ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

รู้จักกับอาชีพคนสร้างท่อส่งน้ำ อาชีพที่ได้ลบุยทำงานมากกว่าที่คิด

เริ่มโดย TestyCaleb, 22:08 น. 14 พ.ย 63

TestyCaleb



การขยับขยายเพื่อเพิ่มปริมาณในการผลิต น้ำประปาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มีน้ำกินน้ำใช้ กันอย่างทั่วถึงและบริบูรณ์จะต้องกระทำกันอย่าง เร่งด่วน โดยสร้างโรงกรองน้ำใหม่ที่ถนนประชาชื่น แล้ววางท่อส่งน้ำขนาดใหญ่เข้ามาในเขต ต่าง ๆ ของ กทม.

ถึงจะฟังดูยุ่งยากมาก แต่ก็เป็นอาชีพที่สนุกดีเหมือนกัน ได้ลุยกันแบบที่สุดเลย ใครอยากทำงานเหมือนกับพวกเราก็ส่งเรซูเม่เข้ามากันได้นะครับ หวังว่าจะติดใจการทำงานแบบลุย ๆ อย่างพวกเรากัน

แต่การจะวางท่อใหญ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 เมตร โดยวางลงบนผิวถนนนั่นหรือเห็นจะยากและล้าสมัยเกินไป ขณะนี้โรคการจราจรเป็นพิษถึงขั้นขึ้นสมองกำลังระบาดอยู่มากแล้วอย่าไปเพิ่มจำนวนคนไข้อีกเลย วิธีดีที่สุด ก็ต้องวางท่อกันใต้ดินซึ่งเป็นงานทางด้านวิศวกรรมโยธา ที่ไม่เคยมีมาก่อนในเมืองเรา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ประชาชนต้อง เดือดร้อนจากการจราจรติดขัดดังอุโมงค์ที่เห็นในภาพเป็นของบริษัทอิตาเลียนไทย - เชอริแดน จอยท์เวนเจอร์ (Italian Thai - Sheridan Joint Venture) เป็นผู้รับเหมา สร้างจากแยกถนนประดิพัทธ์เลียบทางรถไฟผ่านโรงกรองน้ำ สามเสน ขนานทางรถไฟไปเรื่อยแล้วเลี้ยวหักมุมเพื่อหลบ สะพานกษัตริย์ศึกแถว ๆ คลองมหานาค แล้วตรงไปยัง สถานีรถไฟหัวลำโพง จนไปออกถนนสี่พระยาบรรจบกับ อุโมงค์ของบริษัทอื่นที่รับเหมาก่อสร้างด้วยกัน รวมเป็น ระยะทาง ๒.๕ กิโลเมตร ใช้เวลา ๒ ปี ดังวิธีการขุดเจาะ ดินเพื่อสร้างอุโมงค์ (Tunnel) พอสังเขปดังนี้

เริ่มต้นก็ต้องสำรวจทิศทางและชั้นชนิดของดินเสียก่อน แล้วก็เริ่มขุดปล่อง (Shaft) ที่สามเสน ๒ ปล่องที่หัวลำโพง ๒ ปล่อง ที่ต้องขุด ๒ ปล่อง เพราะปล่อง แรกเป็นปล่องใหญ่ใช้สำหรับลำเลียงขนส่งสิ่งของวัสดุต่างๆ (Working Shatt) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ลึก ๒๓ เมตร ส่วนปล่องที่สองซึ่งสร้างอยู่ใกล้ ๆ กับปล่องแรก เป็นปล่องสำหรับตักดินจากการขุดอุโมงค์ ขึ้นมาทิ้งข้างบน (Muck Shat) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓ เมตร และ ลึกกว่าปล่องแรกเล็กน้อย

เมื่อสร้างปล่องทั้งสองเสร็จ แล้วก็นหัวชุด (Shield) หนัก ๓๕ ตัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เมตรหย่อนลงทางปล่อง หัวขุดนี้ทำด้วยเหล็กกล้าหนา มากเพื่อใช้เป็นเกราะ หรือเปลือกป้องกันไม่ให้ดินข้างบน พังทลายลงมา ภายในหัวขุดก็ติดตั้งอุปกรณ์การขุดดิน และ อุปกรณ์ในการประกอบท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (Concrete Segment)

หัวขุดนี้ทำงานด้วยระบบไฮโดรลิคทั้งหมด การเคลื่อนตัวเองก็ใช้ขาไฮโดรลิคถีบตัวเองให้เคลื่อนที่ไปข้าง หน้าเข้าหาผนังดินแล้วตะกุยดินให้ร่วงหล่นลงสู่สายพาน ลำเลียง (Conveyer) สายพานนั้นก็จะนำดินไปเทลงสู่กระบะรถไฟเล็กเพื่อนำไปทิ้งลงยังบ่อทิ้งดินต่อไป ย้อนกลับไป ที่หัวขุดเมื่อขุดดินจนมีที่ว่างเบื้องหน้าแล้วก็จะถีบตัวเองเดิน หน้าต่อไป ด้านหลังหัวขุดก็จะมีที่ว่างเช่นกัน จากนั้นเขา จะนำชิ้นส่วนคอนกรีตรูปวงกลมรวม ๗ ชั้นประกอบเข้า ด้วยกันโดยการร้อยสกรูขันน้อต เมื่อประกอบเข้าด้วยกัน แล้วจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๓.๕๐ เมตร กว้าง ๗๕ เซ็นติ เมตร การขุดจะดำเนินไปเช่นนี้โดยทั้งวงแหวนคอนกรีตดัง กล่าวให้ยึดติดกันไปเรื่อยจนกลายเป็นอุโมงค์ เริ่มจาก 9 วง (Ring) ซึ่งใช้เวลาประกอบประมาณ 2 ชั่วโมงจนกลาย เป็นร้อยเป็นพันวงจนสุดระยะทางที่ต้องการจะขุด

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเครื่องปรับอากาศ ยิ่งขุดเข้าไปลึกก็ ยิ่งร้อนและอึดอัด เหงื่อจะไหลออกมาจนชุ่มโชกถ้าไม่มี เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ก็คงจะทำงานกันไม่ได้แน่

การวางแนว (Alignment) เป็นเรื่องสำคัญที่ สุดบางครั้งการขุดก็ต้องลดเลี้ยวไปบ้างเพื่อเลี่ยงสิ่งก่อสร้าง ใหญ่ ๆ เช่นสะพานที่อยู่บนพื้นดิน การรักษาแนวในการ ขุดอุโมงค์นั้นเขาใช้ลำแสงเลเซอร์ (Laser Beam) ยิงไป ยังเป้าที่อยู่บนหัวขุด เพราะฉะนั้นผู้บังคับหัวขุดจะต้องบัง คับทิศทางให้ไปตามลำแสงเลเซอร์นั้นตลอดเวลา เพื่อให้ งานรวดเร็วขึ้นเขาจึงใช้หัวขุด 4 หัว เริ่มต้นจากปล่องที่ สามเสนไปหัวลำโพงหัวหนึ่ง จากสามเสนไปแยกถนน ประดิพัทธ์หัวหนึ่ง จากปล่องที่หัวลำโพงไปสามเสนหัวหนึ่ง และจากหัวลำโพงไปสี่พระยาอีกตัวหนึ่ง สำหรับหัวขุดที่ มาจากปล่องที่สามเสนนั้นมีนักที่จะต้องพบกันกับหัวขุดที่ไป จากปล่องหัวลำโพงกลางทางแถว ๆ คลองมหานาค ต้อง อาศัยการวางแนวที่แม่นยำอย่างที่สุด ถ้าพลาดก็คงไม่ได้ พบกันแน่