ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ทำไมหลินจือรักษาโรคร้ายได้หลายโรค

เริ่มโดย พัชรรักษ์, 12:51 น. 01 พ.ย 55

พัชรรักษ์

เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารออกฤทธิ์อย่างน้อย 7 อย่างในเห็ดหลินจือที่เป็นสารประกอบที่เป็นประโยชน์จากเห็ดหลินจือ  ได้แก่

1. โพลีเเซคคาไรด์ ( Polysaccharide)
เป็นสารประกอบเชิงซ้อนของน้ำตาล พบว่ามีอยู่ในเห็ดหลินจือ  โพลีซัคคาไรด์มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  เเละยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์คุ้มกันของร่างกายให้ทำหน้าที่ทำลายสิ่งเเปลกปลอมจากภายนอกที่เข้ามาสู่ร่างกายรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ

2. ไตรเทอร์พีน (Triterpene) 

เป็นสารประเภทกรดไขมัน จัดเป็นสารอินทรีย์ พบมากเป็นพิเศษในสปอร์ของ เห็ดหลินจือ ในทางเภสัชเคมีไตรเทอร์พีนมีรสขมเเละฝาด (ซึ่งเป็นรสหลักของเห็ดหลินจือ) เเละประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางยามากกว่า 100 กว่าชนิด (ดังคำโบราณที่ว่าขมเป็นยา) ไตรเทอร์พีนจัดเป็นสารออก ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเเละรักษาโรคมะเร็ง

3. เปปติโดไกลเเคน (peptidoglycan)

เป็นสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างโปรตีนและน้ำตาล มีฤทธิ์ทางเภสัชเคมีที่สำคัญคือช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

4. โปรตีน LZ-8

เป็นโปรตีนที่ค้นพบในเห็ดหลินจือ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สำคัญคือ      ควบคุมเบาหวาน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เเละลดการอักเสบของตับ

5. โปรโตอัลคาลอยด์ (protoalkaloid)

เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์อัลคาลอยด์ มีฤทธิ์รักษาอาการกล้ามเนื้อลีบ ยับยั้ง การจับตัวของเกล็ดเลือด และช่วยละลายลิ่มเลือดที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด

6. นิวคลีโอไซด์ (nucleoside)

เป็นสารในกลุ่มกรดอะมิโน มีฤทธิ์คล้ายโปรโตอัลคาลอยด์ โดยมีฤทธิ์รักษาอาการกล้ามเนื้อลีบ ยับยั้ง การจับตัวของเกล็ดเลือด ช่วยละลายลิ่มเลือดที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด

7. กาโนเดอร์สเตอโรน (ganodesterone)

เป็นสเตรอยด์ชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ เเละทำให้รอยเเผล เป็นที่เป็นผลจากสารเคมีเเละอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์เเละทิ้งรอยเเผลเป็นไว้ให้อ่อนนุ่มลง

8. เออร์โกสเตอรอล ( Ergosterol) หรือโปรวิตามินดี 2
เป็นสารตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์วิตามิน ดี

