ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ส้มเสี้ยว ภาษากลางเรียกกระเจี๊ยบ

เริ่มโดย กิมหยง, 16:39 น. 08 ต.ค 53

กิมหยง

จำได้แรกเอียด ๆ ขึ้นตามข้างถนนนิ

เรียกจะส้มเสียว
กินใบก็ได้ ลูกก็กินได้ ทั้งเปลือกและเม็ดข้างในครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

กิมหยง

ปลูกกันเป็นสวนเลยครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

ก้าง


      กระเจี๊ยบแดง ... อืม... เห็นแล้วอยากกินอาหารมอญที่เรียกว่า แกงกระเจี๊ยบ หรือจะเรียก แกงกระต๊าด ดีล่ะ

      ขอแนะนำเมนูตามในลิงค์นี้ค่ะ ... http://culturelib.in.th/articles/756 ... เคยกินแล้วค่ะ อร่อยดี  รสชาดก็

      แกงส้มนี่แหละค่ะ แต่ถ้าไม่ชอบเมือกๆ ของกระเจี๊ยบเขียวมีวิธีล้างดังนี้ 

        ... วิธีที่ 1
       
        -      เคล้าเกลือป่นกับกระเจี๊ยบเขียวให้ทั่ว
        -      ผึ่งกระเจี๊ยบเขียวที่เคล้าเกลือบนตะแกรงนาน 1 ชั่วโมง
        -      ล้างเอาเกลือออก
        -      นำไปปรุงอาหาร

       * กรณีที่นำไปผัด ให้ผัดอย่างรวดเร็วโดยใช้ไฟแรง

       ... วิธีที่ 2

       -      ล้างกระเจี๊ยบเขียว
       -      หั่นกระเจี๊ยบเขียวสำหรับปรุงอาหาร
       -      ผึ่งบนตะแกรงกลางแดดนาน 1 ชั่วโมง
       -      ต้มน้ำแกงให้เดือดจัด ปรุงรสเรียบร้อย จึงใส่กระเจี๊ยบเขียวเป็นลำดับสุดท้าย โดยไม่คน

       ... วิธีที่ 3

       -      ต้มน้ำให้เดือด
       -      ใส่กระเจี๊ยบเขียวหั่นแล้วลงไป
       -      ใส่เกลือป่น 1- 2 ช้อนโต๊ะ ต่อกระเจี๊ยบเขียวครึ่งกิโล
       -      ต้มสักครู่ ตักขึ้นแช่น้ำเย็นสักพัก แล้วล้างสัก 2-3 น้ำหรือล้างจนน้ำไม่ค่อยมีเมือก แล้วนำไปแกงหรือผัด

                                                     :)  :)  :)

ก้าง


           กลัวกระทู้นี้จะจมน้ำจ๊ะ เลยเอาสูตรการทำแยมกระเจี๊ยบแดง มาให้ดูและลองทำกันดีกว่า

           ทำตามสูตรในลิงค์นี้เลยค่ะน่ากินดีนะ http://www.pantip.com/cafe/chuanchim/recipe/sweet12.html
                           
                                                   )love  )love  )love

กิมหยง

กระเจี๊ยบมีประโยชน์เกี่ยวกับเลือด น่าสนใจมากครับ
สร้าง & ฟื้นฟู

Oganoi

เข้าใจผิดแล้วครับ ส้มเสี้ยว ไม่ใช่กระเจี๊ยบครับ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Bauhinia malabarica  roxb.

วงศ์ :   LEGUMINOSAE-CAESALPINIODIDEAE

ชื่ออื่น :  คังโค (สุพรรณบุรี) แดงโค (สระบุรี) ป้าม (ส่วย-สุรินทร์) ส้มเสี้ยว (ภาคเหนือ) เสี้ยวส้ม (นครราชสึมา) เสี้ยวใหญ่ (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดยาวตามลำต้น ใบ ทรงกลมเว้า ปลายเป็นพูกลมตื้นๆ ใบแก่เหนียว เรียบ ท้องใบมีนวล สีเขียวออกเทา ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามง่ามใบ สีขาวออกเขียวหรือเหลืองอ่อน เป็นช่อเล็กๆ ออกดอกเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน ผล เป็นฝักแบนยาว โค้งงอ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่แห้งสีน้ำตาล เมล็ดแบน ผิวเรียบมัน  มี 8-12 เมล็ด ออกผลเดือนกรกฏาคม - กันยายน แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง
ส่วนที่ใช้ : ใบ เปลือกต้น

สรรพคุณ :

ใบ
- มีรสเปรี้ยวฝาด เป็นยาขับโลหิตระดู และขับปัสสาวะ
- แก้แผลเปื่อยพัง
ใช้ใบส้มเสี้ยวร่วมกับยาระบาย ทำให้ขับเมือกเสมหะตกทางทวารหนักได้ดี
ใช้ร่วมกับยาบำรุงโลหิตระดูที่เป็นลิ่มเป็นก้อนมีกลิ่นเหม็นให้ปกติดีขึ้น

เปลือกต้น - รสเปรี้ยวฝาด แก้ไอ ฟอกโลหิต

ไหนว่าไปแล้วกลับหน้าฝน  ใครเป็นคนสัญญาเอาไว้ ทิ้งให้รออีนานเท่าไร  คนแบบนี้ก็มี