ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เปิดแผนปรับโฉมรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

เริ่มโดย supergreat, 17:17 น. 01 ก.ย 63

supergreat

สัปดาห์ก่อนมีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรไปยังจังหวัดระยอง มีข่าวจากฝั่งสำนักงานอีอีซีว่า จะมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกระยะที่ 2 จากสนามบินอู่ตะเภาไปถึงจังหวัดตราด ส่วนสัปดาห์นี้มีข่าวว่าซีพีจะเข้าไปปรับปรุงแอร์พอรตเรลลิงก์

แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ติดตามข่าว ไม่ทราบรายละเอียด จึงมีความสงสัยเป็นต้นว่า ซีพีมายุ่งอะไรกับแอร์พอร์ตลิงก์ และ รถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ไปอู่ตะเภา ยังไม่ได้สร้างเลย ทำไมจะสร้างจากระยองไปตราดแล้วล่ะ

ก็เลยไปหาข้อมูลจากสื่อ มาอัปเดตตามนี้น้า

1.   โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกระยะที่ 2

ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียดอยู่จ้า โดยจะเป็นส่วนต่อขยายจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เพื่อเชื่อมโยงจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด มีระยะทาง 190 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้สามารถเดินทางจากสถานีอู่ตะเภาถึงจังหวัดตราดได้ในเวลา 64 นาที

จากที่ทางสำนักงานอีอีซีคาดการณ์ไว้ เมื่อศึกษาเสร็จแล้ว ก็จะนำเสนอครม.ให้อนุมัติ ถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะเป็นปีหน้า 2564 หลังจากนั้นก็จะคัดเลือกผู้ลงทุนในปี 2567 และพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2571





2.     แผนปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์

เรื่องนี้อธิบายได้ว่า ที่ซีพีต้องมากางแผนปรับปรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก็เพราะ

กลุ่มซีพีและพันธมิตร ในนามกลุ่ม CPH (ซึ่งตอนนี้ตั้งบริษัทใหม่ตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุนกับรัฐ ในชื่อว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด - แต่สื่อก็มักจะเรียกว่า กลุ่มซีพี จะได้ไม่ต้องพิมพ์ยาว ๆ) ชนะการประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร

ซึ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ นี้ จะรวมถึงการบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ด้วย เพราะต้องใช้เส้นทางร่วมกัน จากสถานีมักกะสันไปจนถึงสถานีสุวรรณภูมิ

และไม่ใช่ว่าทางกลุ่มซีพีจะได้โครงการนี้ไปบริหารฟรี ๆ แต่จะต้องจ่ายเงินค่าสิทธิ์การเดินรถจำนวน 10,671 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 (หรือ 2 ปี นับจากวันลงนามในสัญญาร่วมทุน) ซึ่งการเข้าบริหารโครงการนี้ก็จะใช้ระยะเวลาเดียวกับระยะเวลาที่ได้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินตลอดเส้นทางคือ 50 ปี

ดังนั้น ช่วงระหว่างนี้ กลุ่มซีพีจึงได้เข้าไปสำรวจตรวจสอบว่า โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีอะไรบกพร่อง ต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง ซึ่งตามข่าวก็บอกว่า มีส่วนที่กลุ่มซีพีจะต้องเข้าไปปรับแก้หลายอย่าง

[อันนี้ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ที่ผ่านมา โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีปัญหาหมักหมมมาช้านาน รวมถึงหนี้สินสะสมจำนวนมาก ถูกผู้โดยสารตำหนิเรื่องบริการไม่เว้นวัน ดังนั้น หากจะมีใครเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ ผู้ใช้บริการอย่างเรา ๆ ก็ย่อมจะยินดีเป็นธรรมดา และอีกมุมหนึ่ง ก็คงจะเป็นภาระหนักของใครก็ตามที่จะเข้ามาแก้ปัญหาด้วย]




สำหรับส่วนที่กลุ่มซีพีมองว่าต้องปรับปรุงหรือพัฒนานั้น ตามข่าวก็บอกว่าจะรวมถึง

การปรับปรุงระบบ & พื้นที่ ARL
§  ยกเครื่องระบบ / บุคลากร
§  รื้อตู้ขนสัมภาระ
§  สวมเบาะนั่ง

ซื้อรถขบวนใหม่ก่อนรับโอนโครงการ แต่ต้องรอผลิตอีก 2 ปี ระหว่างรอจึงต้องปรับปรุงขบวนเดิมมาใช้ก่อน

ปรับปรุงขบวน Express Line
o   4 ขบวน ๆ ละ 1 ตู้ รองรับผู้โดยสาร 250 คน/ตู้
o   มีตู้ขนสัมภาระ
o   งบปรับปรุง 150 ลบ.

ปรับปรุงอื่น ๆ
o   ขบวนรถ 9 ขบวน
o   ระบบโทรคมนาคม
o   ระบบจ่ายไฟฟ้า
o   อุปกรณ์ในโรงซ่อมบำรุง
o   ระบบอาณัติสัญญาณ
o   ประตู
o   โครงสร้างงานโยธา
o   อะไหล่
o   ระบบเบรก
o   ที่จอดรถ
o   ถนนเข้า-ออก
o   ทางเดินเข้าสถานี
o   ทางเชื่อมสถานีมักกะสันกับ MRT ที่สถานีเพชรบุรี

เห็นรายการปรับปรุงยาวเหยียดแค่เบื้องต้นแล้ว ก็ถอนหายใจให้นิดนึง และแอบดีใจว่า อีกไม่นาน เราน่าจะได้ใช้บริการที่ดีขึ้นบ้าง

////////////////////////////////

เครดิต: พันทิป