ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สันดานชั่วโยนอึ"ปชป.ทำให้น้ำท่วม"

เริ่มโดย ลุงหยอย, 17:54 น. 01 พ.ย 54

ลุงหยอย

ฤกษ์"นารีขี่ปิศาจ"ประเทศถึงวินาศสันตะโร แก้ปัญหาไม่เป็นเพราะมาฝึกงาน หมดปัญญาถึงทางตัน ร่วมหัวกันออกความคิดชั่วๆ โยนความผิดให้คนอื่น พวกแกนนำเสื้อแดงพยายามปล่อยข่าวหาว่าเหตุน้ำท่วมใหญ่สร้างความหายนะให้ประเทศหนักที่สุดในรอบ100ปี เป็นเพราะฝีมือปชป.แอบกักตุนน้ำไว้ในเขื่อน เพื่อปล่อยออกทำลายรัฐบาลใหม่
เลวเทียบเท่าโจรใต้เลยนะเนี่ย

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

จะไปใส่ใจกับเด็กฝึกงานคนนี้ทำไม

พี่ชายบกพร่องโดยสุจริต
น้องสาวบกพร่องโดยดัดจริต ....
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

attapong9

บางกอกทูเดย์ สื่อเสื้อแดง กล่าวว่า เขื่อนภูมิพล กับ เขื่อนสิริกิติ์ คือต้นตอปัญหาทำน้ำท่วมใหญ่
*************************************************************
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000139226
*************************************************************

  วันนี้ (1 พ.ย.) หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ ตีพิมพ์เรื่องจากปกในหัวข้อ "2 เขื่อนยักษ์ ปริศนาลับ! กำจัดปู! บทพิสูจน์น้ำ "หมื่นล้านคิว" มาจากไหน? ใครวางยา?" โดยกล่าวว่า ปัจจัยที่ถือเป็นปัญหารุนแรงที่สุดของรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือ กลไกทุกกลไกของภาครัฐจะต้องประสานรวมกันเป็นหนึ่ง หากยังมีลักษณะต่างคนต่างพาย ยังอยากที่จะเป็นพระเอก คิดจะฉวยโอกาสทางการเมือง และยังมีพวกเสนอหน้าเข้ามาสร้างความวุ่นวาย อาจจะต้องมีรายการลงดาบเล่นงานกันอย่างจริงๆ จังๆ โดยไม่เลือกหน้าไม่เลือกพวกไม่เลือกสีได้แล้ว หากไม่ทำเช่นนั้นรัฐบาลเองที่จะสั่นคลอน
       
       "เพราะในเวลานี้ ยังคงมีกลุ่มโซเชียล เน็ตเวิร์ก ที่จ้องด่าจ้องโจมตีรัฐบาลในทุกๆ เรื่องอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ส่งภาพส่งโพสต์สารพัดข้อกล่าวหาเข้าไปเล่นงานรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์อย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นก็ตาม ด่าเอาไว้ก่อน ตำหนิเอาไว้ก่อน กล่าวหาเอาไว้ก่อน... ซึ่งจนวันนี้รัฐบาลยังไม่สามารถที่จะแก้เกมหรือรับมือตรงนี้ได้เลย" รายงานระบุ
       
       ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวยังอ้างด้วยว่า สำหรับประชาชนผู้ที่เดือดร้อนมีข้อสงสัยว่า น้ำจำนวนกว่า 1.1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรนั้น มาจากไหน ทั้งๆ ที่กระจายไปกว่า 30 จังหวัดแล้ว ยังคงมีมวลน้ำอยู่มากมาย ชนิดที่คนกรุงเทพฯ ยังไม่มั่นใจว่า หากปล่อยให้เข้ามาท่วมกรุงเทพฯ เพื่อช่วยประชาชนในต่างจังหวัดและปริมณฑลแล้ว จะสามารถลดทอนน้ำในที่ต่างๆ ได้แค่ไหน
       
       "บางกอกทูเดย์ ไม่ได้ต้องการโทษความผิดให้ใคร แต่ต้องการให้ได้เรียนรู้จากความจริง และใช้เป็นบทเรียนไม่ให้เกิดขึ้นอีก เพราะน้ำจำนวนมหาศาลเป็นหมื่นๆ ล้านลูกบาศก์เมตรในครั้งนี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการบริหารน้ำในเขื่อนสำคัญคือเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ นั่นเอง" รายงานระบุ
       
