ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

พ่อค้าช็อค นโยบายค่าแรง 300 บาท (จะรอดไม่เนี่ย !!!)

เริ่มโดย ล ลิง, 12:26 น. 13 ก.ค 54

ล ลิง

สอท.ชูผลสำรวจอุตฯรายใหญ่จ่อเลิกจ้าง27.33%
[attach=1]
ส.อ.ท.ชูผลสำรวจยอมรับค่าจ้างได้ 200-211 บาท เผยอุตฯซอฟแวร์รับค่าจ้างได้สูงสุด รายใหญ่ 27.33%จ่อเลิกจ้างหลังปรับค่าจ้างตามเพื่อไทย

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า คณะกรรมการบริหาร ส.อ.ท.เตรียมข้อเสนอให้กับรัฐบาลใหม่ โดยเฉพาะนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ใน 5 ประเด็นหลัก

คือ 1.ส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท เพราะจะกระทบกับเศรษฐกิจในภาพรวม โดยต้องพิจารณาให้รอบคอบและถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนก็อาจเปลี่ยนนโยบายได้ 2.ควรปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เป็นไปตามกลไกตลาด 3.การปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรใช้กลไกของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี)

4.หากรัฐบาลต้องการผลักดันนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ควรมีมาตรการจ่ายส่วนต่างให้ผู้ประกอบการที่จ่ายค่าจ้างเพิ่ม โดยรัฐบาลเป็นผู้จ่ายส่วนต่างให้เหมือนกับการจำนำสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ซึ่งวงเงินการอุดหนุนดังกล่าวขึ้นอยู่กับการปรับค่าจ้างในอนาคต

5.ส.อ.ท.พร้อมที่จะหารือกับภาครัฐเพื่อกำหนดแนวทางปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย โดย ส.อ.ท.จะเสนอให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมทภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างเสนอให้กับรัฐบาลใหม่พิจารณา

นายพยุงศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมมีการเสนอความเห็นว่า ควรทยอยปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น โดยการปรับให้ได้ 300 บาท อาจใช้เวลาในการปรับ 4 ปี ซึ่งในการปรับควรให้ไตรภาคีพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อ ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและสภาพเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด และที่ผ่านมามีการนำเสนอข่าวออกมาแล้วสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการเห็นว่า ควรมีการประกาศนโยบายให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการแสดงความคิดเห็น

ชี้ขึ้น300บาทรายย่อย 73.79%อ่วม
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้สำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ 513 ราย ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรม 40 กลุ่ม พบว่าการจ้างงานของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างประจำ 35.96 % รองลงมาเป็นลูกจ้างรายวัน 33.86 % ลูกจ้างชั่วคราว 14.09 % ลูกจ้างรับช่วงงาน 13.56 % และลูกจ้างรายชั่วโมง 1.4 % และเมื่อถามเกี่ยวกับต้นทุนแรงงานต่อต้นทุนการผลิต พบว่าผู้ประกอบการขนาดย่อมมีสัดส่วนต้นทุนแรงงานที่ 0-10 % ขนาดกลางมีสัดส่วนต้นทุนแรงงาน 11-20 % และขนาดใหญ่มีสัดส่วนต้นทุนแรงงาน 11-20 %

นายสมมาต กล่าวว่า เมื่อสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท พบว่ามีผู้ประกอบการขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบมาก 73.79 % ผู้ประกอบการขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบมาก 67.03 % และผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบมาก 67.70 % และเมื่อสอบถามเกี่ยวกับการจ้างงานหลังการปรับค่าจ้างตามนโยบายพรรคการเมือง พบว่าผู้ประกอบการขาดย่อมที่มีแนวโน้มการลดการจ้างงาน 19.76 % ขนาดกลางที่มีแนวโน้มลดการจ้างงาน 20.57 % และขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มลดการจ้างงาน 27.33 %

เผยรับค่าจ้างได้ 200-211 บาท
นอกจากนี้ เมื่อถามเกี่ยวกับการยอมรับอัตราค่าจ้างต่อวัน พบว่าผู้ประกอบการขนาดย่อม ยอมรับที่วันละ 200 บาท ขนาดกลางยอมรับที่ 211 บาท และขนาดใหญ่ยอมรับที่ 205 บาท และเมื่อแยกรายอุตสาหกรรมพบว่าซอฟต์แวร์ยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำที่วันละ 246 บาท เป็นระดับสูงที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กยอมรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ 157 บาท เป็นระดับต่ำที่สุด

เมื่อพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด ที่ผู้ประกอบการยอมรับได้มากที่สุด พบว่าจังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดที่ยอมให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นได้ 49.7 % เพิ่มขึ้นจาก 167 บาท เป็น 250 บาท รองลงมาเป็นจังหวัดพังงายอมปรับค่าจ้างขึ้นได้ 26.34 % เพิ่มขึ้นจาก 186 บาท เป็น 235 บาท และจังหวัดเชียงรายยอมปรับค่าจ้างขึ้น 25 % จากวันละ 161 บาท เป็น 201 บาท ส่วนจังหวัดที่นครสวรรค์เป็นจังหวัดที่ยอมให้ปรับค่าจ้างน้อยที่สุด โดยเสนอให้ปรับลดลง 19 % จากวันละ 166 บาท เป็น 147 บาท

แรงงานต่างด้าวไหลเข้าไทย
นายธนิต โสรัตน์ รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นจะกระทบกับการปรับค่าจ้างทั้งระบบ เพราะต้องปรับค่าจ้างแรงงานในระบบ 8.5 ล้านคนสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง และการที่ค่าจ้างขั้นต่ำของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จะทำให้แรงงานต่างด้าวไหลเข้าประเทศมากขึ้น โดยการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท จะเท่ากับค่าจ้างเดือนละ 260 ดอลลาร์ ส่วนพม่าค่าจ้างเดือนละ 50-60 ดอลลาร์ ต่ำกว่าไทย 5.2 เท่า และกัมพูชาค่าจ้างเดือนละ 60-70 ดอลลาร์ ต่ำกว่าไทย 4.3 เท่า และลาวค่าจ้างเดือนละ 70 ดอลลาร์ ต่ำกว่าไทย 3.7 % ซึ่งปัจจุบันไทยมีแรงงานต่างด้าว 3.8 ล้านคน ถูกต้องตามกฎหมายเพียง 900,000 คน และการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวซับซ้อนมากขึ้น

เชื่อแรงงานไหลเข้ากทม.
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส.อ.ท. กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในกรุงเทพมหานคร 300 บาท จะส่งผลให้แรงงานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ มากขึ้น โดยปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำอุบลราชธานีอยู่ที่วันละ 171 บาท แต่ถ้าทำงานในกรุงเทพฯจะได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่าตัว ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด ขาดแคลนแรงงานมากขึ้น

"เรากำลังกังวล ถ้าการหาเสียงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำของพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งจะเป็นตัวอย่าง ให้มีการนำนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำมาหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ซึ่งในอนาคตอาจจะเห็นการหาเสียงด้วยนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 500 บาท"นายสุกิจ กล่าว

(ที่มา : นสพ.กรุงเทพธุรกิจ)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20110713/400002/สอท.ชูผลสำรวจอุตฯรายใหญ่จ่อเลิกจ้าง27.33.html
"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)


นักเศษสาด

เป็นนโยบายหาเสียงเพื่อให้ชนะเลือกตั้งไว้่ก่อน ปัญหาข้างหน้าค่อย"กะล่อนรายวัน"เอาตัวรอดไปเรื่อยๆ
อันไหนทำได้..ได้เสียงปรบมือ
อันไหนทำไม่ได้...โทษฝ่ายตรงข้าม
นี่คือสัจจธรรมอุบาทว์ชาติชั่วของอันธพาลครองเมือง

ปชปหัวก้าวหน้า

เบื้องหลังการกวนตีนจากสภาหอการค้า-การต่อต้านค่าแรง300จากสภาอุตฯ องค์กรซ่อนเงื่อนของใคร..?


    การออกมากวนตีนไม่ยินดีต้อนรับรัฐบาลใหม่ของประธานหอการค้า การออกมาต้านค่าแรง300บาทของสภาอุตฯ หากรู้ว่าที่ไปที่มาของคนพวกนี้เป็นใคร ก็คงไม่ต้องแปลกใจอะไรต่อไป บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน!?

    ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ เท่าที่เปิดรายชื่อมารู้จักเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นใครก็ไม่รู้ อยากให้แต่งตั้งคนที่ฉลาด มาทำงาน และหวังให้เป็นคนดี-ดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,INN


นั่นเป็นท่าทีรับน้องใหม่แบบไม่เต็มใจรับกันเห็นๆของประธานหอการค้า อันต่างไปจากท่าทีต่อรัฐบาลก่อน ที่สภาหอการค้าร่วมกับภาคีสมาคมพ่อค้าที่เหลือทั้งแบกทั้งอุ้มอย่างเต็มเหนี่ยว

กล่าวได้ว่านาทีพลิกผันที่ส่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯแบบ"ปล้นมา"แลกกับความวิบัติของเศรษฐกิจบ้านเมือง ก็เนื่องจากสภาหอการค้าไทยนั่นเอง เป็นคนทั้งผลักทั้งดัน และออกมาเล่นบทห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมากได้เป็นรัฐบาลต่อไป หลังเหตุการณ์ยึดสนามบินจบลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 แล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างลุกลนยุบพรรคพลังประชาชนทิ้ง (อ่านเรื่องนี้ในลิ้งค์ข่าวนี้:ประธานสภาอุตฯสปอนเซอร์พธม. ประธานสภาหอฯคนสายวัง นำทีมสลายขั้วรัฐบาล หนุนมาร์คนายกฯหุ่นเชิด )

หอการค้าไทยยังคงอุ้มชูอภิสิทธิ์อย่างออกนอกหน้า ในเวลาต่อมา ที่สังคมต้องประหลาดใจมากก็คือการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้นโยบายคลั่งชาติ ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชานั้นกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีนับแสนล้านบาท แทนที่ประธานหอการค้าจะออกมาเรียกร้องสันติภาพจะได้ทำมาค้าขายกันต่อไป กลับออกมาสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า

และเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่จะแสดงความยินดีตามมารยาท ก็กลับออกมา"กวนตีน"ว่าให้หารัฐมนตรีที่ฉลาดๆมาหน่อย เพราะทีมเศรษฐกิจมีแต่พวกโนเนม(ทั้งที่มีบิ๊กเนมอย่างดร.โอฬาร ไชยประวัติ กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อยู่ในหัวแถวทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยก็ตาม...)

นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเมื่อต้นปี 2552 แบบ"ลึกลับ แต่รู้กันแซดในวงการพ่อค้าใหญ่ แต่ใครหละจะกล้าพูด"

ตามคิวและตามสัญญาสุภาพบุรุษแล้ว เมื่อนายประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าคนก่อนหมดวาระลง จะเป็นคิวของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าคนที่ 1 ขึ้นเป็นแทน แม้แต่นายประมณฑ์ก็กล่าวสนับสนุน(ดูข่าว คลิ้ก) จนมีการแจกประวัติ"ว่าที่ประธานหอการค้าคนใหม่"และเตรียมเลี้ยงฉลองยกใหญ่( ลิ้งค์ )

แต่แล้วพอใกล้วันเลือกประธานเข้าจริงๆ ก็เกิด"ข้อมูลใหม่"ขึ้นมา อันมีผลให้นายพงษ์ศักดิ์ต้องประกาศไม่ขอชิงตำแหน่งนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างกะทันหันว่า ต้องไปดูแลธุรกิจทอผ้าของตัวเอง เพราะเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ และขอให้รองประธานคนที่2คือดุสิต นนทะนาคร ขึ้นเป็นแทน...

ซึ่งคนในวงการบอกว่า เป็นเหตุผลที่ต้องประกาศไปทั้งน้ำตา และไม่มีใครเชื่อ แต่ก็ต้อง"ตามนั้น" เพราะนี่เป็นเหตุผลที่ฟังแล้วดูจะกล้อมแกล้มไปได้ที่สุดแล้วต่อสถานการณ์พลิกผันครั้งใหญ่ของวงการหอการค้า

    อะไรคือเหตุของการพลิกผัน และทำไมต้องเป็นดุสิต?



ดุสิต มีบทบาทก่อนหน้านั้น โดยออกมาพูดตอนม็อบพันธมิตรยึดสนามบินเมื่อปลายปี 2551 ว่า

    "ไทยจะต้องยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ภาคธุรกิจจะมีปัญหาแน่นอน โดยมองว่า การที่รัฐบาลไม่สามารถยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ขณะที่สังคมไทยก็มีความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงควรที่จะประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองอื่น ๆ เข้ามาบริหารประเทศ อย่างไรก็ตาม หากนายกรัฐมนตรีไม่ลาออก ก็ควรที่จะประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่"



ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขปัญหาพันธมิตรยึดสนามบินด้วยการรีบร้อนสั่งยุบพรรคพลังประชาชน มีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ธันวาคม

    ตอนนั้นดุสิตซึ่งเป็นรองประธานสภาหอฯก็ออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีแถลงข่าวร่วมกับสภาอุตสาหกรรม กับสมาคมธนาคารไทยว่า พรรคพวกแม้วพอได้แล้ว เป็นนายกฯมา 2 คนแล้ว ทั้งสมัคร สุนทรเวช ทั้งสมชาย บ้านเมืองก็ชิบหายมากพอแล้ว ให้คนอื่นคือฝ่ายมาร์ค-ประชาธิปัตย์ลองเป็นมั่ง พวกพ่อค้าจะได้ทำมาหากินกันเป็นปกติสุข...



ต่อมาไม่นานก็เกิดม็อบเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตอนสงกรานต์ ปี 2552 และเดือนมีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งหากเป็นไปตามมาตรฐานเดิม ดุสิตก็ควรต้องออกมาแถลงข่าวให้ท้ายม็อบ และไล่รัฐบาลออกเพราะคุมม็อบไม่อยู่บ้านเมืองวุ่นวาย พ่อค้าทำการค้าขายไม่ได้ แต่หนหลังนี้ดุสิตพูดอีกอย่างว่า

    ภาคเอกชนเรียกร้องให้ผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล ยุติการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนที่ผลกระทบจะส่งผลเสียหายไปมากกว่านี้ เอกชนได้พยายามร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศคลี่คลาย ส่วนรัฐบาลก็ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อทำให้บรรยากาศด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งความเชื่อมั่นของประเทศดีขึ้น บุคคลที่เป็นต้นเหตุของการบั่นทอน ควรจะใช้สติทบทวนและไตร่ตรองโดยรอบคอบ ต้องมองถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ มิใช่ประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง


เหลือแค่ดุสิตไม่พูดซะให้ตรงๆเหมือนสุเทพเทือกกับมาร์คว่า "ม็อบเสื้อแดงทำเพื่อทักษิณคนเดียว"...


    ลูกหม้อเครือซิเมนต์ไทยผู้สืบมรดกต่อจากลูกหม้อซิเมนต์ไทยอีกราย



หลังพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ยอมกลืนเลือดสละการชิงเก้าอี้ประธานหอแล้ว ดุสิตก็หมดก้างฉลุยขึ้นเป็นประธานสภาหอการค้าคนใหม่ฉลุยในวันที่ 26 มีนาคม 2552

ดุสิตจบปริญญาโทจากอเมริกา เป็นลูกหม้อทำงานกับเครือซิเมนต์ไทยมาแต่ต้นจนเกษียณ เขาเป็นมือบริหารปูนใหญ่ในรุ่นเดียวกับชุมพล ณ ลำเลียง มีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของเครือซิเมนต์ไทยหลายบริษัท ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)ขึ้นชื่อเรื่องเป็นมือการตลาดของซิเมนต์ไทย

เป็นเครือซิเมนต์ไทยอันมีสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ก่อนหน้าดุสิตนั้น ประธานหอการค้าไทยชื่อ ประมนต์ สุธีวงศ์ โดยเขามีโควต้ามาจากการเป็นประธานคณะกรรมการโตโยต้าประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นประธานโตโยต้า

เขาเก่งกล้าสามารถมาจากไหน? หากใครรู้จักบริษัทญี่ปุ่นดีก็จะพบว่าเขาใช้คนญี่ปุ่นเป็นประธานทั้งนั้น หรือไม่งั้นก็ต้องเรียนจบญี่ปุ่น แต่ประมนต์นี่จบตรี โทจากอเมกา...แล้วทำไมมาเป็นได้..

คำตอบคือพอดีว่าประมนต์มาจากเครือซิเมนต์ไทย

นายประมณฑ์เป็นลูกหม้ออยู่ที่เครือซิเมนต์ไทยมาแต่หนุ่มยันเกษียณในปี2542 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย..ปูนซิเมนต์ไทยที่มีสำนักงานทรัพย์สินฯถือหุ้นใหญ่นั่นเอง

เครือซิเมนต์ไทยถือหุ้นใหญ่ในโตโยต้าประเทศไทย 10% เช่นเดียวกับบริษัทจากต่างประเทศที่มาลงทุนในไทยโดยทั่วไปที่เครือสำนักงานทรัพย์สินฯจะได้รับเกียรติให้เข้าไปร่วมถือหุ้นด้วยในฐานะเจ้าบ้านที่ดี รวมทั้งกรณีของรถไถนาคูโบต้า รถไถนาเดินตามที่มียอดขายสูงสุดในเมืองไทย ก็มีทรัพย์สินเข้าไปถือหุ้น 10 %

เมื่อประมณฑ์หมดวาระลง แทนที่เก้าอี้ประธานหอการค้าจะตกเป็นของแคนดิเดตอันดับ1 กลับถูกผูกขาดจากคนที่เป็นลูกหม้อเครือทรัพย์สินฯ จากนั้นก็มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองสอดคล้องกับรัฐบาลอภิสิทธิ์และเครือข่ายอำมาตย์อย่างเป็นจังหวะจะโคน ก็ทำให้ข้อสงสัยต่างๆคลี่คลายลงว่า เพราะเหตุใดนายดุสิต นนทนาคร จึงเหมาะสมกับตำแหน่งประธานหอการค้า

ประธานสภาอุตฯก็คนปูนใหญ่ส่งมา ทำสภาแตกยับ

สำหรับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ออกมาต่อต้านนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ปัจจุบันมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เป็นประธาน จากมติที่ประชุมกรรมการสภาอุตฯ เมื่อวันวันที่ 20 เมษายน 2553 แน่นอนว่าเขาเป็นลูกหม้อของปูนซิเมนต์ไทย

โดยทำงานในเครือซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ ปี 2518 - มกราคม 2553

การแข่งขันช่วงชิงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คนใหม่อย่างดุเดือด ผ่านมานานหลายเดือน กว่าจะมาจบที่นายพยุงศักดิ์ ตามโผ

ก่อนหน้าวันเลือกตั้งประธานสภาอุตฯ ทางกลุ่มคู่แข่งขันของนายพยุงศักดิ์ ถึงกับได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ช่วยคุ้มครองการเลือกตั้ง โดยให้ระงับการเลือกตั้งออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส แต่เป็นการจัดตั้งที่รู้ผลคะแนนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งศาลปกครองฯ ได้รับคำร้องแต่ยังไม่มีการพิจารณาออกมา ทำให้สามารถเดินหน้าเลือกตั้งต่อได้ แต่ในส่วนของคดีความหลักก็ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฯ

"การทำงานของผมใน สภาอุตฯตลอด 20 ปีนี้ ผมเห็นว่าแย่ลงทุกวัน ซึ่งผมต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขระบบการผูกขาด เพราะเห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาว่า ฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้งต้องถูกเฟดออกไปทั้งหมด ซึ่งก็มีบางคนที่ต้องย้ายไปอยู่สภาหอการค้าฯ แทน เพราะถึงอยู่ต่อก็ไม่มีเวทีให้เล่น" นายสุรพร สิมะกุลธร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธาน ส.อ.ท.กล่าว

บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน.

จับฉ่าย

อ้างจาก: ปชปหัวก้าวหน้า เมื่อ 18:46 น.  14 ก.ค 54
เบื้องหลังการกวนตีนจากสภาหอการค้า-การต่อต้านค่าแรง300จากสภาอุตฯ องค์กรซ่อนเงื่อนของใคร..?


    การออกมากวนตีนไม่ยินดีต้อนรับรัฐบาลใหม่ของประธานหอการค้า การออกมาต้านค่าแรง300บาทของสภาอุตฯ หากรู้ว่าที่ไปที่มาของคนพวกนี้เป็นใคร ก็คงไม่ต้องแปลกใจอะไรต่อไป บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน!?

    ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ เท่าที่เปิดรายชื่อมารู้จักเพียงแค่ 2-3 คนเท่านั้น ที่เหลือเป็นใครก็ไม่รู้ อยากให้แต่งตั้งคนที่ฉลาด มาทำงาน และหวังให้เป็นคนดี-ดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย,INN


นั่นเป็นท่าทีรับน้องใหม่แบบไม่เต็มใจรับกันเห็นๆของประธานหอการค้า อันต่างไปจากท่าทีต่อรัฐบาลก่อน ที่สภาหอการค้าร่วมกับภาคีสมาคมพ่อค้าที่เหลือทั้งแบกทั้งอุ้มอย่างเต็มเหนี่ยว

กล่าวได้ว่านาทีพลิกผันที่ส่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกฯแบบ"ปล้นมา"แลกกับความวิบัติของเศรษฐกิจบ้านเมือง ก็เนื่องจากสภาหอการค้าไทยนั่นเอง เป็นคนทั้งผลักทั้งดัน และออกมาเล่นบทห้ามไม่ให้พรรคการเมืองที่ชนะเสียงข้างมากได้เป็นรัฐบาลต่อไป หลังเหตุการณ์ยึดสนามบินจบลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2551 แล้วตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างลุกลนยุบพรรคพลังประชาชนทิ้ง (อ่านเรื่องนี้ในลิ้งค์ข่าวนี้:ประธานสภาอุตฯสปอนเซอร์พธม. ประธานสภาหอฯคนสายวัง นำทีมสลายขั้วรัฐบาล หนุนมาร์คนายกฯหุ่นเชิด )

หอการค้าไทยยังคงอุ้มชูอภิสิทธิ์อย่างออกนอกหน้า ในเวลาต่อมา ที่สังคมต้องประหลาดใจมากก็คือการที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้นโยบายคลั่งชาติ ประกาศลดระดับความสัมพันธ์กับกัมพูชานั้นกระทบต่อมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศซึ่งมีนับแสนล้านบาท แทนที่ประธานหอการค้าจะออกมาเรียกร้องสันติภาพจะได้ทำมาค้าขายกันต่อไป กลับออกมาสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า

และเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งอย่างท่วมท้น แทนที่จะแสดงความยินดีตามมารยาท ก็กลับออกมา"กวนตีน"ว่าให้หารัฐมนตรีที่ฉลาดๆมาหน่อย เพราะทีมเศรษฐกิจมีแต่พวกโนเนม(ทั้งที่มีบิ๊กเนมอย่างดร.โอฬาร ไชยประวัติ กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ อยู่ในหัวแถวทีมเศรษฐกิจเพื่อไทยก็ตาม...)

นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเมื่อต้นปี 2552 แบบ"ลึกลับ แต่รู้กันแซดในวงการพ่อค้าใหญ่ แต่ใครหละจะกล้าพูด"

ตามคิวและตามสัญญาสุภาพบุรุษแล้ว เมื่อนายประมณฑ์ สุธีวงศ์ ประธานหอการค้าคนก่อนหมดวาระลง จะเป็นคิวของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานหอการค้าคนที่ 1 ขึ้นเป็นแทน แม้แต่นายประมณฑ์ก็กล่าวสนับสนุน(ดูข่าว คลิ้ก) จนมีการแจกประวัติ"ว่าที่ประธานหอการค้าคนใหม่"และเตรียมเลี้ยงฉลองยกใหญ่( ลิ้งค์ )

แต่แล้วพอใกล้วันเลือกประธานเข้าจริงๆ ก็เกิด"ข้อมูลใหม่"ขึ้นมา อันมีผลให้นายพงษ์ศักดิ์ต้องประกาศไม่ขอชิงตำแหน่งนี้ โดยอ้างเหตุผลอย่างกะทันหันว่า ต้องไปดูแลธุรกิจทอผ้าของตัวเอง เพราะเจอผลกระทบทางเศรษฐกิจ และขอให้รองประธานคนที่2คือดุสิต นนทะนาคร ขึ้นเป็นแทน...

ซึ่งคนในวงการบอกว่า เป็นเหตุผลที่ต้องประกาศไปทั้งน้ำตา และไม่มีใครเชื่อ แต่ก็ต้อง"ตามนั้น" เพราะนี่เป็นเหตุผลที่ฟังแล้วดูจะกล้อมแกล้มไปได้ที่สุดแล้วต่อสถานการณ์พลิกผันครั้งใหญ่ของวงการหอการค้า

    อะไรคือเหตุของการพลิกผัน และทำไมต้องเป็นดุสิต?



ดุสิต มีบทบาทก่อนหน้านั้น โดยออกมาพูดตอนม็อบพันธมิตรยึดสนามบินเมื่อปลายปี 2551 ว่า

    "ไทยจะต้องยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้ปัญหายืดเยื้อ ภาคธุรกิจจะมีปัญหาแน่นอน โดยมองว่า การที่รัฐบาลไม่สามารถยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ขณะที่สังคมไทยก็มีความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี ทำให้รัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงควรที่จะประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดโอกาสให้นักการเมืองหรือพรรคการเมืองอื่น ๆ เข้ามาบริหารประเทศ อย่างไรก็ตาม หากนายกรัฐมนตรีไม่ลาออก ก็ควรที่จะประกาศยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่"



ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขปัญหาพันธมิตรยึดสนามบินด้วยการรีบร้อนสั่งยุบพรรคพลังประชาชน มีผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ธันวาคม

    ตอนนั้นดุสิตซึ่งเป็นรองประธานสภาหอฯก็ออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีแถลงข่าวร่วมกับสภาอุตสาหกรรม กับสมาคมธนาคารไทยว่า พรรคพวกแม้วพอได้แล้ว เป็นนายกฯมา 2 คนแล้ว ทั้งสมัคร สุนทรเวช ทั้งสมชาย บ้านเมืองก็ชิบหายมากพอแล้ว ให้คนอื่นคือฝ่ายมาร์ค-ประชาธิปัตย์ลองเป็นมั่ง พวกพ่อค้าจะได้ทำมาหากินกันเป็นปกติสุข...



ต่อมาไม่นานก็เกิดม็อบเสื้อแดงชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตอนสงกรานต์ ปี 2552 และเดือนมีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งหากเป็นไปตามมาตรฐานเดิม ดุสิตก็ควรต้องออกมาแถลงข่าวให้ท้ายม็อบ และไล่รัฐบาลออกเพราะคุมม็อบไม่อยู่บ้านเมืองวุ่นวาย พ่อค้าทำการค้าขายไม่ได้ แต่หนหลังนี้ดุสิตพูดอีกอย่างว่า

    ภาคเอกชนเรียกร้องให้ผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาล ยุติการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนที่ผลกระทบจะส่งผลเสียหายไปมากกว่านี้ เอกชนได้พยายามร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศคลี่คลาย ส่วนรัฐบาลก็ได้ดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อทำให้บรรยากาศด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งความเชื่อมั่นของประเทศดีขึ้น บุคคลที่เป็นต้นเหตุของการบั่นทอน ควรจะใช้สติทบทวนและไตร่ตรองโดยรอบคอบ ต้องมองถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในประเทศ มิใช่ประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง


เหลือแค่ดุสิตไม่พูดซะให้ตรงๆเหมือนสุเทพเทือกกับมาร์คว่า "ม็อบเสื้อแดงทำเพื่อทักษิณคนเดียว"...


    ลูกหม้อเครือซิเมนต์ไทยผู้สืบมรดกต่อจากลูกหม้อซิเมนต์ไทยอีกราย



หลังพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ยอมกลืนเลือดสละการชิงเก้าอี้ประธานหอแล้ว ดุสิตก็หมดก้างฉลุยขึ้นเป็นประธานสภาหอการค้าคนใหม่ฉลุยในวันที่ 26 มีนาคม 2552

ดุสิตจบปริญญาโทจากอเมริกา เป็นลูกหม้อทำงานกับเครือซิเมนต์ไทยมาแต่ต้นจนเกษียณ เขาเป็นมือบริหารปูนใหญ่ในรุ่นเดียวกับชุมพล ณ ลำเลียง มีตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของเครือซิเมนต์ไทยหลายบริษัท ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน)ขึ้นชื่อเรื่องเป็นมือการตลาดของซิเมนต์ไทย

เป็นเครือซิเมนต์ไทยอันมีสำนักงานทรัพย์สินฯเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ก่อนหน้าดุสิตนั้น ประธานหอการค้าไทยชื่อ ประมนต์ สุธีวงศ์ โดยเขามีโควต้ามาจากการเป็นประธานคณะกรรมการโตโยต้าประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นประธานโตโยต้า

เขาเก่งกล้าสามารถมาจากไหน? หากใครรู้จักบริษัทญี่ปุ่นดีก็จะพบว่าเขาใช้คนญี่ปุ่นเป็นประธานทั้งนั้น หรือไม่งั้นก็ต้องเรียนจบญี่ปุ่น แต่ประมนต์นี่จบตรี โทจากอเมกา...แล้วทำไมมาเป็นได้..

คำตอบคือพอดีว่าประมนต์มาจากเครือซิเมนต์ไทย

นายประมณฑ์เป็นลูกหม้ออยู่ที่เครือซิเมนต์ไทยมาแต่หนุ่มยันเกษียณในปี2542 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย..ปูนซิเมนต์ไทยที่มีสำนักงานทรัพย์สินฯถือหุ้นใหญ่นั่นเอง

เครือซิเมนต์ไทยถือหุ้นใหญ่ในโตโยต้าประเทศไทย 10% เช่นเดียวกับบริษัทจากต่างประเทศที่มาลงทุนในไทยโดยทั่วไปที่เครือสำนักงานทรัพย์สินฯจะได้รับเกียรติให้เข้าไปร่วมถือหุ้นด้วยในฐานะเจ้าบ้านที่ดี รวมทั้งกรณีของรถไถนาคูโบต้า รถไถนาเดินตามที่มียอดขายสูงสุดในเมืองไทย ก็มีทรัพย์สินเข้าไปถือหุ้น 10 %

เมื่อประมณฑ์หมดวาระลง แทนที่เก้าอี้ประธานหอการค้าจะตกเป็นของแคนดิเดตอันดับ1 กลับถูกผูกขาดจากคนที่เป็นลูกหม้อเครือทรัพย์สินฯ จากนั้นก็มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองสอดคล้องกับรัฐบาลอภิสิทธิ์และเครือข่ายอำมาตย์อย่างเป็นจังหวะจะโคน ก็ทำให้ข้อสงสัยต่างๆคลี่คลายลงว่า เพราะเหตุใดนายดุสิต นนทนาคร จึงเหมาะสมกับตำแหน่งประธานหอการค้า

ประธานสภาอุตฯก็คนปูนใหญ่ส่งมา ทำสภาแตกยับ

สำหรับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ออกมาต่อต้านนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ปัจจุบันมีนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล เป็นประธาน จากมติที่ประชุมกรรมการสภาอุตฯ เมื่อวันวันที่ 20 เมษายน 2553 แน่นอนว่าเขาเป็นลูกหม้อของปูนซิเมนต์ไทย

โดยทำงานในเครือซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ ปี 2518 - มกราคม 2553

การแข่งขันช่วงชิงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คนใหม่อย่างดุเดือด ผ่านมานานหลายเดือน กว่าจะมาจบที่นายพยุงศักดิ์ ตามโผ

ก่อนหน้าวันเลือกตั้งประธานสภาอุตฯ ทางกลุ่มคู่แข่งขันของนายพยุงศักดิ์ ถึงกับได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลางให้ช่วยคุ้มครองการเลือกตั้ง โดยให้ระงับการเลือกตั้งออกไปก่อน เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีความโปร่งใส แต่เป็นการจัดตั้งที่รู้ผลคะแนนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งศาลปกครองฯ ได้รับคำร้องแต่ยังไม่มีการพิจารณาออกมา ทำให้สามารถเดินหน้าเลือกตั้งต่อได้ แต่ในส่วนของคดีความหลักก็ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฯ

"การทำงานของผมใน สภาอุตฯตลอด 20 ปีนี้ ผมเห็นว่าแย่ลงทุกวัน ซึ่งผมต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขระบบการผูกขาด เพราะเห็นได้จากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาว่า ฝ่ายที่แพ้การเลือกตั้งต้องถูกเฟดออกไปทั้งหมด ซึ่งก็มีบางคนที่ต้องย้ายไปอยู่สภาหอการค้าฯ แทน เพราะถึงอยู่ต่อก็ไม่มีเวทีให้เล่น" นายสุรพร สิมะกุลธร ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หนึ่งในผู้สมัครชิงตำแหน่งประธาน ส.อ.ท.กล่าว

บางทีก็ต้องถาม"คนที่อยู่หลังม่าน"เรื่องนี้ให้บ้างว่า จะปล่อยให้เละเทะไปทุกวงการ ผลาญชาติบ้านเมืองไปอีกขนาดไหน จึงจะหนำใจของท่าน.

ไอ้เฟดครก ก็แค่ลอกเขามาลง มีความคิดเป็นของตัวเองมั้ยไอ้หัวก้าวหน้า

ผู้ทรงสิน

อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา(เหล้าแดง) ครับผม...แผ่เมตตาให้เถอะ บัวใต้น้ำขุนยังไงก็ไม่งอกเป็นดอกบัวได้อีกแล้ว

puiey

อ้างจาก: ผู้ทรงสิน เมื่อ 10:07 น.  15 ก.ค 54
อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา(เหล้าแดง) ครับผม...แผ่เมตตาให้เถอะ บัวใต้น้ำขุนยังไงก็ไม่งอกเป็นดอกบัวได้อีกแล้ว

เห็นด้วยครับ
โกธรกับแฟน ขึ้นสเตตัส "โสด" ถ้าวันนึง แม่มึงโกธร มึงไม่ขึ้นสเตตัส "กำพร้า" เลยเหรอ

ปชปหัวก้าวหน้า

55555 แค่หาข่าวที่เป็นความจริงมาให้อ่าน แค่นี้ยังยอมรับไม่ได้ ช่วยไม่ได้ครับ งมโข่งต่อไปเถอะครับ เกมส์การเมืองพื้นๆ ยังวิเคราะห์ไม่ออก เด็กๆๆ ครับ ปัญหาโครงสร้างของประเทศนี้ ถ้ายังไม่รู้เรื่อง ยังมองไม่ออก ก็แค่พื้นๆ ครับ จงเป็นดักแด้ต่อไปเถอะครับ อย่าหวังจะออกเป็นตัวแล้วมีปีกบิน เป็นอิสระครับ

ล ลิง

อ้างจาก: ปชปหัวก้าวหน้า เมื่อ 13:23 น.  15 ก.ค 54
55555 แค่หาข่าวที่เป็นความจริงมาให้อ่าน แค่นี้ยังยอมรับไม่ได้ ช่วยไม่ได้ครับ งมโข่งต่อไปเถอะครับ เกมส์การเมืองพื้นๆ ยังวิเคราะห์ไม่ออก เด็กๆๆ ครับ ปัญหาโครงสร้างของประเทศนี้ ถ้ายังไม่รู้เรื่อง ยังมองไม่ออก ก็แค่พื้นๆ ครับ จงเป็นดักแด้ต่อไปเถอะครับ อย่าหวังจะออกเป็นตัวแล้วมีปีกบิน เป็นอิสระครับ

เคยอ่านเจอคำในสุภาษิตที่ไหนไม่รู้ว่าไว้ :

"คนโง่มักแสวงหาคนโง่กว่ามายกย่องตน" 555+ ส-เหอเหอ ส-เหอเหอ

อีกคำนึงว่า :

"คนเก่งที่เห็นแก่ตัว คือคนชั่วที่เป็นภัยสังคม"
อ่านแล้วก็ทำให้คิดถึง ทักษิณ จับใจ 5555+ ส.หลก ส.หลก
"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)

จ่าหรอย

อีกหน่อยจะประกาศว่า"ขอโทษพวกควายแดงอย่างแรงที่อุตส่าห์ช่วยเดี๊ยนมาตลอด"ก๊ากกกกกก..ขำว่ะ

คนผ่านมา

รอดูดีกว่านะค่ะ อย่าเยาะเย้ยพวกเขาเลยค่ะ บางที่อาจะทำได้บางจงหวัดที่มีรายหัวสูงๆ ไม่อยากให้แตกแยกกว่านี้

ปชปหัวก้าวหน้า

    การขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของรัฐบาลเพื่อไทยนั้น มาเป็นแพ็กเก็จคู่กับการลดภาษีกำไรธุรกิจจาก 30%ลงมาที่ 23% พูดง่ายๆว่ากำไรดีขึ้น เถ้าแก่ก็นำผลกำไรที่ไม่ต้องจ่ายภาษีนั่นเองมาจ่ายค่าจ้างลูกน้องให้สูงขึ้น สุดท้ายก็WIN-WINด้วยกันทั้งนายจ้าง-ลูกจ้างแต่ที่โดนต้านซะเยอะก็เพราะถึงจะลดภาษีลงมาเท่าไหร่ก็ช่าง นายทุนหน้าเลือดพวกที่มันหลบภาษีโกงประเทศชาติซะจนเป็นสันดานทำความเสียหายให้บ้านเมืองยิ่งกว่าพวกโจร500ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา

การก่อกระแสต้านนโยบายขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ของสภาหอการค้า และสภาอุตสาหกรรมนั้น ที่ไทยอีนิวส์ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ว่าอาจมีมูลเหตุจูงใจทางด้านการเมืองมากกว่าเหตุผลที่แท้จริงทางด้านธุรกิจ(ดูรายงานข่าวเรื่อง :เบื้องหลังการกวนตีนจากสภาหอการค้า-การต่อต้านค่าแรง300จากสภาอุตฯ องค์กรซ่อนเงื่อนของใคร..? ) ก็เนื่องจากว่ามีการก่อกระแสการโจมตีด้านเดียว

ไม่มีการพิจารณาแบบองค์รวม นายทุนไทยในสภาหอฯ-สภาอุตฯยังมีมิติไม่ต่างไปจากตอนเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเมื่อ 54 ปีที่แล้วคืออาศัยแรงงานราคาถูก เป็นปัจจัยสำคัญชี้ขาดในการแข่งขัน แม้จะเต็มไปด้วยปัญหาการกระจายรายได้ และการกดขี่ผู้ใช้แรงงาน

ที่สำคัญ 54 ปีมานี้รวยกระจุกกันอยู่กี่ตระกูล จนกระจายไปทั่วหล้า เอะอะก็โยนขี้ให้คนจนกรรมกรยอมเสียสละเรื่อยมา อ้างว่าเพื่อให้ทุนไทยแข่งขันได้...ฟังแล้วปวดตับ!

และหากพิจารณาอย่างเป็นธรรมแล้ว เรื่องการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำของว่าที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยนั้นมาเป็นแพ็กเก็จคู่กับการลดภาษีกำไรธุรกิจจาก 30%ลงมาที่23% พูดง่ายๆว่ากำไรดีขึ้น ก็นำผลกำไรนั่นเองมาจ่ายค่าจ้างที่สูงขึ้น สุดท้ายก็WIN-WINด้วยกันทั้งนายทุนและกรรมกร

ประเทศที่แข่งขันได้หรือเจริญแล้วจะจ่ายภาษีไม่สูง อย่างสิงค์โปร์เก็บภาษีนิติบุคคล 18 % ในย่านอาเซียนมีฟิลิปปินส์กับไทยเก็บ 30 % โดยรัฐบาลเพื่อไทยจะปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เหลือ 23 % ในปี พ.ศ. 2555 และเหลือเพียง 20 %ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อให้บริษัทต่างๆนำเงินกำไรที่สูงขึ้นนั้น ไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท แรงงานขั้นต่ำของกรรมกรเเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน

การลดภาษีและเพิ่มรายได้ประชาชนจะทำให้มีกำลังเงินมากขึ้น มีกำลังซื้อสูงขึ้น ในที่สุดก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น เป็นหลัก "เก็บน้อยเพื่อได้มาก" เพราะเก็บมากก็เจอพวกหลบภาษีเพียบ

หลังจบการเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคมนั้น เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทะยานสูงขึ้น 50 จุด ในวันนั้นนักลงทุนต่างประเทศซื้อหุ้นไทยสุทธิ 10,000 ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์นับแต่ก่อตั้งตลาดหุ้ยไทยมา 36 ปี เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศมองในทางบวกว่านโยบายลดภาษีดังกล่าว จะส่งผลให้กำไรของบริษัทในตลาดหุ้นไทยสูงขึ้นโดยเฉลี่ย6.1%ทั้งนี้จากรายงานบทวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์โนมูระซิเคียวริตี้


ภาษีเงินได้ที่จะลดลง ถ้านำมาจ่ายเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานทั้งหมด ถ้าทุกบริษัททำเช่นนี้ได้เงินก็จะสะพัดน่าดู แต่ย้ำว่านี่เป็นแค่การสมมุติ แต่ที่นำมาเปรียบเทียบแบบนี้ก็เพื่อจะบอกว่า การเริ่มค่าจ้างปริญญาตรีหมื่นห้า กรรมกรรายวันสามร้อย ก็เอามาจากกำไรที่สูงขึ้นนี่แหละ
*****
อย่างไรก็ดีคนที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรก็มี คือพวกบริษัททำกิจการด้านการส่งออก ที่ผ่านมาก็แทบไม่มีรายใดเสียภาษีเต็ม30% เพราะได้รับสิทธิพิเศษส่งเสริมการลงทุนจากBOIโปรโมชั่นลดแหลแจกแถมภาษีสารพัดอยู่แล้ว ขณะที่ต้องจ่ายค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องทำให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่ายแบบWIN-WINกันต่อไป

สุดท้ายที่เสียประโยชน์แน่ๆคือไอ้พวกนายทุนที่ไม่เคยจ่ายภาษีเข้ารัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำบัญชี2บัญชี3ทำกำไรให้ขาดทุน กำไรมากมายก็โชว์กำไรนิดเดียว ตั้งบริษัทในเครือยุบยับไปหมดเพื่อหมกเม็ดไม่ต้องจ่ายภาษี หากนึกไม่ออกก็เช่น เครือธุรกิจใหญ่โตที่ออกมาโวยวายเป็นเจ้าแรกว่าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ300จะเป็นจะตายนั่นแหละ พวกนี้เขาเรียกว่าจัญไรไฟไหม้ เมื่อวานเลนโดนไหม้ให้คนเขาสมน้ำหน้าไปแล้ว เพราะอยากทำตัวเป็นนายทุนหน้าเลือดที่ดีแต่เลียอำมาตย์ จนถูกบอยคอตขนานใหญ่

บริษัทพวกนี้ถึงพรรคเพื่อไทยจะลดภาษีลงมาแค่ไหน มันก็ไม่เคยได้ประโยชน์ เพราะมันหลบภาษีเป็นอาชีพ แล้วอ้างหน้าตายว่าเป็นการจัดการทางภาษี หรือTAX MANAGEMENTนั่นเอง แต่พอจะเอากำไรที่เม้มรัฐ เอารัดเอาเปรียบสังคมมาเพื่มค่าจ้างให้ลูกจ้างก็ต่อต้านกันจะเป็นจะตาย

เพราะลดลงมายังไงมันก็ไม่ได้อะไร เพราะมันหลบเลี่ยงซะเคยตัวจนเป็นสันดาน

ล ลิง

สวัสดี คุณปชปหัวก้าวหน้า ครับ
ก่อนอื่นต้องขอออกตัวอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับนโยบายขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำครับ
แต่สิ่งที่สำคัญคือ ทำอย่างไรจึงจะดีที่สุด ??

ผมเชื่อและได้ยินเช่นท่านแหละครับว่า พท.มีนโยบายเป็นแพ็กเก็จครับ คือ
1.ขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300บาท ทั่วประเทศ ทันที
2.จบปริญญาตรี มีเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000บาท
3.ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30%-->23%

มีคนถามกันครับท่านดังนี้ครับ
1.SME (ซึ่งมีฐานะการเงินไม่มาก)จะทำอย่างไร ? ขออธิบายเพิ่มเติมครับว่า บริษัทต้องจ่ายค่าแรงงานที่เพิ่มไปก่อนตลอด 12 เดือน แล้วจึงจะไป
ยื่นภาษีประจำปีในต้นปีถัดไป  กรณีที่บริษัทขนาดเล็ก มีเงินหมุนเวียนน้อยจะขาดสภาพคล่อง
แม้มีกำไรก็อยู่ไม่ได้ครับ เพราะเจ๊งตั้งแต่เงินหมดครับท่าน  !!! 555+

2.บริษทฯ ที่ไม่มีกำไรจะทำอย่างไร ?
กรณีบริษัทนั้น ๆ ประสบภาวะขาดทุนก็จะไม่ได้ประโยชน์จากการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเลย
ยิ่งจะขาดทุนจากการขึ้นค่าแรงอย่างก้าวกระโดดอย่างนี้ 216300 = +39% ครับ 555+

3.บริษัทฯ รายใหญ่ ๆ (โดยเฉพาะในเมือง) ซึ่งเดิมจ่ายค่าแรงแพงกว่า 300บาทอยู่แล้ว
จะได้สิทธิการลดภาษีนิติบุคคลหรือไม่ ?

เช่น SC Park , กลุ่มชินฯทั้งหลาย แบงค์ใหญ่ต่าง ๆซึ่งมีกำไรอยู่แล้วจ้างพนักงานแพงอยู่แล้ว
สมมติว่ากำไรปีละ 20,000ล้านบาท ภาษี 30%->23% ลดลง 7% = 1,400ล้านบาท
แปลว่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ 1,400ล้านบาทในขณะที่จ้างแรงงานขั้นต่ำแพง
กว่าเกณฑ์อยู่แล้วครับ อย่างนี้เค้าเรียกช่วยคนจนหรือปล้นไปให้คนรวยกันแน่ครับท่าน

จากข้อเขียนที่อ้างกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สิงคโปร์ เก็บภาษี 18% น้อยกว่ามากนั้น
ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะไปเปรียบเทียบกับประเทศนี้เนื่องภาคธุรกิจของไทยแตกต่างจากสิงคโปร์
อย่างสิ้นเชิง คือ สิงคโปร์ มีธุรกิจหลัก ๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการค้ามากกว่า ส่วนใหญ่
ก็จะเป็นสำนักงานต่าง ๆ ค้าสัญญา ค้ากระดาษกันเต็มไปหมด ส่วนไทยภาคธุรกิจเป็นภาค
ผลิตสินค้าเสียส่วนใหญ่ซึ่งต้องอาศัยแรงงานทั้งมีฝีมือและไร้ฝีมือเป็นจำนวนมาก...

สุดท้าย
มองว่าที่อ้างว่าออกนโยบายเป็น Package จ่ายเพิ่ม 300 กับ 15,000 อันนี้ไม่ว่ากัน
แต่ไอ้ที่ห้อยท้าย ลดภาษีนิติบุคคลแบบเหวี่ยงแห 30%->23% ลด7% อันนี้ซิ ผมว่า
ช่วยคนรวยชัดๆ (ที่ไม่ใช่ภาคผลิต) เป็นนโยบายที่โหดร้ายมากครับท่าน

ลืมบอกไปว่ากรณีของ ปชป.เสนอ +25% ภายใน 2ปี และเค้าขอให้แต่ละบริษัทนำตัวเลขเงิน
ที่จ่ายส่วนเพิ่มมาลดหย่อนภาษีครับ พ่อค้าภาคผลิต(สอท.)เค้าจึงเห็นด้วยว่าเป็นไปได้มากกว่า

ท้ายสุด
นี้เราคงไม่ต้องพูดถึงปัญหาแรงงานเคลื่อนย้ายกันแล้วนะครับ เพราะพท.เค้าสารภาพแล้วว่า
300บาท ไม่ทั่วประเทศ ไม่ทันที เพราะเค้าบอกว่าเป็นเพียงคำพูดตอนหาเสียง 555++
ทันที = ไม่รู้เมื่อไหร่ (ท่านปลอดฯว่างั้น) !!! 555++
เห็นใจก็แต่มหามิตรของเราซิท่าน เพราะเค้าดีใจกันทั้งประเทศตั้งแต่ พท.ชนะเลือกตั้ง
พอข่าว 300บาทออก 4 - 5 วัน ชาวเขมรเค้าหวังมากกว่าคนไทยเสียอีก แห่กันมาตรง
ชายแดนตั้ง 8 – 9 พันคน ทีนี้จะอธิบายกะเค้าอย่างไรดีครับท่าน   555++
"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)

จับฉ่าย


ปชปหัวก้าวหน้า

ผมไม่คิดว่าจะมีปัญหาครับ การต่อต้านในโยบายเหล่านี้ก็ต้องมีเป็นธรรมดา เพราะมันกระทบกับต้นทุนของเขา เขาก็ต้องต่อสู้ รักษาผลประโยชน์ของเขา มันเป็นเรื่องธรรมชาติ

รัฐบาลใหม่ก็ต้องมีหน้าที่ในการรักษาสัญญากับประชาชนที่หาเสียงเอาไว้ ก็ต้องผลักดัน และหาทางทำให้เกิดขึ้นให้ได้

ไม่มีนโยบายใดที่เป็นนโยบายแบบ ก้าวหน้ามากแบบนี้ จะไม่ได้รับการต่อต้าน ไม่ใช่เรื่องแปลก

ต่อไปมันก็ต้องอยู่ที่กึ้นของคุณปู ว่าจะผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จได้อย่างไร

ปชปหัวก้าวหน้า

สภาองค์การลูกจ้าง '130 สหภาพ' เปิดตำราสู้สภาอุตฯ หนุนค่าแรง 300 บาท

20 ก.ค.54 สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ "สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท วอนสื่อขยันทำงาน สัมภาษณ์แรงงานบ้างอย่าเอาแต่คุยกับอุตสาหกรรม ค้านเงื่อนไขสภาอุตฯที่ให้รัฐจ่ายส่วนต่าง เปรียบเแรง รัฐต้องไม่จ้างโจรให้มาปล้น (กดขี่) โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ ดังนี้


แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2554
สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย

"สนับสนุนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท



เสียงคัดค้านต่อต้านนโยบายค่าแรง 300 บาท ของพรรคเพื่อไทยดังไปทั่ว เมื่อเห็นได้ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทยจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลแน่นอน โดยเฉพาะในส่วนข้อคัดค้านของฝ่ายทุน เช่น สภาอุตสาหกรรมนั้น แม้ยังฟังไม่ขึ้น แต่ก็เข้าใจได้คือเป็นความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง พูดอะไรก็ถูกทุกที 

แล้วมีใครที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทบ้างนอกจากแรงงาน เพราะสื่อไม่ขยันพอจะไปเที่ยวหาคนที่ไม่ใช่นักการเมืองที่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าแรง 300 บาท เพื่อเอาความเห็นของเขามานำเสนอบ้าง มีแต่คนด่ากันผ่านสื่อ นั้นแหละที่สื่อจะเปิดพื้นที่ของตนให้ หากเป็นเช่นนี้ในไม่ช้า สังคมไทยก็จะคล้อยตามฝ่ายทุนว่า หากขึ้นค่าแรงระดับนี้ เศรษฐกิจทั้งระบบจะพังครืน (ทั้งๆ ที่อาจพังเพราะสาเหตุอื่น เช่นสหรัฐกำลังจะล้มละลายก็ได้)

นโยบายค่าแรง 300 บาทของพรรคเพื่อไทย  สภาองค์การลูกจ้าง สภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย เห็นว่าไม่ใช่ตัวเลขลอยๆ ที่ได้มาจากการหาเสียง มีเหตุผลของชีวิตแรงงานในฐานะมนุษย์รองรับอยู่  เว้นแต่คนที่จะเห็นว่าชีวิตของแรงงานไม่ใช่ชีวิตของมนุษย์เท่านั้นที่คิดว่า 300 บาทเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป  หากแรงงานได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท แล้วจะทำให้สินค้าไทยราคาแพงขึ้นจนกระทั่งไม่อาจแข่งขันในตลาดโลกและตลาดภายในได้จริงหรือ ?

ค่าแรงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตก็จริง แต่ยังมีอีกหลายปัจจัย เมื่อค่าแรงเพิ่มขึ้น 40 บาทต่อวัน มิได้หมายความว่าสินค้าจะเพิ่มขึ้นชิ้นละ 40 บาท เพราะในกลไกการผลิตย่อมมีการดูดซับต้นทุนระหว่างกันจนกระทั่งราคาที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มค่าแรงอาจไม่มากนัก หากรัฐเข้าไปหนุนช่วยในกลไกการผลิตในส่วนอื่น เช่น ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอะไหล่ หรือลดภาษีรายได้บริษัทลงเหลือ 27% ตามพรรคเพื่อไทยเสนอก็จะช่วยได้มาก

ยิ่งกว่านี้ การหนุนช่วยของรัฐต้องมีจุดมุ่งหมายที่มากกว่าราคาสินค้าเฉพาะหน้า  ควรเป็นการพัฒนาการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด  โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถของแรงงาน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้พ้นจากการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่การผลิตที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ใช่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมที่จะให้รัฐเข้ามาช่วยจ่ายค่าแรงเสมือนรัฐต้องจ้างอุตสาหกรรมมิให้กดขี่แรงงาน อาจจะเป็นตรรกะเดียวกันที่นำเราไปสู่การจ้างโจรไม่ให้ปล้นด้วย

การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะนำไปสู่ของแพงขึ้นจริงหรือไม่ ก็คงมีผลให้ของแพงขึ้นในระยะหนึ่ง  เพราะเมื่อครอบครัวแรงงานสามารถกินไข่ได้ทุกวัน ก็เป็นธรรมดาที่ไข่ย่อมแพงขึ้นในระยะหนึ่งจนกว่าผู้ผลิตไข่ซึ่งขายดิบขายดีจะเร่งผลิตไข่ออกมาให้มากกว่าเดิม  การเพิ่มรายได้ทำให้ของแพง ก็เมื่อสินค้าใดเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น ราคาสูงขึ้น ทำไมจึงไม่แย่งกันผลิตเพื่อทำกำไร และเมื่อแย่งกันผลิต ราคาสินค้านั้นก็น่าจะลดลงมาสู่ราคาที่สมเหตุสมผล ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่รายได้ซึ่งเพิ่มขึ้น แต่น่าจะอยู่ที่ว่ากลไกตลาดของเราเองต้องมีอะไรบางอย่างบิดเบี้ยวทำให้ไม่มีใครแย่งกันผลิต

ดังนั้นการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมนั้นไม่มีจริงในตลาดไทย  เราน่าจะไปจัดการกับการเก็งกำไรของอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งครอบงำตลาดไทยอยู่ และที่จริงก็มีมากเสียด้วย การเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาท จึงต้องมาพร้อมกับมาตรการที่จะทำลายอำนาจเหนือตลาดในรูปแบบต่างๆ ไม่ใช่ไปห้ามไม่ใช้จ่าย 300 บาท มิเช่นนั้นไม่ควรมีใครในโลกได้รายได้เพิ่มขึ้นสักคนรวมทั้งนักวิชาการด้วย

การลดดอกเบี้ยเงินกู้แก่ผู้ประกอบการ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ปัจจุบันธนาคารเอาเปรียบผู้ประกอบการและประชาชนมาก ธนาคารสามารถขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามใจชอบ แต่ดอกเบี้ยเงินฝากถูกกดให้ต่ำติดดิน นักวิชาการ นายทุน ผู้ประกอบการ น่าจะถามคำถามว่า ทำไมธนาคารจึงมีเสรีภาพในการเอารัดเอาเปรียบเช่นนี้ แทนที่จะโจมตีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ต่อวัน

อันที่จริงนโยบาย 300 บาทนี้ ก็เดินตามนโยบายของรัฐบาลของพี่ชายว่าที่นายกฯ เป็นการฟื้นเศรษฐกิจวิธีหนึ่ง (แทนการแจกเงินเฉยๆ แก่ข้าราชการและลูกจ้างและพนักงานรัฐวิสาหกิจ) คือทำให้เกิดความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยในตลาดให้มากขึ้น อันจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งระบบ เพียงแต่ว่าไม่ได้มุ่งเน้นแต่ตลาดต่างประเทศอย่างที่สภาอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ แต่เพิ่มกำลังซื้อภายในให้สูงขึ้น   อย่าลืมด้วยว่าตลาดภายในนับวันจะมีความสำคัญมากขึ้น

บางคนแสดงความห่วงใยว่า 300 บาท จะดึงเอา พม่า ลาว  กัมพูชา หลั่งไหลเข้ามาอีกมากมายก็คงจะดึงจริงแน่  และถึงจะมีหรือไม่มี 300 บาท  อีก 5 ปีข้างหน้า ในเงื่อนไขของเศรษฐกิจเสรีอาเซียน  การหลั่งไหลของแรงงานข้ามชาติก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ปัญหาอยู่ว่าเหตุใดนายจ้างไทยจึงนิยมจ้างแรงงานต่างชาติ ส่วนหนึ่งก็เพราะแรงงานไทยขาดแคลนและงานบางอย่างแรงงานไทยไม่ทำ  การมีแรงงานต่างชาติเข้ามาก็ดี   เป็นการช่วยอุตสาหกรรมบางประเภทให้อยู่ได้   แต่สาเหตุส่วนนี้ยังไม่สำคัญเท่ากับว่า แรงงานต่างชาติรับค่าจ้างและสวัสดิการต่ำกว่าแรงงานไทย  แม้กฎหมายไทยไม่ได้ยกเว้นแรงงานต่างชาติจากสิทธิทั้งหลายที่กฎหมายกำหนด แต่ในความเป็นจริงนายจ้างจ่ายค่าแรงต่ำกว่ามาก   อีกทั้งไม่ได้ให้สวัสดิการใดๆ ที่กฎหมายกำหนดเลย

สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมาชิก 130 สหภาพแรงงาน มีลูกจ้างที่จะต้องดูแลถึง 60,000 คน ขอสนับสนุนนโยบายพรรคเพื่อไทยในการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ



หยุดกดขี่แรงงาน หยุดขูดรีดแรงงาน หยุดการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน

คืนความเป็นธรรมให้คนในสังคม แล้วความสันติสุขจะกลับคืนมา

ขอบพระคุณพรรคเพื่อไทยที่มีนโยบายดี

ความพอดี

ค ว า ม พ อ ดี อ ยู่ ต ร ง ไ ห น ค รั บ   ?

ไม่เข้าใครออกใคร  ขอให้ทุกคนใจเย็นๆ

ย่างน้อยที่สุด  พวกเราก็คนไทยเกิดเมืองไทยกันทุกคน

ทะเลาะกันแล้วมันได้อะไร ?  นอกจากความสะใจของคนบางคนเท่านั้น

เชื่อเถอะทุกคน ทุกพรรค ทุกอาชีพ  มีความต้องการเหมือนกันหมด

ค ว า ม อ ยู่ ร อ ด ป ล อ ด ภั ย ใ น ชี วิ ต แ ล ะ อ ยู่ ดี กิ น ดี ทั้ ง นั้ น

ถ้าจะพูดว่า  เรามาลืมความหลังแล้วมาจับมือเริ่มต้นชีวิตใหม่ ? กันได้ไหม๊ ? ดีไหม๊ ? เป็นไปได้ไหม๊ ?

เราพักเรื่องร้ายๆที่ผ่านมาให้หมดทุกคน  หันหน้ามาปรึกษาหารือกัน  ไม่ใช่ให้เจ๊าไปแบบบางคนที่พูด

เพียงแต่เรื่องที่ผิดกฏหมายก็ให้ดำเนินไปตามกฏหมาย  อย่าไปเน้นย้ำแล้วเอามาเป็นสะเก็ดพูดต่อไป

มาร่วมไม้ร่วมมือกัน  เหมือนกับเรื่องที่คนไทยในต่างประเทศแบ่งพรรคแบ่งพวกตีกันชกต่อยกัน

แต่พอเกิดมีเรื่องกับคนชาติอื่นเมื่อไหร่  ลืมเรื่องร้ายๆกันหมดทุกคนรวมตัวกันรักกันเหมือนไม่มีอะไรกันมาก่อน

ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันต่อสู้เพื่อคนไทยด้วยกัน  คำว่าคนไทยด้วยกัน คำเดียวแท้ๆ ที่เราทำได้

ขอเถอะนับจากวันนี้เป็นต้นไป  เรามาร่วมมือร่วมใจกันดีไหม๊  เพื่อว่าประเทศเราจะได้ไม่ต้องไปตามก้นใครอีก

ล ลิง


นักเศรษฐศาสตร์อัด "ทักษิณ" หลอก ปชช. แนะเลิกดันทุรังเรื่องค่าแรง 300 ก่อนชาติล่มเหมือนอาร์เจนฯ

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000089818

ตัวจริงเสียงจริงมาแล้ว

กกร.มีมติค้านขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/41391/%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3-300-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97.html
"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)

นกฮูก

แล้วนโยบาน1,5000 บ้างให้เฉพาะครูจริงๆหร๋อ  เราก็ไม่เดือดร้อนอะไรหรอก ตอนนี้ก็ได้อยู่หมื่นแปดนิดๆ ทำที่บริษัทมาแปดปี เริ่มที่แปดพัน ถึงเราอยากให้เค้าเพิ่มเงินเดือนอีก แต่ก็อยากให้เค้าจ้างเรานานๆมากกว่า

ปชปหัวก้าวหน้า

เคยอ่านบทวิจัยเกี่ยวกับการเลือกข้างของประชาชน เขาบอกว่า

5% เป็นพวกค้านทุกเรื่อง ไม่ว่าจะดีหรือเลว ขอค้านไว้ก่อน ค้านแบบไม่มีเหตุผล
10% เป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน คือพวกค้านแบบมีเหตุผล พวกนี้เปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีเหตุผลเพียงพอให้เขา
30% เป็นพวกมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน คือพวกยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ แต่ถ้าไม่มีเหตุผล พวกนี้จะออกมาค้านอย่างรุนแรง
52% เป็นพวกเห็นตามเสียงข้างมาก พวกนี้ถ้าเห็นว่าแนวโน้มของเสียงข้างมากไปทางใหน พวกนี้ก็จะเปลี่ยนข้างตาม
3% ที่เหลือเป็นพวกมองโลกในแง่ดี ต่อให้มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น พวกนี้ก็จะหาข้อดีมาอ้างได้เสมอ

ผมอยู่ในพวก 10% ครับ

ปชปหัวก้าวหน้า

ล่าสุดหมอประเวศกลัวตกขบวนกระโดดหนุน 300 บาทน้อยไปด้วยซ้ำ

ก่อนหน้านั้นหมอคนนี้บอกคนจนจะเอาไรนักหนา วันละ 150 บาทพอ

ศ.น.พ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เปิดใจถึงนโยบายเศรษฐกิจเพื่อแรงงานของเพื่อไทย ที่ตั้งเป้าหมายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ว่าเป็นนโยบายที่ดี แต่อยากให้ส่งเสริมมากกว่านั้น คือทำให้คนจนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนไว้เพื่อรองรับการล้มเหลวจากเศรษฐกิจมหภาคด้วย

"การที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายค่าแรง 300 บาทเป็นเรื่องที่ดี เพราะคนจนในประเทศไทยมีมาก แรงงานไทยมีถึง 38 ล้านคน เกษตรกรไทยมีกว่า 40 ล้านคน คนจนนั้นมีคุณภาพชีวิตต่ำ ขาดความมั่นคงในชีวิต ซึ่งหากคนส่วนใหญ่ของประเทศขาดความมั่นคง ประเทศก็ย่อมขาดความมั่นคง การที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายเพื่อคนจนเป็นเรื่องที่ดี" น.พ. ประเวศ อธิบายพร้อมหัวเราะ

เมื่อถูกถามถึงประโยคที่ฮือฮา "เชื่อว่าค่าแรง 150 บาทก็อยู่ได้ หากมีที่พัก-อาหารพอเพียง"

น.พ.ประเวศ ตอบว่า เป็นการอ้างอิงคำพูดของแหล่งข่าวที่ขาดบริบท

"300 บาท ต่อวัน น้อยเกินไปด้วยซ้ำ จริงๆ แล้วควรได้มากกว่านั้นด้วยซ้ำ" น.พ.ประเวศกล่าว และอธิบายว่า สาระสำคัญของปาฐกถาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศศช.) เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมานั้น อยู่ที่การเสนอแนวทางให้เชื่อมโยงธุรกิจระดับมหภาคกับเศรษฐกิจในชุมชนให้เกื้อกูลกัน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังสะท้อนออกมาเป็นความขัดแย้ง เมื่อภาคอุตสาหกรรมเพิ่งแถลงการณ์ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท วานนี้ (12 ก.ค.)

"ภาคอุตสาหกรรมบอกว่าทำไม่ได้ ก็ต้องดูว่าเขาต้องแข่งขันกับต่างประเทศ ค่าแรงประเทศอื่นต่ำกว่า ถ้าเราค่าแรงสูงกว่าเขาเราก็แข่งขันไม่ได้ นี่ก็ทำให้เกิดความขัดแย้ง"

"ทางออกก็คือ ต้องเชื่อมโยงธุรกิจมหภาคเข้ากับเศรษฐกิจชุมชนให้เกื้อกูลกัน ถ้าผู้ใช้แรงงานสามารถอยู่ในชุมชน มีที่อยู่ มีอาหาร ทำการเกษตรไปด้วย และทำโรงงานไปด้วย จัดสวัสดิการ มีรถรับส่งก็จะไม่เป็นอุปสรรค ธุรกิจก็ได้ คนงานก็ได้ เชื่อมโยงชุมชนกับเศรษฐกิจมหภาคเข้าด้วยกัน ถ้าทำได้ ค่าแรง 150-200 บาทก็เป็นเงินเหลือ"

นักข่าวถามว่า ข้อเสนอให้รัฐจัดสรรที่ดินให้แรงงานทำการเกษตรควบคู่ไปด้วย แต่แรงงานบางส่วนก็ออกจากถิ่นฐานมาแล้ว จะทำอย่างไร?

น.พ. ประเวศ เสนอว่ารัฐบาลต้องจัดสรรที่ดินให้แรงงาน มากเท่าที่จะมากได้ เพื่อดูดซับความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงจากการเป็นแรงงาน

"ครอบครัวละ 2 ไร่ก็ยังดี ให้เขาได้ทำเกษตรไปด้วย ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อย่างน้อยถ้าเขาทำเกษตรได้ เขาก็จะมีกิน ผมคิดว่ารัฐบาลทำได้ อาจจะตักบาตรที่ดิน ตั้งกองทุนซื้อที่ดิน"

น.พ.ประเวศเชื่อว่า หากรัฐบาลเห็นด้วยกับแนวคิดเช่นนี้ ก็น่าจะทำได้ และทำได้กว้างขวาง เพราะมีอำนาจที่จะทำ ยกตัวอย่างกรณีที่รัฐและสถาบันการเงินช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากเงินทุนหมู่บ้านละล้านในอดีต พัฒนามาสู่การเป็นสถาบันการเงินชุมชน โดยมี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และธนาคารออมสิน เข้าไปให้คำปรึกษาและหนุนเสริมด้านการบริหารจัดการ จนกระทั่งปัจจุบันนี้หลายแห่งมีเงินทุนหลัก 40-50 ล้าน ขณะที่บางแห่งมีเงินในกองทุนเกินกว่า 100 ล้านบาท กลายเป็นสถาบันการเงินชุมชน เป็นตัวอย่างของการจัดการที่ดี

"รัฐบาลใหม่กำลังจะอัดฉีดเงินหมู่บ้านละ 1 ล้าน รวมเป็น 80,000 ล้าน ก็ไม่ทราบว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังท่านใหม่ จะเข้าใจประเด็นนี้หรือไม่ หากรัฐบาลอัดฉีดเงินเข้าไปในชุมชนอีก 80,000 กว่าล้านบาท ใน 80,000 กว่าหมู่บ้านจริงๆ ก็คาดหวังว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนจริงๆ"

ศ.น.พ.ประเวศ ย้ำว่า หากเศรษฐกิจระดับชุมชนเข้มแข็ง ก็จะช่วยซึมซับความล้มเหลวจากเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ได้ รองรับคนที่ตกงาน คนที่ยากจนได้ รัฐบาลจึงควรจะส่งเสริมเศรษฐกิจชนชนให้กว้างขวางและอยากจะย้ำเรื่องการเชื่อมโยงเศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจมหภาคให้เกื้อกูลกัน และก็ควรจะปรึกษาหารือกัน พูดคุยกัน เป็นการปรองดองอย่างหนึ่ง ซึ่งก็เป็นแนวทางของรัฐบาลใหม่อยู่แล้ว

"เรื่องการทำเพื่อคนจนนั้นผมเชียร์ให้รัฐบาลทำ ซึ่งคนจนของไทยมีทั้งคนที่เป็นแรงงานและเกษตรกร ส่วนที่ภาคอุตสาหกรรมบอกว่าทำไม่ได้ ต้องลองคุยกัน ว่าให้ 300 บาทไม่ได้เพราะอะไรถ้าทำไม่ได้ทันที ก็ทำให้ได้ส่วนหนึ่งก่อน ผมอยากให้ทำงานร่วมกันให้ได้" ศ.น.พ.ประเวศกล่าว

http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310546913&grpid=00&catid=&;...

ล ลิง

สอท.ห่วงค่าแรง300ทำราคาก๋วยเตี๋ยวพุ่งชามละ70
วันจันทร์ ที่ 01 ส.ค. 2554
MCOT-NEW
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/246119.html
"วิศิษฏ์ ลิ้มประนะ" ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เห็นว่านโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จะส่งผลกระทบต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 40% และส่งผ่านไปยังราคาอาหารให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก 20% และในที่สุดราคาอาหารจะเพิ่มขึ้น เช่น ราคาก๋วยเตี๋ยวจากปัจจุบันอยู่ที่ชามละประมาณ 35-40 บาท เมื่อคูณกับต้นทุนสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้น 40% ตามต้นทุนค่าแรงที่ปรับขึ้น ก็จะทำให้ราคาต้องปรับเพิ่มขึ้นจนอาจจะเห็นราคาก๋วยเตี๋ยวสูงถึงชามละ 70 บาทได้
  _______________________________________________________________________

ต่อไปเราคงต้องกินก๋วยเตี๋ยวชาม 70 พิเศษ 100 บาทละทีนี้
ไข่ยิ่งลักษณ์ 10 ฟอง 100 บาท   555++

เห็นใจก็แต่ผู้ที่มีรายได้ที่ไม่ได้อยู่ในภาคแรงงานอ่ะดิ !!!!

"คนอย่างแม้ว ผิดไม่ได้แพ้ไม่เป็น ผิดไม่เป็นแพ้ไม่ได้" (บัญญัติ บรรทัดฐาน : รายการลงเอยอย่างไร?)