ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

อันไหนจิต อันไหนใจ

เริ่มโดย สายน้ำ, 16:16 น. 03 พ.ค 54

สายน้ำ

สติ คอยควบคุมจิตตัวนั้น ให้อยู่ในอำนาจของเรา ให้คิดก็ได้ ไม่ให้คิดอยู่เฉยๆ ก็ได้ จะปรุงจะแต่งก็ได้
ไม่ปรุงไม่แต่งอยู่เฉยๆ ก็ได้  เรียกว่าเราคุมตัวจิตได้แล้ว เราคุมจิตอยู่ในอำนาจของเรา คนเราเวลาตาย
ถ้าเราคุมจิตได้แล้วมันก็ไม่ไปทุคติ ถ้าคุมจิตไว้ไม่อยู่ ก็ไม่ทราบจะไปเกิดในคติไหน

ถ้าควบคุมจิตอยู่ มันจะรวมเข้ามาเป็นใจ
ใจนี้มันไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง เฉยรู้ตัวอยู่

จิตรวมลงเป็นใจ ผู้รู้สึกเฉยๆ ไม่คิดไม่นึกแล้วจะมีประโยชน์อะไร ?

ถูก แล้วใจของคนเรามันไม่เคยเข้าถึงที่เดิม คือใจเลยสักที มันชอบวิ่งว่อนปรุงแต่งอยู่อย่างนั้น
ไปตามเรื่องตามราว เมื่อจิตรวมเข้าถึงใจ ไม่คิด ไม่นึก จึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อะไร
คือ ที่มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง มีแต่ความรู้สึกเป็นกลาง วางเฉย ที่เรียกว่า ใจ อันนี้เป็นของทำได้ยาก

เมื่อเข้าถึงที่เดิมของใจมันจะพักอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
แล้วถอนออกมาปรุงแต่งไปตามเรื่อง ก็เรียกว่าเป็นจิต
คราวนี้ก็รู้ชัดทั้งสองอย่างว่า อันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นใจ
จะให้อยู่ในจิตก็ได้ หรือจะให้อยู่ในใจก็ได้
อันไหนสบายก็ให้เลือกเอาสบายแฮ

: พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ที่มา   http://www.thammaonline.com/forum/index.php/topic,11946.msg12729/topicseen.html#new

ตั้งต้น

ไม่ค่อยจะเข้าใจเลย

คุณหลวง

เปรียบกับน้ำครับ

อันใจนั้น "คือ ที่มันไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง มีแต่ความรู้สึกเป็นกลาง วางเฉย ที่เรียกว่า ใจ"
เปรียบกับน้ำบริสุทธิ์น่ะครับ
อันจิตนั้น "ปรุงแต่งไปตามเรื่อง ก็เรียกว่าเป็นจิต" เปรียบกับน้ำที่ถูกปรุงแต่ง เป็นน้ำหวานบ้าง
โคล่าบ้าง ส้มบ้าง น้ำครำบ้าง ฯลฯ ครับ

คนเรามักอยู่ด้วยจิต คือปรุงแต่งต่างๆนานา รัก โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ ฯลฯ การเข้าถึงใจ คือ ฝึก
สติ สติเป็นดั่งเครื่องกลั่น กลั่นเหลือน้ำบริสุทธิ์ ของปรุงแต่งทิ้งไว้ ไม่เข้ามา เมื่อจิตถูกสติกลั่น เราก็จะ
พบใจ คือ ความเศร้าหมองแห่งจิตไม่เหลือ เหลือความบริสุทธิ์ไว้

ที่ท่านว่า "เมื่อจิตรวมเข้าถึงใจ ไม่คิด ไม่นึก จึงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์อะไร" เพราะเราติดใจความ
ปรุงแต่งเป็นปกตินั่นล่ะครับ อยากเห็นรูป ยินเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส อารมณ์ ที่ดี ที่ถูกใจก็ปรุงไป สรรหา
มาปรนเปรอ ก็ดั่งชอบน้ำหวาน โคล่า ฯลฯ พอเจอสิ่งตรงข้ามก็ปรุงแต่งทางเสียใจ คับแค้น พยายามทำลา่ย
ไปตามเรื่อง ก็ดั่งปรุงด้วยนำ้ครำ น้ำโสโครก ฯลฯ

เมื่อจิตถึงใจ จะพบน้ำใสสดชื่นสะอาด ที่เรามักมองข้ามเพราะหลงไปในสัมผัสทั้ง ๖

สมมติ คุณอยู่ในอารมณ์รัก ก็สดชื่น สนุก ซาบซ่า ดั่งโคล่าในน้ำแข็งกลางอากาศร้อน แต่พอเขาทิ้ง มีใหม่
คุณก็เอาโคล่าราดรดตัว จากซาบซ่าก็บ้าเหนียวเหนอะ ทรมาน

สุดท้าย คนเราก็ต้องการน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถทำประโยชน์ได้ทุกประการ เพียงไม่ซาบซ่าเท่าโคล่า แต่
เวลาอาบไำม่ทรมานครับ

อันนี้ ผมแจกตามที่ท่านพระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)ท่านใช้นะครับ มันเป็น
วิธีการอธิบายของท่าน  อาจต่างกับพระรูปอื่นที่สอน ต่างอุบายแต่ผลเดียวกันครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ปัจเจกพุทธ

แทนที่จะคุม น่าจะปล่อยวางมากกว่า ปล่อยมันแล้วคอยรู้เท่าทันมัน

อะไรที่ไม่ปรุงแต่งเลย ก็จะขาดความพอดี เหมือนเรากินอาหารที่ไม่มีเครื่องปรุงอะไรเลย ก็จะไม่อร่อย กินแล้วไม่เจริญอาหาร ใช่ เรากินเพื่ออยู่ แต่การกินเราก็ต้องเลือกกินสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ถ้าไม่ปรุง มันก็จะจืดชืด

ทางสายกลาง แน่นอนที่สุด

คุณหลวง

การปล่อยวาง กับ การปล่อยปละ ต่างกันครับ

       จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง     ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป

ปัจเจกพุทธ

ไม่รู้สิ ผมกินอย่างฆราวาสนะ แต่ผมกินน้อย กินข้าวต้มเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยกินพวกหมู เป็ด ไก่ เนื้อ หรอก

คุณหลวง

ผมมิได้ตำหนิท่านนะครับ
เพียงประสบการณ์ผมสอนว่า กิเลสก็มีปัญญาไม่น้อยในการที่จะทำให้เราตกเป็นทาสมัันโดยไม่รู้ตัว
บางอย่างเราทำตามชอบเรา แล้วบอกว่าปล่อยวางได้ เพราะมันยังไม่เจอที่ขัดใจครับ

ผมจึงไม่คิดว่าการปฏิบัติธรรมง่าย ไม่ว่าแบบใดก็ตาม แต่สนับสนุนให้ทำเรื่อยๆครับ สะสมกำลังให้
ใจ พอกำลังมากพอ มันก็ชัดเจนไปตามลำดับครับ

ขอสาธุการในการปฏิบัติธรรมของท่าน และทุกๆคนครับ
สิ่งที่ไม่เหลือคือ  ความสงสัยในวิถีตน
สิ่งที่เหลือคือ  เดินทางต่อไป และต่อไป