ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ช้างค่อม ช้างแกลบ ช้างแคระ เรื่องเล่าที่จางหาย

เริ่มโดย บก.วชิระ, 14:18 น. 03 มี.ค 52

บก.วชิระ

ผมได้รับอสท เล่มใหม่มาจาก ททท สำนักงานหาดใหญ่ เปิดไปเรื่อยตามปกติ ซึ่งส่วนมากก็ดูรูป กับเอาเนื้อหาไปปรับใช้ แต่เล่มนี้ผมสะดุดตาที่สุดเป็นคอลัมภ์เกือบท้ายเล่มที่ปกติไม่เคยได้อ่าน คอลัมภ์นี้ชื่อ "จดหมายถึงบรรณาธิการ" มีคนเขียนเรื่องช้างแกลบมาบอกเล่าให้ฟัง ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจจึงอยากจะเอามาบอกเล่าให้ฟัง
ช้างแกลบหรือช้างค่อม ว่ากันว่ามีผู้พบครั้งสุดท้ายก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ท้องทุ่งที่ติดต่อกับทางเหนือของทะเลสาบสงขลาผ่านคลองนางเรียมไปถึงทะเลน้อย สาเหตุที่สูญพันธุ์ เมื่อราว พ.ศ. 2486-2490 นั้นก็เพราะพื้นที่แทบนี้เหมาะแก่การทำนา เมื่อช้างแกลบเข้ามากินผลผลิตของชาวบ้านชาวบ้านจึงหาทางขับไล่ด้วยวิธีต่างๆนานา มีผู้เก่ผู้แก่เราให้ฟังกันว่า ช้างแกลบตัวสูงขนาดควายถึก วิธีการขับไล่วิธีการหนึ่งก็คือการขุดหลุมลึก2-3เมตรแล้วใช้โคมไฟไล่ให้ช้างตกไปในหลุม
อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือเรื่องของชื่อเรียกหมู่บ้าน ที่ขึ้นต้นว่า "ทอน" เพราะจากคำบอกเล่าเมื่อช้างแกลบลงอาบน้ำที่ไหนจะเรียกที่นั่นว่า"ทอน" จึงมีชื่อหมู่บ้านที่ขึ้นต้นว่าทอนปรากฎอยู่ในอำเภอระโนดหลายแห่ง เช่น "บ้านทอนสำโรง" "บ้านทอนไทร" ที่สำคัญว่ากันว่าเอนก นาวิกมูลเคยลงมาเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ตัวตัวเองแล้ว
เรื่องนี้น่าจะมีมูลความจริง ผมลองค้นดูในอินเตอร์เน็ตดู พบเรื่องราวเล่านี้
-ช้างกระหรือช้างแคระ
พื้นที่ในภาคใต้แห่งหนึ่งทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา คือในท้องที่อ.ระโนด ของจ.สงขลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง อ.หัวไทร อ.ชะอวด  และอ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นป่าพรุ ได้มีช้างชนิดหนึ่งอาศัยอยู่มากมาย ในอดีตเรียกกันหลายชื่อว่า ช้างแกลบบ้าง ช้างแคระบ้าง ช้างพรุบ้าง ช้างทุ่งบ้าง ช้างค่อมบ้าง ช้างหระบ้าง ช้างนกยางขี่บ้าง ช้างแดงบ้าง  และช้างหัวแดงบ้าง เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในพรุอันกว้างใหญ่มานานปี เพิ่งจะสูญพันธ์ไปเมื่อ ๖๐-๗๐ ปี มาแล้วนี่เอง ช้างพวกนี้มีจำนวนโขลงหนึ่ง ประมาณ ๒๐-๓๐ ตัว มีอยู่หลายโขลง อาศัยอยู่ตามควน และพังการในเม (พังการ หมายถึง ที่ดอน เนิน หรือโคก ที่อยู่กลางเม เช่น ในเขตอ.หัวไทร ต.แหลม ต.ควนชะลิก มีพังการอยู่ ๒-๓ แห่ง คือพังการทราย พังการยาร่วง พังการท่อม ส่วน เม คือ พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมตลอดปี มีสภาพเป็นดินโคลนตม  และเป็นที่ที่ประกอบด้วยพืชสัตว์มากมายหลายชนิด เป็นต้นว่า ไม้เสม็ด ไม้เตียว สัตว์ ได้แก่ นก งู ปลา  และมียุงชุกชุมมาก ในพรุดังกล่าว มีหลายเม  แต่ละเมก็มีหลายพังการ) ช้างพรุพวกนี้เป็นช้างที่ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ช้างพลายก็ไม่ค่อยจะมีงาถึงจะมีบ้างก็เป็นงาที่มีขนาดเล็กกว่าช้างภูเขา ทั้งนี้เพราะอาหารในป่าพรุไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนในป่าทั่วๆ ไป จะมีก็เพียงจำพวกหญ้าน้ำ เช่น กก ปรือ หญ้า ครุน หรือพืชน้ำชนิดอื่นๆ  จึงทำให้ช้างพวกนี้มีร่างกายแคระแกร็น

-"อเนก นาวิกมูล เขียนเรื่องช้างประหลาด พิมพ์ในหนังสือที่ระลึกงานระโนดสังสรรค์ครั้งที่ ๒๕ พ.ศ. ๒๕๓๘ กล่าวถึงเอกสารต่างๆ ที่ว่าด้วย ช้างค่อม หรือช้างแกลบ เช่น นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพร ได้กล่าวถึงเรื่องช้างแคระในหนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ฉ.วันที่ ๕ มิ.ย. พ.ศ.๒๕๐๖ ว่าเมื่อสิบปีก่อนจากนั้น ท่านเคยพบช้างแคระหรือช้างค่อมถึง ๒ ครั้ง บริเวณทิศเหนือของทะเลสาบสงขลา โดยครั้งแรกพบ ๗ เชือก ครั้งที่ ๒ พบ ๔ เชือก ขณะที่ยืนกินหญ้าอยู่ตามหนองน้ำเห็นได้ชัดว่ารูปร่างสูงใหญ่เหมือนควายตาม บ้าน มีนิสัยไม่ดุร้ายเหมือนช้างป่า ครั้งใกล้ๆ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ได้ออกไปสำรวจอีกครั้ง แต่ไม่พบช้างประเภทนี้  และสืบสวนได้ความว่าเพราะส่วนหนึ่งชาวบ้านไล่ล่ามากินต่างหมู ส่วนหนังสือเรื่อง Five Year in Siam ของ เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ ชางอังกฤษ ซึ่ง พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ ได้กล่าวว่าในปี พ.ศ.๒๔๓๙ สมิธได้ไปสำรวจดินแดนชายฝั่งภาคใต้ซีกอ่าวไทยพบว่าในทุ่งระโนดซึ่ง แทบจะไม่มีต้นไม้ใหญ่ให้เห็น และมีบ้านเรือนเพียงน้อยหลัง  แต่มีฝูงช้างที่มีขนาดเล็กอย่างประหลาด เรียกกันว่า "ช้างแดง" ตามสีขนของมัน ขนาดของช้างสูงราว ๘ ฟุต หัว และเท้าเล็ก ลำตัวอ้วนใหญ่ เป็นที่หวาดกลัวในความดุดันของมัน เช่นเดียวกับช้างป่าทั่วไป ช้างแดงพวกนี้ไม่ตื่นตกใจง่ายๆ  ชอบบุกรุกเอาบ้าน และทุ่งแทนป่า หากจับมาแล้วมักตายง่าย เล่ากันว่าช้างพวกนี้คุ้นเคยกับน้ำกร่อยในหนองน้ำ  ถ้าเปลี่ยนไปอยู่กับน้ำใสๆ  จากภูเขามักตายง่าย"

-"มีคำกล่าวถึงความสะใจหรืออร่อยใจของช้า วบ้านอ.หัวไทรในอดีตอยู่บทหนึ่งว่า "คุ้นกับหญิง วิ่งฉัดกร้อ ฉ้อคนโม่ โห่ช้างหระ เขเรือไฟ ไปกับพระ" ซึ่ง มีความหมายดังนี้ คุ้นกับหญิง หมายความว่า มีความคุ้นเคยกับผู้หญิงจนถึงขั้นเป็นคนรักกันอันนับเป็นความสบายใจยินดี ปรีดาอย่างหนึ่ง วิ่งฉัดกร้อ หมายถึงวิ่งไล่เตะตะกร้อ เพราะคนที่หัดเตะตะกร้อใหม่ๆ  (ตะกร้อวง-ผู้เขียน) เพื่อนไม่ให้ร่วมวงเตะด้วย เพราะยังเตะไม่เป็น พวกนี้จึงมักอยู่วงนอก  ถ้าตะกร้อหลุดออกมาจากวงเมื่อใดแล้วก็จะดักเตะได้ถนัดเท้า เป็นการสะใจที่นานๆ จะได้เตะสักทีหนึ่ง ฉ้อคนโม่ หมายถึง หลอกฉ้อโกงคนโง่ โห่ช้างหระ คือได้โห่ไล่ช้างทุ่งหรือช้างหระ ที่มากินข้าวในนาของตนให้พ้นไป ไม่ว่าจะไปเหยียบนาของใครอีกต่อไปถือว่าเป็นการสะใจอย่างหนึ่ง เขเรือไฟ นี่ก็เป็นเรื่องสะใจเหมือนกันเพราะในสมัยนั้นเพิ่วจะเริ่มมีเรือกลไฟลำแรก ที่แล่นรับส่งคนโดยสารระหว่างอ.หัวไทร และอ.ปากพนัง  และเรือไฟในสมัยนั้นมีอยู่ลำเดียวเท่านั้น เที่ยวหนึ่งมีคนโดยสารกันจนเพียบ ใครมีโอกาสได้โดยสารเรือไฟลำดังกล่าวก็ถือว่าโก้เก๋ ไปกับพระ นั้น หมายความว่า  ถ้าใครได้ไปไหนมาไหนกับพระภิกษุสงฆ์แล้วถือว่าได้ที่นอนที่กินอย่างแน่นอน เพราะชาวบ้านในสมัยก่อนมีความศรัทธาต่อพระภิกษุสงฆ์เป็นอย่างมาก
จากคำกล่าวนี้เป็นเรื่องสะท้อนภาพให้ เห็นถึงเรื่องราวของสังคมในสมัยนั้นไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ "โห่ช้างหระ" อย่างน้อยก็ได้บ่งบอกให้ทราบว่าในแหล่งนั้นเคยมีช้างชนิดนั้นมาก่อน
   มี นิทานบอกพื้นบ้านได้เล่าว่า เมื่อครั้งก่อสร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาได้นำเอาข้าวของเงินทองมาร่วมกันทำบุญกุศลกันมากมาย สัมภาระต่างๆ บรรทุกหลังช้างรอนแรมกันมานับเวลาเป็นเดือน บ้างก็มาจากที่ไกลๆ  เช่นไทรบุรี ตรังกานู ปาหัง กลันตัน ฯ ลฯ  ครั้นพอมาถึงกลางทางก็ทราบข่าวว่าพระบรมธาตุสร้างเสร็จแล้ว ชาวบ้านเหล่านั้นต่างก็รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ทำบุญร่วมสร้างพระบรมธาตุด้วย ต่างก็พากันขุดหลุมฝังทรัพย์สินไว้ตามที่ต่างๆ  ส่วนช้างที่บรรทุกสิ่งของมาก็ปล่อยให้เป็นอิสระ ช้างทั้งหลายจึงได้กระจัดกระจายกันอยู่ตามบริเวณนั้นทั่วไป  และสืบพันธุ์เกิดลูกหลานเต็มทุ่งนั้นในเวลาต่อมา
   ช้างพรุเป็นช้างที่ ร่างกายมีขนาดเล็กกว่าช้างภูเขา ทั้งยังมีความเคยชินอยู่ตามทุ่งมาตั้ง แต่กำเนิด เมื่อถูกจับมาฝึกหัดเหมือนช้างภูเขาก็อยู่ได้ไม่นานเพราะผิดหญ้าผิดน้ำ จึงล้มตายเสียก่อน เช่นเมื่อครั้งหลวงปรามประทุษฐราษฎร์ (น้อย ณ นคร) ได้สร้างคอกจับช้างที่บ้านสามแก้ว ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จับได้ ๔ เชือก  แต่เลี้ยงได้ไม่นานก็ล้มเสียชีวิตไปหมด"
ผมว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจเพราะมีมูล และหลักฐาน ควรหยิบยกมาถกกันในวงกว้าง เพราะมันคือเรื่องราวของสงขลาบ้านเรา ลองนำไปคิดกันดูนะครับ ใครมีอะไรเพิ่มเติมเราสู่กันฟังได้ครับ

warodako

ผมเคยอ่านเจอมาบ้างเหมือนกัน   ::)ถ้าจำไม่ผิด ในหนังสือ12เรื่องสำคัญหรืออะไรประมาณนี้แหละนานมากแล้วจำไม่ได้
ว่าแถบทะเลสาบสงขลาตั้งแต่สทิงพระจนหัวไทรมีช้างแคระอาศัยอยู่

ผมลองไปถามยายผมที่สทิงพระ ท่านก็บอกว่าแต่ก่อนมีอยู่จริง ตัวเท่ากับควายมันชอบกินแห้วหมูที่อยู่ในโคลน

น่าเสียดายนะครับที่ไม่เหลือให้เห็นกันแล้ว  แต่ผมคิดว่าน่าจะมีสายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันยังหลงเหลืออยู่บ้างในภูมิประเทศคล้ายๆกันอย่างอินเดีย อินโดจีน อินโดนีเซีย หรือมาเลย์

ถ้ามีเหลืออยู่จริง เราน่าหาทางนำกลับมาให้คนรุ่นหลังได้เห็นกัน เช่นเดียงกับเนื้อสมัน ซึ่งเหตุแห่งการสูญพันธุ์คล้ายๆกัน

หนังสือที่เขียนไว้ก่อนตาย

ปู่ผมเล่าให้ฟังว่า อ่าวปากแม่นำลำปำเรียกว่า ทะเลน้อย เป็นช้างพันธ์แคระโตสัก2เท่าของควายชาวบ้านเรียกว่า"ช้างค่อม" เคยเห็นมากินหญ้าอยู่บนฝั่งทะเลน้อย

kaika

 ส.ร้อง-เรื่องช้างแคระนี่ถ้าจำไม่ผิดได้สูญพันธ์ไปตอนพายุเข้าแหลมตะลุมพุกหรือไม่ก็หลังจากนั้นไม่กี่ปี  ตอนนั้นจำได้ว่ามีน้ำท่วมใหญ่ที่พัทลุงท่วมขังอยู่นานหลายวัน  บริเวณทะเลน้อยหรือป่าพรุแถวนั้นก็คงมีน้ำท่วมสูงอยู่หลายวันเหมือนกัน  ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐก็ได้ลงพาดหัวข่าวหน้าหนึ่ง ว่าพบโขลงช้างแคระตายลอยน้ำหมดทั้งโขลงสงสัยว่าน่าจะเป็นโขลงสุดท้าย - ส.ร้อง

Probass

ด้วยความอยากเห็นหน้าตาช้างแคระ จึงหาข้อมูลเพิ่มเติม เจอบล๊อคของ ตาพรานบุญ เลยเอามาฝาก

บวงสรวงดวงวิญญาณช้างแคระ




แว่วเสียงทับ กรับก้อง รำมะนา
ปี่ชวา หวานแว่ว ผะแผ่วพริ้ว
ลู่ ลมไผ่ ฝากสาย ลมปลิดปลิว
ลู่คลื่นลิ่ว ริ้วระลอก น่านนาวา

ข้า สวมหน้า กากพราน มาออกบท
ยกจรด ธุปเทียนเหนือ หน้าผากข้า
แล้ว ปักลง บนแดนดิน ถิ่นมารดา
ข้าบวงเทพ เทวา ผีป่าไพร

ระลึก ถึง เพื่อนร่วมถิ่น ทะเลสาบ
ร่ายมนต์ อานุภาพ เสกศาสตร์ไสย์
เป่า เถ้าธาตุ กระดูกเจ้า โปรยปลิวไป
ขอเทพไท้ ดลใจ เจ้าคืนมา

โอ้ พื่อนเอ๋ย คชสาร แห่งแดนใต้
ฝากชื่อไว้ รอบทะเล สาบสงขลา
ทุ่ง ระโนด เทือกพัทลุง ไม่กลับมา
แว่วข่าวว่า ลับหายไป ในมาเล



ใคร ชิงชัง ขังฆ่า ล่าข่มเหง
จึงกริ่งเกรง โพยภัย ให้หันเห
เผ่า ช้างแคระ ช้างค่อม จึงพังเพ
หายจากเล สาบสงขลา ลับลาไกล

พราน ออกบท คาถา พญาคชสาร
ดวงวิญญาณ ช้างแคระ อยู่ที่ไหน
จง ดลจิต โขลงช้าง กลับคืนไพร
กลับคืนถิ่น ปักษ์ใต้ อีกสักครา

สงบ นิ่ง เพ่งจิต เพื่อติดต่อ
โอ้ละหนอ สายเกินไป พ่อพลายข้า
พราน คอตก ช้างแคระ ไม่กลับมา
ไม่เหลือรอย ชีวา ช้างแคระไทย

พราน โนราห์ ฉากสุดท้าย แทบไร้เสียง
เพลงหนังลุง ไร้สำเนียง เคยสดใส
โลก หมุนเร็ว หรือว่าข้า ช้าเกินไป
จึงเสียใจ ในวัน ที่สายเกิน




จากสมุดไทยขาวหรือที่เรียกกันว่า "บุดขาว" ลักษณะเป็นสมุดข่อย เขียนด้วยเส้นหมึกลงสี
ปัจจุบันเอกสารโบราณฉบับนี้มีสภาพชำรุด เก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ
ในชื่อ "แผนที่เมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ. 977 (พ.ศ. 2158)" ในหมวดหมู่ ตำรา (ภาพ)
ทะเบียน เล่มที่ 3 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งผู้เขียนได้ใช้เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในภาค ใต้
โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งหลังจากที่ได้มีการศึกษาตรวจสอบอย่างละเอียดก็พบว่า ............................................
มีรูปภาพของสัตว์ชนิด ต่างๆ ที่นับว่ามีความสำคัญและน่าสนใจแทรกอยู่ ซึ่งรูปภาพของสัตว์ชนิดต่างๆ เหล่านี้
ได้ทำหน้าที่เสมือนเป็นภาพสะท้อนที่ฉายให้เห็นถึงความอุดม สมบูรณ์ของระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา
ที่ผู้เขียนแผนที่ภาพโบราณได้บันทึก แทรกใส่ลงไว้ในนั้น รูปภาพของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่ปรากฏ .................
และ ภาพที่มีความโดดเด่นและมีความน่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ มีรูปส่วนหัวของช้างที่มีงาสองข้าง
แสดงท่าทางแทรกตัวอยู่ในท้องทะเลสาบ สงขลา

สำหรับรูปภาพของช้างที่ปรากฏอย่างโดดเด่นในทะเลสาบสงขลานั้น เข้าใจว่าในสมัยที่มีการเขียนแผนที่ภาพนั้นน่า
จะมีการพบเห็นช้างป่า อาศัยอยู่ในบริเวณทะเลสาบสงขลานี้อยู่เป็นจำนวนมาก
และชาวบ้านทั่วไปคงมี โอกาสได้พบเห็นจนเจนตา
เนื่องจากตามประวัติความเป็นมาในแถบบริเวณทะเลสาบ สงขลา ทุ่งระโนด
ต่อไปจนถึงพื้นที่แถบจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราชนั้น พบว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
รวมถึงมี เรื่องราวเล่าขานที่เกี่ยวข้องกับช้างในเชิงสังคมและวัฒนธรรมปรากฏอยู่มาก มายเช่นเดียวกัน
กล่าวกันว่าช้างที่พบในบริเวณนี้เป็นช้างที่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดใหญ่กว่าควายตัวโตๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ช้างที่อาศัยอยู่ใน บริเวณนี้มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปมากมายหลายชื่อ
อาทิ
ช้างแคระ
ช้าง ค่อม
ช้างแกลบ
ช้างนกยางขี่
ช้างหระ
ช้างทุ่ง
ช้างพรุ เป็นต้น
ช้างที่มีขนาดเล็กเหล่านี้ปัจจุบันได้สูญพันธุ์หมดสิ้นไป จากบริเวณทะเลสาบสงขลาแล้ว
จากการออกเก็บข้อมูลและสอบถามชาวบ้านในบริเวณ รอบลุ่มทะเลสาบสงขลาเมื่อไม่นานมานี้
ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ช้างพรุเหล่านี้ได้สูญหายไปจากบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาเมื่อราวๆ 60-70 ปีมานี้เอง
และเท่าที่ทราบในปัจจุบันก็ยังมีผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องของ ช้างพรุเหล่านี้อยู่ และยังมีกลุ่มคนที่พยายามติดตามศึกษาค้นคว้า
ใน เรื่องนี้ต่อ โดยคนส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า ยังคงมีสายพันธุ์ของช้างพรุหรือช้างแคระเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในผืนป่าแถบ
อ.สะบ้า ย้อย จ.สงขลา ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ช้างหัวแดง"
ซึ่งเกี่ยวกับเรื่อง นี้ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานใดที่ชัดเจนเพียงพอ
ก็คงต้องศึกษาค้นคว้ากัน ต่อไปว่าช้างหัวแดงที่ผู้ศึกษาเหล่านี้
เชื่อว่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกัน กับช้างพรุนั้นจะมีมูลความจริงเพียงใด
และยังคงหลงเหลือสายพันธุ์อยู่ จริงหรือไม่ก็ต้องรอพิสูจน์กัน..

ขอบคุณข้อมูลจาก นายพี





เครดิต http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ta-pran-boon&month=23-07-2008&group=1&gblog=45
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

Probass

ยังมีงานวิจัย
โครงการ ตามรอยช้างค่อมทะเลน้อย ร.ร.สตรีพัทลุง (กำลังดำเนินการตีพิมพ์  ฉบับอาร์ตเวิร์ค)
โครงการ ช้างแคระในความทรงจำของคนทุ่งสงวน ร.ร.วัดทุ่งสงวน(คุรุประชาสรรค์)

ตามไปดู/ ดาวโหลดได้ที่  http://www.ysl-history.com/home.html


ขอขอบคุณ โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ ณ ที่นี้ด้วย
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท