ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์พระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ แก่พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะหนใต้

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 10:17 น. 29 ม.ค 57

ทีมงานประชาสัมพันธ์

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร แก่พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะหนใต้ มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีอย่างเนืองแน่น

[attach=1]

วานนี้ (28ม.ค.57)  เวลา 13.30  น. ณ  อุโบสถวัดแหลมทราย ต.บ่อยาง  อ.เมือง  จ.สงขลา  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม ได้จัดพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ประจำปี 2556 แก่พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะหนใต้ จำนวน 131 รูป จาก 14 จังหวัดภาคใต้  โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  ผู้ปฏิบัติหน้าที่พระสังฆราช เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  และ นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  มีหัวหน้าส่วนราชการและพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีอย่างเนืองแน่น


นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2556 มหาเถรสมาคมได้พิจารณาคัดเลือกพระสงฆ์ผู้มีผลงานดีเด่นในด้านการปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณประโยชน์ และการศึกษาสงเคราะห์ แล้วมอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดำเนินการ ขอพระราชทานสมณศักดิ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสงฆ์ เป็นพระราชาคณะ จำนวน 71 รูป เป็นพระครูสัญญาบัตร จำนวน 1,106 รูป

และมีพระบรมราชานุญาตให้เลื่อนชั้นพระครูสัญญาบัตร จำนวน 892 รูป และทรงตั้งประทวนสมณศักดิ์ จำนวน 3 รูป รวมพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในโอกาสนี้ จำนวน 2,072 รูป  ซึ่งวันนี้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้นิมนต์พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งใหม่ จำนวน 66 รูป ได้รับเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ จำนวน 57 รูป รวม 123 รูป มาเข้ารับสัญญาบัตร พัดยศฯ

ทั้งนี้  มีพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ จำนวน 2 รูป ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง จำนวน 2 รูป และเจ้าคณะตำบล จำนวน 4 รูป รวม 8 รูป มีความประสงค์ขอเข้ารับพัดยศให้ตรงกับตำแหน่งในพิธีนี้ด้วย


ข้อมูลและที่มา
สุธิดา พฤกษ์อุดม / ข่าว สวท.สงขลา 280157

Bangdan SKL

ลาภ ยศ สรรเสริญ ...
พระสงฆ์ไทย บรรลุ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ได้อย่างไร กับพัดยศและสมณศักดิ์...

นึกถึงท่านพุทธทาส..
ใครเอามาให้ท่านให้วางใว้หน้ากุฏิใว้ให้เด็ก ๆ เล่น...



การปล่อยวางหมายถึงว่าเราไม่เข้าไปยึดใน "ผล" ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าบวกหรือลบ

แม้ภายนอกอาจจะไม่ได้ปฏิเสธ แต่ภายในใจนั้นไม่รับอยู่แล้ว ท่านอาจารย์พุทธทาสทั้งพูดทั้งเขียนมาตลอดว่าสมณศักดิ์เป็นสิ่งสมมุติ ไม่มีความหมายสำหรับท่าน ท่านขอเป็นทาสของพระพุทธ เจ้าพระองค์เดียว แต่ว่าเมื่อท่านทำงานให้พระศาสนา จนเจริญในสมณศักดิ์เป็นลำดับ จากพระครู เลื่อนเป็นพระราชาคณะสามัญ แล้วก็เป็นชั้นราช ชั้นเทพ ชั้นธรรม สุดที่พระธรรมโกศาจารย์

เคยมีลูกศิษย์มาแนะอาจารย์พุทธทาสว่า สมณศักดิ์เหล่านี้ท่านน่าจะคืนเขาไป ท่านอาจารย์พุทธทาสก็บอกว่า จะคืนได้อย่างไร ก็เรายังไม่ได้รับมาตั้งแต่แรกจะคืนได้อย่างไร คือแม้ทางราชการจะให้สมณศักดิ์และพัดยศมาแต่ใจท่านไม่ได้รับเลย จะเป็นชั้นไหนก็ไม่เคยรับมาตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นก็ไม่รู้จะเอาอะไรไปคืนเขา

ถ้าเราวางใจได้อย่างนี้ เวลาทำงาน ได้รับคำสรรเสริญเราก็ไม่รับมาเป็นของเรา หรืออาจจะถือไว้แต่ไม่ได้เอามาสวมใส่ ทำได้แบบนี้จะรู้สึกสบาย โปร่งเบา เมื่อถึงเวลาที่เขาตำหนิติฉินเราก็ไม่เดือดเนื้อร้อนใจเพราะว่าเราไม่ได้รับ ตั้งแต่แรก เมื่อมีคนชมก็ไม่เพลินหรือหลงตัว เมื่อถูกตำหนิก็ไม่เสียใจ สองอย่างนี้ไปด้วยกัน ถ้าเราทำใจด้วยใจที่ปล่อยวางแล้ว เราจะทำงานด้วยใจที่สบาย อิสระ โปร่งเบา และทำด้วยความขยันหมั่นเพียร

'พระวิศาล'


Bangdan SKL

สมณศักดิ์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด อาจกล่าวได้ว่า สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ

เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย


ความเป็นมาของสมณศักดิ์

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงใช้จิตวิทยา ในการปกครองพระสงฆ์สาวก โดยการยกย่องผู้ที่ควรยกย่อง ป้องปรามผู้ที่ควรป้องปราม ดังจะเห็นได้จากทรงยกย่องพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวก ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา

และทรงตั้งเอตทัคคะ กล่าวคือ ทรงยกย่องพระสาวกอีกส่วนหนึ่งว่ามีความเป็นเลิศในด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวยังมิได้ถือว่าเป็นสมณศักดิ์

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เพื่อสามารถสืบทอดเจตนารมณ์ของพระพุทธศาสนา พระประมุขแห่งประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์ โดยปรากฏหลักฐานว่ามีการพระราชทานสมณศักดิ์ และพัดยศพร้อมทั้งเครื่องประกอบสมณศักดิ์อื่นๆ ได้รับแบบอย่างมาจากประเทศศรีลังกา

สำหรับประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย พระองค์ได้ทรงโปรดให้ราชบัณฑิต ไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาจากประเทศลังกา เพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย

พระมหาสามีสังฆราช คงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไททรงตั้งสมณศักดิ์ถวาย แด่พระสงฆ์ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังกา

ระบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง 2 ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู พอมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาระบบสมณศักดิ์ ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู

ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน

1.สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 1 พระองค์
2.สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ 8 รูป
3.พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 19 รูป
4.พระราชาคณะชั้นธรรม 35 รูป
5.พระราชาคณะชั้นเทพ 66 รูป

6.พระราชาคณะชั้นราช 144 รูป
7.พระราชาคณะชั้นสามัญ 394 รูป
8.พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ (ไม่จำกัดจำนวน)
9.พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
10.พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา) (ไม่จำกัดจำนวน)


ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี - รัฐพิธี

ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2541 โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ในการประชุมครั้งที่ 6/2541 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

สมเด็จพระราชาคณะ

1. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

2. สมเด็จพระสังฆราช

3. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์)

พระราชาคณะ

4. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ

5. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร

6. พระราชาคณะ ชั้นธรรม

7. พระราชาคณะ ชั้นเทพ

8. พระราชาคณะ ชั้นราช

9. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ

- พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)

- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค

- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด

- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.9-ป.ธ.8-ป.ธ.7-ป.ธ.6-ป.ธ.5-ป.ธ.4-ป.ธ.3

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ

- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก

พระครูสัญญาบัตร

10. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)

11. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)

12. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)

13. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)

14. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)

15. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ

16. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค

17. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)

18. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)

19. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)

20. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)

21. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)

22. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)

23. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)

24. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)

25. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)

26. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า(ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)

27. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)

28. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ

29. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร

30. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช

31. พระเปรียญธรรม 8 ประโยค

32. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)

33. พระเปรียญธรรม 7 ประโยค

34. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม

35. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)

36. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)

37. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)

38. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)

39. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)

40. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)

41. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)

42. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)

43. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)

44. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)

45. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)

46. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)

47. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)

48. พระเปรียญธรรม 6 ประโยค

49. พระเปรียญธรรม 5 ประโยค

50. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ

51. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช

52. พระครูวินัยธร

53. พระครูธรรมธร

54. พระครูคู่สวด

55. พระเปรียญธรรม 4 ประโยค

56. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ

57. พระเปรียญธรรม 3 ประโยค

58. พระครูรองคู่สวด

59. พระครูสังฆรักษ์

60. พระครูสมุห์

61. พระครูใบฎีกา

62. พระสมุห์

63. พระใบฎีกา

64. พระพิธีธรรม


การพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์

ในอดีตการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์ แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า

พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชน แล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป

ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้

ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์ จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่

เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไป

แต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติ แด่องค์พระมหากษัตริย์

ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้ เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว


พิธีทรงตั้งสมณศักดิ์

ปัจจุบันการพระราชทานทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์นั้น โดยปรกติ จะมีการพระราชพิธีพระราชทานฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี หรือในกรณีพิเศษ เช่น ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 ในวันที่ 9 มิถุนายน

ซึ่งการพระราชทานสมณศักดิ์นั้น เฉพาะการทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์สำหรับพระราชาคณะขึ้นไป จะทรงตั้งในพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศด้วยพระองค์เอง หรือมอบให้ผู้แทนพระองค์ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) เป็นผู้พระราชทานแทน

สำหรับการพระราชทานสมณศักดิ์ เฉพาะระดับพระครูสัญญาบัตรนั้น ในปัจจุบันจะทรงมอบพระราชภาระให้ผู้แทนพระองค์คือ สมเด็จพระสังฆราช หรือ เจ้าคณะใหญ่ ในภาคนั้น ๆ เป็นผู้มอบสัญญาบัตรพัดยศแทน

ในวัดในเขตการปกครองของเจ้าคณะใหญ่หนนั้น ๆ ตามแต่มหาเถรสมาคมจะกำหนด

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวสุดท้าย:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง