ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

แท้จริงแล้ว "สงฆ์" มีหน้าที่อะไร ?

เริ่มโดย กิมหยง, 09:56 น. 06 ธ.ค 55

กิมหยง

ได้สัมผัสกับพระสงฆ์องค์เจ้าหลาย ๆ วัด หลายนิกาย

สับสน ไม่รู้ว่าสงฆ์คืออะไร มีหน้าที่อะไร สิ่งใดต้องทำบ้าง ไม่ต้องทำบ้าง

หลายเรื่องหลายราว

พอสอบถามก็อ้างเหตุผลที่จะเข้าข้างตัวเอง

ก็เลยไม่รู้ว่า เราผิดที่คิดสงสัย หรือสงฆ์เหล่านั้นทำการไม่สมควร

หรือว่าจะเกี่ยวข้องกับแก่นจันทร์-เปรียงเน่า
หรือว่าสงฆ์ก็คืออีกหนึ่งอาชีพ ที่ต้องมีไว้เพื่อเลี้ยงชีพ

สงสัยแบบนี้ จะถึงกับตกนรกหรือไม่

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
สร้าง & ฟื้นฟู

ฟ้าเปลี่ยนสี

โดยรวม ของหน้าที่ ทะนุ บำรุง เผยแพร่ พระพุทธศาสนา ครับผม
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

ฟ้าเปลี่ยนสี

อันนี้เป็นทางการครับ

หน้าที่ของพระสงฆ์

หน้าที่ของพระสงฆ์มีทั้ง 1.หน้าที่โดยพระธรรมวินัย และ 2. หน้าที่ต่อสังคม

หน้าที่โดยพระธรรมวินัย

หน้าที่โดยพระธรรมวินัย หมายถึง หน้าที่ที่พระธรรมวินัยโดยตรง รวมทั้งหน้าที่ที่คณะสงฆ์กำหนดให้ โดยมีดังต่อไปนี้

1.รักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยที่ต้องรักษาคือ จาตุปาริสุทธิศีล เช่น ปาฏิโมกขสังวรศีล อิทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิตศีล
2.ทำกิจวัตรต่างๆให้ครบถ้วน กล่าวคือ ข้อปฏิบัติที่ต้องทำเป็นประจำ
3.ศึกษาไตรสิกขา อันได้แก่ สีลสิกขา คือ การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย จิตตสิกขา คือ การทำจิตให้สงบ ปัญญาสิกขา คือ การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา
4.บริหารคณะสงฆ์ตามตำแหน่งหน้าที่ พระภิกษุที่อุปสมบทแล้วหลายพรรษาและมีความรู้ทางพระธรรมวินัยพอสมควร มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ปฏิบัติต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
5.เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขว้างออกไป โดยสามารถกระทำได้ทั้งในวัด นอกวัด แม้แต่การเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยอาการสำรวมก็ถือว่าเป็นการเผยแผ่ไปด้วย
6.ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และปูชนียสถานในวัด ซึ่งนอกจากการซ่อมแซมแล้วยังต้องสร้างเพิ่มเติม
7.สืบต่อพระพุทธศาสนา ซี่งเป็นหน้าที่ที่ติดไปตลอดการครองสมณเพศตลอดชีวิต

หน้าที่ต่อสังคม

โดยจะมีทั้งหมด 7 อย่าง ดังนี้

1.อบรมให้ประชาชนมีคุณธรรม ไม่ทำความชั่ว รู้จักการนำหลักธรรมพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวนี้พระสงฆ์สามารถทำนอกเหนือจากการกระทำปกติ
2.จัดให้มีการอบรมสมาธิ เพื่อให้ประชาชนมีความสงบในจิตใจและมีความเจริญทางปัญญาสูง
3.อุปถัมภ์บำรุงโรงเรียนที่อยู่ในวัด และนอกวัด
4.นำประชาชนมาประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
5.อนุรักษ์ศิลปวัตถุ ปูชนียวัตถุ และปูชนียสถาน และแนะนำประชาชนให้อนุรักษ์ด้วย
6.แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาท้องถิ่น และรักษาสิ่งแวดล้อม
7.แนะนำประชาชนให้ช่วยกันรักษาป่า และสงวนพันธุ์สัตว์ป่า

