ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

นราธิวาส ปัตตานี มีโอกาสดีเปรสชั่นถล่มซ้ำรอยปี 53

เริ่มโดย ฅนสองเล, 09:30 น. 20 พ.ย 56

ฅนสองเล

ที่มา โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้(DSJ)
http://www.deepsouthwatch.org/dsj/4964

ประธานโครงการเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติ ลุ่มน้ำปัตตานี (pbwatch) เผย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล มีการโอกาสโดนพายุดีเปรสชั่นถล่ม เนื่องจากบรรยากาศคล้ายปี 53 ส่วนจังหวัดพัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช ฝนตกหนักถึงหนักมากและมีลมแรง ทั้งนี้ประชาชนไม่ควรตระหนกเกินควรแต่ให้ตระหนักถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้และให้ติดตามข้อมูลอย่างจากกรมอุตุนิยมวิทยาและ pbwatch อย่างใกล้ชิด


[attach=1]

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ประธานโครงการเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติ ลุ่มน้ำปัตตานี (pbwatch) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) กล่าวว่าขณะนี้หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งได้พัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง มีขนาดใหญ่พอสมควร พบว่ามีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็น "พายุดีเปรสชั่น" ด้วยซึ่งทำให้ภาคใต้ตอนล่างได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล อาจจะมีลมพัดแรงและฝนตกหนักเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน 2556

จากการคำนวณและพยากรณ์ทางเทคนิกคาดว่าจะมีพายุเข้าโจมตีในคืนวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 นี้ ในพื้นที่จ.นราธิวาส ปัตตานี ซึ่งส่งผลให้จังหวัดอื่นๆ เช่น พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช เป็นต้น มีฝนตกหนัก น้ำท่วม มีลมแรง ส่วนนี้บริเวณที่อยู่ริมชายฝั่งจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 – 4 เมตร ดังนั้นเรือทุกขนาดควรที่จะงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว

ดร.สมพร เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวประเมินว่าหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงลูกนี้จะพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชั่นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นพายุดีเปรสชั่นหรือไม่ เป็นหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยาที่จะประกาศให้ประชาชนรับทราบต่อไป

[attach=2]

จากการติดตามข้อมูลพบว่าบรรยากาศลักษณะของหย่อมความกดอากาศต่ำและทิศทางที่เกิดเกิดขึ้นครั้งนี้ นี้จะคล้ายกับปี 53 ที่ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาว ส่วนภาคใต้มีหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อนพัฒนาเป็นพายุดีเปรสชั่น เข้าถล่มบริเวณชายฝั่งจังหวัดปัตตานี ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 ก่อนที่พายุดีเปรสชั่นจะไปสลายตัวทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย

ดร.สมพร เตือนว่าประชาชนที่อยู่บริเวณดังกล่าวควรที่จะมีการเตรียมความพร้อมไว้ก่อน โดยการยกของตั้งที่สูง เตรียมอาหาร ยารักษาโรค  น้ำดื่มและแสงสว่างไว้ช่วยเหลือตัวเอง ระบบที่พักพิงและหลบภัยของหมู่บ้านให้มีความพร้อม จัดค้ำยันต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง ขยะ กระเบื้อง เพื่อป้องกันอันตรายจากลมแรง 

"ผมอยากบอกว่าประชาชนไม่ควรตระหนกมากเกินไป แต่ควรที่ตระหนักไว้ก่อน และที่สำคัญประชาชนควรที่จะมีการติดตามข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาและจากเครือเฝ้าระวังภัยพิบัติ ลุ่มแม่น้ำปัตตานี (pbwatch) อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะติดตามสถานการณ์ได้ทันเวลา"
ดร.สมพร กล่าวว่า

ทั้งนี้พายุดีเปรสชั่นเคยถล่มบริเวณชายฝั่งจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 2553 ทำให้ริมชายฝั่งจังหวัดปัตตานีได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะหมู่บ้านดาโต๊ะ ต.แหลมโพธิ์ จ.ปัตตานี