ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

มือชา : ผังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

เริ่มโดย หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop), 21:34 น. 22 ต.ค 55

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS

    เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาท (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขน และมือ และรับความรู้สึก บริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง  เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ

    ซึ่งบริเวณข้อมือนั้น จะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้เกิดการแคบลงจากสาเหตุต่างๆ เช่นการอักเสบ การบวมน้ำ หรือมีสิ่งอื่นมากดทับ ก็จะเป็นผลให้เส้นประสาท median nerve ถูกกดทับ ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ชา ตั้งแต่บริเวณข้อมือจนถึงปลายนิ้ว

    ซึ่งมักมีอาการมากบริเวณนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หรือในบางรายอาจมีอาการได้ทั้งฝ่ามือ ถ้าเส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น จะทำให้อาการอ่อนแรงของมือ หยิบจับของลำบาก หรือถือของหล่นบ่อยๆ และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือลีบลง

ผู้ป่วยที่มีโอกาสจะเป็น CTS

1. ชาหรือปวดบริเวณมือ โดยมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด อาการส่วนมากมักเป็นเวลากลางคืนหลังจากนอนหลับสักพักบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดมือแล้วอาการจะดีขึ้นขั่วคราว

2. เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย

3. อายุที่พบบ่อยคือประมาณ 35-40 ปี

4. ผู้ที่มีข้อมือค่อนข้างกลม

5. สตรีอาจมีอาการขณะตั้งครรภ์

6. ผู้ที่ใช้ข้อมือกระดกขึ้นลงบ่อยๆ หรือทำงานที่มีการสั่นสะเทือน ของมือและแขนอยู่เป็นเวลานาน

ดังนั้นจะพบโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มแม่บ้านที่ทำกับข้าว ซักผ้า พนักงานโรงงาน พนักงานขุด เจาะถนน

การวินิจฉัยโรค

     ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น เมือตรวจร่างกาย จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณมือที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทมีเดียนอ่อนแรง ทำให้ไม่สามารถต้านแรงของผู้ตรวจได้ นอกจากนี้ยังมีอาการชาของปลายนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง รวมทั้งครึ่งนิ้วนางด้านนิ้วโป้งอีกด้วย บางครั้งเมื่อใช้นิ้วมือเคาะบริเวณข้อมือจะมีอาการคล้ายไฟช็อตไปตามนิ้วมือ

     นอกจากนี้การตรวจด้วย คลื่นไฟฟ้าวินิจฉัย EMG ซึ่งเป็นการตรวจที่สามารถยืนยันการวินิจฉัย และใช้แยกโรคบางอย่างที่มีอาการคล้ายๆ กัน เช่น โรคกระดูกต้นคอทับเส้นประสาท, การกดทับเส้นประสาท Median ที่บริเวณอื่น, การกดทับของเส้นประสาท Ulnar, Polyneuropathy, ภาวะปวดจากกล้ามเนื้อ ฯลฯ และยังสามารถช่วยติดตามผลของการรักษา

การรักษา

     1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจำวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ใน การทำกิจกรรมต่างๆ แทนเช่น การกวาดบ้าน การแปรงฟัน ฯลฯ เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ

     2. การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำ Ultrasound การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก

     3. การใส่เครื่องช่วยพยุงมือในเวลากลางคืน ซึ่งจะช่วยจัดท่าของข้อมือให้อยู่ในท่าที่ดีที่สุดเวลานอน เพื่อช่วยลดอาการปวดและเป็นการเตือนผู้ป่วยไม่ให้กระดกข้อมือมากเกินไป เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นก็สามารถหยุดการใส่ได้

     4. ยาในกลุ่มยาลดการอักเสบ (NSAID) สามารถลดอาการอย่างได้ผล แต่ในผู้ที่รับประทานยาติดต่อกันนานๆ อาจมีผลข้างเคียงคือ ปวดท้อง และความสามารถในการแข็งตัวของเลือดลดลง จึงแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ หรือบางครั้งอาจให้ร่วมกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งในปัจจุบันยากลุ่มนี้ได้มีการพัฒนาเพื่อทำให้ผลข้างเคียงดังกล่าวลดลง และจำนวนครั้งในการรับประทานต่อวันยังลดลงอีกด้วย

     5. การผ่าตัด มักจะพิจารณาในผู้ที่มีอาการค่อนข้างมาก ซึ่งได้ผลดีในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย และหลังจากที่แผลหายดีแล้ว ควรจะมีการฝึกการบริหารมือและ ข้อมือ เพื่อให้เส้นเอ็นและเส้นประสาทของมือเคลื่อนไหวได้สะดวก ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวดหรือลูบเบาๆ บริเวณแผล การใช้ความร้อนความเย็น และยาเพื่อช่วยลดอาการเจ็บปวด
คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com

SuperNan

เอ่อ สอบถามหน่อยค่ะว่า ถ้าลักษณะ คล้ายๆ อาการล็อกของหัวแม่โป้งละค่ะ ไม่ได้ล็อคที่ข้อนิ้ว แต่มันเกิดการล็อคที่ข้อมือและ เจ็บที่เส้นเอ็น มันคืออะไรค่ะ

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

อ้างจาก: SuperNan เมื่อ 16:10 น.  23 ต.ค 55
เอ่อ สอบถามหน่อยค่ะว่า ถ้าลักษณะ คล้ายๆ อาการล็อกของหัวแม่โป้งละค่ะ ไม่ได้ล็อคที่ข้อนิ้ว แต่มันเกิดการล็อคที่ข้อมือและ เจ็บที่เส้นเอ็น มันคืออะไรค่ะ

ถ้านิ้วล๊อก (Trigger Finger) น่าจะเกิดจากการอักเสบของเอ็บกับปลอกหุ้มเอ็นจากการเสียดสีครับ

แต่ถ้าเจ็บที่มือตรงข้อมือ (wrist) เข้าใจว่าจะเป็น ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (โรคเดอ เกอร์แวง, De Quervain's Disease)

ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดและบวมบริเวณข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของ นิ้วหัวแม่มือ เช่น เวลาเหยียดและงอนิ้วหัวแม่มือเต็มที่ บิดเสื้อผ้า ยกขันน้ำ กวาดพื้น เป็นต้น ในผู้ป่วยบางรายอาจคลำได้ก้อน บริเวณข้อมือด้วย
คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com

หมอพิชญานนท์ (Dr.Pop)

CTS อีกเรื่องนึงที่สำคัญ แต่ทำได้ยากคือการหลีกเลี่ยงจากงานประจำที่ทำให้เกิดอาการครับ
คลินิกหมอพิชญานนท์ แพทย์เฉพาะทาง รพ.ม.อ. (สามแยกคลองเรียน อ.หาดใหญ่) แผนที่ https://goo.gl/wp5jbc
โรคทั่วไป โรคเรื้อรัง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน ความดัน ไขมัน เก๊าท์ ฉีดยา เจาะเลือด ยาคุม ใบรับรองแพทย์สุขภาพ
กระเพาะ กรดไหลย้อน ผื่นแพ้ ลมพิษ เชื้อรา ซึมเศร้า แพนิค โทร. 080-488-9555 Line@ : @Pitchayanont
Facebook : http://www.facebook.com/pitchayanontclinic Website : http://www.pitchayanont.com