ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

ศาลยกฟ้อง คดี"อภิสิทธิิ์-สุเทพ"สั่งสลายม็อบ ชี้เป็นอำนาจศาลอาญาฯนักการเมือง

เริ่มโดย itplaza, 11:17 น. 28 ส.ค 57

itplaza

ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง คดีอัยการฟ้อง "อภิสิทธิ์-สุเทพ" สั่งสลายม็อบเสื้อแดง ชี้เป็นอำนาจวินิจฉัยของศาลฎีกาฯนักการเมือง

ศาลยกฟ้อง คดีอภิสิทธิิ์-สุเทพสั่งสลายม็อบ ชี้เป็นอำนาจศาลฎีกาฯนักการเมือง 

พระสุเทพ ปภากโร อายุ 64 ปี เดินทางมาศาลอาญา
       
       ที่ห้องพิจารณา 707 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (28 ส.ค.) ศาลนัดฟังคำสั่งวินิจฉัยอำนาจฟ้อง คดีหมายเลขดำอ.4552/2556 และ อ.1375/2557 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ อายุ 50 ปี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือพระสุเทพ ปภากโร อายุ 64 ปี เลขาธิการ กปปส. อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตผอ.ศอฉ. เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานร่วมกันก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำหรือฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 และ 84 กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 7 เม.ย. - 19 พ.ค. 2553 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งสอง ได้ร่วมกันกระทำผิดโดยร่วมกันใช้หรือสั่งการให้เจ้าหน้าที่หน่วยทหารต่างๆ ใช้อาวุธปืนชนิดร้ายแรง ปฏิบัติการผลักดัน ควบคุมพื้นที่ เข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามคำสั่ง ศอฉ.ซึ่งทำให้เห็นมีผู้ถึงแก่ความตาย และบาดเจ็บจำนวนมาก
       
       สืบเนื่องคดีนี้พระสุเทพ จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเช่นเดียวกับที่นายอภิสิทธิ์ จำเลยที่ 1 ได้ยื่นไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ซึ่งจำเลยทั้งสองเห็นว่าดีเอสไอไม่มีอำนาจสอบสวน ขณะที่ผ่านมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ก็ได้รับเรื่องที่มีการกล่าวหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบในเรื่องเดียวกันนี้ไว้ ซึ่งเบื้องต้นศาลได้สอบถามจำเลยทั้งสองแล้วทราบว่า ป.ป.ช.ก็เคยเรียกจำเลยทั้งสองไปชี้แจง แต่ยังไม่เคยแจ้งข้อกล่าวหา ขณะที่อัยการโจทก์และทนายความของญาติผู้เสียชีวิต โจทก์ร่วมก็ได้แถลงคัดค้านคำร้องของจำเลยทั้งสองดังกล่าวด้วย
       
       ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้ว่าจำเลยที่ 1 และ 2 ได้มีประกาศสถานการฉุกเฉินฯ และมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารใช้อาวุธและกระสุนปืนจริง จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิติ แต่ก็เป็นผลสืบเนื่องมาการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี จึงพิพากษา คดีอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะวินิจฉัย ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจ ซึ่งหากป.ป.ช.พิจารณาสำนวนคดีแล้วชี้มูลว่ามีความผิดก็จะต้องส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยต่อไป

ขอบคุณเนื้อหา manager
ทีมา http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=1&news_id=39094&page=1