ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

"ดิจิทัลทีวี"ยึดสูตร"20-20-60" ต้นปีหน้าประมูล36ช่องธุรกิจ

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 14:46 น. 26 ก.ย 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

updated: 26 ก.ย. 2555 เวลา 11:33:14 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสท.ล่าสุด (24 ก.ย. 2555) เห็นชอบการแบ่งสัดส่วนคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล (ช่องรายการ) ตามที่คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ให้ความเห็นชอบ โดยแบ่งสัดส่วนช่องรายการดิจิทัลเป็น 2 ระยะ คือก่อนยุติการให้บริการระบบแอนะล็อก จะกำหนดสัดส่วนช่องรายการสำหรับบริการชุมชน 20% สาธารณะ 20% และ 60% สำหรับบริการธุรกิจ เน้นระดับชาติก่อน เพื่อขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล

เมื่อมีคลื่นความถี่เพียงพอ จึงมีการจัดสรรในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นต่อไป ส่วนระยะที่ 2 เมื่อ กสทช.ยุติการแพร่ภาพในระบบแอนะล็อกในอีก 7-8 ปีข้างหน้า จะปรับสัดส่วนช่องรายการเป็นช่องบริการชุมชน 20% สาธารณะ 30% และธุรกิจ 50%และ กสท.ได้กำหนดกลุ่มช่องรายการระบบดิจิทัลจากช่องทั้งหมด ได้แก่ ช่องรายการที่เป็นข่าวสารสาระ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 10% รายการสำหรับเด็กเยาวชนและครอบครัว 10% โดยแต่ละกลุ่มรายการกำลังพิจารณาว่าจะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายทำช่องรายการมากกว่า 1 ช่องหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นควรให้ทำได้มากกว่า 1 ช่องใน 1 กลุ่ม

สำหรับจำนวนช่องทีวีดิจิทัลจะกำหนดในสัปดาห์หน้าว่าจะมีกี่ช่องที่เผยแพร่ด้วยความละเอียดมาตรฐาน (Standard : STD) และช่องรายการที่แพร่ภาพด้วยความละเอียดสูง (HD) ก่อน เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลระยะแรกมีคลื่นให้ทำทีวีดิจิทัลเบื้องต้น 5 มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer : MUX) หรือโครงข่ายส่งสัญญาณ เพียงพอทำช่อง Standard ได้ 60 ช่อง และต้องวิเคราะห์ด้วยว่าจะทำ STD หรือ HD กี่ช่อง ถ้า HD เยอะ ช่อง STD จะลดลง ปกติ HD เพิ่ม 1 ช่อง ทำให้ช่อง STD หายไป 3-4 ช่อง

ดังนั้น จาก MUX ที่มีปัจจุบัน หากเป็นช่อง STD ทั้งหมด สัดส่วนช่องรายการจะมีช่องธุรกิจ 36 ช่อง ซึ่งต้องจัดสรรด้วยการประมูลในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2556 ขณะที่ช่องบริการชุมชน และบริการสาธารณะมีอย่างละ 12 ช่อง เริ่มออกภายในสิ้นปีนี้ ส่วนใบอนุญาตช่องบริการชุมชนต้องรอให้โครงข่ายดิจิทัลครอบคลุมโดยการจัดสรรช่องรายการทั้ง 2 ประเภทใช้วิธีบิวตี้คอนเทสต์ และอาจมีข้อกำหนดเรื่องการอุดหนุนกล่องรับสัญญาณให้ผู้บริโภคด้วย แต่ยังไม่ได้กำหนดราคาตั้งต้นการประมูล หรือราคาใบอนุญาตแต่ละประเภท ขณะที่ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายเริ่มเดือน ธ.ค.นี้ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต

โครงข่ายได้สิทธิ์ให้ทดลองออกอากาศชั่วคราวก่อนมีการให้ใบอนุญาตช่องรายการ ดังนั้น ในสิ้นปีจะเริ่มเห็นรายการโทรทัศน์ที่แพร่ภาพระบบดิจิทัล (ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลทุกประเภทอายุ 15 ปี)

สำหรับหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นและการอนุญาตใช้คลื่น ภายในสัปดาห์หน้าจะนำร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรด้วยการประมูลและบิวตี้คอนเทสต์ให้บอร์ด กสท.พิจารณา ก่อนเสนอบอร์ด กสทช.วันที่ 10 ต.ค.นี้ พร้อมร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ ประเภทใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล

ขณะที่การรับฟังความเห็นสาธารณะ ร่างประกาศ กสทช.เกี่ยวกับการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล 4 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศแผนเปลี่ยนระบบรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล, ร่างประกาศมาตรฐานเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล, ร่างประกาศมาตรฐานเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล และแผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลนั้น ผู้ประกอบการเห็นตรงกันว่า กสทช.ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในแผนการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลให้เอกชนได้ ทั้งเห็นว่าควรจำกัดอุปสรรคของเทคโนโลยี โดยกำหนดมาตรฐานการล็อกสัญญาณของประเทศ เพื่อให้ 1 กล่องรับสัญญาณรับชมได้ทั้งทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ทีวีดิจิทัล รวมถึงกำหนดมาตรฐานราคากลางกล่องด้วย

ด้านนายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย ประธานสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลคอนเทนท์บันเทิงไทย กล่าวว่า ผู้ผลิตคอนเทนต์ กำลังประเมินความชัดเจนเกี่ยวกับความคุ้มค่าในการลงทุน แม้ระบบจะเสถียรและพัฒนาให้บริการอินเตอร์แอ็กทีฟ เนื่องจากผู้ประกอบการแต่ละรายมีขีดความสามารถในการลงทุนต่างกัน ความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การประมูล การยุติการแพร่ภาพ เป้าหมาย set-top-box แต่ละปีเท่าไร มีแผนอุดหนุน set-top-box แต่ละขั้นตอนอย่างไร เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อประเมินจำนวนผู้รับชมได้

"การสนับสนุนผู้ประกอบการช่วงแรกที่มีผู้ชมรายการน้อย ไม่ดึงดูดงบฯโฆษณาได้ แต่ลงทุนเยอะ รัฐจะอุดหนุนอะไรหรือไม่ กสทช.ต้องทำให้เอกชนเห็นประโยชน์ของการลงทุนทีวีดิจิทัลไม่เช่นนั้นจะเหมือนไต้หวันที่ไปทำทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวีกันหมด เพราะง่าย เร็ว และถูกกว่า"

ผลการศึกษาของ กสทช.ระบุว่า ปัจจุบันการรับชมโทรทัศนมี 3 ช่องทางหลัก ได้แก่ ภาคพื้นดิน (Terrestrial TV) หรือฟรีทีวี มี 6 สถานี เข้าถึง 45.8 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ เป็นเคเบิลทีวี 990 สถานี เข้าถึงประชากร 28.7 ของครัวเรือนที่มีโทรทัศน์ และระบบดาวเทียมมี 200 ช่องรายการ มีประชากรเข้าถึง 25.5 ครัวเรือน