ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พ่อค้ารวมหัวกดราคาประมูลข้าวรัฐต่ำกว่าขายส่ง

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 13:19 น. 24 ก.ย 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

updated: 23 ก.ย. 2555 เวลา 19:05:25 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

จับตาขายข้าวสต๊อกรัฐบาลได้ไม่เกิน 100,000 ตัน เหตุข้าวเสื่อมสภาพ ผู้ค้าข้าวเสนอราคาต่ำ เฉพาะข้าวหอมมะลิไม่น่าเกินตันละ 28,000 บาท ขณะที่ราคาขายส่งในตลาด 32,000 บาท/ตัน ชี้ประมูลข้าวรอบต่อไป เข้าทางผู้ส่งออกขาใหญ่กดราคาซื้อข้าวรัฐต่ำติดดิน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานหลังคณะทำงานดำเนินการระบายข้าว เปิดซองยื่นประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกจำนวน 586,000 ตัน ปรากฏมีบริษัทผู้ค้าข้าวยื่นซองประมูลจำนวน 13 ซอง จาก 9 บริษัท ซึ่งถือว่า "น้อยมาก" เมื่อเทียบกับการประมูลข้าวก่อนหน้านี้ (753,000 ตัน) มีผู้เสนอราคาเข้ามาถึง 40 ราย ว่าเกิดจากความกังวลในเรื่องของคุณภาพข้าวในคลังรัฐบาล เนื่องจากข้าวคุณภาพดีได้มีการทยอยขายออกไปก่อนหน้านี้จนหมดไปแล้ว เหลือแต่ข้าวที่คุณภาพต่ำ ทำให้ผู้ซื้อส่วนใหญ่มุ่งซื้อเฉพาะข้าวที่รับจำนำและจัดเก็บไว้ในคลังของตัว เองเป็นหลัก

"วงการค้าข้าวเชื่อกันว่า การขายข้าวในสต๊อกรัฐบาลรอบนี้จะขายได้ไม่เกิน 100,000 ตัน และราคาที่ขายออกไปจะต่ำมากหรือต่ำกว่าการขายข้าวหอมมะลิรอบแรก ซึ่งเสนอซื้อกันถึง 29,800-30,000 บาท/ตัน โดยราคาที่เสนอกันเข้ามาครั้งนี้ไม่น่าเกิน 28,000 บาท/ตัน ขณะที่ราคาข้าวหอมมะลิในตลาดอยู่ที่ 32,000-32,500 ตัน ส่วนต้นทุนราคารับจำนำข้าวเปลือกสีเป็นข้าวสารของรัฐบาลอยู่ที่ 34,000-35,000 บาท/ตัน ส่วนข้าวประเภทอื่นที่เหลือ หากกระทรวงพาณิชย์ตัดสินใจขายก็คงขายได้ต่ำกว่าราคาตลาด อาทิ ปลายข้าวหอมมะลิ 17,000 บาท ปลายข้าวหอมปทุม 16,500 บาท ข้าวปทุมธานี 26,000 บาท คงไม่มีผู้ค้าข้าวรายใดให้ราคาเกินนี้ เรียกว่าการประมูลรอบนี้จะตัดสินใจขายหรือไม่ขายก็ตายทั้งสองทาง เพราะข้าวเสื่อมสภาพมาก" ผู้ส่งออกข้าวที่เข้าร่วมประมูลรายหนึ่งให้ความเห็น

เป็นที่น่า สังเกตว่า การเปิดประมูลรอบนี้ไม่มีการขายข้าวขาวในสต๊อกรัฐบาลออกมาอีก ประกอบกับผู้ส่งออกข้าวต่างทราบดีว่า กระทรวงพาณิชย์กำลังเข้าตาจน เนื่องจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 ซึ่งประมาณการผลผลิตข้าวเปลือกไว้ถึง 26 ล้านตัน (ข้าวเปลือกนาปี 15 ล้านตัน-ข้าวเปลือกนาปรัง 11 ล้านตัน) นั้น ต้องใช้เงินในการรับจำนำสูงถึง 405,000 ล้านบาท ในขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีสภาพคล่องที่จะใช้เงินในโครงการแทรกแซงพืชผลทางการเกษตรในปีหน้าไม่เกิน 150,000 ล้านบาท นั่นหมายถึงรัฐบาลจะต้อง "กู้เงิน" มาให้ ธ.ก.ส.ใช้จำนำข้าวเปลือกปีหน้าถึง 255,000 ล้านบาท ซึ่งจนบัดนี้ก็ยังไม่รู้จะไปหาเงินจากที่ไหน ?

"แน่นอนว่ารัฐบาลจะ ต้องกู้เงินมาให้ ธ.ก.ส.รับจำนำข้าวเปลือกในปีหน้า แต่อยากจะกู้น้อยที่สุด ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ เร่งให้กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลที่จำนำไว้ทั้งหมดให้เร็วที่ สุด เพื่อนำเงินมาใช้คืน ธ.ก.ส.เป็นทุนในการรับจำนำข้าวครอปต่อไป ดังนั้นการประมูลข้าวที่จะเกิดขึ้นรอบต่อไป วงการค้าข้าวต่างคาดเดากันได้ว่า กระทรวงพาณิชย์จำเป็นต้องขายข้าวในราคาขาดทุน ซึ่งขาดทุนในที่นี้หมายถึงขาดทุนในราคาขายส่งปัจจุบัน หรือผู้ค้าข้าวน่าจะได้รับราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด จากการประมูลรอบที่ผ่านมาที่กระทรวงพาณิชย์ยึดราคากลางย้อนหลัง 30 วัน และไม่ยอมขายข้าวในสต๊อกต่ำกว่าราคาขายส่ง" แหล่งข่าวในวงการค้าข้าวกล่าว

ดัง นั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่ผู้ค้าข้าวจะต้องเสนอราคาประมูลข้าวรอบนี้ หรือรอบหน้าในราคาสูงหรือใกล้เคียงกับราคาขายส่ง เพราะทราบดีว่าสุดท้ายกระทรวงพาณิชย์จำต้องยอมขายข้าวขาดทุนจากราคาขายส่ง แน่ ๆ ในขณะที่เวลาในการขายข้าวสต๊อกรัฐบาลกำลังเหลือน้อยเต็มที เพราะโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2555/56 จะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมที่จะถึงนี้แล้ว

ในอีกด้านหนึ่งก็มีการมองกันว่า การขายข้าวสต๊อกรัฐบาลในราคา "ต่ำกว่า" ราคาขายส่งในตลาด น่าจะเข้าทางผู้ส่งออกข้าวบางกลุ่มที่ต้องการซื้อข้าวสต๊อกรัฐบาลแบบยกลอต ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจากการประมูลข้าวครั้งที่ผ่านมา (28 สิงหาคม 2555) ก็คือ กรณีของบริษัทสยามอินดิก้า ยื่นประมูลเสนอซื้อข้าวขาวในราคาที่ "ต่ำกว่า" ราคาขายส่งในตลาดค่อนข้างมาก โดยให้เหตุผลว่า "เป็นการซื้อยกลอต" ซึ่งครั้งนั้นกระทรวงพาณิชย์ไม่ยอมขายข้าวให้

"แต่การประมูลครั้ง ต่อ ๆ ไป ข้อเสนอในการพิจารณาซื้อข้าวยกลอตในราคาต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งหมายถึงรัฐบาลจะต้องขายข้าวขาดทุนอย่างมโหฬาร (เมื่อเทียบกับราคารับจำนำ ซึ่งสูงกว่าราคาขายส่งในตลาดมาก) อาจจะได้รับการพิจารณาเพราะกระทรวงพาณิชย์ไม่มีทางเลือก หากต้องการที่จะเร่งระบายสต๊อกข้าวกว่า 10 ล้านตัน (เพิ่งขายไปได้แค่ 229,500 ตันเท่านั้น) เพื่อรีบนำเงินมาใช้คืน ธ.ก.ส. ตรงนี้ขอให้จับตาดูการตัดสินใจขายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ให้ดีก็จะได้รับคำ ตอบทั้งหมด" แหล่งข่าวกล่าว

ส่วนกรณีมีข่าวออกมาว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ไปแล้วกว่า 7 ล้านตัน โดยมีกำหนดส่งมอบภายในปีนี้ 1.5-1.8 ล้านตัน แต่ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดว่า ขายให้ใคร ปริมาณเท่าไร โดยอ้างว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ "ไม่สามารถบอกได้" นั้น ในวงการค้าข้าวไม่มีใครเชื่อว่ารัฐบาลขายข้าว G to G ได้จริง เนื่องจากจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณการส่งออกข้าวในระบบ G to G เข้ามาเลย

"หากรัฐบาลจะส่งออกข้าวให้ได้ 1.5-1.8 ล้านตัน ในเวลา 5 เดือนหลังนับจากเดือนนี้ เท่ากับกระทรวงพาณิชย์จะต้องปรับปรุงคุณภาพข้าวและส่งมอบเฉลี่ยเดือนละไม่ ต่ำกว่า 300,000 ตัน แต่ยอดส่งออกในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยังไม่มีใครเห็นว่ามีการส่งออกข้าว G to G ที่ออกข่าวกันมาน่าจะเลื่อนลอย เพราะหากรัฐบาลจะขายข้าวให้กับรัฐบาลต่างประเทศจะต้องลดราคาขายเพื่อแข่งขัน กับข้าวเวียดนาม ซึ่งขายอยู่ที่ราคา 450-500 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือต่ำกว่าราคาข้าวไทยที่รับจำนำไว้เกือบ 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน รัฐบาลจะยอมขายขาดทุนมหาศาลแบบนี้หรือไม่" แหล่งข่าวกล่าว

ล่าสุดได้ มีการสอบถามไปยังนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็ยังยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมจะส่งออกข้าวที่ขายผ่านระบบ G to G ในปีนี้ให้ได้ 1.5-1.8 ล้านตัน และจะทยอยส่งมอบต่อไปในปี 2556 จนครบ 7 ล้านตัน "เรียกได้ว่าผมจะเป็นรัฐบาลที่ทำ G to G สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์"

boonthung

ความคิดผมนะ จริง ๆแล้ว โครงการต่าง ๆ ทักษิณไม่ได้เจตนาที่จะทำประชานิยม แต่ต้องการแก้แค้นให้ประเทศเราล่มจม

puiey

อ้างจาก: boonthung เมื่อ 15:45 น.  24 ก.ย 55
ความคิดผมนะ จริง ๆแล้ว โครงการต่าง ๆ ทักษิณไม่ได้เจตนาที่จะทำประชานิยม แต่ต้องการแก้แค้นให้ประเทศเราล่มจม

+10
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