ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

หาดทิพย์ผนึกกำลัง สานต่อกิจกรรมรักษ์น้ำซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ ที่สุราษฎร์ธานี

เริ่มโดย ทีมงานประชาสัมพันธ์, 11:03 น. 03 พ.ค 57

ทีมงานประชาสัมพันธ์

โคคาโคล่า หาดทิพย์ ผนึกกำลังร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี สานต่อกิจกรรมรักษ์น้ำซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ และระบบประปาภูเขา  ลุ่มน้ำคลองยัน ปี 3 

•   ประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมด 15,484 คน หรือ 5,477 ครัวเรือน ในพื้นที่ทั้งหมด 1,136 ตารางกิโลเมตร

•   อยู่ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดระนอง มีประชากรตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี

•   เกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง และมีเครือข่ายในการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


[attach=5]

มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โคคา-โคลา(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ร่วมกับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผนึกกำลังร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำคลองยัน มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต และชุมชนในพื้นที่ฯ นำโดย นายเกรียงศักดิ์  มากมี รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุกิจ  มีพริ้ง ปลัดอาวุโสอำเภอวิภาวดี นายประวีณ  จุลภักดี ประธานมูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต และนายชอบ  นิตรลาภ รองผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ บมจ.หาดทิพย์ คณะผู้บริหาร และพนักงานอาสาสมัคร จากกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองยัน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี และสื่อมวลชนในจังหวัดสุราษฏร์ธานี กว่า 200 คน ร่วมกันซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ และสร้างระบบประปาภูเขา ณ หมู่บ้านคลองใส ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เป็นระยะที่ 3 ของโครงการสร้างเสริมศักยภาพองค์กรชาวบ้าน และเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำคลองยัน ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญหาการ   บุกรุกพื้นที่ ทำลายระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำ รวมถึง ชุมชนขาดแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค ขาดการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่ และขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ดังนั้น มูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย จึงได้สนับสนุนงบประมาณ 5,172,500 บาท ในปี พ.ศ.2551 ซึ่งดำเนินโครงการต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 3 เป้าหมาย คือ เมื่อสิ้นสุดในระยะที่ 3 นี้ จะเกิดฝายชะลอน้ำ 140 ฝาย ต่อเติมประปาภูเขา 7 พื้นที่ ปลูกหญ้าแฝกและไม้ยืนต้น จำนวน 30,000 ต้น สร้างถังเก็บน้ำสำหรับบริโภค 2 ถัง  ติดตั้งวิทยุแม่ข่าย 5 พื้นที่ และสร้างเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ 5 เขต มีประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหมด 15,484 คน หรือ 5,477 ครัวเรือน ในพื้นที่ทั้งหมด 1,136 ตารางกิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดระนอง มีประชากรตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย ในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี

[attach=16]

นายชอบ  นิตรลาภ รองผู้จักการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มธุรกิจ              โคคา-โคลา ประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โคคา-โคลา(ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด มีความมุ่งมั่นผสานความยั่งยืนในทุกสิ่งที่ทำ นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังมุ่งสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคม โดยคำนึงถึงสิ่งที่สังคมหรือชุมชนนั้นต้องการเป็นสำคัญ หนึ่งในพันธกิจด้าความยั่งยืนที่โคคา-โคลา ให้ความสำคัญคือ การคืนน้ำสู่ชุมชนและธรรมชาติอย่างปลอดภัยในปริมาณเทียบเท่ากับปริมาณที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มภายในปี 2563 จึงเป็นที่มาของ "โปรแกรมรักษ์น้ำ" ซึ่งเป็นโครงการด้านความยั่งยืนของโคคา-โคลา โดยเราต้องการส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตั้งแต่ต้นจนจบ เริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหา หาทางแก้ไขร่วมกัน และวัดผลร่วมกัน ปัจจุบัน "โปรแกรมรักษ์น้ำ" สร้างประโยชน์ให้กับคนไทยทั้งทางตรง และทางอ้อมกว่า 1 ล้านคน ทั่วประเทศ

โครงการสร้างเสริมศักยภาพองค์กรชาวบ้านและเครือข่ายอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำคลองยัน เป็นส่วนหนึ่งภายใต้ "โปรแกรมรักษ์น้ำ" โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโคคา-โคลา และมูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ในการผนวกเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ และป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองยัน ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง และมีเครือข่ายในการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน นายชอบ  นิตรลาภ กล่าวในตอนท้าย