ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เชิญร่วมพิธีอันเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิมประทับศาลาจีน

เริ่มโดย กิมหยง, 11:35 น. 26 มิ.ย 55

กิมหยง

ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมพิธีอันเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิม
ขึ้นประทับศาลาจีน ณ วัดป่าแสงธรรม

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555
ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

นอกจากนี้ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจจะร่วมทำบุญ
เตรียมพื้นที่รอบ ๆ ศาลาจีน เพื่อใช้ในวันงาน
โดยจะทำการจัดเตรียมพื้นที่ในวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2555
ตั้งแต่ช่วงเช้าเป็นต้นไป
มีเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารกลางวันด้วยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กวินท์

ME Dynasty Soundsystem
ให้เช่า เครื่องเสียง ระบบไฟ เวที
098-4511563
https://www.facebook.com/MeDynasty/

ฟ้าเปลี่ยนสี

[attach=1]

พระโพธิสัตว์ในคติพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จะมีองค์พระโพธิสัตว์ที่เป็นที่นับถืออย่างยิ่งในศาสนาพุทธมหายานแถบเอเชียตะวันออกอยู่ ๔ พระองค์ ดังนี้ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภโพธิสัตว์

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ เป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิ
พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ เป็นตัวแทนของปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ์
พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เป็นตัวแทนของความเมตตา กรุณา
พระกษิติครรภโพธิสัตว์ เป็นตัวแทนของพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์นรกทั้งปวง หรือพระโพธิสัตว์ผู้มีมหาปณิธาน

ส่วน พระศรีอริยเมตไตรย มีความเชื่อหรือสันนิษฐานว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตที่จะมาประสูติเพื่อประกาศพระธรรม กล่าวกันว่าขณะนี้พระศรีอริยเมตไตรยได้บำเพ็ญพระโพธิญาณอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิเพื่อรอการประสูติแล้วตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประวัติพอสังเขปของแต่ละพระองค์

[attach=2]

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (觀世音菩薩)

พระอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นเสมือนปุคคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร, สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เพ่งมองด้วยความเป็นอิสระ (觀自在菩薩) และพระโพธิสัตว์ผู้เพ่งพิจารณาในกระแสเสียงของโลก (觀世音菩薩) หรือที่สาธุชนทั่วไปรู้จักพระองค์ในนามของ "กวนอิม" ผู้เปี่ยมด้วยพระมหาเมตตา พระมหากรุณา (大慈大悲) ในคัมภีร์พระสูตรหลายเล่มกล่าวถึงพระองค์ว่าหากได้สรรเสริญเอ่ยขานพระนามของพระองค์ด้วยความศรัทธาแล้ว ถึงแม้จะตกในหลุมเพลิง หลุมเพลิงจะกลายเปลี่ยนเป็นสายชล หากจมน้ำจะได้พบที่ตื้นเขิน หากพลัดตกจากเขาสูง ก็จะล่องลอยอยู่ในอากาศ ภูติผีปีศาจร้ายมิกล้าแม้แต่จ้องมอง ฯลฯ เป็นต้น นี้แลคือพลานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวร
โพธิสัตว์อันจักตอบสนองได้ทุกความต้องการของสรรพสัตว์ ยังให้พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นที่เคารพบูชาของสาธุชนมากที่สุด ผนวกกับเรื่องราวปฏิหาริย์แห่งเมตตาของพระองค์ที่มีบันทึกสืบทอดต่อเนื่องมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันมิได้ขาด ยังให้ทุกครัวเรือนรู้จักและกราบไหว้พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ด้วยรูปลักษณะต่างๆ นานัปการ

แต่เดิมมานั้นพระอวโลกิเตศวรทรงวิภูษณะอาภรณ์แบบมหาบุรุษ ตามแบบอินเดียโบราณ (ชมได้ที่โรงพยาบาลเทียนฟ้า วงเวียนโอเดียน) เมื่อมาถึงประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถังก็ยังคงศิลปะอินเดียแบบเปลือยพระอุระอยู่ แต่พอมายุคหลังคือสมัยราชวงศ์หยวนพระอวโลกิเตศวรจึงเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นสตรีเพศ เนื่องจากคติความเชื่อในเรื่องขององค์หญิงเมี่ยวซ่าน (妙善) ที่ทรงเคร่งครัดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ทรงเปี่ยมด้วยเมตตาการุญต่ออาณาประชาราษฎร์ ที่ในสมัยนั้นพระราชบิดาของพระองค์ทรงเป็นทรราชชอบทำศึกสงครามขูดรีดประชาชน ฯลฯ องค์หญิงพระองค์นี้ทรงถือกำเนิดมาเพื่อปลดเปลื้องทุกข์เข็ญของปวงประชาในครั้งนั้น ทรงยังให้พระราชบิดากลับพระทัยได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รูปปฏิมากรของพระอวโลกิเตศวรเป็นสตรีอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

และพระองค์ยังทรงนิรมาณกายได้หลากหลายคือ หากผู้มีจริตสมควรได้รับการโปรดด้วยรูปกายของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิ พระอรหันตสาวก ท้าวมเหศวร องค์อินทราธิราช ท้าวจตุโลกบาล พุทธบริษัท ๔ พราหมณ์ สตรีเพศ เด็กหญิงเด็กชาย หรือจักเป็นเทวดา ยักษ์ นาค อสูร กินนร มโหราค(ภูติชนิดหนึ่งมีร่างเป็นงูใหญ่) ครุฑ มนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง พระอวโลกิเตศวรก็จักอวตารกายเป็นรูปลักษณ์ที่ประเสริฐอลังการกว่าบุคคลนั้นเพื่อสยบทิฐิมานะของผู้นั้นเสียก่อนแล้วจึงเทศนาธรรมโปรดในภายหลัง

พระปฏิมารูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีพระหัตถ์ตั้งแต่ ๒ ขึ้นไปจนถึง ๑,๐๐๐ บางแห่งสร้าง
ถึง ๘๔,๐๐๐ พระหัตถ์ก็มี ทั้งยังมีพระเนตรและพระเศียรจำนวนมากมายตามจำนวนดังกล่าวนี้ด้วย เพื่อแสดงให้
เห็นถึงพระมหาเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล สามารถสอดส่องช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้อย่างทั่วถึงเป็นต้น

[attach=3]

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (文殊師利菩薩)

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (สันสกฤต: मञ्जुश्री Mañjuśrī; จีน: 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; ญี่ปุ่น: Monju; ทิเบต: Jampelyang; เนวารี: मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ์

รูปลักษณะ ในงานทางพุทธศิลป์ ท่านมักปรากฏคู่กับพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ โดยพระมัญชุศรีอยู่บนสิงโตเขียวส่วนพระสมันตภัทรอยู่บนช้างสีขาวในทิเบต รูปของพระมัญชุศรีเป็นชายหนุ่ม อายุราว 16 ปี นั่งบนดอกบัว มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือดอกบัว หรือคัมภีร์ใบลาน มีกายเป็นสีเหลือง ในจีน ท่านมีชื่อว่า "บุ่งซู้" มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่มากกว่าภาพลักษณ์ในทิเบต

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีความหมายว่า ประเสริฐยิ่ง มงคลยิ่ง (妙吉祥) สวยงามยิ่ง พระองค์เป็นองค์แทนของพระมหาปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ทั้งทรงมีหลายพระนามเช่น มัญชุโฆษ(五字文殊) มัญชุกุมารภูตะ(文殊童子) มัญชุศรีธรรมราชกุมาร(文殊法王子) มหามติโพธิสัตว์ (大智菩薩) เป็นต้น พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในพระสูตรต่างๆ มากมายในฐานะของผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้แสดงธรรมเทศนา หรือเป็นผู้บรรยายธรรม หรือโต้ธรรมกับพระโพธิสัตว์ด้วยกัน หรือกับพระอรหันตสาวก มหายานจะบูชาพระองค์ท่านเพื่อความมีสติปัญญาดี รู้แจ้งแทงตลอดในอรรถธรรมที่ลึกซึ้ง เพราะว่าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ทรง
เป็นมหาโพธิสัตว์ชั้นสูง ทรงเป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง กล่าวคือพระมัญชุศรีทรงสั่งสอนและชี้แนะแนวทางของโพธิสัตว์หรือแนวทางที่จะให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าคือบารมี ๖ มีทาน ศีล ขันติ วิริยะ ฌาน ปัญญา ให้แก่พระพุทธเจ้าทั้งปวงในตอนที่ยังมิทรงตรัสรู้ ทั้งคอยชี้แนะการบำเพ็ญโดยตลอด พระพุทธเจ้าทั้งปวงจึงทรงสรรเสริญพระมัญชุศรีว่า "มัญชุศรีเป็นผู้ยังให้เราได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ ทั้งเป็นคุรุแห่งเราในสมัยนั้น"

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์มีพระมหาปณิธานว่า "หากสรรพสัตว์ใดได้สดับพระนามแล้วจิตใจตั้งมั่นระลึกอยู่แต่พระองค์ หากสรรพสัตว์นั้นมิได้บรรลุถึงปัญญาญาณอันยิ่งใหญ่แล้วไซร้ พระองค์จะมิขอสำเร็จพระโพธิญาณ ฯลฯ" ด้วยความตั้งพระทัยอันยิ่งใหญ่นี้ ทำให้พระองค์ยังให้สรรพสัตว์จำนวนมหาศาลสำเร็จซึ่งพุทธปัญญาอันยิ่งใหญ่แล้ว

พระปฏิมาหรือภาพวาดของพระองค์ทางจีนและธิเบตจะให้พระองค์ประทับบนพญาราชสีห์สีเขียวอันแสดงถึงการประกาศธรรมหรือการแสดงธรรมที่เปี่ยมด้วยเดชานุภาพ คือพระมหาปัญญาญาณที่ยิ่งใหญ่ปราศจากอุปสรรค และมิมีผู้ใดปราดเปรื่องไปยิ่งกว่า ประดุจการคำรามหรือการบันลือสิงหนาทของพญาราชสีห์ ที่หากคำรามขึ้นคราใดบรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ก็ให้ขยาดหวั่นเกรงมิกล้าออกมาต่อกร ความหมายคือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทรงประกาศธรรมที่เป็นความจริงแท้ของสรรพสิ่ง คือความทุกข์ของความไม่เที่ยง ยังให้สรรพสัตว์หรือมารเดียรถีร์ที่ยังลุ่มหลงอยู่ตระหนกตกใจและหวั่นเกรงในภัยของวัฏสงสาร เร่งรีบหันกลับมาบำเพ็ญธรรมด้วยความไม่ประมาณ บางแห่งประทับบนดอกบัวก็มี

บางแห่งจะทรงถือพระขรรค์ที่พระหัตถ์ขวา หมายถึงการตัดบ่วงแห่งวิจิกิจฉาความสงสัยที่ผูกมัดจิตให้ขาดสิ้น พระหัตถ์ซ้ายทรงถือคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร แสดงถึงศูนยตาความว่างเปล่าแห่งธรรมทั้งปวง บางแห่งก็ทรงถือคฑาจินดามณี (如意)

[attach=4]

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (普賢菩薩)

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (สันสกฤต: Samantabhadra; ทิเบต: Kun-tu bzang-po; มองโกเลีย: Qamugha Sain, จีน: 普賢菩薩 พินยิน: Pŭxián púsà; ญี่ปุ่น: Fugen bosatsu; เวียดนาม: Phổ Hiền Bồ Tát) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของพระองค์ท่านแปลว่า ดี รุ่งเรือง หรือเป็นมงคล ท่านมักปรากฏในพุทธมณฑลในฐานะตัวแทนของพระไวโรจนพุทธะ จึงเป็นตัวแทนของความกรุณาและสมาธิที่ดิ่งลึก

รูปลักษณะ ในงานทางพุทธศิลป์ ท่านมักจะปรากฏตัวคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งอยู่ในกลุ่มตถาคตโคตรด้วยกัน ในญี่ปุ่น ท่านนั่งบนช้างสวมเครื่องทรงแบบเจ้าชาย มือซ้ายถือจินดามณี มือขวาอยู่ในท่าคิด ในทิเบต ภาพวาดของท่านมีกายเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือสีเหลือง นั่งขัดสมาธิเพชร มือประสานกันบนตัก ถ้าอยู่ในท่ายืน มือขวาถือดอกบัวทั้งก้านพร้อมจินดามณี มือซ้ายถือวัชระ ในจีน ท่านมีชื่อจีนว่า โผวเฮี้ยง เป็นรูปชายหนุ่มแต่งกายอย่างชาวจีนโบราณ นั่งบนช้างเผือก

พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ มีความหมายคือ ผู้เจริญโดยรอบ ผู้ประเสริฐโดยรอบ บ้างก็เรียกว่าพระวัชรสัตว์(金剛薩埵) พระองค์ทรงปรากฎเป็นพระมหาจริยาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง มักจะปรากฏคู่กับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ในฐานะหัวหน้าของพระโพธิสัตว์ทั้งปวง ในพระสูตรกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นสภาวะของจักรวาล มีความว่างเปล่าและยิ่งใหญ่ประดุจอากาศ ทรงมีมหาปณิธาน ๑๐ ประการ ที่สาธุชนนิยมสวดสาธยายและยึดถือปฏิบัติดังนี้
๑.ขอคารวะนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งปวง
๒.ขอกล่าวสดุดีพระตถาคตเจ้าทั้งปวง
๓.ขอถวายสักการะด้วยความยิ่งใหญ่อลังการ
๔.ขอขมาสำนึกในความผิดบาปทั้งปวง
๕.ขออนุโมทนาในบุญกุศลทั้งปวง
๖.ขออาราธนา(พระพุทธเจ้าทั้งปวง)ให้ทรงหมุนเคลื่อนพระธรรมจักร
๗.ขออาราธนา(พระพุทธเจ้าทั้งปวง)ให้ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ในโลก
๘.ขอศึกษาบำเพ็ญตามพระพุทธองค์
๙.ขออนุโลมคล้อยตามสรรพสัตว์
๑๐.ขออุทิศซึ่งกุศลบารมีทั้งปวง(แด่สรรพสัตว์และโพธิญาณ)

ด้วยพระมหาปณิธานทั้ง ๑๐ ประการนี้ สาธุชนมหายานจึงถวายสมญาแด่พระองค์ว่า "มหาจริยาราชาโพธิสัตว์" (大願王菩薩,大行王菩薩) คือพระผู้มีกิจกรรมและการกระทำที่ประเสริฐและยิ่งใหญ่

พระปฏิมาของพระองค์ประทับบนคชสารเผือก ๖ งา หมายถึงพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีพละกำลังมากเหมือนช้างสาร สามารถบรรทุกนำพาสรรพสัตว์ให้ข้ามห้วงทะเลแห่งสังสารวัฏได้คราวละมากๆ และ ๖ งานั้นหมายถึงบารมี ๖ ประการของพระโพธิสัตว์ที่เป็นเครื่องยังให้บรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้า และช้างเผือกนั้นหมายถึงความเป็นสัตว์ประเสริฐหายากและเป็นสิ่งมงคล ภาพศิลปะโบราณจะวาดคชสารที่ประทับนี้มี ๗ ขา ซึ่งหมายถึงตอนพระพุทธประสูติ ทรงก้าวเดิน ๗ ก้าว แล้วบันลือสิงหนาทอันยิ่งใหญ่ว่า "ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในจักรวาล" ซึ่งถ้าเป็นสัตว์ชนิดอื่นก็มิอาจทำได้เช่นนี้ หรืออาจเปรียบช้างนี้ได้กับมหายานที่สามารถนำพาสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ทีละมากๆ

ทางธิเบตให้พระองค์ทรงถือวัชราวุธในพระหัตถ์ขวา และทรงระฆังวัชระที่พระหัตถ์ซ้ายในนามของ "พระวัชรสัตว์" ที่แปลว่า สัตว์ผู้มีความแข็งแกร่งประดุจเพชร ซึ่งภายในสรรพสัตว์ทั้งปวงก็มีความแข็งแกร่งประการนี้อยู่ หรือก็คือพุทธภาวะนั้นเอง

[attach=5]

พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ (地藏王菩薩)

พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (อ่านว่า /พฺระ-กะ-สิ-ติ-คัน-โพ-ทิ-สัด/, สันสกฤต: क्षितिगर्भ; Kṣitigarbha; กษิติครฺภ) เป็นนามของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นที่นับถือเป็นหลักอยู่ในศาสนาพุทธมหายานในแถบเอเชียตะวันออก มักแสดงไว้ด้วยรูปลักษณ์ของพระภิกษุมหายาน นามของพระโพธิสัตว์องค์นี้อาจแปลได้ว่า "ขุมทรัพย์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Treasury"), คลังแห่งแผ่นดิน ("Earth Store"), "บ่อเกิดแห่งแผ่นดิน"( "Earth Matrix"), หรือ "ครรภ์แห่งแผ่นดิน" ("Earth Womb")

พระกษิติครรภโพธิสัตว์เป็นที่รู้จักจากปณิธานของพระองค์ซึ่งมุ่งรับผิดชอบการสั่งสอนสรรพสัตว์ที่อยู่ในกามภูมิทั้งหก ระหว่างสมัยของศาสนาพระโคตมพุทธเจ้าจนถึงการมาตรัสรู้ของพระศรีอริยเมตไตรย และมหาปณิธานสำคัญในการช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากนรกทั้งหมด หากนรกยังไม่ว่างจากสัตว์นรกก็จะยังไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ ด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งสัตว์นรกทั้งปวง เช่นเดียวกับการเป็นผู้คุ้มครองเด็กทั้งหลาย และเทพอุปถัมภ์ของเด็กที่เสียชีวิตและทารกที่ตายจากการแท้งในวัฒนธรรมญี่ปุ่น

รูปลักษณะ พระโพธิสัตว์องค์นี้ ปกติมักทำเป็นรูปพระภิกษุมหายาน มีรัศมีเปล่งรอบพระเศียรซึ่งปลงพระเกศาแล้ว หัตถ์หนึ่งทรงจับไม้เท้าซึ่งใช้เปิดประตูนรก อีกหัตถ์หนึ่งทรงถือแก้วจินดามณี (แก้วสารพัดนึก) เพื่อประทานแสงสว่างท่ามกลางความมืด

พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดิน หรือเป็นนัยยะว่าพระองค์ทรงสถิตอยู่ใต้พื้นพิภพ เพราะพระองค์มีมหาปณิธานว่า "ตราบใดที่ยังมีสัตว์หลงเหลือในนรกภูมิแม้เพียงหนึ่งพระองค์จะมิทรงเข้าสู่พระพุทธภูมิ" ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าสัตว์ในนรกนั้นมีจำนวนมากมายกว่าประชากรบนสวรรค์และโลกมนุษย์มาก เนื่องจากคนทำชั่วมีมากกว่าคนทำดี ด้วยพระองค์ทรงประกาศมหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่และยากยิ่งนักที่จะสำเร็จได้ สาธุชนจึงสดุดีพระองค์ว่า "พระมหาปณิธานโพธิสัตว์" (大願菩薩) และมีพระวจนะหนึ่งของพระองค์ที่เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจสรรพสัตว์ทั้งปวงว่า "หากเรามิเข้าสู่นรกภูมิแล้วไซร้ ผู้ใดเล่าจะ
เป็นผู้เข้านรกภูมิ"

ตามประวัติพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ทรงวิภูษณะอาภรณ์ประดุจมหาบุรุษ แต่ในสมัยหนึ่งเจ้าชายเมือง "ซินหลอ 新羅國" (ปัจจุบันคือ ประเทศเกาหลี) พระนามว่า "กิมเคียวกัก 金喬覺" ทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย แล้วเสด็จออกผนวช ธุดงค์มาถึงประเทศจีนบนภูเขาเก้ายอด(九華山) พร้อมกับสุนัขสีขาวชื่อ ซ่านทิง (善聽) แล้วสั่งสอนสาธุชนอยู่ ณ ที่นั้น จนเมื่อมรณภาพให้ปรากฎมีเปลวเพลิวพวยพุ่งออกจากหลุมพระศพเป็นอัศจรรย์ ทำให้เชื่อว่าพระองค์เป็นนิรมาณกายของพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ลงไปฉุดช่วยสรรพสัตว์ในนรกภูมิ ด้วยเหตุผลนี้เราจึงเห็นพระปฏิมาของพระองค์เป็นภิกษุจีนแต่งกายแบบพระถังซัมจั้ง พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้ขักขระทองคำ พระหัตถ์ขวาทรงดวงแก้วมณี

มีคติความเชื่อที่มิถูกต้องยิ่งนักที่ว่า "พระกวนอิมโปรดเฉพาะคนเป็น พระตี่จั้งโปรดเฉพาะคนตาย" ทำให้พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์(พระตี่จั้ง) ไม่เป็นที่นิยมกราบไหว้ในครัวเรือน เพราะผู้ไม่รู้เข้าใจว่าจะเป็นการชักนำดวงวิญญาณให้ตามพระองค์เข้ามาในบ้านด้วย โดยที่แท้แล้วเมื่อครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงค์แห่งการบูชาพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ไว้ถึง ๒๘ ประการ คือ
๑.เทพนาคาปกปักษ์รักษาและระลึกถึงอยู่เป็นนิจ
๒.กุศลผลบุญเจริญรุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่งๆขึ้นทุกทิวากาล
๓.เป็นการสร้างสมอริยมรรคเป็นสมุฏฐาน ทั้งยังถือเป็นเหตุปัจจัยแห่งกุศลกรรม
๔.ไม่ท้อถอยในการบังเกิดโพธิจิต
๕.สมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดกาล
๖.แคล้วคลาดปราศจากโรคาพยาธิ
๗.รอดพ้นจากอุทกภัย อัคคีภัย
๘.นิราศจากโจรภัยมาเบียดเบียน
๙.เป็นที่เคารพยกย่องของนรชนทั่วไป
๑๐.เทพารักษ์คุ้มครองอุ้มชูช่วยเหลืออยู่เสมอ
๑๑.สตรีปรารถนากลับเพศเป็นบุรุษได้
๑๒.เกิดในตระกูลวงศาแห่งกษัตริย์และอำมาตย์
๑๓.มีรูปอินทรีย์ กายอินทรีย์สมบูรณ์
๑๔.ได้อุบัติในแดนสวรรค์
๑๕.ภพหน้าจะได้กำเนิดเป็นพระมหาราชาธิราช
๑๖.สามารถหยั่งรู้ระลึกเหตุการณ์ในอดีตชาติ
๑๗.คิดประสงค์สิ่งใดย่อมได้ดั่งปรารถนา
๑๘.ญาติวงศ์และบริวารเสวยแต่ความสุขปราศจากทุกข์
๑๙.สิ่งอัปมงคลทั้งหลายสูญหายมลายสิ้น
๒๐.ไม่ต้องบังเกิดในทุคติภูมิ
๒๑. หากสัญจรไป ณ แห่งใดย่อมได้รับความสะดวก พ้นจากอุปสรรคทั้งมวล
๒๒.ในยามราตรีย่อมสุบินในทางศุภมงคล ปราศจากนิมิตอันชั่วร้าย
๒๓.บรรพบุรุษและญาติวงศ์ที่ล่วงลับไปแล้วจะได้หลุดพ้นจากทุกขภูมิ
๒๔.กำเนิดในภพหน้าจะเป็นผู้มีวาสนาสูง
๒๕.ได้รับการยกย่องจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย
๒๖.มีสติปัญญารอบรู้เป็นเลิศ
๒๗.มีจิตเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมธรรมเป็นสมุฏฐาน
๒๘.และจะได้สำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด

ทั้งหมดนี้คือผลที่ได้รับจากกราบไหว้บูชาพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ซึ่งผู้มีปัญญาทั้งหลายควรจะพิจารณาให้เห็นจริงตามนี้เถิด

ในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท มีเรื่องราวที่คล้ายคลึงและเทียบกันได้กับตำนานของพระกษิติครรภโพธิสัตว์คือเรื่อง พระมาลัย ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและประเทศลาว เนื้อหาของเรื่องนี้กล่าวถึงพระมาลัยซึ่งเป็นพระอรหันต์ชาวลังกา สำเร็จฤทธิ์อภิญญาญานต่างๆ จากการบำเพ็ญสมาธิ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สืบทอคความเป็นเลิศทางฤทธิ์ต่อจากพระมหาโมคคัลลานะ ผู้เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย ตำนานเล่าว่าท่านได้อาศัยฤทธิ์เดชของท่านท่องไปยังนรกเพื่อเทศนาโปรดสัตว์นรกทั้งปวงให้บรรเทาจากทุกขเวทนา และได้รับรู้ถึงมูลเหตุและผลกรรมที่ต้องมาเสวยทุกข์เวทนาในนรกขุมต่างๆ ของสัตว์นรกเหล่านั้น นอกจากนี้ท่านยังได้ขึ้นไปยังสวรรค์เพื่อดูชาเจดีย์พระจุฬามณีและสนทนากับเหล่าเทวดาถึงเหตุและผลแห่งบุญที่ตนได้กระทำ ก่อนจะนำสิ่งที่ได้พบเห็นทั้งหมดมาประกาศให้ชาวโลกรับรู้และตั้งใจบำเพ็ญความดีสืบต่อไป

[attach=6]

พระเมตไตรยโพธิสัตว์ (彌勒菩薩)

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (บาลี: Metteyya เมตฺเตยฺย; สันสกฤต: मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ หลังจากที่ศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันสิ้นสุดไปแล้ว ซึ่งก็คือ พ.ศ. 5000 เป็นต้นไป โดยจะมีพระนามว่า"พระเมตไตรยพุทธเจ้า"

พระเมตไตรยโพธิสัตว์ เขียนแบบบาลีว่า พระเมตตรัย ทรงมีหลายพระนาม ทางบาลีเราจะเรียกว่า พระศรีอาริย์บ้าง พระอชิตะบ้าง บางครั้งฝ่ายจีนจะเขียนพระนามของพระองค์ว่า "慈氏" แปลว่าผู้เมตตา หรือ "一生補處" แปลว่า พระผู้มีเอกชาติปฏิพันธ์ หรือพระผู้เกี่ยวข้องกับการเกิดอีกเพียงชาติเดียวก็จักได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง มิต้องหวนกลับมาเวียนว่ายในสังสารวัฏอีกสาธุชนเวลากราบไหว้บูชาพระเมตไตรย หรือเวลาทำบุญก็มักจะอธิษฐานให้กุศลที่กระทำนี้เป็นปัจจัยส่งให้ได้พบกับพระศรีอาริย์พุทธเจ้าในอนาคต เมื่อกาลที่สิ้นพระศาสนาของพระศากยมุนีพุทธเจ้าแล้ว ซึ่งแต่เดิมนั้นพระเมตไตรยโพธิสัตว์ทรงแต่งกายแบบลักษณะมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์อื่นๆ แต่มีประวัติว่า มีพระภิกษุรูปร่างอ้วนท้วนอยู่รูปหนึ่ง ชอบถือถุงย่ามใบใหญ่ติดตัวเสมอ ใบหน้ายิ้มแย้มเบิกบานตลอดเวลาและชอบพูดปริศนาธรรมในนิกายเซ็นอยู่เสมอ ชื่อว่า"ชี่ฉื่อ 契此" หรือ "เชียง เทง จื้อ 長汀子" ซึ่งสาธุชนเรียกขานท่านว่า "หลวงพ่อย่ามใหญ่ 布袋和尚"ได้ดับขันธ์โดยการนั่งสมาธิที่แท่นหินของอารามงักลิ้มยี่ 岳林寺 ในปีที่ ๓ แห่งรัชสมัยเจงเม้ง (ปี ๑๔๖๐) โดยท่านได้ประพันธ์โศลกไว้บทหนึ่งว่า

"เมตไตรยจริงแท้คือเมตไตรย 彌勒眞彌勒
แบ่งกายเป็นร้อยพันโกฏิ 化身千百億
โปรดสรรพสัตว์มากมาย 廣度諸衆生
แต่ส่ำสัตว์หารู้จักไม่" 衆生都不識

ดังนั้นเมื่อท่านละสังขารไปแล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงสันนิษฐานว่าท่านคือพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ อวตารกายมาโปรดสัตว์ยังโลกมนุษย์ จากนั้นมาจึงนิยมสร้างรูปของท่านแทนลักษณะแห่งความสุขความเจริญ และโชคลาภ ปัจจุบันมีข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับพระเมตไตรยโพธิสัตว์ของมหายาน กับพระสังขจายอรหันต์ของเถรวาทอยู่มาก กล่าวคือพระเมตไตรยพุงพลุ้ยนี้เป็นพระภิกษุในประเทศจีนหลังจากพระพุทธเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานแล้วกว่า ๑,๔๐๐ ปี แต่พระสังขจายอรหันต์เป็นพระอรหันตสาวกมีชีวิตอยู่ร่วมในสมัยพระพุทธเจ้าก่อนพระเมตไตรยพุงพลุ้งนี้ เพียงแต่พระอริยะเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นี้มีรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์เหมือนกันเท่านั้นเอง

ขอขอบคุณข้อมูล
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- ภิกษุจีนวิศวภัทร (沙門聖傑 ) วัดเทพพุทธาราม(仙佛寺) จ.ชลบุรี (ปี ๒๕๔๘)
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

mao

สาธุครับ ว่าแต่วัดอยู่ที่ไหนครับ ไปไม่ถูก
****************************************
Chatthirapon  (MAO)

กิมหยง

สร้าง & ฟื้นฟู