       ในรายงานอ้างว่า ปกติเขื่อนภูมิพล จะต้องมีระดับความจุเก็บกักน้ำต่ำสุด คือ 3,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ความจุเก็บกักน้ำต่ำสุดคือ 2,850 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งก็จะมีปริมาณน้ำที่แม้จะน้อยแต่ก็พอประคองสถานการณ์ภัยแล้งได้บ้าง แต่ในปีนี้การดูแลน้ำในเขื่อนทั้ง 2 เกิดความวิตกในเรื่องภัยแล้งมากจนเกินเหตุ ทำให้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ทั้งๆ ที่ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีอยู่ที่ความจุ กว่า 6,000 ล้าน ลบ.ม. แล้ว แต่กลับไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลยแม้แต่น้อย ทำให้ในช่วงเดือน พฤษภาคม มิถุนายน จนถึงกรกฎาคม น้ำในเขื่อนถูกเก็บกักเอาไว้สูงขึ้นเรื่อย
       
       "ประกอบกับในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม มีการเลือกตั้ง ทำให้เกิดช่วงสุญญากาศทางการเมือง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลรักษาการอยู่จนถึงต้นเดือนสิงหาคม ทำให้การดูแลระดับน้ำในเขื่อนอยู่ในการดูแลรับผิดชอบของกรมชลประทาน เนื่องจากกว่ารัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ จะสามารถทำหน้าที่ได้ ก็เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม เวลาประมาณ 21.30 น.ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์ จากนั้นในวันที่ 10 ส.ค.นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี จึงได้นำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 14 รพ.ศิริราช
       
       ซึ่งในวันที่ 13 สิงหาคม ตามกราฟจะเห็นว่า เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ มีความจุน้ำพุ่งขึ้นไปถึง 8,400 ล้าน ลบ.ม.แล้ว ทำให้เมื่อเจอกับพายุเข้า 3-4 ลูกติดๆ กัน น้ำในเขื่อนใหญ่ทั้ง 2 จึงขยับขึ้นมาเต็มเขื่อนอย่างรวดเร็ว เมื่อน้ำในเขื่อนสิริกิติ์แตะระดับ 9,500 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนภูมิพลแตะ 13,500 ล้าน ลบ.ม.ในต้นเดือนกันยายน จึงทำให้เขื่อนต้องเร่งระบายน้ำ และกลายเป็นมวลน้ำจำนวนมหึมาที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั่นเอง และกลายเป็นโศกนาฏกรรมใหญ่ในครั้งนี้" รายงานระบุ
       
       ในรายงานของบางกอกทูเดย์ กล่าวอีกว่า หน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำคอยบริหารจัดการเขื่อน แต่เพราะความกลัวภัยแล้ง จึงทำให้ไม่มีการพร่องน้ำเอาไว้เลย ทั้งๆ ที่หากเกิดภัยแล้งเชื่อว่าความเสียหายน่าจะมีเพียงในระดับพันล้าน หรือหมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเข้าไปช่วยชดเชยให้ความช่วยเหลือ แต่การเกิดอุทกภัยใหญ่ เพราะเขื่อนจำเป็นต้องปล่อยน้ำ จนเกิดน้ำท่วมใหญ่และเสียหายนับเป็นกว่า 5-6 แสนล้านบาทเช่นนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องมีการทบทวน
       
       ทั้งนี้ จะต้องถือเป็นบทเรียนสำคัญ เพราะไม่ว่าอย่างไรหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำควรจะต้องรู้ดีกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ควรปล่อยให้เกิดการวางแผนผิดพลาดได้ขนาดนี้ เพราะน้ำหลากน้ำท่วมจากสูงลงสู่ต่ำไปสู่อ่าวไทย สำหรับประเทศไทยนั้น ถือเป็นเรื่องปกติที่มีมานาน ความผิดพลาดครั้งนี้จึงเป็นบทเรียนราคาแพงอย่างยิ่ง หากในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม มีการสั่งการให้กรมชลประทานพร่องน้ำเอาไว้ที่ระดับประมาณ 3,500-4,000 ล้าน ลบ.ม.ก็จะทำให้เขื่อนสามารถที่จะรับน้ำได้อีกถึงกว่า 5,000-6,000 ล้าน ลบ.ม.ได้อย่างสบายๆ ซึ่งปริมาณน้ำท่วมทุ่ง ก็จะไม่มากมายมหาศาลเท่ากับขณะนี้
       