จึงทำให้เห็ดหลินจือ...รักษาโรค  ได้ดังนี้

•    โรคมะเร็ง
     ความสนใจในอันดับต้นๆ  จากนักวิจัยทั่วโลก   และเรื่องที่มีการวิจัยมากที่สุดก็คือเรื่องของโรคมะเร็ง  มีรายงานการวิจัยมากกว่า100โครงการที่ได้รับการยอมรับเป็นสากล   เปิดเผยผลการค้นพบสารออกฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งในเห็ดหลินจือหลายชนิด คือ เบต้าดีกลูแคน  ( Beta-D-Glucan ) และสารกลุ่มจำพวก      โพลิแซ็กคาไรด์ ( Polysaccharides ) หลายชนิด  โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด บี-เซลล์ ( B-cells ) และที-เซลล์ ( T-cell)  ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของสาร  สารอิมมูโนโกลบูลิน ( lmmunoglobulin ) และ สารอินเตอร์ลิวคิน ( Interleukins ) ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน  โดยจะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมเช่น เซลล์มะเร็ง  หรือสารก่อมะเร็ง  และเซลล์ผิดปกติ  รวมถึงต่อต้านเชื้อโรคและไวรัส
ที่ประเทศญี่ปุ่นมีการ ทดลองให้น้ำต้มเห็ดหลินจือ 100 ml  ต่อน้ำหนักตัว หนู  1  กก.ที่เป็นมะเร็ง  โดยฉีดน้ำเข้าท้องหนูทางปาก พบว่าสามารถหยุดเซลล์มะเร็งได้ถึง 95.6 %และยังทดลองต่อโดยเพิ่มน้ำต้มเห็ดเป็น  500  ml ต่อน้ำหนักตัว  หนู  1  กก. พบว่าสามารถหยุดเซลล์มะเร็งได้เพิ่มขึ้นถึง  98.6 %

        และที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ปักกิ่งประเทศจีน  ได้ทดลองใช้เห็ดหลินจือรักษามะเร็งที่ตับหนูเป็นเวลา  10  วัน  พบว่าได้ผลในการหยุดเซลล์มะเร็งได้  95.6-98.5 %  ใกล้เคียงกับการทดลองญี่ปุ่น   
สำหรับการใช้เห็ดหลินจือร่วมกับยาชนิด อื่นๆ ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ส่งผลเสียในการรักษา  มีรายงานในวารสารทางวิชาการได้พูดถึงการใช้เห็ดหลินจือร่วมกับยาอื่นๆ ในการรักษาโรคมะเร็งในไขกระดูก  ที่โรงพยาบาลแพทยแผนจีนในเมืองเซี่ยงไฮ้  และการใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร 
ในประเทศ ญี่ปุ่น  แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่เป็นยาสำเร็จรูป  โดยแพทย์จะใช้เห็ดหลินจือรักษามะเร็งควบคู่ไปกับยาแผนปัจจุบัน เป็นการเสริมฤทธิ์ยาให้แก่กัน  วิธีรักษาแบบนี้เรียกว่า Complementary treatment  หมายถึงการรักษาที่สมบูรณ์แบบ 2 ทาง นอก   จาก นี้เห็ดหลินจือยังสามารถนำไปใช้ร่วมกันกับยาสมุนไพรตัวอื่นๆ ได้โดยไม่ขัดแย้งกัน

        รักษามะเร็ง มีทั้งชนิดรับประทาน  และชนิดฉีด  หรือจากการฉายรังสี   เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย  เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง  คลื่นไส้  อาเจียน  ผมร่วง  เป็นต้น พบว่ายาสกัดจากเห็ดหลินจือสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้  ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด   อาการอ่อนเพลียและเบื่ออาหารจะหายไป   อาการคลื่นไส้  อาเจียน   ผมร่วง จะลดลงและหายไป   และยังพบอีกว่ามีการเพิ่มขึ้นของระบบภูมิคุ้มกัน   ส่งผลให้ภาพโดยรวมในการรักษาเป็นที่น่าพอใจ   คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น
และสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วย ต้องได้รับการรักษาโรคมะเร็งโดยการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก   จากการศึกษาโดยให้ผู้ป่วยกินสารสกัดจากเห็ดหลินจือก่อนผ่าตัด และให้กินหลังผ่าตัดเอาก้อนเนื้อร้ายออกไปแล้ว  พบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือ  ช่วยให้ผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งฟื้นตัวแข็งแรงสมบูรณ์เร็วขึ้น
ที่ประเทศเกาหลี  มีรายงานว่าสามารถใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือรักษาหนูที่เป็นมะเร็ง ( Sarcoma 180 ) จนหายขาดเป็นปกติได้



