ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สัมมาอาชีวะ

เริ่มโดย เณรเทือง, 12:23 น. 16 พ.ย 55

เณรเทือง

สัมมาอาชีวะตามความหมายใน มรรคแปด คืออย่างไร
พ่อค้่ามีเขียงหมูในตลาดสด ถือว่าสัมมาอาชีวะหรือไม่?
สมาชิกกระดานลานบุญลองวิสัชณาเล่นๆดูนะครับ

SAM

ผมคิดว่าเราทุกคนมีส่วนในการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ตั้งแต่คนเลี้ยง พ่อค้า คนฆ่า คนขาย คนกิน แต่เราจำเป็นต้องกินมัน ไม่ว่าจะคิดในแง่บวกเข้าข้างตัวเรายังไงเราก็ยังมีส่วนในการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น  ส-ดีใจ

คุณหลวง

การคิดแบบคุณSAM จะไม่เป็นการคิดเบียดเบียนจิตใจตนเองไปหน่อยหรือครับ จริงอยู่วงจรทั้งหมดที่ท่านว่าจะเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ๆต่อๆกันมา แต่ธรรมชาติไม่ได้เหมารวมแบบนั้นหรอกครับ

    จริงอยู่ว่าปรากฏการณ์โดยรวมเชื่อมโยง แต่ทุกข้อห่วงนั้นก็มีเอกภาพของมันอยู่เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมองแบบองค์รวม และแยกย่อยด้วย คนกินไม่ได้สั่ง ไม่ได้ยินดีในการฆ่ามีอยู่ เห็นว่ามีเขาก็กินตามปกติ อย่างนี้จะหาว่าเขามีส่วนร่วมก็ไม่ถูก คนซื้อที่ไม่ยินดีต่อการฆ่ามีอยู่ เขายังมีความจำเป็นในการกิน เขาจึงซื้อ เขาก็ไม่ได้อยู่ในห่วงของการฆ่า

    เราอาจคิดว่า เพราะมีคนกิน คนซื้อ จึงมีคนเลี้ยง คนฆ่า คนขาย มันก็เป็นความจริงระดับหนึ่ง แต่อีกระดับหนึ่ง เราจะเหมาคนกินว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าก็คงไม่ใช่ เพราะเจตนาเขาคือกิน ไม่ใช่ฆ่า แยกส่วนเล็กๆให้ได้ครับ ธรรมชาติไม่เหมารวมทั้งหมดครับ มันมีข้อต่อ มีเจตนาในแต่ละข้อต่ออยู่ เราจะเอาเจตนาข้อหนึ่งไปเหมารวมในอีกข้อไม่ได้ เพราะมันอาจใช่หรือไม่ใช่

    เจ้าของเขียงอาจไม่ยินดีในการฆ่า แต่เขาค้าเพราะเพื่อเลี้ยงชีพก็ได้ หากเหมารวมหมด เราก็อาจจะต้องพูดว่า คนที่สร้างถนนในเมืองสงขลามีส่วนฆ่านายกฯพีระ เพราะคนฆ่าเขาวิ่งมาบนถนนที่พวกนั้นสร้าง เจ้าของโตโยต้ามอเตอร์ก็มีส่วนฆ่า เพราะสร้างรถมาให้เขาใช้ คนสงขลาที่เลือกพีระเป็นนายกฯก็มีส่วนเพราะเลือกพีระ หากเลือกคนอื่นพีระก็ไม่โดนฆ่า พวกสร้างปืนก็มีส่วนเพราะสร้างปืน อย่างนี้เป็นต้น

    เจตนาตนนั้นสำคัญครับ เราต้องรู้เจตนาของเราให้ได้ รวมถึงมองอย่างแยกแยะในองค์รวมให้ออก แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าเราเป็นคนมีบาปที่เราไม่ได้สร้างอยู่ตลอดเวลา

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้องรู้จักมองแบบแยกย่อยเข้าสู่องค์รวม และมองจากองค์รวมสู่ความแยกย่อย แล้วจะเข้าใจอะไรแจ่มชัดขึ้น

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕....มันเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน แต่มีอิสระแท้จริงในตัวเองทุกตัว มีส่วนที่เป็นของมันโดยไม่ขึ้นกับใครเช่นกัน โลกเราก็เช่นนั้น เชื่อมโยงกันหมด แต่มีอิสระในตน รู้จักตนก็รู้จักโลก


    สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 13:45 น.  29 พ.ย 55
การคิดแบบคุณSAM จะไม่เป็นการคิดเบียดเบียนจิตใจตนเองไปหน่อยหรือครับ จริงอยู่วงจรทั้งหมดที่ท่านว่าจะเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่ๆต่อๆกันมา แต่ธรรมชาติไม่ได้เหมารวมแบบนั้นหรอกครับ

    จริงอยู่ว่าปรากฏการณ์โดยรวมเชื่อมโยง แต่ทุกข้อห่วงนั้นก็มีเอกภาพของมันอยู่เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมองแบบองค์รวม และแยกย่อยด้วย คนกินไม่ได้สั่ง ไม่ได้ยินดีในการฆ่ามีอยู่ เห็นว่ามีเขาก็กินตามปกติ อย่างนี้จะหาว่าเขามีส่วนร่วมก็ไม่ถูก คนซื้อที่ไม่ยินดีต่อการฆ่ามีอยู่ เขายังมีความจำเป็นในการกิน เขาจึงซื้อ เขาก็ไม่ได้อยู่ในห่วงของการฆ่า

    เราอาจคิดว่า เพราะมีคนกิน คนซื้อ จึงมีคนเลี้ยง คนฆ่า คนขาย มันก็เป็นความจริงระดับหนึ่ง แต่อีกระดับหนึ่ง เราจะเหมาคนกินว่ามีส่วนร่วมในการฆ่าก็คงไม่ใช่ เพราะเจตนาเขาคือกิน ไม่ใช่ฆ่า แยกส่วนเล็กๆให้ได้ครับ ธรรมชาติไม่เหมารวมทั้งหมดครับ มันมีข้อต่อ มีเจตนาในแต่ละข้อต่ออยู่ เราจะเอาเจตนาข้อหนึ่งไปเหมารวมในอีกข้อไม่ได้ เพราะมันอาจใช่หรือไม่ใช่

    เจ้าของเขียงอาจไม่ยินดีในการฆ่า แต่เขาค้าเพราะเพื่อเลี้ยงชีพก็ได้ หากเหมารวมหมด เราก็อาจจะต้องพูดว่า คนที่สร้างถนนในเมืองสงขลามีส่วนฆ่านายกฯพีระ เพราะคนฆ่าเขาวิ่งมาบนถนนที่พวกนั้นสร้าง เจ้าของโตโยต้ามอเตอร์ก็มีส่วนฆ่า เพราะสร้างรถมาให้เขาใช้ คนสงขลาที่เลือกพีระเป็นนายกฯก็มีส่วนเพราะเลือกพีระ หากเลือกคนอื่นพีระก็ไม่โดนฆ่า พวกสร้างปืนก็มีส่วนเพราะสร้างปืน อย่างนี้เป็นต้น

    เจตนาตนนั้นสำคัญครับ เราต้องรู้เจตนาของเราให้ได้ รวมถึงมองอย่างแยกแยะในองค์รวมให้ออก แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าเราเป็นคนมีบาปที่เราไม่ได้สร้างอยู่ตลอดเวลา

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้องรู้จักมองแบบแยกย่อยเข้าสู่องค์รวม และมองจากองค์รวมสู่ความแยกย่อย แล้วจะเข้าใจอะไรแจ่มชัดขึ้น

    ๑ ๒ ๓ ๔ ๕....มันเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน แต่มีอิสระแท้จริงในตัวเองทุกตัว มีส่วนที่เป็นของมันโดยไม่ขึ้นกับใครเช่นกัน โลกเราก็เช่นนั้น เชื่อมโยงกันหมด แต่มีอิสระในตน รู้จักตนก็รู้จักโลก


    สะบายดี...
สะบายดี    ทำไมจึงเขียนแบบนี้   ส.อืม
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

คนหลง

.



....ตามคุณหลวงมา ส-ฝนเล็บ ส-ฝนเล็บ ส-ดีใจ

จิตอหิงสก

บาปแน่นอน ทาน เนื้อ ไหน ก็บาป ทานมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบาปเท่านั้น ถึง เห็นการฆ่า หรือ ไม่เห็นก็ ตาม เพราะปัจจุบันไม่มีการเอาสัตว์ที่ตายเองมากิน สัตว์ทุกชนิดที่เป็นอาหารย่อมรักชีวิตของมัน ผู้เลือกกินได้ กินเนื้อ ย่อม บาปแน่นอน ถึงไม่ยินดีในการฆ่าก็ตาม ผุ้เลือกทานได้จึงสมควรเลือกทานสิ่งที่ทำความเบียดสัตว์ร่วมโลกน้อยที่สุด คือ ทานพืชผักผลไม้ หรือ เจ มังสวิรัต ที่เข้าใจ ย่อมลดวิบากกรรมแน่นอน สำหรับผู้ที่เลือกทานเองได้ ไม่ใช่ สมณะ ยกไว้กรณีนึงคือ ผู้เป็นผู้ขอ ไม่เลือกกินคือ สมณะ สัตว์ที่ไม่ได้เห็นการฆ่า และตนเองไม่รังเกียจ สัตว์ที่ทานแล้ว ไม่เป็นที่ประนามในภมิลำเนา เผ่าพันธ์ ในพื้นที่นั้นๆ ยืนยันว่าการกินทานทุกอย่างเป็น บาป จะมากหรือ น้อย อยู่ที่ พอ ประทังชีวิตให้อยู่รอดตั้งตนดำรงณ์ชีวิตอยู่ได้นี้ บาปน้อยสุดบางเบา ต้องระลึกขอบคุณแผ่ส่วนบุญกุศล ไปให้สิ่งที่เป็น อาหารทุกอย่างที่เราทานลงไปอย่างจริงใจจึงจะลดวิบากกรรมการกินได้น้อยที่สุด ยืนยันว่า การตั้งชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ย่อมเบียดเบียนเพื่อนร่วมโลกสัตว์เล็กสัตว์น้อยแน่นอน ต้องมีการทำบุญกรวดน้ำอุทิศบุญไปให้ ขอขมาทุกวันที่รอยเท้าเราเหยียบย่ำไปไม่ว่าที่ไหนคือการเบียดเบียนสัตว์ร่วมภพภูมิ วัฎสงสาร จงขอบคุณอาหารทุกคำอย่างจริงใจ แผ่ทำบุญอุทิศกุศล กรวดน้ำ ให้สิ่งที่เป็นอาหารให้เรา เพื่อนร่วมโลกทุกข์สุข บาปมีแน่นอน จะหนัก หรือ บาง เบา อยู่ที่เจตนา ต้องขอขมากรรมอยู่ทุกวัน ทำบุญแผ่เมตตาไปให้เรื่อยๆ ทุกรอยเท้าที่เหยียบย้ำ หนัก เข้า ไปใหญ่ หาก ล้อรถบดเหยียบไปเพราะมันข้ามสิ่งมีชีวิตเล็กๆไม่ได้ ถือศีล 5 ต้องเดินอย่างเดียว ขับรถปั่นจักรยานไปในที่ต่างๆก็ ศีลขาดแล้ว รู้ให้จริงให้ลึก สมณะเท่านั้น ที่ บาปน้อยที่สุด ในการดำรงณ์ชีวิตในประจำวัน แต่ต้อง อยู่ในธรรมวินัย เคร่งครัดในศีล และศึกษาคำสอนพระพุทธองค์ให้เข้าใจแม่นยำ และแค่บอกต่อ คำสอนให้เหมาะสมกับผู้ฟังธรรมก็เพียงพอแล้ว หากสมณะนั้น ยังไม่แม่นยำในธรรมคำสอน ฟัง หลวงตามหาบัวซะfm 105 ท่านพุทธทาส 97.75 หลวงพ่อสนอง 103.5 และพระดีๆหลายองค์ที่ สถานีธรรมนำมาออกอากาศ ฟังให้เยอะ คิดให้มาก อ่าน พระไตรปิฏก หลายๆรอบ และใช้ ปัตจัตตังความเข้าใจตามบุญกรรมของตนที่สร้างมามาไตร่ตรองพิจารณา วิเคราะห์ แล้วจะเข้าใจมากขึ้นว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่าแก้วแหวนเงินทองเพชรนิลจินดา ลาภยศสักการะ ในภพภูมินี้คือ กอบโกยธรรมที่แท้จริง ใคร่ครวญปฏิบัติธรรม ให้ทานทำทานให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ แสวงหาเนื้อนาบุญที่แท้จริงเพื่อให้ทานเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ภาวนาให้เยอะๆคือหัวใจ ที่จะทำให้จิตนิ่ง จนเชื่อธรรมที่พระพุทธองค์สอนทุกอย่างและทำให้เข้าใจธรรมที่เที่ยงตรงมากขึ้น แล้วจะสมหวังไม่ลำบากกับภพภูมิต่อไปที่ จิตเคลื่อนสู่ร่างใหม่ในภพภูมิอื่น วนเวียนอยู่ไม่รู้จบ จนกว่า จะ เข้า อรหันต์ นิพพาน เมื่อรู้ ให้สุด ไม่ว่าภพภูมิไหนก็ไม่น่าที่จะปราถนา อย่าเชื่อ เพราะ เรา
ไม่บาย ........... ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน ส.โบยบิน

อหิงสา

.


...ตามท่าน อหิสก มา..น่าสนใจ ได้ความรู้ดี ขอขอบคุณ..


ชื่ออ่านยาก อ่านว่า อะหิง สก หรือ อะหิง สะ กะ..


สะบายมั่ง ไม่ฉะบายมั่ง...ส.หัว ส.ก๊ากๆ ส.โอ้โห ส.โกรธอย่างแรง

คุณหลวง

    การพรากพืชจึงอาบัติเท่ากับการฆ่าสัตว์ หากแค่การดำรงชีวิตอยู่ก็เป็นบาปทั้งสิ้น แล้วจะหลุดพ้นได้อย่างไร??? เมื่อจิตพัวพันอยู่กับบาปทั้งสิ้น

    เจตนาตนสำคัญที่สุดในห่วงโซ่ตน จะไปเอาเจตนาคนอื่นมาเป็นผลในใจตน นั่นก็เป็นความแส่ที่ไปหาบาปให้แก่ตน พระพุทธองค์ตรัสว่าท่านอนุญาตเนื่อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่นึกรังเกียจว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน ไม่ได้ตรัสว่าการทานเนื้อเป็นบาปแต่อย่างใด

    จะถึงทางบริสุทธิ์ ทางนิพพานได้อย่างไร หากใจยังวนเวียนอยู่กับการกระทำของผู้อื่น แยกแยะไม่ได้ว่าผู้อื่นและตนนั้นมีส่วนสอดคล้องและมีส่วนที่เป็นปัจเจกอยู่แค่ไหนอย่างไร

    พระอานนท์ฉันยาถ่ายพยาธิในคืนก่อนบรรลุอรหันต์ ท่านมีจิตอย่างไร แล้วที่บริสุทธิ์จริงๆก็คงมีแต่พระอิฐพระปูน เพราะอยู่นิ่งกับที่ แต่เมื่อไปดูใกล้ๆพระอิฐพระปูนยังมีสัตว์ตายติดอยู่ อย่างนั้นก็คงบาปไปด้วย

    รู้จักตน จึงรู้จักโลก

    "......ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมองท่านว่าอย่างนี้ อ่านไปนี้พวกนักเรียนนี้โต้กันตาดำตาแดง ไอ้เราก็พลอยขึ้นเวทีฟัดกับเขาด้วย ครั้นกลับออกมาก็มีแต่พวกตาบอดทั้งหมด ไม่ได้มีใครได้สาระเป็นที่ระลึกต่อกันเลยนะ

ท่านบอก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่สัญจรเข้าไปคลุกเคล้ากันแล้วก็แสดงความเศร้าหมองออกมา คือออกมาภายนอก

ทีนี้พวกเรียนทั้งหลาย เมื่อจิตผ่องใสแล้วจะมาเกิดทำไม ผู้ที่ไม่เกิดนั่นคือจิตท่านผ่องใส แล้วจิตผ่องใสมันมาเกิดได้ยังไง ก็อ่านถกเถียงกันนี้ก็ไม่มีใครลงใครแหละ มันไม่รู้ แต่เวลาไปปฏิบัติเข้าละซี นี่ละของจริงเข้าทีเดียวผางหมดเลย ไม่ไปถามใครเลยพอจิตเข้าไปถึง จิตผ่องใสนี้มันควรก็การเกิดอยู่โดยดี นั่นเวลาดูเข้าไปแล้วนะ

จิตบริสุทธิ์กับจิตผ่องใสต่างกัน
พอเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วผึงเลย ไม่มีคำว่าเกิดตายอีก

แต่นี่ ท่านบอกว่า จิตผ่องใส ท่านไม่ได้บอกว่าจิตบริสุทธิ์ ไอ้พวกเอาผ่องใสมาฟัดกันทั้งกัดทั้งแย่งกัน ถ้าเป็นผ้าขี้ริ้วนี้ขาดเลยไอ้ปุ๊กกี้ (หมาที่วัด) มันยังไม่ปล่อยนะ เราถึงได้มารู้เรื่องถึงเรื่องว่าจิตผ่องใสกับจิตบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้พูดว่าจิตบริสุทธิ์

ในบาลีก็เห็นแต่ว่า จิตผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมแท้ผ่องใสท่านว่างั้น จิตเดิมคือจิตอวิชชา นั่นผ่องใส จิตอวิชชาผ่องใสมากทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นจึงงงถูกอวิชชาตีหน้าผากได้สบายนะ

มหาสติมหาปัญญาก็เถอะเข้าไปเจอทีแรก ถ้าประเภทพวกทันธาภิญญาที่รู้อย่างเชื่องช้าไปลำดับลำดา เว้นขิปปาภิญญาเสีย อันนี้ไม่มีปัญหาขิปปาภิญญาขาดสะบั้นไปพร้อมเลย

: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=390&CatID=2

..."

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมอง" อย่างนี้แล้ว เราจึงควรรับกิเลสคนอื่นเข้ามามัวหมองแก่ตนฤาไม่?


    สะบายดี...
(เขียนอย่างลาวครับท่านไข่นุ้ย มาจาก สะบายดี หลวงพระบาง ชอบ ก็เลยใช้เป็นสัญลักษณ์ตัวเองซะเลย  ส.กลิ้ง)
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฅนหลง

.



...เถียงกันเป็นอัตตา หรือ อนัตตา.. ส.ก๊ากๆ ส.หลก

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: คุณหลวง เมื่อ 08:12 น.  30 พ.ย 55
    การพรากพืชจึงอาบัติเท่ากับการฆ่าสัตว์ หากแค่การดำรงชีวิตอยู่ก็เป็นบาปทั้งสิ้น แล้วจะหลุดพ้นได้อย่างไร??? เมื่อจิตพัวพันอยู่กับบาปทั้งสิ้น

    เจตนาตนสำคัญที่สุดในห่วงโซ่ตน จะไปเอาเจตนาคนอื่นมาเป็นผลในใจตน นั่นก็เป็นความแส่ที่ไปหาบาปให้แก่ตน พระพุทธองค์ตรัสว่าท่านอนุญาตเนื่อที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่นึกรังเกียจว่าเขาฆ่ามาเพื่อตน ไม่ได้ตรัสว่าการทานเนื้อเป็นบาปแต่อย่างใด

    จะถึงทางบริสุทธิ์ ทางนิพพานได้อย่างไร หากใจยังวนเวียนอยู่กับการกระทำของผู้อื่น แยกแยะไม่ได้ว่าผู้อื่นและตนนั้นมีส่วนสอดคล้องและมีส่วนที่เป็นปัจเจกอยู่แค่ไหนอย่างไร

    พระอานนท์ฉันยาถ่ายพยาธิในคืนก่อนบรรลุอรหันต์ ท่านมีจิตอย่างไร แล้วที่บริสุทธิ์จริงๆก็คงมีแต่พระอิฐพระปูน เพราะอยู่นิ่งกับที่ แต่เมื่อไปดูใกล้ๆพระอิฐพระปูนยังมีสัตว์ตายติดอยู่ อย่างนั้นก็คงบาปไปด้วย

    รู้จักตน จึงรู้จักโลก

    "......ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมองท่านว่าอย่างนี้ อ่านไปนี้พวกนักเรียนนี้โต้กันตาดำตาแดง ไอ้เราก็พลอยขึ้นเวทีฟัดกับเขาด้วย ครั้นกลับออกมาก็มีแต่พวกตาบอดทั้งหมด ไม่ได้มีใครได้สาระเป็นที่ระลึกต่อกันเลยนะ

ท่านบอก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่สัญจรเข้าไปคลุกเคล้ากันแล้วก็แสดงความเศร้าหมองออกมา คือออกมาภายนอก

ทีนี้พวกเรียนทั้งหลาย เมื่อจิตผ่องใสแล้วจะมาเกิดทำไม ผู้ที่ไม่เกิดนั่นคือจิตท่านผ่องใส แล้วจิตผ่องใสมันมาเกิดได้ยังไง ก็อ่านถกเถียงกันนี้ก็ไม่มีใครลงใครแหละ มันไม่รู้ แต่เวลาไปปฏิบัติเข้าละซี นี่ละของจริงเข้าทีเดียวผางหมดเลย ไม่ไปถามใครเลยพอจิตเข้าไปถึง จิตผ่องใสนี้มันควรก็การเกิดอยู่โดยดี นั่นเวลาดูเข้าไปแล้วนะ

จิตบริสุทธิ์กับจิตผ่องใสต่างกัน
พอเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วผึงเลย ไม่มีคำว่าเกิดตายอีก

แต่นี่ ท่านบอกว่า จิตผ่องใส ท่านไม่ได้บอกว่าจิตบริสุทธิ์ ไอ้พวกเอาผ่องใสมาฟัดกันทั้งกัดทั้งแย่งกัน ถ้าเป็นผ้าขี้ริ้วนี้ขาดเลยไอ้ปุ๊กกี้ (หมาที่วัด) มันยังไม่ปล่อยนะ เราถึงได้มารู้เรื่องถึงเรื่องว่าจิตผ่องใสกับจิตบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้พูดว่าจิตบริสุทธิ์

ในบาลีก็เห็นแต่ว่า จิตผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมแท้ผ่องใสท่านว่างั้น จิตเดิมคือจิตอวิชชา นั่นผ่องใส จิตอวิชชาผ่องใสมากทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นจึงงงถูกอวิชชาตีหน้าผากได้สบายนะ

มหาสติมหาปัญญาก็เถอะเข้าไปเจอทีแรก ถ้าประเภทพวกทันธาภิญญาที่รู้อย่างเชื่องช้าไปลำดับลำดา เว้นขิปปาภิญญาเสีย อันนี้ไม่มีปัญหาขิปปาภิญญาขาดสะบั้นไปพร้อมเลย

: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=390&CatID=2

..."

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมอง" อย่างนี้แล้ว เราจึงควรรับกิเลสคนอื่นเข้ามามัวหมองแก่ตนฤาไม่?


    สะบายดี...
(เขียนอย่างลาวครับท่านไข่นุ้ย มาจาก สะบายดี หลวงพระบาง ชอบ ก็เลยใช้เป็นสัญลักษณ์ตัวเองซะเลย  ส.กลิ้ง)
ขอบคุณครับผม   ส.ตากุลิบกุลิบ
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

อหิงสก

๓๐. ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้าเป็นบาปไหม
          ถาม  ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้าบาปไหม

          ตอบ  ในชีวกสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ข้อ ๕๖ ซึ่งมีข้อความว่า

          ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ข้าพเจ้าคือท่านพระอานนท์ ท่านได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวัน คือสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ เขตพระนครราชคฤห์
          ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
          "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้ว่า ชนย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าใคร่จะทราบว่าชนทั้งหลายที่กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ หรือว่ากล่าวตู่พระพุทธเจ้าด้วยคำไม่จริง พระพุทธเจ้าข้า"
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
          "ดูก่อนชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระองค์ทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อสัตว์ที่เขาทำเจาะจงเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ากล่าวตรงกับที่เรากล่าว แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
          ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือเนื้อที่ตนเห็น ๑ เนื้อที่ตนได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนรังเกียจ ๑
          ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้
          ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการคือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น ๑ เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน ๑ เนื้อที่ตนไม่รังเกียจ ๑
          ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็นของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้"

          ในอรรถกถาแก้ว่า หมอชีวกผู้นี้เป็นพระโสดาบัน หลังจากที่ได้ถวายพระโอสถอ่อนๆ ระบายพระกายที่มากไปด้วยโทษของพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนา แล้วได้ถวายผ้าคู่หนึ่งที่ได้มาจากแคว้นกาสีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
          หมอชีวกคิดว่าเราต้องเฝ้าพระพุทธเจ้าวันละ ๒ หรือ ๓ ครั้ง พระวิหารเวฬุวันอยู่ไกลเกินไป สวนมะม่วงของเราอยู่ใกล้กว่า ดังนั้นจึงได้สร้างที่เร้น กุฎีและมณฑป ที่พักสำหรับกลางวันหรือกลางคืน สร้างพระคันธกุฎีอันสมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้อังคาสเลี้ยงดูพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ด้วยภัตตาหาร ถวายจีวรแล้วหลั่งน้ำทักษิโณทก มอบถวายวิหารแด่สงฆ์
          พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สวนมะม่วงของหมอชีวกนี้แหละ และหมอชีวกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องการบริโภคเนื้อดังที่ได้เล่ามาแล้ว ซึ่งอรรถกถาอธิบายว่า ความเชื่อถือของคนพวกหนึ่งมีว่า ผู้ใดบริโภคเนื้อที่เขาทำเจาะจงผู้ใด ผู้นั้นบริโภคเนื้อนั้น ผู้นั้นก็ต้องรับผลของกรรมคือการฆ่าสัตว์นั้นด้วย นี่เป็นความเชื่อถือของคนบางพวก แต่พระพุทธเจ้ามิได้เสวยเนื้อที่เขาทำเจาะจงพระองค์ ด้วยว่าพระองค์และภิกษุสงฆ์ไม่เสวยเนื้อที่ตนเห็น ไม่เสวยเนื้อที่ตนได้ยิน และไม่เสวยเนื้อที่ตนรังเกียจ ด้วยว่าเนื้อที่ตนเห็น ที่ตนได้ยิน และที่ตนรังเกียจ เป็นเนื้อที่ไม่ควรบริโภค เป็นอกัปปิยะมังสะ สำหรับเนื้อที่ตนเห็นนั้น คือได้เห็นว่าเขาฆ่าสัตว์แล้วเอาเนื้อสัตว์นั้นทำอาหารถวายตน เนื้อที่ตนได้ยินนั้น คือได้ยินว่าเขาให้ฆ่าเนื้อสัตว์แล้วนำมาทำอาหารถวาย เนื้อทั้งสองชนิดนี้เป็นเนื้อต้องห้าม ไม่สมควรที่ภิกษุจะฉัน เพราะเห็นอยู่ ได้ยินอยู่ว่าเขาฆ่าหรือให้ฆ่าเพื่อตน
          ในเรื่องนี้ที่ตนรังเกียจหรือที่ตนสงสัยนั้น อรรถกถาอธิบายว่า ภิกษุในศาสนานี้ เห็นคนทั้งหลายถือตาข่ายและแหเป็นต้น กำลังออกจากบ้านหรือกำลังเที่ยวเข้าไปในป่า ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นที่ท่านได้เห็นถือข่ายถือแหเป็นต้นเมื่อวานนี้ นำอาหารที่มีปลาและเนื้อมาถวาย ท่านก็สงสัยว่า ปลาและเนื้อนี้เป็นปลาและเนื้อที่ท่านได้เห็นเขาไปฆ่ามาเมื่อวานนี้ เพื่อถวายภิกษุสงฆ์กระมังหนอ เมื่อท่านสงสัยโดยอาศัยการเห็นเช่นนั้น ท่านก็ไม่ฉันปลาและเนื้อนั้น เพราะไม่แน่ใจว่า เขาทำเพื่อท่านหรือไม่
          ครั้นคนเหล่านั้นถามว่า "เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับอาหารของพวกกระผม"
          ภิกษุท่านก็เล่าความสงสัยของท่านให้คนเหล่านั้นฟัง
          คนเหล่านั้นก็บอกว่า "พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย คือไม่ได้ทำเจาะจงภิกษุทั้งหลาย แต่ทำเพื่อประโยชน์ของพวกเราเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวกอำมาตย์ทั้งหลายเป็นต้นต่างหาก"
          ภิกษุทั้งหลายทราบแล้วจึงรับอาหารปลาและเนื้อนั้นฉัน นี้เป็นคำอธิบายในเรื่องภิกษุรังเกียจเพราะได้เห็นเข่าฆ่าสัตว์แล้วไม่แน่ใจ สงสัยว่าเขาทำเจาะจงตน จึงไม่รับเนื้อ ไม่ฉันเนื้อที่ตนสงสัย เพราะได้เห็นนั้น
          ในเรื่องที่ภิกษุสงสัยเพราะได้ยินนั้น อรรถกถาขยายความว่า ภิกษุทั้งหลายมิได้เห็น แต่ได้ยินว่าเขาเป็นคนถือตาข่ายและแหเป็นต้นออกจากบ้านไป วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตในบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำเอาอาหารที่มีปลาและเนื้อมาถวาย ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วก็สงสัยเพราะได้ยินมาว่าเมื่อวานนี้ว่า คนเหล่านี้หาปลาและเนื้อมาเพื่อประโยชน์แก่พวกท่านใช่หรือไม่หนอ จึงไม่รับอาหารนั้น ครั้นคนเหล่านั้นถามว่า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับอาหารของพวกเรา คนเหล่านั้นก็บอกว่า พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวกอำมาตย์เป็นต้น ภิกษุเหล่านั้นฟังแล้วเห็นว่าอาหารนั้นสมควรแก่ตน จึงรับอาหารนั้น
          อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเห็นก็ไม่ได้เห็น ได้ยินก็ไม่ได้ยิน เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนทั้งหลายก็รับบาตรไป แล้วจัดอาหารที่มีปลาและเนื้อลงในบาตร แล้วถวาย ภิกษุเหล่านั้นถึงแม้ไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินมาก่อน ถึงกระนั้นก็อดสงสัยไม่ได้ว่า อาหารปลาและเนื้อเหล่านี้เขาทำเพื่อพวกตนหรือไม่หนอ เมื่อสงสัยก็ไม่รับอาหารนั้น เมื่อชาวบ้านถามว่า เหตุไรจึงไม่รับอาหารของพวกตน ท่านก็บอกให้ทราบ ชาวบ้านเหล่านั้นจึงว่า อาหารปลาและเนื้อนี้พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่พระคุณเจ้าทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่ออำมาตย์ทั้งหลายเป็นต้น เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นว่าอาหารนั้นสมควรแก่ท่าน ท่านก็รับ
          นอกจากนั้น ถ้าชาวบ้านบอกว่า อาหารปลาและเนื้อนั้นเป็นของที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นของที่เขาซื้อหามาจากตลาดเป็นวัตตมังสะ อาหารและเนื้อเช่นนี้ภิกษุรับได้ แม้ในอาหารที่เขาทำอุทิศแด่คนตายหรือทำเพื่องานมงคล ถ้าภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน หรือมิได้สงสัยเคลือบแคลงใจแล้ว ก็รับอาหารนั้นได้ทุกอย่าง แต่ถ้าอาหารปลาและเนื้อนั้นทำอุทิศภิกษุในวัดแห่งหนึ่ง ภิกษุบางพวกไม่รู้ว่าเขาทำเจาะจงตน ส่วนภิกษุบางพวกรู้ ภิกษุพวกใดรู้ ภิกษุพวกนั้นไม่ควรรับอาหารนั้น ภิกษุพวกที่ไม่รู้สมควรรับ แต่ถ้าภิกษุทั้งหมดเขาทำเพื่อพวกท่าน อาหารนั้นก็ไม่สมควรแก่ภิกษุทั้งหมดนั้น หากภิกษุทั้งหมดไม่รู้ว่าเขาทำเจาะจงพวกท่าน อาหารนั้นก็ควรแก่ภิกษุทั้งหมดนั้น
          ท่านยังอธิบายต่อไปอีกว่า บรรดาสหธรรมิก ๕ รูป อาหารที่เขาทำอุทิศภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุสหธรรมิกทั้ง ๕ รูป ส่วนบางคนฆ่าสัตว์เจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง แล้วบรรจุอาหารที่เต็มด้วยเนื้อสัตว์นั้นจนเต็มบาตรถวาย และภิกษุนั้นก็รู้อยู่ว่าเขาทำอุทิศคือเจาะจงตน ดังนั้นเมื่อรับแล้วก็ไม่ฉันถวายแก่ภิกษุรูปอื่นแทน ภิกษุรูปนั้นก็ฉันด้วยความเชื่อใจในภิกษุนั้น คือฉันโดยปราศจากความสงสัย ถ้าเป็นเช่นนั้น อาบัติย่อมไม่มีแม้แก่ภิกษุทั้งสองนั้น เพราะรูปที่รู้ก็มิได้ฉัน รูปที่ฉันก็ไม่รู้ ส่วนภิกษุรู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ คือมังสะที่เขาทำเพื่อเจาะจงท่าน ท่านฉันเข้าไปเป็นอาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเขาทำเจาะจงท่าน ฉันเข้าไปก็เป็นอาบัติเช่นกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุที่กลัวอาบัติ จึงถามก่อนฉันหรือก่อนรับ ทั้งนี้เพราะขึ้นชื่อว่าเนื้อสัตว์แล้ว เมื่อปรุงสำเร็จแล้วก็คล้ายๆ กัน ดูด้วยตาธรรมดาก็เหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นจึงควรถามก่อนแล้วจึงรับ
          สรุปว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ คือโดยไม่เห็น ๑ โดยไม่ได้ยิน ๑ และโดยไม่สงสัย ๑ กับไม่ฉันเนื้อที่ต้องห้าม ๑๐ อย่าง คือเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี และเนื้อเสือดาว รูปใดฉันเนื้อที่ไม่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นอาบัติทุกกฎ รูปใดฉันเนื้อมนุษย์เป็นอาบัติถุลลัจจัย รูปใดฉันเนื้อต้องห้าม ๙ อย่างที่เหลือ เป็นอาบัติทุกกฎ
          ส่วนข้อความในพระสูตรมีต่อไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ในบ้านหรือคามนิคมใดๆ ก็แผ่เมตตาไปทั่วทิศ ตลอดโลกทั้งปวงแก่สัตว์ทุกหมู่เหล่า ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ก็เมื่อคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น นิมนต์ให้รับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ขณะที่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต เธอไม่เคยคิดเลยว่าคนเหล่านั้นอังคาสเธอด้วยอาหารที่ประณีต และไม่เคยคิดที่จะให้เขาถวายอาหารเช่นนั้นอีก เธอไม่ได้ยินดียินร้ายในอาหารเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องถอนตน บริโภคอยู่
          ดูก่อนชีวก ภิกษุนั้นย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือเพื่อเบียดเบียนทั้งตนหรือผู้อื่นบ้างหรือไม่"
          หมอชีวกกราบทูลว่า "ไม่เบียดเบียน พระพุทธเจ้าข้า"
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปว่า "ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษใช่หรือไม่"
          หมอชีวกกราบทูลว่า "ใช่ พระพุทธเจ้าข้า" แล้วทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบมาว่า พรหมมีปกติอยู่ด้วยเมตตา ข้าพระองค์เพียงแต่ได้ยินได้ฟังมา บัดนี้ข้าพระองค์ประจักษ์ชัดแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา"
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
          "ดูก่อนชีวก บุคคลที่มีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้นตถาคตละแล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา
          ดูก่อนชีวก ถ้าท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะเป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน"
          หมอชีวกทูลรับว่า "ข้าพระองค์หมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนั้น"
          แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสต่อไปอีกถึงภิกษุในธรรมวินัยนี้ว่า เมื่ออยู่ที่ใดก็มีใจประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขาในสัตว์ทั้งปวง ทั่วทุกทิศ ตลอดโลก ตามลำดับดังที่เล่าไปแล้ว กล่าวคือ เมื่อภิกษุนั้นรับนิมนต์ของผู้ใดแล้ว แม้ได้อาหารที่ประณีตท่านก็ไม่เคยคิดเลยว่า ขอให้ผู้นั้นจงถวายอาหารที่ประณีตอย่างนี้อีก แต่ท่านเป็นผู้ไม่ยินดียินร้ายในอาหารเหล่านั้น เป็นผู้บริโภคด้วยปัญญาเป็นเครื่องถอนตน เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจะชื่อว่าเบียดเบียนตนและผู้อื่นได้หรือไม่ และจะชื่อว่า ภิกษุนั้นฉันอาหารอันมีโทษได้หรือไม่
          หมอชีวกทูลว่าไม่ได้ แล้วทูลต่อไปว่า "ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา คำนั้นสมจริงแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพยานในเรื่องนี้ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีปกติอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา"
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ถ้าท่านหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะแล้ว เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน"
          หมอชีวกทูลว่า "ข้าพระองค์หมายเอาเช่นนั้นพระเจ้าข้า"
          ก็เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้วว่า พระองค์และภิกษุสาวกของพระองค์เป็นผู้มีอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาต่อสัตว์ทุกชนิด ทุกประเภท ทั่วโลกหาประมาณมิได้
          เหตุไฉน จึงจะเป็นอย่างที่คนทั้งหลายกล่าวหาพระองค์ว่าพระองค์รับและฉันปลาและเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์
          เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
          "ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ
          ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมาดังนี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้
          ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๒ นี้
          ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้
          ๔. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๔ นี้
          ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕ นี้
          ดูกรชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกของตถาคต ผู้นั้นย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้"
          จากชีวกสูตรนี้ ท่านจะทราบว่า การฆ่าสัตว์เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกของพระองค์นั้นบาปมาก คือบาปตั้งแต่สัตว์นั้นถูกนำตัวมาทีเดียว ไม่เพียงแต่ผู้ฆ่าหรือผู้สั่งให้ฆ่าจะเกิดบาปเท่ากัน แม้สัตว์ที่ถูกนำมาฆ่าก็เกิดบาป คือเกิดอกุศลจิตคิดกลัวภัย กลัวตาย ได้รับทุกข์โทมนัสมาก ทั้งในเวลาที่ถูกนำตัวมาและในเวลาที่ถูกฆ่า และด้วยอกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะนั้น อาจทำให้สัตว์นั้นไปเกิดในอบายได้อีกด้วย นับว่าน่าสงสารมาก เพราะฉะนั้นอย่าฆ่าเองหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าเลย ไม่ว่าฆ่าเล่น ฆ่าเอามากิน หรือฆ่าเพื่อทำบุญ เพราะแทนที่จะได้บุญกลับได้บาปมากทีเดียว ชีวิตใครใครก็รัก เรารักตัวกลัวตายกลัวถูกฆ่าอย่างไร สัตว์ทั้งหลายก็รักตัวกลัวตาย กลัวถูกฆ่าอย่างนั้นเหมือนกัน
          เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น
          หมอชีวกโกมารภัจก็กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญน่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ในการที่ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารที่ไม่มีโทษ อันสมควรแก่สมณะ"
          ครั้นแล้วได้กล่าวต่อไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำเปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
          ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแจ่มแจ้งอย่างนี้แหละ หมอชีวกท่านจึงได้เป็นพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้าด้วยท่านหนึ่ง
          จากพระสูตรนี้แสดงว่า ฆ่าสัตว์ถวายพระพุทธเจ้าบาปแน่นอน

________________________________________
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
          มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
          ชีวกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=13&A=950&Z=1043

          พระไตรปิฏก เล่มที่ ๕  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค  ภาค ๒
          พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์ เป็นต้น
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=5&A=1372&Z=1508

          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
          คำว่า พรหมวิหาร 4
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4


จิตอหิงสก


จิตอหิงสก

ของแท้ อยู่ที่ ประไตรปิฎก ท่านทั้งหลายเอ๋ย ไม่ได้อยู่ที่คำสอน ของอรหันต์องค์ ใด ญาณพระพุทธองค์เป็นอนัน ถึงได้เป็นหนึ่งเดียว เป็นหนึ่ง เป็น เอก สิ่งใดที่พระพุทธองค์ตรัสแล้ว มันคือ ความจริง ใน อดีต ปัจจุบันและ อนาคต รู้ทะลุหมดหาจุดจบสิ้นชาติไม่มี อนันคือไม่มีที่สิ้นสุด ญาณพระพุทธองค์ ต้องการรู้ตรงไหนส่วนไหนย่อมรู้หมดเป็นอนันไม่มีที่สิ้นสุด อ่านให้เยอะๆทำความเข้าใจให้เยอะ ทำการบ้านให้เยอะ แล้วค่อยมาสอนผู้อื่น จะไม่ทำให้ผู้อื่นหลงผิด เดี๋ยวจะกลายเป็นคนตาบอดจูงคนตาบอดลงเหว มันอยู่ที่บุญบารมีที่สั่งสมมาแล้วในอดีตชาติเป็นหลัก และความมุ่งมั่นชาติปัจจุบัน เป็นตัวตาม พระไตรปิฎกคือคำตอบสุดท้าย เฉลยปัญหาธรรม เทวคาเฝ้าพระธรรมเพียบ ก็สาวกพระพุทธเจ้าที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ไง อยู่ใน สวรรค์ชั้นต่างๆ พรหม และ อรูปพรหม ผู้บรรลุธรรมตั้งแต่โสดาบัน สกทาคา อนาคา จะมรรคจะผลก็แล้วแต่ ที่ยัง ไม่ถึงขั้น อรหันต์ เข้า นิพพาน  ส.มองลอดแว่น ส.อ่านหลังสือ

สวดก่อนฉัน

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ เนวะทวายะ นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ ยะวะเทวะ อิมัสสะกายัสสะ ฐิติยายาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจริยานุคคะหายะ ดิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามินะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะผาสุวิหาโรจาติ
คำแปล
ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ
เราย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
เนวะ ทวายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
นะ มะทายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย
นะมัณฑะนายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ
นะวิภูสะนายะ
ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
ยาวะเทวะ อิมัสสะกายัสสะ ฐิติยา
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
ยาปะนายะ
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ
วิหิงสุปะระติยา
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
พรัหมะจะริยานุคคะหายะ
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนังปะฏิหังขามิ
ด้วยการทำอย่างนี้เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่าคือความหิว
นาวัญจะ เวทะนัง นะอุปปาเทสสามิ
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น
ยาตราจะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติฯ
อนึ่งความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วยและความเป็นอยู่โดยผาสุขด้วยจักมีแก่เราดังนี้

จิตสวด

.


..ขอบคุณ ท่านจิตอหิงสก และ ท่าน สวดก่อนฉัน ส.ยกน้ิวให้ ส.ก๊ากๆ

คุณหลวง

อ้างถึงข้อความโดย: ฅนหลง « เมื่อ: 10:15 น. วันที่ 30 พ.ย.55 »



...เถียงกันเป็นอัตตา หรือ อนัตตา.. ส.ก๊ากๆ ส.หลก

    ผมอาจจะเป็นคนช่างเถียงจริงๆอย่างที่ท่านว่าก็ได้ครับ แต่อย่างไรเสีย เมื่อเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันนั้น ไม่ว่านักปราชญ์หรือคนพาลก็ย่อมต้องมีถามมีตอบกันไปมาอยู่ดี และนักปราชญ์นั้นอาจจะมีคำยุแหย่ แดกดัน ดูถูก ฯลฯแบบคนพาลด้วยก็ได้ ต่างกันแต่ว่านักปราชญ์นั้นไม่ได้ออกอาการอย่างนั้นเพื่อการทะเลาะหรือเอาชนะ แต่เพื่อให้ยอมรับตนของตนมากกว่า

    นักการทูตจึงจะมักโกรธไม่ได้ หากนักการทูตถือตัว อวดเก่ง ขี้โกรธ ก็จะพาตัวตายเอาง่ายๆ รวมทั้งอาจนำพาประเทศเสียหายไปด้วย ตัวอย่างมีอยู่มากในสามก๊ก ลองหาดูนะครับ ผมจำไม่ได้ว่ามีใครชื่ออะไรบ้าง ที่จำได้ก็เห็นจะมีบังทองคนเดียวที่ขงเบ้งยอมรับว่าเหนือกว่าตน แต่บังทองก็ตายเพราะปากอวดเก่งของตนนั้นเอง

    ผมเองก็ออกจะอวดตัวอยู่มากเช่นกันที่คิดว่าการบอกทางธรรมนั้นเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของชีวิตตน มันจึงมักที่จะเข้าไปเสนอความคิดเห็นในหลายๆหน อย่างหนนี้ก็เช่นกัน ผมเห็นว่าท่านSAM นั้นเริ่มสนใจธรรมมากกว่าประเพณีทางศาสนาแล้ว เพียงแต่ว่า ท่านอาจจะมองธรรมอย่างเหมารวมมากเกินไป จนลืมว่ามีปัจเจกอยู่ในตน

    วงจรคนเลี้ยง จนกระทั่งคนกินนั้นเป็นวงจรที่เชื่อมโยงถึงกันก็จริงอย่างท่านว่า แต่ว่าในความเป็นปัจเจก เป็นจิตแห่งตนนั้นย่อมมีอิสระในตนอยู่ ตรงนี้ต้องแยกแยะออกมาให้ชัด ไม่ได้แปลว่าท่านกินข้าวมันไก่แล้วแปลว่าท่านสนับสนุนการฆ่าไก่ เพราะว่าท่านไม่กินเขาก็ฆ่า เป็นธรรมดาของโลก พระพุทธเจ้าท่านจึงมิได้ห้ามสาวกรับเนื้ออย่างที่เทวทัตขอ

    เราห้ามโลกไม่ได้ แต่เราห้ามใจเราได้ การปฏิบัติธรรมจึงไม่มีอะไรมากไปกว่าการพาใจตนกลับมารู้จักตน(โดยไม่จำเป็นต้องไปรู้จักจิตคนอื่นก็ได้) ที่มันยากเพราะธรรมดาจิตมันแส่ส่ายรับอารมณ์อย่างรวดเร็วที่สุด มันจึงไม่มีเวลากลับมารู้จักตนเอง ท่านจึงมีวิธีให้ฝึกพาจิตกลับมาสู่ตนด้วยการฝึกสติรูปแบบต่างๆนั่นเอง

    เมื่อเราเริ่มรู้จักเจตนา(อันเป็นอาการของจิต)ก็แปลว่าเรากำลังกลับมาสู่การรู้จักจิตแล้ว แต่เมื่อเราไม่รู้เจตนาของตน เราก็จะไม่รู้เหตุรู้ผลได้ ผมจึงเปรียบเทียบว่าในวงจรนั้นเป็นดั่งลูกโซ่เชื่อมโยงถึงกันอยู่ แต่มันก็มีอิสระของตน มันจึงเชื่อมโยงกันได้อย่างผ่อนคลาย หากเราดูโซ่ เราจะเห็นช่องว่างที่โซ่แต่ละข้อมี นั่นเป็นอิสระของโซ่ข้อนั้นๆ เราเองก็ต้องมีและรู้จักที่ว่างของเราเอง

    การที่โซ่ข้อที่สอง(สมมติว่าเป็นคนฆ่า)มีเจตนาแห่งการฆ่าอย่างเต็มเปี่ยม และมันเชื่อมโยงมาสู่คนรับซื้อ(โซ่ข้อที่สาม) โซ่ข้อที่สามนี้อาจจะมีเจตนาเดียวกันกับโซ่ข้อที่สองหรือไม่มีก็ได้ จนมาสู่คนทำขาย คนกิน คนกินจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีเจตนาเดียวกับคนฆ่า หรือเราไม่มีเจตนาอิสระของตน มันเชื่อมโยงถึงกันในฐานะแห่งการเป็นอยู่ แต่เจตนาอิสระของตนนั้นอยู่ที่แต่ละคนเอง ดั่งโซ่ที่มีที่ว่างของตนในทุกข้อ

    ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน อย่างที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่มีวลีออกมาว่า"เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"นั่นเอง แต่มันก็เชื่อมโยงกันในความที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาเดียวกัน เถ้าแก่ร้านขายของโกงลูกค้าคนหนึ่ง เราในฐานะผู้ซื้ออีกคนหนึ่งไม่จำเป็นต้องรับผิดในข้อนั้นด้วย(หากเราไม่มีเจตนาร่วมโกง)??

    เมื่อเราเข้าใจ รู้จักเจตนาของตนชัดแล้ว เราก็จะมีความสุขในการเป็นอยู่(รวมถึงการปฏิบัติธรรม) การปฏิบัติธรรมยากๆอย่างเช่นการถือวัตรธุดงค์ที่พระพุทธองค์วางแนวให้นั้น พระองค์ก็หาได้ยกย่องทุกคนที่ปฏิบัติ เพราะว่าส่วนที่ถือวัตรธุดงค์เพื่อลาภ สักการะ สรรเสริญ ท่านก็ตำหนิเช่นกัน ท่านจึงกล่าวว่า "เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ...ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม"

    พระไตรปิฎกนั้น เป็นแหล่งความรู้ในการปฏิบัติธรรม เป็นดั่งลายแทงขุมทรัพย์อันเลิศ แต่จะบอกว่าเป็นคำตอบของการปฏิบัติธรรมนั้นคงจะไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะว่าพระไตรปิฎกไม่สามารถบอกเจตนาของคนแต่ละคนได้ นอกจากคนๆนั้นต้องยอมรับตนเอง การปฏิบัติธรรมจึงต้องรู้ผลที่จิต มิใช่ที่ตำราหรือครูบาอาจารย์ แต่เราจำเป็นต้องอาศัยทั้งตำราและครูบาอาจารย์นั่นเอง

    แม้แต่ผู้ที่สวดก่อนฉันอย่างที่ท่านสวดก่อนฉันว่า ก็ไม่แน่ว่าจะฉัน เลือกฉันด้วยเจตนาอย่างนั้น พระไตรปิฎกบอกไม่ได้ว่าคนนั้นๆมีเจตนาอย่างไร ต้องตอบตัวเองด้วยยอมรับตนเองเท่านั้น

    ส่วนธรรมจะมาจากไหนไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่าธรรมนั้นเป็นไปเพื่อสิ่งใด โคตมีสูตร สำหรับตัดสินธรรมวินัยมีอยู่ เราสามารถเทียบเคียงได้ ส่วนจะบอกว่าต้องธรรมะจากพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะเชื่อถือได้ ไม่ใช่พระอรหันต์องค์ใด อันนั้นก็ออกจะเอาเปรียบพระอานนท์อยู่มาก เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า พระสูตรนั้นเป็นสิ่งที่พระอานนท์ทรงจำมา จึงมีต้นพระสูตรว่า "เอวัมเม สุตัง...ข้าพเจ้า สดับมาแล้ว...." ข้าพเจ้าก็คือพระอานนท์นั่นเอง ดังนั้น เมื่ออ้างธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ต้องผ่านทางพระอานนท์นั่นเอง

    จิตของพระอรหันต์นั้นย่อมเสมอกันในความที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆเลย หากจะแตกต่างกันก็เพียงความกว้างขวางของความรู้ที่ขึ้นกับแนวทาง(บารมี)ที่ท่านนั้นๆสั่งสมมา ดังนั้น ธรรมของท่านจึงล้วนแต่นำพาสู่ความว่าง นิพพาน ด้วยกันทั้งสิ้น

    หากเราร่วมแบ่งปันกันในธรรม แม้ว่าเรามีผิดบ้างถูกบ้าง แต่เราย่อมใจกว้างที่จะสนทนา สืบค้นกันให้ถึงความจริงจนได้เราก็ย่อมไม่มีปัญหากัน แม้ว่ามันจะมีการโต้แย้งกันในช่วงแรกๆก็ตาม

    และหากท่านหมายถึงผมกับท่านจิตอหิงสกเถียงกันนั้น ออกจะไม่ใช่อย่างนั้น เพราะหากท่านอ่านดีๆก็จะเห็นว่าเราพูดคนละเรื่องเดียวกัน แต่ใช่ก็ได้เพราะเรามีส่วนที่ยุแยงถึงกันอยู่ ว้า...สับสนแล้วคุณหลวง  ส.แย่จัง ส.หัว  ส.ฉันเอง

    ส่วนเรื่องอัตตา อนัตตานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สัพเพ ธััมมา อนัตตา...ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ธรรมแปลว่าสิ่ง สัพพธรรม ก็คือทุกสิ่งทั้งรูปธรรมนามธรรม แต่ผู้ที่ยึดมาเป็นอัตตานั้นด้วยสติไม่รู้เท่าทันตนเท่านั้น ทีนี้ก็แล้วแต่ท่านจะทำให้มันเป็นอย่างไร เพราะมันเป็นที่ว่าง เป็นปัจเจกของแต่ละคนไปครับผม

ขอความสุขจงมีในทุกๆท่านครับ                                      สะบายดี....
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

คนหลง

.


...รับซาบ ขอบคุณครับ

ซำบายดีบ่... ส.โอ้โห ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-เหอเหอ ส-เหอเหอ ส.สู้ๆ ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย

คุณหลวง

อ้างจาก: คนหลง เมื่อ 18:39 น.  07 ธ.ค 55
.


...รับซาบ ขอบคุณครับ

ซำบายดีบ่... ส.โอ้โห ส-ดีใจ ส-ดีใจ ส-เหอเหอ ส-เหอเหอ ส.สู้ๆ ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย


ใช่ท่านฅนหลงหรือครับ ทำไมเป็นใช้ค.ควายล่ะครับท่าน เปี๊ยนไป๋นิ  ส.อืม

    ความจริง บางที ผมก็รู้สึกว่าตัวเองจุกจิกมากไปอ่ะนะครับ เพราะว่าบางเรื่องเราน่าจะปล่อยเลยๆไปได้
    แต่ท่านพี่เองก็ทำให้ผมอดนับถือท่านพี่ไม่ได้ เพราะว่าท่านพี่มีคำชมที่แฝงคำที่ทำให้ต้องฉุกใจคิดว่า

    "เฮ้ย..ท่าจะเกินไปแล้วนะ"ทุกทีเลย ขอบคุณมากๆครับ


สะบายดี...
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ฅ ฅนหลง ศ.คุณหลวง

.


...ใช้หลายเครื่องครับ


เอเซอร์ ไม่มี ฅ ฅน


ไอแผด มี ฅ ฅน

..ปล. ไว้เจอคุณหลวง จะเอาเบยลาว มาฝาก... BEER LAO ส.ยกน้ิวให้ ส.ก๊ากๆ