       ขณะเดียวกัน หากที่ผ่านมา กรมชลประทานมีการดูแลขุดลอกทรายในแม่น้ำ หรือให้สัมปทานดูดทรายขาย ถ้าดูดทรายขึ้นไปได้สักล้าน ลบ.ม.นั่นก็คือ การเพิ่มศักยภาพของแม่น้ำในการที่จะรองรับน้ำได้เพิ่มเป็นล้าน ลบ.ม.ด้วยเช่นกัน กรมชลประทานและบรรดาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องน้ำของรัฐ จากวันนี้ไปจึงควรจะต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดเหมือนในครั้งนี้อีก รวมทั้งในการแก้ไขปัญหาในขณะนี้ รัฐบาล กองทัพ กรมชลประทาน พยายามรับมือกันสุดกำลัง ทาง กทม.และพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องเลิกหวังชิงจังหวะทางการเมือง แต่ต้องหันมาเร่งระบายน้ำอย่างเต็มที่ เพราะคนที่เดือดร้อนคือประชาชน และเศรษฐกิจที่เสียหาคือเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ และประเทศชาติ
       
       สำหรับหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ มี นายเผด็จ ภูริปฏิภาณ เจ้าของนามปากกา "พญาไม้" ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด เป็นผู้ดูแล และมี นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่า รีสอร์ท เขาใหญ่ และ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นนายทุน ซึ่งที่ผ่านมามีจุดยืนสนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มคนเสื้อแดงมาโดยตลอด
       
       ทีวีแดงอัดคน กทม.ด่ารัฐบาลทั้งที่น้ำท่วมแค่ตาตุ่ม
       
       อีกด้านหนึ่ง เมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเชีย อัพเดท ซึ่งเป็นสื่อมวลชนในเครือข่ายกลุ่ม นปช.และพรรคเพื่อไทย ได้เผยแพร่รายงานพิเศษในหัวข้อ "หยุดกวนน้ำให้ขุ่นขวางรัฐบาลแก้อุทกภัย" โดย นายบูรพา เล็กล้วนงาม ซึ่งกล่าวว่า นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่อ้างว่าได้รับการแก้ไขแล้ว การสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมโดยคนบางกลุ่มยังเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของรัฐบาล โดยกล่าวโจมตีว่าคนบางกลุ่มนำประเด็นน้ำท่วม มาเป็นเครื่องมือลดความน่าเชื่อถือของ ศปภ.และรัฐบาล
       
       ทั้งนี้ ประเด็นที่พูดกันบ่อย คือ รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการที่นิคมอุตสาหกรรมจมน้ำ ซึ่งเป็นการพูดที่ขาดความรับผิดชอบ เพราะก่อนหน้าที่น้ำจะไหลมาถึงนิคมอุตสาหกรรมแต่ละแห่ง ศปภ.ได้แจ้งเตือนไปแล้ว ถ้านิคมอุตสาหกรรมสร้างคันกั้นน้ำที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เช่นเดียวกับคันกั้นน้ำของวัดพระธรรมกาย ความเสียหายคงไม่เกิดขึ้น การที่นิคมอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วม เป็นเรื่องเกินความรับผิดชอบของ ศปภ.
       
       ส่วนกรณีน้ำท่วมกรุงเทพฯ อีกประเด็นที่ถูกนำมาถากถางรัฐบาล โดยหยิบยกน้ำท่วมในบางจุดมาใส่ร้าย ทั้งที่รัฐบาลระบุเพียงว่า เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในเท่านั้นที่จะไม่ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอีก คือ พนังกั้นน้ำต้องไม่แตก อีกทั้งพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็ถูกน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีในช่วงนี้ และน้ำจะท่วมเฉพาะเวลาที่น้ำทะเลขึ้น และเมื่อน้ำทะเลลดน้ำก็ไม่ท่วม จึงยังไม่เห็นจุดไหนที่รัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ตรงกันข้ามในบางปีที่ฝนตกหนัก น้ำก็ท่วมกรุงเทพฯ กินวงกว้างกว่าปีนี้อีก
       
       รายงานพิเศษช่องเอเชียอัพเดทยังกล่าวโจมตีสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ โดยกล่าวว่า การรายงานข่าวก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพน้ำท่วมในเวลานี้ดูน่ากลัว เกินกว่าความเป็นจริง ผู้สื่อข่าวจำนวนไม่น้อยไปยืนรายงานข่าวในบริเวณที่น้ำท่วม ทั้งที่มีพื้นที่แห้งให้ยืนรายงานข่าวได้ และอ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเร้าอารมณ์ของผู้ชมให้เกิดความกังวล ซึ่งขัดกับการรายงานข่าวที่ต้องนำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น รวมทั้งยังมีการใช้คำว่า "วิกฤต" หรือ "น้ำท่วมหนัก" อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ ผู้ชมจึงเกิดความวิตก ทั้งที่คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังไม่ถูกน้ำท่วมเลยแม้เพียงระดับตาตุ่ม
       
       นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า เรื่องที่น่าสนใจที่สื่อกระแสหลักไม่ยอมพูดถึง คือ ความผิดปกติที่เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ กักเก็บน้ำมากเกินความพอดี เมื่อถึงหน้าฝนจึงต้องปล่อยน้ำออกมา และเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ การกวนน้ำให้ขุ่นและการรายงานข่าวเร้าอารมณ์ความรู้สึก จึงทำให้ประชาชนเกิดความหวั่นไหวต่อสถานการณ์ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคต่อการจัดการปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลที่สามารถยุติลงได้ ถ้าไม่ต้องการซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายไปกว่านี้
       
       อย่างไรก็ตาม หลังรายงานพิเศษช่องเอเชียอัพเดทถูกเผยแพร่ออกไป ปรากฏว่า มีการตั้งข้อสังเกตถึงการนำกราฟแสดงน้ำที่ใช้ได้ในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ที่นำมาแสดงในรายงานพิเศษ โดยหนึ่งในนั้นคือ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในเฟซบุ๊ก "Sirichok Sopha" ว่า ทางสถานีมีการแก้กราฟปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล ของกรมชลประทานเพื่อป้ายสีอดีตรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งๆ ที่ตอนรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามานั้น น้ำในเขื่อนมีเพียงแค่ร้อยละ 55 เท่านั้น


คนหาดใหญ่ครับ

หมดปัญญาแก้ พาลหาเรื่องโยนให้คนอื่นรับผิด สันดานควายแดงจริงๆ

ไท ฆ่า ไท

.


....บางอย่างที่อ่าน อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น....... ส.โกรธอย่างแรง ส.บ่น ส-เหอเหอ

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

แล้วคนไหนล่ะครับ ที่ได้เป็น ส.ส.  เริ่มทำงานแล้วกลับไม่ตรวจสอบน้ำในเขื่อน กลับให้ความสำคัญไปเตะบอลกับไอ้ฮุน ที่เขมร (อดีตเมืองขึ้นของไทย)  .... ใครล่ะ ถ้าไม่ใช่คางคก
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

pa_เฟี๊ยว

 ส.โกรธอย่างแรง หนังสือพิมข่าวสดด้วย เราอ่านทุกวัน(ร้านน้ำชา)มันก็ด่าทุกวัน ด่าว่าเป็นแมงสาปมั่งฆาตรกรมั่ง ล่าสุดเอาเรื่องไปมัลดีฟมาเขียนอีก  ส.โกรธอย่างแรง ไอ้คนเขียนมันใช้นามว่า "สมิงสามพลัด"+"มันมือเสือ" อยากเห็นหน้ามันจิงจิง ไอ้พวกเขียนด่าคนอื่นที่ตัวเองไม่ต้องรับผิดชอบนิ ไม่เชื่อไปเปิดอ่านดูสิค่ะ  ส.อ่านหลังสือส.โกรธอย่างแรง

samrit

ดีใส่ตัว ชั่วใส่เพื่อน

มันไม่เคยรับผิด  แถแถกไปเรื่อย
คิดดี พูดดี ทำดี ชีวิตก็จะพบแต่สิ่งที่ดีๆ...

