ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

โครงการแลนด์บริดจ์ สงขลา-สตูล

เริ่มโดย เด็กเลว, 07:17 น. 26 ก.ค 54

เด็กเลว

แลนด์บริดจ์' โปรเจกต์แสนล้านเส้นทางแจ้งเกิดลอจิสติกส์ไทย!   


Tuesday, 26 July 2011 06:07 


        โครงการแลนด์บริดจ์ (โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย) ถือได้ว่าเป็นอีกเมกะโปรเจกต์ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีงบประมาณใน การลงทุนมากถึงแสนล้านบาทแน่นอนว่า ผู้ที่หมายมั่น ปั้นมือขึ้นมาเป็นนโยบายก็คือพรรคเพื่อไทย ว่าที่ผู้จัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับคะแนนนิยมถล่มทลาย....



          "แลนด์บริดจ์" จึงมีความเป็นไปได้ว่า มีความพร้อมที่จะเดินหน้าผลักดันโครงการนี้ให้เป็นรูปเป็นร่างเพื่อเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจในประเทศไทยต้องยอมรับว่า แนวคิดของพรรคเพื่อไทยนั้น สอดคล้องกับกระทรวงคมนาคมมากมายทีเดียว! โดยทางกระทรวงคมนาคมนั้นก็มีความชัดเจนตั้งแต่ต้นว่าต้องเดินหน้าโครงการนี้ แม้ตอนนั้นจะมีโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายมาเป็นข้อเปรียบเทียบก็ตามที!!!ถึงแม้ว่าท่าเรือทวายจะมีกระแสมาแรง...นั่นไม่ได้ทำให้กระทรวงคมนาคมหวั่นแต่อย่างใด แถมยังยืนยันด้วยว่า "แลนด์บริจด์ ยังมีความจำเป็นต่อโครง ข่ายการขนส่งของไทย"เรื่องดังกล่าวยังสอดคล้องกับกลุ่ม "กูรู" ผู้เชี่ยวชาญที่ระดมสมองออกมาบอก ว่า ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเชิงกายภาพและมีปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้การพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเล อันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทยจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย เสริมสร้างศักยภาพ โอกาส และการเพิ่มขีดความสามารถ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีการค้าโลก



          ทั้งนี้ การพัฒนาการขนส่งทางรถไฟ จึงมีความจำเป็นที่ได้รับการจัดลำดับความ สำคัญเร่งด่วนเพื่อให้มีการศึกษาและออก แบบโครงข่ายการกระจายสินค้าด้วยการขนส่งทางรถไฟ ที่จะทำให้เกิดการพัฒนาเชิงบูรณาการในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ขนส่งระยะทางปานกลางและระยะไกลด้วยระบบการขนส่งทางรถไฟร่วมกับระบบการขนส่งหลายรูปแบบ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งและลอจิสติกส์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จึงได้ว่าจ้างกลุ่ม ที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน มีกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ วันที่ 16 กันยายน 2552



          จากผลการศึกษาในเบื้องต้นตำแหน่ง แนวเส้นทางที่เหมาะสมการพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามัน ปรากฏว่าผลการศึกษาเปรียบเทียบเชิงลึกแนวเส้นทางรถไฟทั้งหมดรวม 5 แนว ทาง โดย 1. กลุ่มที่ปรึกษาเสนอให้พัฒนา แนวเส้นทางรถไฟ 2 A (ท่าเรือน้ำลึกปาก บารา-อำเภอระงู-อำเภอควนกาหลง- อำเภอรัตภูมิ-อำเภอหาดใหญ่-อำเภอนา-หม่อม-อำเภอจะนะ-ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2) ระยะทางรวม 142 กิโลเมตร กำหนดก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับ ในทะเล 4.50 กิโลเมตร บนบก 29 กิโลเมตร และโครงสร้างดินถม 109 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางรถไฟของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สายหาดใหญ่- ปาดังเบซาร์ และสายหาดใหญ่-สุไหงโกลก ที่บริเวณด้านทิศใต้ของชุมทางหาดใหญ่ พร้อมกับกำหนดระบบบริการพื้นฐาน ต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น พื้นที่ ลุ่มน้ำชั้น 1 A ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชน และสามารถตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้ อย่างมีประสิทธิภาพ2. โครงสร้างทางรถไฟประกอบด้วย ทางรถไฟระดับดินและทางรถไฟยกระดับทั่วไปซึ่งใช้ในกรณีที่เส้นทางรถไฟผ่านในพื้นที่ป่าโดยทำการออกแบบให้สอดคล้องกับความลาดชันสูงสุด3.



ระบบทางรางรถไฟทั่วไป ประกอบ ด้วย ทางรถไฟระดับดินและยกระดับที่มีลักษณะหินโรยทาง (Ballasted Track) และสะพานทางรถไฟ ในทะเลแบบไม่มีหินโรย (Ballastless Track) เชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารา มาตรฐานรางรถไฟที่ใช้เป็น BS100A เพื่อเป็นทางประธานเชื่อมต่อกันตลอดแนวเส้นทาง และ BS80A สำหรับทางหลีก และย่านจอดรถในศูนย์ซ่อมบำรุง โดยจะทำการวางรางรถไฟบนหมอนคอนกรีตอัดแรง ระยะห่างประมาณ 0.60 เมตร ขนาดความกว้างทางรถไฟ 1 เมตร (Meter Gauge) โดยมีระยะห่างระหว่างแนวศูนย์กลางทางรถไฟทาง คู่ไม่น้อยกว่า 4 เมตรและ



4. สถานีโดยสาร มี 2 สถานี ประกอบด้วย 1. สถานีระงู ตั้งอยู่ที่ตำบล ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ห่างจาก ท่าเรือน้ำลึกปากบารา 2 กิโลเมตร และ 2. สถานีควนกาหลง ตั้งอยู่ที่ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ห่าง จากท่าเรือน้ำลึกปากบารา 40 กิโลเมตร และ 5. ศูนย์ซ่อมบำรุงและอุปกรณ์โรงงาน ตั้งอยู่ที่อำเภอควนกาหลง เพื่ออำนวยความ สะดวกงานบำรุงรักษารถจักร (Locomotives) และรถสินค้าหรือรถพ่วง (Wagons) มีสำนักงานพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับ งานซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ พร้อมกับมีระบบ บำบัดน้ำเสียและอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่สำหรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟสะพานเศรษฐกิจ แลนด์บริดจ์ สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนาระบบรถไฟเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้า สนับสนุนท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยก่อสร้างเป็นรถไฟทางเดี่ยวช่วงท่าเรือ น้ำลึกปากบารา-ชุมทางหาดใหญ่ เป็นระบบ Meter Gauge คือมีขนาดความกว้างทางรถไฟ 1 เมตร เพื่อต่อเชื่อมกับโครงข่ายรถไฟของ ร.ฟ.ท. ที่บริเวณด้านใต้ของชุมทางหาดใหญ่บนเส้นทางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ระยะที่


2 พัฒนาระบบรถไฟเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าสินค้า สนับสนุนท่าเรือปากน้ำลึกสงขลา 2 โดยก่อสร้างเป็นรถไฟ ทางเดี่ยว เป็นระบบ Meter Gauge ต่อขยายจากระยะที่ 1 และต่อเชื่อมกับโครง ข่ายรถไฟขยายจากระยะที่ 1 และต่อเชื่อม กับโครงข่ายรถไฟของ ร.ฟ.ท. ที่บริเวณด้าน ใต้ของชุมทางหาดใหญ่บนเส้นทางสายหาดใหญ่-สุไหงโกลก-ไปยังท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 อาจกล่าวได้ว่าเป็น แลนด์บริดจ์ ในระยะแรกระยะที่ 3 พัฒนา แลนด์บริดจ์ ระยะ กลาง โดยติดตั้งทางรถไฟและปรับปรุงอาณัติสัญญาณให้เป็นรถไฟทางคู่ตลอดแนวเส้นทาง เพื่อรองรับการเป็นสะพานเศรษฐกิจโดยสมบูรณ์ในระยะกลางและขยายขีดความสามารถของระบบรางในการรองรับการขนส่งสินค้าส่งออกและนำเข้า ตลอดจนสินค้า Transshipment ระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันอย่างไรก็ตาม ในระยะยาวสามารถ ก่อสร้างเพิ่มเติมเป็นรถไฟทางสาม หรือทางสี่ในเขตทางที่ได้จัดเตรียมไว้ ( 50 เมตร) ซึ่งขึ้นอยู่ปริมาณสินค้าที่มาใช้บริการ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากระยะเวลา 30 ปีที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเหมาะสม ของโครงการ โดยทางใหม่นี้อาจจะเป็น ระบบรถไฟทางคู่ที่มีความกว้างทาง 1 เมตร หรือ 1.43 เมตร เพื่อทำหน้าที่ขนส่ง สินค้า Transshipment โดยไม่มีการ เชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟของร.ฟ.ท. และไม่อนุญาตให้มีการเดินรถไฟขนส่งผู้โดยสารในทางอิสระนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการขนส่งสินค้า--จบ--


          --สยามธุรกิจฉบับวันที่ 23 - 26 ก.ค. 2554--

Probass

เครดิต  http://www.satun.name/index.php?topic=414.0

   
ล้มเซาเทิร์นฯ  « เมื่อ: เมษายน 14, 2011, 06:36:56 PM »

ปชป.ล้มเซาเทิร์นซีบอร์ด พลิกใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว /ทักษิณประกาศพักหนี้ทุกกลุ่ม5ปี

นาย กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และนโยบายเพื่อการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เปิดเผยว่า พรรค ปชป.จะประกาศยกเลิกโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้ หรือเซาเทิร์นซีบอร์ด รวมทั้งโครงการก่อสร้างสะพานเศรษฐกิจ หรือแลนด์บริดจ์ จากสตูล-สงขลา และโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งหมดแล้วชูยุทธศาสตร์เปลี่ยน พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวใหม่ทั้งหมด

"ที่ ต้องยกเลิกเพราะนอกจากไม่มีความเป็นไปได้จริงในแง่การลงทุนแล้ว ยังถูกประชาชนคัดค้านต่อเนื่อง เมื่อยกเลิกโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ใต้แล้วต่อไปไทยสามารถไปใช้ท่าเรือน้ำ ลึกทวายที่พม่าแทนได้" นายกอร์ปศักดิ์ ระบุ



ภาพจำลองโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด

อย่าง ไรก็ตาม จะมีการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ให้เป็นเมืองท่า หรือฮาเบอร์ ซิตี (Haber City) จะสร้างศูนย์รับส่งสินค้าที่สมบูรณ์ด้วยการสร้างรถไฟความเร็วสูงจากระยองถึง สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเชื่อมระบบขนส่ง รวมทั้งสร้างอีโคอินดัสทรี ทาวน์ บริเวณอู่ตะเภาและพัทยาที่เน้นการลงทุนสีเขียว ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท

อนึ่ง โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการสร้างถนนเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งอ่าวไทย ซึ่งตามแผนจะมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 แห่งคือ ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา และท่าเรือน้ำลึกปากบารา จากนั้นจะสร้างระบบขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ เชื่อม 2 ฝั่งทะเล เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเพื่อเปิดเส้นทางการค้าไปสู่ตะวันออกกลาง มีมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ขณะนี้ลงทุนไปบางส่วนแล้วหลายพันล้านบาท

นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีต รมว.คลัง ในฐานะหัวหน้าทีมนโยบายพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะประกาศนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของพรรคเพื่อไทย คือ พักชำระหนี้ให้ประชาชนที่เป็นหนี้ไม่เกิน 5 แสนบาทต่อครัวเรือน เป็นเวลา 5 ปี

ทั้งนี้ จะเป็นการพักชำระหนี้ทั้งที่เป็นหนี้นอกระบบและในระบบ โดยจะครอบคลุมทั้งข้าราชการครู ทหาร ตำรวจ หรือประชาชนทั่วไป ที่คาดว่าจะมีอยู่นับ 10-20 ล้านคน หากทางพรรคได้จัดตั้งรัฐบาล จะเปิดให้ผู้ที่ประสงค์จะพักชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบหรือนอกระบบโอน หนี้มาอยู่ในความดูแลของกระทรวงการคลัง ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน

ด้าน เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลการเมืองนำโดยนายจรัส สุวรรณมาลา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดผลการประเมินความชัดเจนของนโยบายพรรคการเมือง 5พรรคว่าตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.ที่ผ่านมา พรรคที่มีนโยบายชัดเจนด้านเศรษฐกิจและสาธารณสุขมากที่สุดคือ ปชป.

ด้าน สิ่งแวดล้อมพรรคเพื่อไทยและ ปชป. ได้คะแนนเท่ากันด้านการแก้ไขปัญหาสวัสดิการสังคมและการศึกษานั้น ไม่มีพรรคการเมืองใดมีความโดดเด่นเลย

http://www.posttoday.com





ครือข่ายคนใต้ร่วมบุกศาลากลางสตูล ประกาศเจตนาต้านท่าเรือปากบารา
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2011, 10:02:30 AM »

เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 ชาวบ้านจังหวัดสตูล ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมต่อต้านแผนพัฒนาภาคใต้ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล เครือข่ายประชาชนติดตามการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา เครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายชาวบ้านจากจังหวัดชุมพรกระบี่ พัทลุง และตรัง ประมาณ 1,000 คน ร่วมรณรงค์เคลื่อนไหวต่อต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา

โดย รวมตัวกันที่จุดชมวิวลาน 18 ล้าน บ้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล แล้วเคลื่อนขบวนรถจักรยานยนต์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์พ่วงข้างกว่า 300 คัน ไปยังตัวอำเภอเมืองสตูล โดยใช้สัญลักษณ์ธงเขียวมีข้อความว่า "หยุดท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา ร่วมรักษาเภตรา ตะรุเตา ทะเลบ้านเราเพื่อลูกหลาน" และ "รักษ์สตูล ไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา" พร้อมเปิดปราศรัยบนรถแห่และแจกเอกสารเกี่ยวกับโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา และโครงการต่อเนื่องตลอดเส้นทาง

เวลาประมาณ 13.30 น. ขบวนรณรงค์ได้หยุดรวมตัวกันบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรต้องปิดถนนถนนสตูลธานี ฝั่งขาออกตัวเมืองสตูล ชั่วคราวเนื่องจากการจราจรติดขัด จากนั้นมีการอ่านคำประกาศเจตนารมณ์คนสตูลไม่เอาท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยนายสมบูรณ์ คำแหง คณะทำงานเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล

คำ ประกาศเจตนารมย์ ความว่า การสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา คือการละเมิดสิทธิชุมชนสตูลร้ายแรง เพราะการสร้างท่าเรือเป็นการเอื้อให้นายทุนข้ามชาติ การพัฒนาในลักษณะดังกล่าวทำให้ชีวิตของคนท้องถิ่นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ล่มสลายมาแล้ว

"การพัฒนาแนวทางดังกล่าวทำให้นายทุนยิ่งรวยขึ้น คนท้องถิ่นยากจนลง การพัฒนาเพื่อความเจริญแบบพิกลพิการทำให้คนรุ่นใหม่ขาดความสามัคคีปรองดอง เข่นฆ่ากันเอง ในขณะที่ภาครัฐยังไม่สามารถสร้างความชัดเจนให้คนภาคใต้ และคนสตูลว่าจะหยุดโครงการดังกล่าวนี้หรือไม่ ดังนั้นชาวสตูลและภาคใต้จักปกป้องพื้นที่ที่สวยงามแห่งนี้ไว้ให้ลูกหลานต่อ ไปโดย หลังอ่านคำประกาศเจตนารมณ์คนสตูล" คำประกาศเจตนารมณ์ ระบุ

จาก นั้นมีการติดป้ายผ้าผืนยาวหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ข้อความว่า คนสตูลต้องการกำหนดอนาคตของตัวเอง อยากให้สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ เหมือนกับคำขวัญของจังหวัดสตูล ทั้งนี้กลุ่มชาวบ้านยังเผาทำลาย ปฏิทินท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งจัดทำโดยนายนาวี พรหมทรัพย์ ผู้ประสานงานและผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ก่อนที่กลุ่มชาวบ้านจะสลายตัวในเวลา 15.00 น.





ข้อมูลสนับสนุน ล้มเซาเทิร์นฯ
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 10:54:55 AM »

โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า (Dawei Deep Sea Port & Industrial Estate Project and Transborder Corridor Link) เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก



โครงการ นี้ ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่มหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำ ผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง, ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไป

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ร่วมลงนามใน Framework Agreement กับ Myanma Port Authority, Ministry of Transport ของสหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า ซึ่งบริษัทฯเป็นผู้ได้รับสัมปทานในการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย

1) ท่าเรือน้ำลึก
2) นิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ โรงเหล็ก โรงปุ๋ยโรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆ

3) เส้นทางการคมนาคมได้แก่ ถนน ทางรถไฟ และท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เชื่อมระหว่างเมืองทวาย สหภาพพม่า กับประเทศไทยที่บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี

4) ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์การท่องเที่ยว รีสอร์ท และศูนย์พักผ่อนบริษัทฯ

พื้นที่ โครงการตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหภาพพม่า ห่างจากเมืองทวาย ประมาณ 30 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 400,000 ไร่ หรือ 250 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึก 2 ท่า ส่วนที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม ส่วนที่พักอาศัย ส่วนราชการ และส่วนอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งมีพื้นที่ริมทะเลเป็นแนวหาดทรายมีความยาวมากกว่า 12 กิโลเมตร



บ.อิตาเลียนไทย ได้ลงมือก่อสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย จากบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมืองกาญจนบุรี เชื่อมโยงถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 160 กิโลเมตร โดยด่านพุน้ำร้อนมีระยะทางห่างจาก อ.เมือง ประมาณ 71 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ จึงมีระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์เพียง 4 ชั่วโมง

โดยเฟสแรกจะเป็นการสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 ภายใต้งบประมาณมูลค่า 2 พันล้านบาท ระหว่างนั้นจะเริ่มดำเนินการเฟสที่สองคือ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย และเฟสที่สามคือ การสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม แบ่งเป็นโซนต่างๆ ประกอบด้วย โซน (A) Port & Heavy Industry โซน (B) Oil & Gas Industry โซน (C1) Up Stream Petrochemical Complex โซน (C2) Down Stream Petrochemical โซน (D) Medium Industry และโซน (E) Light Industry



เว็บไซต์
   
   
ข้อมูลสนับสนุน ล้มเซาเทิร์นฯ
« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 10:54:55 AM »
   


โครงการ ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า (Dawei Deep Sea Port & Industrial Estate Project and Transborder Corridor Link) เป็นอภิมหาโปรเจกต์ความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก



โครงการ นี้ ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่มหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำ ผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง, ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไป

เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ร่วมลงนามใน Framework Agreement กับ Myanma Port Authority, Ministry of Transport ของสหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า ซึ่งบริษัทฯเป็นผู้ได้รับสัมปทานในการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย

1) ท่าเรือน้ำลึก
2) นิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ โรงเหล็ก โรงปุ๋ยโรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆ

3) เส้นทางการคมนาคมได้แก่ ถนน ทางรถไฟ และท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เชื่อมระหว่างเมืองทวาย สหภาพพม่า กับประเทศไทยที่บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี

4) ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์การท่องเที่ยว รีสอร์ท และศูนย์พักผ่อนบริษัทฯ

พื้นที่ โครงการตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหภาพพม่า ห่างจากเมืองทวาย ประมาณ 30 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 400,000 ไร่ หรือ 250 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึก 2 ท่า ส่วนที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม ส่วนที่พักอาศัย ส่วนราชการ และส่วนอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งมีพื้นที่ริมทะเลเป็นแนวหาดทรายมีความยาวมากกว่า 12 กิโลเมตร



บ.อิตาเลียน ไทย ได้ลงมือก่อสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย จากบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมืองกาญจนบุรี เชื่อมโยงถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 160 กิโลเมตร โดยด่านพุน้ำร้อนมีระยะทางห่างจาก อ.เมือง ประมาณ 71 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ จึงมีระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์เพียง 4 ชั่วโมง

โดยเฟสแรกจะเป็นการสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 ภายใต้งบประมาณมูลค่า 2 พันล้านบาท ระหว่างนั้นจะเริ่มดำเนินการเฟสที่สองคือ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย และเฟสที่สามคือ การสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม แบ่งเป็นโซนต่างๆ ประกอบด้วย โซน (A) Port & Heavy Industry โซน (B) Oil & Gas Industry โซน (C1) Up Stream Petrochemical Complex โซน (C2) Down Stream Petrochemical โซน (D) Medium Industry และโซน (E) Light Industry



ท่า เรือน้ำลึกทวายนี้ ยังอยู่ในโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำ โขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ตามกรอบความร่วมมือยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามเส้นทางพัฒนา 3 แนวทาง คือ ทั้งระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC ระหว่างเมืองดานัง เวียดนาม-เมืองเมาะละแหม่ง พม่า) และระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor : SEC ระหว่างนครโฮจิมินห์ เวียดนาม-เมืองทวาย พม่า) รวมทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC ระหว่างนครคุนหมิง จีนตอนใต้-กรุงเทพฯ)




ข้อมูลจากรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมภูมิภาคระยะที่ 3 : แผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดน, กันยายน 2553 และจากเว็บไซต์โลจิสติกส์ ไดเจสต์ (www.logisticsdigest.com) ระบุผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากโครงการนี้ คือ ด้านศักยภาพความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ กล่าวได้ว่า ท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็น New Land Bridge ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการกระจายสินค้าในระดับโลก สามารถเชื่อมโยงตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ มาทางมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ซึ่งแต่เดิมสินค้าที่ส่งไปยุโรป แอฟริกา หรือตะวันออกกลางจะต้องผ่านทางช่องแคบมะละกา ใช้ระยะเวลานาน 16-18 วัน หากท่าเรือน้ำลึกทวายแล้วเสร็จจะช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งในปัจจุบัน หากขนส่งจากทะเลจีนใต้มายังทะเลอันดามัน หรือจากเวียดนามมายังพม่าจะใช้เวลาเพียง 6 วัน ทำให้ช่วยลดระยะทางการขนถ่ายสินค้า และลดค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าได้มากขึ้น

สำหรับประเทศไทยท่าเรือ น้ำลึกทวายจะเป็นประตูเศรษฐกิจบานใหม่ ที่เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย กับท่าเรือแหลมฉบัง ตามยุทธศาสตร์การค้าการลงทุน เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านของรัฐบาล ดังนั้น สินค้าต่างๆ ที่ไม่ว่าจะมาจากยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ย่อมจะผ่านท่าเรือน้ำลึกทวายออกสู่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้ระยะเวลาเพียง 1 วัน เท่านั้น และสามารถส่งผ่านไปยังประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือประเทศในแถบแปซิฟิค

ในส่วนของความเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ท่าเรือ น้ำลึกทวายเชื่อมโยงกับประเทศไทย ที่ด่านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งสถานภาพเป็นด่านชายแดนชั่วคราว ยังไม่มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยทางจังหวัดได้กำหนดให้เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อให้ บ.อิตาเลียนไทย ใช้ผ่านเข้าออกในการก่อสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย และทางจังหวัดกาญจนบุรีได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของจังหวัดในด้านการพัฒนา พื้นที่ ชายแดนและการเชื่อมโยงด้านการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน
นาย ณฐพลษ์ วิเชียรเพริศ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" ทราบว่า เวลานี้ประเทศพม่าได้ประกาศให้พื้นที่ก่อสร้างที่เมืองทวาย เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ แล้ว จึงอยากให้ กาญจนบุรี ถูกประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเช่นกัน ซึ่งได้เสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไปแล้ว ในส่วนการพัฒนาของจังหวัดนั้น จำเป็นต้องพัฒนาในด้านที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงระหว่างประเทศฝั่งตะวันตก กับประเทศฝั่งตะวันออก โดยผ่านเส้นทางทางระเบียงแนวตะวันออก-ตะวันตก หรือที่เรียกว่า East-West Economic Corridor : EWEC ระหว่างเมืองดานัง เวียดนาม-เมืองเมาะละแหม่ง พม่า



นอกจากนี้ ทางจังหวัดยังได้ประสานกับทางมหาวิทยาลัยของพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนให้ทุนการศึกษากับนักศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยน ระหว่างไทย-พม่าด้วย โดยหวังจะให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งในเรื่องความรู้และภาษาระหว่างกันด้วย

ผวจ.กาญจนบุรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้กำลังเร่งเรื่องการเปิดจุดผ่อนปรนระหว่างชายแดน และเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทางด้านเศรษฐกิจ โดยจังหวัดกาญจนบุรี จะได้ประโยชน์ในเรื่องการค้าขายและการท่องเที่ยว คาดว่า ภายใน 2-3 เดือน น่าจะสามารถเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวทางด้านเศรษฐกิจได้

รายงานการ ศึกษาฉบับสมบูรณ์ ยังระบุว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา อุตสาหกรรมภูมิภาคระยะที่ 3 : แผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมชายแดนในพื้นที่จังหวัดกาญนบุรี ขึ้น เพื่อผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยส่วนหนึ่งของผลการศึกษา พบว่า หากมีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น ด่านพุน้ำร้อนจะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมเพื่อการส่ง ออก (Industry Export Processing Zone: IEPZ) เพื่อสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับศักยภาพของพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อม โยงทางฝั่งตะวันตก (ท่าเรือน้ำลึกทวาย สหภาพพม่า) และสามารถเชื่อมโยงฝั่งตะวันออก (ท่าเรือวังเตา ประเทศเวียดนาม) ได้ จึงสามารถพัฒนาโดยจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า (Inland Container Depot: ICD) เพื่อทำการรวบรวม และกระจายสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ อันจะสามารถเชื่อมโยงตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ มาทางมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน และสามารถส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมห้องเย็น เพื่อรองรับวัตถุดิบที่จะมีในอนาคตเพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เป็นสินค้าขั้นสุดท้ายที่มีความหลากหลายก่อนกระจายไปยังผู้บริโภคปลายทางต่อ ไป

ไม่เพียงแต่ประโยชน์ด้านโลจิสติกส์เท่านั้น แต่ประเทศไทยยังจะได้ประโยชน์ในด้านแรงงานซึ่งมีปริมาณมาก อุปทานแรงงานก็มีอยู่จำนวนมาก และมีค่าจ้างแรงงานถูก การใช้แรงงานพม่าจะทำให้ทำให้เกิดการลดต้นทุนการผลิตลง อุตสาหกรรมการผลิตที่จะได้ประโยชน์เชิงเปรียบเทียบจะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเข้มข้น อาทิ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ขั้นต้นที่ใช้กระบวนการผลิตไม่ซับซ้อน เช่น การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล เฟอร์นิเจอร์ อัญมณี ในส่วนของอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมหนักก็เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าจะได้ประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากมีพื้นที่ของโครงการท่าเรือน้ำลึก ที่รองรับอุตสาหกรรมหนักอยู่แล้ว

นายนิพัฒน์ เจริญกิจการ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวกับไทยรัฐออนไลน์ว่า โครงการดังกล่าว จะสร้างผลดีในด้านการค้า ทรัพยากรธรรมชาติ และแรงงาน ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ และยังมีทรัพยากรในน้ำที่มีมูลค่าอีกจำนวนมาก โดยปัจจุบันประเทศจีน อินเดีย และสิงคโปร์ ได้ทยอยเดินทางเข้าไปลงทุนกันแล้ว ผลดีทางธุรกิจที่จังหวัดกาญจนบุรีจะได้รับโดยตรง คือ ท่าเรือทวายจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหม่ของจังหวัดกาญจนบุรี แรงงานต่างด้าวสามารถเข้ามารับจ้างได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากมีการเปิดด่านในอนาคต เชื่อจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของเราสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง นอกจากนี้ การเปิดท่าเรือน้ำลึกทวาย ยังจะช่วยดึงดูดนักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มาลงทุนเพิ่มมากขึ้น ดูได้ในช่วงนี้ โรงแรมเล็กๆ เพียง 3 แห่ง ในเมืองทวายไม่มีห้องว่างไว้รองรับเลย เพราะจำนวนนักธุรกิจที่มุ่งหน้าไปดูทิศทางการลงทุนกันเป็นจำนวนมาก


อย่าง ไรก็ดี ในเว็บไซต์โลจิสติกส์ ไดเจสต์ ได้กล่าวถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ว่าเป็นโอกาสดีที่ยังต้องรอการพิสูจน์ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นของการพัฒนาเท่านั้น ต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรซึ่งคงไม่ต่ำกว่า 10 ปี โครงการจึงจะแล้วเสร็จสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังมีอุปสรรคบางประการที่เป็นความเสี่ยงภายในจากปัญหาการเมืองและ ชนกลุ่มน้อยของพม่าที่เรื้อรังยืดเยื้อมาตั้งแต่ในอดีต และนโยบายของรัฐบาลพม่าที่ยังไม่มีความชัดเจนและแน่นอน ดังนั้น โครงการนี้จะสำเร็จได้หรือไม่คงต้องตามลุ้นกันต่อไป

ซึ่งดูจะสอด คล้องกับความเห็นของ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งให้ความเห็นกับไทยรัฐออนไลน์ว่า ประเทศพม่ายังไม่มีความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานมากนัก ดังนั้นธุรกิจน่าจะมาถึงเติบโตก่อนความเจริญ ส่วนอุตสาหกรรมที่น่าลงทุน จะเป็นอุตสาหกรรมการส่งออก ที่น่าลงทุน สำหรับประเทศไทยควรจะมีการลงทุนด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้ ยังน่าห่วงเรื่องความชัดเจนของประเทศพม่า หลังจากที่ปิดประเทศมานาน

"เมื่อท่าเรือน้ำลึกทวายสร้างแล้วเสร็จ ผู้ลงทุนก็คงจะหันไปลงทุนจำนวนหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันต้องมองว่า กลุ่มผู้ลงทุนเหล่านั้น จะไปลงทุนที่ประเทศใด ซึ่งเรื่องนี้ก็คงต้องพิจารณาดูอีกที "

นายพยุงศักดิ์ ยังเห็นว่า ท่าเรือน้ำลึกทวายนี้ จีนมีแนวโน้มได้เปรียบเรื่องโลจิสติกส์ มากกว่าไทย เพราะเส้นทางเชื่อมระหว่างตะวันตกและตะวันออก ก่อนที่จะลงมาไทยแล้วกระจายไปตามฝั่งทะเล นักธุรกิจก็มีแนวโน้มที่จะไปลงทุนในลาว เวียดนาม สิงคโปร์ มากกว่าไทย เนื่องจากไทยยังไม่น่าลงทุนมากนักด้วยปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ดังนั้นพม่าจึงจะได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย

ส่วน ประเทศไทย หากต้องการเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาค ก็มีโอกาสจะเป็นไปได้ แต่เราจะต้องวางแผนและนโยบายอย่างดี ถึงแม้ว่าไทยจะมีสมดุลทางธุรกิจและความหลากหลายทางธุรกิจมากกว่าประเทศอื่น ก็ตาม ทั้งนี้ยังหมายรวมถึงบรรยากาศในการค้าขายของประเทศไทยด้วย ซึ่งทั้งหมดถือเป็นความพร้อมในการลงทุน ที่นักธุรกิจต่างชาติจะมองมาที่ไทย

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์ วันพุธที่ 20 เมษายน 2554
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

Probass

ในอดีต  3 เดือนที่ผ่านมา


ปชป.ล้มเซาเทิร์นซีบอร์ด พลิกใต้เป็นแหล่งท่องเที่ยว



พอเพื่อไทยกำลังจะจัดตั้งรัฐบาล

โครงการแลนด์บริดจ์ (โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงทะเลอันดามันและอ่าวไทย) ถือได้ว่าเป็นอีกเมกะโปรเจกต์ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะมีงบประมาณใน การลงทุนมากถึงแสนล้านบาทแน่นอนว่า ผู้ที่หมายมั่น ปั้นมือขึ้นมาเป็นนโยบายก็คือพรรคเพื่อไทย ว่าที่ผู้จัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับคะแนนนิยมถล่มทลาย....


ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย ส.บ๊ายบาย
TUF ลุ้น break new high   UVAN @80 บาท --> 106.50 บาท

warning

ขอสนับสนุนโครงการนี้ 

สตูลทำเลดีจะตาย เป็นได้ทั้งเมืองท่า และเมืองท่องเที่ยว  แต่ NGO ก็ค้านลูกเดียว บอกว่า ไม่เอาอะไรสักอย่าง กุค้านแหลก  บอกจะทำท่องเที่ยว ทำประมง ทำเกษตรอย่างเดียว  แล้วความเป็นจริง คนในสังคมมันหลากกหลาย จะตามใจคนค้านทั้งหมดก็ไม่ได้  แล้วคนที่ทำงานสาขาอาชีพอื่นเขาก็ตายสิ   แล้วการท่องเที่ยวที่มีมากเกินไป ก็มีปัญาหสังคมเยอะแยะ  ไม่เชื่อไปดูพัทยา ภูเก็ต สมุยดู  ปัญหาโสเพณี ยาเสพติด มาเฟียข้ามชาติ ข้าวของแพง โรคระบาดต่างถิ่น น้ำเสียจากโรงแรม  ฯลฯ อย่านึกว่าการท่องเที่ยวคือคำตอบสุดท้ายของทุกอย่างสิเฟ้ย  หัดใช้สมองคิดบ้าง

NGO ชอบอ้างนักหนาว่า ทำลายสิ่งแวดล้อม  ก็แหงละ  ก็มันเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักที่สุดแล้วที่จะเอามาอ้าง ไม่งั้นไม่มีพลังขนาดนี้หรอก  ตอนนี้ภาพพจน์ของ NGO ในสายตาคนทั่วไป คือ พวกต่อต้านความเจริญ กลัวไปหมด  ชอบอ้างสิ่งแวดล้อม   คล้ายๆพวกสหภาพการรถไฟ  ระวังไว้


แต่ขอโทษ  ลองไปดูที่ปีนัง  มะละกา  สิงคโปร์  ไปดูสิว่า เขาบริหารจัดการอย่างไร  สิงคโปร์มีโรงกลั่น ท่าเรือ ปิโตรเคมี  ขนาดใหญ่ที่ไทยเทียบไม่ติด แม้แต่ขี้เล็บ แล้วเขามีปัญหาสิ่งแวดล้อมไหม  การท่องเที่ยวสิงคโปร์เป็นอย่างไร  แล้วยังเมืองปีนัง กับมะละกาอีก เป็นทั้งท่าเรือ  และมรดกโลก  ที่เรื่องท่องเที่ยว สตูลไม่ได้ขี้เล็บเลย 

จะทำประมงอย่างเดียว คนอื่นไม่มีสิทธิใช้ว่างั้น

เลิกอ้างสิ่งแวดล้อมได้แล้ว  เพราะถ้าจัดการดีๆ มันก็ไม่มีปัญหาหรอก  มาเลเซีย กับสิงโปร์เขาทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว  อย่าอยู่แต่ในกะลา



สิงคโปร์เป็นแค่เกาะเล็กๆเท่าเกาะภูเก็ต  แต่ทำไม่เขาทำได้ มีครบทุกอย่าง ถ้ามีแต่ควันพิษจริง คนสิงคโปร์คงตายไปทั้งเกาะแล้ว

ความคิดเห็นของสส.สตูล

ความคิดเห็นของสส.สตูล นายธานินทร์ ใจสมุทร




เดินหน้าสนับสนุนแผนพัฒนา ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล และท่าเรือน้ำลึกปากบารา รวมแผนพัฒนาสตูลสู่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย



ผมขอให้กลุ่มต่อต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารามาคุยกัน ไม่ใช่คอยแต่จะเดินขบวนต่อต้าน อ้างปัญหาโน้นปัญหานี้ ขอให้มามาคุยกัน เรามีเหตุผลที่ต้องสร้าง ไม่ใช่มาชวนกันเดินขบวนต่อต้าน มันไม่ใช่ มาคุยกัน มาบอกเหตุผลว่า ทำไม่ไม่อยากให้สร้าง มีปัญหาอะไรให้มาคุยกัน เราเจ็บปวดกับการเดินขบวนมามากพอแล้ว



http://www.deepsouthwatch.org/node/2225

ห้ามโพสข้อ

ส.ส.สตูลหนุนท่าเรือปากบารา แนะทำประชาพิจารณ์

Nation 18 สค. 2554 19:03 น.


เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 18 ส.ค. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล จำนวน 20 คน ได้เดินไปยังสำนักงานพรรคธานินทร์ ใจสมุทร สส สตู ลเพื่อยื่นหนังสือถึงต่อ สส. สตูล ว่าคนสตูลไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่กำลังจะถูกประกาศในอนาคตในเรื่องของแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ที่สำนักงานพรรคชาติไทยพัฒนา ต.บ้านควน อ.เมืองสตูล โดยนายหุสดีน อุสมา

ประธานเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจ.สตูล เป็นผู้ยื่นหนังสือ

นายหุสดีน อุสมา ประธานเครือข่ายฯสตูลกล่าวว่า หากมีการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบาราจะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นอย่างมากมีการระเบิดภูเขา ขุดทราบไปถมทะเลและจะมีการพัฒนาอย่างอื่นตามมาทั้งทางรถไฟ มอเตอร์เวร์และคลังน้ำมันและจำนำจังหวัดสตูลไปสูอุตสาหกรรมในอนาคต ในนามของพรรคร่วมรัฐบาลต้องเป็นปากเสียงให้ผู้ได้รับผลกระทบด้วย

ด้านนายธานินทร์ ใจสมุทร สส.ชาติไทยพัฒนา จ. สตูล กล่าวกับตัวแทนของเครือข่ายฯว่าส่วนตัวสนุบสนุนโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราแต่หากชาวบ้านไม่เห็นด้วยก็ต้องมีการทำประชาพิจารณ์ ให้คนสตูลเลือก แต่ไม่เห็นด้วยหากมีการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดสตูล

ห้ามโพสข้อ

สำนักข่าวอะลามี่ : สตูล ระดมทุกภาคส่วน พร้อมเครือข่ายประชาชน ดีเด 22 ก.ย. 54 โชร์พลังมวลชนเลือกโครงการ สตูล-เปอร์ลิส หรือ สะพานปูยู -รัฐเปอร์ลิส



นายพงศ์จักรกฤษณ์ สิทธิบุศย์ รองประธานวุฒิอาสา ธนาคารคลังสมอง จ.สตูล กล่าวว่า กรมทางหลวง และแขวงการทาง จ.สตูล ได้เชิญบริษัทที่ปรึกษาทั้ง 3 บริษัทเข้าร่วมในการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อทำความเข้าใจให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับโครงการสตูล-เปอร์ลิส ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ จ.สตูล ทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานของกรมทางหลวงและแขวงการทาง จ.สตูลร่วมกับ บริษัทที่ปรึกษา 3 บริษัท โดยจะมีการนัดประชุมในวันที่ 22 ก.ย. 54 ที่ห้องตะรุเตา โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่ เวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น.

ทางกรมทางหลวงและแขวงการทาง จ.สตูล พร้อมธนาคารคลังสมอง จ.สตูล ได้ทำการประชาสัมพันธ์ จากสื่อต่าง ๆ ออกไปทั่วทั้ง จ.สตูลแล้วขณะนี้ เพื่อสร้างความชัดเจนโดยได้ทำหนังสือเข้าร่วมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดการณ์ทั้งในพื้นที่และตามเกาะแก่งต่าง ๆ จะมาพร้อมกันได้ไม่ต่ำกว่า 500 คน

นอกจากนียังได้เชิญ เครือข่ายประชาชน จ.สตูลเ ข้ามาร่วมในโครงการดังกล่าวนี้ด้วย เพื่อจะได้แสดงความคิดเห็น และทำความเข้าใจกับโครงการสตูล-เปอร์ลิสและสะพานปูยู-เปอร์ลิสอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตามทางธนาคารคลังสมองจ.สตูล ได้เสนอโครงการไปยัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพื่อผลักดันโครงการสะพานเชื่อมระหว่างตำมะลัง-เกาะปูยู ระยะทาง 4 กม.ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 700
ล้านบาท ซึ่งจะมีบทสรุประหว่างโครงการสตูล-เปอร์ลิสและสะพานปูยู

นายพงศ์จักรกฤษณ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการดังกล่าวนี้รัฐบาลปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญและความก้าวหน้าในโครงการแม็คกาโปรแจ็คสำคัญของ จ.สตูล ซึ่งคนสตูลมีความปรารถนาที่จะเห็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เข้ามาพัฒนา จ.สตูล อย่างมีศักยภาพและมั่นใจว่าคนสตูลจะให้ความร่วมมือต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นอย่างดีทั้งโครงการเจาะอุโมงค์สตูล-เปอร์ลิส และท่าเรือน้ำลึกปากบารารวมทั้งทางเลือกใหม่ สะพานปูยู-รัฐเปอร์ลิส เป็นต้น


http://www.thealami.com/main/content...egory=12&id=62

เเ222

หอฯสตูลจับมือ7องค์กรเอกชน ดันโครงการท่าเรือปากบารา

2 กย. 2554 15:17 น.


นายสุรักษ์ ติ้นสกุล ประธานหอการค้า จ.สตูล เปิดเผย "ผู้สื่อข่าว" ถึวโครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ จ.สตูล โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกปากบาราซึ่งมีทั้ง ฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน ทำให้เกิดความสับสนอยู่ในเวลานี้ดังนั้นหอการค้าฯและ 7องค์กรเอกชนต้องการหนุนรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ทำการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตามท่าเรือน้ำลึกปากบาราและโครงการแลนบิดสตูล-สงขลาเป็นโครงการที่คนสตูลมีความต้องการส่วนโครงการอุตสาหกรรมและปิโตรเคมีนั้น ในขณะนี้ไม่มีความชัดเจนว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง ซึ่งที่แน่ๆหอการค้า ยังคงเดินหน้าผุดท่าเรือน้ำลึกปากบารอย่างชัดเจนเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว ในพื้นที่ จ.สตูลเองและระดับประเทศ

ดังนั้น ในขณะนี้ทางหอการค้าและ 7 องค์กร ได้มีความพยายามที่จะผลักดันและหนุนให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เข้ามาสำรวจและส่งบริษัทที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดความชัดเจน แม้ขณะนี้ทาง ฝ่ายค้านของ จ.สตูลได้มีความพยายามที่จะไม่ให้มีการก่อสร้างและได้มีการสร้างกระแสข่าวที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงจนทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความสับสน

อย่างไรก็ตามทาง จ.สตูล หอการค้า จ.สตูล และ 7องค์กรภาคเอกชนยังคงเดินหน้าเพื่อให้การสนุบสนุนโครงการดังกล่าวเพราะถือได้ว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะเป็นโครงการที่มีประโยชน์ระดับประเทศและระดับสากลต่อไป


http://breakingnews.nationchannel.co...?newsid=527416

เเ222

เดิมพัน'ท่าเรือน้ำลึกปากบารา' ระวัง'ปูทหารแห่งพระราชา'จะสูญพันธุ์
Thu, 2011-09-01 22:21

ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)

ประกายแดดสุดท้ายของวัน สาดแสงส่องระหว่างชะง่อนผาปากร่องน้ำทางเข้าบ้านบ่อเจ็ดลูกกับเกาะเขาใหญ่ อาณาเขตของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา

เรือประมงจอดเกยหาดโคลน ท้องทะเลมีแต่เลนดินเลนทรายไกลสุดลูกหูลูกตา ชาวบ้านหลายคนถือกระเช้า ช้อน และอุปกรณ์เท่าที่สรรหาได้ กุลีกุจอตั้งหน้าตั้งตาขูดทรายหาหอยนานาชนิด ในช่วงเวลา 5 โมงเย็น ที่อ่าวปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) พร้อมนักศึกษาอีกหนึ่งคน มีเยาวชนจากบ้านตะโละใส, ปากบารา และท่ามาลัย ตำบลปากน้ำ 3 คน นำลงพื้นที่เพื่อดูปูทหารยักษ์

เป็นปูทหารยักษ์ ที่คณะวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดยนำโดย ผศ.พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์ ผู้เชี่ยวชาญสิ่งมีชีวิตกลุ่มปู และอาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพิ่งค้นพบ กลายเป็นปูพันธุ์ใหม่ของโลก

เป็นการค้นพบ จากงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการพื้นที่ที่มีความหลากหลายชีวภาพ (Biodiversity Hotspots) เพื่อศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลอันดามัน

"เราเองก็ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นว่าปูทหารเป็นอย่างไร ปากบารามีด้วยเหรอปูทหารยักษ์พันธุ์ใหม่ของโลก มีลักษณะพิเศษตรงไหน นี่ก็เป็นโอกาสแรกที่เราต้องการเห็นเหมือนกัน" เยาวชนในพื้นที่บอก ขณะควานหาและจับจ้องปูในหาดโคลนช่วงน้ำลง

ปูตัวเล็กจำนวนมาก คลานในพื้นที่หาดเลนที่น้ำทะเลสาดถึง เดินคล้ายขบวนทหารมีปูตัวใหญ่นำหน้า เมื่อเข้าใกล้จะหมุนตัวเป็นเกรียวมุดลงทรายคล้ายสร้างบังเกอร์

"ปูนี่เราเคยเห็นมาตั้งแต่ไหนแต่ไรนี่" เด็กหนุ่มคนหนึ่งอุทาน พลางสังเกตเป็นพิเศษ ส่วนเด็กหญิงชายวิ่งไล่จับปูทหารจนเหนื่อยหอบ

ความเป็นมาของการค้นพบปูทหาร ทยอยออกจากของดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

เเ222

'กิตติศักดิ์'ตั้งธงสร้างท่าเรือปากบารา

วันศุกร์ที่ 02 กันยายน 2011 เวลา 14:24 น.

"กิตติศักดิ์" เดินหน้าสร้างท่าเรือปากบารา ยันเคลียร์ปัญหาให้หมดแล้ว ฟุ้งมีเอกชนต่างชาติระดับ Top 10 อย่างน้อย 3 รายสนใจพร้อมลงทุน เสนอเงื่อนไขดอกเบี้ย 0% ปลอดเงินต้น 5 ปี แต่ขออุบไต๋ไว้ก่อน เผย 1-2 เดือนได้ข้อสรุปแน่ ล่าสุดสั่งกรมเจ้าท่าปรับงบปี 55 หวังดันงบใหม่กว่า 1 หมื่นล้านบาทแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ด้านสมาคมเจ้าของเรือไทยติงอย่ามองข้ามแหล่งป้อนสินค้าและค่าระวางต้องแจงให้ชัดเจน

นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า พร้อมเดินหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบาราที่จังหวัดสตูล โดยขณะนี้เคลียร์ปัญหาต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเคลียร์ปัญหาเอ็นจีโอ การขออนุญาตพื้นที่ 4,000 ไร่จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชซึ่งเป็นพื้นที่หมู่เกาะอุทยานเภตรา โดยได้ให้นโยบายผู้เกี่ยวข้องเร่งผลักดันก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา วงเงินค่าก่อสร้าง 9,741 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีนักลงทุนต่างชาติซึ่งเป็นผู้บริหารท่าเรือติดอันดับ Top 10 ของโลกอย่างน้อย 3 รายสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโดยเสนอเงื่อนไขดอกเบี้ย 0% ปลอดชำระเงินต้น 5 ปี ซึ่งโครงการมีความพร้อมมาก และผ่านความเห็นชอบด้านสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ในขณะนี้เพราะอยากให้มีหลายรายแข่งขันกันเพราะใครมีข้อเสนอที่ดีก็จะได้รับสิทธิ์นั้นแต่คาดว่าจะสรุปความชัดเจนเรื่องการลงทุนได้ภายใน 1-2 เดือนนี้

"ยืนยันว่าเดินหน้าอย่างแน่นอน เพราะมีนักลงทุนติดต่อเข้ามาแล้ว 3 รายว่า พร้อมที่จะเข้ามาลงทุนและยื่นข้อเสนอที่ดี แต่อยากให้มีมากรายกว่านี้ ดังนั้นมั่นใจว่าเร็วๆ นี้โครงการก่อสร้างท่าเรือปากบาราจะเกิดขึ้นแน่ ซึ่งหากมีนักลงทุนรายใดเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าก็พร้อมเจรจา เพราะเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องเลือกรายที่ให้ประโยชน์กับประเทศสูงสุด ขอยืนยันว่าจะไม่ให้ประเทศเสียเปรียบแน่นอน โดยสิ่งที่ต้องดูคือจะใช้เวลาก่อสร้างกี่ปี เช่น ถ้าเสร็จใน 3 ปี เปิดปีที่ 4 ก็เท่ากับมีเวลาเก็บผลประโยชน์ 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มใช้คืนเงินกู้ตามเงื่อนไขกับผู้ลงทุนเป็นต้น"

นายกิตติศักดิ์ กล่าวอีกว่า ตนยังได้สั่งให้กรมเจ้าท่า (จท.) ไปปรับปรุงงบประมาณประจำปี 2555 โดยให้ความสำคัญกับการขุดลอกร่องน้ำในแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยมาก โดยได้หารือกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแล้ว จึงไม่น่ามีปัญหาเพราะสอดคล้องกับนโยบายในการแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง เนื่องจากการขุดลอกร่องน้ำจะช่วยระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วมและเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งแม่น้ำลำคลองทั่วประเทศมีระยะทางกว่า 13,000 กิโลเมตร ซึ่งจะใช้งบประมาณดำเนินการรวม 13,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยกิโลเมตรละ 1 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องเร่งผลักดันงบประมาณให้กรมเจ้าท่าใช้แก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง

"คิดง่าย ๆ คือ ดินที่ขุดขึ้นมาทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถให้น้ำเข้าไปแทนที่ได้ ดังนั้นยิ่งขุดดินออกมามากเท่าไร ก็ใส่น้ำลงไปแทนได้มากเท่านั้น จะช่วยเรื่องการบริหารจัดการน้ำได้มาก ซึ่งจะมีการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและผู้เกี่ยวข้องต่อไปด้วย เพราะเรื่องนี้นายกฯทราบแล้วและสั่งมาว่าต้องให้ความสำคัญ ซึ่งกรมเจ้าท่าจะต้องประเมินแต่ละพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงปริมาณน้ำและวางแผนในการขุดลอกให้เหมาะสมก่อนที่จะเร่งผลักดันงบประมาณต่อไป"

ด้านนายภูมินทร์ หะรินสุต นายกสมาคมเจ้าของเรือไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าวแต่ยังกังวลถึงแหล่งที่มาของสินค้าที่จะป้อนให้กับระบบว่าจะนำมาจากที่ใด เพียงพอและคุ้มทุนหรือไม่ เพราะหากสร้างแล้วไม่มีความชัดเจนด้านแหล่งที่มาของสินค้าก็จะสูญเสียงบประมาณไปเปล่าๆ เช่นเดียวกับค่าระวางสินค้าที่กระทรวงคมนาคมและผู้เกี่ยวข้องไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการแข่งขันกับผู้ประกอบการเนื่องจากเป็นต้นทุนการขนส่งอีกเช่นกัน

"เปรียบกับการสร้างท่าเรือแล้วไม่มีเรือไปใช้บริการก็จะไม่คุ้มค่า ซึ่งท่าเรือปากบาราหากรอเพียงสินค้าจากอีสานหรือภาคเหนือเกรงว่าจะไม่เพียงพอ เพราะภาคอีสานน่าจะขนส่งไปท่าเรือแหลมฉบังได้ใกล้กว่า จึงเสียค่าขนส่งไม่สูงมาก เนื่องจากระยะทางใกล้กว่า ดังนั้นภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องจึงน่าจะเฉลยคำตอบนี้ให้ผู้ประกอบการภาคการขนส่งได้เห็นชัดเจนโดยเร็ว" นายภูมินทร์กล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,667 4- 7 กันยายน พ.ศ. 2554

http://www.thanonline.com/index.php?...te-&Itemid=478

เเ222

หอฯสงขลาเร่งดัน "มอเตอร์เวย์" ลดแรงต้าน "แลนด์บริดจ์" ขานรับ AEC ปี 58

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ประธานหอการค้าสงขลาหนุน "มอเตอร์เวย์-แลนด์บริดจ์" ขานรับ AEC ในปี 2558 เผยพยายามหารือ NGO หาทางออกเดินหน้าโครงการให้เร็วที่สุด ด้านนักเศรษฐศาสตร์ชี้ครึ่งปีหลังเศรษฐกิจในสงขลาจะโตขึ้นอีก 15% โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา
       
       วันนี้ (6 ก.ย.) นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เป็นประธานเปิดงาน "TMB Trade on Tour @ Hatyai" พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "AEC โอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการภาคใต้" ซึ่งจัดโดยธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ณ โรงแรมโนโวเทล เซ็นทารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจและตัวแทนบริษัทเอกชนเข้าร่วมประมาณ 50 คน
       
       นายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC ) ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั้งหลายก็จะต้องพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้พร้อมรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วย โดยเฉพาะภาษาที่สองซึ่งเป็นภาษาสากล
       
       ในเรื่องนี้ตนมีโครงการที่จะขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ นำนักวิชาการมาสอนภาษาอังกฤษเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการที่สนใจแล้ว แต่ยังต้องรอความพร้อมด้านอื่นๆ อีกสักระยะหนึ่งจึงจะเริ่มดำเนินการได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมใน อ.หาดใหญ่ มีมากถึง 53,645 ราย ซึ่งนับว่าสูงใกล้เคียงกับจังหวัดปริมณฑลเลยทีเดียว
       
       ทั้งนี้ หอการค้าจังหวัดสงขลายังได้ประสานงานกับหอการค้าของประเทศมาเลเซีย จัดกิจกรรมพบประผู้ประกอบการธุรกิจระหว่าง 2 ประเทศขึ้นในเร็วๆ นี้ เพื่อสร้างโอกาสให้นักธุรกิจภาคใต้ได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่การรวมกลุ่มธุรกิจ และร่วมลงทุนระหว่างกันในอนาคต
       
       นอกจากนี้ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ยังเปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า ตนพยายามผลักดันโครงการมอเตอร์เวย์หาดใหญ่ - สะเดา ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างชายแดนไทย - มาเลเซีย ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเพื่อรองรับ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 นี้ด้วย โดยคาดว่าหากโครงการมอเตอร์เวย์ และโครงการแลนด์บริดจ์ สงขลา - สตูล แล้วเสร็จจะเอื้อประโยชน์แก่ภาคธุรกิจในการเป็นประตูสู่อาเซียนเป็นอย่างมาก ขณะนี้หอการค้าจังหวัดสงขลากำลังพยายามหาจุดร่วมกับ NGO ซึ่งรวมตัวกันกับชาวบ้านเพื่อต่อต้านโครงการพัฒนาที่จะนำไปสู่การอิงอุตสาหกรรม โดยทำลายทรัพยากรที่เป็นพื้นฐานต่อวิถีชีวิตชาวบ้าน ว่าจะสามารถเดินหน้าโครงการเหล่านี้ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนให้น้อยที่สุดได้อย่างไรบ้าง
       
       พร้อมกันนี้ ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเศรษฐศาสตร์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ยังกล่าวด้วยว่า AEC มีความสำคัญกับผู้ประกอบการไทยอย่างยิ่ง เนื่องจากใน 7 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน-5 ซึ่งได้แก่ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 17.2 ของสัดส่วนทั้งหมด และส่งออกไปจีนมากเป็นอันดับ 2 คือ ร้อยละ 11.4 ญี่ปุ่น 10.8 ในขณะที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริการ้อยละ 9.9
       
       สำหรับด้านการลงทุน ดร.เบญจรงค์ มองว่า การลงทุนในธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของสินเชื่อในธุรกิจดังกล่าว โดยหลังจากวิกฤตน้ำท่วมในปลายปี 2553 ที่ผ่านมา การปล่อยสินเชื่อในสงขลาชะงักไปช่วงหนึ่ง แต่ในช่วงต้นปีนี้พบว่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีการกู้เงินและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในสงขลาดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจในหาดใหญ่ - สงขลา จะโตขึ้นอีกร้อยละ 15 โดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยางพารา
       
       นอกจากนี้ ธนาคารธหารไทย ยังถือโอกาสเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ TMB Trade on Demand ซึ่งเป็นบริการทางการเงินสำหรับผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าทั้งในและต่างประเทศโดยผู้ประกอบการจะได้รับวงเงินที่เหมาะสมและเพียงพอกับการใช้จ่าย ทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น รวมทั้งลดต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอีกด้วย

ข่าวสารบ้านเรา64554

คนส่วนใหญ่เป็นห่วงฝั่งทะเลสตูลเพราะทะเลสวยมาก เกาะสวยๆเยอะ  แต่คิดว่าถ้ารัฐมะละกา กับปีนั่ง เขาสามรถบริหารจัดการให้ท่าเรือ การขนส่ง อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว พื้นที่ป่าสงวน  อยู่ร่วมกันได้  จนถึงขั้น เมืองกลายเป็นมรดกโลกไปได้  น่าจะลองไปดูงานนะ

ปีนัง กับมะละกา นอกจากจะเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีการพานิชย์ มีท่าเรือ การขนส่ง อุตสาหกรรม แถมเป็นเมืองการท่องเที่ยวที่สตูลเทียบไม่ติดเลย โดยเฉพาะในเชิงตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยว  แถมเป็นมรดกโลกอีก  ไม่รู้เขาทำได้ไง

ท่านเปา

ปีนังเค้ามีจุดขาย คือ เมืองเก่า ไม่ใช่ธรรมชาติที่สวยงาม
หรือสิงคโปร์ จุดขาย คือ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ไม่ใช่แหล่งธรรมชาติ อีกเหมือนกัน

ส่วนเมืองไทยเราทางใต้ มีจุดขาย คือ แหล่งธรรมชาติต่างๆ เช่น ทะเล(ส่วนใหญ่) ภูเขา 
คิดให้ดีๆ แต่ละปี นักท่องเที่ยวเข้ามาทางใต้ เพราะอะไร
ใครจะรับผิดชอบถ้าการก่อสร้าง ไปมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ
ยังไงก็ศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ให้ดีก่อนที่จะเริ่มโครงการต่างๆ ที่จะมีผลต่อธรรมชาติ

หัวข้อ

ปีนัง เมืองตากอากาศชั้นนำของมาเลเซีย
"ปีนัง" ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสถานที่พักตากอากาศชั้นนำของมาเลเซีย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิลล่าสไตล์ โคโลเนี่ยลและอาคารพาณิชย์อายุเก่าแก่กว่า 100 ปี โดยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ส่วนมากตั้งอยู่ในเมืองจอร์จทาวน์ ซึ่งเป็นนครหลวงของรัฐปีนัง ที่สำคัญ ภาพยนตร์ชื่อดังในอดีต เช่น เรื่อง Anna and the King และเรื่อง Indochina ก็เคยใช้ที่นี่เป็นสถานที่ถ่ายทำกันมาแล้ว


ถ้าจะถามถึงหาดชื่อดังในปีนัง... ชื่อแรกที่เรานึกถึง คือ หาดบาตูเฟอริงกิ ซึ่งทอดตัวอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของเกาะ ชายหาดแห่งนี้โดดเด่นด้วยกลิ่นอายของแถบเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากมีสถาปัตยกรรมสไตล์โคโลเนียลและถนนที่เงียบสงบ โดยเป็นสถานที่ตั้งของโรงแรมและรีสอร์ทขนาดใหญ่หลายแห่ง พร้อมด้วยภัตตาคาร ร้านบริการรถให้เช่า และร้านขายสินค้าที่ระลึกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนุกๆ ให้ได้เพลิดเพลิน เช่น กีฬาทางน้ำ ล่องเรือ และดำน้ำสน็อกเกิ้ล ขณะที่วัดเค็ก ล็อก ซี ที่มีเจดีย์ทองประดับด้วยพระพุทธรูปแกะสลัก 1 หมื่นองค์ ก็ตั้งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลนักและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง


http://www.friendtravelthai.com/story_penang.htm


http://www.otakusoftware.com/blog/2009/09/28/otaku-software-expands-into-asia/

http://www.mywisewife.com/penang-batu-ferringhi-beach-para-sailing-and-water-sports.html

รูปชายหาด batu ferringhi beach

หัวข้อ


รูปชายหาด batu ferringhi beach

หัวข้อ

รูปชายหาด batu ferringhi beach บนเกาะปีนัง

หัวข้อ

อย่าคิดเชียวนะว่าเกาะปีนังจะไม่มีหาดสวยๆ   นักท่องเที่ยวไปปีนัง มากกว่าไปภูเก็ตอีก

ก๊อตซิเลอร์

ขนาดอุโมงค์เชื่อมมาเลเซีย ที่จะทำให้คนสตูลเดินทางได้สะดวกขึ้น ไม่ต้องอ้อมไกล ไม่เปลื่องน้ำมัน  และยังทำให้สตูลเป็นเมืองการค้าชายแดนที่สำคัญ  ก็ยังค้านกันซะได้  แล้วมีอะไรบ้างที่พวกคุณไม่ค้าน  แล้วที่อ้างว่าเป็น ภาคประชาชนที่ค้านนะ มีกี่คน นับหัวมาดูหน่อย 5แสนคนถึงมะ

..................................

ภาคประชาชนค้านอุโมงค์สตูล-เปอร์ลิส แนะพัฒนาด่านวังประจันให้มีศักยภาพ

สตูล - ภาครัฐเร่งชี้แจงโครงการก่อสร้างขุดเจาะอุโมงค์สตูล - เปอร์ลิส สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ขณะเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูลไม่เห็นด้วย แนะพัฒนาศักยภาพด่านวังประจันแทน เพราะเป็นพื้นที่มีประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวมาเลเซีย ผ่านเข้าออกคึกคักอยู่แล้ว

วันนี้ (22 ก.ย.) คร.ประพันธ์เผ่า อวกุล ผู้จัดการโครงการการศึกษาความเหมาะสมทางด้าน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย ของกรมทางหลวง วิศวกรชำนาญการพิเศษ จัดปฐมนิเทศศึกษาความเหมาะสมเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังมติคณะรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติงบประมาณ 30 ล้านบาท ทำการศึกษาโครงก่อสร้างอุโมงค์เชื่อมทางหลวงระหว่างจังหวัดสตูลและรัฐ เปอร์ลิส ดังกล่าว โดยให้ทางกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ว่าจ้างให้ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท ไทย เอ็มเอ็ม จำกัด และบริษัท พรี ดีเวลลอปเมนท์ คอนซัลแตนท์ จำกัด ทำการศึกษาสำรวจ

สำหรับ กิจกรรมในวันนี้ มีการร่วมประชุมหารือความเหมาะสม โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมรับฟัง ที่ห้องประชุมโรงแรมวังใหม่ อ.เมือง จ.สตูล โดยมีนายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิด

สำหรับความคืบ หน้าของโครงการก่อสร้างขุดเจาะอุโมงค์ สตูล - เปอร์ลิส นั้น มีการดำเนิน การมา 12 เดือน โดยจากการสำรวจเส้นทาง พบว่าทางประเทศมาเลเซียเห็นด้วยการที่ทางจังหวัด สตูลจะทำการขุดเจาะอุโมงค์ เพื่อเป็นการเชื่อมทางเศรษฐกิจ ทางคมนาคม และการเดินทางให้สะดวกขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างศักย์ภาพการเดินทาง 2 ประเทศ ให้ขนสิ่งสินค้าระหว่างกันอย่างสะดวก พร้อมกับเชื่อมโยงวัฒนธรรม ประเพณี 2 ประเทศ แลกเปลี่ยนความรู้แก่กันอีกทางหนึ่งด้วย

ขณะนาย สมบูรณ์ คำแหง ประชาชนเครือข่ายติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล กล่าวว่า หากมีการจัดทำโครงการอุโมงค์ขึ้นมาแล้ว ด่านวังประจันซึ่งเป็นพรมแดนเชื่อมต่อระหว่าง จ.สตูล กับประเทศมาเลเซียอยู่แล้วจะมีไว้ทำไม ทั้งนี้ ตนต้องการให้มีการพัฒนาด่านวังประจัน ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล มากกว่า ซึ่งต้องยอบรับว่าการเดินทางระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย ผ่านเส้นทางชายแดนด่านวังประจันนั้น เป็นความจำเป็นระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

ทั้งนี้ การพัฒนาเส้นทางเพื่อให้มีการสัญจรที่สะดวก และมีระบบการจัดการผ่านแดนที่มีศักยภาพ เป็นสิ่งที่คนสตูลและคนมาเลเซียเรียกร้องตลอดมา และหากมีการสร้างเส้นทางใหม่หรือจุดผ่านแดนใหม่ หรือจะเพิ่มจุดผ่านแดนอย่างไรก็แล้วแต่ จะต้องมีการศึกษาถึงผลได้ผลเสียในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งจะเป็นการป้องกันความเสียหายที่ไม่อาจเรียกกลับมาได้ และเพื่อมิให้มีการใช้งบประมาณสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นด้วย
ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์

Verification


ฑูตญี่ปุ่นลงพื้นที่สตูล ดูพื้นที่สร้างท่าเรือปากบารา


4 ตค. 2554 14:24 น.


สถานทูตญี่ปุ่น เดินทางลงพื้นที่หารือท่าเรือปากบารากับภาคเอกชนและภาครัฐจังหวัดสตูล มั่นใจ ท่าเรือเป็นประโยชน์เพราะอยู่ใกล้อินเดีย-ตะวันออกกลาง

นายสุรักษ์ ติ้นสกุล ประธานหอการค้า จ.สตูล เปิดเผย "ผู้สื่อข่าว" สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยรวมทั้งนักธุรกิจญี่ปุ่นได้เดินทางมายัง จ.สตูล ในวันที่ 5 ต.ค. เพื่อพบปะ และ ร่วมประชุม กับหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และภาครัฐใน จ.สตูล ณ.ศาลากลาง จ.สตูล เพื่อเข้าหารือนายเหนือชาย จิระอภิรักษ์ รองผวจ.สตูล พร้อมกันนี้จะได้เดินทางไปดูสถานที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่ ต.ปากน้ำ อ.ละงู ซึ่งทางสถานทูตญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจในการที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้ให้ความสำคัญในการที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งมั่นใจได้ว่า รัฐบาลเองได้ให้ความสำคัญต่อฝั่งอันดามันในโครงการขนาดใหญ่ เช่น สะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลาเป็นต้น

เชื่อว่าการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อพื้นที่ภาคใต้และประเทศไทยจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศอินเดียและตะวันออกกลางและ3 ประเทศใน IMTGT ซึ่งสินค้าหลัก ในการผุดท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะประกอบไปด้วยยางพารา ปาล์มน้ำมัน เซรามิก และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเชื่อได้ว่า จะเป็นประโยชน์และ ทำรายได้อย่างมหาศาลให้กับ จ.สตูล และประเทศไทย ดังนั้นทางภาคเอกชนและภาครัฐในพื้นที่ จ.สตูล ได้ทำการผลักดันท่าเรือน้ำลึกปากบารอย่างเต็มที่ เพื่อให้ข้อมูลต่างๆแก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้มากที่สุดส่วนจะสร้างหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประชาชนในจ.สตูล ว่ามีความต้องการอย่างไรทั้งนี้ ทางหอการค้า จ.สตูล และกรมเจ้าท่าเป็นแม่งานหลักที่จะผลักดันและทำการประชาสัมพันธ์โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้เดินหน้าต่อไป

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=532317

ชื่อ

สนข.ผนึกกรมเจ้าท่าดันท่าเรือปากบารา
วันศุกร์ที่ 09 ธันวาคม 2011 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate

สนข.ผนึกกรมเจ้าท่า เร่งสรุปท่าเรือน้ำลึกปากบารา เสนอ"บิ๊กโอ๋"พิจารณากลาง ธ.ค.นี้ ก่อนชงเข้าครม.เห็นชอบดำเนินการต้นปีหน้า หลัง 2 ส.ส.ประชาธิปัตย์ทวงถามเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการของบประมาณ เจ้าท่าเผยยังอยู่ในขั้นตอนทำความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ ส่วนงบในปี 55 ใช้ในการขุดลอกคู คลองเพื่อป้องกันน้ำท่วมไปก่อน ยันพร้อมผลักดันต่อ



นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ได้เร่งหารือกับกรมเจ้าท่าเพื่อสรุปรายละเอียดโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่จังหวัดสตูลและสงขลา โดยเตรียมนำเสนอให้พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในช่วงกลางเดือนนี้เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบดำเนินการในต้นปี 2555 ต่อไป ซึ่งล่าสุดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพื้นที่ภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ 2 ท่านได้สอบถามความคืบหน้าภายหลังจากที่ไม่ปรากฏในการขออนุมัติงบประมาณของการประชุมพิจารณาสภาผู้แทนราษฎรในช่วงนี้ เนื่องจากเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจต่อพื้นที่ภาคใต้และต่อประเทศไทย


"ในการนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการและตั้งงบประมาณพัฒนาโครงการดังกล่าว เนื่องจากกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีท่าเรือน้ำลึกเป็นของตนเอง แม้จะมีที่ท่าเรือแหลมฉบังแล้วก็ตาม แต่สภาพเริ่มหนาแน่นมากขึ้นจึงต้องจัดสร้างเพื่อรองรับไว้ โดยช่วงนี้กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความชัดเจนของโครงการดังกล่าว"


นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า กรณีที่ไม่ได้มีการขอจัดตั้งงบประมาณในช่วงนี้เป็นเพราะว่า กรมเจ้าท่าจะต้องนำงบดังกล่าวไปใช้ในการขุดลอกคูคลองเป็นการเร่งด่วนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ สิ่งสำคัญโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารายังมีช่วงเวลาในการทำความเข้าใจประชาชน จึงสามารถยืดระยะเวลาออกไปอีกสักช่วงหนึ่ง ซึ่งเมื่อครม.เห็นชอบและผลการทำความเข้าใจประชาชนแล้วเสร็จ ก็จะเร่งดำเนินการได้ทันที


"โครงการนี้มีประโยชน์ทั้งต่อพื้นที่และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ทราบว่ามีหลายฝ่ายเห็นด้วยทั้งในพื้นที่และส่วนกลางแต่ยังมีบุคคลบางกลุ่มซึ่งเป็นส่วนน้อยเท่านั้นยังไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์และสื่อความหมายที่ผิด ๆ ไปให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบจนปรากฏกระแสต่อต้านในช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบันประชาชนเข้าใจมากขึ้นแล้ว ดังนั้นคาดว่าในปี 2555 น่าจะเห็นความชัดเจนสำหรับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกของประเทศไทยที่สงขลาและสตูล แม้ว่าในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมาจะถูกคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตีกลับมาให้ดำเนินการตามที่สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลัง ตลอดจนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ให้ความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ท่าเรืออเนกประสงค์แทนท่าเรือน้ำลึกแต่กรมก็ยังไม่ละความพยายามที่จะผลักดันต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการแข่งขันสู้กับประเทศต่าง ๆ ในโลกได้อย่างทัดเทียม"


แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าในโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราว่า เป็นอีกหนึ่งในหลายๆ โครงการที่กระทรวงคมนาคมจะเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น พร้อมกันนี้ยังอยู่ระหว่างการเร่งศึกษาท่าเรืออื่น ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ควบคู่กันไปด้วย เพราะเห็นว่าหากประเทศไทยไม่เร่งพัฒนาหรือสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจตั้งแต่วันนี้ คาดว่าในอีกไม่นานการแข่งขันก็จะไม่สามารถสู้หรือทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียที่นับวันจะต้องแข่งขันกันมากขึ้น


"คาดว่าในวันที่ 14 ธันวาคมนี้คงจะมีการเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจร่วมกันพร้อมเร่งทำเอกสารอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกครั้งในการที่กระทรวงคมนาคมต้องการผลักดันท่าเรือปากบาราให้เป็นท่าเรือน้ำลึกอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยไม่ได้มองข้ามท่าเรือทวาย ในประเทศพม่า แต่เห็นว่าเป็นข้อดีของการพัฒนาท่าเรือในประเทศไทยให้สามารถเปิดประตูทางทะเลและสร้างโอกาสการแข่งขันทางเศรษฐกิจทั้งในวันนี้และในอนาคต โดยในปีหน้าคงจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นหากครม.อนุมัติงบประมาณจำนวน 100 ล้านบาทให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ไปดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโดยเร็ว โดยสศช.ต้องเห็นชอบและคาดว่าจะสามารถสรุปโครงการได้ในปี 2555-56 และน่าจะเปิดประมูลได้เร็วขึ้นหากรัฐบาลต้องการผลักดันจริง ๆ"


ทั้งนี้โครงการการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ขณะนี้กระทรวงคมนาคมเล็งเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางการค้าเชื่อมโยงในเขตเศรษฐกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นศูนย์เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางเรือที่สำคัญไปยังท่าเรือของกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและภูมิภาคต่างๆของโลก ลดการพึ่งพิงท่าเรือของประเทศเพื่อนบ้านและยังช่วยยกระดับการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย สิ่งสำคัญการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราสามารถรองรับเรือขนาด 70,000 ตันได้ 2 ลำ เรือขนาด 50,000 ตันได้ 3 ลำโดยเฉพาะเรือจากเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและยุโรป โดยได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 เฟส และทยอยดำเนินการไปทีละเฟสตามความจำเป็น



จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,695 11-14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตนไท

นั้นคนสุราษ หนับหนุนด้วยคนเพื่ออนาคตเนอะ

ห้ามโพสข้อความที่

วันนี้เอาคู่แข่งของสตูลมาให้ดู  นั้นคือ จังหวัดตรัง  ตอนนี้ เนื่องจากท่าเรือที่ปากบาราถูกต่อต้าน ทำให้ผู้ส่งออกต้องหาทางส่งสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะ ยางพารา ไม้ยางพารา อาหารทะเล ปาล์มน้ำมัน ผ่านทาง ท่าเรือกันตรัง  จนตอนนี้มูลค่าการส่งออก จากท่าเรือกันตรัง ทะลุ 50,000 ล้าน ไปเป็นที่เรียบร้อย  จนขณะนี้รัฐบาลได้เห็นความสำคัญ จนให้งบประมาณ สร้างท่าเรือนาเกลือ ซึ่งอยู่ใกล้ๆท่าเรือกันตรังเพิ่มเติม  และได้มีการเปลี่ยนหมอน และรางรถไฟสายกันตรัง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า และนักท่องเที่ยว

ผมเคยบอกเสมอว่า เมืองท่องเที่ยว กับกับเมืองท่า  มันไปด้วยกันได้  ก็ยกตัวอย่างเมืองปีนัง กับมะละกาไปแล้ว ก็ไม่เอาอีก แล้ว เมืองท่า  กับเมืองอุตสาหกรรมหนัก มันคนละแบบกัน  แต่ NGO ก็พยายามเอามารวมกัน  สุดท้าย ผู้ส่งออก ก็จะเข้าใช้ท่าเรือจังหวัดตรังมากขึ้นเรื่อยๆ  จนต้องมีการขยายท่าขึ้นอีก และนักท่องเที่ยวก็จะเข้าถึงตรังได้ง่ายโดยทางรถไฟ  และระบบถนน

สุดท้ายจังหวัดตรังก็จะกลายเป็นทั้งเมืองท่า และเมืองการท่องเที่ยว เมืองพานิชย์กรรม  เมืองบริการ คล้ายๆ จ.สงขลา ที่มีความหลากหลายด้านเศรษฐกิจ  ลูกหลานที่เรียนจนมาก็ไม่ต้องไปทำงานที่อื่น เพราะเศรษฐกิจมีความหลากหลาย เศรษฐกิจสมดุลเพราะไม่พึ่งอย่างหนึ่งอย่างใดมากเกินไป  แต่จังหวัดที่เน้นการท่องเที่ยวมากเกินไป จะอ่อนแอ หากเกิดอะไรกับการท่องเที่ยว เศรษฐกิจจะไปไมรอด


ตอนนี้ จังหวัดตรังกำลังแย่งชิงความได้เปรียบด้านเมืองท่าจากสตูลไป  แบบช้าๆ  ไม่กระโตกกระตาก  ไปเรื่อยๆ  ขยายโครงที่ละเล็กละน้อย  จน NGO ต้องมึน  รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นท่าเรือใหญ่ไปแล้ว และยังมีโครงการทวาย ที่ทวายตรงนั้นยอมรับว่า  ทวายคือ เมืองท่า และอุตสาหกรรมหนัก รวมกัน  แต่สตูลจะทำแค่เมืองท่า ไว้ขนสินค้าในภาคใต้ เพราะปัจจุบันสินค้าภาคใต้ ต้องใช้ท่าเรือมาเลเซียอยู่ ปีละ 4 แสนล้าน  เมื่อสตูลไม่เอา ก้ต้องไปผลักดันที่ท่าเรือกันตัง  ผลักดันเรื่อยๆ  อย่าให้ NGO รู้  พวกนี้ชอบบอกชาวบ้านเกินความจริง   

ส่วนหลักฐานการผลักดันท่าเรือกันตรังจะแปะข่าวได้  เชิญอ่านได้