ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สองเจ้าฟ้าต่างกรม..."มิ่งเมืองสงขลา"

เริ่มโดย MUD, 22:30 น. 13 พ.ย 53

MUD

กรมขุนมไหสุริยสงขลา...กรมขุนสงขลานครินทร์

อีกหนึ่งต้นทุนของเมือง...ผ่านบันทึกทางประวัติศาสตร์...

พระนามทรงกรมพระราชโอรส และพระราชธิดาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งพระนามโดยใช้ภาษาบาลี และสันสกฤตนั้น  นอกจากจะมีความไพเราะและสื่อความหมายอันประมวลถึงคุณลักษณะอันดีเลิศ และสูงส่งแล้ว  ยังมีความแตกต่างจากรัชสมัยที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด กล่า คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำชื่อเมืองสำคัญใน สมัยนั้น  มาประกอบเป็นพระนาม    ทรงกรมพระราชทานเจ้านายที่เป็นพระราชโอรส และพระราชธิดา ทุกครั้งที่มีการสถาปนาพระราชโอรส พระราชธิดาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม....

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓๓ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และองค์ที่ ๒ ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมมาลมารศรีพระอัครราชเทวี  ประสูติเมื่อวันพุธที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๔ ทรงเป็นพระอนุชาร่วมพระชนนีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตนสุขุมขัติยกัลยาวดี  กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์  ซึ่งประสูติเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๔๒๐

            ครั้นทรงพระเจริญวัย  สมควรที่จะได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามตามขัติราชประเพณี   จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ   ให้สถาปนาขึ้นเป็น  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมลำดับที่ ๒ ถัดจากสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อวันที่ ๒ มกราคม ๒๔๓๔ มีพระนามตามจาฤกในพระสุพรรณบัฏว่า

            "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ดิลกจันทรนิภาพงศ์ มหามกุฎวงศ์นราธิราช จุฬาลงกรณ์นาถราชวโรรส อดุลยยศอุภโตพงศ์พิสุทธิ์ นรุตมรัตน ขัตติยราชกุมาร กรมขุนมไหสุริยสงขลา"

ข้าวเหนียวมะม่วง

ชื่อบ้านนามเมืองสงขลา เป็นชื่อของเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์มาก ลองมารวบรวมดูกันน่าจะได้เยอะทีเดียว
เมื่อลูกหลานคุณถามว่า 'ทำไมไม่มีหาด' แล้วคุณจะตอบว่าอย่างไร
                            "ธรรมชาติใช้เวลากว่า ๒๐๐ ล้านปี ในการสร้างชายหาด"
                               "มนุษย์ใช้เวลา ๕๐ - ๑๐๐ ปี ในการสร้างชุมชน"
                      "การสร้างเขื่อนกันคลื่นใช้เวลาเพียง ๑ - ๓ สัปดาห์ในการทำลาย"

MUD

ไม่เยอะหรอกครับ...มีเพียงสองพระองค์เอง  แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองอื่นๆแล้ว...ก็อาจจะนับได้ว่า...มีมากที่สุด การนำชื่อเมืองสำคัญมาประกอบเป็นพระนาม  เริ่มในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ...เจ้าฟ้าต่างกรม(ฝ่ายใน)ที่ทรงพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนามตามขัติยราชประเพณี องค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  ซึ่งนับเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์แรกในรัชกาลปัจจุบัน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงเรื่องยศของเจ้านายในราชสกุลไว้ว่า "ยศเจ้านายในราชสกุลมี ๒ ประเภท สกุลยศ คือ ยศที่เกิดเป็นเจ้านายชั้นใดประเภทใด ๑ และ อิสสริยยศ คือยศที่สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาตั้งแต่งในทางราชการประเ ภท ๑"
             สกุลยศชั้นสูงของเจ้านายคือ "เจ้าฟ้า" สกุลยศรองลงมาคือ "พระองค์เจ้า" "หม่อมเจ้า" "หม่อมราชวงศ์" และ "หม่อมหลวง" ตามลำดับ
           ส่วนอิสริยยศ ซึ่งเป็นยศที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสถาปนาเจ้านายให้มีศักดิ์สูงขึ้นนั้น นอกจากการสถาปนายกให้มีพระยศสูงขึ้นทางสกุลยศ คือยกหม่อมเจ้าเป็นพระองค์เจ้า ยกพระองค์เจ้าเป็นเจ้าฟ้าแล้ว ยังมีการสถาปนาพระอิสริยยศอีกอย่างหนึ่ง คือสถาปนาเจ้านายในราชตระกูลตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไปให้เป็นเจ้าต่างกรม คือมียศเป็นกรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ และ กรมพระยา นั้น ปรากฎครั้งแรกในสมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยในสมัยอยุธยาแบ่งพระอิสริยยศเจ้านายต่างกรมเป็น ๔ ชั้น คือ กรมพระ กรมหลวง กรมขุน และกรมหมื่น
           ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงเพิ่มพระอิสริยยศเจ้าต่างกรมขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า กรมสมเด็จพระ ซึ่งเป็นพระยศที่สูงกว่ากรมพระที่เคยมีมาแต่ก่อน และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยศกรมพระยาขึ้นแทนพระยศกรมสมเด็จพระ
             การตั้งเจ้านายให้ "ทรงกรม" เป็น "เจ้าต่างกรม" นั้น เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินทรงเห็นว่า เจ้านายบางพระองค์มีพระปรีชาสามารถในกิจการงาน อุทิศพระองค์ให้กับงานราชการ มีความซื่อสัตย์ สมควรที่จะมีผู้คนส่วนหนึ่งเพื่อทำหน้าที่แบ่งเบาภาระในการปฏิบัติงานส่วนพระองค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายพระองค์นั้นมีผู้คนรวบรวมขึ้นเป็นกรม โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้บังคับบัญชาหรือกรมมีชั้นยศที่แสดงให้เห็นว่า เป็นกรมที่มีผู้คนมากน้อยตามชั้นยศเจ้ากรมนั้น เช่น เจ้านายทรงกรมเป็น "กรมหลวง" เจ้ากรมมียศเป็นหลวง ปลัดกรมมียศเป็น "ขุน" และ สมุหบัญชีมียศเป็น "หมื่น"
             การออกพระนามเจ้านายที่เป็นเจ้าต่างกรมหรือทรงกรมนั้นต้องออกพระนามเจ้านายเสียก่อนแล้วจึงตามด้วยชื่อกรม ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้คนในบังคับบัญชา เพื่อแสดงให้เห็นว่าเจ้านายพระองค์นั้นบังคับบัญชากรม เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่ปัจจุบันชื่อกรมเหล่านั้นมีความหมายเป็นพระอิสริยยศและพระนา มเจ้านายเท่านั้น มิได้มีผู้คนอยู่ในบังคับบัญชาเช่นสมัยก่อน
             นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงตั้งพระนามทรงกรมของพระราชโอรสและพระราชธิดาตามชื่อเมือง  เช่น กรมขุน(มไหสุริยสงขลา)นครสวรรค์วรพินิต กรมขุนลพบุรีราเมศร์ กรมขุนสงขลานครินทร์
             อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๔๗๗ ไม่มีการสถาปนาพระบรมวงศานุวงศ์ให้ทรงกรม คงมีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนกรม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ จนกระทั่งรัชกาลปัจจุบันได้มีการสถาปนาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ และเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฎพงศ์บริพัตร เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอลงกฏ เป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคลเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
             นับจาก พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นต้นมาไม่มีการสถาปนาพระบรมวงศานุวงศ์ให้ทรงกรมอีก จนกระทั่งในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องจากมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็นสมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีที่ทรงพระคุณานุคุณ และทรงเป็นที่เคารพนับถือแห่งพระบรมราชวงศ์ อีกทั้งทรงปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยความจงรักภักดีและ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติตลอดมา เพื่อเป็นการสนองพระกรุณาธิคุณ เชิดชูพระเกียรติตามราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์.

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าฟ้าต่างกรม " ที่ "กรมขุนมไหสูริยสงขลา " โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2434 ต่อมา ได้เปลี่ยนพระนามกรมจาก "กรมขุนมไหสูริยสงขลา " เป็น "กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต " เมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2444

วนอุทยานน้ำตกบริพัตร ห่างจากอำเภอเมือง 52 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 406 ระหว่างกิโลเมตรที่ 35-36 แยกจากปากทาง 800 เมตร เป็นน้ำตกเล็ก ๆ มีน้ำตลอดปี อยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจี เหมาะกับการเล่นน้ำ สามารถเดินขึ้นไปตามบันไดหินเลียบเขา ชั้นบนมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ อีก 1 แห่ง
เป็นน้ำตกหนึ่งในสองแห่งของอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นน้ำตกเกิดจากเทือกเขาบรรทัด ซึ่งคนในท้องถิ่นเรียกว่า เขาแก้ว น้ำตกบริพัตรอยู่ไปทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอรัตภูมิ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร อยู่ที่หลักกิโลเมตรที่ ๓๔ ของถนนยนตรการกำธร (ถนนสายรัตภูมิสตูล) ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเขาพระ อยู่ในเขตของวนอุทยานแห่งชาติ สังกัดกระทรงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางวนอุทยานร่วมกับอำเภอรัตภูมิ ทำการปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และพักผ่อนโดยสร้างถนนราดยางเชื่อมต่อกับถนนยนตรการกำธรซึ่งเป็นทางหล วงแผ่นดิน เข้าไปยังน้ำตก ระยะทางตลอดทั้งวัน สภาพของน้ำตกมีน้ำตกตลอดทั้งปี แต่ที่มีน้ำมากที่สุดอยู่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม เป็นน้ำตกลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ กว่า ๑๐ ชั้น ตั้งแต่ชั้นล่างสุดถึงชั้น ๕ มีทางเดินขึ้นชมอย่างสะดวก ถัดจากนั้นขึ้นไป ต้องปีนป่ายใช้ความสามารถกันตามสมควร บริเวณชั้นล่างสุดมีแอ่งใหญ่เหมาะในการอาบและแวกว่ายน้ำกันอย่างสนุก ใสสะอาด ปราศจากมลภาวะทั้งปวง

น้ำตกแห่งนี้ เดิมชื่อน้ำตกคลองลำเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๑ ปีใดยังไม่ปรากฏชัด จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้เสด็จเดินทางมาเกี่ยวกับราชการ จากจังหวัดสงขลาสู่จังหวัดสตูลได้และทรงพักผ่อนที่น้ำตก และได้ทรงจารึกพระนามไว้ที่หน้าผาของน้ำตกว่า "บริพัตร" น้ำตกคลองลำเรียนจึงได้ชื่อว่า น้ำตกบริพัตรตั้งแต่นั้นมา
ขอบคุณ...ข้อมูลจากเวป กิมหยง...รูป...จากนักล่าน้ำตก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=waterfall-hunter&month=12-2009&date=02&group=1&gblog=91

MUD

รูปไม่ขึ้น