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

นสพ.ข่าวสด ผมเลิกอ่านมา 5 ปีแล้วครับ

อุดมการณ์ นสพ.ฉบับนี้ อยู่กลางใจควายแดงทั้งนั้น  แค่หัวข่าวก็เห็นแล้วว่า จ้องกัด ปชป เป็นหลัก
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

ฟ้าเปลี่ยนสี

ความจริงอันขื่นขมของน้องปูจ๋า กับ พลพรรคเสื้อแดง งานนี้น้ำแห้งตายเป็นเบือแน่นอน

เกมอำนาจกับการจัดการน้ำ

ความจริงเรื่องน้ำในเขื่อน

วันที่ 24 มิ.ย. น้ำในเขื่อนที่ตาก มีอยู่ 7500 ล้านลูกบาศก์เมตร
วันที่ 22 ก.ค. น้ำในเขื่อนที่ตาก มีอยู่ 8000 ล้านลูกบาศก์เมตร
วันที่ 19 ส.ค. น้ำในเขื่อนที่ตาก มีอยู่ 9800 ล้านลูกบาศก์เมตร
วันที่ 02 ก.ย. น้ำในเขื่อนที่ตาก มีอยู่ 10600 ล้านลูกบาศก์เมตร
วันที่ 14 ต.ค. น้ำในเขื่อนที่ตาก มีอยู่ 14000 ล้านลูกบาศก์เมตร

แสดงว่ารัฐบาลชุดก่อน - ไม่ได้สั่งเก็บ และไม่มีทางที่จะสั่งปล่อยได้
ปัญหาคือ รัฐบาลชุดนี้รู้ว่าน้ำมากและพายุจะเข้าแต่ไม่พร่องน้ำออกมา


ท่านสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ

water.egat.co.th/old-web/sumdam-rep/dam-bb/graph-bb.htm

ปัญญาพลวัตร โดย...ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
       
       ในสังคมใด เมื่อมนุษย์ผู้ใดกลุ่มใดโชคดีมีอำนาจขึ้นมา แต่ขาดภูมิปัญญา ใช้อำนาจไม่เป็นและใช้ไปอย่างผิดทาง ก็จะสร้างความหายนะแก่สังคม และท้ายที่สุดอำนาจก็จะหวนกลับมาทำลายตนเอง ดังที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์
       
       ขณะที่คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีฝึกงานกำลังสาละวนและละล้าละลังในการจัดการกับการแก้ปัญหาน้ำท่วม ทักษิณ ชินวัตรพี่ชายของเธอก็หมกมุ่นกับการช่วงชิงอำนาจกับฝ่ายทหาร โดยด้านหนึ่งวิพากษ์ทหารว่าเสพติดอำนาจ และอีกด้านหนึ่งก็สนับสนุนให้ ส.ส.ในสังกัดดำเนินการแก้ พ.ร.บ. กลาโหม เพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูงจากเดิมที่อยู่ในรูปแบบของคณะกรรมการให้มาอยู่ภายใต้นักการเมือง
       
       ด้วยความที่หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาแนวทางและวิธีการที่ช่วยเหลือพี่ชายให้กลับสู่ประเทศไทยโดยปราศจากความผิด ความอ่อนหัดไร้ประสบการณ์การบริหารราชการแผ่นดิน ความจำกัดของความรอบรู้ในปัญหาและระบบงานราชการ ความตื้นเขินของพลังทางปัญญาในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างเป็นภาพรวม ผสานกับบารมีที่มีอยู่น้อยนิด ส่งผลให้การตัดสินใจในการแก้ปัญหาของ "ผู้นำจำเป็น" ของประเทศไทยเกิดความล่าช้าและผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และการใช้อำนาจก็เป็นไปอย่างกล้าๆกลัวๆและไร้ทิศทาง
       
       ปัญหาวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปัจจุบัน ได้แสดงตัวออกมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน และปรากฎอย่างชัดเจนในเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา พายุหลายลูกที่พัดผ่านประเทศไทยตอนบนก่อให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปีก่อนๆ ทำให้ หลายจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนต้องประสบกับชะตากรรมอันเลวร้ายของการถูกน้ำท่วม
       
       ตามมาตรฐานของหลักการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนต่างๆ เมื่อน้ำไหลเข้าเขื่อนจำนวนมากก็ต้องเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกมา แต่ในครั้งนี้หลักการดังกล่าวกลับเกิดขึ้นอย่างล่าช้าเพราะมี "อำนาจ" บางอย่างสั่งให้เจ้าหน้าที่เขื่อนกักน้ำไว้ก่อน และกำหนดให้ระบายน้ำออกมาราวกับว่าเป็นสถานการณ์ปกติ จนกระทั่งถึงจุดที่ใกล้วิกฤติของเขื่อน จึงได้มีการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำออกจากเขื่อน อำนาจที่ว่านั้นมิใช่อำนาจลึกลับใดๆ แต่เป็นอำนาจซึ่งดำรงอยู่ในคณะรัฐมนตรีนั่นแหละ
       
        เหตุผลที่มีการสั่งกักน้ำไว้ก่อน หากมองในแง่บวก ก็คือ เป็นเจตนาดีที่ไม่ต้องการให้มีมวลน้ำไหลลงสู่แม่น้ำในปริมาณที่มาก น้ำจะได้ไม่ท่วม แล้วค่อยๆทยอยเพิ่มปริมาณการระบายน้ำในภายหลัง แต่เจตนาดีเหล่านี้ย่อมมีแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง นั่นก็คือ การรักษาคะแนนนิยมในกลุ่มประชาชนภาคเหนืออันเป็นฐานเสียงของรัฐบาล และในท้ายที่สุดกลับทำให้เกิดมหาอุทกภัยซึ่งสร้างความหายนะแก่ประเทศไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
       
       ความแปลกประหลาดของการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลในครั้งนี้มีร่องรอยให้สืบสาวจากข้อมูลที่ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลสัมภาษณ์เอาไว้

นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลระบุว่า
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 ถึงเดือนกันยายน 2554 มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเฉลี่ย 1,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อเดือน รวมห้าเดือนมีน้ำเข้าไปอยู่ในเขื่อนภูมิพลประมาณ 5, 000 ล้าน ลบ. ม. แต่ในช่วงห้าเดือนนั้นเขื่อนระบายน้ำออกมาเพียงเดือนละ100 กว่าล้าน ลบ. ม. เท่านั้น รวมห้าเดือนก็ระบายออกประมาณ 500 ลบ. ม. หรือ มีน้ำเข้าเขื่อนมากกว่าน้ำที่ระบายออกมาถึงประมาณ 10 เท่า
       
       ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาในช่วง 5 เดือน ปล่อยน้ำออกมาเฉลี่ยประมาณแค่ 5 ล้าน ลบ. ม.ต่อวันเท่านั้น แต่ในเดือนตุลาคมได้มีการระบายน้ำเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วง 1-4 ตุลาคม เพิ่มเป็น 40-60 ล้าน ลบ. ม.ต่อวัน ต่อมาระหว่างวันที่ 5 – 11 ตุลาคม เพิ่มเป็น 100 กว่าล้าน ลบ. ม. ต่อวัน และ ในช่วง 12 -19 ลดลงเหลือประมาณ 50 – 80 ล้าน ลบ. ม. ต่อวัน
       
       รวมอย่างคร่าวๆน้ำในเขื่อนภูมิพลที่ระบายออกมาเฉพาะ 16 วันของเดือนตุลาคมมีประมาณ 1,200 ล้าน ลบ. ม. หรือประมาณ 2 เท่ากว่า ของช่วงห้าเดือน (150วัน) ซึ่งปล่อยออกมาเพียงประมาณ 500 ล้าน ลบ. ม.
       
       สำหรับพายุที่เข้าประเทศไทยตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมมี 2 ลูก คือ ปลายเดือนมิถุนายนมีพายุไหหม่า ต่อมาในปลายเดือนกรกฎาคมก็เกิดพายุนกเตน พายุสองลูกนี้นำน้ำจำนวนมหาศาลเข้าประเทศไทย แต่ที่น่าประหลาดใจคือการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลก็ยังปล่อยเท่าๆกับเดือนพฤษภาคม เป็นไปได้ว่า ระหว่างนั้นนักการเมืองผู้ทรงอำนาจทั้งหลายคงไม่มีเวลาเพียงพอในการดูแลจัดการปัญหาเรื่องน้ำในเขื่อน เพราะมัวแต่แข่งขันเลือกตั้งช่วงชิงอำนาจ แม้ว่าน้ำได้ท่วมในบางพื้นที่ บางจังหวัดแล้ว สิ่งที่นักการเมืองทำก็คือ
การฉวยโอกาสอาศัยความเดือดร้อนของประชาชนเป็นแหล่งในการหาเสียงสร้างคะแนนนิยมเท่านั้น
ไม่มีการเตรียมการใดที่จะรับมือกับมหันตภัยที่กำลังคุกคามอยู่แม้แต่น้อย
       
       รัฐบาลใหม่ของคุณยิ่งลักษณ์ตั้งขึ้นมาต้นเดือนสิงหาคม ปัญหาเรื่องน้ำก็ยังเป็นเรื่องเล็กสำหรับรัฐบาล ส่วนปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือ การหาทางในการช่วยเหลือทักษิณ ชินวัตรให้กลับเข้ามาในประเทศไทยโดยปราศจากความผิดติดตัว การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อกระชับอำนาจให้แข็งแกร่ง การเจรจาและจัดงานบันเทิงเฉลิมฉลองเตะฟุตบอลร่วมกับผู้นำประเทศกัมพูชา การสนับสนุนข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ การช่วยเหลือเยียวยาสาวกของเสื้อแดง การพยายามแก้ไข พ.ร.บ. กลาโหม และการหาแนวทางต่างๆในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ได้
       
       สิ่งที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องปัญหาน้ำท่วมก็มีบ้าง เช่น การรับบริจาค การออกไปเยี่ยมเอาของไปแจกผู้ประสบภัยบางคน บางพื้นที่ เพื่อสร้างภาพเป็นนายกนางงามแจกของ แต่ยังไม่เห็นความตระหนักในการแก้ปัญหา และการคิดอย่างเป็นระบบเชิงบูรณาการเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมแม้แต่น้อย เราจึงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆในการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนอื่นๆ ทั้งๆที่เขื่อนเหล่านั้นมีน้ำเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลจากพายุทั้งสองลูกที่เข้ามา
       
       ต่อมาในปลายเดือนกันยายนพายุก็ได้เข้ามาประเทศไทยอีก 2 ลูกคือ ไหถ่าง กับ เนสาด และต้นเดือนตุลาคม พายุนาลแก ก็พัดเข้ามา พายุทั้งสามทำให้ฝนตกหนัก และน้ำจำนวนมหาศาลไหลเข้าเขื่อน จากการที่เขื่อนปล่อยน้ำน้อยก่อนหน้านั้น ทำให้ความสามารถในการรับน้ำใหม่ที่เข้ามามีต่ำลง เขื่อนจึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการปล่อยน้ำอย่างมหาศาลตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นมา ถึงกระนั้นรัฐบาลก็ยังคงสับสนและมะงุมมะงาหราอยู่ทำอะไรไม่ถูก แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ และเพิ่งมาคิดจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ) ขึ้นมา โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประสบภัยและประกาศแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเป็นหลัก
       
       การตั้งชื่อและกำหนดหน้าที่ของ ศปภ. ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐบาลมีวิธีคิดในการแก้ปัญหาอุทกภัยแบบเสี่ยงเสี้ยวและมีแนวทางในเชิงการตั้งรับ คือคิดเพียงแต่ว่าเมื่อน้ำท่วมแล้วจะช่วยอย่างไร ฟื้นฟูอย่างไร รวมทั้งแค่แจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำเท่านั้น โดยไม่ได้คิดถึงว่าจะจัดการหรือควบคุมมวลน้ำจำนวนมหาศาลอย่างไร เพื่อบรรเทาความรุนแรงและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม
       
