ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

'นพดล' ออกแถลงการณ์ สวนหมัด 'อภิสิทธิ์' กรณี 'ไทย-กัมพูชา'

เริ่มโดย เพ็ญ, 06:54 น. 30 มิ.ย 54

เพ็ญ

'นพดล' ออกแถลงการณ์ สวนหมัด 'อภิสิทธิ์' กรณี 'ไทย-กัมพูชา' ลั่น กล่าวหาเป็นเท็จ จวก ไร้วุฒิภาวะ ทำเพื่อหวังผลการเมือง

[Image: 552000005401101.jpg]

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตรมว.ต่างประเทศ

ได้ออกแถลงการณ์ผ่านเฟซบุ๊ค ถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้เขียนจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊ค กรณีปัญหาไทย - กัมพูชาซึ่งมีข้อความหลายตอนที่กล่าวหาพาดพิงถึงเป็นการส่วนตัวว่า การกล่าวหาที่เป็นเท็จดังกล่าวนั้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้พี่น้องที่อ่านความเท็จเข้าใจผิด

ตนไม่นึกไม่ฝันว่านายอภิสิทธิ์จะกล้าใช้ความเท็จใส่ร้ายป้ายสีตนขนาดนี้ ทั้งๆ ที่ตนไม่เคยทำร้ายท่าน นายอภิสิทธิ์จะหาเสียงก็ว่าไป เพราะตนเป็นผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ไม่สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ตนไม่อยากตอบโต้ท่าน แต่ขอใช้สิทธิชี้แจงเพื่อปกป้องตนเอง และที่สำคัญกว่าเกียรติยศและชื่อเสียงของตนก็คือความจริง พี่น้องคนไทยมีสิทธิที่จะรู้ความจริงว่าในอดีตและปัจจุบันนั้นใครปกป้องดินแดน ทั้งนี้ การชี้แจงของตนนั้นไม่เกี่ยวกับพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น และไม่เกี่ยวกับตำแหน่งที่ปรึกษาพ.ต.ท.ทักษิณ

ปัญหาปราสาทพระวิหารนั้นมีที่มาที่ไปและซับซ้อน ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ

1. ในปี 2505 ไทยแพ้คดีในศาลโลกในคดีที่หม่อมเสนีย์ ปราโมช ว่าความ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์จึงจำใจและจำยอมยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกเม​ื่อ 46 ปีที่แล้ว นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี หรือตนไม่ใช่คนยกปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา นอกจากนี้ ปี 2549 กัมพูชาไปยื่นคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยแผนที่ที่ยื่นนั้นรุกล้ำและผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ไทยอ้างสิทธิเข้าไปด้วย

กล่าวคือกัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนตัวปราสาทและพื้นที่ทับซ้อน จากนั้นปี 2550 ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ไทยคัดค้านไม่ให้กัมพูชานำพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียน จนคณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทจากปี 2550 ไปเป็นก.ค. 2551 ต่อมา เดือนก.พ. 2551 รัฐบาลคมช.หมดวาระลง รัฐบาลนายสมัครเข้ามาจึงต้องรับช่วงแก้ปัญหา และรัฐบาลเสมือนถูกไฟลนก้นเพราะเหลือเวลาเพียง 5 เดือนก่อนประชุมมรดกโลกในเดือนก.ค. 2551 ต้องเร่งเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออกก่อนให้ได้ เพราะแผนที่ที่กัมพูชายื่นคาไว้ตั้งแต่ปี 2549 นั้นผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนไว้ด้วย

พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ไทยก็อ้างเป็นเจ้าของ กัมพูชาก็อ้างว่าเป็นเจ้าของ รัฐบาลนายสมัครและตนพยายามเจรจาให้กัมพูชาตัดพื้นที่ทับซ้อนออก และห้ามนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะหากกัมพูชาขึ้นทะเบียนพื้นที่ทับซ้อนเป็นมรดกโลกสำเร็จไทยจะสุ่มเสี่ยงเสียอธิป​ไตยในพื้นที่ทับซ้อน

ทั้งนี้ การดำเนินการที่รัฐบาลนายสมัครและตนทำไปนั้นดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน

หน่วยงานของรัฐและข้าราชการประจำทุกฝ่ายร่วมกันทำและเห็นด้วย เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร ครม. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และพล.อ.วินัย ภัทยกุล หากรัฐบาลนายสมัครและตนไม่คัดค้านอย่างแข็งขันและเจรจาจนสำเร็จ กัมพูชาจะผนวกเอาพื้นที่ทับซ้อนไปขึ้นทะเบียนด้วยแล้วเราจะแย่กว่านี้ พวกตนเป็นผู้ปกป้องดินแดนไทย

คำแถลงการณ์ร่วมที่ครม.นายสมัครอนุมัติให้ตนไปเซ็นนั้นขณะนี้สิ้นผลไปแล้วตามหนังสือยืนยันของรมต.ต่างประเทศกัมพูชา และตอนที่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกในเดือนก.ค. 2551 นั้น คณะกรรมการมรดกโลกก็ห้ามไม่ให้นำคำแถลงการณ์ร่วมเข้าประกอบการพิจารณาตามที่ไทยขอระง​ับผลตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง แสดงว่าไทยจะสนับสนุนการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทหรือไม่ก็ไม่ได้มีความสำคัญเลย กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทได้อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม คำแถลงการณ์ร่วมทำให้กัมพูชายอมรับเป็นครั้งแรกว่ามีพื้นที่ทับซ้อนทั้งๆ ที่ปฏิเสธมาโดยตลอด และโชคดีที่ในการประชุมที่แคนาดาในปี 2551 กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยไม่เอาพื้นที่ทับซ้อนขึ้นทะเบียนด้วย และโชคดีที่กัมพูชาทำตามแนวทางของแถลงการณ์ร่วมแม้ว่าจะไม่ผูกพันเขาเพราะไทยระงับผล​ไว้ก็ตาม

2. ในเรื่องปราสาทพระวิหาร กลุ่มพันธมิตรฯ เคยกล่าวหานายอภิสิทธิ์ว่าขายชาติ ตนเป็นคนพูดเองว่านายอภิสิทธิ์ไม่ได้เป็นคนขายชาติ ไม่มีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศคนไหนจะทำอย่างนั้นแน่

3. นายอภิสิทธิ์กล่าวในจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊คว่า ตนไม่มีสิทธิที่จะมาตำหนิรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์เพราะตนเป็นผู้สร้างความเสี่ยงให้ไทย​ต้องอยู่ในภาวะอันตรายต่ออธิปไตยของชาติ เนื่องจากเป็นผู้ไปลงนามสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่​เพียงฝ่ายเดียวในปี 2551 สิ่งที่ควรทำคือการนั่งนิ่งๆ แล้วถามตัวเองว่าได้ทำอะไรลงไปกับประเทศชาติจนทำให้นายอภิสิทธิ์ต้องต่อสู้เพื่อรักษ​าสิทธิและอธิปไตยของไทยที่ตนกับพวกเกือบจะยกใส่พานให้กัมพูชาไปแล้วหากไม่มีการเปลี่​ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อนนั้น

นายอภิสิทธิ์ไม่รู้จริงๆ หรือแกล้งไม่รู้ น่าจะมีวุฒิภาวะและละอายแก่ใจบ้างว่าสิ่งที่รัฐบาลนายสมัครได้ทำไปนั้นก็เพื่อปกป้อง​ดินแดนและพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ไม่ให้กัมพูชาเอาไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก และเจรจาสำเร็จจนกัมพูชายอมตัดพื้นที่ทับซ้อนออกไป รัฐบาลยนายสมัครและตนจึงเป็นผู้ปกป้องดินแดนไม่ได้เป็นผู้ทำให้เสียดินแดนหรือสร้างป​ัญหาเอาไว้ นายอภิสิทธิ์อุตส่าห์ประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำซึ่งเป็นความเท็จและเป็นการใส่ร้ายทั้งสิ้​น รัฐบาลนายสมัครและตนไม่เคยยกอธิปไตยใส่พานให้กัมพูชา

4. กรณีที่นายอภิสิทธิ์กล่าวหาว่ารัฐบาลนายสมัครและตนไปสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนป​ราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวในปี 2551 นั้น นายอภิสิทธิ์พูดความจริงครึ่งเดียว ท่านพูดถูกที่ว่าตนได้ลงนามในคำแถลงการณ์ร่วม แต่ท่านพูดเท็จตรงที่ว่า คำแถลงการณ์ร่วมมีผลเป็นการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ จะเห็นได้ว่าการพิจารณาและในมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 มีการระบุอย่างชัดเจนถึงการไม่อ้างอิง ไม่พิจารณา ไม่คำนึงถึง และห้ามนำแถลงการณ์ร่วมฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มาใช้ประกอบการพิจารณาตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่จะระงับแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวตา​มคำสั่งศาลปกครองกลาง

ดังนั้น จึงสรุปได้ชัดเจนจากเอกสารว่า คณะกรรมการมรดกโลกมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยพิจารณาจากคุณค่าสาก​ลอันโดดเด่นของตัวปราสาทเอง ไม่เกี่ยวกับแถลงการณ์ร่วมหรือร่างแถลงการณ์ร่วม หรือการสนับสนุนของไทย

นายอภิสิทธิ์เรียนกฎหมายมาน่าจะเข้าใจถึงหลักกฎหมายพื้นฐานในข้อนี้ดีว่า เอกสารที่ห้ามใช้หรือเป็นโมฆะนั้น ย่อมไร้ผลทางกฎหมาย ดังนั้น คำแถลงการณ์ร่วมที่คณะรัฐมนตรีนายสมัครอนุมัติให้ตนไปเซ็นจึงไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมายเลย เอกสารคำแถลงการณ์ร่วมจึงไร้ผลทางกฎหมาย ซึ่งแม้แต่ทางกัมพูชาเองก็ยอมรับว่ามันไม่มีผลทางกฎหมายใดๆ เลย เพราะฉะนั้นการกล่าวหาว่าตนไปเซ็นเอกสารและสร้างความเสียหายจึงเป็นการกล่าวหาที่เป็​นเท็จโดยสิ้นเชิง

5. นายอภิสิทธิ์ กล่าวในหน้าที่ 2 ของจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊คว่า บอกตรงๆ ว่ารู้สึกละอายใจแทนตนที่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้สำนึกเลยว่า ต้นตอปัญหาที่รัฐบาลตนสร้างขึ้นกำลังส่งผลร้ายแรง คุกคามชีวิตพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลยนั้น ตนดีใจที่นายอภิสิทธิ์ก็เป็นคนที่รู้สึกละอายใจได้เหมือนคนทั่วไป แต่แปลกใจว่าตอนที่มีคนตาย 91 คนและบาดเจ็บ เกือบ 2 พันคนนั้น ไม่เห็นท่านรู้สึกเช่นนั้น ไม่เห็นท่านแสดงความรับผิดชอบอะไรเลย

ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ไม่ต้องละอายใจแทนตน เพราะรัฐบาลนายสมัครและตนเป็นผู้เจรจาปกป้องดินแดนพื้นที่ทับซ้อน และรัฐบาลนายสมัครและตนไม่ได้สร้างปัญหาไว้อย่างที่นายอภิสิทธิ์กล่าวหา และไม่มีการเสียดินแดนหรือผลร้ายแรงใดๆ นายอภิสิทธิ์เคยออกทีวีช่อง 11 ดีเบทกับกลุ่มพันธมิตรฯ ก็เคยพูดไว้ว่า กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทและไม่มีการเสียดินแดน ลองไปเปิดเทปดูจะช่วยเตือนความจำได้

6. ในหน้าที่ 2 ของจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊ค นายอภิสิทธิ์กล่าวหาด้วยความเท็จว่า รัฐบาลนายสมัครโดยรมว.ต่างประเทศในขณะนั้น ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มีเนื้อหาสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว​ และยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 หรือแผนที่ฝรั่งเศสให้ใช้เป็นแผนการพัฒนาบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์รอบปราสาทพระวิ​หารนั้น ข้อความนี้เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง

ไม่มีความตอนใดของคำแถลงการณ์ร่วมที่มีการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 หรือแผนที่ฝรั่งเศสเลย เพราะทุกคนในกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีต่างประเทศรู้ว่าเราไม่ยอมรับแผนที่ระวางนี้ที่เป็นสาเหตุให้ไทยแพ้คดี จะมีการเขียนถึงก็คือในบันทึกความตกลงปี 2543 ที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไปเซ็นกับกัมพูชาเท่านั้น

และ 7. ในความตอนล่างของหน้าที่ 2 ของจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊ค ที่นายอภิสิทธิ์ระบุว่า มิอาจยับยั้งการใช้แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นใบเบิกทางให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิ​หารแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ เพราะคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเด​ียวในวันที่ 8 ก.ค. 2551 เช่นเดียวกันนั้น นายอภิสิทธิ์เขียนให้คนเข้าใจผิดว่าเป็นเพราะคำแถลงการณ์ร่วมจึงทำให้กัมพูชาขึ้นทะเ​บียนปราสาทเป็นมรดกโลกได้ ซึ่งเป็นความเท็จ เพราะเอกสารนี้ไร้ผลทางกฎหมาย และคณะกรรมการมรดกโลกตัดเอกสารนี้ไม่ให้นำเข้าพิจารณา การเขียนของนายอภิสิทธิ์เป็นการเขียนความเท็จที่คิดเอาเอง ไม่มีแหล่งอ้างอิง และเป็นการใส่ร้ายป้ายสีอย่างน่าละอาย

ความจริงยังมีอีกหลายประเด็นที่มีการบิดเบือนในจดหมายฉบับที่ 8 ในเฟซบุ๊คกรณีปัญหาไทย - กัมพูชา ซึ่งตนขอสงวนสิทธิ์ชี้แจงในภายหลัง แต่ในเบื้องต้นนั้นขอชี้แจงประเด็นสำคัญและข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จที่ต้องรีบชี้แจงเพ​ื่อขจัดความสับสน

ทั้งนี้ แม้ตนจะไม่มีสิทธิเลือกตั้งแต่ก็อยากเห็นการรณรงค์หาเสียงอย่างสร้างสรรค์ อยากเห็นนักการเมืองและนักการเมืองแต่ละพรรคนำนโยบายและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้ประเ​ทศ ถ้านโยบายพรรคประชาธิปัตย์ดีกว่าประชาชนก็จะสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ถ้านโยบายพรรคเพื่อไทยดีกว่าประชาชนก็จะสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ประชาชนคิดเป็นและเลือกเป็น

แต่การที่นักการเมืองเอาความเท็จมาใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นโดยไม่ละอายและไร้ซึ่งวุฒิภาว​ะนั้นตนไม่เชื่อว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ได้คะแนน เพราะเป็นการดูถูกสติปัญญาคนไทยที่ต้องการนักการเมืองที่พูดความจริงทั้งหมด ไม่ใช่พูดความจริงเพียงครึ่งเดียว หรือแย่ยิ่งกว่านั้นคือการเอาความเท็จมาพูด สิ่งที่นายอภิสิทธิ์เขียนในเฟซบุ๊คนั้นเป็นความพยายามที่จะใส่ร้ายป้ายสีตน นายอภิสิทธิ์อาจจะพยายามทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของตน ซึ่งตนอดทนได้และอโหสิกรรมให้ นายอภิสิทธิ์อาจจะพยายามเหยีบย่ำตนได้แต่ตนจะไม่ยอมให้นายอภิสิทธิ์เหยียบย่ำทำลายคว​ามจริง และตนจะปกป้องความจริงจนสุดกำลัง

ถ้าหากมองเนื้อหาการเขียนจดหมายฉบับที่ 8 ในทางที่ดีนั้น จะแสดงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์อาจเป็นผู้นำที่ไม่ได้ศึกษาหาความรู้และดูความเป็นมาขอ​งกรณีปราสาทเขาพระวิหารจากข้อเท็จจริงและเอกสารของราชการ ทั้งๆ ที่บริหารประเทศมาเกือบ 3 ปี แต่ถ้ามองในทางที่แย่ แสดงว่านายอภิสิทธิ์ไร้วุฒิภาวะและความเป็นนายกรัฐมนตรี ทำทุกอย่างเพื่อหวังผลทางการเมือง ใช้แม้กระทั่งความเท็จกล่าวหาผู้อื่นอย่างไร้จริยธรรมของผู้นำ ตนสัญญาจะต่อสู้กับความเท็จและการใส่ร้ายป้ายสีอย่างไม่ย่อท้อ


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

@โคกเหม็ดชุน..จัง

 ส.โกรธอย่างแรงจากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 8
โดย Abhisit Vejjajiva เมื่อ 27 มิถุนายน 2011 เวลา 23:41 น.
3 กรกฏา กับปัญหาไทย - กัมพูชา

    นายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว Noppadon Pattama ในหัวข้อ "สุวิทย์ ทำอะไรลงไปที่ปารีส" ว่า "เมื่อปีที่แล้ว 2553 สุวิทย์ (สุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก) คุยนักคุยหนาว่า เลื่อนวาระแผนบริหารและจัดการปราสาทพระวิหาร มาปี 2554 ผมพูดในตอนนั้นว่า อยากให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในปีนี้ และเป็นไปตามคาด คุณสุวิทย์ไม่สามารถเลื่อนวาระการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่รอบปราสาทออกไปได้อีก เพราะรัฐบาลนี้ไม่สามารถลอบบี้ประเทศอื่นที่เป็นกรรมการมรดกโลกให้ช่วยประเทศไทยได้ เพราะคุณมีเพื่อนน้อยในเวทีโลก การลาออกจากภาคีมรดกโลกจะสร้างความเสียหายให้ประเทศไทยอย่างมาก เพราะเราจะไม่สามารถนำโบราณสถาน และอุทยานแห่งชาติไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ การลาออกเป็นการปิ้งปลาประชดแมว นอกจากนั้น เรายังสามารถปกป้องสิทธิในเขตแดนโดยวิธีอื่นๆได้ มากกว่าการลาออกจากภาคีมรดกโลก "

    นายนพดลไม่มีสิทธิ์ที่จะมาตำหนิรัฐบาลของผมเพราะเขาเป็นผู้สร้างความเสี่ยงให้ไทยต้องอยู่ในภาวะอันตรายต่ออธิปไตยของชาติ เนื่องจากเป็นผู้ไปลงนามสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เเพียงฝ่ายเดียวในปี 2551

     สิ่งที่เขาควรทำคือการนั่งนิ่ง ๆ แล้วถามตัวเองว่าพวกเขาได้ทำอะไรลงไปกับประเทศชาติจนทำให้ผมต้องต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิและอธิปไตยของไทยที่นายนพดลกับพวกเกือบจะยกใส่พานให้กัมพูชาไปแล้ว หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน

  กว่าสองปีที่ผ่านมาผมเดินหน้าคัดค้านการนำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระะวิหารของกัมพูชาฝ่ายเดียว
และผมมีจุดยืนในการรักษาดินแดนไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยืนยันว่ารัฐบาลทำสำเร็จในการคัดค้านดังกล่าว

   จนกระทั่งถึงขณะนี้สถานะของการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาก็ยังไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่เราวางไว้

การต่อสู้เพื่อปกป้องอธิปไตยยังมีเส้นทางอีกยาวไกลครับ และผมไม่เห็นแก่ประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนมรดกโลกโบราณสถานมากไปกว่าการต้องเสียดินแดนให้กัมพูชา เพราะมันเทียบกันไม่ได้เลย ซึ่งผมจะสู้จนถึงที่สุดบนแนวทางที่จะเป็นประโยชน์สูงสุดกับประเทศในฐานะนักการเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศ ไม่ใช่ในฐานะทาสรับใช้ของคนที่เคยเป็นอดีตที่ปรึกษาสมเด็จฮุนเซน นายกฯกัมพูชา

บอกตรง ๆ ว่า ผมรู้สึกละอายใจแทนคุณนพดล ที่จนถึงวันนี้ยังไม่ได้สำนึกเลยว่า ต้นตอปัญหาที่รัฐบาลคุณสร้างขึ้นกำลังส่งผลร้ายแรง คุกคามชีวิตพี่น้องประชาชนตามแนวชายแดนอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย

ผมลำดับเหตุการณ์สั้น ๆ ให้ประชาชนได้้เข้าใจในเรื่องนี้ว่า

  - รัฐบาล สมัคร สุนทรเวช โดย นพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ในขณะนั้น ออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มีเนื้อหาสนับสนุนให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 หรือแผนที่ฝรั่งเศส ให้ใช้เป็นแผนการพัฒนาบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์รอบปราสาทพระวิหาร
  - พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีรายบุคคลอีก 7 ราย รวมนายนพดล ปัทมะ ประเด็นหลักคือ การออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ขัด รธน. มาตรา 190 และสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ไทยเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร
  - วันที่ 28 มิถุนายน 2551 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้าม ครม. (ยุคสมัคร) กล่าวอ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติ ครม.วันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาเกี่ยวกับการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น
  ต่อมาวันที่ 30 ธ.ค. 2552 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเพิกถอน มติ ครม. 17 มิ.ย. 2551 ที่เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย – กัมพูชา
- คณะกรรมการมรดกโลกมีมติในวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 รับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกของกัมพูชา   
- ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 8 ต่อ 1 ชี้ขาดว่า แถลงการณ์ร่วมไทย – กัมพูชา ที่สนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาหรือหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ในรัฐธรรมนูญปี 2550 การลงนามในแถลงการณ์ดังกล่าวโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190 แต่ก็มิอาจยับยั้งการใช้แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นใบเบิกทางให้กัมพูชา ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ เพราะคณะกรรมการมรดกโลก ได้มีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวในวันที่ 8 ก.ค. 2551 เช่นเดียวกัน
  - วันที่ 29 ก.ย. 2552 ป.ป.ช. มีมติ 6 ต่อ 3 ชี้มูลความผิด สมัคร – นพดล ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีออกมติครม.สนับสนุนการลงนามในแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยส่งเรื่องให้กับอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และส่งเรื่องต่อวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการถอดถอนบุคคลทั้ง 2 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270

   แม้วุฒิสภาจะมีมติไม่ถอดถอนนายนพดล แต่คดีอาญาที่ทำให้ชาติบ้านเมืองเสี่ยงต่อการสูญเสียอธิปไตยยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลช่วงปลายปี 2551 รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของผมมีจุดยืนรักษาอธิปไตยพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร มีมติครม. 16 มิถุนายน 2552 คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เพราะการดำเนินการของคณะกรรมการมรดกโลกไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้องตามมาตรา 11(3) ของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกและข้อบัญญัติ 103, 104, 108 ของ Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention โดยได้โต้แย้งการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก ด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนัก คือ มติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ละเลยเงื่อนไขของบูรณภาพที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของมรดกโลก ทั้งที่ตระหนักเป็นอย่างดีถึงข้อขัดแย้งเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารและบริเวณโดยรอบระหว่าง ไทย – กัมพูชา เป็นการตัดสินใจที่ไม่ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างชาติ และยังไม่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ให้เกิดสิทธิและเสรีภาพอย่างเต็มที่ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

  อีกทั้งปรากฏชัดเจนในเวลาต่อมาว่าการตัดสินใจดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศจนนำไปสู่ความสูญเสียแล้ว  ประกอบกับกัมพูชาเองก็ยังไม่สามารถพัฒนาพื้นที่โดยรอบตามมติคณะกรรมการมรดกโลกได้ เนื่องจากรัฐบาลไทยไม่ให้ความร่วมมือ จนทำให้คณะกรรมการมรดกโลกขยายเวลาการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพุชาออกไป 1 ปี กำหนดพิจารณาอีกครั้งเดือนกรกฎาคม 2553

      วันที่ 13 ก.ค. 2553 ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณ 10 ล้านบาทให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำทีมโดยสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ 15 คน เดินทางเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 34 ตามที่ ทส.เสนอ ที่ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2553

    วันที่ 28 ก.ค. 2553 ครม.มีมติสนับสนุนการทำงานของ สุวิทย์ และมอบอำนาจให้ตัดสินใจในการวอล์คเอาท์จากที่ประชุมกรรมการมรดกโลก หากมีการดึงดันรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา และให้ออกแถลงการณ์ชี้แจงข้อทักท้วงของไทยอย่างชัดแจ้ง รวมทั้งทบทวนการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก

  วันเดียวกัน ผมได้ประกาศจุดยืนรักษาอธิปไตยของชาติ รักษาสิทธิเหนือดินแดนไทย ไม่ให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการพื้นที่ที่กระทบต่อดินแดนไทย และยืนยันความพร้อมของกองทัพไทยในการปกป้องอธิปไตยของชาติ

   วันที่ 29 ก.ค. 2553 คณะกรรมการมรดกโลกรับฟังข้อทักท้วงของรัฐบาลไทยมีมติเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชาออกไปตัดสินในการประชุมปีนี้

  จากนั้นรัฐบาลได้เดินสายทำความเข้าใจกับคณะกรรมการมรดกโลกถึงจุดยืนของประเทศไทยในการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของกัมพูชา เนื่องจากการบริหารจัดการพื้นที่รอบตัวปราสาทจะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยเหนือดินแดนไทยโดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด

  เมื่อมีการปะทะกันระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นเหตุให้ยูเนสโก้ส่งผู้แทนพิเศษมาเจรจากับไทยและกัมพูชา ได้ข้อสรุปว่าจะเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการรอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชาออกไปจนกว่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องเขตแดนตามกรอบเจบีซีที่กัมพูชาเองก็ยอมรับกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า แผนดังกล่าวจะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อสองฝ่ายได้ข้อสรุปในเรื่องเขตแดนแล้ว

กัมพูชาพยายามคัดค้านข้อมติของ ผอ.ยูเนสโก้ ส่งร่างของตัวเองที่ฝ่ายไทยยอมรับไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งรัฐมนตรีสุวิทย์และคณะได้ต่อสู้คัดค้านการพิจารณาร่างดังกล่าว และมิตรประเทศของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกหลายประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ บราซิล ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และอียิปต์ พยายามช่วยหาทางออกให้ แต่ประธานในที่ประชุมยืนยันที่จะให้พิจารณาร่างข้อมติทั้ง 2 ร่างซึ่งรัฐมนตรีสุวิทย์เห็นว่ามีความสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะกระทบต่ออธิปไตยของไทย จึงได้ตัดสินใจแสดงเจตนาถอนตัวตามแนวทางที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ดีหลังจากที่ไทยแสดงเจตนาถอนตัว คณะกรรมการก็ไม่ได้เห็นชอบกับร่างของกัมพูชา  เท่ากับว่ายังไม่มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ดังกล่าว การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชายังไม่สมบูรณ์ตามเป้าประสงค์ของกัมพูชา

  แต่อาจจะสำเร็จทันทีที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็ได้ เพราะจุดยืนของพรรคเพื่อไทยชัดเจนว่าสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชามาโดยตลอด และนี่คือความแตกต่างระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย

  หากพิจารณาจากจุดยืนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตที่ปรึกษานายกฯฮนเซน ที่เป็นคนคิดให้พรรคเพื่อไทยทำ เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า "ไทยรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน" ประกอบกับวิธีคิดของแกนนำเพื่อไทยอย่างนางฐิติมา ฉายแสง ที่อภิปรายกลางสภาว่า "พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของกัมพูชามาตั้งนานแล้ว" ก็จะยิ่งตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรเลือกใครรระหว่างพรรคเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์เพื่อมาดูแลบูรณภาพเหนือดินแดนไทย

   กล่าวมานี้เพื่อให้เห็นว่าต้นตอของปัญหาที่ทำให้ไทย -  กัมพูชาต้องขัดแย้งกันอยู่ในวันนี้ จนสร้างความตึงเครียดไปตลอดแนวชายแดน ทำให้ชาวบ้านหลับตาไม่สนิท ต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดผวาเกรงว่าจะเกิดการปะทะกันอยู่ที่ใด

พรรคการเมืองไหนครับที่พาประชาชนไปสู่ความทุกข์เหล่านั้น พรรคเพื่อไทยควรตอบคำถามนี้ให้ได้ ก่อนที่จะอ้าปากอาสาเข้ามาแก้ปัญหานี้

สำหรับผมยังยืนยันว่าการแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งการเจรจา กลยุทธ์การเมืองระหว่างประเทศ และความเข้มแข็งของกองทัพไทยในการเป็นรั้วของชาติไม่ให้ใครมารุกรานเรา ขณะเดียวกันเราไม่เคยคิดรุกรานใครแต่พร้อมเต็มที่ในการรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ โดยไม่เกรงกลัวใครหน้าไหนทั้งนั้น ที่สำคัญผมไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือความสัมพันธ์พิเศษใด ๆ กับผู้นำกัมพูชาที่ต้องไปยกดินแดนไทยให้กัมพูชาเพื่อแลกกับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศ หรือ การนำผลประโยชน์ชาติไปแปรสภาพเป็นผลประโยชน์ส่วนตัว

การถอนตัวจากภาคีมรดกโลกยังมีอีกหลายขั้นตอน และกว่าจะเป็นผลก็ใช้เวลา 12 เดือน ระหว่างนี้ไม่มีส่วนใดที่กระทบต่อสถานที่ต่าง ๆ ของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปแล้ว ที่สำคัญคือช่วงระยะเวลานี้ยังเป็นโอกาสที่เราจะสะสางปัญหานี้ต่อ  หากผมได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็จะมุ่งการเจรจาเป็นหลักแต่ก็ไม่หวั่นเกรงหากถึงจุดที่จำเป็นต้องใช้กำลังทหารปกป้องอธิปไตยของชาติ

  ส่วนใครทำให้ชาติเข้าสู่ความเสี่ยงทางอธิปไตยอย่างไร้ความละอายนั้น คนไทยทั้งประเทศคงจะได้ไปแสดงฉันทามติในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ว่า "ไม่เอาพรรคการเมืองที่ยกดินแดนให้เขมรแต่จะเลือกพรรคการเมืองที่ปกป้องอธิปไตย"

  เป้าหมายที่สำคัญคือ ทำอย่างไรให้คนชายแดนทั้งสองฝั่งได้กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติเหมือนกับที่เคยเป็น ก่อนเกิดปัญหาเรื่องมรดกโลก

  ไม่ง่ายหรอกครับ ผมรู้ดี แต่ผมให้คำมั่นกับพี่น้องได้ว่าจะทำอย่างเต็มกำลัง สุดความสามารถ ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง โดยยึดประโยชน์ของชาติเหนือสิ่งอื่นใด และไม่หวั่นไหวต่อแรงกดดันภายในประเทศ ซึ่งผมได้พิสูจน์ให้เห็นมาแล้วตลอดสองปีกว่าที่ผ่านมา

ผมหวังว่าจะได้ทำหน้าที่สะสางปัญหานี้ให้จบ นำชาติหลุดพ้นจากความเสี่ยงในการสูญเสียอธิปไตย แต่ผมจะมีโอกาสได้ทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชี้ขาดของประชาชนในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้

คนไทยต้องเลือกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ที่เดินหน้ารักษาอธิปไตยหรือพรรคเพื่อไทยที่ภูมิใจในความแนบแน่นกับฮุนเซน

ท้ายสุดนี้ ผมขอขอบคุณรัฐมนตรีสุวิทย์
ที่ทํางานอย่างเข้มแข็งมาโดยตลอด

คอการเมือง

หลังเลือกตั้ง"ยิงกันอีกแน่"ต่างก็ไม่ยอมเสียดินแดน