ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการสร้างระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่

เริ่มโดย เล็กคาราบาววว, 10:47 น. 24 มิ.ย 54

คนริมคลอง ร1

[attach=1]

ขอเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการขยายคลอง ร1 

ซึ่งกระผมในฐานะคนริมคลอง ร1 ฝั่งหาดใหญ่ใน อยากจะบอกว่า คลอง ร1  ความจริงมันก็คือ ถนนผังเมืองสายหลักของหาดใหญ่ฝั่งตะวันออก เส้น ค7   ดังนั้น พวกหน่วยงานที่มีความคิดจะขุดถนนเรียบคลอง ร1 ให้เล็กลง  กรุณาฟัง และอ่านทางนี้

หากจะเอาถนนเรียบคลอง ร1 ออก  หรือทำถนน ให้เล็กลง  ผลที่จะเกิดขึ้น คือ วิกฤตจราจรในอนาคตของเมืองหาดใหญ่ฝั่งตะวันออก จะหนักมาก  เพราะ ถนน ค7 มันเป็นถนนสายหลักของฝั่งหาดใหญ่ใน

เราจะต้อง เจอ วิกฤตจราจร 1 ปี มี 365 วัน  แต่น้ำท่วมอย่างเก่งก็แค่ 2 วัน  ก็เลือกเอา

หากเอาถนนออก หรือทำให้ถนนเล็กลง ตามที่เขาลือกัน  นอกจะผลที่ตามมาคือปัญหาจราจร 1 ปี มี 365 วัน  ราคาที่ดินริมคลอง ร1 จะตกลงอย่างมาก จากปัจจุบันไร่ละ 3-5 ล้าน 

ถ้าขุดถนนออก  เชื่อว่าจะมีการประท้วงจากชาวบ้านแน่นอน (กระผมจะเป็น 1 ในนั้น)

หากจะเวนคืนที่ดิน ก็ต้องเวนคือในราคาไร่ละ 3-5 ล้าน  เพราะที่ดินริมคลอง ร1 ไม่ใช่ที่ดินตาบอดเหมือนในอดีต  ที่เวนคืนได้ไร่ละเฉลี่ย 5 แสน  ถามหน่อยจะเอางบที่ไหนมาเวนคืน


ทางที่ดีขุดคลองเส้นใหม่ไปเลยดีกว่า  จะขุดในแนวมอเตอร์เวย์ ตามกระทู้นี้ก็ไม่ว่ากัน  ได้ทั้งถนนได้ทั้งคลอง แถมได้เปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจเส้นใหม่ๆอีก   ดีกว่าหัวทั่งปล้ำแต่อิขุดถนนออก  ใครเขาจะยอม


ปล.จากคนริมคลอง ร1

ชลป

รูปการขยายคลอง ร1


เด็กใต้รักจริง

เห็นมีโครงการเสริมผนังกั้นน้ำคลองร.1 ช่วงที่เป็นดินให้เป็นปูน ช่วงอ.หาดใหญที่เป็นปูก็จะขยาย และเห็นโครงการสร้างคลองระบายน้ำขนานคลอง ร.1 ยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร สามารถระบายน้าได้ประมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จุดเริ่มต้นคลองโดยประมำณ ที่บ้ำนพรุ ตำบลบ้ำนพรุ อำเภอหำดใหญ่ จุดสิ้นสุดคลองโดยประมำณ ที่บ้ำนยำงหยิก ตำบลบำงเหรียง อำเภอควนเนียง ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 6,000 ล้านบาท การดาเนินการต้องมีการชดเชยค่าที่ดินและทรัพย์สินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ
...น้ำหมึกปลายปากกา ไม่ได้สอนประสบการณ์ชีวิต...

ชลประทาน

อ่างเก็บน้ำที่สร้างไปแล้ว(สีฟ้า) และอ่างเก็บน้ำที่จะสร้างใหม่ (สีส้ม)

ชลประทาน

คลองระบายน้ำเส้นใหม่ อยู่ฝั่งซ้ายของคลอง ร1 สามารถระบายน้ำได้ 2,000 ลบ.ม./วินาที

ชลประทาน

ขยายปะตูน้ำบ้านหน้าควน

ชลประทาน

ขยายประตูน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำบ้านบางหยี


เกหเกหเ้หก

เนื้อที่รวม ประมาณ 500 ไร่ ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการขุดที่ดินทั้ง 500 ไร่ ให้ลึก3-5 เมตร ให้เป็นอ่างเก็บน้ำ อับเดดล่าสุด วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2013 ตามรูป


เด็กใต้รักจริง

คลองสายใหม่เวนคืนกันระยำเลยนะครับ แพงน่าดู
...น้ำหมึกปลายปากกา ไม่ได้สอนประสบการณ์ชีวิต...

mikicool

โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ ระยะที่ 2 จ.สงขลา

ความเป็นมา 

   ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531 เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน  ทำให้เกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา  สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูก บ้านเรือน ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 4,000  ล้านบาท  จึงเป็นที่มาของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งพระราชทาน เมื่อวันที่  24  ธันวาคม พ.ศ.2531 พระองค์ท่านทรงดำริไว้ว่า   " การแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยด้วยวิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่คลองอู่ตะเภาหรือตามลำน้ำสาขา  เพื่อสกัดกั้นน้ำจำนวนมากไม่ให้ไหลมายังเมืองหาดใหญ่นั้น  คงไม่สามารถดำเนินการได้  เพราะไม่มีทำเลที่เหมาะสมในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้เลย  ดังนั้น การแก้ไขและบรรเทาน้ำท่วมที่ควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะได้แก่   การขุดคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ ให้ทำหน้าที่แบ่งน้ำจากคลองอู่ตะเภาหรือช่วยรับน้ำที่ไหลลงมาท่วมตัวอำเภอหาดใหญ่ ให้ระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลาโดยเร็ว  นอกจากนั้น หากต้องการที่จะป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ธุรกิจให้ได้ผลโดยสมบูรณ์แล้ว   หลังจากที่ก่อสร้างคลองระบายน้ำเสร็จ ก็ควรพิจารณาสร้างคันกั้นน้ำรอบบริเวณพื้นที่ดังกล่าวพร้อมกับติดตั้งระบบสูบน้ำออกจากพื้นที่ไม่ให้ท่วมขังตามความจำเป็น   ทั้งนี้ให้พิจารณาร่วมกับระบบของผังเมืองให้มีความสอดคล้องและได้รับประโยชน์ร่วมกันด้วย " 

[attach=1]

รูปที่ 1 พื้นที่น้ำท่วมลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา ปี 2531

กรมชลประทานจึงได้สนองพระราชดำริ  โดยการขุดลอกคลองธรรมชาติ  ในปี พ.ศ.2532 จำนวน  4  สาย ความยาวรวม 46.900 กม. เพื่อให้สามารถระบายน้ำเร็วขึ้น ประกอบด้วย

    1. คลองอู่ตะเภา                ความยาว              19.000  กิโลเมตร

    2. คลองอู่ตะเภา แยก 1      ความยาว                5.900  กิโลเมตร

    3. คลองอู่ตะเภา แยก 2      ความยาว                5.500  กิโลเมตร

    4. คลองท่าช้าง-บางกล่ำ    ความยาว               16.500  กิโลเมตร

[attach=2]

รูปที่ 2. แนวขุดลอกคลองธรรมชาติ 4 สาย
หลังจากนั้นอีก 12  ปี ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2543 ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันอีกครั้ง ทำให้คลองระบายน้ำธรรมชาติที่ขุดลอกไว้ไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำได้ จึงทำให้เกิดอุทกภัยบริเวณเทศบาลนครหาดใหญ่ และบริเวณใกล้เคียง สร้างความเสียหายประมาณ 18,000  ล้านบาท  ประชาชนเสียชีวิต  30 คน  คณะรัฐมนตรี จึงได้มีมติ เมื่อวันที่  19  ธันวาคม พ.ศ.2543 ให้ดำเนินการโครงการพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ภาคใต้ที่ประสบอุทกภัย ในส่วนของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  จึงได้ดำเนินการขุดคลองระบายน้ำเพิ่มจำนวน  5 สายพร้อมอาคารประกอบเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำประกอบด้วย

                -  ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่พร้อมอาคารประกอบ ความยาวรวม  42.28   กิโลเมตร

                -  งานติดตั้งระบบโทรมาตร  เพื่อคาดการณ์และเตือนภัย

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 3. แนวขุดคลองสายใหม่ 5 สาย

1.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.1 พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองระบายน้ำสายหลักในการผันน้ำจากคลองอู่ตะเภา อ้อมเมืองหาดใหญ่สู่ทะเลสาบสงขลาโดยตรง ความยาว  21.343  กม. สามารถระบายน้ำได้  465 ลบ.ม./วินาที  โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ 3แห่ง ประกอบด้วย 

    -  ประตูระบายน้ำคลองอู่ตะเภา  ขนาด 12.50 x 7.50  ม. จำนวน  2  ช่อง

    -  ประตูระบายน้ำบ้านหน้าควน  ขนาด 12.50 x 7.50  ม. จำนวน  2  ช่อง

    -  ประตูระบายน้ำบางหยี  ขนาด 6.00 x 6.00  ม. จำนวน  6  ช่อง

[attach=2]

รูปที่ 4. คลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ

2.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.3 พร้อมอาคารประกอบ  เป็นคลองแบ่งน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำจากคลองอู่ตะเภาตอนนอกเมืองหาดใหญ่ ซึ่ง ความยาว 8.200 กม. สามารถระบายน้ำได้ 195  ลบ.ม./วินาที  โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ  ประกอบด้วย ประตูระบายน้ำปลายคลอง ขนาด 6


mikicool

[attach=1]

รูปที่ 5.  คลองระบายน้ำ ร.3 พร้อมอาคารประกอบ

3.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.4 พร้อมอาคารประกอบ  รับน้ำจากคลองระบายน้ำ ร.5  สู่ทะเลสาบสงขลา  ผ่านทางคลองระบายน้ำ ร.3  ความยาว  6.920 กม. สามารถระบายน้ำได้  55ลบ.ม./วินาที โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ ประกอบด้วยประตูระบายน้ำกลางคลอง ขนาด 6.00

[attach=2]

รูปที่ 6.  คลองระบายน้ำ ร.4 พร้อมอาคารประกอบ



4.  ขุดคลองระบายน้ำ  ร.5 พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองระบายน้ำจากบริเวณสามแยกคอหงส์ออกทะเลสาบสงขลา  ผ่านคลองระบายน้ำ  ร.4 และ  ร.3  ตามลำดับ ความยาว  2.660  กม. สามารถระบายน้ำได้  30  ลบ.ม. /วินาที

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 7.  คลองระบายน้ำ ร.5 พร้อมอาคารประกอบ





5. ขุดคลองระบายน้ำ ร.6  พร้อมอาคารประกอบ เป็นคลองผันน้ำจากคลองเรียนและแก้มลิงของเทศบาลนครหาดใหญ่ไปลงคลองหวะ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลสาบสงขลาผ่านคลองระบายน้ำ ร.1 ช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ตอนล่างของคลองเรียน ความยาว  3.160  กม. สามารถระบายน้ำได้  50  ลบ.ม./วินาที โดยมีอาคารควบคุมปริมาณน้ำ  ประกอบด้วย

    - ประตูระบายน้ำ  ขนาด  3.80 x 4.00  ม.  จำนวน 2  ช่อง

    - ท่อระบายน้ำคลองเรียน  ขนาด 2.00 x 2.00 ม. จำนวน  2  ช่อง

[attach=2]

รูปที่ 8.  คลองระบายน้ำ ร.6 พร้อมอาคารประกอบ



6. ขุดคลองระบายน้ำ 1ซ. – ร.1  พร้อมอาคารประกอบ ความยาว  4.620  กม. ประกอบด้วย   

    - ประตูระบายน้ำคลองระบาย  1 ซ – ร.1 ขนาด 6.00 x 6.00  ม. จำนวน  2  ช่อง

mikicool

[attach=1]
รูปที่9.  คลองระบายน้ำ 1ซ. – ร.1 พร้อมอาคารประกอบ

7.  ขุดคลองระบายน้ำ  1ข.–1ซ.–ร.1 ความยาว 0.562 กม. ประกอบด้วย

8. ประตูระบายน้ำคลองต่ำ  ขนาด 6.00 x 6.00  ม. จำนวน  1 ช่อง

9.  ประตูระบายน้ำคลองวาด  ขนาด  6.00 x 6.00  ม.  จำนวน  1 ช่อง
ระยะเวลาดำเนินการ

        แผนงานเดิมกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง  14  ปี  (พ.ศ.2532  -  พ.ศ.2545)

       แผนงานใหม่ขยายระยะเวลาก่อสร้าง  17  ปี  (พ.ศ.2532  -  พ.ศ.2548) ตามมติครม. 19 ธันวาคม  2543



ลักษณะโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการ    (ตามแผนระยะปานกลางและระยะยาว)


ในระหว่างดำเนินงานโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่  24  เมษายน2544  ให้ความเห็นชอบในหลักการแผนป้องกันอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.)  เสนอ  ประกอบด้วย 3  แผนงานหลักคือ แผนระยะเร่งด่วน  แผนระยะปานกลางและแผนระยะยาว   ซึ่งแผนระยะเร่งด่วน (ขุดคลองระบายน้ำจำนวน 7 สายพร้อมอาคารประกอบและระบบโทรมาตรเพื่อคาดการณ์และเตือนภัย) ได้ดำเนินการเสร็จแล้วในปี พ.ศ.2550 ในส่วนของแผนระยะปานกลางและแผนระยะยาวจะดำเนินงานภายหลังจากแผนระยะเร่งด่วนเสร็จแล้ว เป็นงานศึกษาเพื่อพัฒนาและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ  ในพื้นที่ลุ่มน้ำอู่ตะเภาอีก  6 แห่ง    ได้แก่

    1. อ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง  ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

    2. อ่างเก็บน้ำคลองต่ำ  ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

    3. อ่างเก็บน้ำคลองตง  ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา

    4. อ่างเก็บน้ำคลองลำ  ตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา  จังหวัดสงขลา

    5. อ่างเก็บน้ำคลองหลาปัง  ตำบลสำนักขาม  อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

    6. อ่างเก็บน้ำคลองเรียน  ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
        ขณะนี้กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา  ศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จ  1 โครงการคือโครงการอ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง  ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบต่อไป

[attach=2]

รูปที่ 10.  ตำแหน่งที่ตั้งอ่างเก็บน้ำตามผลการศึกษา



     ต่อมาใน ปี 2553 เกิดจากภาวะฝนตกหนักและพายุดีเพรสชั่นในพื้นที่ของจังหวัดสงขลา  ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่  จังหวัดสงขลาได้ประกาศทั้ง 16 อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ โดยได้เกิดฝนตกหนักในวันที่ 31 ตุลาคม 2553 วัดได้สูงสุด  301.30 มม. กรมชลประทานร่วมกับจังหวัดสงขลา และเทศบาลนครหาดใหญ่  ได้ประกาศแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยยกธงเหลืองเมื่อเวลา 11.00 น.ยกธงแดงเมื่อเวลา 17.00 น.  วันที่ 1 พ.ย. 2553 ปริมาณน้ำท่าในคลองอู่ตะเภาได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่  ในเวลา 22.00 น. ของวันที่  1  พ.ย. 2553 เนื่องจากปริมาณน้ำท่ามีจำนวนมากเกินความจุคลองระบายน้ำโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่เกิดน้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่    ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน ในการระบายน้ำจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติโครงการป้องกันน้ำท่วมในปัจจุบันที่มีอยู่ คือ คลองระบายน้ำ ร.1 , ร.3 , ร.4 , ร.5 และ ร.6  มีศักยภาพในการป้องกันอุทกภัยในรอบปีการเกิดซ้ำ 25 ปี  ยังมีความสามารถไม่เพียงพอ ที่จะป้องกันอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ที่เกิดขึ้นใน ปี 2553     ซึ่งเป็นปริมาณน้ำฝนในรอบ 70 ปี  องค์ประกอบสำคัญของการแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ ประกอบด้วย  มาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง ได้แก่ การปรับปรุงและขุดลอกคลองธรรมชาติ การขุดลอกคลองระบายน้ำ  การสร้างพื้นที่ปิดล้อมชุมชนที่สำคัญ  การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณต้นน้ำและแก้มลิง  เพื่อเป็นส่วนช่วยลดและชะลอการไหลของน้ำ  ระบบคาดการณ์ /เตือนภัย รวมทั้งมาตรการควบคุมผังเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งจะต้องพิจารณาแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 11.  สภาพน้ำท่วม ปี 2553





     ในปี 2554 ระหว่างวันที่ วันที่ 30 ธ.ค.54- 2 ม.ค.55  ได้เกิดภาวะฝนตกหนัก  เนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่  จังหวัดสงขลาได้ประกาศให้ทั้ง 16  อำเภอเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน  ปริมาณน้ำฝนสูงสุด  1  วัน  (31 ธันวาคม 2554)  วัดได้ที่สถานีวัดน้ำฝนวัดทุ่งปรือ  ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่  325.80 มม. ทำให้เกิดน้ำท่าจำนวนมากในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา  ปริมาณน้ำท่าสูงสุดวัดได้  วันที่ 2  มกราคม  2555  เวลา  14.00 น. รวม  1,145 ลบ.ม./วินาที  ไหลผ่านคลองอู่ตะเภา  532.80 ลบ.ม./วินาที และ ไหลผ่านคลองระบายน้ำ ร.1  612.20ลบ.ม./วินาที  ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้ำที่มากกว่าปี 2531  (ปริมาณน้ำ  839.00 ลบ.ม./วินาที)  ปี  2543 (ปริมาณน้ำ  970.85      ลบ.ม./วินาที)  และปี 2552  (ปริมาณน้ำ 976.80 ลบม./วินาที)  แต่น้อยกว่า ปี 2553 (1,623.50 ลบ.ม./วินาที) ปริมาณน้ำไม่ส่งผลต่อพื้นที่เศรษฐกิจของตัวเทศบาลนคร

[attach=2]

รูปที่ 12.  สภาพน้ำท่วม ปี 2554

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 13.  เปรียบเทียบปริมาณน้ำฝน-น้ำท่าลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา

หมายเหตุ

    1. ปี 2543 ยังไม่มีโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ ปริมาณน้ำท่า  970.85 ลบ.ม./วินาที  เป็นน้ำท่าในคลองอู่ตะเภา น้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่สูงเฉลี่ย 3.50 ม. ท่วมขังนานประมาณ 1 อาทิตย์  จึงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    2. ปี 2552 มีโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  น้ำหลากช่วงระหว่างวันที่ 20-22 พ.ย. 2522ปริมาณน้ำท่า 976.80 ลบ.ม./วินาที เป็นน้ำท่าในคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 ไม่เกิดน้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่

    3. ปี 2553 มีโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  น้ำหลากช่วงระหว่างวันที่ 30 ต.ค.- 1 พ.ย. ปริมาณน้ำท่า 1,623.50 ลบ.ม./วินาที เป็นน้ำท่าในคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1 เกิดน้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 วัน ในการระบายน้ำจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

    4. ปี 2554  มีโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ น้ำหลากช่วงวันที่ 30 ธ.ค.54- 2 ม.ค.2555 ปริมาณน้ำท่า 1,145 ลบ.ม./วินาที เป็นน้ำท่าในคลองอู่ตะเภาและคลอง ร.1ไม่เกิดน้ำท่วมตัวเมืองหาดใหญ่ 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

                แนวทางการแก้ไขเพื่อบรรเทาอุทกภัยสำหรับลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา  ให้มีความสามารถที่จะป้องกันและรองรับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต กรมชลประทานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการปรับปรุงโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ซึ่งได้พิจารณากำหนดรูปแบบ วิธีการที่จะดำเนินการ และกรมชลประทานได้อนุมัติในหลักการแล้วเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555













แนวทางการปรับปรุงโครงการ


1. เพิ่มประสิทธิภาพคลองระบายน้ำ ร.1และ ร.3

2. สกัดน้ำไม่ให้เข้าเมือง  โดยผันน้ำออกก่อนเข้าเมือง

3. ตัดยอดน้ำ / กักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำไว้ต้นน้ำ

















แนวทางการปรับปรุงโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2)
แผนงานที่ดำเนินการ

                1) แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มประสิทธิภาพคลองระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบ    ได้แก่

                        1.1ปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 จาก เดิมระบายน้ำได้ 465 ลบ.ม./วินาที  ให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ลบ.ม./วินาที โดยตอกเข็มและใส่กำแพงคอนกรีตป้องกันตลิ่ง


[attach=2]

รูปที่ 14.   แผนที่แสดงแนวคลองระบายน้ำ ร.1

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 15.   แบบคลองระบายน้ำ ช่วง กม.0+000 ถึง กม.14+460

(ปรับปรุงจากคลองดินเป็นคลองคอนกรีตเสริมกำแพงตั้ง)


[attach=2]

รูปที่ 16.   แบบคลองระบายน้ำ ช่วง กม.14+460 ถึง กม.21+343

(ปรังปรุงคลองคอนกรีตโดยการเสริมกำแพงตั้ง)

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 17.   คลองระบายน้ำ  ร.1 หลังจากปรับปรุง



1.2  ก่อสร้าง ปตร.หน้าควน และ ปตร.บางหยี ให้สามารถระบายน้ำตามการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1  (ข้อ 1.1)

    - ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน แห่งที่ 2      โดยก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 12.50x7.50 เมตร  เพิ่มอีก 3 ช่อง

[attach=2]

รูปที่ 18  รูปแบบการก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน



    - ก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี แห่งที่ 2    โดยก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 6.00 x 6.00 เมตร  เพิ่มอีก 8 ช่อง

mikicool

[attach=1]
รูปที่ 19.   รุปแบบการปรับปรุงประตูระบายน้ำบางหยี



1.3 ติดตั้งสถานีสูบน้ำบริเวณ ปตร.บางหยีเพิ่มเติม   มีอัตราการสูบน้ำ 90 ลูกบาศก์เมตร/วินาที  เพื่อช่วยการระบายน้ำจากคลอง ร.1 ออกสู่ทะเลสาบสงขลาให้เร็วขึ้น

[attach=2]

รูปที่ 20.   แสดงรูปแบบของสถานีสูบน้ำ 90 ลบ.ม./วินาที



1.4 ปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.3 ตั้งแต่ กม.0+000 ถึง กม.8+200 จากเดิมระบายน้ำได้ 195 ลบ.ม./วินาที    ให้สามารถระบายน้ำได้ไม่น้อยกว่า 300 ลบ.ม./วินาที  พร้อมติดตั้งสถานีสูบน้ำบริเวณ ประตูระบายน้ำปลายคลอง ร.3 เพิ่มเติมมีอัตราการสูบน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 6.00 x 6.00 ม. เพิ่มอีก 2 ช่อง เพื่อช่วยการระบายน้ำจากคลอง ร.3 ออกสู่ทะเลสาบสงขลาให้เร็วขึ้น

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 21.   แบบคลองระบายน้ำ ช่วง กม.0+000 ถึง กม.8+000

(ปรับปรุงจากคลองดินเป็นคลองดาดคอนกรีต)


[attach=2]

รูปที่ 22.   แสดงรูปแบบของสถานีสูบน้ำ 30 ลบ.ม./วินาที



     จากแนวทางข้างต้นสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพคลองระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบ  เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จึงกำหนดแผนการดำเนินงานโครงการได้ดังนี้         

   

แผนการดำเนินงาน 4 ปี (พ.ศ.2555- 2558)


กิจกรรม
งบประมาณ

(ล้านบาท)
 

2555
 

2556
 

2557
 

2558

1.ปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ตั้งแต่ กม. 0+000  ถึง  21+343
3,100.00
 
(980)
(800)
(1,270)

2.ก่อสร้าง ปตร.หน้าควน แห่งที่ 2
300.00
  (80)
(220)
 
 

3. ก่อสร้าง ปตร.บางหยี แห่งที่ 2
800.00
 
(400)
(400)
 

4. ปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.3 ตั้งแต่ กม. 0+000 ถึง  8+200
800.00
 
(200)
(300)
(300)

รวม
5,000.00
80
1,800
1,550
1,570






2)  สกัดน้ำไม่ให้เข้าเมือง  โดยผันน้ำออกก่อนเข้าเมือง

ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ อยู่ฝั่งซ้ายของคลอง ร.1 สามารถระบายน้ำได้ประมาณ  2,000  ลูกบาศก์เมตร/วินาที   ยาวประมาณ 22.50 กิโลเมตร     จุดเริ่มต้นคลองโดยประมาณ ที่บ้านพรุ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จุดสิ้นสุดคลองโดยประมาณ   ที่บ้านยางหยิก ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง   ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 6,000 ล้านบาท การดำเนินการต้องมีการชดเชยค่าที่ดินและทรัพย์สินให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ



mikicool

[attach=1]

[attach=2]

รูปที่ 23.  รูปแบบคลองระบายน้ำสายใหม่



3) ตัดยอดน้ำ / กักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำไว้ต้นน้ำ

โครงการอ่างเก็บน้ำที่สามารถดำเนินการได้จำนวน 5 โครงการ สามารถตัดยอดน้ำได้ ประมาณ 120.0 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วย

    1. อ่างเก็บน้ำคลองโตนงาช้าง อ.หาดใหญ่       ความจุ 12.03 ล้านลูกบาศก์เมตร

    2. อ่างเก็บน้ำคลองต่ำ อ.หาดใหญ่                  ความจุ 25.22 ล้านลูกบาศก์เมตร

    3. อ่างเก็บน้ำคลองตง อ.หาดใหญ่                  ความจุ 26.00 ล้านลูกบาศก์เมตร

    4. อ่างเก็บน้ำคลองลำ อ.สะเดา                      ความจุ 20.52 ล้านลูกบาศก์เมตร

    5. อ่างเก็บน้ำคลองหลาปัง อ.สะเดา                ความจุ 35.50 ล้านลูกบาศก์เมตร

mikicool

[attach=1]

รูปที่ 24.   ตำแหน่งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ



ข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา

                ด้วยสภาพภูมิประเทศของอำเภอหาดใหญ่  ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม  มีภูเขาโอบล้อมทุกทิศ  พื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ  มีลำน้ำธรรมชาติหลายสายไหลผ่าน  มีความลาดชันสูง  และเป็นสายแคบๆ สั้นๆ  จึงทำให้น้ำไหลหลากล้นตลิ่งได้ง่าย    ชุมชนขนาดใหญ่มักจะอาศัยอยู่ริมน้ำ  เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองหงส์

เทศบาลเมืองคลองแห เทศบาลเมืองควนลัง และเทศบาลเมืองบ้านพรุ เป็นต้น  ประกอบกับภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน มีฝนตกชุกทั้งปี จึงทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ได้ง่าย   แต่เนื่องด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ลาดชัน  ความยาวลำน้ำไม่มากนัก  และปลายน้ำต่อเชื่อมกับทะเลสาบสงขลา  จึงทำให้สถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้กินเวลายาวนานมากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ภาคกลาง   แต่หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น  เทศบาลนครหาดใหญ่  เหมือนเช่นปี 2543  และ 2553  ก็จะมีความเสียหายนับหมื่นล้านบาทเช่นกัน การดำเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่  สามารถช่วยให้เทศบาลนครหาดใหญ่  รอดพ้นจากวิกฤติน้ำท่วมได้  ในปี 2551  ปี  2552  ปี 2554 และ ต้นปี 2555  ถึงแม้ว่าในปี 2553  จะเกิดอุทกภัยอย่างหนัก  ระบบระบายน้ำของโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ก็สามารถเร่งระบายน้ำกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ภายใน2 วันแต่พื้นที่รอบนอกเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ยังต้องประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี  มากน้อยแตกต่างกัน  เช่น พื้นที่ริมคลองอู่ตะเภา ด้านเหนือเมืองหาดใหญ่ (ตำบลบ้านพรุ)  ริมคลองหวะ  ริมคลองวาด ริมคลองต่ำ  และริมคลองระบายน้ำ ร.1  เป็นต้น  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองหาดใหญ่ไม่ได้รอดพ้นจากวิกฤติปัญหาน้ำท่วมอย่างสิ้นเชิง รวมทั้งชุมชนรอบนอกก็ยังได้รับผลกระทบทุกปี   จึงต้องมีการดำเนินการปรับปรุงโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2)  ให้สามารถรองรับปริมาณน้ำที่เทียบเท่า ปี 2553  ให้ได้ และช่วยพื้นที่รอบเมืองหาดใหญ่ได้รับผลกระทบน้อยลง  แผนงาน/โครงการ ของหน่วยงานราชการต่างๆ ต้องบูรณการเข้าด้วยกัน ถ้าต่างคนต่างทำจะเกิดความซ้ำซ้อนใน การดำเนินการและไม่สามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้ทั้งลุ่มน้ำโดยเฉพาะแผนงานของ หน่วยงานราชการในพื้นที่ และแผนงานขององค์การปกคลองส่วนท้องถิ่นต้องสอดรับกัน

                สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในปัจจุบัน  คาดเดาได้ยาก ความรุนแรงของเหตุการณ์ก็มากขึ้น และถี่ขึ้น   มีการเบี่ยงเบนออกจากข้อมูลสถิติเดิมที่ผ่านมา แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการใช้สิ่งก่อสร้างจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดควรให้ความสำคัญกับมาตรการแก้ไขปัญหาที่ไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง  เช่น ระบบการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่  เพื่อให้มีความพร้อมในการรับสถานการณ์  พึ่งตนเองได้  จัดตั้งเครือข่ายการเฝ้าระวัง  การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มาตรการผังเมือง ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมได้  เพราะการเติบโตของชุมชนที่ไร้ทิศทาง  ปัญหาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ  การถมที่ดิน และการรุกล้ำทางน้ำ  รวมทั้งช่องเปิดทางน้ำมีไม่เพียงพอ  ล้วนก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมทั้งสิ้น  นอกจากนี้การสร้างพื้นที่สีเขียว  โดยการปลูกป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ก็เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปกับมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง  เพื่อลดความรุนแรงของอุทกภัยในอนาคต       


[attach=2]

เครดิด : Copyright © 2012 สำนักงานก่อสร้าง 11 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมชลประทาน


ตู้ ปณ.11 ปณท.หาดใหญ่ใน อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90114

โทร.0-7455-6356 ภายใน 109-10 โทรสาร 0-7455-6357
สุชาติ หิ้นนุกูล ผู้ดูแลเว็บไซต์