ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ฉายภาพค้าส่ง-ปลีกไทยเหลือใหญ่ 2 ราย ห่วงผู้บริโภค-รายย่อย

เริ่มโดย ฟานดี้, 09:55 น. 23 พ.ย 53

ฟานดี้

นักวิชาการ ฉายภาพทิศทางค้าส่ง-ค้าปลีกไทย หลัง "คาสิโน" ทุ่มซื้อคาร์ฟูร์ เพื่อควบรวมกับ "บิ๊กซี" ส่งผลให้ในอนาคต ตลาดการแข่งขันเหลือผู้ค้ารายใหญ่แค่ 2 ราย ขณะที่ผู้บริโภคจะมีทางเลือกน้อยลง ส่วนผู้ประกอบการ "เอสเอ็มอี" ที่เป็นซับพลายเออร์ อำนาจต่อรองน้อยลง อาจถูกบีบค่าธรรมเนียมเพิ่ม
       
 

     รศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจค้าปลีกของไทย หลังกลุ่มธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่คาร์ฟูร์ ตัดสินใจขายสาขาธุรกิจในไทยให้กับกลุ่มคาสิโน กรุ๊ป (ซึ่งถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มบิ๊กซี) มูลค่ากว่า 35,000 ล้านบาท โดยมองว่า จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจค้าปลีกค่าส่งสมัยใหม่ (โมเดิร์นเทรด) เปลี่ยนไป เหลือเพียงคู่ค้ารายใหญ่เพียง 2 ราย
       
       รศ.วิทวัส กล่าวว่า การการควบรวมกิจการดังกล่าว อาจจะส่งผลต่อกลุ่มผู้ผลิตสินค้าป้อนตลาดค้าส่งค้าปลีกที่อาจจะถูกกดราคา เนื่องจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จะมีอำนาจต่อรองในการกระจายสินค้า และประหยัดต้นุทน หากมองในด้านดีลูกค้าจะได้ประโยชน์จากการแข่งขัน แต่ในอนาคตผู้บริโภคจะมีทางเลือกน้อย
       
       นักวิชาการด้านพาณิชยศาสตร์ ยังกล่าวว่า กรณีสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดเริ่มขาดตลาด เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วม รวมถึงมีการเก็งกำไรล่วงหน้า เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำมันพืช และการเตรียมปรับภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 จะส่งผลให้มีการขึ้นราคาสินค้าในท้องตลาดตามไปด้วย
       
       รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ภาพรวมของธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ตของไทย นับจากนี้ไปจะเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่เพียง 2 ราย ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งในด้านการแข่งขันที่อาจจะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการตัดราคาเพื่อดึงให้ผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการมากขึ้น
       
       แต่ขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี จะฮั้วกันทำตลาด โดยลดการแข่งขันด้านราคา และการทำตลาดลง ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคคนไทยเสียประโยชน์ นอกจากนี้หากเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการทั้ง 2 รายทำตลาดต่อเนื่อง ก็จะยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง และทำให้เกิดการผูกขาด โอกาสที่ผู้ประกอบการรายใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการคนไทยจะเข้ามาลงทุนมีน้อยตามไปด้วย
       
     

  หากทั้งเทสโก้ โลตัสและบิ๊กซี เดินหน้าแข่งขันด้านราคา ผู้บริโภคย่อมได้ผลประโยชน์ แต่หากทั้งสองเห็นว่าการแข่งขันด้านราคา จะส่งผลทำให้กำไรที่ได้ลดน้อยลง และเลือกที่จะฮั้วกันกำหนดราคาให้ตลาด ก็จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเพราะหมดโอกาสที่จะเลือก
       
       นอกจากนี้ จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ที่ไม่มีอำนาจในการต่อรอง หรือเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำตลาด การเข้าวางจำหน่ายในเชลฟ์ ที่เหลือผู้ประกอบการเพียง 2 ราย และแต่ละรายมีพาวเวอร์ มีสาขาจำนวนมาก อาจถูกบีบเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ ดังนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าประเภทคุ้มค่า (value for money) หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง ซึ่งโดยภาพรวมจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำงานยากขึ้น
       
       ปัจจุบันพื้นที่ทำเลดีๆ ต่างถูกผู้ประกอบการหรือกลุ่มทุนใหญ่ถือครองไว้เกือบทั้งหมด ดังนั้น ภาครัฐควรยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือก่อน โดยเฉพาะเรื่องของการกำหนดโซนนิ่ง หรือกฎหมายต่างๆ ที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการคนไทย ซึ่งจะทำให้นักลงทุนสามารถเกิดขึ้นได้


2PM

ได้รับผลกระทบอยู่ อยากให้เป็นคาร์ฟูร์ต่อไปจัง

แฟนเก่าชื่อส้ม

ถ้าสองเจ้าฮั้วกันขายของแพงๆจริง ร้านค้าโชว์ห่วยตามหมู่บ้านจะได้ยิ้มกันซะที
ก่อนตายคุณอยากอยู่กับใครเป็นคนสุดท้าย

Probass

Makro จะค้าส่ง แต่สินค้าหลายตัวก็ขายปลีก ไม่อยู่ในสายตานักวิชาการเลยหรือ ว่าประชาชนจะเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปซื้อของ ยกโหล



TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

ฅนสองเล

บทวิเคราะห์ จุดอ่อนบิ๊กซีซื้อห้างคาร์ฟูร์ โดย ASTVผู้จัดการรายวัน มีความน่าสนใจให้ได้อ่านและวิเคราะห์กันดูครับ


      
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - บริษัท คาสิโน กรุ๊ป เจ้าของร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส ได้ชนะการประมูลซื้อ บริษัทคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ที่มีสาขาทั้งสิ้น 42 สาขา
       
       นั่นหมายความว่า บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และคาร์ฟูร์ ในประเทศไทย กำลังจะกลายเป็นธุรกิจของเจ้าของเดียวกัน
       
       นั่นคือ คาสิโน กรุ๊ป
       
       การรวมตัวกันของทั้งบิ๊กซี และคาร์ฟูร์ โดยจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซี เพิ่มเป็น 103 สาขา จาก 60 สาขาในปัจจุบัน
       
       นอกจากนั้น จะทำให้ตลาดค้าปลีกในประเทศไทยเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่เท่านั้น คือ บิ๊กซี และ เทสโก้ โลตัส
       
       การควบรวมดังกล่าว จะทำให้บิ๊กซีฯ มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกับเจ้าตลาดอย่าง เทสโก้ โลตัสได้มากขึ้น โดยปัจจุบัน เทสโก้ โลตัส มีสาขาทั้งสิ้น 116 สาขา
       
       ทั้งนี้สำนักประชาสัมพันธ์คาร์ฟูร์ และแม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ ส่งแถลงการณ์เรื่อง คาร์ฟูร์ ประกาศขายกิจการในประเทศไทยแล้ว โดยระบุว่า
       
       วันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา คาร์ฟูร์ ประกาศพิธีลงนามในสัญญากับ "บิ๊กซี" ซึ่งอยู่ในเครือคาสิโน กรุ๊ป สำหรับการขายธุรกิจคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 868 ล้านยูโร (ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท)  โดยมูลค่านี้เทียบเป็น 120 % ของยอดขายสุทธิ และเป็น 13.0 x EBITDA
       
       การประกาศขายกิจการคาร์ฟูร์ ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์คาร์ฟูร์โฟกัสในธุรกิจที่สามารถก้าวสู่การเป็นผู้นำได้
       
       ที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยไม่เอื้ออำนวยให้คาร์ฟูร์ ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำ และยังไม่เห็นสัญญาณอย่างชัดเจน แม้จะเป็นช่วงระยะเวลากลาง หรือในระยะยาว
       
       คาร์ฟูร์ เริ่มเข้ามาก่อตั้งกิจการค้าปลีกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 1996   ปัจจุบันนี้ มีสาขาทั้งสิ้นจำนวน 42 แห่ง โดยเป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต 34 แห่ง ( 7 สาขาเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมด )
       
       จัดเป็นกลุ่มผู้ค้าเครื่องอุปโภคบริโภคแบบโมเดิร์นเทรด อันดับ 5 ของประเทศไทย ข้อมูลทางการเงิน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 มีส่วนแบ่งการตลาด 6%, ยอดขายสุทธิ 723 ล้านยูโร และกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) รวม 67 ล้านยูโร ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
       
       ส่วนบิ๊กซี เป็นธุรกิจไฮเปอร์มาร์เก็ต อันดับ 2 ของประเทศไทย โดยมีไฮเปอร์มาร์เก็ตทั้งสิ้น 69 แห่ง และในรอบ 12 เดือน จนถึงณ วันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา มียอดขายสุทธิ 1,700 ล้านยูโร
       
       การซื้อกิจการคาร์ฟูร์ครั้งนี้ จะทำให้บิ๊กซี สามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกได้มากขึ้น เนื่องจากสามารถมีอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้มากขึ้น และสามารถประหยัดเนื่องจากขนาดได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถได้ทำเลที่ตั้งของคาร์ฟูร์ ซึ่งปัจจุบันกำลังมีข้อจำกัดเรื่องผังเมืองมากขึ้น
       
       การที่ผู้ถือหุ้นบริษัทบิ๊กซี ชนะการประมูล ทำให้ราคาหุ้นของเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ร่วงทันที
       
       เนื่องจาก เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ถือเป็นตัวเต็งว่าอาจชนะประมูลซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในไทย เพื่อต่อยอดธุรกิจ ส่งผลให้มีแรงเก็งกำไรเข้ามาอย่างหนาแน่น อย่างไรก็ตาม หลังผลประมูลออกมาอย่างชัดเจน ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาเพื่อลดความเสี่ยง
       
       ด้วยเหตุที่ก่อนหน้านี้ "ฐาปน สิริวัฒนภักดี" กรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ของเบอร์ลี ยุคเกอร์ ได้ยอมรับว่า เบอร์ลี่ยุคเกอร์ เป็นบริษัทหนึ่งที่เข้าร่วมการประมูล
       
       สุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการกำกับการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เคยประกาศเดินหน้าประมูลซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต เพื่อเติมเต็มธุรกิจค้าปลีกในเครือ
       
       แต่ก็ผิดหวัง แม้จะมีงบลงทุนเหลือเฟือ
       
       อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว บิ๊กซี ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 8.6 เท่า ของมูลค่าประมาณการของ EBITDA (กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคา) ปี 2553
       
       คาดว่าการรวมกิจการครั้งนี้ จะทำให้บิ๊กซี มีรายได้รวมถึง 100,000 ล้านบาทในปีนี้
       
       โดยจากข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ในปี 2551 คาร์ฟูร์ มีรายได้อยู่ที่ 27,662 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิอยูที่ 554 ล้านบาท ขาดทุน 314 ล้านบาทในปี 2552บิ๊กซีมีรายได้ในปี 2552 จำนวน 68,058 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 2,868 ล้านบาท
       
       บิ๊กซี จัดเป็นผู้นำรายใหญ่อันดับ 2 ของธุรกิจ Hypermarket (รองจาก Lotus) ด้วยจำนวน สาขารวมอยู่ที่ 69 แห่ง นอกจากนั้น ยังประกอบธุรกิจต่อเนื่องเกี่ยวกับการให้บริการพื้นที่เช่า (town center)และธุรกิจร้านสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ MiniBigC และ Pure (เน้นขายเวชภัณฑ์) ด้วย
       
       บริษัทได้เข้าซื้อกิจการคาร์ฟูร์ ในไทยรวม 42 สาขา (แบ่งเป็น Hypermarket 34 แห่งและ Supermarket 8 แห่ง) โดยอาศัยแหล่งเงินทุน 2 ส่วนหลักจากกระแสเงินสดในบริษัทและการใช้วงเงินกู้ และคาดว่าธุรกรรมดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในต้นปี 54
       
       ผู้ถือหุ้นบริษัทบิ๊กซีประเมินผลประโยชน์ที่จะได้รับ ได้แก่
       
       1 ) การเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของไทยมากขึ้น โดยภายหลังรวมกิจการจะส่งผลบริษัทจะมีฐานสาขารวมเป็นกว่า 103 แห่ง (ในรูปแบบ Hypermarket) จากปัจจุบันที่ 69 แห่ง ซึ่งถือเป็นผู้นำอันดับ 2 ที่มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกับผู้นำอันดับ 1 อย่าง Tesco Lotus มากขึ้น ที่มีสาขารวมราว 116 แห่งในไทย ทั้งนี้สาขาของบิ๊กซีส่วนมากอยู่ในต่างจังหวัด ขณะที่สาขาส่วนใหญ่ของคาร์ฟูร์อยู่ในกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ยังส่งผลให้บริษัทมีพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 0.585 ล้านตารางเมตร จากปัจจุบันที่ 0.435 ล้านตารางเมตร
       
       2 ) หวังผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม ( Synergies ) ในระยะยาว 1,200 ล้านบาทต่อปี ด้วยความแข็งแกร่งของเครือข่ายธุรกิจที่จะมีเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลผู้บริหารประเมินการสร้างผลประโยชน์ส่วนเพิ่มในหลายด้านทั้งแง่อำนาจ การต่อรองในการสั่งซื้อสินค้า, ประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้น รวมถึง การเกิดผลประโยชน์ต่อการประหยัดต่อขนาดของการใช้ต้นทุนบางรายการร่วมกัน เป็นต้น
       
       ทำให้นักวิเคราะห์ประเมินว่า ในปี 53 บิ๊กซีจะมีรายได้ 69,935 ล้านบาท กำไร 3,217 ล้านบาท ปี 54 มีรายได้ 76,521 ล้านบาท กำไรสุทธิ 3,499 ล้านบาท และในปี 55 มีรายได้ 81,621 ล้านบาท กำไร 3,874 ล้านบาท
       
       แต่กระนั้น บิ๊กซี ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากกฎหมาย คือ ร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกฉบับใหม่ ที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
       
       ที่สำคัญ แนวโน้มธุรกิจค้าปลีก เหมาะสำหรับรายใหญ่เท่านั้น
       
       สายป่านสั้น ส่วนแบ่งตลาดต่ำ เงินทุนน้อย หมดสิทธิ์แจ้งเกิด .....ยกเว้น ตลาดสดของไทย เท่านั้น!!
       
       ที่สำคัญมากกว่านั้น นักวิเคราะห์บางส่วนประเมินว่า การซื้อคาร์ฟูร์ครั้งนี้แพงเกินไป
       
       โดยมูลค่าตามบัญชี ณ สิ้นปี 2552 มีค่าเพียง 9,700 ล้านบาท ดังนั้นราคาเข้าซื้อแสดงถึงราคาต่อมูลค่าหุ้นตามบัญชี (PBV) ที่ 3.7 เท่า
       
       หากพิจารณาจากราคาเข้าซื้อต่อพื้นที่ที่ 87,250 บาทต่อตารางเมตร ก็แพงเช่นกัน เมื่อเทียบกับสัดส่วนมูลค่าตลาดต่อพื้นที่ (ตารางเมตร) ของ บิ๊กซี และ ซีพีเอ็น ที่ 59,700 บาท และ49,900 บาทต่อตารางเมตร ตามลำดับ
       
       นอกจากนั้นมูลค่าของบีกซี อาจจะลดลง เนื่องจากการด้อยค่าของความนิยม (Impairment of goodwill) สาขาของคาร์ฟูร์ 27 แห่ง อยู่ในทำเลใกล้เคียงกับบิ๊กซี และมี 5 แห่งที่ใกล้กันมาก รวมทั้ง 75% ของจำนวนสาขาของคาร์ฟูร์ เป็นที่ดินเช่า หนี้สินที่เพิ่มขึ้นจะจำกัดการขยายสาขา และการสูญเสียลูกค้าบางส่วน

ฅนสองเล

เมื่อบิ๊กซีผนึกกับคาร์ฟูร์แล้วจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นบิ๊กซีทั้งหมดเลยหรือไม่เป็นโจทย์ที่น่าคิดเช่นกัน

เมื่อครั้ง ปตท.เข้าไปซื้อปั๊มเจ็ท ก็ไม่ได้เปลี่ยนมาเป็น ปตท. เหตุผลสำคัญเพราะ ปตท.มีพันธะกับเซเว่นในการให้เซเว่นเปิดร้านค้าปลีกในปั๊มปตท.ซึ่งปตท.ค่อนข้างเสียเปรียบ

เช่นเดียวกับบิ๊กซีกลุ่มบิ๊กซีต้องมองหลายกระบวนทัศน์ การใช้ชื่อบิ๊กซี ใช่ว่าจะเป็นผลดีเสมอไปกลุ่มผู้บริโภคไม่ไน้อยที่แอนตี้บิ๊กซี และมีกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมากที่รักในคาร์ฟูร์

เมื่อซื้อกิจการแล้วจะใช้ชื่อคาร์ฟูร์นั้นคงไม่ได้ ครั้นจะใช้ชื่อบิ๊กซีก็กระไรอยู่ อย่างหาดใหญ่เราคาร์ฟูร์กลายเป็นบิ๊กซี 2 อย่างนั้นหรือ

หากบิ๊กซีตีโจทย์ใหม่น่าจะหาพันธมิตรที่เป็นกลุ่มทุนไทยมาถือหุ้นบ้างแล้วสร้างชื่อใหม่คาร์ฟูร์แบบไทยๆ และคงเอกลักษณ์คาร์ฟูร์ที่มีความสะดวกสบาย ช่องทางเดินกว้างขวาง ดูสะอาดตากว่าบิ๊กซีและคาร์ฟูร์ หากสังเกตดีๆ เราจะเห็นว่าคาร์ฟูร์จะจับลูกค้ากลุ่มกลางถึงบนมากกว่าการจับตลาดล่างแบบโลตัสและบิ๊กซี

บิ๊กซี น่าจะใช้ยุทธศาสตร์แยกกันเดินรวมกันตี ดีกว่ารวมกันเดินชนดะกับโลตัส หากวางหมากดีๆ โอกาสขึ้นเบอร์ 1 ก็มีแต่หากเดินเกมพลาดจากเบอร์ 2 ทั้รั้งอยู่อาจโดนทิ้งห่างจากผู้นำมากขึ้นก็ได้แม้จะรวมตัวกันแล้วก็ตาม

2PM

เอาอย่าง จ.เชียงใหม่ บิ๊กซีมี 2สาขาอยู่แล้ว คาร์ฟูร์ 2สาขาเท่ากับ กระโดด 4สาขา ทั้ง จ.เชียงใหม่เลยนะ เหมือนตามท่ีท่าน @บก.เท่งเลยฮ่ะ

หลากำนัน

สองค่ายที่เหลือยังไงก็ต้องแข่งกันอยู่แล้ว...ดีสิครับ ตอนนี้เรียกว่าคู่ชกสมน้ำสมเนื้อแล้ว

ต้องเปิดศึกชิงลูกค้าแน่ๆ...555  ;D


ฅนสองเล

ถ้าเปลี่ยนเป็นบิ๊กซีทั้งหมด บิ๊กซีจะสู้โลตัสไม่ได้เลย ผมคิดว่าลูกค้าเก่าคาร์ฟูร์น่าจะหนีไปโลตัสมากกว่า

เดาเอานะครับ

2PM

เราคนหนึ่งไปเทสโก้ ถ้าเป็นไฮเปอร์ฯ เพราะไม่ชอบหลายๆ ด้านของบิ๊กซีเลยครับ แต่จะเดินซูเปอร์มาร์เก็ตของไทยมากกว่า เช่นท็อปส์ซูเปอร์ ท็อปส์มาร์เก็ต และท็อปส์เดลี่