ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

เปิดม่านปฏิบัติการเพชรเกษม 41 จี้แผนพัฒนาด้ามขวานด้วยสีเขียว

เริ่มโดย ทีมงานบ้านเรา, 09:33 น. 23 ส.ค 54

ทีมงานบ้านเรา

เปิดม่านปฏิบัติการเพชรเกษม 41 "หมอนิรันดร์" หนุนชาวบ้านกำหนดแผนพัฒนาเอง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 สิงหาคม 2554 19:56 น.    

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เริ่มขึ้นแล้วที่วนอุทยานเขาพาง จ.ชุมพร โดยเครือข่ายประชาชนภาคใต้ได้ร่วมกิจกรรมอย่างคึกคัก พร้อมอ่านคำประกาศฉบับที่ 1 ด้าน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ตอกย้ำความสำคัญของสิทธิชุมชน ซึ่งจะผลักดันให้แก้วิกฤตของสังคมที่ถูกกลุ่มผู้มีอำนาจใช้โครงการพัฒนาเป็น เครื่องมือผูกขาดทั้งอำนาจและทรัพยากรธรรมชาติ ก่อนฝากให้กิจกรรมในครั้งนี้ร่วมเปลี่ยนแปลงการพัฒนาที่มาจากความต้องการของ ชุมชน และให้รัฐเร่งกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
       
       วันนี้ (21 ส.ค.) เวลา 16.00 น.ณ วนอุทยานเขาพาง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เครือข่ายประชาชนภาคใต้ จัดกิจกรรม "ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 คนใต้กำหนดอนาคตตนเอง" โดยมีประชาชนจากทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ เครือข่ายสตรี 14 จังหวัด รวมถึงในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเข้ามาประกอบอาชีพในภาคใต้เข้าร่วมอย่างคึกคัก โดยมีการจัดนิทรรศการ และเปิดเวทีวิชาการ การแสดงศิลปวัฒนธรรมจนกระทั่งเวลา 22.00 น.ของคืนนี้ พร้อมทั้งปักหลักค้างแรมเพื่อร่วมกิจกรรมต่อในวันพรุ่งนี้ โดยมีไฮไลท์ที่การแพลงกิ้งไม่เอาแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้
       
       นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวสิทธิพลเมืองต่อการพัฒนาแผนภาคใต้ที่ยั่งยืน ว่า รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และนี่เป็นความหมายของ ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ที่บ่มเพาะการเผชิญหน้ากับปัญหาโครงการพัฒนาต่างๆ จึงรวมตัวกันปฏิเสธและบอกความต้องการแนวทางพัฒนาที่ตนเองต้องการ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของคนใต้ที่แสดงออกถึงความเป็นพลเมือง ที่มีจิตสำนึกในการเป็นอิสระ ปกครองตนเอง ตลอดจนกำหนดโชคชะตาและต่อต้านอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรม รวมถึงบอกกล่าวกับรัฐบาลชุดต่อไปด้วยว่าคนใต้ต้องการการพัฒนาเช่นไร และรัฐต้องให้ความสำคัญกับเสียงเหล่านี้ ด้วยหลักความเป็นธรรมด้วยความเคารพในหลักสิทธิชุมชนที่เป็นอำนาจของประชาชน
       
       สิ่งที่ทำให้ประชาชนอยู่อย่างไม่ปกติสุข ไม่ได้มีเฉพาะปัญหาข้าวยากหมากแพง ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เงินเดือนปริญญาตรีเพิ่มเป็น 15,000 บาท แม้ทุกคนยังไม่ได้รับแต่ข้าวของขึ้นราคาแล้ว ปัญหาภัยธรรมชาติก็กลายเป็นเหยื่อโอชะของนายทุนและนักการเมืองที่จะเข้ามา คอรัปชั่นโครงการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ กลายเป็นวิกฤตความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถกำหนดชีวิตของตัวเองได้ เพราะถูกจำกัดด้วยคนออกนโยบายเพียงไม่กี่ร้อยคนในสภา ซึ่งเราเองได้มอบอำนาจเพื่อกลับสร้างปัญหาให้ชาวบ้านต้องเดือดร้อนและออกมา ร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิถึงแผนพัฒนาทะเลชายฝั่งภาคใต้ ว่าจะมีแผนพัฒนาที่ทำลายฐานทรัพยากร โดยไม่คำนึงถึงความเหลื่อมล้ำของการมีสิทธิในการประกอบอาชีพ รัฐทำโครงการให้ทรัพยากรส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือของนายทุน เฉพาะ จ.สตูล มีโครงการใหญ่ถึง 5 โครงการ, จ.นครศรีธรรมราช มีกว่า 20 โครงการ เมื่อเข้ามาแล้วประชาชนจะอยู่ที่ไหน และมีตัวอย่างการพัฒนาอย่างไร้ทิศทางของนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เปลี่ยนวิถีชีวิตคนที่มีความสุขมาเป็นทาสของโรงงานอุตสาหกรรม
       
       และจากการตรวจสอบพบว่า ถูกกำหนดโดยทุนข้ามชาติ ทุนรัฐวิสาหกิจว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศมาวางแผนการพัฒนาในภาคใต้ ทั่วประเทศ ซึ่งตั้งแต่ จ.ชุมพร ลงมามีถ่านหิน บ่อน้ำมันในอ่าวไทย และได้มีการขีดเส้นแบ่งสัมปทานแบ่งเค้กประเทศไทยในโครงการจัดการพลังงานแร่ บ่อน้ำมันเรียบร้อยแล้ว โดยให้รัฐวางแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบลอจิสติกส์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมไม่ใช่เพื่อให้ประชาชน แผนพัฒนาภาคใต้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
       
       ขณะนี้ภาคใต้ยังอุดมสมบูรณ์ไม่เหมือนภาคอีสานที่ถูกทิ้งจนหมดแล้ว นายทุนจึงหันหน้ามาพุ่งเป้าที่ทรัพยากรของภาคใต้ แม้ว่าคนใต้จะไม่ปิดกั้นการพัฒนา แต่ต้องการให้มีการพัฒนาเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของตัวเองว่าจะกำหนดอนาคต อย่างไร ให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างกระจายในทุกกลุ่ม รัฐจึงต้องเข้ามาให้ข้อมูลข่าวสารว่าโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไรให้รอบด้านทั้งข้อดีข้อเสีย เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ
       
       นพ.นิรันดร์ ยังฝากถึงเครือข่ายประชาชนภาคใต้ เพื่อต่อยอดปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยให้ข้อคิดว่า 70 กว่าปีที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยเห็นชัดว่า ประชาชนได้มอบอำนาจให้กับคนกลุ่มหนึ่งกลับทำให้คนส่วนใหญ่ถูกช่วงชิงผล ประโยชน์ และถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องยอมรับการกระจายอำนาจ และเพื่อเป็นทางรอดของสังคมไทยอยากฝากให้เครือข่ายฯ ร่วมผลักดันทางด้านนโยบายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม ในประเด็นว่ารัฐบาลต้องเปิดให้ประชาชนเป็นส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเองได้, แก้ไขกฎหมายลูกที่ล้าหลังให้คำนึงถึงสิทธิชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับประชาชนทั่วประเทศ เช่น ข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับกรมป่าไม้ เป็นต้น
       
       ด้าน นายศศิน เฉลิมลาภ มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร กล่าวว่า หลังจากเกิดภัยพิบัตสึนามิที่ประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ทำให้ทะเลฝั่งอ่าวไทยกลายเป็นเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรม แหล่งพลังงาน ภาคใต้แทนที่คอคอดกระ โดยเปลี่ยนโฉมภาคใต้และเชื่อมอันดามันเพียงแค่ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการโยนหินถามถามที่จะถมทะเลห่างจากฝั่งเพียง 10 กิโลเมตร เพื่อสร้างเมืองกลางอ่าวไทยในแถบ จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร และกรุงเทพ ซึ่งเป็นแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการยึดทะเลไทยและภาคใต้เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยมีตัวอย่างการพัฒนาของประเทศดูไบ
       
       "ที่ผ่านมา รัฐบาลให้นโยบายกว้างๆ เพื่อกำหนดภาคใต้เป็นที่พัฒนาแต่ไม่ระบุพื้นที่ และให้ภาคเอกชนรุกการพัฒนาเป็นระยะๆ เช่นเดียวกับรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่จะไม่ทำอะไรบุ่มบ่ามแน่นอน แต่เชื่อว่าแหล่งพัฒนาด้านพลังงานนั้นจะอยู่ที่ จ.ชุมพร แน่นอน อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เป็นรูปแบบการทำงานที่เชื่อมโยงชาวบ้าน เพื่อสื่อผ่านนายกรัฐมนตรีว่าคนภาคใต้ไม่ยอมรับการพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม เพื่อรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม" นายศศิน กล่าว
       
       เครือข่ายประชาชนภาคใต้อ่านคำประกาศฉบับที่ 1 ผ่านประชาชนคนไทย สื่อมวลชน และคนทั่วโลก ถึง "ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เราไม่ต้องการแผนพัฒนาทำลายชีวิต คนท้องถิ่นต้องการกำหนดชีวิตตนเอง" โดยมี นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี เป็นตัวแทนอ่านคำประกาศใจความว่า
       
       ก่อนหน้าการจัดตั้งรัฐบาลปัจจุบัน เครือข่ายชุมชนคนภาคใต้หลายจังหวัดได้ลุกขึ้นปกป้องท้องถิ่นตนเองจากโครงการ พัฒนาขนาดใหญ่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักในอนาคต และการถมทะเลภายใต้การวางแผนของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัทของนักลงทุนข้ามชาติ และพรรคการเมืองต่างๆ
       
       ทำให้แทบทุกจังหวัดของภาคใต้ประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนโฉมหน้าเพื่อรอง รับ "อุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ" หรือที่เราเรียกว่า "อุตสาหกรรมเลื่อนลอย" ที่คนกลุ่มน้อยและร่ำรวยอยู่แล้วเท่านั้นเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ทั้งยังเปลี่ยนพื้นที่ไปเรื่อยๆ อย่างไร้ความรับผิดขอบ ข้อเสนอของเราทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต่างละเลย ไม่แยแสต่อเสียงทักท้วง พยายามถ่วงเวลา ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร
       
       บัดนี้ รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ยิ่งตอกย้ำชัดเจนว่าจะดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ที่ภาคใต้ ผ่านนโยบายของพรรค การปราศรัย การให้สัมภาษณ์ในโอกาสต่างๆ ทั้งโดยตัวนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐบาล
       
       ณ โอกาสนี้ พวกเราชาวภาคใต้และเพื่อนมิตร ได้เข้าร่วม "ปฏิบัติการเพชรเกษม 41" และพร้อมกันนี้เรามีคำประกาศถึงรัฐบาลใหม่และพี่น้องประชาชนไทยในโอกาสแรก ดังนี้ 1.เราไม่ต้องการนโยบายพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในทุกพื้นที่ของเรา ไม่เอานโยบายขนส่ง สะพานเศรษฐกิจรองรับอุตสาหกรรม นโยบายพลังงานน้ำมัน แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ที่เต็มไปด้วยการทำลายชีวิตของคนท้องถิ่น หรือนโยบายอื่นใดที่ถูกกำหนดโดยคนอื่น
       
       2.หากเพชรเกษม 41 เปรียบเสมือนเส้นทางหลักในการพัฒนาภาคใต้ เราย่อมมีสิทธิกำหนด หมดเวลาสำหรับเส้นทางการพัฒนาที่เขากำหนดให้ สิ่งที่เราต้องการคือนโยบายการพัฒนาที่ประชาชนกำหนดขึ้นเอง
       
       อย่างไรก็ตาม ท่านทั้งหลายอาจมีคำถามว่า ถ้าไม่เอาอุตสาหกรรม ไม่เอาการพัมนาพลังงานและน้ำมัน หรือโครงการอื่นๆ ที่ส่วนกลางกำหนดให้ แล้วเราจะมีชีวิตอยู่กันอย่างไร จะมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างไร จะมีเทคโนโลยีอย่างไร ณ วันนี้เรามีเส้นทางที่เรากำหนดแล้ว และจะประเศนโยบายของเราในฉบับต่อไป
       
       ทั้งนี้ เพื่อผลักดันในสิ่งที่เราคิด แถลงมาข้างต้น เราพร้อมจะทำทุกอย่างเท่ากับสิทธิของประชาชนกระทำได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่ต้องการก่อปัญหา ไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ขอให้ท่านทั้งหลายได้ติดตามปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ในลำดับต่อไป
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

ทีมงานบ้านเรา

"เพชรเกษม 41" เข้มข้น เผยผังรัฐหมกเม็ดสร้างอุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 สิงหาคม 2554 01:04 น.    

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ปฏิบัติการ "เพชรเกษม 41" ณ วนอุทยานเขาพาง จ.ชุมพร ยังเข้มข้นต่อเนื่อง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชี้ชัดแลนด์บริดจ์และโครงการอุตสาหกรรมหนักไม่จำเป็น กับชีวิตคนใต้ ฝ่ายเครือข่ายวางแผนผังเมืองเพื่อชุมชนเผยรัฐเตรียมเดินหน้าโครงการ "ผังประเทศไทย 2600" หมกเม็ดให้สร้างอุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียวได้ ชาวจะนะลั่น! ไม่ยอมให้รัฐทำลายชีวิตซ้ำรอยโรงไฟฟ้า-โรงก๊าซอีก
       
       เมื่อวันที่ (21 ส.ค.) การอภิปรายบนเวที "ปฏิบัติการเพชรเกษม 41 ฅนใต้กำหนดอนาคตตนเอง" ยังคงเป็นไปอย่างเข้มข้น โดย ดร.อาภา หวังเกียรติ หัวหน้าสาขา วิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า โครงการอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้นั้น มีการว่าจ้างบริษัท JICA ของญี่ปุ่นเข้ามาศึกษาและวางแผนการก่อสร้างโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2528 แล้ว และในปี พ.ศ.2532 สมัยที่นายชาติชาย ชุณหะวัณเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตีก็มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนา "สะพานเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้" ให้เชื่อมโยงชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทยเข้าด้วยกัน ด้วยระบบคมนาคม ขนส่งแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบดด้วย ถนน รถไฟ ท่อน้ำมัน โดยฝั่งอันดามันนั้นเริ่มที่ จ.กระบี่ มาสิ้นสุดในฝั่งอ่าวไทย ที่ อ.ขนอม จงนครศรีธรรมราช
       
       ต่อมาใน พ.ศ. 2551 ในสมัยที่นายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีการรื้อแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคใต้ขึ้นมาใหม่ และในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก็มีการเชิญตัวแทนจากบริษัท ดูไบเวิลด์ มาศึกษาว่าจะผุดโครงการต่างๆ อาทิ โรงถลุงเหล็ก โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ เขื่อน ฯลฯ ขึ้นมาในพื้นที่ใดของประเทศไทยได้บ้าง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลใหม่ โดยการนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เตรียมผลักดันและเดดินหน้าโครงการต่างๆ อาทิ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์-คัญชุลี โครงการผันน้ำตาปี-พุมดวง โครงการขุดเจาะน้ำมันที่เกาะสมุย ใน จ.สุราษฎร์ธานี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปากน้ำละแม โรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อน และอาจมีโรงถลุงเหล็ก ใน จ.ชุมพร นิคมอุตสาหกรรม ใน จ.พัทลุง โรงถลุงเหล็ก อ.ระโนด แท่นขุดเจาะน้ำมัน อ.สทิงพระ โรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 อ.จะนะ ใน จ.สงขลา และท่าเรือน้ำลึกปากบารา ใน จ.สตูล เป็นต้น
       
       ดร.อาภา หวังเกียรติ ยังกล่าวอีกว่า ทำเลที่ตั้งของโรงแยกก๊าซนั้นจำเป็นจะต้องมีทะเล มีร่องน้ำลึก ชุมชนที่เป็นที่ตั้งของโรงแยกก๊าซจึงมักจะเป็นชุมชนชายทะเล ที่มีวิถีชีวิตแบบชาวประมงมาแต่เดิม ท่อก๊าซและโรงไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่แปลกแยกและไม่จำเป็นกับวิถีชีวิตของชาว บ้านแม้แต่น้อย เพราะพื้นที่ภาคใต้นั้นมีทรัพยากรด้านต่างๆ อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ทั้งป่าไม้ ทรัพยากรในทะเล และพื้นที่การเกษตร และหากปล่อยให้ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า โรงแยกก๊าซ เกิดขึ้นในพื้นภาคใต้อีก ภาคใต้ก็จะมีสภาพไม่ต่างไปจากมาบตาพุด มีโลหะหนักปะปนในดินและน้ำ มีสารก่อมะเร็งปนมาในอากาศ ดังนั้นไม่ว่าจะมองในมิติใด โครงการอุตสาหกรรมหนักก็ไม่จำเป็นสำหรับพื้นที่ภาคใต้
       
       ด้าน นางสุไรดะห์ โต๊ะหลี ตัวแทนเครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสงขลา เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มีโรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ชาวบ้านในละแวกนั้นก็ประสบปัญหาด้านสุขภาพและการดำรงชีวิต ตลอดมา โดยมีปัญหาด้านทางเดินหายใจ ปลูกผักไม่ขึ้น สัตว์เลี้ยงตาย ปลาตาย และรัฐไม่เคยมาเหลียวแลหรือแสดงความรับผิดชอบใดใดเลย
       
       "ตอนนี้ชาวบ้านเลี้ยงวัวไม่ได้ เลี้ยงปลาในกระชังไม่ได้ เพราะประสบปัญหาน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าและโรงแยกก๊าซ และมีแนวโน้มว่า อ.จะนะ กำลังเดินตามรอยมาบตาพุดไม่ผิดเพี้ยน ทั้งนี้ นอกจากผลกระทบโดยตรงที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านแล้ว ยังเกิดความแตกแยกในครอบครัวและชุมชน ระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับโครงการและผู้ที่คัดค้านโครงการอีกด้วย ด้วยบทเรียนที่ผ่านมา ชาวบ้าน อ.จะนะจึงไม่อยากให้มีโรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 ท่าเรือน้ำลึก และโครงการอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่อีก"
       
       นางสุไรดะห์ ยังกล่าวอีกว่า ก่อนที่จะมีการจัดตั้งโรงไฟฟ้าใน อ.จะนะ นั้น รัฐบาลในสมัยนายทักษิณ ชินวัตร ระบุแค่เพียงว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ แต่โรงฟ้าในขณะนี้มีกำลังถึง 745 เมกะวัตต์ จึงเท่ากับว่า รัฐโกหกและขี้โกงประชาชนไปถึง 45 เมกกะวัตต์ นอกจากนี้ ก็ยังมีการยืนยันว่าจะสร้างเฉพาะโรงไฟฟ้าเท่านั้น ไม่มีโครงการอื่นๆ ตามมา แต่ในที่สุดแล้ว อ.จะนะ ก็มีโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย เพิ่มมาอีกโรงหนึ่ง ซึ่งรัฐไม่เคยถามประชาชนในพื้นที่เลยว่าอยากได้และจำเป็นกับวิถีชีวิตของ ชุมชนหรือไม่
       
       ทั้งนี้ ล่าสุดปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวจะนะคือน้ำท่วมสูงมาก เนื่องมาจากการถมพื้นที่ป่าพรุระหว่างป่าชิงกับควนหัวช้าง นอกจากจะเป็นการปิดกั้นทางระบายน้ำในพื้นที่แล้ว ยังเป็นการทำลายอาชีพและแหล่งทำกินของชาวบ้านด้วย เพราะในพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีผัก มีปลา ให้ชาวบ้านเก็บกินและนำไปขายสร้างอาชีพได้ตลอดทั้งปี และตอนนี้รัฐก็ยังมีโครงการสร้างเขื่อนในพื้นที่สร้างเขื่อนในพื้นที่ ตอกย้ำการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชนอีก
       
       "ชาวจะนะโดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การออกมาเคลื่อนไหวตรงนี้นอกจากจะเกิดจากความเดือดร้อนที่เราได้รับโดยตรง แล้ว ยังเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อทางศาสนาด้วย เราเชื่อว่าพระเจ้าสร้างทรัพยากรทุกอย่างขึ้น เพื่อเอื้อประโยชน์แก่การดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ ดังนั้น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ก็เท่ากับเป็นการทรยศต่อพระเจ้าด้วย" ตัวแทนเครือข่ายประชาชนรักษ์สิ่งแวดล้อมสงขลา ก่อนจะทิ้งท้ายว่า "ตนอยากจะฝากให้พี่น้องภาคใต้ทั้งหลายสามัคคีกัน อย่าแตกแยกกัน เราต้องแสดงพลังรักบ้านเกิด รักษาทรัพยากร ต่อต้านโครงการอุตสาหกรรมเหล่านี้ให้ถึงที่สุด"
       
       ฝ่าย นางภารนี สวัสดิรักษ์ เครือข่ายวางแผนและผังเมืองเพื่อชุมชน เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐได้จัดทำ "ผังประเทศไทย 2600" ขึ้น โดยมติคณัรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2545 กำหนดให้พื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทยพัฒนาและอนุมัติงบประมาณให้สอดคล้องกับ "ผังประเทศไทย 2600" ดังกล่าว ซึ่งระบุไว้ว่า การพัฒนาต่างๆ นั้นต้องมีการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและท่อก๊าซรองรับอุตสาหกรรม ต้องมีนโยบายผันน้ำมาหล่อเลี้ยงโรงงานต่างๆ ในโครงการด้วย ซึ่งถ้าน้ำในประเทศไม่เพียงพอก็จะดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้านมาใช้
       
       "ผังประเทศไทย 2006 นี้ใช้งบประมาณซึ่งเป็นภาษีประชาชนไปถึง 148.423 ล้านบาท ถามว่าประชาชนที่จ่ายภาษีให้กับรัฐทราบเรื่องดังกล่าว และที่สำคัญประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่กำหนดให้มีการสร้างโครงการต่างๆ ก็ไม่ทราบและไม่มีส่วนร่วมกับโครงการนี้ด้วย เพราะเขาจัดการประชุมขึ้นที่กรุงเทพฯ"
       
       นางภารนี สวัสดิรักษ์ ยังเปิดเผยอีกว่า ใน "ผังประเทศไทย 2600" นั้นได้พลิกแพลงข้อมูลบางส่วนด้วย โดยแต่เดิมกำหนดให้พื้นที่ที่จะสร้างอุตสาหกรรมนั้นเป็นเขตพื้นที่สีม่วง และเขตเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแหล่งเพราะปลูกพืชนั้นเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ปรากฏว่า ได้มีการหมกเม็ด ใช้สีเขียวในพื้นที่ที่กำหนดให้สร้างโครงการอุตสาหกรรม หลบเลี่ยงให้เข้าใจผิดว่าพื้นที่อุตสาหกรรมนั้นมีน้อย แต่ความจริงแล้วได้เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้สร้างโรงไฟฟ้า โรงถลุงเหล็ก ในเขตพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมได้
       
       "แต่ขณะนี้ ผังประเทศไทย 2600 นั้นยังอยู่ในระหว่างการผ่านร่างกฤษฎีกา เราจึงยังมีความหวังว่าจะยับยั้งสิ่งเหล่านี้ได้ โดยแสดงพลังของภาคประชาชนให้รัฐบาลเห็น ว่าไม่ต้องการโครงการอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่" นางภารนี กล่าวปิดท้าย
       
       ทั้งนี้ บรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย ประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีการบริจาคเงิน อาหาร น้ำดื่ม ตลอดจนเลี้ยงอาหารละศีลอดแก่พี่น้องมุสลิมที่มาร่วมงาน และมีการแสดงกิจกรรมต่างบนเวที อาทิ มโนราห์ หนังตะลุง ละครของนักศึกษา เพื่อความเพลิดเพลินของผู้ร่วมงาน ก่อนจะสรุปงานเดินหน้ากิจกรรมเคลื่อนไหวต่อไปในวันพรุ่งนี้
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

ทีมงานบ้านเรา

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 สิงหาคม 2554 13:35 น.    

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายประชาชนภาคใต้และพลังนักศึกษาร่วมปิดถนนเปิดสภาเพชรเกษม 41 เพื่อร่วมกันแพลงกิ้งปกป้องแผ่นดินบ้านเกิด และให้รัฐมนตรีที่มาจากชาวบ้านขึ้นเวทีประกาศและเรียกร้องนโยบายพัฒนาภาคใต้ ด้วยสีเขียวซึ่งมาจากการคิดและตัดสินใจของประชาชนเอง เป็นมิตรต่อฐานทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เคารพวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ และเรียนรู้จักตัวเองด้วยความภาคภูมิใจ แทนการรวมศูนย์อำนาจและมีรัฐบาลรวมหัวนายทุนเหยียบหัวชาวบ้านยัดเยียดแผน พัฒนาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ให้คนเพียงกระจุกเดียว
       
       
       วันนี้ (22 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น. ณ วนอุทยานแห่งชาติเขาพาง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เครือข่ายประชาชนภาคใต้ได้ร่วมปฏิบัติการเพชรเกษม 41 เป็นวันที่ 2 จากเมื่อคืนมีเครือข่ายประชาชนจากภาคส่วนต่างๆ และตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยในภาคใต้ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รวมตัวกันแล้วครั้งหนึ่ง โดยจะมีการร่วมทำกิจกรรมเพียงครึ่งวันเช้า เริ่มจากการร่วมเขียนโปสการ์ดแสดงความรู้สึกต่อการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ที่ แสดงออกต่อการกำหนดอนาคตตัวเองในแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ส่งถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
       
       จากนั้นจึงเดินมาทำกิจกรรมบนถนนเพชรเกษม 41 ที่มีการปิดช่องจราจร 2 เลน โดยมีนายทรงวุฒิ พัฒแก้ว และนายวิโชค รณรงค์ไพรี เป็นแกนนำร่วมทำกิจกรรมโดยเริ่มจากการแพลงกิ้ง หรือนอนทำท่าแกล้งตายบนถนน เพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกอบอุ่นบนผืนแผ่นดินบ้านเกิด ที่มีความผูกพันมาหลายชั่วอายุคน ตลอดจนคิดทบทวนตัวเองต่อบทบาทในการร่วมปฏิบัติการปกป้องทรัพยากรในครั้งนี้ ซึ่งหากผู้ใดเข้ามาย้ำยีทำลายทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของบ้านเกิดแล้ว โดยเฉพาะวิกฤตของแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ที่กำลังจะเดินหน้าทุก จังหวัดนับตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ที่ดาหน้าผุดเกินความจำเป็นเพื่อป้อนให้กับนิคมอุตสาหกรรม โรงถลุงเหล็ก และยังต้องสร้างเขื่อนอีกหลายพื้นที่ให้กับโรงงาน เป็นต้น นับเป็นการเปิดศึกไล่ที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และแย่งทรัพยากรของชาวบ้านยิ่งกว่าที่เคยเกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมมาบตะพุด มาก่อน
       
       และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วประชาชนจะยอมเป็นผู้ถูกกระทำหรือไม่ ทำให้ประชาชนที่กำลังนอนแกล้งตายต่างลุกขึ้นตะโกนและประกาศว่าเราจะไม่ยอม พร้อมทั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อบอกกล่าวคนที่กำหนดแผนพัฒนาภาคใต้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ พร้อมทั้งทิ้งป้ายผ้าขนาดใหญ่ประกาศเจตนารมณ์ต้องการแผนพัฒนาที่กำหนดอนาคต ตัวเอง และจะไม่ยอมให้กลุ่มคนที่มีอำนาจซึ่งอยู่นอกพื้นที่เข้ามาทำโน่นทำนี่กับภาค ใต้ โดยที่คนในพื้นที่ต้องรับความเดือดร้อน และไม่ได้ยินยอมกับแผนพัฒนาใดๆ ที่คิดขึ้นมา
       
       ต่อมาได้มีการจำลองประชุมรัฐสภาบนถนนเพชรเกษมโดยให้รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างๆ ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกขึ้นเวทีเพื่อแถลงนโยบายต่อการพัฒนาภาคใต้ โดยมีใจความสำคัญว่าจะไม่ให้พื้นที่ภาคใต้มีการพัฒนาที่เป็นอุตสาหกรรม แต่จะเน้นการพัฒนาด้านเกษตร และบริการ การท่องเที่ยวตามฐานทรัพยากรที่มีอยู่ และต้องให้การศึกษาแก่เยาวชนให้เรียนรู้ความเป็นแผ่นดินไทย ประวัติศาสตร์ และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติซึ่งหล่อเลี้ยงทุกชีวิตแทนการรับใช้นายทุนที่คด โกงคนส่วนใหญ่เพื่อผลประโยชน์ของคนกลุ่มเดียว สอดคล้องกับแนวคิดที่จะต้องกระจายที่ทำกินแทนการมีที่ดินเพื่อเก็งกำไรของ กลุ่มทุน
       
       ด้านการปกครองนั้น เห็นควรให้รัฐบาลเร่งกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น เพื่อให้แผนพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นจากระดับล่างเป็นผู้กำหนดทิศทางของพื้นที่ตัวเอง ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เกิดขึ้นขณะนี้ เพราะคนส่วนกลางเข้ามาวางแผนทั้งสิ้น รวมถึงให้ยกเลิกตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ให้ท้องถิ่นได้เลือกตั้งกัน เอง ขณะเดียวกันให้เร่งรัดคดีการกระทำผิดของกลุ่มทุนที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน ด้วยเป็นการกระทำที่เบียดเบียนทั้งทรัพยากรของคนในประเทศแล้ว ยังทำลายวิถีชีวิต ความสงบสุขของเพื่อนมนุษย์อย่างไร้ความเมตตา
       
       ทั้งนี้ ได้มีการตอกย้ำเจตนารมณ์และจุดยืนว่า แผนพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคใต้นั้น ต้องตั้งตามศักยภาพของประชาชนในท้องถิ่น รักษาอาชีพประมงชายฝั่ง การสร้างพลังงานทดแทนจากวัสดุท้องถิ่น การเกษตรที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ การท่องเที่ยวที่เคารพชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อม ระบบเศรษฐกิจที่ไม่เอาเปรียบคนในชุมชน และการศึกษาที่ทำให้คนมีความภาคภูมิใจตนเอง โดยรัฐบาลต้องมีนโยบายการพัฒนาที่เป็นสีเขียวในภาคใต้นั่นเอง
สนับสนุนการขับเคลื่อนโดย
- ฮอนด้าพิธานพาณิชย์-อริยะมอเตอร์ www.phithan.co.th/hondaphithan
- ปาล์มสปริงส์ & ซิตี้รีสอร์ท บ้านและคอนโดคุณภาพจากเครืองศุภาลัย www.hatyainakarin.com
- ธีระการช่าง หาดใหญ่ (เยื้องบิ๊กซีคลองแห) โทร 086-4910345 www.facebook.com/teerakarnchanghy
- เอนกการช่าง ผู้นำการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร โทร 081-7382622 www.an-anek.com/contact.php
รีวิวธุรกิจ เกาะติดบ้านเมือง ร้อยเรื่องท้องถิ่น TLP 0897384215

ขอมุงด้วยคน

พัฒนาด้วยสีเขียวแบบไหนละครับบรรดาเครือข่ายที่เก่งแต่ปิดถนน ไม่เคยคิดอะไรที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านหรอก ดีแต่สร้างภาพแบบเดียวกับพรรคสะตอดักดาน หลอกให้ชาวบ้านเลือกเสาไฟฟ้าเป็น สส. บ้านเมืองจะไม่มีทางเจริญก้าวหน้าได้ ถ้ายังมัวงมโข่งอยู่กับความสิ้นคิดดักดานไม่ยอมรับเทคโนโลยี่และนวกรรมใหม่ๆ จึงจำเป็นที่เกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมต้องพัฒนาควบคู่ไปด้วยกัน เพียงแต่ต้องรู้จักผสมผสานสัดส่วนที่พอเหมาะเหมือนชงกาแฟต้องมีทั้งกาแฟ นม น้ำตาล ในสัดส่วนที่พอเหมาะถูกจะดื่มได้อร่อยมีรสชาด บ้านเมืองจึงจะพัฒนาไปอย่างถาวร ลองไปดูประเทศแถวสแกนเดียนดูซิ อย่ามองแต่มุมเดียวว่าอุตสาหกรรมทำให้วิถีชีวิตแย่ลง ทุกวันนี้การดำรงชีวิตในปัจจัยสี่ไม่ได้มาจากการพัฒนาของอุตสาหกรรมเหรอ อย่าหลอกตัวเองและอย่าปั่นหัวชาวบ้าน อคติแบบไร้ทิศทาง บ้านเมืองมีแต่พวกอยากดังแต่ไม่กล้าแสดงวิสัยทัศน์ มันจึงไม่พัฒนาเหมือนอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน ไง ชอบความดักดานโดยมักจะอ้างความพอเพียง แต่ไม่ศึกษาคำๆนี้ให้ลึกซึ้ง ส.อ่านหลังสือ ส.อ่านหลังสือ ส.อ่านหลังสือ ส.อ่านหลังสือ ส.ชิชิ ส.ชิชิ ส.ชิชิ ส.ชิชิ

เศรษฐกิจพอเพียง

การนำโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาพื้นที่ต้องดูความเหมาะสมของคนในพื้นที่ สิ่งแวดล้อม และวัตถุดิบด้วย  ไม่ใช่ยกโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นฐานผลิดอย่างเดียว มันก็แค่ได้รับผลประโยชน์อยู่ในกลุ่มเดียว คือ นายทุน ลองดูตัวอย่างเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้งฐานผลิดสิ  เช่น  สัตหีบ ศรีราชา  บางพลี  สมุทรปราการ  ชาวบ้านต้องอพยพย้ายบ้านกัน ที่อพยพไปไหนไม่ได้เพราะไม่มีเงิน ไม่มีที่จะไป จำเป็นต้องอยู่ พวกที่อยู่ก็ต้องจำทนเป็นโรคปอด โรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็งกัน  แล้วพวกเราจะหวังพึ่งเศรษฐกิจที่มีนายทุนเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตเราเหรอ  ความเจริญของประเทศไม่ได้มาจากอุตสาหกรรมอย่างเดียว  ความเจริญของประเทศไทยยังหาได้อีกหลายทาง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว  วัฒนธรรม ธรรมชาติ  เป็นต้น ดูอย่างประเทศลาวสิ ทำไมเขาอยู่ได้  เพราะเขาขายสิ่งที่เขามีอยู่อย่างมากมาย นั่นคือ วัฒนธรรม และ ธรรมชาติ  การให้ประเทศมีหน้ามีตาเทียบเท่ากับประเทศยุโรป ผมว่าคิดผิด นั่นคือปัญหาต่างๆจะตามมา ปัญหาอาชญากรรม  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ปัญหาชุมชนแออัด  ปัญหาค่อครองชีพสูง ฯลฯ แล้วเราจะอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีศักดิ์ศรี  หรือจะอยู่ใต้อำนาจของนายทุนเพียงไม่กี่คน ที่จะมากุมชะตาชีวิตของเราตลอดไป

จะค้านไปถึงไหน

ขอสนับสนุนโครงการนี้ 

สตูลทำเลดีจะตาย เป็นได้ทั้งเมืองท่า และเมืองท่องเที่ยว  แต่ NGO ก็ค้านลูกเดียว บอกว่า ไม่เอาอะไรสักอย่าง กุค้านแหลก  บอกจะทำท่องเที่ยว ทำประมง ทำเกษตรอย่างเดียว  แล้วความเป็นจริง คนในสังคมมันหลากกหลาย จะตามใจคนค้านทั้งหมดก็ไม่ได้  แล้วคนที่ทำงานสาขาอาชีพอื่นเขาก็ตายสิ   แล้วการท่องเที่ยวที่มีมากเกินไป ก็มีปัญาหสังคมเยอะแยะ  ไม่เชื่อไปดูพัทยา ภูเก็ต สมุยดู  ปัญหาโสเพณี ยาเสพติด มาเฟียข้ามชาติ ข้าวของแพง โรคระบาดต่างถิ่น น้ำเสียจากโรงแรม  ฯลฯ อย่านึกว่าการท่องเที่ยวคือคำตอบสุดท้ายของทุกอย่างสิเฟ้ย  หัดใช้สมองคิดบ้าง

NGO ชอบอ้างนักหนาว่า ทำลายสิ่งแวดล้อม  ก็แหงละ  ก็มันเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักที่สุดแล้วที่จะเอามาอ้าง ไม่งั้นไม่มีพลังขนาดนี้หรอก  ตอนนี้ภาพพจน์ของ NGO ในสายตาคนทั่วไป คือ พวกต่อต้านความเจริญ กลัวไปหมด  ชอบอ้างสิ่งแวดล้อม   คล้ายๆพวกสหภาพการรถไฟ  ระวังไว้


แต่ขอโทษ  ลองไปดูที่ปีนัง  มะละกา  สิงคโปร์  ไปดูสิว่า เขาบริหารจัดการอย่างไร  สิงคโปร์มีโรงกลั่น ท่าเรือ ปิโตรเคมี  ขนาดใหญ่ที่ไทยเทียบไม่ติด แม้แต่ขี้เล็บ แล้วเขามีปัญหาสิ่งแวดล้อมไหม  การท่องเที่ยวสิงคโปร์เป็นอย่างไร  แล้วยังเมืองปีนัง กับมะละกาอีก เป็นทั้งท่าเรือ  และมรดกโลก  ที่เรื่องท่องเที่ยว สตูลไม่ได้ขี้เล็บเลย 

จะทำประมงอย่างเดียว คนอื่นไม่มีสิทธิใช้ว่างั้น

เลิกอ้างสิ่งแวดล้อมได้แล้ว  เพราะถ้าจัดการดีๆ มันก็ไม่มีปัญหาหรอก  มาเลเซีย กับสิงโปร์เขาทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว  อย่าอยู่แต่ในกะลา



สิงคโปร์เป็นแค่เกาะเล็กๆเท่าเกาะภูเก็ต  แต่ทำไม่เขาทำได้ มีครบทุกอย่าง ถ้ามีแต่ควันพิษจริง คนสิงคโปร์คงตายไปทั้งเกาะแล้ว

จะค้านไปถึงไหน

แล้วระวังนะ เรื่องอะไรไม่ได้ดังใจแล้วปิดถนน  ทำให้คนเดือดร้อน  ระวังบทเรียนจากสหภาพ รฟท. ที่ไม่ได้ดังใจก็หยุดเดินรถ  ไล่ผู้โดยสารลงกลางทาง  ยึดหัวรถจักร  ตอนนี้ศาลแรงงานกลางเล่นงานพวกสหภาพแล้ว ไม่ปราณี

ระวังปิดถนนบ่อยๆ คนที่เขาไม่รู้เรื่อง เขาจะทนไม่ได้  คนที่อยู่กลางๆ สร้างก็ได้ ไม่สร้างก็ได้ หรือบางคนก็ไม่ได้สนใจอะไรพวกโครงการนี้เลย  คนพวกนี้แหละมีมาก  ถ้าปิดถนนแล้วเขาเดือดร้อน  เขาจะทำมาหากิน ถ้าเขาลุกอืนขึ้นมาเมื่อไหร่  จะหนาว



เกี่ยวกับเรา

อยากจะเล่า  ตอนที่คนปิดถนนทางเข้าโรงแยกก๊าซจะนะ  ทำให้ก๊าซ NGV ขาดแคลนทั้งภาคใต้  ปรากฎว่า คนขับรถ10ล้อ  คนขับรถตู้ เข้ากดดันพวกปิดถนน สุดท้ายพวกปิดถนนก็ต้องยอมเปิด 

ปล. ฟังเขามาอีกที

ความคิดเห็น สส.สตูล

ความคิดเห็นของสส.สตูล นายธานินทร์ ใจสมุทร



ในส่วนของจังหวัดสตูล มีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร



เดินหน้าสนับสนุนแผนพัฒนา ตามนโยบายของพรรคเพื่อไทย ที่จะดำเนินการโครงการแลนด์บริดจ์สงขลา–สตูล และท่าเรือน้ำลึกปากบารา รวมแผนพัฒนาสตูลสู่รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย



ผมขอให้กลุ่มต่อต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารามาคุยกัน ไม่ใช่คอยแต่จะเดินขบวนต่อต้าน อ้างปัญหาโน้นปัญหานี้ ขอให้มามาคุยกัน เรามีเหตุผลที่ต้องสร้าง ไม่ใช่มาชวนกันเดินขบวนต่อต้าน มันไม่ใช่ มาคุยกัน มาบอกเหตุผลว่า ทำไม่ไม่อยากให้สร้าง มีปัญหาอะไรให้มาคุยกัน เราเจ็บปวดกับการเดินขบวนมามากพอแล้ว



http://www.deepsouthwatch.org/node/2225

ตอบกลับอย่างรวดเร็ว

ชื่อ:
การยืนยัน:
กรุณาเว้นช่องนี้ว่างไว้:
พยัญชนะไทยตัวแรก:
shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง