ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ม.อ.พบพืชใหม่ของโลก “ส้มกุ้งใบเฟิร์น” มีเฉพาะถิ่นภาคใต้

เริ่มโดย ฅนสองเล, 16:38 น. 30 พ.ย 53

ฅนสองเล



ม.อ.พบพืชใหม่ของโลก "ส้มกุ้งใบเฟิร์น" มีเฉพาะถิ่นภาคใต้ พร้อมโชว์เทคนิคการเก็บตัวอย่างพืชแบบใหม่

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. พบพืชชนิดใหม่ของโลก "ส้มกุ้งใบเฟิร์น" เกิดเฉพาะในกลุ่มภูเขาหินปูนในจังหวัดภาคใต้
แต่เริ่มลดน้อยลงจากระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง พร้อมเปลี่ยนวิธีเก็บตัวอย่างเป็นการอัดไว้ในเรซิ่น แทนการดองหรือติดบนกระดาษ เพื่อคงความงดงามของรูปร่างและสีสัน



นายธรรมรัตน์ พุทธไทย นักศึกษาปริญญาเอก สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สำรวจพบพืชชนิดใหม่ของโลก (New Species) มีชื่อเรียกว่า ส้มกุ้งใบเฟิร์น (Begonia pteridiformis Phutthai) ซึ่ง เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย พบตามก้อนหินปูน หรือ หน้าผาหินปูน ในที่แสงแดดส่องถึงน้อย และ มีความชื้นสูง ในกลุ่มภูเขาหินปูนในจังหวัดพังงา กระบี่ สุราษฎร์ธานีและสตูล

"ส้มกุ้งใบเฟิร์น" สูงได้ตั้งแต่ 12-35 เซนติเมตร ทุกส่วนของพืชมีขนปกคลุมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวที่เรียงตัวแบบเรียงสลับ เมื่อมองแบบผิวเผินนั้นเหมือนใบประกอบของเฟิร์น ใบและลำต้นอวบน้ำ ช่อดอกแบบช่อกระจะซ้อนประกอบ ดอกย่อยแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกเรียกว่า กลีบรวม สีขาวหรือสีขาวอมชมพู ดอกเพศผู้มีกลีบรวม 4 กลีบ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 6 กลีบ เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียสีเหลืองสด ผลเป็นผลแห้งแบบแคปซูล มีปีกยาว 1 ปีก ปีกสั้น 2 ปีกด้านข้าง มีหัวสะสมอาหารไต้ดิน โดยฝังอยู่ในซอกหินปูน พืชชนิดนี้จะยุบตัวในหน้าแล้งเหลือไว้แค่หัวสะสมอาหารที่ฝังอยู่ในซอกหิน ที่จะงอกงามใหม่อีกครั้งในฤดูฝนถัดไป

การค้นพบพันธุ์พืชชนิดใหม่ของโลก เป็นดัชนีบ่งชี้ว่าประเทศไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ ทั้งยังเป็นเครื่องการันตีว่านักสำรวจและนักวิจัยของไทยมีศักยภาพในการการ ปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จได้อีกด้วย

"ส้มกุ้ง" เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Begoniaceae หรือ เป็นที่รู้จักกันก็คือ บีโกเนีย พบได้ทั่วประเทศในเขตป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ และตามภูเขาหินปูน เหตุที่เรียกว่าส้มกุ้งเป็นเพราะพืชชนิดนี้มีรสเปรี้ยว ก้านของต้นจะออกสีแดงลักษณะคล้ายกับสีของกุ้ง ในประเทศไทยการศึกษาพืชวงศ์ส้มกุ้ง มีเพียงรายงานของ William Grant Craib นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ เป็นเวลามากกว่า 77 ปี ที่ผ่านมา รายงานไว้ทั้งสิ้น 45 ชนิด โดยคาดว่าในประเทศไทยน่าจะมีพืชวงศ์ส้มกุ้งประมาณ 50 ชนิด

" เมื่อปี2551 ผมได้ออกสำรวจพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้งของประเทศไทยและได้สำรวจพบส้มกุ้งใบเฟิร์น ขึ้นอยู่ตามซอกหินใกล้กับน้ำตกในบริเวณวนอุทยานน้ำตกมโนราห์ เป็นที่แรก อยู่ในเขตจังหวัดพังงา ซึ่งการค้นพบดังกล่าวได้ตีพิมพ์ลงใน Thai Forest Bulletin ปี 2553 ที่เป็นวารสารด้านพฤษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย และเมื่อปี 2552 ได้สำรวจพบพรรณไม้วงศ์ส้มกุ้งใหม่ชนิดใหม่ครั้งแรกของไทย คือ ส้มกุ้งธารปลิว (Begonia aliciae C.E.C Fisch) ซึ่งจัดเป็นพืช หายากชนิดหนึ่งอีกทั้งแหล่งที่พบค่อนข้างจำเพาะ ต้องเป็นป่าที่สมบูรณ์ มีความชื้นสูงและต้องไม่มีการรบกวนจากสิ่งภายนอกแต่ด้วยปัจจุบันการขยาย พื้นที่รอบภูเขาหินปูนนั้น ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของพืชประเภทนี้เป็นอย่าง มาก เพราะพืชไม่สามารถปรับตัวได้ ส่งผลให้ประชากรพืชลดน้อยลงและอาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด และอีกชนิดคือ ส้มกุ้งพังงา (Begonia surculigera Kurz ) พืชชนิดนี้พบครั้งแรกในประเทศพม่า ส่วนในประเทศไทยขณะนี้พบส้มกุ้งพังงาแค่เพียงในจังหวัดพังงาเท่านั้น " นายธรรมรัตน์กล่าว

นอกจากนั้น เมื่อระหว่างวันที่ 10 -12 ตุลาคม 2553 โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT) ได้จัดการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 14 ณ โรงแรม สุนีย์แกรนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดอุบลราชธานี โดย นายธรรมรัตน์ พุทธไทย และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ์ ได้รับรางวัลแห่งความพยายาม และความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทย จาก ผลงาน "อัดไว้ในเรซิ่น พืชวงศ์ส้มกุ้ง" เป็นผลงานที่นำเสนอวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างพืชโดยการอัดไว้ในเรซิ่น ซึ่งจะทำให้ตัวอย่างพรรณไม้คงความงดงามของรูปร่างและสีสัน "การเก็บตัวอย่างโดยทั่วไปจะเก็บโดยวิธีการดอง หรือติดไว้บนในกระดาษ (Herbarium sheet) ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปพืชตัวอย่างจะแห้ง ทำให้สีกลายเป็นสีน้ำตาลไปจนถึงดำ จึงคิดจะเก็บตัวอย่างไว้ในเรซิ่นเพื่อพยายามรักษาสีของพืชตัวอย่างให้คงเดิม และขณะนี้วางแผนจะนำตัวอย่างพืชที่เก็บโดยวิธีอัดเรซิ่นแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑ์พืช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อไป



ผลงานดังกล่าว ได้ต้นแบบจากพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างพืชที่ยังคง สีสันที่สวยงามของใบ และดอกพืชเอาไว้ได้ การเก็บตัวอย่างพืชวิธีนี้ไม่เคยมีการทำมาก่อนในประเทศไทย โดยได้ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์หลายอย่างจนสามารถเก็บตัวอย่างพรรณไม้วงศ์ส้ม กุ้งไว้ในเรซิ่นได้สำเร็จ

mapraow

การประมาณให้เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูและก็พนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ มีวิทยฐานะรวมทั้งเลื่อนวิทยฐานะ ขึ้นอยู่กับที่ทำการคณะกรรมการการศึกษาเล่าเรียนพื้นฐาน
ที่ทำการ กรกฎาคมศาสตราจารย์ ได้ทำคู่มือการคาดคะเนให้เจ้าหน้าที่รัฐอาจารย์แล้วก็เจ้าหน้าที่ด้านการศึกษา ตำแหน่งคุณครู มีวิทยฐานะแล้วก็เลื่อนวิทยฐานะฉบับนี้ขึ้น โดยมีจุดหมายเพื่อใช้เป็นแถวทางในการประมาณวิทยฐานะ ตามหลักหลักเกณฑ์รวมทั้งแนวทางการให้เจ้าหน้าที่รัฐอาจารย์รวมทั้งพนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์ มีวิทยฐานะแล้วก็เลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสานักงาน เดือนกรกฎาคมศาสตราจารย์ ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ระบุวันที่ 5 เดือนกรกฎาคม 2560 โดยมีรายละเอียดมี บทนำ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และก็ขั้นตอนการ การวัดผลงานที่เกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่และก็ผลงานทางด้านวิชาการ แนวทางการจัดการขอมีวิทยฐานะรวมทั้งเลื่อนวิทยฐานะ แล้วก็แนวปฏิบัติการขอมีวิทยฐานะและก็เลื่อนวิทยฐานะในตอนช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงผ่าน การกำหนดชั่วโมงการกระทำงาน ตัวชี้วัด รวมทั้งคำอธิบายการวัด แล้วก็ แบบเสนอขอรับการประมาณ แบบรายงาน แบบสรุปผลการวิเคราะห์แล้วก็ประเมิน เพื่อช่วยทำให้การวัด วิทยฐานะของเจ้าหน้าที่รัฐคุณครูและก็พนักงานด้านการศึกษาบรรลุจุดประสงค์เป็นไปตามความตั้งใจของหลักเกณฑ์ และก็แนวทางการดังที่กล่าวมาข้างต้น

โดยทาง ห้างหุ้นส่วนจำกัดครุศาสตร์สติปัญญาได้ทำหลักสูตร แนวทางการปรับปรุงความรู้ความเข้าใจสำหรับในการแสดงรำวงมาตรฐานสำหรับอาจารย์การฟ้อนรำในศตวรรษที่ 21 รหัส 629142002ระดับ กึ่งกลาง สาระ ดนตรี-ทุ่งนาฎศิลประดับตอนชั้น ประถม ช่วงเวลา 18 (ชั่วโมง) เพื่อ เจ้าหน้าที่รัฐคุณครูรวมทั้งพนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งคุณครู ที่พอใจในปะทุปองอาจารย์หลักสูตรดังที่กล่าวถึงแล้ว ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรที่ทำขึ้นเพื่อทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นของตน

ถ้าเกิดเจ้าหน้าที่รัฐอาจารย์และก็พนักงานด้านการศึกษา ตำแหน่งอาจารย์พอใจในหลักสูตรสามารถติดต่อถึงที่กะไว้ https://karusatpanya.org/ หรือสามารถถามถึงที่กะไว้ Line : @trainingobec ( มี @ )