ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

Songkhla Then and Now I : สถานีรถไฟสงขลากำลังโต(สูงขึ้น)

เริ่มโดย Big Beach, 13:02 น. 15 ม.ค 53

Big Beach

สถานีรถไฟสงขลา

เมื่อครั้ง ร.6 เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ.2458

[attach=1]
สถานีสงขลาปัจจุบัน
[attach=2]

ที่มา : ข่าวสารบ้านเรา | หัวข้อ: รายงาน : สมิหลา ชลาทัศน์ หาดทรายที่หายไป
http://www.gimyong.com/webboard/index.php/topic,33881.msg99951.html

หม่องวิน มอไซ

ไม่ถึง 100 ปี ทรุดตัวไปได้ขนาดนี้เลยนะครับ
ตอนแรกผมเข้าใจว่ามีการขุดดินหลังสถานีออก เพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอกันตอนสร้างอาคารพาณิชย์เสียอีก

warodako

ทำไมถึงคิดว่าทรุดตัวละครับ
ผมว่าเหตุผลที่คุณหม่องว่ามาก็น่าจะใช่ :)

Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 15:47 น.  15 ม.ค 53
ไม่ถึง 100 ปี ทรุดตัวไปได้ขนาดนี้เลยนะครับ
ตอนแรกผมเข้าใจว่ามีการขุดดินหลังสถานีออก เพื่อปรับพื้นที่ให้เสมอกันตอนสร้างอาคารพาณิชย์เสียอีก

ปกติการปรับพื้นที่เพื่อการก่อสร้างจะใช้การถม มากกว่าการขุดครับ
และ
สถานีรถไฟถือเป็นของหลวง การเอาดินออกไปจากที่หลวงคือการลักทรัพย์สินทางราชการ ตามปกติไม่น่าจะทำได้


warodako

แล้วทำไมการทรุดตัวถึงไม่มีผลกับบริเวณอาคารสถานีหละครับ ห่างกันแค่ไม่ถึงเซ็น


หม่องวิน มอไซ

เป็นเพราะอาคารสถานี มีการตอกเสาเข็มอย่างดีหรือเปล่าครับ
(อาการพื้นที่รอบ ๆ ทรุดตัว ทำให้ส่วนที่ตอกเสาเข็มลอยสูงกว่า พบได้ตามถนนที่มีทางยกระดับพาดผ่าน ผิวถนนเป็นคลื่น เพราะเสาตอม่อของทางยกระดับทรุดตัวไม่พร้อมกับถนน เกิด Differential Settlement)


Big Beach

อ้างจาก: หม่องวิน มอไซ เมื่อ 22:06 น.  17 ม.ค 53
เป็นเพราะอาคารสถานี มีการตอกเสาเข็มอย่างดีหรือเปล่าครับ
(อาการพื้นที่รอบ ๆ ทรุดตัว ทำให้ส่วนที่ตอกเสาเข็มลอยสูงกว่า พบได้ตามถนนที่มีทางยกระดับพาดผ่าน ผิวถนนเป็นคลื่น เพราะเสาตอม่อของทางยกระดับทรุดตัวไม่พร้อมกับถนน เกิด Differential Settlement)



ถูกต้องครับ
สังเกตง่ายๆ ใต้โทลล์เวย์ไงครับ ช่องจราจรที่ติดตะม่อ(ตอม่อ) บริเวณโคนเสาของ ทางยกระดับจะนูนกว่าช่องจราจรที่อยู่ห่างออกไป เพราะว่ามี Pile cap อยู่ข้างใต้

พอเริ่มมีประสบการณ์ Pile cap ใต้ทางยกระดับยุคใหม่ๆ จะออกแบบไม่ให้ล้ำเข้ามาอยู่ในช่องจราจร ไม่รู้มีใครได้ทันสังเกตตะม่อ ของ BTS ส่วนต่อขยายจาก อ่อนนุชไปแบริ่งไหมครับ ช่วงที่สร้างใหม่ตะม่อจะเป็นแบบใหม่แล้ว คือไม่ล้ำออกมาในช่องจราจร รถจะได้วิ่งได้ราบเรียบขึ้นกว่าใต้โทลล์เวย์ครับ

เรื่องการทรุดตัวของพื้นดิน(ผิวจราจร)เห็นได้ทั่วไปใน บางมะกอก โดยเฉพาะที่ถนนสุขุมวิท จะเห็นว่าระดับของพื้นอาคารพาณิชย์อยู่สูงกว่าผิวจราจรมาก ใครได้ไปกรุงเทพฯ ถ่ายรูปมาโชว์หน่อยก็ดีครับ

warodako

โอ้วว กระจ่างเลยครับ
ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับ :)

warodako

ขอความรู้อีกหน่อยนะครับ
ถ้าชั้นน้ำบาดาล อยู่ลึกกว่าระดับความยาวของเสาเข็ม การทรุดตัวจะเป็นยังไงครับ
ในกรณีที่คิดว่าการทรุดตัวเกิดจากการใช้น้ำบาดาล

Big Beach

อ้างจาก: warodako เมื่อ 07:29 น.  18 ม.ค 53
ขอความรู้อีกหน่อยนะครับ
ถ้าชั้นน้ำบาดาล อยู่ลึกกว่าระดับความยาวของเสาเข็ม การทรุดตัวจะเป็นยังไงครับ
ในกรณีที่คิดว่าการทรุดตัวเกิดจากการใช้น้ำบาดาล

ตัวอาคารที่ใช้เข็มสั้นๆ เช่นรั้วบ้าน ก็จะทรุดตัวตามลงไปด้วยครับ เหลือแต่อาคารที่ใช้เข็มยาวมาก
แต่โดยปกติแล้วตัวอาคารที่มีเข็ม มักจะทรุดช้ากว่าระดับผิวดินหรือผิวจราจรครับ
ตะม่อ BTS หรืออาคารสูงใน บางมะกอก ใช้เข็มยาวกว่า 50 เมตรจะไม่ค่อยทรุด(อาจจะมีทรุดบ้างแต่ก็ช้ากว่าอาคารที่ใช้เข็มสั้น)


หม่องวิน มอไซ

แสดงว่าอาคารสถานีรถไฟสงขลา ที่สร้างมาเกือบร้อยปีแล้วนั้น
มีการวางรากฐาน ลงเสาเข็มอย่างดีนะครับ
ไม่มีทรุดมีร้าวเลย

warodako

ขอบคุณครับคุณหาดใหญ่ :)


ผมก็คิดอย่างคุณหม่องนะ  แต่ก็เป็นไปได้ว่าตอนนั้น เราใช้มาตรฐานเดียวกับฝรั่งในการสร้างสถานีและรางรถไฟ