึง อำนาจอันชอบธรรมหรือความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้โดยชอบธรรม โดยอำนาจอื่นแม้กระทั่งอำนาจของรัฐจะกว้าวก่ายในสิทธิของบุคคลไม่ได้  ส่วนอันนี้มาจากตำรากฏหมาย ..ถ้าไม่ใช่ก็ต้องเผาตำราทิ้ง

ผมคิดว่า ได้ขยายความให้ค่อนข้างเยอะ ..นะ เพียงแต่ถ้าคุณจะเปิดใจรับและใช้สติปัญญาใคร่ครวญตัดอคติออกไป จะมองเห็นอะไรลาง ๆ เพื่อจะได้ล้างทิฐิมานะที่มีออกบ้าง..คุณจะรู้สึกเบาสบาย นะครับ. ส.ตากุลิบกุลิบ


..ขอเป็นแค่ "มนุษย์" ที่อาศัยโลกใบนี้สำหรับ เกิด.แก่.เจ็บ.ตาย อย่างนอบน้อมและคารวะ.

เบื่อ...พวกควายแดง


ซัมเบ้ Note 7 Jr.

การเมืองมันก็อาชีพๆหนึ่งเท่านั้นเอง ไม่ว่าใครจะมาอาสาประชาชนว่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ จะพัฒนาโน่นนี่ มันก็แค่การหาเสียง แล้วประชาชนส่วนมากก็หลงเชื่อตามๆกัน  จะมีกี่คนครับที่มองการเมืองบ้านเราได้ทะลุ มองได้ลึก ว่า การเมืองบ้านเรามันอยู่ในวังน้ำวน กับยุคทุนนิยม ประเภทที่ว่า โกงก็รับได้ นี่แหล่ะคือปัญหา ทำให้เกิดการทะเลาะแบ่งแยกแบ่งสี คนที่คิดได้และมองเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง ก็ไม่ต้องยกสรรพคุณความดีของคนโกงมาอ้างหรอกครับ เพราะอ้างยังไงก็ไม่สามารถลบมลทินบาปไปได้  บ้านเมืองเราทุกวันนี้ก็เช่นกัน  มีใครกล้ายืนยันนั่งยันนอนยันไหมครับว่า นักการเมืองเก่าๆจะยุติบทบาทแล้วเปิดทางให้คนรุ่นใหม่มาบริหารประเทศหลังการปฎิรูป   ผมมองไม่เห็นทางนี้เลย

เพียงแค่เอือมระอาระบอบทักษิณเท่านั้นเอง
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

เด็กใต้รักจริง

สิทธิ์ คืออำนาจหรือหน้าที่ ที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้

ผมเข้าใจถุกต้องไหมท่าน
...น้ำหมึกปลายปากกา ไม่ได้สอนประสบการณ์ชีวิต...