ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการสร้างระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่

เริ่มโดย เล็กคาราบาววว, 10:47 น. 24 มิ.ย 54

เล็กคาราบาววว

กระทู้นี้ คือกระทู้รวบรวมความคืบหน้าเกี่ยวกับ โครงการสร้างระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่  รวมทั้งเป็นที่อับเดด ข่าวสาร ความคืบหน้า  ข้อเสนอแนะของประชาชนชาวสงขลา เพื่อเป็นข้ออมูล ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

เล็กคาราบาววว

ชลประทานทุ่มงบ 100 ล. เร่งขุดคลอง พร้อมป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่

ขุดลอกคลอง 14 สายพื้นที่หาดใหญ่  15-04-54



Kungd4d

 ส-เขิน ส.บ๊ายบาย ส-ดีใจ  ผมมีความคิดดีๆว่าถ้าหากสามารถเปลี่ยนคลองอู่ตะเภาให้เป็นท่อขนาดใหญ่ได้ก็น่าจะดี(ขนาดคือเท่าๆกับขนาดของคลองเดิม) เพราะว่าถ้าเป็นระบบท่อแล้ว น้ำที่ไหลเข้ามาในท่อก็ไม่สามารถที่จะเอ่อล้น
เข้ามาท่วมบริเวณรอบๆท่อได้ การจัดการในสถาวะปกติน้ำจากท่อระบายน้ำหรือคลองระบายน้ำยังสามารถระบายเข้าไปในท่อได้ตามปกติ แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งวันใดฝนตกหนักมากๆ ทำให้น้ำเหนือที่ไหลเข้ามามากจนน้ำไหลออกจากท่อเข้าในเมืองก็ปิดประตูน้ำซะไม่ให้น้ำไหลออกมาได้ มันก็จะกลายเป็นระบบปิด อัตราการไหลของน้ำจะแรงตามแรงดันน้ำไปด้วย ระยะของระบบท่อน้ำนี้ความยาวไม่น่าจะเกิน 15 กิโลเมตร ผมว่าน่ะจะแก้ปัญหาในระยะยาวได้สบายๆ ครับ  ส-ดีใจ ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ

superGod

อ้างจาก: Kungd4d เมื่อ 19:05 น.  26 มิ.ย 54
ส-เขิน ส.บ๊ายบาย ส-ดีใจ  ผมมีความคิดดีๆว่าถ้าหากสามารถเปลี่ยนคลองอู่ตะเภาให้เป็นท่อขนาดใหญ่ได้ก็น่าจะดี(ขนาดคือเท่าๆกับขนาดของคลองเดิม) เพราะว่าถ้าเป็นระบบท่อแล้ว น้ำที่ไหลเข้ามาในท่อก็ไม่สามารถที่จะเอ่อล้น
เข้ามาท่วมบริเวณรอบๆท่อได้ การจัดการในสถาวะปกติน้ำจากท่อระบายน้ำหรือคลองระบายน้ำยังสามารถระบายเข้าไปในท่อได้ตามปกติ แต่ถ้าหากว่าวันหนึ่งวันใดฝนตกหนักมากๆ ทำให้น้ำเหนือที่ไหลเข้ามามากจนน้ำไหลออกจากท่อเข้าในเมืองก็ปิดประตูน้ำซะไม่ให้น้ำไหลออกมาได้ มันก็จะกลายเป็นระบบปิด อัตราการไหลของน้ำจะแรงตามแรงดันน้ำไปด้วย ระยะของระบบท่อน้ำนี้ความยาวไม่น่าจะเกิน 15 กิโลเมตร ผมว่าน่ะจะแก้ปัญหาในระยะยาวได้สบายๆ ครับ  ส-ดีใจ ส-เหอเหอ ส.อ่านหลังสือ

ท่านว่านั้นคิดว่ามันลำบากเพราะตามธรรมดาที่มันเกิดนั้น น้ำมันทะลักมาจากหัวน้ำอยู่แล้ว คือเต็มคลองมาแต่สะเดารวมเอาน้ำข้างทางต่างๆรวมกันกว่าจะมาถึงท้ายน้ำก็กลายเป็นทะเลเคลื่อนที่ลงมาเรื่อยๆแล้ว อีกอย่างหนึ่งนั้น คลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่1นั้น จะว่าไปก็ใหญ่โตอย่างกับแม่น้ำน้อยๆ ทำอุโมงค์(ท่อ)ให้เป็นระบบปิดนั้นท่าทางจะเรื่องยักษ์

ผมกลับมองถึงการเพิ่มทางน้ำ เพิ่มการระบายน้ำจากทิศใต้ลงสู่ทะเลสาปให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อช่วยผ่อนปริมาณน้ำจากที่คลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่1รับอยู่ โดยที่เห็นชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่างแล้วในกัวลาลัมเปอร์ที่ใช้รถขุดเจาะสำหรับทำรถได้ดินขุดอุโมงค์ลอดใต้เมือง(ใครเคยห็นก็ต้องยอมรับว่ามันลอดเมืองจริงๆ) โดยแนวที่จะต้องทำนั้นเสนอให้ใช้ที่ของการรถไฟ ขุดตามแนวทางรถไฟจะกี่ท่อกี่รูก็แล้วแต่ความสามารถ โดยน่าจะเริ่มแถวๆบ้านพรุ ไหลผ่านหาดใหญ่ไปออกแถวดินลาน ต่อคลองระบายน้ำที่1ซึ่งต้องขยายปริมาณรับน้ำช่วงปลายน้ำรองรับ

superGod

ประโยชน์นั้นนอกจากใช้ระบายน้ำในช่วงเวลาน้ำหลากแล้ว ในเวลาปกติก็สามารถเปลี่ยนเป็นทางพิเศษ(ถนน)ได้อีกด้วย โดนปัญหาต่างๆเช่น เวนคืนที่ดิน โครงสร้างเสาเข็มอาคารก็สามารถตัดไปได้เลยอีกต่างหาก อีกทั้งเชื่อว่าถ้าหากมีแล้วปัญหาดินต่ำ ดินทรุดในย่านโชคสมาน น้ำท่วมขัง ระบายไม่ทันจะกลายเป็นเรื่องผงๆไป ทั้งนี้และทั้งนั้นมันเป็นแค่เรื่องจินตนาการที่ต้องรอกันต่อไป
แต่ว่าที่ไม่ต้องจินตนาการและต้องรีบดำเนินการง่ายๆ เร็วๆ และชัดเจนเลยคือเรื่อง รีบไปสำรวจหลักเขต คลองอู่ตะเภา คลองระบายน้ำที่1 คลองแห คลองวง คลองกำนัน คลองย่อยๆเล็กๆที่สามารถช่วยดึงน้ำจากคลองหลักเหล่านั้นลงสู่ทะเลสาปได้ในช่วงปลายน้ำ ว่ามีใครลุกล้ำ ทำให้ตื้นเขิน ปิดกั้นทางน้ำเดิมหรือไม่ รีบดำเนินการขุดขยาย ลอกทางน้ำให้ลึกเหมือนเดิม น่าจะช่วยได้ในเบื้องต้นอย่างแน่นอน
ใครว่างๆลองไปสำรวจปลายน้ำกันดูนะครับว่าตอนนี้เป็นอย่างไรกันแล้ว

ผ่านมา จากข้างล่าง

มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา กับ ระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่


จากรูป จะเห็นว่า มอเตอร์เวย์เส้นนี้มีความยาวประมาณ 50 กม. จากแนวพรมแดนมาเลเชีย ซึ่งลักษณะของถนนจะวางตัวในแนวขนานไปกับคลองอู่ตะเภา





1.จุดประสงค์หลักของบทความนี้

เนื่องจากโครงการถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา เป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และอาจเกิดขึ้นได้ยากในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้าหากให้ตัวโครงการสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกับ "โครงการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ อ.หาดใหญ่" ได้ด้วย จะทำให้โครงการโดยรวม มีโอกาศประสบสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากเกาะกลางถนนมอร์เตอร์เวย์เส้นนี้





2.ความสำคัญของ ถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา

2.1 ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย
2.2 สนับสนุนประชาคมอาเซียนในปี 2558
2.3 เป็นเส้นทางที่สนับสนุนแลนด์บริดจ์เส้น ปีนัง-สงขลา
2.4 ช่วยบรรเทา ภัยน้ำท่วมในพื้นที่หาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี





คลองพร่องน้ำ อาจใหญ่กว่านี้ แต่จะอยู่แทนเกาะกลางมอเตอร์เวย์ และควรทำรั้วกั้นระหว่างถนนกับคลอง


3.แนวคิดการใช้เกาะกลางถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อพร่องน้ำ ก่อนไหลลงสูงคลองอู่ตะเภา

ซึ่งสามารถ ขุดคลองขนาดเล็กตรงกลาง (แทนที่เกาะกลาง) เพื่อเป็นการ "พร่องน้ำ" บางส่วน ที่ไหลมาจากเทือกเขาด้านทิศตะวันตก ก่อนที่มันจะไหลลงสู่คลองอู่ตะเภา

แนวคิดคือ ไหนๆก็จะสร้างมอเตอร์เวย์อยู่แล้ว ถนนมอเตอร์เวย์ก็ต้องมีเกาะกลาง เพื่อความปลอดภัย แต่ว่าหาดใหญ่น้ำท่วมบ่อย ดังนั้น เกาะกลางของมอเตอร์เวย์ จะปล่อยไว้ให้หญ้าขึ้นทำไม ทำเกาะกลางให้ใหญ่ขึ้นนิส เพื่อเป็นการพร่องน้ำบางส่วน ให้ไหลงทะเลสาบสงขลาโดยตรง










รูปแบบการพร่องน้ำ ซึ่งไม่ต้องขุดลึกมาก



4.การออกแบบ

ใช้เทคนิคการปรับระดับถนน หรือการปรับระดับคลองเพื่อให้น้ำใหลไปสู่ทะเลสาบสงขลา เช่นสะพานยกระดับน้ำ หรือ อุโมงค์น้ำในบางจุด และใช้การสำรวจพื้นที่เข้าช่วย ซึ่งลักษณะของคลองจะเป็น "คลองแห้ง" ในฤดูแล้ง และจะเป็นคลอง "พร่องน้ำ" ในฤดูน้ำหลาก

หมายถึง ไม่ต้องขุดลึกมาก เพียงแค่ปรับระดับความชันจากชายแดนมาเลเชียไปจนถึงทะเลสาบสงขลา เพื่อให้น้ำบางส่วนจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกไหลไปสู่ทะเลสาบสงขลาได้โดยตรง ตามแรงโน้มถ่วงของโลก (เครดิต : เซอร์ไอแซคนิวตัน)






รูปถนนที่มีคลองขนาดใหญ่ตรงกลาง แต่ถ้าเป็นของหาดใหญ่ คลองอาจจะเล็กกว่านี้ประมาณครึ่งหนึ่ง




5.บทสรุป

โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ-สะเดา นับว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าสามารถใช้เกาะกลางถนนเป็นระบบป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้โครงการโดยรวม มีโอกาสเกิดขึ้นได้เร็ว และจะต้องให้ประชาชนในจังหวัดสงขลา ร่วมกันผลักดัน เพื่อให้ หาดใหญ่ รอดพ้นจากน้ำท่วมเสียที







ปล. หากท่านคิดว่าไอเดียนี้เข้าท่า ก็ช่วยส่งข้อคิดเห็นของท่านไปที่ แขวงการทางสงขลาที่ doh1510@doh.go.th เผื่อว่าโครงการมอเตอร์เวย์จะสร้างได้เร็วขึ้น

อยากเห็นหาดใหญ่ดีขึ้น

อ้างจาก: ผ่านมา จากข้างล่าง เมื่อ 16:21 น.  27 มิ.ย 54
มอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา กับ ระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่


จากรูป จะเห็นว่า มอเตอร์เวย์เส้นนี้มีความยาวประมาณ 50 กม. จากแนวพรมแดนมาเลเชีย ซึ่งลักษณะของถนนจะวางตัวในแนวขนานไปกับคลองอู่ตะเภา
เรื่องคลองเรียบแนวถนนใหม่นะ ผมว่ามีความเป็นไปได้(ถ้าสร้างถนนนะ) แต่มอเตอร์เวย์ที่ต้องเสียค่าผ่านทางคงไม่คุ้มการลงทุน เพราะระยะเวลาคืนทุนจะนานเกินไป คงไม่มีใครอยากเสียเงินเข้าไปใช้บ่อยๆหรอก ยิ่งกลางคืนยิ่งไม่มีรถ(น่ากลัว ถ้าจะสร้างทำถนนคู่ขนาน(ฟรีเวย์)ซะยังจะดีกว่า คู่กับถนนกาญจนวานิชเดิม แต่แนวคลองเมื่อมาถึงบริเวณเขตเมืองหาดใหญ่ให้บายพาสอ้อมไปทางทิศ ตต.ขึ้นไปทางเหนือเพื่อออกทะเลสาบเหมือนคลอง ร.1 แต่ขนาดต้องใหญ่กว่าคลอง ร.1 ในปัจจุบันอย่างน้อยสองเท่า ได้ข่าวว่าแต่เดิมสเปคตามแบบคลอง ร.1 มีขนาดสองเท่าของคลองอู่ตะเภา ไงพอสร้างจริงลดขนาดลงมาเหลือเท่าคลองอู่ตะเภาล่ะ เลยทำให้ปีไหนที่น้ำมากกว่าปกติ ทำให้คลองร.1 ไม่สามารถระบายได้ทัน เลยทำให้น้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่ถึงแม้จะมีคลองแล้ว อยากจะให้แก้ปัญหาอย่างจริงจังเสียทีไม่ใช่แก้ปัญหาแบบเฉพาะหน้า มันไม่ทันการณ์หรอกนะ เทศบาลหาดใหญ่ กรมชลฯ จะทำอะไรก็รีบๆทำซะ นี่ถ้าท่วมอีกรอบผู้คนคงยกชั้นล่างของบ้านเป็นที่จอดรถแน่ๆ





1.จุดประสงค์หลักของบทความนี้

เนื่องจากโครงการถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา เป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และอาจเกิดขึ้นได้ยากในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้าหากให้ตัวโครงการสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกับ "โครงการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ อ.หาดใหญ่" ได้ด้วย จะทำให้โครงการโดยรวม มีโอกาศประสบสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากเกาะกลางถนนมอร์เตอร์เวย์เส้นนี้





2.ความสำคัญของ ถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-สะเดา

2.1 ส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย
2.2 สนับสนุนประชาคมอาเซียนในปี 2558
2.3 เป็นเส้นทางที่สนับสนุนแลนด์บริดจ์เส้น ปีนัง-สงขลา
2.4 ช่วยบรรเทา ภัยน้ำท่วมในพื้นที่หาดใหญ่ได้เป็นอย่างดี





คลองพร่องน้ำ อาจใหญ่กว่านี้ แต่จะอยู่แทนเกาะกลางมอเตอร์เวย์ และควรทำรั้วกั้นระหว่างถนนกับคลอง


3.แนวคิดการใช้เกาะกลางถนนมอเตอร์เวย์ เพื่อพร่องน้ำ ก่อนไหลลงสูงคลองอู่ตะเภา

ซึ่งสามารถ ขุดคลองขนาดเล็กตรงกลาง (แทนที่เกาะกลาง) เพื่อเป็นการ "พร่องน้ำ" บางส่วน ที่ไหลมาจากเทือกเขาด้านทิศตะวันตก ก่อนที่มันจะไหลลงสู่คลองอู่ตะเภา

แนวคิดคือ ไหนๆก็จะสร้างมอเตอร์เวย์อยู่แล้ว ถนนมอเตอร์เวย์ก็ต้องมีเกาะกลาง เพื่อความปลอดภัย แต่ว่าหาดใหญ่น้ำท่วมบ่อย ดังนั้น เกาะกลางของมอเตอร์เวย์ จะปล่อยไว้ให้หญ้าขึ้นทำไม ทำเกาะกลางให้ใหญ่ขึ้นนิส เพื่อเป็นการพร่องน้ำบางส่วน ให้ไหลงทะเลสาบสงขลาโดยตรง










รูปแบบการพร่องน้ำ ซึ่งไม่ต้องขุดลึกมาก



4.การออกแบบ

ใช้เทคนิคการปรับระดับถนน หรือการปรับระดับคลองเพื่อให้น้ำใหลไปสู่ทะเลสาบสงขลา เช่นสะพานยกระดับน้ำ หรือ อุโมงค์น้ำในบางจุด และใช้การสำรวจพื้นที่เข้าช่วย ซึ่งลักษณะของคลองจะเป็น "คลองแห้ง" ในฤดูแล้ง และจะเป็นคลอง "พร่องน้ำ" ในฤดูน้ำหลาก

หมายถึง ไม่ต้องขุดลึกมาก เพียงแค่ปรับระดับความชันจากชายแดนมาเลเชียไปจนถึงทะเลสาบสงขลา เพื่อให้น้ำบางส่วนจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันตกไหลไปสู่ทะเลสาบสงขลาได้โดยตรง ตามแรงโน้มถ่วงของโลก (เครดิต : เซอร์ไอแซคนิวตัน)






รูปถนนที่มีคลองขนาดใหญ่ตรงกลาง แต่ถ้าเป็นของหาดใหญ่ คลองอาจจะเล็กกว่านี้ประมาณครึ่งหนึ่ง




5.บทสรุป

โครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ-สะเดา นับว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าสามารถใช้เกาะกลางถนนเป็นระบบป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่ได้ด้วย ซึ่งจะทำให้โครงการโดยรวม มีโอกาสเกิดขึ้นได้เร็ว และจะต้องให้ประชาชนในจังหวัดสงขลา ร่วมกันผลักดัน เพื่อให้ หาดใหญ่ รอดพ้นจากน้ำท่วมเสียที







ปล. หากท่านคิดว่าไอเดียนี้เข้าท่า ก็ช่วยส่งข้อคิดเห็นของท่านไปที่ แขวงการทางสงขลาที่ doh1510@doh.go.th เผื่อว่าโครงการมอเตอร์เวย์จะสร้างได้เร็วขึ้น

โรคกลัวน้ำ

อ้างจาก: superGod เมื่อ 02:55 น.  27 มิ.ย 54
ท่านว่านั้นคิดว่ามันลำบากเพราะตามธรรมดาที่มันเกิดนั้น น้ำมันทะลักมาจากหัวน้ำอยู่แล้ว คือเต็มคลองมาแต่สะเดารวมเอาน้ำข้างทางต่างๆรวมกันกว่าจะมาถึงท้ายน้ำก็กลายเป็นทะเลเคลื่อนที่ลงมาเรื่อยๆแล้ว อีกอย่างหนึ่งนั้น คลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่1นั้น จะว่าไปก็ใหญ่โตอย่างกับแม่น้ำน้อยๆ ทำอุโมงค์(ท่อ)ให้เป็นระบบปิดนั้นท่าทางจะเรื่องยักษ์

ผมกลับมองถึงการเพิ่มทางน้ำ เพิ่มการระบายน้ำจากทิศใต้ลงสู่ทะเลสาปให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อช่วยผ่อนปริมาณน้ำจากที่คลองอู่ตะเภาและคลองระบายน้ำที่1รับอยู่ โดยที่เห็นชัดเจนและเป็นรูปเป็นร่างแล้วในกัวลาลัมเปอร์ที่ใช้รถขุดเจาะสำหรับทำรถได้ดินขุดอุโมงค์ลอดใต้เมือง(ใครเคยห็นก็ต้องยอมรับว่ามันลอดเมืองจริงๆ) โดยแนวที่จะต้องทำนั้นเสนอให้ใช้ที่ของการรถไฟ ขุดตามแนวทางรถไฟจะกี่ท่อกี่รูก็แล้วแต่ความสามารถ โดยน่าจะเริ่มแถวๆบ้านพรุ ไหลผ่านหาดใหญ่ไปออกแถวดินลาน ต่อคลองระบายน้ำที่1ซึ่งต้องขยายปริมาณรับน้ำช่วงปลายน้ำรองรับ
ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ส.ตากุลิบกุลิบ

kkolo

โครงการนิวไทยแลนด์ คนสงขลาต้องดึงงบประมาณลงมาให้ได้

[attach=1]

วันที่ 03/11/54 ภาคกลาง เหนือ อีสาน น้ำท่วมหนัก รัฐบาลปู จึงมีแผนทำ "โครงการนิวไทยแลนด์" งบประมาณเบื้องต้น 9 แสนล้าน โครงการจะเน้นระบบการจัดการน้ำเป็นหลัก

"โครงการนิวไทยแลนด์" รูปแบบ และการจัดสรรงบประมาณจะคล้าย กับ "โครงการไทยเข้มแข็ง" ของพรรค ปชป. มาก แต่ "โครงการนิวไทยแลนด์" จะเน้นเรื่องการจัดการน้ำ ส่วน โครงการไทยเข้มแข็ง จะเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนั้นใช้งบประมาณ 4 แสนล้าน ซึ่งโครงการไทยเข้มแข็งก็ได้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และมีการกระจายงบประมาณทั่วถึงทุกพื้นที่อย่างดี


แต่โครงการนิวไทยแลนด์ นี้สิ เป็นเรื่องการจัดการน้ำ ในพื้นที่น้ำท่วมหนักของภาคเหนือ และภาคกลาง แนวโน้มที่งบประมาณจำนวนนี้จะกระจุกแต่เพียงพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจึงมีสูงมาก

แต่ในขณะที่อ.หาดใหญ่เมื่อปีที่แล้วปี 2553 ไม่มีใครมาตั้งโครงการอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันเลย

ดังนั้น "โครงการนิวไทยแลนด์" งบประมาณก็ควรจะกระจายทั่วทุกภาคที่มีปัญหาน้ำท่วม ไม่ใช่ว่าเป็นโครงการ "โครงการนิวพวกKU" ไม่งั้นจะมีปัญหา

คนสงขลาทุกภาคส่วนต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับงบประมาณ ในโครงการนิวไทยแลนด์ก้อนนี้ ก่อนที่จะตกขบวนงบประมาณ 9 แสนล้าน แล้วอาจจะมานั่งเสียใจเมื่อน้ำท่วมอีกครั้ง

kkolo

วันนี้ (31 ต.ค. 54) ที่ห้องประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร (ทน.) หาดใหญ่ แถลงข่าวการเตรียมความพร้อมรับมืออุทกภัยปี 2554 โดยระบุว่า ขณะนี้ ทน.หาดใหญ่ มีความพร้อมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้วในการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่คาดว่าน่าจะมาถึงในช่วงต้นเดือน พ.ย. นี้ โดยมีการตั้งงบกลางเพื่อรับมือน้ำท่วมประมาณ 60 ล้านบาท รื้อและทำความสะอาดท่อระบายน้ำขนาดใหญ่และท่อระบายน้ำสาขาในเขตตัวเมืองรวมระยะทางประมาณ 330 ก.ม. เพื่อให้น้ำระบายลงสู่คลองสายหลัก ทั้งคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ได้อย่างสะดวก ซึ่งจนถึงขณะนี้แล้วเสร็จไปว่า 90%

นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัย 4 เขต ประกอบด้วย เขต 1 โรงเรียนเทศบาล 1 และโรงเรียนเทศบาล 3  เขต 2 บ้านพักครูเทศบาล และวัดโคกนาว เขต 3 โรงเรียนเทศบาล 4 และสถานีขนส่งเทศบาลนครหาดใหญ่ และ เขต 4 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล 5 โรงเรียนเทศบาล 2 และโรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน

รวมทั้งโครงการบ้านพี่เลี้ยงที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนในชุมชนที่ยากจนและผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแลในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะชุมชนในเขต 1 เขต 3 และ เขต 4 ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก โดยบ้านพี่เลี้ยงแต่ละหลังจะมีทั้งเครื่องอุปโภค บริโภค และ เวชภัณฑ์ ซึ่งจนถึงตอนนี้ทั้ง 4 เขต มีบ้านพี่เลี้ยงจำนวน 204 หลัง สามารถรองรับผู้ประสบภัยในชุมชนได้กว่า 10,000 คน"

นายไพร เปิดเผยอีกว่า สถานการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่ส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งเกิดจากการที่ฝนตกหนักต่อเนื่องติดต่อกันจากอิทธิพลของลมพายุ รวมทั้งน้ำเหนือจาก อ.สะเดา และพื้นที่เทศบาลรอบนอกไหลมาสมทบ จึงได้มีมาตรการป้องกันในเบื้องต้นโดยการจัดเตรียมกระสอบทราย 500,000 กระสอบ เพื่อทำเป็นพนังกั้นน้ำในจุดที่เป็นช่องโหว่ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมเมือง อีกทั้งยังได้สำรองข้าวสาร 50,000 ถุง บะหมี่กึ่งกึ่งสำเร็จรูป 250,000 ซอง และ ปลากระป๋องอีกกว่า 250,000 กระป๋อง ไว้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามจุดอพยพและศูนย์ช่วยเหลือต่างๆของเทศบาลอีกด้วย
/////

เเวสววว

เห็นด้วยนะ ที่จะ ขุดคลองใหม่ ขนานไปกับคลอง ร.1 เพราะ จะได้ถนนเลียบคลองมาด้วย ก่อนหน้านั้นบอกจะขยายคลองร.1 นึกแล้วมึนมาก คนที่คิดขยายจะคลอง ร.1

เหตุผล เพราะเมื่อก่อน ตอนไม่มีคลอง ร.1 ที่ดินแถวนั้น ราคาไร่ละ 3 แสน พอมีคลองเท่านั้นแหละ ราคาพุ่งไป ไร่ละ 3 ล้าน จะเอาเงินที่ไหนไปเวนคืน จะให้เงินชาวบ้านไร่ละ 3 แสน แบบเมื่อก่อน ชาวบ้านจะยอมไหมละ

สู้ไปขุดคลองใหม่ขนานไปกับคลองเดิม ที่ดินก็ไม่แพงเกินไป แถมได้ถนนอีก

....................

[attach=1]

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - จังหวัดสงขลาประชุมตรวจติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ ระยะที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพคลองระบายน้ำ ร.1 โดยขุดคลองขนานคลอง ร.1 อีก 1 สายและโครงการอ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง คาดใช้งบประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว
       
       วันนี้(20 ก.พ.) ที่ห้องประชุมสำนักชลประทานที่ 16 ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายกฤษฏา บุญราช ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ ระยะที่ 2 (เพิ่มประสิทธิภาพคลองระบายน้ำ ร.1) โดยมี นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายเทิดศักดิ์ บุณยขจร ผู้เชี่ยวชาญด้านแหล่งน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา นายโกวิทย์ เพ่งวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนัก กปร. นายสัญชัย เกตุวรชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมกว่า 50 คน เพื่อหาแนวทางป้องกันบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่
       
       นายวิวัธน์ชัย คงลำธาร ผู้อำนวยการส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักงานก่อสร้าง 11 กล่าวว่า โครงการบรรเทาอุทกภัย อ.หาดใหญ่ ระยะที่ 2 จ.สงขลา เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 เหตุเนื่องจากเกิดฝนตกหนักติดต่อกันอย่างต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายน 2531 ทำให้เกิดอุทกภัยบริเวณ อ.หาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียง กรมชลประทานจึงได้สนองพระราชดำริ โดยดำเนินการขุดลอกคลองธรรมชาติจำนวน 4 สาย ทำให้การระบายน้ำจากคลองอู่ตะเภามีประสิทธิภาพมากขึ้น
       
       แต่เนื่องจากปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งเมื่อปี 2543 และปี 2553 ซึ่งมีปริมาณน้ำที่ทะลักเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่ปริมาณมากถึง 1,600 ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทางจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมหาดใหญ่ โดยระยะเร่งด่วน จะดำเนินการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ซึ่งปัจจุบันระบายน้ำได้เพียง 465 ลบ.ม./วินาที ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,200 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับคลองอู่ตะเภาเดิมที่สามารถระบายน้ำได้ 400 ลบ.ม./วินาที จะทำให้เพียงพอในการระบายน้ำได้ 1,600 ลบ.ม./วินาที ซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำท่วมเมื่อหาดใหญ่ได้ คาดว่าจะใช้งบประมาณจำนวน 5,000 ล้านบาท
       
       สำหรับโครงการระยะยาวจะมีการขุดคลองขนานคลอง ร.1 ระยะทาง 22 กิโลเมตร ขึ้นอีก 1 คลอง รวมทั้งมีการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง อ่างเก็บน้ำคลองต่ำ อ่างเก็บน้ำคลองตง อ.หาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำคลองลำ อ่างเก็บน้ำคลองหลาปัง อ.สะเดา เพื่อตัดยอดน้ำ และเก็บกักน้ำไว้ต้นน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาอุทกภัยในระยะยาวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000023289


ซาโซริ แสงอุษา

เครดิดข้อมูล : ต้อม_รัตภูมิ 

ข้อมูลณ วันที่ : 10 ต.ค.55

....................
ตามไปแลโครงการก่อสร้าง 'อ่างเก็บน้ำพรุพลีควาย' หนึ่งในแผนป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่

[attach=1]

ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ปัญหาของคนหาดใหญ่-สงขลา จากปัญหาน้ำท่วมทำให้เกิดโครงการก่อสร้างและโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่หลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพรุพลีควาย (PRUPREEKWAY RESERVOIR) ในพื้นที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ข้อมูลโครงการ
โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพรุพลีควาย เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2554 เริ่มดำเนินโครงการในปี 2555-2558 มีการจัดสรรงบประมาณต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 525 ล้านบาท ก่อสร้างบนเนื้อที่รวมประมาณ 500 ไร่ โดยมีการเวรคืนที่ดินประชาชนในเขตตำบลพิจิตร และตำบลนาหม่อม จังหวัดสงขลา รวม 203 แปลง (268 ไร่) โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการแก้มลิงขนาดกลางกั้นคลองท่าโต้ราด ซึ่งเป็นหนึ่งในสายคลองที่ไหลผ่านบ้านควนจงลงมาสู่คลองหวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสายน้ำที่ท่วมเมืองหาดใหญ่ นอกเหนือจากน้ำจากลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา   

เหตุผลความจำเป็น
เนื่องจากราษฎรบริเวณ ตำบลพิจิตร และตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม และพื้นที่ใกล้เคียง ประมาณ 8 หมู่บ้าน รวมถึงพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา ได้เกิดอุทกภัยรุนแรงเป็นประจำ ประกอบกับช่วงหน้าแล้ง ราษฎรบริเวณดังกล่าว ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค จากการพิจารณาและวางโครงการเพื่อเป็นการจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และเก็บกักน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม และน้ำท่วมซ้ำซาก กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพรุพลีควาย เพื่อเก็บกักน้ำความจุประมาณ 2.5 ล้านลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 500 ไร่ ช่วยเหลือ การอุปโภค-บริโภค ประมาณ 750 ครัวเรือน

[attach=2]

[attach=5]

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1 เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับ อุปโภค-บริโภค ราษฎรประมาณ 750 ครัวเรือน
2 บรรเทาอุทกภัย บริเวณอำเภอนาหม่อม และพื้นที่ใกล้เคียง
3 เป็นแหล่งน้ำต้นทุนช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 500 ไร่

สาระสำคัญ
1 ทำนบดินพร้อมขุดลอกพรุความลึก ประมาณ 3 – 4.50 เมตร พื้นที่ 268 ไร่
2 เก็บกักน้ำ ความจุ 2.50 ล้านลูกบาศก์เมตร
3 ประตูระบายน้ำ จำนวน 1 แห่ง
4 อาคารระบายน้ำล้นฉุกเฉิน จำนวน 1 แห่ง
5 ขุดลอกลำน้ำเดิมท้ายน้ำ ประมาณ 3 กม.
6 ปรับปรุงลำน้ำคลองหวะ และลำน้ำสาขา จนถึงคลองอู่ตะเภา
7 ระบบประปาภายในตำบลพิจิตร และตำบลนาหม่อม

[attach=3]

พื้นที่ดำเนินงาน
ตำบลพิจิตร ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1 ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำพร้อมอาคารประกอบ ดำเนินการปี 2555 – 2556
2 ระบบประปาในชุมชน ดำเนินการปี 2557 – 2558
3 ปรับปรุงลำน้ำเดิม และลำน้ำสาขา ดำเนินการปี 2557 – 2558

ประมาณการค่าใช้จ่าย
จำนวนเงิน 525,000,000.00 บาท

สอบถามข้อมูลได้ที่
สำนักงานก่อสร้างที่ 31 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง1392 หมู่ 5 ตำบลควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 โทรศัพท์ 074-390221


[attach=4] 

ซาโซริ แสงอุษา

เครดิดข้อมูล : ต้อม_รัตภูมิ 

ข้อมูลณ วันที่ : 10 ต.ค.55

....................
[attach=1]
พื้นที่ก่อสร้างโครงการทีมงานเข้าไปขอถ่ายรูปมารายงานความเคลื่อนไหวกันครับ



[attach=2]
ประตูระบายน้ำพรุฉิมพลี กำลังก่อสร้าง



[attach=3]
ด้านใต้อ่างคือคลองท่าโต้ราด ที่ไหลลงสู่บ้านควนจง



[attach=4]



[attach=5]
ถ่ายกลับมาทางใต้เขื่อนเห็นเขาลูกนี้แล้วนึกถึงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง


[attach=6]


[attach=7]


[attach=8]

ซาโซริ แสงอุษา

เครดิดข้อมูล : ต้อม_รัตภูมิ 

ข้อมูลณ วันที่ : 10 ต.ค.55

....................

[attach=1]

[attach=2]

[attach=3]
ด้านบนพื้นที่ก่อสร้าง ดูเหมือสายคลองขนาดเล็กแต่ในหน้าฝนตรงนี้คือทุ่งรับน้ำขนาดใหญ่



[attach=4]


[attach=5]


[attach=6]

นี่คือข้อมูลของวันที่ 8-10-55 ความคืบหน้าโครงการท่านใดที่อยู่ในพื้นที่หรือขับรถผ่านไปทางนั้น นำมารายงานกันบ้างนะครับ



[attach=7]



[attach=8]



[attach=9]


[attach=10]




Endanger

อ่างเก็บน้ำที่ป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่

1. อ่างเก็บน้ำคลองหลา 25 ล้าน ลบ.เมตร
2. อ่างเก็บน้ำคลองจำไหร 6 ล้าน ลบ.เมตร
3. อ่างเก็บน้ำพรุพลีควาย 2.5 ล้าน ลบ.เมตร

นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีกมากมาย  ซึ่งเวลาหน้าฝนกรมอุตุทำนายว่าฝนจะตกหนักในอีก 3 วันข้างหน้า
ขับรถตะเวนดูได้เลยน้ำเต็มทุกอ่าง  ไม่มีใครรับผิดชอบทำหน้าที่พร่องน้ำในอ่าง

หวังว่าปี 2555 นี้  จะได้ยินหน่วยงานที่รับผิดชอบพูดว่า  ..พร่องน้ำในอ่างทุกอ่างเหลือ 15-20% เพื่อเตรียมรับน้ำฝนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว..

ภาคใต้ทะเลขนาบ 2 ข้างยังไงก็ไม่แล้ง  ถึงจะแล้งก็เสียหายน้อยกว่าน้ำท่วม

ซาโซริ แสงอุษา

เครดิด :  ต้อม_รัตภูมิ


ความจริงแล้วโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้าในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภาจํานวน 7 โครงการ ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งหมด 5,430 ล้านบาท คือ 

1. โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองหวะ (ตอนบน) บ้านปลักทิง ตําบลคลองหรัง อําเภอนาหม่อม ความจุ 6.40 ล้านลูกบาศก์เมตร

2. โครงการปรับปรุงพรุพลีควายบ้านพลีควาย ตําบลพิจตร อําเภอนาหม่อม ความจุ 2.50 ลูกบาศก์เมตร

3.โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองโตนงาช้าง บ้านท่าหมอไชย ตําบลทุ่ง ตําเสาอําเภอหาดใหญ่ ความจุ 12.03 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองตํ่า บ้านวังพาตําบล ทุ่งตําเสา อําเภอหาดใหญ่ ความจุ 25.22ล้านลูกบาศก์เมตร

5. โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองตง บ้านควนเนียง ตําบลพะตง อําเภอหาดใหญ่ ความจุ 26.00 ล้าน ลูกบาศก์เมตร

6. โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองหล้าปัง บ้านพรุเตียว ตําบลสํานักขาม อําเภอสะเดา ความจุ 35.50 ล้าน ลูกบาศก์เมตร

7. โครงการอ่างเก็บนํ้าคลองลํา บ้านทับโกบ ตําบลสํานักขาม อําเภอสะเดา ความจุ 20.52ล้านลูกบาศก์เมตร

รวมถึงยังมีโครงการเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำคลอง ร.1 ร.3 และคลองอู่ตะเภา ซึ่งบางโครงการก็เริ่มดำเนินการไปแล้วและบางโครงการอยู่ระหว่างการเวรคืนที่ดิน การทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ หากมีข้อมูลเพิ่มอย่างไรจะนำมารายงานกันต่อไป ท่านใดที่มีข้อมูลดีๆ นำมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ

ยำมาม่า

เผย "ปู" เผ่นสงขลาไป ครม.สัญจรสมุย เอกชนทวงงบกันน้ำท่วม-ซอฟต์โลนบึ้มหาดใหญ่

18 ตุลาคม 2555
[attach=1]

ด้าน ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ได้เตรียมผลักดันโครงการพัฒนาจังหวัดสงขลาผ่าน ครม.สัญจรที่สมุย เช่นเดียวกัน โดยเลือกเฉพาะประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาลเป็นหลัก นั่นคือ โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์หาดใหญ่-ด่านสะเดา ระยะทางประมาณ 50 กม. ที่มีการปัดฝุ่นใหม่เพื่อเปิดประตูการค้ารองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ให้รัฐบาลสนับสนุนโครงการนี้ต่อเนื่องกระทั่งอนุมัติงบประมาณก่อสร้างในที่สุด

นอกจากเส้นทางมอเตอร์เวย์แล้ว ยังได้ศึกษาโครงการเส้นทางระบายน้ำ หรือฟลัดเวย์สู่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกันน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ โดยมีแนวระบายน้ำเดียวกับเส้นทางมอเตอร์เวย์นั่นเอง ถือว่าได้ประโยชน์สองต่อ โดยกระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาจำนวน 25 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการนี้อยู่ และจวนเจียนจะเสร็จแล้ว


"หลังจากที่ขณะที่หอการค้าฯ สงขลา ก็ได้เปิดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กับประชาชนในทุกภาคส่วน และได้รับเสียงสนับสนุน และภาครัฐก็เห็นด้วยในหลักการจึงบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระดับประเทศ แต่เราก็ไม่ได้หยุดที่จะผลักดันต่อ เพราะตอนนี้ก็ยังไม่เป็นรูปธรรมเสียทีเดียว หอการค้าฯ จะพยายามใช้โอกาส ครม.สัญจรให้เป็นประโยชน์ โดยนำเสนอผ่านที่ประชุมว่าชาวจังหวัดสงขลายังสนับสนุน และต้องการมอเตอร์เวย์ และฟลัดเวย์" ดร.สุรชัยกล่าวทิ้งท้าย


http://www.manager.co.th/south/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127775

บ่าวใหญ่

 ส.ยกน้ิวให้ ส.ยกน้ิวให้ ต้องสร้างให้ได้ เพราะสงขลาจะบูมเป็นหลายเท่าถ้าสร้างมอเตอร์เวย์

Destiny

ขอให้แก้ปัญหาน้ำท่วมหาดใหญ่ได้จริงๆ และยั่งยืนด้วยเถอะ
อย่าเอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ
"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจหนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศจะตกแก่ท่านเอง ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์"  พระบรมราชปณิธานของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

แป้งเย็นเภสัช

"ไพร"เผยน้ำเกิน 1,2000 ลบ.ม./หาดใหญ่เสี่ยงท่วม เรียกร้องรัฐบาลชัดเจนนโยบายแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

[attach=1]

นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เผยปริมาณน้ำเกิน 1,200 ลบ.ม./วินาที หาดใหญ่เสี่ยงน้ำท่วม เรียกร้องรัฐบาลกำหนดนโยบายแก้ปัญหายั่งยืน ระบุหลายหน่วยเสนอแผนไปแต่เงียบหาย  คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยมาแปลกส่งอนุกรรมการฯลงพื้นที่ กำหนดเงื่อนไขให้งบประมาณโครงการต้องสร้างเสร็จภายใน 3 เดือน ไพร ชง 2 โครงการระบายน้ำออกจากเมือง 2 โครงการ 89.5 ล้านบาท


ย่างเข้าสู่ฤดูฝนสำหรับภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประชาชนในอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด หลังเกิดอุทกภัยในพื้นที่อื่นของประเทศไทย ล่าสุด ดร.ไพร พัฒโน บอกว่า จะเปิดศูนย์ป้องกันน้ำท่วมหาดใหญ่เดือนต.ค.นี้  ยอมรับหากปริมาณน้ำทะลุ 1,200 ลบ.ม./วินาที หาดใหญ่ก็อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม

"เดือน ต.ค.นี้ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ ก็จะเปิดศูนย์ป้องกันน้ำท่วม จะให้หน่วยราชการทุกภาคส่วนที่เป็นหน่วยงานภายนอดเข้ามาช่วยเรา และในส่วนของเราเองก็มีการซ้อมแผนมีการประชุมเตรียมการเพื่อรับมือ รวมทั้งเตรียมในเชิงพื้นที่ อุปกรณ์ และกำลังคน เราจะต้องเตรียมการล่วงหน้า มีศศูนย์บัญชาการที่เทศบาลนครหาดใหญ่ จะมีการประเมินสถานการณ์โดยคณะกรรมการอยู่ตลอดเวลา มีการเตรียมสิ่งพื้นฐานจำเป็นที่จะใช้ในสถานการณ์น้ำท่วม พอเปิดศูนย์ฯก็จะทำงานได้เลย" ดร.ไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่

ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติก็มีอยู่แล้ว ก็คงจัดตามที่เราวางไว้ ก็ถือว่าเป็นระบบที่มีความพร้อมพอสมควร เช่น ระบบการคาดการณ์ล่วงหน้า กล้องวงจรปิดที่ติดไว้ ซึ่งเป็นโครงการร่วมกันระหว่างชลประทานกับเทศบาลนครหาดใหญ่ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เครือข่ายชุมชน และมูลนิธิจากต่างประเทศ  ฉะนั้นคิดว่าหากปริมาณ น้ำในปีนี้ถ้ามาไม่เกิน 1,000 ลบ.ม./วินาที ก็ยืนยันว่าจะไม่ท่วม แต่ถ้าเกิดว่าเกินจากนั้นก็ต้องดูสถานการณ์และจังหวะการเข้ามาของน้ำ ว่าเข้ามาอย่างไร มันถึงจะตอบได้ว่าจะท่วมหรือไม่ท่วม

"ปกติลำพังคลองอู่ตะเภา และคลองร.1 รวมกัน รองรับได้ 900 กว่าลบ.ม./วินาที และมีระบบที่เสริมอีกนิดหน่อย ตรงนี้มันเสริมได้ไม่มาก เสริมได้แค่ 100 กว่า ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น ไม่ถึง 200 ลบ.ม./วินาที แต่ถ้าปริมาณน้ำทะลุขึ้นไปเป็น 1,200-1,300 ลบ.ม./วินาที มันก็สุดวิสัย ก็ขึ้นอย่กับสถานการณ์น้ำ แล้วก็พยายามไม่ให้เกิด น้ำท่วมขังในที่ลุ่ม

สำหรับอุปกรณื เครื่องไม้ เครื่องมือ ของเทศบาลที่เตรียมพร้อม ดร.ไพร กล่าวว่า เท่าที่มี มันก็เกินที่คลองรับได้อยู่แล้ว หมายความว่าถ้าคลองระบายน้ำที่ 1 มันล้น คลองอู่ตะเภา เราใช้อุปกรณ์ยังไงมันก็ยังท่วมอยู่ดี มันเป็นไม่ได้แล้ว มันเป็นภาระกิจที่ไม่มีทางประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่เราต้องการในขณะนี้คือ เรียกร้องไปยังคณะกรรมการกบอ.และทางรัฐบาล  การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหาดใหญ่อย่างยั่งยืนตามแนวทางพระราชดำริ

"หลายหน่วยงานที่เขาเสนอแผนไปแล้ว จากการประชุมร่วมกัน จากการบูรณาการร่วมกัน เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่จะได้รับการแก้ไขปัญหาและปฏิบัติชัดเจนจากรัฐบาล ขอไปนานมาก ก็ยังไม่ชัดเจน เห็นใจรัฐบาลที่มีปัญหาน้ำท่วมหลายพื้นที่ แต่หาดใหญ่เมื่อเกิดน้ำท่วมความเสียหายกว่า 10,000 ล้านบาท มันเกินงบประมาณที่จะนำมาใช้แก้ปัญหา ใช้เงินแก้ปัญหาน้อยกว่าที่เสียหาย"

จึงอยากให้รัฐบาลมีนโยบายลงมา เพื่อให้กับส่วนราชการในสังกัดของรัฐบาลจะได้ดำเนินการและปฏิบัติ ที่จะให้ความร่วมมืกับท้องถิ่น ในขขณะที่ของเทศบาลนครหาดใหญ่และรอบนอกเราพร้อมจะดำเนินการอย่างเต็ม ที่จะประสานความร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นเชื่อมต่อพื้นที่  สำหรับโครงการที่นำเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย  (กอบ.) เพื่อระบายน้ำในเมืองไม่ให้เกิดน้ำท่วมขังนั้น หลังจากที่คณะอนุกรรมการกบอ.เดินทางลงพื้นที่อ.หาดใหญ่

ดร.ไพร กล่าวว่า ทางกบอ.เขาต้องการกบอ.เขาต้องการที่ดำเนินการเสร็จภายใน 3 เดือน เราก็เห็นว่า โครงการที่นำเสนอเป็นโครงการระยะสั้นได้ ก็นำเสนอไป แต่จะได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือไม่ไม่ทราบ โครงการแรกบริเวณคลอง 30 เมตร ถนนเพชรเกษม มูลค่า 12.5 ล้านบาท และโครงการบริเวณ3แยกคอหงษ์มูลค่า 77 ล้าน  เป็นโครงการระบายน้ำให้ออกจากเมืองให้เร็วขึ้น

ที่มา : ภาคใต้โฟกัส
โพสโดย : naantogo โพสเมื่อ02/10/2555

นายไข่นุ้ย

อ้างจาก: Destiny เมื่อ 00:53 น.  20 ต.ค 55
ขอให้แก้ปัญหาน้ำท่วมหาดใหญ่ได้จริงๆ และยั่งยืนด้วยเถอะ
ใช่ครับ
DO YOU KNOW ME? I AM A CAT 28 YEARS. AND YOU?    แมวแท้สู (แมวยิ้ม)