ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ร๊อกกี้เฟลเลอร์ เยี่ยมชมงานป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ผ่าน ACCCRN

เริ่มโดย ฅนสองเล, 10:44 น. 25 ต.ค 56

ฅนสองเล

[attach=1]

หาดใหญ่ 1 ใน 10 เมืองของเอเชียที่ได้รับการสนับสนุนเข้าร่วมโครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ เยี่ยมชมการทำงานด้านการเตือนภัยน้ำท่วมภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

นายสมพร สิโปราณานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา  และประธานศูนย์เรียนรู้เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองหาดใหญ่ (HCCRLC) ภายใต้โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN) หาดใหญ่ ให้การต้อนรับทีมงานจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) ที่เดินทางสัมภาษณ์พูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคธุรกิจ  ผู้บริหารเมือง  คณะทำงาน ชุมชน เพื่อทราบผลประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ ณ สำนักงานหอการค้าจังหวัดสงขลา

ศูนย์เรียนรู้เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเมืองหาดใหญ่ (HCCRLC) ภายใต้โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Asian Cities Climate Change Resilience Network (ACCCRN) โดยหาดใหญ่และเชียงราย เป็น 2 เมืองของประเทศไทยที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการและได้รับการสนับสนุจาก ACCCRN รวมถึงความร่วมมือจากส่วนราชการ ท้องถิ่น นักวิชาการ ภาคเอกชนในการเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนแผนป้องกันภัยน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่อย่างยั่งยืน

[attach=2]

นายสมพร กล่าวว่า หลังจากหาดใหญ่เจอวิกฤตน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2531 2543 2553 รวมถึงน้ำท่วมบางส่วนในปี 2554-55 ทำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันภัยน้ำท่วมจึงได้เกิดโครงการต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้างคลองระบายน้ำ การขุดลอกคูคลอง จัดทำผังเมืองใหม่ รวมถึงการสร้างความตื่นตัวให้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากน้ำท่วม การสนับสนุนของ ACCCRN ไม่ได้เป็นเพียงการป้องกันน้ำท่วมหรือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม

ACCCRN มุ่งเน้นให้มีการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและผังชุมชนให้มีศักยภาพ เสริมสร้างขีดความสารถในการรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ตามที่แต่ละเมืองเผชิญอยู่ สำหรับหาดใหญ่ เมื่อถึงฤดูฝนในทุกปีทุคนจะคิดกันว่าน้ำจะท่วมไหม ฝนจะตกมากแค่ไหน ข่าวลือ ข่าวจริงปนกัปหมด ทกครั้งที่ฝนตกหนักจะมีข่าวลือเขื่อนสะเดาแตกบ้าง มาเลย์ปล่อยน้ำมาบ้าง ประชาชนไม่รู้ว่าข่าวไหนจริง ข่าวไหนเท็จ การให้ความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการรับมือกับภัยพิบัติทุกรูปแบบ


สำหรับการดำเนินงานของ ACCCRN มุ่งเน้นไปที่การเตือนภัยแบบไม่เตือนภัย มุ่งให้ทุกคนได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างถูกต้องไม่ยึดติดกับข่าวข่าวลือต่างๆ ที่ผ่านมาการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมของเมืองหาดใหญ่ ใช้วิธีปักธงเขียว เหลือง แดง แสดงสัญญาณระดับน้ำ รวมถึงการประกาศผ่านสื่อวิทยุแต่ข้อมูลเหล่านั้นยังไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการตัดสินใจ ACCCRN ได้มีการลงพื้นที่ชุมชนหาดใหญ่ใน ซึ่งจุดที่น้ำท่วมบ่อยและเสียหายค่อนข้างสูงเพื่อสร้างให้เป็นชุมชนต้นแบบในการรับมือภัยพิบัติ สร้างบ้านพี่เลี้ยง จัดให้มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรับมือภัยพิบัติซึ่งสามารถใช้ได้จริงแล้ว

และได้มีการขยายการดำเนินโครงการไปยังตำบลคูเต่า ครอบคลุมทั้งตำบล ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเขตหาดใหญ่ สะเดา คลองหอยโข่ง บางกล่ำ ในรับมือกับภัยพิบัติโดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ การดูภาพถ่ายดาวเทียมทางอากาศของอุตุนิยมวิทยา รวมถึงการรายงานระดับน้ำคลองอู่ตะเภาผ่านทาง www.hatyaicityclimate.org ให้ประชาชนเข้าไปโระดับน้ำผ่านกล้อง CCTV ณ จุดสำคัญต่างๆ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ ซึ่งในปีที่แล้วช่วงน้ำท่วมมีผู้เข้าชมเว็บไซต์นี้กว่า 1.9 แสนราย

ปัจจุบัน www.hatyaicityclimate.org มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำคลองอู่ตะเภา พร้อมมีลิ้งค์ข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันทั้งอุตุนิยมวิทยา ชลประทาน ซึ่งสามารถนำมาเป็นตัววิเคราะห์สถานการณ์น้ำร่วมกันเพื่อการประกาศเตือนภัยประชาชนได้ ปัจจุบันเราสารถแจ้งเตือนภัยได้ล่วงหน้า 5-8 ชั่วโมง อนาคตเราอยากให้มีการแจ้งเตือนสถานการณ์ได้อย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้มีการเตรียมการรับมือได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจมากที่สุด เพราะภาคธุรกิจจะเสียหายมากที่สุดในทุกครั้งที่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมหาดใหญ่

เมืองหาดใหญ่ ด้วยด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งนั้นเป็นแอ่งกระทะ เป็นทางน้ำผ่านทั้งจากคลองอู่ตะเภา เขตอำเภอสะเดา จากเขาคองหงส์ หาดใหญ่ จึงไม่อาจหลีกหนีน้ำท่วมได้อย่างเบ็ดเสร็จและธรรมชาติก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกชุมชนต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ระยะต่อไป ACCCRN เตรียมมุ่งเน้นการรสเรมิสร้างความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเกิดอุทกภัยเมืองหาดใหญ่ในระยะยาว

[attach=5]

ในปีนี้สามารถติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหาดใหญ่ได้ทาง www.hatyaicityclimate.org และเตรียมพร้อมรับมือด้วยความไม่ประมาท ตระหนักแต่ไม่ตระหนกพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของเมืองหาดใหญ่ เรียนรู้เพื่ออยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน