ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

จำหน่าย ติดตั้ง โซล่าเซลล์ (พิเศษ 1-31 ธ.ค.56 ฟรีค่าแรง)

เริ่มโดย BaanNine_SK, 12:02 น. 29 พ.ย 56

BaanNine_SK

ว.โซล่าเซลล์ ภาคใต้ โดย หจก.วรกิจพิพัฒน์ ถ.ราษฎร์อุทิศ 1 ซอย 1 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา

ประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานทดแทนที่ไม่มีวันหมด
ไปกับเรา ว.โซล่าเซลล์ ภาคใต้
พลังงานวันนี้ พลังงานเพื่ออนาคต

จำหน่าย 
แผงโซล่าเซลล์,อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน,
หลอด LED,เครื่องสำรองไฟ,ปั้มน้ำ,ไฟรั้ว,ไฟป้ายโฆษณา,สปอร์ตไลท์,
และอุปกรณ์โซล่าเซลล์ทุกชนิด

บริการ 
ติดตั้ง ออกแบบระบบพลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
(พลังงานทดแทน)
หลังคาโซล่าเซลล์(Solarrooftop)ซึ่งได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อลคค่าไฟฟ้าหรือขายไฟฟฟ้าให้กับรัฐ(สำหรับผู้เข้ารวมโครงการ)

ออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน, ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ออกแบบระบบประหยัดไฟฟ้าตามความต้องการและงบประมาณของลูกค้า

ติดต่อ    ตัวแทนในพื้นที่ใกล้บ้านท่าน...       
089-739-5056  K'อ้น  พื้นที่ สงขลา สตูล พัทลุง ตรัง นครฯ
083-196-6633  K'โก้   พื้นที่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
089-468-0928  K'เปา   พื้นที่ หาดใหญ่ รัตภูมิ ควนเนียง


โปรโมชั้น พิเศษสุดๆๆ ก่อนใคร
สั่งจอง ติดตั้งระบบเชื่อมต่อสายส่ง(On Grid)
ภายใน 1 - 31 ธันวาคม 2556
ทุกขนาด ทุกพื้นที่ ฟรีค่าแรงในการติดตั้ง


สิ้นค้าดี มีมาตรฐาน บริการเป็นกันเอง
ต้องเรา
ว.โซล่าเซลล์ ภาคใต้

ยินดีให้คำปรึกษาด้านพลังงานทดแทนฟรี
โทร 086-969-3222
www.wsolarcell.com
www.facebook.com/WSolarcell


ระบบไม่เชื่อมต่อสายส่ง

           
         
บ้านนายแอนด์วีวินติวเตอร์
สถาบันติวสอบตำรวจ ทหาร งานข้าราชการในภาคใต้
ไม่สนับสนุนการทุจริตการสอบทุกรูปแบบ
คิดจะสอบ คิดถึงบ้านนาย ...

BaanNine_SK

หลักการคำนวณระบบโซล่าเซลล์

       
1. หลักการคำนวณหาขนาดแผงโซล่าเซลล์   

     ขนาดแผงโซล่าเซลล์ คือ ขนาดของ Watt นะครับ ไม่ใช่ขนาดกว้าง-ยาวของแผง โดยตัวแปรที่จะเป็นผู้กำหนดขนาด

แผงโซล่าเซลล์คือ "ค่า Watt รวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า"ที่จะใช้ในบ้านในแต่ละวันครับ

     เริ่มต้น คือ ดูเสียก่อนว่าเราอยากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างในบ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ตรงจุดนี้แสดงถึงความต้องการของ

แต่ละคนที่แตกต่างกัน และเป็นตัวแปรสำคัญเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย เอาเป็นว่า ใครที่มีความต้องการความสดวกสบายเยอะ

ก็ต้องยอมจ่ายมากหน่อยเท่านั้นเองครับ ตัวอย่างการคำนวณ



ตัวอย่างที่ 1           

ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ

- ทีวี 14 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 5 ชั่วโมงต่อวัน

- พัดลมตั้งพื้น 1 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน

- หลอดไฟตะเกียบ 3 หลอด / เปิดประมาณ 4 ชั่วโมง จำนวน 2 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 1 หลอด

- ชาร์จโทรศัพท์  ชาร์จไฟฉาย

- วิทยุเครื่องเล็กๆ



การคำนวณ

- ทีวี 14 นิ้ว ต้องการกำลังไฟประมาณ 50Wต่อชั่วโมง เปิด 5 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 5 = 250W ต่อ วัน

- พัดลมตั้งพื้น ต้องการกำลังไฟประมาณ 50Wต่อชั่วโมง เปิด 8 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใช้กำลังไฟทั้งหมด  50 x 8 = 400W ต่อ วัน

- หลอดตะเกียบ ยกตัวอย่างหลอด 18W ต้องการกำลังไฟทั้งหมด (18x2x4)+(18x1x12) = 360W ต่อ วัน

- เครื่องชาร์จโทรศัพท์ชาร์ไฟฉาย คิดรวมๆ 50W ต่อวัน

- วิทยุเล็ก คิดรวม 50W ต่อวัน

นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 250+400+360+50+50=1,110W ต่อวัน

นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 1,110W ต่อวัน

ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวันละกันครับ)

ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 1,110 / 6 = 185W

นั่นคือเราต้องใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างน้อย 185W ขึ้นไปถึงจะมีไฟเพียงพอกับความต้องการครับ

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 9,000-16,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงครับ





ตัวอย่างที่ 2

ความต้องการไฟฟ้าสำหรับ

- ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน

- พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง

- หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด

- ตู้เย็น 5-7 คิว     

- หม้อหุงข้าว

- ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน

- คอมพิวเตอร์

- ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย



การคำนวณ

- ทีวี 21 นิ้ว 1 เครื่อง เปิดประมาณ 6 ชั่วโมง/วัน  (80W x 6 = 480W)

- พัดลมตั้งพื้น 2 เครื่อง เปิดประมาณ 8 ชั่วโมง/วัน/เครื่อง (50W x 2 x 8 = 800W)

- หลอดไฟตะเกียบ 12 หลอด / เปิดประมาณ 5 ชั่วโมง จำนวน 8 หลอด , เปิดใว้ทั้งคืนจำนวน 2 หลอด (18Wx8x5)+(18Wx2x12) = 1152W

- ตู้เย็น 5-7 คิว (100W x 10 = 1000W) ตู้เย็นไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เลยคิดที่ 10 ชั่วโมงต่อวันครับ

- หม้อหุงข้าว คิดรวม 1500W

- ปั๊มน้ำขนาดเล็กใช้ในบ้าน คิดรวม 250W

- คอมพิวเตอร์  คิดรวม 300W

- ชาร์จโทรศัพท์ ชาร์จไฟฉาย คิดรวม 50W

นำค่ารวมทั้งหมดมารวมกัน ดังนี้ 480+800+1152+50+1000+1500+250+300+50=5,582W ต่อวัน

นั่นคือ เราต้องการกำลังไฟฟ้าใช้ในบ้าน 5,582W ต่อวัน

ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = กำลังไฟฟ้าที่ต้องการใช้ในแต่ละวัน / ชั่วโมงแดด (เอาซัก 6 ชั่วโมงต่อวัน)

ขนาดแผงโซล่าเซลล์ = 5,582 / 6 = 930.33W

นั่นคือเราต้องใช้แผงโซล่าเซลล์อย่างน้อย 930W ขึ้นไปครับ

ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประมาณ 45,000-80,000 บาท แตกต่างกันตามคุณภาพของแผงครับ










2. หลักการคำนวณเครื่องควบคุมการชาร์จ

     สำหรับเครื่องควบคุมการชาร์จนั้น ส่วนมากเราจะคำนวณหาค่า A ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ในระบบได้

ตัวแปรที่จะเป็นตัวกำหนดคือ

      1. ขนาดของแผงโซล่าเซลล์ ทั้งค่า W , A และ V โดยปกตินั้นค่าทั้ง 3 จะสัมพันธ์กันอยู่แล้ว เราอาจใช้แค่ W และ V

มาใช้ในการคำนวณออกแบบก็ได้ โดยใช้สูตร W=V x A  หรือ A = W / V

     2. ขนาดความต้องการ A ของ Lode ที่จะนำมาต่อเข้ากับเครื่องควบคุมนี้



จาก ตัวอย่างที่ 1 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 185 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้

    - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 12V แทนค่าลงสูตร A = 185 / 12 = 15.4

       นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 15.4 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20A 12V ครับ

     - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 24V แทนค่าลงสูตร A = 185 / 24 = 7.7

       นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 7.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 10A 24V ครับ

จาก ตัวอย่างที่ 2 ที่ต้องใช้แผงโซล่าเซลล์ขนาด 930 W เราสามารถคำนวณหาขนาดเครื่องควบคุมการชาร์จได้ดังนี้

     - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 12V แทนค่าลงสูตร A = 930 / 12 = 77.5

       นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 77.5 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 80A 12V ครับ

     - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 24V แทนค่าลงสูตร A = 930 / 24 = 38.7

       นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 38.7 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 40A 24V ครับ

      - จากสูตร A = W / V กรณีที่เป็นแผงโซล่าเซลล์ 48V แทนค่าลงสูตร A = 930 / 48 = 19.3

       นั่นคือ เราต้องใช้เครื่องควบคุมการชาร์จขนาด 19.3 แอมป์ ขึ้นไป แนะนำขนาด 20A 48V ครับ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแผงโซล่าเซลล์แผงใดเป็นแผงระบบ 12V หรือ 24V

ให้ใช้โวลต์มิเตอร์วัดครับ หรือง่ายๆให้ดูใต้แผงโซล่าเซลล์นั่นแหละ ตรงค่า Voc ครับ

      - แผงโซล่าเซลล์ระบบ 12V ค่า Voc ระบุช่วง 18V - 23V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง

จะอ่านค่าได้ประมาณ 18V-23V เช่นกัน วัดในร่มชายคาที่ด้านนอกยังมีแดดอยู่หรือตอนเช้าตรู่ที่ยังไม่มีแดด(แต่ไม่มืด)

จะอ่านค่าได้ประมาณ 16V-18V (ถ้าอ่านค่าได้น้อยกว่านี้ถือว่าแผงโซล่าเซลล์คุณภาพต่ำมาก หรือ เสียไปแล้ว)

       - แผงโซล่าเซลล์ระบบ 24V ค่า Voc ระบุช่วง 36V - 45V หากใช้มิเตอร์วัดแผงโซล่าเซลล์ตอนมีแดดส่อง

จะอ่านค่าได้ประมาณ 36V-45V เช่นกันครับ



3. การคำนวณขนาดเครื่องแปลงไฟ (Inverter)

     เบื้องต้นนั้นท่านต้องทราบดีว่า ระบบโซล่าเซลล์ของท่านเป็นระบบอะไร 12V , 24V หรือ 48V เพราะจะเป็นตัวแปรแรกใน

การเลือกใช้ Inverter ส่วนอีกตัวแปรก็คือค่า W รวมของ Lode ที่คาดว่าจะมีโอกาสเปิดพร้อมกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเผื่อใว้

อีก 3-5 เท่า ของค่า W รวมนั้นๆ



จาก ตัวอย่างที่ 1 อาจมีโอกาสเปิดทีวี,พัดลม,หลอดไฟทั้ง3หลอดและชาร์จโทรศัพท์ พร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละ

อุปกรณ์มารวมกัน จะได้ 50+50+(18x3)+50 = 204 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 600-1,000W ส่วนจะใช้กี่ V นั้นก็

แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ครับ

จาก ตัวอย่างที่ 2 อาจมีโอกาสเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดพร้อมกันได้ เราก็เอาค่า W ของแต่ละอุปกรณ์มารวมกัน จะได้

70+(50x2)+(18x12)+100+800+150+80+50 = 1,566 W ดังนั้น ควรใช้ Inverter ขนาด 4,500-5,000W ส่วนจะ

ใช้กี่ V นั้นก็แล้วแต่ระบบที่ท่านออกแบบใว้ ถ้าใช้ Inverter เครื่องเดียวเลยจะต้องเป็นชนิด Pure Sine Wave

ซึ่งราคาประมาณ 4-8 หมื่นบาท แล้วแต่คุณภาพ แต่เพื่อความประหยัด ผมจึงขอแนะนำให้ใช้ Inverter 2 เครื่องแทนครับ

ดังนี้

- Inverter 1,000W แบบ Pure Sine Wave ราคาประมาณ 8,000-20,000 บาท สำหรับตู้เย็น,ปั๊มน้ำและ Computer

- Inverter 3,000W แบบ Modifier Sine Wave ราคาประมาณ 8,000-9,000 บาท สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

(ประหยัดได้ตั้งหลายพันบาทครับ เวลามีเครื่องใดเสีย ก็ยังมีอีกเครื่องที่ยังใช้ได้ด้วย)


4. การคำนวณหาขนาดแบตเตอรี่

     ตัวแปรที่เป็นตัวกำหนดขนาดแบตเตอรี่ คือ Lode ครับ ว่าต้องการกำลังไฟเท่าไหร่ในแต่ละช่วงเวลาที่ต้องการ

ขนาดแบตเตอรี่ สามารถคำนวณได้จากสูตร

ขนาดแบตเตอรี่ = กำลังไฟฟ้าที่ Lode ต้องการ x ระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน  /

                           แรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ x ประสิทธิภาพของ Inverter

โดย

* ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ ถ้าใช้แบตเตอรี่รถยนต์ = 0.60 ถ้าใช้แบตเตอรี่ชนิด Deep Cycle = 0.80

* ประสิทธิภาพ Inverter (คุณภาพดี) = 0.85


จาก ตัวอย่างที่ 1 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 1,110W  และใช้แบตเตอรี่ 12V ธรรมดา ดังนั้น

ขนาดของแบตเตอรี่ = 1110 / 12 x 0.6 x 0.85 = 181.37 Ah

นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12V 180Ah หรือมากกว่า อาจใช้ลูกใหญ่ลูกเดียวเลย(แต่ไม่แนะนำ) หรือ

ใช้แบตเตอรี่ 12Vลูกเล็ก 2-3ลูก ต่อขนานกันให้ได้ความจุประมาณนั้นครับ

จาก ตัวอย่างที่ 2 ความต้องการกำลังไฟต่อวันรวม 5,582W  และใช้แบตเตอรี่ 12V Deep Cycle ดังนั้น

ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 12 x 0.8 x 0.85 = 684 Ah



นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 12V 684Ah หรือมากกว่า

กรณีออกแบบระบบเป็น ระบบ 24V สามารถคำนวณหาขนาดแบตได้ดังนี้

ขนาดของแบตเตอรี่ = 5582 / 24 x 0.8 x 0.85 = 342 Ah

นั่นคือต้องใช้แบตเตอรี่ขนาดประมาณ 24V 342Ah หรือมากกว่า ครับ



ขนาดของสายไฟ
โดยทั่วไปนั้น เราไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียของกำลังไฟฟ้าในสายไฟมากกว่า 5% ดังนั้นในระบบ 12VDC  ของ
ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เราจะต้องไม่ให้ตกมากกว่า 0.6V หรือถ้าเป็นระบบ 24VDC ก็ต้องไม่ให้ตก
มากกว่า 1.2V จากตารางด้านล่างนี้ เป็นตัวอย่างขนาดสายไฟที่เหมาะสมกับระบบ 12VDC

Voltage Loss Per 100m Of Wire Run
(Volts Per 200m Of Wire)
Flow
(Amps)

Wire Size (mm2)
1.5   2.5   4.0
0.1   0.21   0.14   0.08
0.2   0.43   0.27   0.17
0.3   0.64   0.41   0.25
0.4   0.86   0.54   0.34
0.5   1.07   0.68   0.42
0.6   1.29   0.81   0.51
0.7   1.50   0.95   0.59
0.8   1.72   1.08   0.68
0.9   1.93   1.22   0.76
1.0   2.15   1.35   0.85
2.0   4.29   2.70   1.69
3.0   6.44   4.05   2.54
4.0   8.58   5.41   3.38
5.0   10.73   6.76   4.23
6.0   12.83   8.11   5.08
7.0   15.02   9.46   5.92
8.0   17.16   10.81   6.77
9.0   19.31   12.16   7.62
10.0   21.45   13.51   8.46

ยกตัวอย่าง  สมมุติว่าเราติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ห่างจาก Solar Charge Controller ที่ระยะ 8 เมตร และมีกระแสใหล
ประมาณซัก 6 A เมื่อดูจากตารางจะพบว่าถ้าเราใช้สายทองแดงขนาด 1.5 mm แรงดันไฟฟ้าสูญเสียในสายระยะ
100 เมตร เท่ากับ 12.83V (ตีไปซะ 13 นะครับ) แต่เราเดินสายเพียง 8 เมตร ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสาย
จะเท่ากับ 8x13/100 = 1.04  ซึ่งเกินกว่าค่าที่เรายอมรับได้(คือ0.6V)  แต่ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นสายไฟฟ้าขนาด 2.5 mm
แรงดันไฟฟ้าที่สูญเสียในสายจะเท่ากับ 8x8/100= 0.64  ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่เราต้องการ
                             
       และจากประสบการณ์ในการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์  ผมแนะนำให้ท่านเลือกใช้สายอ่อนครับ เพราะหากท่านใช้สาย
แข็ง(สายที่ใช้เดินไฟตามบ้าน)จะมีปัญหาเรื่องการต่อสายและการเข้าสายกับ terminal box ครับ จะเป็นสายอ่อนแบบคู่
หรือเดี่ยวหรือจะเป็นสายVCT เลยก็ดีครับ

      ท่านรู้หรือไม่ ว่าการใช้สายไฟขนาดเล็กกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายๆชิ้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าค่า W สูงๆ สิ่งที่อาจจะ
เกิดขึ้นได้และเกิดขึ้นบ่อยมากๆคือ อัคคีภัย(ไฟไหม้) เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นในสายทำให้ฉนวนหุ้มสายไฟละลาย
จนเกิดกระแสไฟลัดวงจรขึ้นตรงนี้ท่านควรใส่ใจด้วยครับ
บ้านนายแอนด์วีวินติวเตอร์
สถาบันติวสอบตำรวจ ทหาร งานข้าราชการในภาคใต้
ไม่สนับสนุนการทุจริตการสอบทุกรูปแบบ
คิดจะสอบ คิดถึงบ้านนาย ...