ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

บิ๊กบอส PFP ห่วงผลกระทบค่าแรง 300 "SMEs จะรอดถึง AEC หรือไม่"

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 13:03 น. 09 ก.พ 56

ทีมงานประชาสัมพันธ์

บิ๊กบอสพีเอฟพี นำทัพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใต้ แถลงห่วงใยผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท ชี้การเมืองมุ่งทำแต่นโยบายประชานิยมทำผู้ประกอบการเดือดร้อนรับหางเลขเพียบ

นายทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปแบรนด์พีเอฟพี (PFP) และรองประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดเวทีหารือผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ เรื่องผลกระทบ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่เริ่ม 1 ม.ค. 56 มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมถึงเสนอแนะถึงรัฐบาลเรื่องความช่วยเหลือของ SMEs  โดยมีสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมรับฟังด้วย ประเด็นค่าแรง 300 บาท พูดกันมานานแล้ว ในวงของผู้ประกอบการแม้จะมีผลดีกับลูกจ้างที่จะได้เงินเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นผลเสียของผู้ประกอบการบางรายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นโดยที่รายได้ไม่ได้เพิ่มตามไปด้วย

[attach=1]

หลายประเด็นที่น่าสนใจที่มีการพูดคุยกันทางทีมงานเว็บกิมหยงจะนำมาสรุปให้ฟัง มีดังนี้

1.   ประเด็นเรื่องรายได้ของผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการมีรายได้เพียงพอ ก็คงไม่มีปัญหากับการจ้างค่าแรงขึ้นต่ำ 300 บาท  แต่จะมีผู้ประกอบการรายไหนที่จะมีพอบ้าง แน่นอนว่า รายใหญ่ๆ คงมีปัญหาบ้างแต่ก็ยังจ่ายได้ แล้วรองลงมาก็คงเป็นพวกผู้ประกอบการที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งก็คงจะยังจ่ายได้แต่ก็ต้องปรับตัวกันเหมือนกัน แต่สุดท้าย SMEs รายย่อย ต้องปรับตัวกันทุกวิถีทาง เพื่อความอยู่รอด แต่จะมีซักกี่รายที่อยู่ไหว

2.   ค่าแรง 300 บาท คือเงินเดือน เพิ่มขึ้นจริง แต่ ไม่มีโอที เงินช่วยเหลืออื่นๆ ก็ปรับลง รับกันไหวแค่ไหน  นายจ้างก็อาจปรับลดสวัสดิการนอกกฎหมาย อาทิ อาหารกลางวันให้พนักงาน จากที่มี ก็คงไม่มี และการปรับค่าจ้างประจำปี จากที่เคยขึ้น ปีละ 1000 ก็อาจลดลงเหลือ 500 หรือ จากที่เมื่อก่อนทำงานได้เงินเดือนเดือนละ 7500 บาท + ค่าล่วงเวลา 2000 บาท เงินขยันอีก 1000 บาท รวมแล้ว 10500 บาท แต่ตอนนี้ ผู้ประกอบการ ปรับเป็นเงินเดือน 9000 บาท งดโอที งดเงินขยัน ลูกจ้างก็น่าจะคิดหนักเหมือนกัน

3.   นโยบายช่วยเหลือของรัฐบาลให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ มีผู้ประกอบการบางคนให้คำนิยาม "ผักชีโรยหน้า" มันแทบไม่มีผลอะไรเลยจริงๆ

4.   หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า มีลูกน้องมาขอให้ออกหนังสือรับรองเงินเดือนให้ ,สลิปเงินเดือน เพื่อที่จะไปทำบัตรผ่อนสินค้า บัตรกดเงินสด หรือกู้เงิน ที่มีคนมารอรับเอกสารกันถึงหน้าโรงงาน นี่ชี้ให้เห็นว่า คนพร้อมที่จะเป็นหนี้ใช่ไหม เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น

5.   เมื่อมีคนที่ไม่ต้องการแรงงาน ก็มีคนที่ต้องการแรงงานเหมือนกัน จ่ายมากเป็น 400-500 บาทต่อวัน ก็ยอม แต่ไม่มีใครมาทำ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯท่านหนึ่งกล่าวถึงเรื่องประเด็นแรงงานที่ขาดไป ในธุรกิจอสังหาฯ เหตุผลมันเพราะอะไรกัน แล้วจะมีหน่วยงานไหนที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ ที่จะมานำคนของสถานประกอบการที่ไม่ต้องการแรงงานไปให้สถานประกอบการที่ต้องการแรงงานไหม....

6.   เรื่องค่าเงินบาท เรื่องการส่งออก และเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs จะมีทางไหนบ้างที่จะให้ SMEs มีทางเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยถูก เพื่อจะนำเงินมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ผู้ประกอบการท่านหนึ่งบอกว่า เคยได้รับโทรศัพท์จากธนาคาร .... โทรมาแจ้งว่าสามารถกู้เงินได้ รู้ไหมครับว่าดอกเบี้ยเท่าไร 22% ต่อปี นี่เป็นการตอกย้ำผู้ประกอบการที่ขาดสภาพคล่องหรือเปล่า ก็ยังสงสัยอยู่นะ

7.   เคยรู้สึกไหมว่า ค่าอาหารต่างๆแพงขึ้น ค่าผักและผลไม้แพงขึ้น หรือ ซื้อของแต่ธงฟ้ากัน ทั้งหมด (ซื้อของธงฟ้า บางรายการก็จำกัด แถมต้องเข้าคิวรออีก) หากเทียบดูดีๆแล้วตอนนี้สินค้าอาจจะยังแพงขึ้นไม่มาก จนทำให้รู้สึกว่า มันขึ้นมาเยอะ แต่เชื่อเถอะว่าของแพงขึ้นจริงๆ มีการปรับราคาสินค้าจริงๆ ที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม ก็ปรับกันตามใจ นานๆซื้อที ไม่รู้สึกหรอก แต่ซื้อบ่อยๆ ก็คิดมากเหมือนกัน

8.   เรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงาน เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น คุณก็ควรมีความสามารถในการทำงานมากขึ้นด้วยนะคุณลูกจ้าง จนมีลูกจ้างบางคนทนไม่ไหว ขอกลับไปรับเงินเดือนเท่าเดิม  แต่ก็ทำไม่ได้ติดปัญหาเรื่องของกฎหมายแรงงานที่ต้องจ่ายขั้นต่ำ ตามที่ได้เคยเรียกร้องกันมา

9.   และประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจมาก คือ ระบบการศึกษาของไทยเรา ผู้ประกอบการตั้งโจทย์ถามว่า เด็กที่จบออกมาพร้อมที่จะทำงานเลยไหม หากพร้อมผู้ประกอบการก็พร้อมที่จะจ่าย ปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนทันที แต่หากต้องฝึกกันอีก 3-6 เดือนละก็ ขอคิดดูก่อน


[attach=2]

สุดท้ายผู้ประกอบการ SMEs ก็เสนอแนวทางแก้ปัญหาที่ต้องการมาว่า ให้มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ,มีพี่เลี้ยง (คลินิกอุตสาหกรรม) ,การปรับลดประกันสังคมควรจะปรับลดลงมากว่านี้ , ผลต่างที่เกิดจากค่าแรงอยากให้รัฐบาลเข้ามาชดเชยส่วนนี้ให้, และการฝึกอบรมแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพของการทำงานของพนักงาน และอื่นๆ

"นี่อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ที่พรรคการเมืองจะเสนอนโยบาย เกี่ยวกับค่าแรง ตอนที่หาเสียง" ค่าแรง 300 บาท มีผลมากทางจิตวิทยาของประชาชน ซึ่งก็เป็นไปตามที่พรรคการเมือง บางพรรคที่มองลึกลงไปในส่วนนี้ เข็นนโยบายประชาชนนิยมออกมา เพื่อ ปรนเปรอ บำเรอ ประชาชนทุกอย่าง แต่สุดท้ายพรรคการเมืองเขาทำเพื่ออะไรละ ลองคิดดูกันเอาเอง

ถามว่าเห็นด้วยไหมกับการปรับค่าแรง ตอบได้เต็มปากว่า เห็นด้วย แต่ อะไรที่มากเกินไป มันก็มีผลเสียเหมือนกัน  ไม่เสียที่ตัวเราเองก็ไปเสียที่ผู้อื่น นั้นคือเรื่องจริง 

ทีมงานประชาสัมพันธ์

คลิปผู้ประกอบการอสังหาฯสงขลา หารือ ครับ

http://youtu.be/TrRMueOYD-0

ท่านชาย

คนใหม่ค่าแรง300ก็ลากเลือดครับ แต่คนเก่าที่เกิน300แต่ทำงานได้มากกว่าคนใหม่จะยอมเหรอครับ กฏหมายไม่บังคับคนกลุ่มนี้ แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครยอมครับ ถ้าไม่ปรับคนเก่าด้วยก็จะลาออกต้องขึ้นยกแผง ตายอยู่ที่ครับเจอกับตัวเองมาแล้วพูดได้ ไม่ทราบว่าท่านรัฐบาลมีเขาทราบและเข้าใจปัญหานี้ดีหรือเปล่า...