ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

บทความแปล: วิกิลีกค์ฉบับเต็ม – ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์สนทนาถึง

เริ่มโดย แวะทักทาย, 14:29 น. 22 ส.ค 54

แวะทักทาย

บทความแปล: วิกิลีกค์ฉบับเต็ม – ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์สนทนาถึงสถานการณ์ทางการเมือง



ที่มาของเคเบิ้ล: จากเวปไซค์ของคุณ Andrew MacGregor Marshall
http://www.zenjournalist.com/2011/06/06bangkok965/

DEMOCRAT PARTY LEADERS DISCUSS POLITICAL SITUATION
ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์สนทนาถึงสถานการณ์ทางการเมือง

เคเบิ้ลฉบับนี้ เขียนเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ. ศ. 2549
________________________________________


แปลโดย: ดวงจำปา

ลับ: เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ แอล บอยซ์ 1.4 (b) (d)

1 (ซี) บทสรุป: เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ ได้ เข้าไปแวะเยี่ยมอดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ซึ่งเป็นบุคคลอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ นายชวนเชื่อว่าฝ่ายตรงข้ามของนายกรัฐมนตรีทักษิณ กำลังโตวันโตคืนขึ้น เพราะผลของเรื่องการขายหุ้นของบริษัทชินคอร์ปที่อื้อฉาว (อ้างอิงชุด เอ และชุดบี) นายชวนกล่าวว่า ความพยายามของนายกทักษิณที่จะบ่อนทำลายสถาบันในรูปแบบประชาธิปไตยมาเป็นเวลา มากกว่าห้าปีนั้น ก็คือการกระทำความผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดอย่างอุกกรรจ์ทีเดียว แต่เขาไม่มีอำนาจที่จะช่วยเคลื่อนพลังฝ่ายตรงข้ามของนายกรัฐมนตรีอย่างที่ เกิดในเรื่องของคดีหุ้นชินคอร์ปอันอื้อฉาวนั้นได้ ถึงแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์เอง ไม่ได้ออกมาสนับสนุนกลุ่มผู้นำการปลุกปั่นต่อต้านนายกทักษิณคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล อย่างเปิดเผยก็ตาม นายชวนมีความเห็นพ้องต้องกันหลายเรื่องเกี่ยวกับข้อแถลงของนายสนธิ ผู้แทนคนอื่นๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ในการพบปะสนทนานั้น ได้ให้ข้อคิดเห็นถึงเรื่องที่มีความอ่อนไหวอยู่สองประเด็น นั่นก็คือ เรื่องกรณีการให้สินบนเกี่ยวกับเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดในกระเป๋าสัมภาระ (CTX ดูได้จาก บทอ้างอิง ชุด ดี) และ การเจรจาต่อรองในข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรี (FTA) ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ได้เร่งเร้าให้ทางประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยนำข้อมูลเหล่านี้ออกมาให้ ภายใต้สัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันในเรื่องทางอาญา (MLAT – Mutual Legal Assistance Treaty) เกี่ยวกับเรื่องข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรี ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ได้เตือนว่า ทางประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเสี่ยงต่อการถูกดึงลงมาอยู่ตรงกลาง ภายใต้การเผชิญหน้ากันทางการเมืองอย่างเคร่งเครียด ระหว่างฝ่ายของนายกทักษิณ และ ฝ่ายตรงข้ามของเขา ถ้าเรื่องการเจรจาต่อรองในข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรียังดำเนินอยู่ต่อไป - จบบทสรุป

อุปสรรคของนายกทักษิณ

2 (ซี) เมื่อวัน(พุธ)ที่ 15 กุมภาพันธ์ (พ.ศ. 2549) เอกอัครราชฑูตบอยซ์ ได้พบกับอดีตนายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย และ สมาชิกระดับผู้นำอีกหลายคนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเกียรติ สิทธิอมร ต่อการสนทนาสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย นายชวนได้กล่าวว่า ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อตัวนายกรัฐมนตรีนั้นกำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากเรื่องอื้อฉาวที่อยู่รอบๆ เขาในการในการขายหุ้นของชินคอร์ป (อ้างอิง ชุด เอ และ บี) นายกทักษิณได้บ่อนทำลายสถาบันในรูปแบบประชาธิปไตยมาเป็นเวลามากกว่าห้าปี แล้ว แต่ผู้คนก็ยังไม่รู้ทราบอย่างแท้จริงถึงปัญหาเหล่านี้ ในทางตรงกันข้าม การขายหุ้นของชินคอร์ปนั้น กลับนำความสนใจมาสู่สายตาทางสาธารณชนได้

3. (ซี) เอกอัครราชฑูตได้กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 นั้น ได้จัดตั้งแนวระเบียบขององค์กรสถาบันอิสระเพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล กับอำนาจของทางฝ่ายรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ภายใต้การบริหารของนายกทักษิณนั้น สถาบันเหล่านี้ไม่ปฏิบัติอย่างเป็นผลได้ (ข้ออ้างอิง ชุด เอ) นายชวนได้กล่าวต่อไปว่า สถาบันเหล่านี้ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อสมัยเขาเป็นนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินงานมาอย่างดีทีเดียว ในสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์ครองอำนาจอยู่ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงว่า ปัญหาเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ที่แนวคิด แต่มันอยู่กับรัฐบาลชุดปัจจุบันนี่เอง เขาเล่าขานถึงรายงานฉบับล่าสุดเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่บริหารอยู่ในขณะนี้ (พรรคไทยรักไทย หรือ ทรท) ได้ควบคุมอำนาจทางฝ่ายวุฒิสภา ซึ่ง ตามที่รัฐธรรมนูญได้กล่าวไว้ มันจะต้องเป็นพวกที่ไม่เข้าข้างในพรรคการเมืองฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด "ผู้คุมคะแนนเสียง" ซึ่งเป็นวุฒิสภาของพรรคไทยรักไทย ได้เคยถูกถามอย่างไม่เป็นทางการว่า มีสมาชิกวุฒิสภากี่คนที่ได้รับเงินจากพรรคไทยรักไทย ผู้คุมคะแนนเสียงก็ได้เพียงตอบอย่างลวกๆ ว่า ประมาณ 60 คน อยู่ในบัญชีเงินเดือนของพรรคไทยรักไทย นี่ก็เป็นการเน้นให้เห็นถึง หนทางที่นายกทักษิณและพรรคการเมืองของเขาได้กระทำการล้มล้างระบบตรวจสอบและ ถ่วงดุลให้หมดสิ้นไป

4. (ซี) เอกอัครราชฑูตได้ถามว่า สถานการณ์เช่นนี้จะสามารถแก้ไขยุติได้อย่างไร ในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว, ทรท (พรรคไทยรักไทย) ก็ชนะอีกอยู่ดี นายชวนเห็นพ้องว่า ทรท นั้น มีความแข็งแกร่ง แต่ เน้นถึงความสำคัญในการเพิ่มเตือนสติให้กับสาธารณชนทราบถึงเรื่องของการกระทำ อันชั่วร้ายสามานย์ของนายกทักษิณ เอกอัครราชฑูตเห็นพ้องว่า เป็นการเริ่มต้นของการเบนเข็ม ด้วยการที่มี บทความบางอย่างตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้นว่า "หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนจำหน่ายสูงที่สุดในประเทศ ก็ได้เริ่มตีพิมพ์บทความวิพากย์วิจารณ์ฝ่ายรัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเกียรติ์ ก็ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า หนังสือพิมพ์บางฉบับก็ได้เริ่มหันเหออกไปจากการเห็นพ้องกับส่วนของทางฝ่าย พรรคไทยรักไทย เพราะว่า สาธารณชนได้เรียกร้องให้มีข่าวสารมากขึ้นในประเด็นเหล่านี้ และ หนังสือพิมพ์ก็ต้องตอบสนองเรื่องแบบนั้น นายชวนอ้างอิงถึงการผุดกำเนิดของ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นผู้ปลุกปั่นต่อต้านนายกทักษิณ นายชวนกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นไม่ได้ออกมาสนับสนุนนายสนธิอย่างเปิดเผย เพราะว่า มันจะไปทำลายนายสนธิ ว่าเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับกลุ่มนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม (อย่างพรรคประชาธิปัตย์ - ผู้แปล) อย่างไรก็ตาม นายชวนก็ได้บ่งบอกถึง ความเห็นพ้องต้องกันเกือบทุกอย่างที่นายสนธิได้พูดไว้ เอกอัครราชฑูตยังได้บันทึกว่า แม้กระทั่งพรรคพวกในระดับสูงของนายกทักษิณเอง ก็ยังบอกว่า สิ่งที่นายสนธิได้กล่าวอ้างทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องจริง (ตามข้ออ้างอิง ชุด ซี) นายชวนเชื่อว่า นายกทักษิณได้ตัดสินใจถอนคดีฟ้องร้องต่อนายสนธินั้น ก็เพราะว่าไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับผู้กล่าวหา (นายสนธิ) ในการพิจารณาความ และต้องตอบคำถามยากๆ หลายเรื่องด้วย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรินทร์ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการระดมพลครั้งต่อไปของกลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดไว้ในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ (2549) เขาพูดเป็นนัยว่า การชุมนุมในครั้งนี้ จะไม่จบลงในวันอาทิตย์ แต่จะมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความกดดันให้ร้อนสูงขึ้นมาอีกขีดหนึ่งกับตัวนายกรัฐมนตรี

สถานีวิทยุ ว๊อยซ์ ออฟ อเมริกา (VOA), เครื่องตรวจระเบิดในกระเป๋าสัมภาระ (CTX) และ ข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรี (FTA)

5 (ซี) นายชวนได้เพิ่มข้อวิงวอนร้องขออย่างหนักแน่นว่าการออกอากาศของสถานีวิทยุ เสียงจากประเทศสหรัฐอเมริกา (ว๊อยซ์ ออฟ อเมริกา) ให้คงดำเนินอยู่ต่อไป บันทึกว่า เป็นเรื่องที่สำคัญเพื่อเป็นแหล่งข่าวจากต่างประเทศสำหรับผู้รับฟังชาวไทย ผู้สนทนาทั้งหมดก็ยังได้กล่าวให้ทราบในเรื่อง ของการเฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีที่กำลังจะมาถึง ของผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ คือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช (ซึ่งเป็นผู้นำ "ขบวนการเสรีไทย" ในการต่อต้าน ที่ทางรัฐบาลไทยได้ให้ความร่วมมือกับทางฝ่ายประเทศญี่ปุ่น เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง) พรรคประชาธิปัตย์หวังว่า จะได้มีการบันทึกแถลงการณ์อยู่ในบันทึกของรัฐสภาประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบในวาระนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเกียรติ์ ได้นึกถึงประเด็นเรื่องเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดในกระเป๋าสัมภาระขึ้นมาได้ (อยู่ในชุดอ้างอิง ดี) และได้กล่าวว่า กลุ่มของเขายังรอการคำตอบจากสำนักงานอัยการสูงสุดของประเทศไทย ในเรื่องคำร้องเกี่ยวกับสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันในเรื่องทางอาญา เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มขึ้น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พูดถึงความกังวลใจที่ว่า ทางฝ่ายรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เตรียมพร้อมปฏิบัติเลยเกี่ยว กับข้อเรียกร้องถึงรายละเอียดเพิ่มขึ้นที่ได้ขอไปแล้ว และ เน้นให้ทราบว่า ทางฝ่ายรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาควรที่จะแบ่งความสนใจในการตอบโต้ต่อการ ปฏิบัติใดๆ ก็ตามที่เต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่นในเชิงธุรกิจ เราบอกเขาว่า ทางกระทรวงยุติธรรมของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ก็กำลังทำงานในคำขอร้องเรื่องนี้อยู่

6 (ซี) ท้ายที่สุด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายเกียรติ ก็ได้ยกประเด็นในเรื่องของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรีขึ้นมา (หมายเหตุ: ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้คัดค้านข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรีในทางหลักการ แต่ได้เร่งเร้าอย่างซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ทางฝ่ายรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ไม่ควรที่จะอยู่ในการเจรจาต่อรองอีกต่อไป เพราะว่า รัฐบาลของนายกทักษิณนั้น ได้มีความด่างพร้อยมัวหมองในเรื่องการทุจริตคอรัปชั่นและไม่ได้ดำเนินการ เจรจาต่อรองในเรื่องที่โปร่งใสเลย ท่ามกลางการวิพากย์วิจารณ์ในเรื่องอื่นๆ ด้วย ฝ่ายตรงข้ามของนายกทักษิณนั้น ได้ยึดเอาข้อบกพร่องต่างๆ ในเรื่องกระบวนการเจรจาต่อรองในข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรีของทางฝ่ายรัฐบาล ไทย ว่าเป็น ข้อคัดค้านที่ตรงไปตรงมาอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถ "ทุบ" นายกรัฐมนตรีได้ – จบหมายเหตุ) นายเกียรติได้เตือนว่า ทางฝ่ายรัฐบาลสหรัฐอเมริกา กำลังถูกดึงให้เข้าไปอยู่ในข้อขัดแย้งของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศไทย เนื่องจากจังหวะเวลาของการเจรจาในเรื่องข้อตกลงเขตการค้าอย่างเสรี เหมือนกับที่ประเทศสิงค์โปร์ได้ถูกนำเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากใจเนื่อง จากการซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป โดยบริษัทในประเทศสิงค์โปร์


ข้อคิดเห็น:

7 (ซี) ความสามารถในการนำของพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นกลุ่มที่มีความประทับใจมาก เนื่องจากมีประวัติที่ในเรื่องความมุ่งมั่นต่อรัฐบาลในรูปแบบประชาธิปไตย การที่พวกเขาเป็นฝ่ายตรงข้ามต่อพรรคไทยรักไทยและ นายกทักษิณนั้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นเพราะว่า พวกเขาสักกัดอยู่กับพรรคตนเอง แต่ได้ส่งผลกระทบให้กับความกังวลใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับการปกครองในรูปแบบ เผด็จการมีอำนาจเด็ดขาดของตัวนายกรัฐมนตรีเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบทบาทของเขา (นายกทักษิณ) ที่มีต่อการบ่อนทำลายสถาบันต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาแบบ "นกแรกเกิด" ซึ่งพวกเขา (ทางฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์) ได้อุปถัมภ์ค้ำชูมาระหว่างวาระที่นายชวนเป็นนายกรัฐมนตรี ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้อยู่ในฉากหลังต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระดับอย่าง น่าประหลาดใจ เมื่อสังคมของพลเรือนและผู้ปลุกระดมอย่างนายสนธิ ได้นำประชาชนออกมาต่อต้านนายกรัฐมนตรี เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า พวกเขานั้นได้รับกำลังใจโดยพลังคลื่นลูกใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นในเรื่อง การวิพากย์วิจารณ์ต่อนายกทักษิณ เราเชื่อว่า พวกเขาอาจจะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปเกี่ยวกับผลกระทบต่อคดีอื้อฉาวในการขาย หุ้นของบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเกาะติดอยู่กับตัวนายกรัฐมนตรี ถึงแม้ว่าการซื้อขายนั้น ได้ขยายกลุ่มผู้ตำหนิตัวนายกทักษิณ ให้กว้างขวางมากขึ้น มันก็ยังไม่เริ่มถึงจุดการชุมนุมระดมพลอย่างใหญ่โตมโหฬาร ที่นายสนธิและบุคคลอื่นๆ คาดหวังไว้ได้ แต่การเปิดเผยข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการซื้อขายที่เป็นเรื่องโต้เถียงกันอยู่ นั้น สามารถเปลี่ยนทัศนคติของทางสาธารณชนได้ – จบข้อคิดเห็น

บอยซ์
________________________________________

ความคิดเห็นของผู้แปล:

จาก เคเบิ้ลฉบับนี้ เราจะเห็นได้ว่า การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้กระทำการต่อต้านรัฐประหารเลย เนื่องจากตัวเอกอัครราชฑูตบอยซ์นี่แหละ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดสนินสนมกับอำมาตย์ชั้นสูง การเขียนเคเบิ้ลของเขาแต่ละฉบับนั้น กลายเป็นการสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทักษิณอย่างออกหน้าออกตา แม้กระทั่งทำการพบปะกับกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม กระทำการเป็นปรปักษ์กับรัฐบาลของประชาชน

บทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีต่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น มาจากท่อน้ำเลี้ยงเดียวกัน คือ ตัวอำมาตย์ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สั่งการในรูปของพรรคการเมือง (เพื่ออ้างหลักนิติธรรม) และ รูปของการปลุกระดม (เพื่ออ้างหลักการคลั่งชาติ) เมื่ออ่านเคเบิ้ลแต่ละฉบับ ตัว jigsaw เล็กๆ มันก็เริ่มปะติปะต่อ กลายเป็นภาพว่า ทำไมพรรคการเมืองพรรคนี้ ถึงได้สร้างภาพลวงตาให้กับคนไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปี

พรรคการเมืองนี้ จะต้องสาดโคลนกับพรรคตรงข้ามอยู่ตลอดเวลา เป็นพรรคการเมืองที่ไร้ฝีมือในการบริหาร การเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นนั้น ปรากฏให้เห็นในหลักฐานจากวิกิลีกค์อีกหลายฉบับ เราจะไม่เห็นแผนการสร้างสรรค์กับประเทศชาติเลย เพราะ พรรคการเมืองนี้ เอาแต่อ้างว่า บุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้าม คือผู้ไม่จงรักภักดีและเป็นผู้ทำลายสถาบัน แต่เมื่อตนเองไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน ก็เลยขยายขอบเขตไปให้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ปลุกระดมมวลชน โดยการดึงเอาสถาบันหลักของชาติ เข้ามาเป็นข้ออ้าง และเรายังเห็นว่า บุคคลระดับผู้นำของพรรค ยังรู้ถึงยุทธศาสตร์ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง เหมือนกับว่า เป็นผู้ร่วมร่างแผนอันชั่วร้ายเหล่านี้ด้วยกัน

เรื่อง การขายหุ้นที่ไม่ต้องจ่ายภาษีนั้น ก็เป็นกฎหมายตามที่เขามีกันอยู่ แต่การใส่ร้ายของบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์ว่า นายกทักษิณมีความชั่วร้ายสามานย์ (เนื่องจากการขายหุ้น) และยังเบี่ยงเบนประเด็นจริงจากกฎหมายด้วย

เรื่องแบบนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ใส่ร้าย ถึงขนาดที่ว่า วุฒิสมาชิกนั้น ได้รับเงินตอบแทนจากพรรคไทยรักไทย ซึ่งก็แปลกใจที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์หลักฐานหรือข้อเท็จจริงใดๆ

ตัว เอกอัคคราชฑูตบอยซ์เอง ก็เป็นผู้เติมเชื้อไฟให้ลามทั่วทุ่ง เนื่องจากเขามีความสัมพันธ์และสนิทชิดชอบกับคณะองคมนตรีหลายคน รวมไปถึง ราชเลขาธิการxxxxด้วย ดังนั้น ข่าวที่ตนเองได้รับมา จึงเป็นข่าวในแง่ลบโดยสิ้นเชิง เพราะบุคคลทุกๆ คนที่ได้กล่าวมานั้น เป็นปรปักษ์กับนายกรัฐมนตรีทักษิณทั้งสิ้น อีกประการหนึ่งก็คือว่า ในขณะนั้น ยังไม่มีการประสานงานของกลุ่มผู้รักประชาธิปไตย เนื่องจาก ไม่คิดกันว่า พิษร้ายนั้น มันมากกว่าที่เราได้เห็นกันเสียอีก

อย่าง ที่ดิฉันกล่าวไว้ในบทความแปลหลายฉบับแล้วว่า สิ่งที่พวกเราจะต้องเรียนรู้ก็คือ เราต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ อย่าให้เกิดความผิดพลาดเหมือนสมัยนายกทักษิณ มันเป็นบทเรียนที่เจ็บมาก ที่ประเทศมหาอำนาจหนึ่งในโลก คือประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีทัศนคติในแง่ลบกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เนื่องจากตัวเอกอัครราชฑูตของประเทศ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับบุคคลที่เป็นศัตรูกันกับพรรคทางการเมืองที่บริหารงานแผ่นดินอยู่

ดวงจำปา USA