ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ถนนลพบุรีราเมศวร์ ก่อสร้างอีกแล้ว (จุดยูเทิร์นใกล้พุทธมณฑล)

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 14:24 น. 26 พ.ย 55

ทีมงานบ้านเรา

ขับรถผ่านถนนลพบุรีราเมศวร์ เส้นทางหาดใหญ่-สงขลา สายใหม่ก่สร้างกันไม่สิ้นสุดจริงๆ ครับ หลังจากสร้างแยกพิศดารที่บิ๊กซี ใส่ไฟแดงแยกคลองแห ใส่ท่อเหลี่ยมหลายจุด ลาดยางใหม่ ปรับถนนแถวหน้ามัสยิดกลาง

[attach=2]

ขับผ่านไปล่าสุดแถวหน้าหมู่บ้านเบญจรพร พุทธมณฑล มีการสร้างจุดกลับรถอีกแล้ว
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

nantphop


joyjeen

ถนนเส้นหลักรถเยอะ อยากให้ใส่เกือกม้ากลับรถซะหน่อยน่าจะสะดวกกว่านะครับ

นายไข่นุ้ย

DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)

บวดหัว

.

...ราเมศวร์


คำนี้เป็นภาษาไทยป่าว เป็นชื่อของเทพเจ้าองค์ใด อ่านว่า รา เมศ  หรือ ราเมเสวน หรือ ราเมสวะ หรือ.ราเมสะวะระ



ใครเป็นคนตั้งชื่อนี้... ส.โกรธอย่างแรง ส.สั่งสอน ส.โอ้โห

อ่านว่า รา-เมด

อ้างจาก: บวดหัว เมื่อ 10:59 น.  27 พ.ย 55
.

...ราเมศวร์


คำนี้เป็นภาษาไทยป่าว เป็นชื่อของเทพเจ้าองค์ใด อ่านว่า รา เมศ  หรือ ราเมเสวน หรือ ราเมสวะ หรือ.ราเมสะวะระ



ใครเป็นคนตั้งชื่อนี้... ส.โกรธอย่างแรง ส.สั่งสอน ส.โอ้โห

สาว่าไม่ใช่คนสงขลา ไม่รู้จริงเหอะว่าอ่านพรือ??

ชาร์น

 กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพรบดินทรเทพนิพัทธิ์ขัตติยราชกุมาร"ทรงประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2425 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อทรงมีชันษาได้ 6 พรรษา ในปี พ.ศ.2431 พระราชบิดาได้สถาปนาเป็น"พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ายุคลฑิฆัมพร "ในปี พ.ศ. 2434 ทรงมีชันษาได้ 9 พรรษา ได้รับการสถาปนาเป็น" สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ กรมหมื่นลพบุราดิส" ต่อมาในปี
พ.ศ.2449 ได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์" ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในราชสำนัก ต่อมาพระราชบิดาส่งไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ โดยได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงสอบได้ปริญญาโทเกียรตินิยมทางอักษรศาสตร์ เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2449 ขณะทรงมีพระชนมายุ 24 พรรษา

ทรงรับราชการครั้งแรก ในกรมพลัมภัง(กรมการปกครองในปัจจุบัน) กระทรงวงมหาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2453-2458 โปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองสงขลา ท่านนับเป็นเจ้านายพระองค์แรก และพระองค์เดียวที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตร พระกรรณ แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสมุหเทศภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นอุปราชปักษ์ใต้ ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชา มณฑลสุราษฎร์ธานี มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.2458-2468 รวมระยะเวลาที่ประทับอยู่ภาคใต้นานถึง 15 ปี และทรงเป็นต้นราชสกุล "ยุคล"

พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์" ทรงศักดินา 50,000 และในปีเดียวกัน โปรดเกล้าฯให้ทรงรั้งตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ต่อจากเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และในปี พ.ศ. 2473 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ขณะดำรงตำแหน่งสุมหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ทรงมีพระทรรนะว่าปักษ์ใต้สามารถสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นได้ ในหลายประการสถาน พระองค์จึงได้ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงหมาดไทยในขณะนั้น เป็นต้นว่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2453 พระงองค์ได้เสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยถึงเรื่องการทำถนนในเมืองสงขลาว่า พระยาชลบุรานุรักษ์ได้รื้อกำแพงเมืองสงขลา และจะทำถนนไปบนรากกำแพง พระองค์ท่านเห็นว่าการรื้อจะเปลืองเงินเปลืองเวลา จึงเสนอให้ทำถนนบนที่ราบริมกำแพงนอเมือง รือกำแพงเป็นตอน ๆ เอาหินถมถนน จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น และราคาประหยัดกว่าทำถนนบนรากกำแพง

สำหรับเมืองพัทลุงนั้น กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ได้เสนอแนวความคิด ที่จะทำถนนติดต่อระหว่างเมืองพัทลุงกับเมืองตรังให้ดีขึ้น เพราะเดิมเป็นทางเกวียนอยู่แล้วเมืองนครศรีธรรมราช เสนอให้ขุดคลองระโนดให้ลึก และขุดคลองซอยจากคลองใหญ่ เข้าทุ่งมาหาเขาพระบาท เขาพังไกร โดยใช้เรือขุด พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบ้านเมืองด้านการคมนาคมขนส่ง และ การดำรงชีพ ของประชาชนมาก ทรงเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อกระทรวงหมาดไทย 4 เรื่องคือ1.เรื่องอ่าวสงขลา พันโคคอล นายตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต ได้เสนอความเห็นจ่อสุมหเทศภิบาลมณฑลภูเก็ต ให้เอานักโทษทั้งหมดมาทำลายเกาะหนู ที่ปากน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นลม ซึ่งเป็นตัวการที่นำเอาตะกอนดินมาทับถมปากน้ำทะเลสาบ แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย! ทรงเสนอว่าควรสร้างเขื่อน "เบรควอเตอร์" กันคลื่นหน้ามรสุมให้เรือใหญ่เข้าจอดหน้าอ่าวสงขลาได้ เขื่อนนี้ ทำได้ยากลงทุนมาก แต่ถ้าทำสำเร็จจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล แและยังมีทางที่จะพัฒนาอ่าวสงขลาได้อีกทางหนึ่ง คือการขุดลอกร่องน้ำให้ลึกสำหรับเรือขนาดกลางเข้าออกได้ นี่คือปฐมที่มาของการสร้างเชื่อคอนกรีตถมหินที่แหลมสนอ่อน และการขุดลอกร่องน้ำที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน และสามารถทำให้เรือขนาดกลาง และใหญ่ เข้ามาจอดขนถ่ายสินค้า ที่ท่าเรือสงขลา2. เรี่องถนน ทรงเสนอความเห็นต่อรัฐบาลว่า ควรสร้างถนนใหม่สายใหญ่ เดินคู่ไปกับทางรถไฟสายใต้ ถนนที่สร้างนั้น จะต้องตัดผ่านหมู่บ้านสำคัญ ๆ แต่ไม่ควรห่างจากทางรถไฟมากกว่า 20 เส้น และสร้างถนนย่อยๆ ไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อขนถ่ายสินค้ามาป้อนรถไฟ3.เรื่องเหมืองแร่ ขณะนั้นรัฐบาลได้ประกาศปิดเหมืองแร่ที่อยู่ใกล้ทางรถไฟที่จะสร้าง แต่พระองค์ทรงเห็นว่าควรประกาศเปิดได้แล้ว เพราะ เพราะมีผู้พบแร่วุลแฟรม ซึ่งมีราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด4.เรื่องที่ดิน ทรงเห็นว่า ประชาชนในภาคใต้ กำลังแตกตื่นขอที่ดินปลูกยางพารา และมะพร้าว มีการถือครองที่ดินโดยไม่มีโฉนด และตราแดงเป็นหลักฐาน จึงทำให้การวินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ ที่ดินนั้นยาก ดังนั้นทรงต้องการให้มีกฏหมายที่ดิน ที่กำหนดเนื้อที่ถือครองให้สมดุลกับทุน และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ การใช้ที่ดิน ตั้งบริษัท และอัตราภาษีที่ดิน เนื่องจากขณะนั้นเรื่องที่ดินยังอยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ

เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้นำรายงานความคิดเห็นของพระองค์ฯ ขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัย เรื่องอ่าวสงขลาว่า การลงทุนมาก และขอให้ไปรึกษาหารือกับกระทรวงเกษตรก่อน สำหรับเรื่องที่ดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยที่จะต้องมีกฏหมายที่ดิน

เรื่องถนนรัฐบาลเห็นด้วย แต่ติดขัดตรงงบประมาณ เพราะเพิ่งสร้าง ทางรถไฟสายใต้ ซึ่งต้องกู้เงินจากอังกฤษถึง 4 ล้านปอนสเตอริ่ง สำหรับเรื่องเหมืองแร่นั้น รัฐบาลเห็นด้วยที่จะเปิดเหมืองแร่ใหม่ ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่พระองค์ ดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุราชภาคใต้ ทรงเลือกเอาเมืองสงขลาเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลในวาระแรกที่พระองค์มาประทับใหม่ๆ อยู่ ณ สัณฐานคาร ซึ่งเป็นอาคารในบริเวณโรงเรียนวิเชียรชม ต่อมาทรงราบว่า อาคารนี้ผู้สร้าง มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นโรงเรียนมหาวชิราวุธ จึงทรงสร้างสัณฐานคารขึ้นใหม่ เป็นตึกเล็กๆ ใกล้กับสระบัว บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) ซึ่งต่อมาใช้เป็นที่ว่การอำเภอ และโรงเรียนเทศบาล 4 ซึ่งสัณฐานคารนั้นบัดนี้ ได้ถูกทำลายลงหมดแล้ว

พ.ศ. 2454 ย้ายไปประทับที่ตำหนักเขาน้อย พระองค์ทรงมีบทบาทหลายด้านต่อภาคใต้ มีส่วนสำคัญที่ปกป้องแผ่นดินปักษ์ใต้ ให้พ้นจากการคุกคามของอังกฤษ เพราะผู้ว่การเกาะสิงคโปร์ ซึ่งมีอำนาจครอบงำมาเลเซียตอนนั้นเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมห้องกับพระองค์ สมัยเรียนที่อังกฤษ พระองค์ท่านทรงอภิเษกกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธวรพันธุวรเดช เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิ้นพระชมน์เมื่อปี พ.ศ.2475 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 50 พรรษา

ชาร์น

อ้างจาก: ชาร์น เมื่อ 16:52 น.  27 พ.ย 55
กรมหลวงลพบุรีราเมศร์
พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้าชายยุคลทิฆัมพรบดินทรเทพนิพัทธิ์ขัตติยราชกุมาร"ทรงประสูติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2425 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 41 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อทรงมีชันษาได้ 6 พรรษา ในปี พ.ศ.2431 พระราชบิดาได้สถาปนาเป็น"พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้ายุคลฑิฆัมพร "ในปี พ.ศ. 2434 ทรงมีชันษาได้ 9 พรรษา ได้รับการสถาปนาเป็น" สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพรฯ กรมหมื่นลพบุราดิส" ต่อมาในปี
พ.ศ.2449 ได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมขุนลพบุรีราเมศวร์" ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในราชสำนัก ต่อมาพระราชบิดาส่งไปศึกษาวิชาการที่ประเทศอังกฤษ โดยได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ทรงสอบได้ปริญญาโทเกียรตินิยมทางอักษรศาสตร์ เสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2449 ขณะทรงมีพระชนมายุ 24 พรรษา

ทรงรับราชการครั้งแรก ในกรมพลัมภัง(กรมการปกครองในปัจจุบัน) กระทรงวงมหาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2453-2458 โปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองสงขลา ท่านนับเป็นเจ้านายพระองค์แรก และพระองค์เดียวที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตร พระกรรณ แห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะสมุหเทศภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นอุปราชปักษ์ใต้ ซึ่งมีอำนาจบังคับบัญชา มณฑลสุราษฎร์ธานี มณฑลนครศรีธรรมราช และมณฑลปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ.2458-2468 รวมระยะเวลาที่ประทับอยู่ภาคใต้นานถึง 15 ปี และทรงเป็นต้นราชสกุล "ยุคล"

พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์" ทรงศักดินา 50,000 และในปีเดียวกัน โปรดเกล้าฯให้ทรงรั้งตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ต่อจากเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และในปี พ.ศ. 2473 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรี ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ขณะดำรงตำแหน่งสุมหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุปราชมณฑลปักษ์ใต้ ทรงมีพระทรรนะว่าปักษ์ใต้สามารถสร้างความเจริญให้เกิดขึ้นได้ ในหลายประการสถาน พระองค์จึงได้ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงหมาดไทยในขณะนั้น เป็นต้นว่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2453 พระงองค์ได้เสด็จไปตรวจราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ทรงทำหนังสือทูลเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยถึงเรื่องการทำถนนในเมืองสงขลาว่า พระยาชลบุรานุรักษ์ได้รื้อกำแพงเมืองสงขลา และจะทำถนนไปบนรากกำแพง พระองค์ท่านเห็นว่าการรื้อจะเปลืองเงินเปลืองเวลา จึงเสนอให้ทำถนนบนที่ราบริมกำแพงนอเมือง รือกำแพงเป็นตอน ๆ เอาหินถมถนน จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น และราคาประหยัดกว่าทำถนนบนรากกำแพง

สำหรับเมืองพัทลุงนั้น กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ได้เสนอแนวความคิด ที่จะทำถนนติดต่อระหว่างเมืองพัทลุงกับเมืองตรังให้ดีขึ้น เพราะเดิมเป็นทางเกวียนอยู่แล้วเมืองนครศรีธรรมราช เสนอให้ขุดคลองระโนดให้ลึก และขุดคลองซอยจากคลองใหญ่ เข้าทุ่งมาหาเขาพระบาท เขาพังไกร โดยใช้เรือขุด พระองค์ทรงมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาบ้านเมืองด้านการคมนาคมขนส่ง และ การดำรงชีพ ของประชาชนมาก ทรงเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อกระทรวงหมาดไทย 4 เรื่องคือ1.เรื่องอ่าวสงขลา พันโคคอล นายตำรวจภูธรมณฑลภูเก็ต ได้เสนอความเห็นจ่อสุมหเทศภิบาลมณฑลภูเก็ต ให้เอานักโทษทั้งหมดมาทำลายเกาะหนู ที่ปากน้ำทะเลสาบสงขลา เพื่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นลม ซึ่งเป็นตัวการที่นำเอาตะกอนดินมาทับถมปากน้ำทะเลสาบ แต่พระองค์ไม่เห็นด้วย! ทรงเสนอว่าควรสร้างเขื่อน "เบรควอเตอร์" กันคลื่นหน้ามรสุมให้เรือใหญ่เข้าจอดหน้าอ่าวสงขลาได้ เขื่อนนี้ ทำได้ยากลงทุนมาก แต่ถ้าทำสำเร็จจะมีประโยชน์อย่างมหาศาล แและยังมีทางที่จะพัฒนาอ่าวสงขลาได้อีกทางหนึ่ง คือการขุดลอกร่องน้ำให้ลึกสำหรับเรือขนาดกลางเข้าออกได้ นี่คือปฐมที่มาของการสร้างเชื่อคอนกรีตถมหินที่แหลมสนอ่อน และการขุดลอกร่องน้ำที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน และสามารถทำให้เรือขนาดกลาง และใหญ่ เข้ามาจอดขนถ่ายสินค้า ที่ท่าเรือสงขลา2. เรี่องถนน ทรงเสนอความเห็นต่อรัฐบาลว่า ควรสร้างถนนใหม่สายใหญ่ เดินคู่ไปกับทางรถไฟสายใต้ ถนนที่สร้างนั้น จะต้องตัดผ่านหมู่บ้านสำคัญ ๆ แต่ไม่ควรห่างจากทางรถไฟมากกว่า 20 เส้น และสร้างถนนย่อยๆ ไปยังหมู่บ้านต่างๆ เพื่อขนถ่ายสินค้ามาป้อนรถไฟ3.เรื่องเหมืองแร่ ขณะนั้นรัฐบาลได้ประกาศปิดเหมืองแร่ที่อยู่ใกล้ทางรถไฟที่จะสร้าง แต่พระองค์ทรงเห็นว่าควรประกาศเปิดได้แล้ว เพราะ เพราะมีผู้พบแร่วุลแฟรม ซึ่งมีราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาด4.เรื่องที่ดิน ทรงเห็นว่า ประชาชนในภาคใต้ กำลังแตกตื่นขอที่ดินปลูกยางพารา และมะพร้าว มีการถือครองที่ดินโดยไม่มีโฉนด และตราแดงเป็นหลักฐาน จึงทำให้การวินิจฉัยเรื่องกรรมสิทธิ์ ที่ดินนั้นยาก ดังนั้นทรงต้องการให้มีกฏหมายที่ดิน ที่กำหนดเนื้อที่ถือครองให้สมดุลกับทุน และมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ การใช้ที่ดิน ตั้งบริษัท และอัตราภาษีที่ดิน เนื่องจากขณะนั้นเรื่องที่ดินยังอยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ

เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้นำรายงานความคิดเห็นของพระองค์ฯ ขึ้นกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัย เรื่องอ่าวสงขลาว่า การลงทุนมาก และขอให้ไปรึกษาหารือกับกระทรวงเกษตรก่อน สำหรับเรื่องที่ดิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยที่จะต้องมีกฏหมายที่ดิน

เรื่องถนนรัฐบาลเห็นด้วย แต่ติดขัดตรงงบประมาณ เพราะเพิ่งสร้าง ทางรถไฟสายใต้ ซึ่งต้องกู้เงินจากอังกฤษถึง 4 ล้านปอนสเตอริ่ง สำหรับเรื่องเหมืองแร่นั้น รัฐบาลเห็นด้วยที่จะเปิดเหมืองแร่ใหม่ ตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่พระองค์ ดำรงตำแหน่งเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช และอุราชภาคใต้ ทรงเลือกเอาเมืองสงขลาเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลในวาระแรกที่พระองค์มาประทับใหม่ๆ อยู่ ณ สัณฐานคาร ซึ่งเป็นอาคารในบริเวณโรงเรียนวิเชียรชม ต่อมาทรงราบว่า อาคารนี้ผู้สร้าง มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นโรงเรียนมหาวชิราวุธ จึงทรงสร้างสัณฐานคารขึ้นใหม่ เป็นตึกเล็กๆ ใกล้กับสระบัว บริเวณหน้าโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านแหลมทราย) ซึ่งต่อมาใช้เป็นที่ว่การอำเภอ และโรงเรียนเทศบาล 4 ซึ่งสัณฐานคารนั้นบัดนี้ ได้ถูกทำลายลงหมดแล้ว

พ.ศ. 2454 ย้ายไปประทับที่ตำหนักเขาน้อย พระองค์ทรงมีบทบาทหลายด้านต่อภาคใต้ มีส่วนสำคัญที่ปกป้องแผ่นดินปักษ์ใต้ ให้พ้นจากการคุกคามของอังกฤษ เพราะผู้ว่การเกาะสิงคโปร์ ซึ่งมีอำนาจครอบงำมาเลเซียตอนนั้นเป็นเพื่อนนักเรียนร่วมห้องกับพระองค์ สมัยเรียนที่อังกฤษ พระองค์ท่านทรงอภิเษกกับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธวรพันธุวรเดช เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงมีพระโอรส 3 พระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร และพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิ้นพระชมน์เมื่อปี พ.ศ.2475 ขณะทรงมีพระชนมายุเพียง 50 พรรษา

ชาร์ลส์ บรอนสัน

"


.. ขอขอบคุณ คุณชาญ เย็นแข  และ อีกท่าน ชื่อ อ่านว่า รา เมด เป็นอย่างสูง

ที่อุตส่าห์ตอบ และค้นคว้าให้... ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้


... ส-เหอเหอ ส-ดีใจ ส.ก๊ากๆ