หน้าที่ของพระสงฆ์เป็นการแสดงว่าพระสงฆ์นั้นเป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ถ้าในยุคใดพระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวคลาดเคลื่อน ในยุคนั้นประชาชนก็จะขาดความนับถือ สังคมไม่เห็นคุณค่าทางพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมลง แต่ถ้าในยุคใดที่พระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ในยุคนั้นพระสงฆ์ก็จะมีประชาชนนับถือมาก และพระพุทธศาสนาก็จะรุ่งเรือง ซึ่งทำให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และเมื่อมีประชาชนมานับถือก็จะสร้างโบราณวัตถุและโบราณสถาน ดังนั้นพระสงฆ์จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาที่สืบต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

เณรเทือง

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 10:28 น.  06 ธ.ค 55
อันนี้เป็นทางการครับ

หน้าที่ของพระสงฆ์

หน้าที่ของพระสงฆ์มีทั้ง 1.หน้าที่โดยพระธรรมวินัย และ 2. หน้าที่ต่อสังคม

หน้าที่โดยพระธรรมวินัย

หน้าที่โดยพระธรรมวินัย หมายถึง หน้าที่ที่พระธรรมวินัยโดยตรง รวมทั้งหน้าที่ที่คณะสงฆ์กำหนดให้ โดยมีดังต่อไปนี้

1.รักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยที่ต้องรักษาคือ จาตุปาริสุทธิศีล เช่น ปาฏิโมกขสังวรศีล อิทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิตศีล
2.ทำกิจวัตรต่างๆให้ครบถ้วน กล่าวคือ ข้อปฏิบัติที่ต้องทำเป็นประจำ
3.ศึกษาไตรสิกขา อันได้แก่ สีลสิกขา คือ การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย จิตตสิกขา คือ การทำจิตให้สงบ ปัญญาสิกขา คือ การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา
4.บริหารคณะสงฆ์ตามตำแหน่งหน้าที่ พระภิกษุที่อุปสมบทแล้วหลายพรรษาและมีความรู้ทางพระธรรมวินัยพอสมควร มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหาร ซึ่งแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ปฏิบัติต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
5.เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขว้างออกไป โดยสามารถกระทำได้ทั้งในวัด นอกวัด แม้แต่การเดินทางไปไหนต่อไหนด้วยอาการสำรวมก็ถือว่าเป็นการเผยแผ่ไปด้วย
6.ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และปูชนียสถานในวัด ซึ่งนอกจากการซ่อมแซมแล้วยังต้องสร้างเพิ่มเติม
7.สืบต่อพระพุทธศาสนา ซี่งเป็นหน้าที่ที่ติดไปตลอดการครองสมณเพศตลอดชีวิต

หน้าที่ต่อสังคม

โดยจะมีทั้งหมด 7 อย่าง ดังนี้

1.อบรมให้ประชาชนมีคุณธรรม ไม่ทำความชั่ว รู้จักการนำหลักธรรมพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวนี้พระสงฆ์สามารถทำนอกเหนือจากการกระทำปกติ
2.จัดให้มีการอบรมสมาธิ เพื่อให้ประชาชนมีความสงบในจิตใจและมีความเจริญทางปัญญาสูง
3.อุปถัมภ์บำรุงโรงเรียนที่อยู่ในวัด และนอกวัด
4.นำประชาชนมาประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
5.อนุรักษ์ศิลปวัตถุ ปูชนียวัตถุ และปูชนียสถาน และแนะนำประชาชนให้อนุรักษ์ด้วย
6.แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาท้องถิ่น และรักษาสิ่งแวดล้อม
7.แนะนำประชาชนให้ช่วยกันรักษาป่า และสงวนพันธุ์สัตว์ป่า

หน้าที่ของพระสงฆ์เป็นการแสดงว่าพระสงฆ์นั้นเป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ถ้าในยุคใดพระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวคลาดเคลื่อน ในยุคนั้นประชาชนก็จะขาดความนับถือ สังคมไม่เห็นคุณค่าทางพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมลง แต่ถ้าในยุคใดที่พระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วน ในยุคนั้นพระสงฆ์ก็จะมีประชาชนนับถือมาก และพระพุทธศาสนาก็จะรุ่งเรือง ซึ่งทำให้เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ และเมื่อมีประชาชนมานับถือก็จะสร้างโบราณวัตถุและโบราณสถาน ดังนั้นพระสงฆ์จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนาที่สืบต่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ไม่ทราบว่าอ้างอิงจากตำราไหนครับ
หรือคิดขึ้นเอง
ควรระวังในเรื่องละเอียดอ่อน
หลายเรื่องที่กล่าวถึงไม่ใช่กิจของสงฆ์

ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 10:40 น.  11 ธ.ค 55
ไม่ทราบว่าอ้างอิงจากตำราไหนครับ
หรือคิดขึ้นเอง
ควรระวังในเรื่องละเอียดอ่อน
หลายเรื่องที่กล่าวถึงไม่ใช่กิจของสงฆ์

กระทู้นี้เป็น กระทู้ความคิดเห็น ท่านกิมแกถามมา

ผมค้นมา แล้วเห็นว่า หน้าที่ของพระสงฆ์ ต้องเป็นดังนี้ๆๆๆๆ

ส่วนคนที่มาอ่าน หรือ จะแสดงความคิดเห็นที่เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย

มันเป็นสิทธิ์ของแต่ละคน ที่จะใช้วิจารณญาณ และ มุมมอง  ครับ

ไม่ได้บังคับให้ต้องเชื่อ แต่ถ้า ท่านเณรเทือง เห็นว่า อันนี้มันไม่ใช่ ต้องเป็นแบบนี้ๆๆๆๆ

ก็ไม่มีใครว่ากระไร ครับผม

เพราะผมเชื่อว่า คนที่เขาเข้ามาอ่าน พวกเขาเหล่านั้นมีภูมิความรู้พอสมควร

เขาสามารถแยกแยะได้ว่า อันไหนใช่ อันไหนไม่ใช่ ครับผม

มันเป็นเรื่องธรรมดามากเลยน่ะครับ ของสิ่งเดียว อย่างเดียว เรื่องเดียว

แต่มีการมอง การดู การฟัง การเขียน ไปคนละเรื่องเดียวกัน

มันอยู่ที่ทัศนคติ มุมมอง ของแต่ละคน จริงๆ ครับท่าน






ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

เณรเทือง

อ้างจาก: คนข้างพลาซ่า เมื่อ 11:22 น.  11 ธ.ค 55

มันเป็นเรื่องธรรมดามากเลยน่ะครับ ของสิ่งเดียว อย่างเดียว เรื่องเดียว

แต่มีการมอง การดู การฟัง การเขียน ไปคนละเรื่องเดียวกัน

มันอยู่ที่ทัศนคติ มุมมอง ของแต่ละคน จริงๆ ครับท่าน

ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ การใช้มุมมองมาตอบก็พอฟังได้ แต่เรื่องหน้าที่ของสงฆ์ หรือกิจของสงฆ์มีกำหนดอยู่แล้วในพระวินัยบัญญัติ
การตอบจึงต้องอ้างอิงพระวินัย ไม่ควรกำหนดตามมุมมองของตนเอง ที่ท่านตอบมาหลายข้อเป็นการเพิ่มภาระให้สงฆ์โดยไม่จำเป็น หน้าที่ที่สงฆ์พึงกระทำบางข้อก็ยังไม่ได้กล่าวถึง ถ้าอนุญาต จะวิจารณ์คำตอบท่านเป็นข้อๆ



ฟ้าเปลี่ยนสี

อ้างจาก: เณรเทือง เมื่อ 12:43 น.  11 ธ.ค 55
ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ การใช้มุมมองมาตอบก็พอฟังได้ แต่เรื่องหน้าที่ของสงฆ์ หรือกิจของสงฆ์มีกำหนดอยู่แล้วในพระวินัยบัญญัติ
การตอบจึงต้องอ้างอิงพระวินัย ไม่ควรกำหนดตามมุมมองของตนเอง ที่ท่านตอบมาหลายข้อเป็นการเพิ่มภาระให้สงฆ์โดยไม่จำเป็น หน้าที่ที่สงฆ์พึงกระทำบางข้อก็ยังไม่ได้กล่าวถึง ถ้าอนุญาต จะวิจารณ์คำตอบท่านเป็นข้อๆ


ที่ท่านยกมาตัวแดงๆ คือ บทสรุป ของ คนที่เรียกว่า มนุษย์ จะมีความคิด ความอ่าน ทัศนคติ มุมมองที่ต่างกัน

แต่ ที่ผมตอบคำถาม ท่านเณรเทือง คือตัวหนังสือสีดำๆ นั้น

ที่ผมเอามา มันเป็นหนังสือแบบเรียนทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนเขาครับ

ในมุมมอง ของผมเห็นว่า มันใช่เพราะ เคยเห็นพระจริงๆ บางท่านปฎิบัติมาแล้ว

ส่วนท่านเณรเทือง บอกว่า ไปเพิ่มภาระให้กับพระสงฆ์โดยไม่จำเป็น

ผมไม่กล้า ถึงขนาดนั้นน่ะครับ  พระสงฆ์ท่านแต่ละรูป จะทราบน่ะครับ ว่ามีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้างครับ

หรือท่าน เณรเทือง จะไปบังคับท่านหรือครับว่า สิ่งนี้ทำได้ สิ่งนี้ทำไม่ได้ เพราะไม่ถูกต้อง

ส่วนท่านจะวิจารณ์ อะไรเกี่ยวกับ บทความนี้ ก็ตามสบายน่ะครับท่าน

เพราะที่นี่ เป็นกระทู้ความคิดเห็นที่อิสระ ไม่ต้องขออนุญาต เพราะผมไม่รู้จัก ครูบาอาจารย์ท่านนั้นที่เขียนหนังสือนี้ ให้นักเรียนได้เรียนกันครับ


ไม่ว่าเราจะมีความทุกข์เพียงไร เราก็มีความสุขกับชีวิตได้
เพราะเราเลือกที่จะ.."เข้าใจ" แทนการเลือกที่จะ.."เจ็บปวด"
"ยอมรับ" ในสิ่งที่เป็นอยู่ "ปล่อยวาง" ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว  "มีศรัทธา" กับสิ่งที่กำลังจะมาถึง และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด

moray

พระ ซื้อสลากกินแบ่ง ผิดไหมครับ...

เณรเทือง

    1. นิสัย 4 หมายถึง ต้องอาศัยปัจจัย 4 อย่างในการดำเนินชีวิต คือ
         1.1 บิณฑบาตเป็นกิจวัตร คือ ไม่ประกอบอาชีพใด ๆ นอกจากบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
         1.2 ถือผ้าบังสกุลเป็นกิจวัตร คือ นำผ้าที่ทิ้งแล้วมาเย็บเป็นจีวร ต่อมาพระองค์อนุญาตให้รับผ้าที่มีผู้นำมาถวายได้
         1.3 อยู่โคนต้นไม้เป็นกิจวัตร คือ อาศัยอยู่ตามถ้ำ ป่า โคนต้นไม้ จะอยู่ประจำเฉพาะฤดูฝน 3 เดือนเท่านั้น
         1.4 ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ ฉันยาสมุนไพรรักษาโรคตามที่หาได้

      2. อกรณียกิจ 4 หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ไม่ทำ 4 อย่าง คือ
         2.1 ไม่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์
         2.2 ไม่ลักทรัพย์
         2.3 ไม่ฆ่าสัตว์
         2.4 ไม่อวดคุณวิเศษที่ตนไม่มี