ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ไปพบมา

เริ่มโดย พบ, 17:49 น. 04 ก.พ 55

ขุนศุกร์

พระราชบัญญัติ
จัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล
และสุขาภิบาล
พ.ศ. ๒๕๐๓
                       

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓"

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตเทศบาลนครกรุงเทพและเขตเทศบาลนครธนบุรี ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เมื่อจะใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับในเขตเทศบาลอื่นใดหรือในเขตสุขาภิบาลใด ให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
"จอดยานยนต์" หมายความรวมถึงหยุดยานยนต์ เว้นแต่การหยุดนั้นจะเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุหรือเหตุสุดวิสัย และจะนำยานยนต์นั้นเคลื่อนไปไม่ได้
"ที่จอดยานยนต์" หมายความว่า ที่ที่เทศบาลหรือสุขาภิบาลกำหนดและจัดไว้เป็นที่จอดยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๔ ให้เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติและให้สุขาภิบาลมีอำนาจตราข้อบังคับสุขาภิบาล เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการจอดยานยนต์ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดและจัดให้มีที่จอดยานยนต์ในทางหลวงหรือในที่สาธารณะสำหรับยานยนต์แต่ละชนิดหรือประเภท
(๒) กำหนดระเบียบการจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์
(๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔) กำหนดระยะเวลาจอดยานยนต์ ระยะเวลาที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมวิธีการเก็บค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียม

มาตรา ๕ ให้บุคคลต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อปฏิบัติการภายในเขตอำนาจหน้าที่ของตน
(๑) นายกเทศมนตรี และประธานกรรมการสุขาภิบาล
(๒) พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(๓) พนักงานเทศบาลซึ่งคณะเทศมนตรีแต่งตั้ง และพนักงานสุขาภิบาลซึ่งคณะกรรมการสุขาภิบาลแต่งตั้ง

มาตรา ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) ควบคุมการจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์ให้เป็นไปตามระเบียบการจอดยานยนต์
(๒) เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดไว้ในเทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาล แล้วแต่กรณี
(๓) สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดยานยนต์ในที่จอดยานยนต์หรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับการเสียค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์
(๔) สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ขับขี่ยานยนต์ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าได้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไปชี้แจงเกี่ยวด้วยการฝ่าฝืนนั้น ณ ที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ออกคำสั่งดังกล่าว ถ้าไม่พบตัวผู้ขับขี่ยานยนต์ ให้ติดไว้กับยานยนต์เพื่อให้ผู้ขับขี่เห็นได้เมื่อมาที่ยานยนต์

มาตรา ๗ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สอบร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท

มาตรา ๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าร้อยบาทถึงสองพันบาท

มาตรา ๘ ทวิ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบได้
การเปรียบเทียบความผิดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๙ เงินค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของเทศบาลหรือสุขาภิบาลแห่งท้องถิ่นที่ความผิดได้เกิดขึ้น

มาตรา ๑๐ เงินค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการจอดยานยนต์ตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ของสถานที่ดังกล่าว การบูรณะทางหลวงและสะพาน กับการชดใช้เงินกู้ในการก่อสร้างและบูรณะทางหลวงและสะพาน ในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลเท่านั้น

มาตรา ๑๑ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระทั่งอำนาจของเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกที่จะกำหนดการจราจรในที่จอดยานยนต์เป็นการชั่วคราว

มาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้อำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้


ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ถ. กิตติขจร
รองนายกรัฐมนตรี



บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์
ในที่ที่กำหนดและจัดไว้
                   

(ยกเลิก)



หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีผู้ใช้ยานยนต์ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ย่อมมีปัญหายุ่งยากในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจราจรและสถานที่สำหรับจอดยานยนต์ นอกจากนั้นการสร้างและบูรณะถนนหนทางในขณะนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก จึงเป็นการสมควรที่จะให้อำนาจแก่เทศบาล และสุขาภิบาลจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในทางหลวงหรือในที่สาธารณะ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายได้เพิ่มขึ้น รายได้ที่ได้จากการนี้ ให้นำมาใช้จ่ายในการจัดทำที่จอดยานยนต์บูรณะทางหลวงและสะพานหรือชดใช้เงินกู้ที่กู้มาใช้จ่ายในการนี้

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๔ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๑๕]

พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา ๘ ให้ออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๔ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบ การจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
อัตราค่าธรรมเนียมที่ได้กำหนดขึ้นและใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับให้คงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีข้อบัญญัติ เทศบัญญัติหรือข้อบังคับสุขาภิบาลขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อให้การจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สมควรแก้ไขอัตราโทษปรับผู้ฝ่าฝืนเทศบัญญัติหรือข้อบังคับของสุขาภิบาลที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้และผู้ซึ่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้สูงขึ้น และเพิ่มอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจเปรียบเทียบได้พร้อมทั้งกำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนต์เพื่อให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

piuey

เนื่องจากบุคคลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานนั้นถูกกำหนดให้มีบทบาทในสังคมที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดาบางประการ ซึ่งมีผลมาจากอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย จึงต้องมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองและควบคุมบุคคลผู้เป็นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่

ทั้งนี้ในการคุ้มครองเจ้าพนักงานจะต้องมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานปฏิบัติการในหน้าที่ หากมีการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ ผู้กระทำต้องรับโทษในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน หรือ การทำร้ายเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่มีผลให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้น เป็นต้น ในขณะที่การควบคุมเจ้าพนักงาน กฎหมายก็ได้บัญญัติขึ้นมาเพื่อจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานไม่ให้กระทำการเกินกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานนี้ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หมวด 2เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการจะเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานนั้นเป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้ทั้งอำนาจ หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติการ ซึ่งอาจได้รับทั้งคุณและโทษจากบทบัญญัติของกฎหมายจึงต้องกระทำการด้วยความระมัดระวัง และหากกระทำการนอกขอบเขตที่กฎหมายให้ไว้ ก็มีมาตรการลงโทษเจ้าพนักงานไว้เป็นการเฉพาะซึ่งมีบทลงโทษที่หนักยิ่งกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป

ใครคือเจ้าพนักงาน...?

เจ้าพนักงาน หมายความถึง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2490 ได้อธิบายถึงความหมายของเจ้าพนักงาน ว่าหมายถึง "ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทย" จากคำพิพากษานี้จึงสามารถวางองค์ประกอบของการเป็นเจ้าพนักงานได้ 2 ประการ คือ

1.ต้องมีการแต่งตั้ง และ

2.เป็นการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ

กล่าวคือ ถ้าไม่มีการแต่งตั้งแม้จะได้ปฏิบัติราชการก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน หากจะเอาผิดก็ต้องมีกฎหมายบัญญัติขึ้นอีกโดยเฉพาะ หรือมีการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่โดยเฉพาะแต่มิได้แต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ก็ไม่เป็นเจ้าพนักงานเช่นเดียวกัน เช่น ราษฎรช่วยจับคนร้ายแม้จะเป็นงานของทางราชการแต่ราษฎรผู้นั้นก็ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงาน การที่นายอำเภอตั้งราษฎรคุมผู้ต้องหาไม่ทำให้ราษฎรเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจควบคุมผู้ต้องหานั้น ราษฎรปล่อยผู้ต้องหาจึงไม่เป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปล่อยผู้ต้องคุมขังให้หลบหนีไป (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2474) หรือในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรของรัฐ เช่น รัฐวิสาหกิจ อาทิ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปา ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานแต่ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน เพราะไม่มีการแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ จึงต้องมีกฎหมายเข้าไปควบคุมและคุ้มครองอีกฉบับหนึ่ง คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของพนักงานในองค์กรของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เป็นต้น

ในทำนองเดียวกัน แม้จะมีการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ถูกให้ไปทำงานอื่นนอกหน้าที่ราชการของตน ก็ไม่เป็นเจ้าพนักงาน เช่น ให้ข้าราชการครูไปทำงานคุรุสภาซึ่งไม่ใช่หน้าที่ราชการจึงไม่เป็นเจ้าพนักงาน หรือ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2499 ที่ว่า "หนังสือข่าวทหารอากาศ ไม่ปรากฎว่าเป็นราชการของกองทัพอากาศ ผู้ทำหนังสือจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน" เป็นต้น

เมื่อเจ้าพนักงานละเว้นหรือปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต

"มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ"

มาตรานี้แยกการกระทำเป็น 2 ความผิด คือ

1. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

คำว่า "โดยมิชอบ" หมายความถึง โดยมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งเจ้าพนักงานมีอยู่ตามกฎหมาย ดังเช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2521 ที่วินิจฉัยว่า "การกระทำโดยมิชอบนั้น เฉพาะตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นโดยตรงที่ได้รับมอบให้มีหน้าที่นั้นๆ ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมไม่มีความผิด"

ถ้าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่เป็นการกระทำที่ชอบด้วยหน้าที่โดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิด ดังนั้นถ้ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นก็เป็นการกระทำความผิดตามมาตรานี้

องค์ประกอบของความผิดมาตรานี้อยู่ที่ มูลเหตุชักจูงใจ คือ "มีเจตนาพิเศษ" ที่ต้องการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งรวมถึงความเสียหายในทุกๆด้านโดยไม่จำกัดเฉพาะความเสียหายที่เป็นทรัพย์สินเท่านั้น เช่น ความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเสียหายแก่เสรีภาพ เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น เจ้าพนักงานตำรวจจับผู้ที่กระทำผิดความฐานมีสุราผิดกฎหมายไว้ในครอบครอง แล้วทำร้ายร่างกายผู้ถูกจับกุม การทำร้ายนี้ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจขณะจับกุม แต่เป็นทำร้ายหลังการจับกุมแล้ว จึงไม่มีความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2479) แต่ถ้า เป็นพนักงานสอบสวน ในระหว่างสอบสวนไปทำร้ายผู้ต้องหาเพราะไม่ยอมรับสารภาพ เช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อเกิดความเสียหายแก่เขาย่อมมีความผิดตามมาตรานี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2508) หรือ เจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการออกใบสุทธิจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงกับความจริงและผิดระเบียบ เพื่อให้เขานำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายจึงมีความผิดตามมาตรานี้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-410/2509) เป็นต้น

2. ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต

คำว่า "โดยทุจริต" ตามความหมายนี้ คือการใช้อำนาจในหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้น และที่สำคัญคือ "ต้องมีหน้าที่" คือ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัตินั้นต้องอยู่ในหน้าที่ ดังนั้นหากไม่อยู่ในหน้าที่หรืออยู่ในหน้าที่แต่ทำโดยชอบและโดยสุจริต ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต สามารถพบได้ในหลายกรณี เช่นพนักงานที่ดินไม่โอนที่ดินตามคำสั่งนายอำเภอ โดยทุจริตและอาจเสียหายแก่ผู้อื่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2512) เจ้าพนักงานเทศบาลมีหน้าที่เก็บเงินลักเอาใบเสร็จเก็บค่ากระแสไฟฟ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่อีกผู้หนึ่งไป เพื่อไปเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าแล้วเอาเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2503) หรือ นายตำรวจจับคนนำพลอยหนีภาษีไม่นำส่งดำเนินคดี เอาพลอยไว้เสียเอง เป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2525)

การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต มีลักษณะคล้ายคลึงกับการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่มีข้อแตกต่างอยู่ที่ว่าการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบที่จะเป็นความผิดได้นั้น จะต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หากการกระทำนั้นไม่เกิดความเสียหายแล้วย่อมจะไม่เป็นความผิดตามมารา 157 ในขณะที่การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตไม่ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้อื่นเสียหายหรือไม่ แม้ไม่เกิดความเสียหายก็ยังคงถือว่าเป็นการกระทำความผิดได้

สรุป

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า หลักการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญานี้ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ ผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงาน และที่สำคัญต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ และในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นการกระทำโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ดังนั้นหากขาดองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งไปก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ส่วนจะเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นหรือไม่นั้น คงต้องพิจารณาข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องไป

สราวุธ เบญจกุล
โฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

คนค้าแก้ว

ขอมองในแง่ดีหน่อยนะครับอย่างน้อยเราก็ได้เห็นผู้รับผิดชอบขยับที่จะทำอะไรกันบ้างแล้ว ที่นี้เราก็ตามดูผลงานถ้ามันมีแค่ป้ายมาโชว์ก็ถล่มกันต่อไป หวังแต่ว่าถ้าตำรวจเขาเอาจริงปรับจริงคงไม่มีใครเกณฑ์คนมาปิดถนนให้วุ่นวายกันนะครับ
ไม่ต้องบินสูงอย่างใครเขา จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร แต่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ

DevilDevil

ทำป้ายแต่ไม่จับ จะทำมาทำไมล่ะครับ ไม่ใช่ว่าป้ายจะจับแทนตำรวจได้ที

หรือจะใช้รูปตำรวจในป้ายจับครับ?

ซัมเบ้ Note 7 Jr.

แด่ป้ายเหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ ...
ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป

พบ

ตอนนี้ป้ายสี่สหาย ไม่รุหายไปไหนแล้วครับ วงในว่าเจ้าของรูปบางท่านไม่ปลื้มที่ลงภาพโดยที่ไม่เรียนให้ทราบ

puiey

อ้างจาก: พบ เมื่อ 13:21 น.  12 ก.พ 55
ตอนนี้ป้ายสี่สหาย ไม่รุหายไปไหนแล้วครับ วงในว่าเจ้าของรูปบางท่านไม่ปลื้มที่ลงภาพโดยที่ไม่เรียนให้ทราบ

ว่ากันไปเรื่อย
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

พบ

ไม่เชื่อเบิ่งตาดูบนที่เคยสิงสถิตย์ดูดิ คับ จ้าวนายยยยยยยยยยยยยยยยย

ลุงแกลบ

อ้างจาก: Probass เมื่อ 22:18 น.  04 ก.พ 55
ป้ายห้ามจอดซ้อนคัน ที่หาดใหญ่ใน เปลืองไม้ดานเปลืองสีเปล่าๆ

พรุ่งนี้(วันอาทิตย์)ไปดูได้เลย แถวๆสะพานลอย หน้าธนาคารออมสิน

จอดกันจังหูแหม็ด

ลองไปดูป้ายที่อยู่ใกล้ 7-11 หาดใหญ่ในดู มีคนเอาเมจิคเขียนไว้บนบอร์ด มันไม่สนใจหรือไม่อ่าน นี่ละ ขนาดป้ายยังโดนเขียนเลย ไม่มีคนกลัวป้ายซักนิด

ขุนศึก

ผมเข้าใจว่าป้ายทั้งหมดนี้เป็นป้ายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ก่อนดำเนินการจับปรับจริง ซึ่งเทศบาลอื่นๆเค้าก็ทำกัน ซึ่งผมก็คิดว่าดีนะครับเป็นการแจ้งให้ชาวบ้านผู้ใช้รถใช้ถนนรู้ว่าตอนนี้กำลังจะกวดขันในเรื่องใด แต่ของหาดใหญ่นี่แปลกกว่าที่อื่นเค้าหน่อยครับเน้นรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างเดียว ไม่ติดตามผลไม่บังคับใช้ ผมจึงให้ความเห็นไว้ใในตอนต้นว่า "ไม่ว่าป้ายรณรงค์นี้จะมีมากแค่ไหน แต่หากไม่มีการกวดขันอย่างจริงจังจากผู้ที่เกี่ยวข้องการจราจรในหาดใหญ่ก็คงไม่มีทางดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม"

