ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แนวทาง การรักษาโรคเบาหวาน ปรับพฤติกรรมอย่างไรควบคุมได้อยู่หมัด

เริ่มโดย unyanamah, 13:45 น. 08 พ.ค 64

unyanamah

แนวทาง การรักษาโรคเบาหวาน ปรับพฤติกรรมอย่างไรควบคุมได้อยู่หมัด

          โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ พบสัญญาณเตือนบางอย่าง เช่น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย ตาพร่ามัว ชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เป็นแผลแล้วหายยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจและวางแผน การรักษาโรคเบาหวาน ในทันที เนื่องจากเบาหวานเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนร้ายแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคระบบประสาท โรคจอประสาทตา และโรคติดเชื้อต่าง ๆ รู้ตัวแล้วรีบป้องกันไว้ดีกว่าแก้

สาเหตุของโรคเบาหวาน มีดังนี้
-อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
-ประวัติคนใกล้ชนิดในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน
-มีประวัติว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ
-เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
-เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
-ความดันโลหิตสูง
-ระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ

แนวทาง การรักษาโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค โรง พยาบาล พระราม 4 แบ่งประเภทออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้

                1.เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการขาดอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลิน จึงต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน โดยปกติพบในเด็กและผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่ปัจจุบันสถิติการป่วยลดลงมาอยู่ในกลุ่มผู้มีอายุน้อยกว่า 30 ปีแล้ว
                2.เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายตอบสนองอินซูลินได้ไม่ดี หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนทำงานหนักเพื่อสร้างอินซูลินจำนวนมากออกมาทดแทน คนส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิดนี้ สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลินเกิดจากกรรมพันธุ์ ความอ้วน กินอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย
                3.เบาหวานชนิดที่ 3 เกิดจากสาเหตุเฉพาะ เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคตับอ่อนอักเสบ ความผิดปกติของฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต การได้รับสเตียรอยด์ สารเคมี และยาบางชนิด
                4.เบาหวานชนิดที่ 4 เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ หลังคลอดแล้วหายได้เอง แต่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอีกในอนาคต

         ดังนั้น การรักษาจึงเป็นไปตามชนิดและอาการของโรค โรคเบาหวานอาจเป็นภัยเงียบที่ป่วยโดยไม่รู้ตัว ไม่จำเป็นต้องรอสัญญาณเตือน แนะนำให้ ตรวจ สุขภาพ ประ จํา ปี เพื่อคัดกรองโรคว่าป่วยเป็นเบาหวานชนิดใดเพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ให้ลุกลามจนเกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง

ชนิดที่ 1 ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเป็นหลัก พร้อมกับเลือกรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
ชนิดที่ 2 ในระยะแรกอาจใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
-พบแพทย์ตามนัดและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
-รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารครบถ้วน งดเว้นอาหารไขมันสูง อาหารรสเค็มจัดหวานจัด
-งดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง พร้อมกับควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี
-หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดเว้นหรือลดการสูบบุหรี่
-ออกกำลังกายเป็นประจำ พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินระยะใกล้ เดินขึ้นบันได ไม่นั่งกินของกินเล่นหน้าทีวีบ่อย ๆ
-หมั่นตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลในเลือด
-ในกรณีที่เป็นแผลแล้วหายยาก ควรดูแลทำความสะอาดเท้า ป้องกันการติดเชื้อและระวังไม่ให้เกิดบาดแผลที่เท้า เช่น สวมรองเท้าป้องกันสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ ล้างแผลและใส่ยาบ่อย ๆ ให้แผลแห้งเร็ว ป้องกันไม่ให้แผลลุกลามและมีการติดเชื้อรุนแรง ไม่เช่นนั้นแพทย์อาจตัดสินใจตัดอวัยวะเพื่อไม่ให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้น
-โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควบคุมด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและดูแลสุขภาพให้สอดคล้องกับ สาเหตุของโรคเบาหวาน หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจวินิจฉัยให้รับประทานยาควบคู่กับการฉีดอินซูลินด้วย
-ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ จากนั้นหลังคลอดและระดับน้ำตาลกลับสู่เกณฑ์ปกติแล้ว ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาเบาหวานเป็นระยะ



ที่มาข้อมูล
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/May-2016/diabetes-risk-prevention-treatment
https://www.paolohospital.com/th-TH/center/Article/Details/บทความ-เบาหวาน-ความดัน/รู้ได้อย่างไร-ว่าเป็นเบาหวาน-#:~:text=การตรวจเลือดปลายนิ้ว (capillary,ซ้ำทุก 1-3 ปี