       เมื่อ ศปภ. ทำงานสิ่งที่ปรากฏแก่สาธารณะก็คือผู้ที่รับผิดชอบทำงานไม่เป็น ใช้คนไม่เหมาะกับงาน มีการช่วงชิงบทบาทการนำอย่างเข้มข้น บางคนต้องการเป็นวีรบุรุษแย่งกันเสนอหน้าแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ช่วยเหลือชาวบ้านแบบสร้างภาพหาคะแนน แถลงข่าวผิดๆถูกๆ จนต้องแก้ไขกันหลายครั้งหลายคราว ข่าวสารที่แถลงออกมาก็เชื่อถือไม่ได้ เป็นที่เอือมระอาของประชาชน การทำงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบใน ศปภ. สะท้อนถึงตัวตนที่อ่อนหัด ทำงานไม่เป็นในการรับมือและแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น
       
       ยิ่งกว่านั้นสิ่งสำคัญที่ขาดหายไปจากหน้าที่หลักของคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นมาคือ การจัดการมวลน้ำที่ท่วมอยู่ในวงกว้างหลายพื้นที่ แต่การจัดการกับมวลน้ำมหึมาเช่นนี้ได้หาใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการอย่างรอบด้าน ปัญญาความคิดสร้างสรรค์ในการแสวงหาแนวทางใหม่ๆในการจัดการ การตัดสินใจที่ดีเฉียบขาด และอำนาจสั่งการที่ทรงพลังและเป็นเอกภาพ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏให้เห็นในกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบใน ศปภ.
       
       ในความคิดของผม หลักการสำคัญของการจัดการมวลน้ำที่ท่วมขังมีอยู่ 3 ประการคือ การผลักดันมวลน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การควบคุมน้ำให้อยู่ในพื้นที่ซึ่งสร้างผลกระทบน้อยที่สุดไว้ชั่วคราว และการป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วมพื้นที่สำคัญ การจะดำเนินการตามหลักการทั้งสามนั้นอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนบางกลุ่มและอาจสร้างความขัดแย้งขึ้นมาได้ ดังนั้นการใช้อำนาจตามปกติจึงไม่สามารถจัดการตามหลักการทั้งสามได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการจัดการขาดประสิทธิภาพสิ่งที่ตามมาก็คือ น้ำก็จะขังอยู่เป็นเวลานาน และทะลักเข้าไปท่วมในพื้นที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง ดังที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
       
       ยิ่งน้ำท่วมขังนานเท่าไรความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคงก็มีมากขึ้นเท่านั้น และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีวี่แววว่าจะจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่อย่างใด เมื่อเป็นเช่นนี้คะแนนนิยมของรัฐบาลก็ลดลงเรื่อยๆ ขณะที่กองทัพกลับได้รับคะแนนนิยมเพิ่มเติมจากการลงไปช่วยเหลือประชาชนทุกรูปแบบทั้งการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในบางพื้นที่ และการช่วยเหลืออื่นๆแก่ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมอยู่แล้ว
       
       แม้ว่ากองทัพจะเป็นกลไกของรัฐ แต่เป็นกลไกที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์และแกนนำเสื้อแดงมองด้วยสายตาไม่เป็นมิตรเท่าไรนัก มีความระแวงอยู่ตลอดเวลาว่าทหารจะทำรัฐประหาร ดังนั้น เมื่อทหารมีคะแนนเพิ่มขึ้นก็สร้างความหวั่นวิตกแก่ทักษิณ ชินวัตร ผู้อยู่เบื้องหลังรัฐบาล เป็นเหตุให้เขาต้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์ทำลายความน่าเชื่อถือของทหารโดยระบุว่า "ทหารเสพติดอำนาจ" และ ต่างชาติไม่ยอมรับการรัฐประหาร ทั้งที่ผู้เสพติดอำนาจอย่างโงหัวไม่ขึ้น
ทำลายหลักประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาลมากที่สุดคนหนึ่งก็คือ
ตัวทักษิณเองนั่นแหละ
       
       การเดินเกมเพื่อช่วงชิงอำนาจในการแต่งตั้งนายทหารระดับสูง
จึงกลายเป็นเกมสำคัญของทักษิณ หากเขาชนะในเกมนี้ ทักษิณก็จะควบคุมการแต่งตั้งโยกย้ายทหารได้ทั้งหมดผ่านน้องสาวที่เป็นหุ่นเชิดของเขา แต่ความฝันของเขาอาจเป็นฝันสลาย เพราะอาจถูกพลังอันมหาศาลของสายน้ำทำลายลงไปก่อนที่จะประสบความสำเร็จ

















ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด