ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สมาคมรักษ์ทะเลไทยเสนอรัฐยกเลิกเรืออวนลาก อวนรุน เเละเรือปั่นไฟ ทำลายทรัพยากรทะเล

เริ่มโดย JaY_SoniC, 16:21 น. 01 ก.ค 58

JaY_SoniC

วันที่ 1 ก.ค. 58 มาตรการการจับกุมเรือประมงผิดกฎหมาย เพื่อแก้ปัญหาอียูให้ใบเหลืองประเทศไทย ซึ่งเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 ก.ค. เป็นวันแรก โดยที่ จ.สงขลา เรือประมงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ใน จ.สงขลา จำนวนมาก ยังคงจอดลอยลำจนล้นท่าจอดเรือบริเวณท่าเทียบเรือประมงใหม่ จ.สงขลา ในขณะที่อีกบางส่วนทยอยกลับเข้าฝั่ง และขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือ ก่อนที่จะนำมาจอด และหยุดออกเรือเช่นเดียวกัน เนื่องจากเรือประมงใน จ.สงขลา ส่วนใหญ่มีปัญหาอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือประมง ส่งผลให้ขณะนี้บรรยากาศตามท่าเทียบเรือเริ่มเงียบเหงา รวมทั้งแพปลาต่างพากันทยอยหยุดอย่างต่อเนื่อง จากปริมาณสินค้าสัตว์น้ำที่ลดลง เพราะ เรือประมงหยุด

นายประพร เอกอุรุ นายกสมาคมประมง จ.สงขลา เปิดเผยว่า ในส่วนของ จ.สงขลา เรือประมงกว่า 1พันลำ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับการประมงเช่น แพปลา และ โรงน้ำแข็ง จะดีเดย์หยุดกิจการพร้อมกันทั้งหมดในวันที่ 4 ก.ค. นี้ เนื่องจากร้อยละ 90 ของเรือประมงใน จ.สงขลา เป็นเรือที่มีอาชญาบัตรไม่ตรงกับเครื่องมือประมง จึงต้องหยุดออกเรือ เพราะ จะถูกจับกุม และเสียค่าปรับสูงมากไม่คุ้มทุน

ด้าน นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมาย เพื่อปลดล๊อคการให้ใบแดงของอียู ว่า หากเป็นไปได้ต้องการเสนอให้รัฐบาลประกาศหยุดเรือประมงอวนลากอวนรุนและเรือปั่นไฟ ซึ่งเป็นการทำประมงแบบทำลายล้างทรัพยากรทางทะเล เหมือนกับประเทศอินโดนีเซียที่ได้ออกกฎหมายกเลิกเรืออวนลากไปแล้ว แต่ในประเทศไทยพบว่ามีเรือประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเรืออวนลากเพิ่มขึ้นถึง 16,000 ลำ จากเดิมที่มีอยู่เพียง 4,700 ลำ ซึ่งเป็นการลักลอบสวมทะเบียนปลอมจาก 1 ลำ เป็น 5 ลำ เนื่องจากตั้งแต่ปี 2523 ที่ผ่านมา ได้มีการควบคุมไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนของเรืออวนลาก โดยไม่ต่ออาชญาบัตรให้ แต่กลับพบว่ามีจำนวนเรืออวนลากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เผยอีกว่า ปัญหาเรือประมงผิดกฎหมาย ทั้งอวนลาก อวนรุน และ เรือปั่นไฟ นอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้อียูให้ใบเหลืองกับไทยแล้ว ที่ผ่านมายังส่งผลกระทบต่อชาวประมงชายฝั่งใน 22 จังหวัดของประเทศไทยนับแสนครัวเรือนที่ต้องเลิกอาชีพประมง และทำให้ชุมชนประมงชายฝั่งล่มสลาย เนื่องจากทำลายล้างทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง และในความเป็นจริงแล้ว 85 เปอร์เซ็นของอาชีพประมงนั้น เป็นชาวประมงชายฝั่ง ส่วนที่เหลืออีก 15 เปอร์เซ็น เป็นการทำประมงผิดกฎหมายที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมทั้งระบบ

ทั้งนี้หากรัฐบาลประกาศยกเลิกเรือประมงเหล่านี้ เชื่อว่า ภายใน 6 เดือน ทรัพยากรสัตว์น้ำ ทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน ก็จะกลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม อีกทั้งยังเป็นการปลดล๊อคการให้ใบแดงของอียูด้วย แม้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประมงของไทยบ้างก็ตาม
/////

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวแรก:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง