ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการสร้างระบบป้องกันภัยน้ำท่วมหาดใหญ่่

เริ่มโดย เล็กคาราบาววว, 10:47 น. 24 มิ.ย 54

จริง น่าติดตาม

จากความเห็นที่ผ่านดีใจมากที่เห็นคนสงขลามีจิตใจที่จะปกป้องมิให้บ้านเกิดตนเอง ต้องพบกับภัยพิบัติ ที่ยังอยู่ในความทรงจำ ของหลายคน เป็นสิ่งที่ดี แต่เสียใจมากกับบางองค์กรในท้องถิ่น ที่พอถึงวันเวลาน้ำจะท่วมก็นำเอาวิชาการมาแสดงให้ผู้ชมได้เห็น แต่ก็ยังดีกว่าอยู่เฉย กระผมมีความเห็นว่า หากเราจะป้องกันภัยจากน้ำให้ยั่งยืนโดยใช้งบประมาณน้อย และจะต้องไม่....จะต้องไม่..จะต้องไม่
ผันน้ำทุกทิศทาง (ยกเว้นน้ำฝนในเขตพื้นที่) ลงสู่ทะเลสาบสงขลา โดยเด็ดขาด เหตุผลเพราะทะเลสาบส่วนในและส่วนนอกตื้นเขินมาก ...ตื้นเขินมากๆๆๆ และมีทางระบายออกอ่าวไทยได้ทางเดียวคือช่องเขาเขียว(หัวเขาแดง) รูเล็กมากๆๆๆๆๆๆ  ทราบได้อย่างไรว่าน้ำในทะเลสาบส่วนนอกตื้นเขิน ตัวที่บอกเหตุคือ ไซนั่ง สูงประมาณ 1.80 ม. โผ่ลเหนือน้ำ 1 ศอก ซึ่งตั้งเต็มท้องทะเล น้ำจาก จะนะ นาทวี สะเดาซึ่งรับน้ำมาจากภาคเหนือของมาเลฯ อีกมหาศาล รวบรวมกันเทลงเมืองหาดใหญ่ ผ่านลงทะเลสาบ ไปตามคลอง ร.1 ไหลลงทะเลสาบที่ ต.บางเหรียงหรืออำเภอบางกล่ำ ซึ่งเป็นประตูน้ำเปิด-ปิดระหว่างน้ำ คลอง ร.1กับระดับน้ำทะเลสาบส่วนนอก หากได้รับอิทธิพลจากน้ำหนุน ประกอบกับการถมที่ แบบใครรวยมากถมได้ถมเอา ในที่สุดหาดใหญ่ก็จะเป็น ทะเลเดือด อีกครั้งในปี 56 นี้ อย่างแน่นอน ....ผมคิดว่าหนทางเดียวในความคิดส่วนตัวคือ การเปิดทางระบายน้ำใหม่ โดยให้ผลักน้ำไปตามคลองขุด หรือท่อบางส่วนหากผ่านที่จำเป็นต้องแก้ปัญหา โดยต้นน้ำเริ่มต้นที่  ระหว่าง บ้านพรุ-ทุ่งลุง ของคลองอู่ตะเภา และขุดไปทางทิศตะวันออกของถนนเพชรเกษม ปลายทางอยู่ที่ คลองจะโหนง อ.จะนะ  ไหลลงสู่อ่าวไทย....ไหลลงสู่อ่าวไทย...ระยะทางคลองขุดประมาณ  25 กิโล หรือ 37 กิโล แล้วแต่จะเลือก และผ่านที่พืชส่วนประมาณ 80 เปอร์เซ็น ผลที่จะได้รับคือ 1. ป้องกันน้ำท่วมได้แบบน้ำล้นเมื่อไหร หาดใหญ่ 3 เมตรแน่ๆๆ  2. การท่องเที่ยว  3. กระแสไฟฟ้าสะสมเก็บที่ไฟฟ้าจะนะ  ส.กลิ้ง ส.กลิ้ง ส.กลิ้ง

apache

ท่าน mikicool สุดยอดมากครับ ข้อมูลเยี่ยม  ส.ยกน้ิวให้

dherasak