ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เช็คก่อน! 7 สาเหตุอาการคัดเต้านม ของคุณแม่ป้ายแดง ทำให้หน้าอกเป็นก้อน น้ำนมไม่ไห

เริ่มโดย Pangnap, 22:34 น. 11 พ.ย 64

Pangnap

น้ำนมคัด ปัญหาใหญ่สำหรับคุณแม่มือใหม่
[attach=1]
   ทำไมถึงได้รู้สึกคัดหน้าอกแปลกๆอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเลย จะเป็นอะไรหรือเปล่านะ? เป็นคำถามที่เกิดได้กับคุณแม่ทุกคนโดยเฉพาะคุณแม่ป้ายแดงหลังคลอดอาจรู้สึกตกใจว่าทำไมถึงรู้สึกปวดคัดเต้า นั้นเป็นเพราะเมื่อคุณแม่ผ่านช่วงเวลาคลังคลอดมาแล้วสักระยะหนึ่ง ร่างกายจะมีการผลิตน้ำนมมากขึ้นจึงนำไปสู่อาการคัดตึงเต้าหลังคลอด ในวันนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึงสาเหตุและวิธีแก้นมคัด ทำได้อย่างไรนั้นไปดูกันเลยค่ะ

แบบนี้เรียกว่า "คัดเต้านม" ไหมคะ?

   บางทีคุณแม่คงยังไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่ใช่อาการคัดเต้านมหรือเปล่า? เพราะมีหลายโรคที่แสดงอาการโดยปวดที่เต้านมเหมือนกัน ครั้งนี้ผู้เขียนจะพาไปรู้จักกับอาการเต้านมคัดว่าคืออะไรกันค่ะ
อาการนมคัด คืออะไร คุณกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า?
   
เมื่อคุณแม่ได้คลอดทารกออกมาเป็นเวลา 2-3 วัน ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากเกินไป ซึ่งจะทำให้รู้สึกคัดหัวนมและบริเวณหัวนมบวม แข็งตึง เจ็บ ร้อน เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไปถึงรักแร้และเป็นไข้ได้ อีกทั้งลูกน้อยดูดนมลำบาก เพราะที่บริเวณหัวนมจะถูกรั้งทำให้หัวนมราบและหดลง แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะอาการเหล่านี้หายไปได้ในไม่กี่วันค่ะ อาการนมคัดสามารถเกิดได้ทั้ง 2 ข้าง ถ้าน้ำนมที่อยู่ในเต้านมไม่ถูกระบายออกไป เต้านมก็จะไม่สามารถสร้างน้ำนมได้ชั่วคราวค่ะ

เผย 7 สาเหตุที่ทำให้คัดเต้านมที่คุณแม่ควรรู้
   ทุกโรคล้วนมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นมา รวมถึงอาการคัดเค้านมด้วยค่ะ บางทีสาเหตุก็อาจเกิดการร่างกายหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นมาเช็คสาเหตุกันค่ะ

สาเหตุที่ 1.น้ำนมผลิตมากเกินความต้องการของลูกน้อย บางครั้งคุณแม่กังวลว่าน้ำนมอาจไม่พอให้ลูกกินจึงไปทำการปั๊มน้ำนม แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้กินน้ำนมมที่คุณแม่ปั๊มมาให้หมดก็จะทำให้น้ำนมถูกสั่งสมไว้และเป็นสาเหตุของอาการน้ำนมคัดได้ค่ะ

สาเหตุที่ 2.แม่ไม่ได้ให้ลูกกินนมเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป คุณแม่อาจจะลืมหรือยุ่งกับงานที่บ้านมากจนลืมว่าต้องให้ลูกกินนม ดังนั้นการตั้งนาฬิกาแจ้งเตือนไว้ก็เป็นวิธีที่สามารถช่วยเตือนความจำของคุณแม่ได้

สาเหตุที่ 3. ลูกกินนมแม่แบบผิดๆ ไม่รู้วิธีกินที่ถูกต้อง คุณแม่ควรพยายามอุ้มลูกอย่างถูกวิธีเพื่อให้ลูกรู้ว่าการกินนมที่ถูกวิธีควรเป็นอย่างไร เพื่อลดโอกาสเกิดเต้านมคัดและทำให้น้ำนมระบายออกได้ดีค่ะ

สาเหตุที่ 4. ลูกน้อยดูดนมได้ไม่ดีพอ หลังจากคลอดลูก 3 วัน การหลั่งของน้ำนมจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากทารกดูดนมไม่ดี หรือ ดูดไม่หมดเต้าจะทำให้น้ำนมคัดเต้าเป็นก้อนและเกิดอาการคัดเค้านมค่ะ

สาเหตุที่ 5. ไม่ปั๊มน้ำนมไว้ก่อน ถ้าไม่ได้จะให้นมลูก หากคุณแม่ปั๊มนมไปแล้วและไม่ได้จะให้ลูกกินนมจากเต้าก็ควรจะต้องบีบน้ำนมออกเต้าก่อนนะคะ เพื่อระงับการเกิดอาการเต้านมคัด

สาเหตุที่ 6.ให้กินนมผงในระหว่างการป้อนนม จะทำให้ทารกกินนมของคุณแม่น้อยลงซึ่งทำให้น้ำนมไม่สามารถระบายออกได้ดีเท่าที่ควรค่ะ

สาเหตุที่ 7. ไม่ควรหย่านมลูกเร็วเกินไป กระบวนการทำงานของร่างกายต้องการเวลาที่จะปรับการผลิตน้ำนมให้สมดุล ฉะนั้นคุณแม่ควรค่อยๆให้ชะลอเวลาการหย่านม หรือ ใช้วิธีการปั๊มนมช่วยไม่ให้น้ำนมคัดเค้า

รู้หรือไม่? วิธีแก้นมคัดต้องทำอย่างไร

1. ก่อนที่จะให้ลูกกินนม การประคบเต้านมด้วยผ้าขนหนูผืนใหญ่ที่อุ่นเป็นเวลา 10 นาที จากนั้นนวดและคลึงบริเวณเต้านมอย่างเบามือ จากฐานลงไปที่หัวนม
2. ให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีและให้ดูดบ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
3. รับประทานยาบรรเทาอาการปวด
4. พยุงเต้านมด้วยการใส่เสื้อชั้นใน
5. ถ้าอาการคัดเค้านมรุนแรงหนัก ควรไปพบแพทย์

คัดเต้านมกี่วันหาย เรามีคำตอบให้คุณแล้ว!

   โดยปกติแล้วอาการคัดเค้านมจะหายไปภายใน 2-3 วัน ถ้าคุณแม่ให้นมลูกน้อยตามความต้องการเพราะร่างกายมีการปรับตัว แต่ถ้าคุณแม่ไม่ได้ให้ลูกกินนมบ่อย หรือ ให้ลูกดูดหมดจนหมดเต้า ก็จะส่งผลให้อาการคัดเต้านมจะยังคงอยู่

2 คำถามที่พบบ่อยในเรื่องปัญหาน้ำนมคัดเต้า

คำถามที่1 เต้านมคัด แต่ ปั๊มนมไม่ออก มีวิธีแก้ไหมคะ?
   แนะนำคุณแม่ที่เต้าคัดปั๊มไม่ออกว่าให้ใช้วิธีการนวดคลึงเบาๆบริเวณหัวนมค่ะ จะเป็นการกระตุ้นการไหลเวียนน้ำนม แต่ก่อนจะนวดให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นมาประคบ 3 นาทีค่ะ หรือ ใช้วิธีการอัลตร้าซาวด์เพื่อสลายก้อนไต เพื่อช่วยให้การผลิตน้ำนมกลับมาเป็นปกติและดีมากขึ้นค่ะ

คำถามที่2 ปัญหากวนใจคุณแม่ นมคัดข้างเดียว ต้องทำยังไง?

วิธีที่ 1 คือใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ นวดวนบริเวณเต้านม 3 นาที
วิธีที่ 2 ให้ลูกเข้าเต้าดูดนมข้างที่คัด เพื่อระบายน้ำนมออกไป
วิธีที่ 3 ถ้ารู้สึกปวดแม่แนะนำให้คุณแม่ลองรับประทานยาแก้ปวดก่อน หากไม่ดีขึ้นให้คุณแม่ไปพบคุณหมอเพื่ออัลตร้าซาวด์เปิดท่อน้ำนมเพื่อดูดเอาหนองออกไป

สรุป
   อาการนมคัดถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่หลังคลอดและอาการที่ไม่ได้น่ากลัวสามารถหาวิธีรักษาได้ค่ะ ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะไม่มีน้ำนมให้ลูกกินนะคะ บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณแม่ป้ายแดงที่ประสบปัญหาอาการคัดเต้าทุกคนค่ะ