พบ

ถามตรง ๆครับ ทุกคน สี่คนที่อยู่บนป้าย ใครมีหน้าที่ทำอะไร แล้วทำตามหน้าที่ของตนแล้วม่าย แล้วใครเป็นเครื่องมือใคร แต่ไม่พรื่อเพราะตอนนี้ไม่มีแล้ว แต่คนที่จะรู้ว่าใครเป็นเครื่องมือใคร กะแล้วแต่ว่าครายเป็นควาย จิงไหม

wareerant

ขอถามอีกนิด ป้ายทะเบียนรถ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น AE-9999 ที่ติดไว้หลังรถ เป็นการลงทะเบีัยนอะไรหรือเปล่า เห็นบ่อยมาก จำเป็นต้องติดมั้ย บางคนก็ไม่มี

bicadd

ให้มันจริงสักทีเหอะ

คงจะแบบนี้

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 18:46 น.  13 ก.พ 55
ขอถามอีกนิด ป้ายทะเบียนรถ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เช่น AE-9999 ที่ติดไว้หลังรถ เป็นการลงทะเบีัยนอะไรหรือเปล่า เห็นบ่อยมาก จำเป็นต้องติดมั้ย บางคนก็ไม่มี

มันคือป้ายที่ต้องแจ้งเวลาเอารถไปต่างประเทศ<มาเลเซีย>

superGod

อ้างจาก: wareerant เมื่อ 12:33 น.  06 ก.พ 55
ขอถามหน่อยครับ (ไม่ได้ชื่อหน่อยก็ตอบได้) ตรงไฟแดงพื้นที่ที่เขียนว่า จยย ซึ่งเป็นที่จอดรถจักรยานยนต์ นั้น เป็นพื้นที่ ที่กฏหมายบังคับไม่ให้รถยนต์มาจอดทับพื้นที่ จยย หรือ เป็นแค่การจัดพื้นที่ให้เป็นระบบโดยไม่เป็นการบังคับตามกฏหมาย

สงสัยมานานแล้ว ไอ้พวกที่ชอบจอดทับเส้น ผิดกฏหมายมั้ย

บนเส้นหยุดห้ามแม้กระทั่งจมูกกันชนเลย ล้ำเข้าไปในเส้น เกินมาล้ำมา ถือว่าฝ่าสัญญาณหยุด (ตอนสอบใบขับขี่ก็อธิบายไว้ชัด) ถ้ามีที่จอดรถ จยย.อยู่ด้านหน้าจะมีเส้นหยุดรถยนต์อยู่ด้วย รถยนต์ถ้าจอดล้ำไปในช่อง จยย.ก็ถือว่าฝ่าฝืนสัญญาณเหมือนกัน

ถามย้อนไปว่า จะเอาอะไรกันนักหนากับเส้นหยุด ขับรถในหาดใหญ่แค่เอาตัวให้รอดก็พอ สันดานมันมากันแบบนี้แหละท่าน อย่าให้มันมาชนเราก็พอแล้ว
ปล.ไปธุระที่อินเดียมาไม่นานมานี้ยืนยันได้ว่าใครที่ไหนบอกแขกอินเดียขับรถไร้วินัยที่สุดในโลกนั้นไม่จริง เพราะคนหาดใหญ่ไร้วินัยที่สุดในสามโลกแล้ว

หงุมหงิม

กฎระเบียบมีเยอะแยะแต่คนก็ไม่ปฏิบัติตามกัน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ก็ไม่เข้มงวดสักเท่าไหร่ก็เลย ThailandOnly ส.มองลอดแว่น

neo01

ขยันติดป้ายกันจัง สงสัย งบเยอะ
"หน้าตาดี" ไม่ใช่ประเด็นหลักในการคบหา เพราะถ้า สวย หล่อ แร้ว"สันดานหมา"ก้อไม่รู้จะคบไป"ทำ....."อะไร