       บทสรุป  เห็ดหลินจือ   นับเป็น " ราชาแห่งสมุนไพร " ที่มีผลงานวิจัยต่อเนื่องมากที่สุดในอับดับต้นๆ ของโลก  ในเรื่องของโรคมะเร็ง   และเป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่า   มีคุณสมบัติทางชีวภาพและเภสัชวิทยา   ที่กว้างขวาง คือ  ต่อต้านมะเร็ง  ปรับระบบภูมิคุ้มกัน   ต้านออกซิเดชั่น  และกำจัดอนุมูลอิสระ   กลุ่มสารที่มีบทบาทสำคัญต่อคุณสมบัติดังกล่าวคือ " โพลิแซ็กคาไรด์ "


ส่วนในคนที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง   สนับสนุนให้ใช้เห็ดหลินจือบำรุงร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและต่อต้านมะเร็ง 
( Cancerchemoprevention )

•     โรคหัวใจ
    ทำไมเห็ดหลินจือถึงสามารถรักษาโรคหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ และโรค Stroke ได้
ก่อนอื่นต้องรู้สาเหตุของโรคเหล่านี้ก่อน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่


1. สาเหตุที่หนึ่งการเกาะตัวของลิ่มเลือดทำให้เส้นเลือดอุดตันโดยปกติแล้วการ ก่อตัวของเกร็ดเลือดให้เป็นลิ่มเลือดนั้นมีความจำเป็นต่อ การห้ามเลือดและการสมานแผล แต่หากลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนเกินไปทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรค เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรค Stroke กล่าวคือ ถ้าเส้นเลือดที่อุดตันเป็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจก็เป็นโรคเส้นเลือด หัวใจตีบ ถ้าอุดตันมากจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่ถ้าเส้นเลือดที่อุดตันเป็นเส้นเลือดในสมองก็จะเรียกว่าโรค Stroke
โรค Stroke เกิดจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน และเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนในที่สุด
หลินจือช่วยได้ : เห็ดหลินจือสามารถละลายลิ่มเลือดไม่ให้อุดตันได้
เห็ด หลินจือมีสารสำคัญที่เรียกว่า นิวคลีโอไชด์ ซึ่งมีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดที่อุดตัน ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายเกินไป จนเกิดการอุดตันของเส้นเลือด
เห็ดหลินจือไม่ได้ช่วยแค่เส้นเลือดที่หัวใจ เท่านั้น ยังรวมถึงเส้นเลือดทุกแห่ง รวมทั้งเส้นเลือดในสมองด้วย เห็ดหลินจือจึงสามารถรักษาโรค Stroke ได้
นอกจากนั้น เห็ดหลินจือช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ
เห็ด หลินจือมีสารเยอมาเนียมที่ช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อ เมื่อร่างกายขาดออกซิเจนก็สามารถดึงออกซิเจนจากเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้ ทำให้รอดพ้นจากสภาวะวิกฤต อันนี้ขออธิบายทีหลัง

2. สาเหตุที่สองคือ ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดมากเกินไปจนเกาะเส้นเลือดทำให้เกิดการอุดตัน เมื่อเส้นเลือดหัวใจตีบมากจนอุดตัน เลือดก็ส่งไปเลี้ยงหัวใจไม่ทัน เกิดภาวะการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ
เห็ดหลินจือช่วยได้ : เห็ดหลินจือช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด

เห็ดหลินจือมีสารไตรเทอพิน ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้มีมากเกินไป ซึ่งเห็ดหลินจือก็ช่วยขจัดอีกสาเหตุหนึ่งของโรคไปได้

สรุป : เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรค Stroke ได้


1.เห็ดหลินจือสามารถละลายลิ่มเลือดไม่ให้อุดตันได้


2.เห็ดหลินจือช่วยในการเพิ่มออกซิเจนที่สะสมในเนื้อเยื่อทำให้รอดพ้นหากเกิดสภาวะวิกฤตเมื่อหัวใจหรือสมองขาดออกซิเจน


3.ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ให้มีมากเกินไป


4. คนที่เป็นโรคหัวใจรักษาด้วยแผนปัจจุบันต้องรับประทานยาไปตลอด ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการรับประทานยาแผนปัจจุบันไปนานๆ ตับจะเสือม เห็ดหลินจือยังช่วยบำรุงตับให้ดีขึ้นอีกด้วย
การผ่าตัดทำบายพาส (By-Pass) คือการเอาเส้นเลือดที่อื่นไปเชื่อมต่อกับเส้นเลือดหัวใจ เพื่อให้เลือดเบี่ยงจากส่วนที่ตีบการผ่าตัดทำบายพาส หรือจะเป็นการทำบอลลูนขยายเส้นเลือดเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ต้นเหตุของเส้นเลือดตีบไม่ได้รับการแก้ไข

ทำไมเห็ดหลินจือถึงช่วยที่เป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการขาดออกซิเจนฉับพลันให้รอดพ้นจากสภาวะวิกฤตได้
อาหาร ที่เรากินเข้าไปโดยเฉพาะ แป้ง โปรตีน ไขมัน โดยโครงสร้างของมันจะประกอบด้วย คาร์บอน กับ ไฮโดรเจน เมื่อร่างกายเผาผลาญอาหารโดยใช้ออกซิเจนแล้ว จะเกิดของเสีย 2 ตัวคือ คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจน ซึ่งของเสียทั้ง 2 ตัวนี้จะต้องถูกกำจัดออกไปจากร่างกาย คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกกำจัดออกโดยการหายใจโดยจะระบายออกทางปอด ส่วนไฮโดรเจนจะถูกกำจัดโดยใช้ออกซิเจนในร่างกายมาจับกันกลายเป็นน้ำแล้ว ระบายออกดังนั้นออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปจึงถึงแบ่งเอาไปใช้ 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาผลาญอาหาร อีกส่วนหนึ่งใช้ในการกำจัดของเสีย หากมีออกซิเจนหลือก็จะถูกเก็บสำรองไว้ในเนื้อเยื่อ
เหตุผลที่เห็ดหลินจือ สามารถช่วยที่เป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการขาดออกซิเจนฉับพลันให้รอด พ้นจากสภาวะวิกฤตได้ ก็เพราะ ในเห็ดหลินจือมีสารเยอมาเนี่ยม สารนี้มีโครงสร้างที่สามารถจับตัวกับไฮโดรเจนแล้วขับออกจากร่างกายได้ ทำให้เห็ดหลินจือ ช่วยขจัดของเสียอย่างไฮโดรเจนไป ทำให้ร่างกายมีออกซิเจนเหลือจึงเก็บสำรองไว้ในเนื้อเยื่อต่างๆได้ นั่นคือ เห็ดหลินจือ ช่วยในการขจัดของเสียแทนออกซิเจน ร่างกายจึงมีออกซิเจนเหลือเก็บไว้ในเนื้อเยื่อ หากเกิดเหตุการณ์ขาดออกซิเจนฉับพลัน ร่างกายก็จะดึงเอาออกซิเจนจากเนื้อเยื่อบริเวณนั้นมาใช้ได้


•    โรคเบาหวาน

เห็ดหลินจือกับการรักษาโรคเบาหวาน

        เมื่อ พูดถึงเรื่องสมุนไพรกับโรคเบาหวาน เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสารสำคัญทางยาที่ลดน้ำตาลใน เลือดได้คือสาร ที่อยู่ในกลุ่มของ โพลีแซ็กคาไรด์ ได้แก่ กาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือด( Hypoglycemic effect ) ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของสารอินซูลินซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลไป ใช้เป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย

        ปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรสารสำคัญในเห็ดหลินจือ คือกาโนเดอแรน เอ บี และ ซี (Ganoderans A,B,C,) ทำเป็นยารักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีข้อบ่งชี้ใช้ลดน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังทำการค้นคว้าต่อไปอีก ก็พบว่ายังมีสมุนไพรอื่นอีกที่มีสารสำคัญในการลดน้ำตาลได้คือ มะระขี้นกสมุนไพรไทย สำหรับสรรพคุณทางยาในตำรายาแผนโบราณของไทย ผลใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี แก้โรคม้ามและตับ เป็นยาแก้ไข้ ขับพยาธิ น้ำคั้นเป็นยาระบายอ่อน ๆ ผลใช้อมแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาวิจัยด้านองค์ประกอบทางเคมีและ เภสัชวิทยาของมะระขี้นกพบว่า มะระขี้นกมีสารอนุพันธ์ โอโซนพรี นอยด์ แสดงฤทธิ์ ลดน้ำตาลในเลือด ต้านจุลชีพ และต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสารสำคัญเพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิด คือ สารชาร์แรนติน (Charantin)และกลุ่มโปรตีนโปลีเปปไทด์ พี ( Polypeptide P ) แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้เช่นกัน
มีรายงานการทดลองกับสัตว์พบว่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลได้จริง โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลินของเซลล์ตับอ่อน และยังต่อต้านไวรัส รวมถึงเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้เห็ดหลินจือและมะระขี้นกขึ้นทะเบียนเป็น ตำรับยาแผนโบราณ เป็นยาสมุนไพร สรรพคุณบำรุงร่างกายและเจริญอาหาร เป็นความลงตัวของสมุนไพรไทยและ จีนอีกตำรับหนึ่งที่น่าใช้

สรุป เห็ดหลินจือสมุนไพรของจีน กับ มะระขี้นกสมุนไพรของไทย เป็นสมุนไพรที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่ามีสรรพคุณทางยา สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ น่าที่จะช่วยให้ท่านที่ต้องการใช้สมุนไพรได้มั่นใจเพิ่มขึ้น
แต่อย่าง ไรก็ตามในคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่ การรักษาที่สมบูรณ์แบบสนับสนุนให้ใช้วิธีรักษาที่เรียกว่า Complementary treatment จะเป็นผลดีมากกว่าการใช้สมุนไพรเพียงอย่างเดียว

•    โรคตับ

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคตับ


    โรคตับเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ จากเชื้อโรคต่างๆ เช่น  เชื้อไวรัส  เชื้อแบคทีเรีย จากพิษของยาบางชนิด เช่น  ยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง และอื่น ๆ    จากการดื่มสุราเป็นประจำ    รับประทานอาหารดิบ  หรือสุก ๆ  ดิบ ๆ เป็นโรคตับมาแต่กำเนิด  จากไขมันคั่งสะสมในตับ ส่วนใหญ่โรคตับอักเสบที่พบบ่อยที่สุดก็คือโรคตับที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิด บี , ซี  และ ดี


โรคตับติดต่อกันได้หรือไม่



    โรคตับที่สามารถ ติดกันได้เฉเพาะโรคตับที่เกิดจากไวรัสเท่านั้น  ได้แก่ไวรัสตับอักเสบ  เอ  บี  ซี  ดี  และอี   เชื้อไวรัสเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีต่างกัน  ชนิดเอ  และอี   จะแพร่เชื้อออกมาทางอุจจาระไปสู่ชุมชนเช่นตามแหล่งน้ำ  และปนเปื้อนมากับอาหารและน้ำที่เรากินเข้าไป
ส่วนเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี ซี และดี  จะติดต่อกันทางเลือดเหมือนเชื้อไวรัสเอดส์  เช่นโดยทางเข็มฉีดยามีดโกน  ของมีคมที่เปื้อนเลือดคนมีเชื้อ  รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์  และจากมารดาสู่บุตรด้วยเช่นกัน
อาการของโรคตับ
มีไข้  อ่อนเพลียมาก   เบื่ออาหาร   ท้องจะบวมโตแบบท้องมาน  ตัวเหลืองตาขาวเป็นสีเหลืองเป็นดีซ่าน   เจ็บบริเวณตับ   อาเจียน    ถ่ายเป็นเลือด


การรักษาโรคตับ


1.   กำจัดสิ่งที่เป็นเหตุให้ป่วย เช่น งดดื่มสุรา เบียร์ และยาอื่นๆ
2.   กินยาให้ครบตามกำหนดที่แพทย์สั่ง 
3.   ควรได้รับอาหารเสริม  วิตามินบำรุงตับ   เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิ   
       ต้านทาน   และหายเร็วขึ้น
4.   รักษาตามอาการ โดยให้ยาตามอาการต่างๆที่เกิดขึ้น
5.   พักผ่อนให้มากๆ เพื่อให้ตับได้พัก   
6.   ในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัด  เช่น  แก้ไขทางเดินของน้ำดี   
7.    อาจต้องผ่าตัดเปลี่ยนตับ   เอาตับใหม่ที่ดีมาแทน   ซึ่งกรณีนี้จะเป็น 
       ทางเลือกสุดท้าย

    แพทย์ ผู้ทำการรักษาไม่ได้ให้ผู้ป่วยกินยารักษาโรคตับเพียงอย่างเดียว   แต่แพทย์ผู้รักษายังให้อาหารเสริมและวิตามินบำรุงตับ   เพื่อช่วยให้ร่างกายผู้ป่วยมีภูมิต้านทานและหายเร็วขึ้น
ตรงจุดนี้เป็น วิธีการรักษาที่เรียกว่า Complementary treatment  และดูเหมือนว่าเกือบจะทุกโรคล้วนใช้วิธีการรักษา  Complementary treatment  ด้วยกันทั้งสิ้น
ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า   เพราะเหตุใดบรรดานักวิจัยต่างให้ความสนใจศึกษาและค้นคว้าองค์ประกอบทาง เคมี   ผลทางชีวภาพและเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือ  ในเรื่องของโรคตับ   และพบว่าภายในเห็ด

หลินจือมีสารสำคัญทางยาที่ใช้รักษาโรคตับ  สามารถจำแนกสารได้หลายชนิดคือ 


1.   กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์  (Polysaccharides)เป็นกลุ่มสารหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยาปกป้องตับจากสารพิษ (Hepatoprotective activity)โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งสารพิษ เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ไม่ให้ทำลายเซลล์ตับ  นอกจากนี้กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์  ยังยับยั้งการเกิดโรคตับแข็ง (Hepatic crrhosis)  มีผลดีต่อค่าชีวะทางเคมีที่เป็นตัวชี้การทำงานของตับ  คือ ลดระดับสารไฮดร็อกซีโพรลีน(Hydroxyproline)ในตับและลดระดับเอนไซม์   SGOT SGPT  รวมถึง alkali phosphatase ( ALP


2. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์รสขม (Bitter Triterpenoids) เป็นกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ในการปกป้องและรักษาโรคตับ ประกอบด้วย กรดกาโนเดอริค( Ganoderic acid ) และกรดลูซิเดนิค (Lucidenic acid) 
พบ ว่ามีฤทธิ์ต่อต้านสารพิษที่มีต่อตับ(Antihepatotoxie)และยับยั้งการ เจริญ       เติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ (Cytotoxicty on hepatoma cells)นอกจากนี้พบว่ายังมีสาร กาโนโดสเตอโรน(Ganodosterone) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการลดพิษที่มีต่อตับด้วย
โดยเฉเพาะในประเทศเกาหลีใช้ เป็นยาบำรุงตับ  ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรเป็นยาเม็ด 50 mg. มีข้อบ่งชี้ใช้กระตุ้นการทำงานของตับ(Liver function stimulant) เป็นยาที่ประกอบด้วยสารกาโนโดสเตอโรนของเห็ดหลินจือ
สรุป   ความเชื่อในเห็ดหลินจือที่มีผลต่อการรักษาและปกป้องตับคงช่วยให้ผู้ต้องการ ใช้มั่นใจได้ว่า   ไม่เพียงแต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เชื่อว่าปกป้องและรักษาโรคตับได้   ยังมีการจดสิทธิบัตรสกัดเป็นยาเม็ดขาย  รักษาและปกป้องตับ  ด้วยเหตุผลนี้การใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคตับจึงเป็นเรื่องที่เชื่อถือ
ส่วนในคนที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคตับขอสนับสนุนให้ใช้เพื่อบำรุงร่างกายและปกป้องไม่ให้ป่วยเป็นโรคตับได้โดยง่าย


•  โรคไต
        จุฬาฯ ทดลอง "เห็ดหลินจือ" รักษาโรคไตเรื้อรัง  ระบุช่วยฟื้นฟูการทำงานของไตทางเลือกใหม่ใช้แทนการกินยากดภูมิคุ้มกัน
แพทย์ จุฬาฯ ศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย  พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ  เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ  ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน  เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต
รศ. พญ.ดร.นาริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีระวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เปิดเผยว่า  ทีมวิจัยค้นคว้ารักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  เนฟโฟรสิส  ชนิด focal  segmental  sclerosis  ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน  เช่น  สเตียรอยด์  โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ  วันละ  750-1,000  มิลลิกรัม ควบคู่กับการใช้ยาขยายหลอดเลือด  พบว่าช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น  อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน
โรคไตเรื้อรังที่รักษาไม่ได้และไม่หายนั้นเป็นเพราะเราไม่ทราบกลไกการทำลาย ไตที่แท้จริงแต่หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่าสาเหตุจากสารพิษในเลือด  ทั้งจากสารอนุมูลอิสระ  และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้สารชัยโคคายน์ที่ส่งเสริมการ อักเสบ  (tumor necrosis  factor alpha : ทีเอ็นเอฟอัลฟา)  เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด  ทำให้สารหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นจนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด  เกิดเนื้อไตตายได้ "  นักวิจัยกล่าวทั้งนี้  ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง  เนฟโฟรสิส  จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัดและหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า  3.5  กรัมต่อวัน   
ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ  ปริมาณในการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอก่อให้เกิดการอุดตันและยังมีภาวะเผา ผลาญไขมันผิดปกติภาวะต่างๆ เหล่านี้  ทำให้ไตมีการอักเสบเสื่อมและถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด
หลัง จากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว  รศ.พญ.ดร.นริสา  จึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (ganoderma lucidum)  มาทดลองกับผู้ป่วย  เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของ ภูมิคุ้มกัน  พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย
สำหรับอาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา  เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วใน  ปัสสาวะต่อเนื่อง  5 – 10 ปี  กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน  หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี  พบว่าสภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติผู้ป่วยมีการทำงาน ของไตดีขึ้นภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง  และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิม
"ปริมาณของสารจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้นจะอยู่ประมาณ 750-1,000 mgต่อวัน  โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด  ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตได้ดีขึ้น  เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น  ทำให้ความดันภายในไตลดลง"  นักวิจัยกล่าว
นอกจากนี้  การบริโภคสารสกัดในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียง ใดๆ ด้วย  เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก  แต่หากคนปกติทั่วไปต้องการบริโภคเห็ดหลินจือเพื่อบำรุงร่างกายก็อาจไม่จำ เป็นต้องรับสารสกัดในขนาดสูงเช่นนั้นก็ได้
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับ สนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  และนักวิจัยกำลังต่อยอดศึกษาหากลไกทำลายไตในโรคไตเรื้อรังชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มไตอักเสบจากเบาหวานที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งของภาวะไตวาย เรื้อรังขั้นสุดท้าย  รวมทั้งกำลังหาทางพัฒนาวิธีวินิจฉัยความผิดปกติของโรคในระยะเริ่มต้นด้วย

•    โรคภูมิแพ้
•    โรคไขมันในเลือดสูง
•    โรคประสาท
•    โรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต
•    ปวดประจำเดือน
•    โรคริดสีดวงทวาร
•    โรคเอสแอลอี
•    โรคเกาต์


ปริมาณในการบริโภค
    เห็ดหลินจือนิยมมาบริโภคเพื่อบำรุงร่างกายเป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันและรักษาโรค ในปัจจุบันการบริโภคเห็ดหลินจือทำได้หลายวิธี (เรียงตามปริมาณสารที่ได้จากเห็ดหลินจือ จากน้อยไปมาก)


•    นำเห็ดหลินจือมาบดแห้ง บรรจุแคปซูลเหมือนสมุนไพรทั่วๆไป
วิธี นี้ต้นทุนต่ำ ง่ายและราคาถูก แต่ได้สารสำคัญจากเห็ดหลินจือน้อยมาก เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสกัดเอาสารที่สำคัญดูดเข้าไปใช้ในร่างกายได้ รับประทานมากจะเกิดอาการท้องอืด เพราะเห็ดหลินจือ มีลักษณะแข็งคล้ายเนื้อไม้ ย่อยยาก ไม่เหมือนสมุนไพรทั่วๆไป (ไม่แนะนำใช้ใช้วิธีนี้)


•    นำเห็ดหลินจือที่ฝานเป็นชิ้นมาต้มกับน้ำ แล้วใช้เฉพาะน้ำเห็ดหลินจือดื่ม
วิธี นี้ต้นทุนต่ำ ราคาถูก ได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจือประมาณ 30 % เนื่องจากเห็ดหลินจือประกอบด้วยสารที่สามารถละลายในน้ำได้ 30 % ถึงแม้วิธีนี้จะได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจือไม่ครบแต่ก็มากกว่าวิธีแรก โดยจะต้องนำเห็ดหลินจือที่ฝานเป็นชิ้น มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วมาต้มกับน้ำด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง เอาเฉพาะน้ำเห็ดหลินจือมาดื่ม แต่ต้องดื่มในปริมาณที่มากๆ หน่อย


•    นำเห็ดหลินจือมาสกัด โดยใช้เทคโนโลยีในการสกัดร้อน หรือสกัดเย็น บรรจุรูปแบบแคปซูล
วิธี นี้ถึงแม้ต้นทุนจะสูง ราคาแพงแต่ได้ปริมาณสารสำคัญในเห็ดหลินจือที่มีประโยชน์ครบถ้วนมากที่สุดและ สะดวกในการบริโภค เหมาะกับการใช้บำรุงร่างกาย ป้องกันและรักษาโรค

แต่ ละวิธีจะได้ปริมาณสารสำคัญในเห็ดหลินจือไม่เท่ากัน แนะนำให้บริโภคเห็ดหลินจือที่ได้จากการสกัดโดยใช้เทคโนโลยีการสกัด เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเห็ดหลินจือมากที่สุด เพราะ เห็ดหลินจือประกอบด้วยสารที่สามารถละลายในน้ำได้ 30 ส่วนเท่านั้น ไม่ว่าจะต้มนานเท่าไรก็ตาม ดังนั้นในการบริโภคเห็ดหลินจือด้วยวิธีต้มจะได้รับประโยชน์เพียง 30%

สนใจหนังสือหลินจือกับข้าพเจ้าของนายแพทย์บรรเจิด ตันติวิท หรือข้อมูลเห็ดหลินจือเพิ่มเติม ติดต่อ 0887921255
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.บรรเจิด ตันติวิท จากหนังสือหลินจือกับข้าพเจ้า
และข้อมูลจากสวนเห็ดไทย