ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

กรมทางหลวงเร่งศึกษาเปิดประชุม"ทางหลวงพิเศษฯ หาดใหญ่ - มาเลฯ"

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 10:53 น. 25 ต.ค 55

ทีมงานประชาสัมพันธ์

วันนี้(25 ตุลาคม 2555) เวลา 9.30 น. นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการ(ครั้งที่1)การศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการลงทุน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สาย อ.หาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย โดยมี นายชัยทิศ พิเศษสกลกิจ เศรษฐกรชำนาญการพิเศษ และผู้จัดการโครงการและผู้ควบคุมงาน กรมทางหลวง ให้การต้อนรับ ณ โรงแรม บีพี แกรนด์ทาวเวอร์ หาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

[attach=2]

รองผู้ว่าฯกล่าวว่า จังหวัดสงขลา เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่ติดกับประเทศมาเลเซีย มีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม การท่องเที่ยว  และมีการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่สำคัญ ที่ด่านสะเดา และ ปาดังเบซาร์ โดยเส้นทางสายหลักที่ใช้ในการเดินทางจากด่านสะเดา เข้าสู่ อ.หาดใหญ่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนกาญจนวนิช) ที่ปัจจุบัน มีปริมาณจราจรหนาแน่นมากขึ้น ส่งผลให้การเดินทางเข้าออกของนักท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าเข้าออกระหว่างชายแดน เกิดความล่าช้า อีกทั้งเส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างประเทศ และการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้ ยังเพิ่มช่องทางการเข้าสู่เมืองหลักสำคัญของจังหวัดสงขลา ให้กับตลาดนักท่องเที่ยวเพื่อนบ้านได้มากยิ่งขึ้น โดยนำไปสู่การกระตุ้นการสร้างความตื่นตัวด้านการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่โดยรวม ดังนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่เพิ่มมากขึ้น และรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่างประเทศไทย กับ มาเลเชีย รวมทั้งการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่จังหวัดภาคใต้ และภาพรวมของประเทศ

นายชัยทิศ พิเศษสกลกิจ กล่าวด้วยว่า สำหรับความเป็นมาของโครงการโดยกรมทางหลวง รับทราบปัญหาของทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนกาญจนวนิช) ที่ปัจจุบัน มีปริมาณจราจรหนาแน่นมากขึ้น ส่งผลให้การคมนาคมขนส่ง เกิดความล่าช้า อีกทั้งเส้นทางสายนี้ถือเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่สำคัญระหว่างประเทศ และการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีแนวโน้ม ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกรมทางหลวง จึงได้วางแผนพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สาย อ.หาดใหญ่ – ชายแดนไทย – มาเลเซีย ตามแผนแม่บทการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองของประเทศไทย

[attach=3]

กรมทางหลวง จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัดและ บริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนการลงทุน ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สาย อ.หาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ก่อนการลงทุน เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อประชาชน นอกจากนี้ กรมทางหลวงยังตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ เพื่อรับทราบข้อมูล ข่าวสาร และรายละเอียดโครงการ ตลอดจนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ

ดังนั้น ในครั้งนี้จึงได้จัดให้มีการประชุมปฐมนิเทศโครงการ (ครั้งที่ 1) ในพื้นที่โครงการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้กระบวนการตัดสินใจในขั้นตอนต่างๆ ของโครงการเป็นไปด้วยความรอบคอบ ชัดเจน มีเหตุผล ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อันจะเป็นประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงานโครงการให้ประสบความสำเร็จโดยได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน นายชัยทิศ กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับตัวโครงการ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เว็บ http://www.hatyaimotorway.com

หาดแก้ว

โครงการนี้ถ้าไม่พ่วงกับฟลัดเวย์  จะเกิดยากมาก  เพราะรัฐบาลจะไม่เห็นความสำคัญ เพราะหลายๆโครงการรัฐบาลปัจจุบันโยกงบไปภาคอื่นหลายโครงการแล้ว

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: หาดแก้ว เมื่อ 11:10 น.  26 ต.ค 55
โครงการนี้ถ้าไม่พ่วงกับฟลัดเวย์  จะเกิดยากมาก  เพราะรัฐบาลจะไม่เห็นความสำคัญ เพราะหลายๆโครงการรัฐบาลปัจจุบันโยกงบไปภาคอื่นหลายโครงการแล้ว
หมัน
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)