ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ใครว่าทำหมูย่างให้อร่อยนุ่มยาก

เริ่มโดย มายเดียร์, 21:55 น. 25 พ.ย 56

มายเดียร์

ปกติหมูย่างนี่คิดว่าเป็นเมนูที่ทำยากจัง แต่เดี๋ยวนี้ง่าย เห็นในทีวี แค่มีตัวช่วยอย่างรสดีเมนู
ผงซอสหมักย่าง หมูก็อร่อยนุ๊ม...นุ่มในแบบที่ใช่
เห็นโฆษณาแล้วอยากกินหมูย่างขึ้นมาทันที ต้องรีบไปหาซื้อมาซะแล้ว อิอิ

http://www.youtube.com/watch?v=jfzs5rlIlRI

"sHaRe" ^_^"

ผงชูรส เพิ่มรสชาติหรือฆาตกร ( จาก หนังสือ ชีวจิต )

เจ๊อ้อนตื่นแต่เช้าเหมือนเคย ในทุกๆ เช้าเธอต้องตื่นมาเตรียมข้าวของที่จะใช้ขายในตอนกลางวัน เธอเลือกที่จะไปจ่ายตลาด ตอนเช้ามากกว่าที่จะซื้อตุนไว้ตั้งแต่ดึก เพราะคิดว่าของที่สดๆ น่าจะให้รสชาติที่ดีกว่า ทุกเที่ยงร้านส้มตำของเธอ จะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน อาจด้วยทำเลที่ดีหรือเพราะฝีมืออันเลื่องชื่อก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ถ้าไปสายเกินกว่า 12.15 นาฬิกาแล้วละก็ เตรียมใจอดกินของอร่อยไปได้เลย วันนี้เจ๊อ้อนอารมณ์ดีเป็นพิเศษ คิดว่าหยิบหนังสือพิมพ์หน้าบ้าน มาพลิกดูข่าวสารบ้านเมืองก่อนน่าจะดีกว่า "ชูรสมรณะ พบเด็กขวบกว่าถึงตาย"

เนื้อข่าวรายงานว่า มีเด็กอายุราว 20 เดือนต้องเสียชีวิตจากับประทานขนมครกที่โรยด้วยผงชูรส เนื่องจากคุณตา เข้าใจผิดคิดว่าเป็นน้ำตาล เจ๊อ้วนอ่านแล้วถึงกับอึ้งเล็กน้อยไม่รู้ว่าผงชูรสจะทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงได้ขนาดนี้ ใจหนึ่งก็ไม่ค่อยเชื่อนัก เพราะถ้ากินแล้วตายจริงๆ ป่านนี้ไม่มีคนตายกันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้วหรอกหรือ แต่ลึกๆ แล้วเธอก็อดหวั่นใจไม่ได้ว่า ส้มตำและอาหารอีสานรสเด็ดของเธอนั้นจะกลายเป็นฆาตกรฆ่าใครเข้าบ้างหรือเปล่า
ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงอาหารคู่ครัวคนไทย มานานเท่าไรนั้น ไม่มีใครรู้ รู้แต่ว่าถ้ามื้อไหนไม่ได้ใส่ก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อยเอาเสียเลย ความเชื่อเหล่านี้ กลายเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมาตลอด แม้แต่มือใหม่หัดทำอาหารที่กังวลว่า รสมือจะไม่เข้าท่า ก็ยังถูกโฆษณาล้างสมองให้เข้าใจได้อีกว่า "ทำๆ ไปเถอะ สุดท้ายผงชูรสจะช่วยให้อร่อยได้เอง" ! แม่ค้าแม่ขายเองก็เช่นกัน ถ้าวันไหนทำกับข้าวแล้วไม่ใส่ผงชูรส ก็กลัวว่าวันนั้นจะขายอาหารได้ไม่หมด บางรายกลัวว่าใส่แค่นิดหน่อยอาจจะไม่รู้รส ก็เลยใส่เหมาไปเลยทั้งถุง ตัวอย่างง่ายๆ แค่ร้านส้มตำ กินครั้งหนึ่งๆ เราจำสั่งอาหารประมาณ 6-7 อย่าง ในนั้นมีอะไรบ้าง ส้มตำไทย 1 ครก ใส่ 2 ช้อน แต่ถ้าสั่งส้มตำปลาร้า ในกระปุกปลาร้านั้นหมักด้วยผงชูรสอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นน้ำตกหมู ใส่ 1 ช้อน ลาบ 1 ช้อน ตับหวาน 1 ช้อน แกงอ่อม 2 ช้อน ส่วนพวกหมูปิ้ง ไก่ย่าง หรือจิ้มจุ่มนั้น ผ่านการหมักและ การผสมในน้ำแกงจิ้มจุ่ม มาเรียบร้อยแล้ว สรุปว่าแค่อาหารเพียงมื้อเดียว ร่างกายเราต้องรับเอาผงชูรสเข้ามาไม่ต่ำกว่า 10 ช้อนชา หรือ 20 กรัม นี่ยังไม่นับอาหารมื้ออื่นๆ ที่ต้องฝากท้องไว้กับร้านค้าหรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ อีก สรุปว่าวันหนึ่งเรารับผงชูรสเกือบ 60 กรัม หรือ 1 ซองสำหรับ 2 วัน และมาตรฐานของการรับประทานผงชูรสในระดับที่ปลอดภัย (คือร่างกาย ยังสามารถขับออกไปได้) คือ ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อหนึ่งวัน แต่เรากลับบริโภคกันเกินกว่านั้นถึง 20 เท่า!

ผงชูรสผลิตมาจากสารเคมีล้วนๆ ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะอ้างว่าทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งอาจจะเป็นอ้อย หรือ แป้งมันสำปะหลัง แต่ในกระบวนการผลิตก็ต้องใช้สารเคมีหลายๆ ตัว อาทิ กรดกำมะถันกรดเกลือ ยูเรีย และโซดาไฟ เข้ามาทำปฏิกิริยาย่อยสลาย จากนั้นฟอกสีให้สารละลายกลาย เป็นผลึกผงชูรส จึงแทบจะเรียกว่าไม่ได้คงเหลือ ความเป็นวัตถุดิบธรรมชาติเอาไว้เลย ผงชูรสทำให้เรารู้สึกว่าอาหารอร่อยขึ้น ก็เพราะว่าผงชูรส ทำให้รูขนในลิ้น เปิดกว้างเต็มที่ ทำให้เราสามารถรับรสได้มากขึ้น จึงทำให้เราเข้าใจไปว่าอาหารนั้นอร่อย

รองศาสตราจารย์ ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ กรรมการบริหารสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค และ อดีตอาจารย์ประจำ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผงชูรสมานานกว่า 20 ปี กล่าวว่า "ยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา มีการโฆษณาที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด คิดว่าผงชูรสผลิตมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ แล้วเพิ่มการใช้ โดยอ้างว่าใช้ได้กับอาหารทุกรูปแบบ ทั้งปิ้ง ย่าง หรือแม้กระทั่งในน้ำจิ้ม ทั้งที่ความจริงแล้ว ผงชูรสเป็นสารเคมีที่ต้องใช้ ด้วยความระมัดระวัง ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้" "ก่อนหน้านี้คนไทยเรา ใช้ผงชูรสกันน้อยมาก ใช้ครั้งหนึ่ง ก็แค่เกล็ด ๆ เพราะเมื่อ 30 - 40 ปีก่อน เรายังผลิตเองไม่ได้เวลาที่ซื้อผงชูรสมา จะมีแถมช้อนเล็กๆ มาด้วย เพื่อให้ ตักใส่ในน้ำแกงเท่านั้น แต่เนื่องจากว่าราคามันแพง ก็เลยมีการปลอมแปลงผงชูรสกันมาก แต่ปัจจุบันนี้ ราคาผงชูรส ถูกลงมาก เพราะเราผลิตได้เองมีให้เลือกหลายยี่ห้อ คนก็เลยใช้กันมากขึ้นใช้ทีเป็นตะหลิวๆ" จากการวิจัยของ รศ. ดร.พิชัยพบว่าอันตรายของผงชูรสมาจากส่วนประกอบ 2 ชนิดหลัก คือ โซเดียมและตัวผงชูรสแท้ แม้ว่าผงชูรสจะมีโซเดียม (ที่ได้มาจากโซดาไฟ) น้อยกว่าเกลือแกง 2.5 เท่า แต่สิ่งที่ทำให้มันอันตรายมากกว่าก็คือ การที่ผงชูรสไม่มีรสเค็ม เพราะฉะนั้นต่อให้เรากินเข้าไปมากเท่าไรก็ไม่รู้สึก นี่จึงเป็นภัยแฝงที่ไม่มีใครมองเห็น โซเดียมในผงชูรส มีผลต่อร่างกาย โดยตรง ตั้งแต่การทำให้ภูมิต้านทานลดลงเกิดน้ำในสมองเด็ก จนกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน ทำให้ทารกชักได้ ร่างกายหญิง มีครรภ์บวม รวมทั้งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยที่แพทย์ห้ามรับประทานอาหารรสเค็ม อาทิ โรคไต ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจด้วย อันตรายจากตัวผงชูรสแท้ ยังทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้อีกมากมาย แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ กลุ่มอาการแพ้ผงชูรส หรือเรียกอีกอย่างว่า "โรคภัตตาคารจีน" (Chinese Restaurant Syndrome)

เนื่องจากว่า ร้านอาหารจีนในต่างประเทศจะมีการใส่ผงชูรสเป็นจำนวนมาก และทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ รู้สึกชา ร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หัวใจเต้นช้าลง หายใจไม่สะดวก นอกจากนี้ ผงชูรสก็ยังทำลายสมองส่วนหน้า หรือไฮโปทาลามัส ซึ่งควบคุม การเจริญเติบโตรวมทั้งการสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นโรคประสาท ทำลายระบบ ประสาทตา ทำให้ตาเสียหรือตาบอด ทำลายกระดูกและไขกระดูกจนอาจเกิดโรคโลหิตจาง เปลี่ยนแปลงโครโมโซมใน ร่างกายซึ่งอาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตหรือคลอดแล้วพิการ เช่น มีสมองอยู่นอกกะโหลกศีรษะ ใบหน้าผิดปกติ ปากแหว่ง ไม่มีตา แขนขาผิดปกติ และที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นสารก่อมะเร็ง เพราะเมื่อผงชูรส ถูกนำไปปรุงด้วยการสัมผัส กับความร้อนโดยตรง ในอุณหภูมิสูงๆ เช่น การปิ้ง ย่าง หรือเผา โครงสร้างเคมีของมันจะเปลี่ยนไป กลายเป็น สารเคมี ตัวใหม่ คือ กลูพี 1 และกลูพี 2 ซึ่งเป็นต้นเหตุของมะเร็งทางเดินอาหาร ตับ และสมอง

ตัวอย่างของผู้บริโภคที่ได้รับพิษภัยจากการบริโภคผงชูรสนั้นมีมากมาย ตั้งแต่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไปจนกระทั่งเสียชีวิต คุณประถม อยู่คง อดีตพ่อค้าวัย 69 ปี อาจเป็นเพียงคนหนึ่งที่โชคดีที่รอดพ้นจากการเป็นอัมพฤกษ์ ซึ่งแพทย์จีน ระบุชัดว่า เกิดจากการรับประทานผงชูรส เมื่อเขาเลิกรับประทาน อาการต่างๆ ก็กลับดีขึ้นจนเป็นปกติแล้ว แต่ถ้าหากเผลอ ไปรับประทาน อาหารนอกบ้านหรืออาหารกระป๋องที่มีส่วนผสมของผงชูรสอยู่ด้วยเมื่อใด อาการชาก็จะกำเริบขึ้นมาทันที
ผิดกับ คุณเกวลิน (นามสมมุติ) ข้าราชการเทศบาลเขตคลองสานผู้สูญเสียลูกน้อยไปอย่างไม่มีวันกลับ กล่าวด้วย น้ำเสียงสั่นเครือว่า "เนื่องจากตอนที่ท้องเราต้องทำงานนอกบ้าน ก็ต้องกินอาหาร ข้างนอกมากกว่า และอาหารที่ชอบมากคือ ก๋วยเตี๋ยว ซึ่งมีผงชูรสผสมอยู่มาก ตั้งแต่ในลูกชิ้น น้ำซุป ไหนจะยังตอนที่ปรุงอีก พอคลอดลูกออกมาได้ 2 - 3 วัน ปรากฏว่า ลูกท้องเสีย ตัวซีดเหลือง ลงไปเรื่อยๆ เมื่อหมอตรวจเช็คอาการและเจาะเลือดดู ถึงรู้ว่าตอนที่ท้องเรากินผงชูรสมากเกินไป"

อีกรายหนึ่งคือ คุณสุรพงษ์ บุศยพลากร เจ้าหน้าที่ ก.พ. ผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศญี่ปุ่น เมื่อครั้งที่อาศัยอยู่ญี่ปุ่น ก็แข็งแรงดี แต่เมื่อกลับมาเมืองไทยได้เพียง 4 ปี ก็เริ่มผ่ายผอม อ่อนเพลีย และเป็นลมบ่อยๆ จนวันหนึ่งแพทย์ตรวจพบว่า เป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวและเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งแพทย์จีนตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากผงชูรส

เช่นเดียว กับ คุณวิมลศรี ข้าราชการกรมชลประทาน สามเสน ที่เสียชีวิตลงด้วย โรคมะเร็งใน กระเพาะอาหาร เมื่อแพทย์ตรวจสอบชิ้นเนื้อในกระเพาะดู ก็พบว่ามีผงชูรสมากเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยดีดีท ีและยาฆ่าแมลงเป็นลำดับ รศ. ดร.พิชัยกล่าวเสริมว่า "ในประเทศที่เจริญแล้ว เขาไม่ต้องมารณรงค์กันอย่างนี้หรอก เพราะผู้บริโภคมีข้อมูลมากที่จะเลือกและตัดสินใจ ผมและองค์กรร่วม (คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสมาพันธ์มังสวิรัติฯลฯ) เคยเรียกร้องให้ อย. ติดฉลากเพื่อระบุส่วนผสมที่ชัดเจนในฉลากอาหารว่า "ผสมผงชูรส" รวมทั้งมีคำเตือนบนฉลากว่า "ไม่ควรใช้ผสมอาหารสำหรับทารก หญิงมีครรภ์ คนแพ้ผงชูรส และคนป่วย" เพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และตัดสินใจเลือกได้เอง"

ไม่ว่าบทสรุปเรื่องผงชูรสจะเป็นเช่นไร แต่อย่างน้อยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้คงจะไม่สูญเปล่า และคงมีน้ำหนักเพียงพอ ที่จะทำให้เราทุกคนหันมาใส่ใจและระมัดระวังกับอาหารทุกๆ คำ ก่อนที่เราจะนำเข้าปากได้สักที เจ๊อ้วนก็เช่นกัน เธอคิดว่าจะพยายามลดผงชูรสที่เคยใช้ลงมาให้ได้มากที่สุด แม้ใจจะกังวลว่าลูกค้าจะหดหาย แต่เธอก็ตั้งใจเอาไว้แล้วว่า วันหนึ่งเธอจะต้องทำให้ได้กับแผ่นป้ายหน้าร้านแผ่นใหม่ สีสันสดใสตัวใหญ่และชัดเจนว่า "ส้มตำเจ๊อ้วนรสชาติสะใจ ไม่ใส่ชูรส" ก่อนที่ลูกค้าหรือคนรอบข้างของเธอจะกลายเป็นเหยื่อรายต่อไป

ขอขอบคุณ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลจาก นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่
70 วันที่ 1 กันยายน 2544 หน้า 16-19 www.cheevajit.com
บทความโดย JJ Delivery