ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หาดใหญ่โพลชี้โครงการจำนำข้าวทำเสถียรภาพรัฐบาลรักษาการสั่นคลอนที่สุด

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 16:00 น. 03 มี.ค 57

ทีมงานประชาสัมพันธ์

สรุปผลการสำรวจหาดใหญ่โพล  ( HATYAI  POLL) เรื่อง " วิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลรักษาการ"

หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลรักษาการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจครั้งนี้เป็นประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 14 จังหวัดภาคใต้  จำนวน 604  คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่  21-25  กุมภาพันธ์  2557  ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้


สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.05)  มีอายุระหว่าง  31-40 ปี (ร้อยละ 33.27)   รองลงมา อายุ 21-30 ปี  (ร้อยละ 27.49) และอายุ 41-50  ปี  (ร้อยละ 23.69) ตามลำดับ  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป  (ร้อยละ 22.38)  รองลงมา คือ  ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย (ร้อยละ 19.18)   พนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 17.58)  และนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 14.92)  ตามลำดับ

[attach=1]

สรุปผลการสำรวจ

ผศ.ดร. กอแก้ว  จันทร์กิ่งทอง  รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยหาดใหญ่  เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล  พบว่า  ประชาชนเห็นว่าแนวทางในการช่วยเหลือชาวนา คือ การระบายข้าวสู่ตลาด เป็นวิธีที่ดีที่สุด (ร้อยละ  29.08) รองลงมา คือ ชาวนาเอาข้าวคืนจากรัฐบาล (ร้อยละ 22.02) และรัฐบาลลาออกเพื่อหารัฐบาลคนกลางมาช่วยเหลือชาวนา (ร้อยละ 17.82) 

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.17  เห็นว่าการชุมนุมของชาวนาเพื่อเรียกร้องเงินจำนำข้าวส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในระดับมาก และร้อยละ 18.42 เห็นว่าการชุมนุมของชาวนาเพื่อเรียกร้องเงินจำนำข้าวส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในระดับปานกลาง ในขณะที่ร้อยละ 14.41 เห็นว่าการชุมนุมของชาวนาเพื่อเรียกร้องเงินจำนำข้าวส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในระดับน้อย  นอกจากนี้ประชาชนไม่ต้องการให้พรรคการเมือง ใช้โครงการรับจำนำข้าวในการหาเสียงเลือกตั้งอีก  (ร้อยละ 72.09) 

โดยประชาชนต้องการเห็นการปฏิรูปการคอร์รัปชั่นมากที่สุด (ร้อยละ 63.45) รองลงมา คือการปฏิรูประบบการเมือง/ระบบการเลือกตั้ง (ร้อยละ 47.38) การปฏิรูประบบราชการ (ร้อยละ 40.44) การปฏิรูประบบสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง (ร้อยละ 28.43) และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (ร้อยละ 20.47) ตามลำดับ 

เมื่อสอบถามประเด็นย่อยในการปฏิรูปประเทศ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ มากที่สุด (ร้อยละ 90.48) รองลงมา คือการกำหนดให้มีบทลงโทษในการคอร์รัปชั่นที่รุนแรง (ร้อยละ 84.43) ให้คดีการคอร์รัปชั่นไม่มีอายุความ (ร้อยละ 80.53) การให้สิทธิ์ประชาชนในการฟ้องคดีทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 79.30)  การปฏิรูปกระบวนการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมไม่ซื้อเสียง (ร้อยละ 77.83) การตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่มีตัวแทนจากภาคประชาชน (ร้อยละ 77.37)    การสร้างโอกาสในการศึกษาของเยาวชนอย่างเท่าเทียม (ร้อยละ 76.04)  และการปฏิรูปโครงสร้างกระบวนการผลิตของเกษตรกร(ร้อยละ 75.29)

   ในส่วนของการเลือกตั้งที่ผ่านมานั้นประชาชนเห็นว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน 28 เขตในพื้นที่ภาคใต้ส่อต่อการขัดรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 55.89) เมื่อสอบถามว่าใครเหมาะสมกับนายกรัฐมนตรีคนกลาง พบว่า ประชาชนเห็นว่า มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนกลางภายใต้ความขัดแย้ง มากที่สุด (ร้อยละ 23.00) รองลงมา คือ คุณอานันท์ ปันยารชุน (ร้อยละ 20.21)  คุณพลากร สุวรรณรัฐ (ร้อยละ 19.86) และ ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ (ร้อยละ 11.67)

w_2005

  โครงการนี้แย่มากๆครับ เอาเงินภาษีเราไปให้ชาวนาหมด คิดว่าทุกคนในประเทศเป็นชาวนารึงัย