ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ชาวสวนยางเหี่ยวรัฐค้างจ่าย2พันล. ดีลเลอร์รถโดนหางเลขยอดวูบ30%

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 10:31 น. 01 ต.ค 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

updated: 30 ก.ย. 2555 เวลา 17:04:06 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ชาวสวนยางโอดรายได้หด องค์การสวนยางค้างจ่าย 2,000 ล้าน ผู้อำนวยการ อ.ส.ย.แจงเหตุโอนเงินล่าช้า ถูกสั่งให้ตรวจเข้ม "ขายเกินโควตา-สวมสิทธิ์" คาดคลังอนุมัติค้ำประกันเงินกู้ ธ.ก.ส.ได้เร็วสุดกลาง ต.ค.นี้ ดีลเลอร์รถใจแป้ว ยอดขายรถลด 30%

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรตามโครงการพัฒนาศักยภาพ สถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ยังค้างเงินค่ายางเกษตรกร 2,000 ล้านบาท เนื่องจากเงินหมด และล่าสุดแม้ว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมอีก 3 หมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา แต่จนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีการโอนเงินให้กับเกษตรกร

เมื่อทวงถามไปที่ อ.ส.ย.กลับย้อนขอตรวจสอบเกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการเรียบ ร้อยแล้ว เพื่อประวิงเวลาการจ่ายเงิน ทำให้สถาบันเกษตรกรที่นำยางไปขายตามโครงการเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะไม่มีเงินหมุนเวียนไปซื้อยางที่กรีดใหม่ และไม่มีเงินจ่ายให้แก่สมาชิก ชาวสวนยางเริ่มขาดรายได้ และกำลังส่งผลกระทบไปถึงการใช้จ่ายการผ่อนงวดรถยนต์ และส่งบุตรเรียนหนังสือ

กรณีปัญหาดังกล่าว ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สอบถามไปที่นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้รับคำตอบว่า กรณีที่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางได้รับเงินล่าช้าหลังจากขายยางให้ อ.ส.ย.นั้น ปัญหาใหญ่คือ อ.ส.ย.ถูกสั่งให้มีการตรวจสอบว่ามีการขายเกินโควตา 2 กก./ไร่/วันหรือไม่ และมีใบซื้อขายยางระหว่างสมาชิกกับสถาบันเกษตรกรในสังกัดหรือไม่ เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ก่อนจ่ายเงิน

ที่ผ่านมา ในเรื่องโควตา อ.ส.ย.พอที่จะตรวจสอบได้ว่าสถาบันนั้นมีสมาชิกกี่ราย มีพื้นที่ยางที่กรีดได้เท่าใด แต่ในส่วนฐานข้อมูลว่าสมาชิกของสถาบันนั้นเป็นใคร อยู่ที่ใด จะต้องมีการยื่นต่อคณะอนุกรรมการจังหวัดนั้น ๆ ไม่ได้ส่งมาที่ อ.ส.ย.เก็บเป็นฐานข้อมูล ทำให้ตรวจสอบยาก

ทั้งนี้ ตามระเบียบสถาบันเกษตรกร เมื่อซื้อยางจากสมาชิกจะต้องมีสำเนาการซื้อขายแนบ เพื่อทำรายงานสรุปการซื้อขายทุก 15 วันต่อคณะอนุกรรมการจังหวัด แต่เมื่อสถาบันเกษตรกรกับสมาชิกไม่มีสำเนาการซื้อขายรายงานมายังคณะอนุกรรม การจังหวัด จึงทำให้การตรวจสอบเพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ล่าช้า และเป็นเหตุให้ อ.ส.ย.จ่ายเงินค่าซื้อยางแก่สถาบันเกษตรกรช้าไปด้วย

สำหรับ เงินที่ อ.ส.ย.ค้างจ่ายสถาบันเกษตรกร หากเป็นการซื้อก่อนเดือนกันยายนนี้จะใช้วงเงิน 2,000 ล้านบาท ที่โยกย้ายส่วนหนึ่งจากวงเงิน 5,000 ล้านบาทที่จะปล่อยกู้ให้สถาบันเกษตรกรมาจ่าย แต่กรณีที่ อ.ส.ย.ซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรในเดือนกันยายนนี้ จะต้องรอเงิน 5,000 ล้านบาทที่เพิ่งได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีให้ อ.ส.ย.กู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 3 หมื่นล้านบาทมาจ่ายต่อไป คาดว่าสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง จะอนุมัติค้ำประกันวงเงินกู้ให้ อ.ส.ย.ต่อ ธ.ก.ส.ได้กลางเดือนตุลาคมศกนี้

ส่วนแนวโน้มราคายางในตลาดโลก นายชนะชัยกล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 กันยายน ประเทศมาเลเซียในฐานะสมาชิกสภามนตรีไตรภาคียางพารา (ITRC) ได้ประชุมถึงหลักเกณฑ์การลดปริมาณส่งออกยางกับผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งวันที่ 28 กันยายน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประชุมหลักเกณฑ์การลดปริมาณการส่งออกกับผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเริ่ม ปฏิบัติการลดส่งออกยางในวันที่ 1 ตุลาคมนี้

"ก็ต้องวัดใจประเทศผู้นำ เข้ายางว่าในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมนี้จะนำเข้ายางมากน้อยเพียงใด เพราะเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ปีหน้าจะต้องแย่งกันซื้อก่อนฤดูยางผลัดใบ หากมาซื้อช่วง 2 เดือนสุดท้ายปีนี้มากขึ้นแทนก็จะส่งผลดีต่อราคายาง นอกเหนือจากมาตรการชะลอการส่งออกยางของไทยที่ช่วยดันราคายางในช่วงดังกล่าว" นายชนะชัยกล่าว

สำหรับผลกระทบต่อรายได้และกำลังซื้อของชาวสวนยาง นั้น นายวิเลิศ ด่านขุนทด ผู้บริหารฝั่งอ่าวไทย บริษัท วี.เอส.อาร์.ออโต้เซลส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ค่ายเชฟโรเลต เปิดเผยว่า ปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของเศรษฐกิจในภาคใต้ ต้องยอมรับว่ามีผลกระทบต่อยอดขายบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าชาวสวนยาง เพราะราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายของลูกค้ากลุ่มนี้ลดลงประมาณ 30% ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยางมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าหากรัฐบาลมีมาตรการที่ดีและรักษาเสถียรภาพราคายางได้ เกษตรกรมีความมั่นใจ ก็จะกลับมาใช้จ่ายได้เหมือนเดิม

"การทำตลาดกับ ลูกค้ากลุ่มชาวสวนยางคงต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากปัญหาราคายางเชื่อมโยงกับการส่งออกและตลาดต่างประเทศ ทำให้ปัญหาราคายางในครั้งนี้ดูเหมือนจะหนักกว่าทุกครั้ง"

นายเอก ภัทร ชำนาญระเบียบกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามนิสสัน พัทลุง และผู้จัดการบริษัท เอกภัทร สามเอก จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์

นิสสัน และรถจักรยานยนต์ฮอนด้า ซูซูกิ ยามาฮ่า เปิดเผยว่า ภาวะราคายางพาราที่ตกต่ำมีผลกระทบต่อตลาดรถ ทำให้ยอดขายรถยนต์ตกต่ำ และมียอดสินเชื่อผ่อนชำระคงค้างอยู่บ้าง แต่ไม่มาก เพราะส่วนหนึ่งหากไม่มีกำลังผ่อนชำระ ก็จะส่งมอบรถคืนให้กับบริษัท ส่วนรถจักรยานยนต์ทั้งยอดขายและยอดผ่อนชำระโดยภาพรวมมีปัญหาประมาณ 15%

"อีก ระยะนี้คงมีผลกับยอดขายและยอดผ่อนชำระ แต่ต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้เงินอีก 30,000 ล้านบาท เพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางที่จะออกมาในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ คงจะช่วยผ่อนคลายไปในทางที่ดี"

sukree605

ก็ว่ากันไปนะคับ สำหรับประเทศไทย ... แล้วแต่รัฐบาลจะว่านิ

คำนึง เพชรมาก

  โอ้พระเจ้า  ตอนนี้ราคาน้ำยางสดแถวๆสะเดา   บ้านผม  อยู่ที่82บาทต่อกิโล
ก็พอถูไถล่ะครับ  ถ้าพวกที่ผ่อนรถ  ส่งลูกเรียนสัก2คน  ก็จะไม่เหลือเงินเก็บเลยครับ
แต่ราคาปุ๋ยสิครับ  ขึ้นไปที่กระสอบละ980  ปุ๋ยตรามงกุฏ  เพิ่งซื้อมาเมื่อวันเสาร์นี่เอง
แต่ถ้ายี่ห้ออื่น  ไม่แน่นอนครับ  แถมช่วงนี้  ยางก็ไม่ออกอีกต่างหาก   อาจเป็นเพราะโลกร้อน
หรืออะไรก็ไม่รู้นะ  ใครช่วยได้  หรือใครมีหน้าที่ช่วยก็ได้โปรดเถอะครับ  ชาวเกษตรกรเดือดร้อนแน่
ถ้าราคาตกลงไปเกินกว่านี้    ผมไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร  แต่เมื่อก่อนทำไม  กิโล   150ยังทำได้
ตอนนี้ขอที่120ก็  ถือว่าพอดีแล้วล่ะ

ฝันกลางวัน

อ้างจาก: คำนึง  เพชรมาก เมื่อ 10:49 น.  03 ต.ค 55
  โอ้พระเจ้า  ตอนนี้ราคาน้ำยางสดแถวๆสะเดา   บ้านผม  อยู่ที่82บาทต่อกิโล
ก็พอถูไถล่ะครับ  ถ้าพวกที่ผ่อนรถ  ส่งลูกเรียนสัก2คน  ก็จะไม่เหลือเงินเก็บเลยครับ
แต่ราคาปุ๋ยสิครับ  ขึ้นไปที่กระสอบละ980  ปุ๋ยตรามงกุฏ  เพิ่งซื้อมาเมื่อวันเสาร์นี่เอง
แต่ถ้ายี่ห้ออื่น  ไม่แน่นอนครับ  แถมช่วงนี้  ยางก็ไม่ออกอีกต่างหาก   อาจเป็นเพราะโลกร้อน
หรืออะไรก็ไม่รู้นะ  ใครช่วยได้  หรือใครมีหน้าที่ช่วยก็ได้โปรดเถอะครับ  ชาวเกษตรกรเดือดร้อนแน่
ถ้าราคาตกลงไปเกินกว่านี้    ผมไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร  แต่เมื่อก่อนทำไม  กิโล   150ยังทำได้
ตอนนี้ขอที่120ก็  ถือว่าพอดีแล้วล่ะ
เมื่อก่อน 150 บ.เพราะเศรษฐกิจจีนเพิ่งจะบูมเหมือนเมืองไทยยุคฟองสบู่ก่อนปี 2540 ถึงวันนี้เศรษฐกิจจีนเริ่มสะท้อนความจริงตกสะเก็ดตามภาวะเศรษฐกิจโลก ฟองสบู่เริ่มแตกเหมือนเมืองไทยเพียงแต่รัฐบาลจีนมีเงินเยอะที่สุดในโลกเลยภาพรวมไม่เป็นอะไร ส่วนเอกชนต้องชะลอตัวเพราะซื้อไปแล้วจะเอาไปขายใคร ถังแตกกันทั่วโลก ส.งอน ส.ชิชิ ส.ชิชิ ส.ชิชิ ส.ชิชิ