ข่าว:

ทดลองใช้งานบอร์ดตะลุง ที่อยู่ในขั้นตอนการกู้คืนข้อมูล เบื้องต้นมีแต่กระทู้ (ข้อความ) กำลังกู้รูปภาพ ไฟล์แนบต่าง ๆ คาดว่าจะทยอยสมบูรณ์ภายในไม่ช้า

Main Menu

"นิด้า" เปิดตัวโมเดลปฏิรูปประเทศไทย 16 ด้าน

เริ่มโดย หาดใหญ่ใหม่, 15:27 น. 15 ก.ย 57

หาดใหญ่ใหม่

โดย เนชั่นทีวี www.nationtv.tv

[attach=1]

นิด้า - 15 ก.ย. 57 - "นิด้า" เปิดตัวโมเดลปฏิรูปประเทศไทย 16 ด้าน พร้อมเผยร่างปฏิรูปการเมือง,ยุติธรรม,บริหารราชการแผ่นดิน เน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วม

"สมบัติ" เสนอให้เลือกนายกฯ โดยประชาชน-พรรคการเมืองปลอดทุนครอบงำ - "บรรเจิด"?เสนอปฏิรูประบบยุติธรรมกระจายการตรวจสอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม เสนอประชาชนมีส่วนร่วมต้านอาชญากรรม - "อุดม"?เสนอปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ให้ยุบระบบบริหารระดับอำเภอและจังหวัด และให้ อปท.ทำหน้าที่ร่วมกับประชาชนมีบทบาทแทน

ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) คณาจารย์ของสถาบัน นำโดย นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดีนิด้า ฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  ร่วมแถลงข่าวเปิดนิด้าโมเดล ปฏิรูปประเทศไทย 16 ด้าน

โดยนายประดิษฐ์ กล่าวว่าบทบาทของสถาบันนิด้าที่ต้องดำเนินการ คือ หาข้อมูลและปัญหาประเทศที่ควรแก้ไขปรับปรุง โดยนักวิชาการของสถาบันตระหนักถึงข้อมูลการพัฒนา เมื่อพิจารณาย้อนหลังพบว่าหลายประเทศที่เมื่อ 30-40 ปีที่ล้าหลังกว่าประเทศไทย แต่ปัจจุบันกลับมีขีดความสามารถการแข่งขันที่เหนือกว่าประเทศไทย หากไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนรุ่นหลังจะอยู่อย่างไร

ดังนั้นอาจารย์ของสถาบันที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ จึงร่วมเสนอแนะแนวทางปฏิรูป จำนวน 16 ด้าน อาทิ ด้านปฏิรูปการเมือง, ด้านการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่นและสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้บริหารประเทศ, ด้านปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม, ด้านการฏิรูปการริหารราชการแผ่นดิน, ด้านการปฏิรูปการศึกษา, ด้านปฏิรูปด้านข้อมูลข่าวสาร, ด้านปฏิรูปการท่องเที่ยว, ด้านปฏิรูปสิ่งแวดล้อม, ด้านปฏิรูปพลังงาน เป็นต้น

"ภายในปลายเดือนกันยายน นี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปต่อผลการศึกษาและข้อเสนอการปฏิรูปทั้ง 16 ด้าน รวมถึงการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ในแนวทางต่าง จากนั้นจะส่งไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่วนนายกฯ จะส่งต่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือไม่ต้องรอดู อย่างไรก็ตามข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปฏิรูปที่สถาบันนิด้าดำเนินการถือว่ามีความเป็นรูปธรรมที่สุด  นอกจากนั้นแล้วสสถาบันฯรวมถึงยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนต่อการมีส่วนร่วมปฏิรูปประเทศไทย" นายประดิษฐ์ กล่าว
  
นายประดิษฐ์ กล่าวด้วยว่าถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่พบว่าในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูป มีบุคคลที่เป็นอาจารย์และศิษย์เก่าจากสถาบันนิด้า มากถึง 31 คน ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดหากนับตัวแทนจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ยกเว้นสถาบันของทหาร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในงานแถลงข่าวเปิดตัวนิด้าโมเดล ปฏิรูปประเทศไทย มีร่างข้อเสนอที่ประกอบด้วยรายละเอียดแบบย่อของการปฏิรูปใน 3 ด้านที่สำคัญ  คือ

1.ด้านการเมือง  ที่เสนอโดยนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์  เสนอว่าการปฏิรูปการเมืองต้องทำใน 2 แนวทาง ได้แก่ 1.ปฏิรูประบบพรรคการเมือง คือให้พรรคการเมืองไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของนายทุน ด้วยการกำหนดให้ประชาชนสามารถบริจากเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกินร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่เสียภาษีให้แก่พรรคการเมืองที่สนับสนุน รวมถึงกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้พื้นที่ใดเป็นของพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะด้วยการกำหนดให้พรรคการเมืองที่จะส่งคนลงเลือกตั้งต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศหรืออย่างน้อยร้อยละ 1 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ขณะที่การคัดเลือกผู้สมัครต้องให้ที่ประชุมตัวแทนพรรคแต่ละจังหวัดเป็นผู้คัดเลือก

และ2.ปฏิรูประบบและกระบวนการเลือกตั้ง ด้วยการใช้ระบบ E-Voting มาใช้ในการลงคะแนนและให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง  ส่วนการเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้ใช้ระบบบัญชีรายชื่อจังหวัด โดยพรรคการเมืองจะส่งจำนวนผู้สมัครตามสัดส่วนประชากร ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิ์ผู้ที่จะลงเลือกตั้งแบบอิสระ ส่วนวุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้งขององ์กรวิชาชีพตามกฎหมายทั้งหมด เพื่อให้ปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมือง

2.ด้านการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เสนอโดยนายบรรเจิด สิงคะเนติ   ด้วย 3 วิธี คือ 1.ให้ประชาชนมีส่วนร่วมต่อการป้องกันอาชญากรรมและระงับข้อพิพาท รวมถึงสร้างการตรวจสอบถ่วงดุลท่ีเหมาะสมโดยองค์กรกึ่งตุลาาการ  2.เพิ่มบทบาทให้พนักงานอัยการกลั่นกรองกฎหมาย หรือมีส่วนร่วมกับตำรวจในการทำหน้าที่ นอกจากนั้นต้องกระจายอำนาจไปยังบุคลากรในองค์กรที่เกี่ยวข้อง ที่มีความเชี่ยวชาญในการสืบสวนสอบสวน และ 3.ต้องเพิ่มกระบวนการคุ้มครอง เยียวยาเหยื่อจากกระบวนการยุติธรรมอย่างเหมาะสมและเพียงพอ 

3.ด้านการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอโดยนายอุดม ทุมโฆสิต  ด้วยการสร้างความเข้มแข็งและสร้างธรรมาภิบาลของรัฐ ได้แก่ 1.จัดระบบการเข้าสู่อำนาจที่ดี โดยใช้ระบบมืออาชีพมาใช้กับตำแหน่งบริหารทุกตำแหน่ง รวมถึงมีระบบวัดผล ชี้วัด ประเมินผลงานในทุกตำแหน่ง นอกจากนั้นต้องสังคยานาระบบธรรมาภิบาลของรัฐอย่างบูรณาการ ทั้งด้านความซื่อสัตย์, การใช้อำนาจรัฐ และความเป็นธรรมการได้รับประโยชน์และการมีส่วนร่วมขของประชาชน,

2.กระจายอำนาจไปสู่ประชาชน ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชน  ชุมชนมีส่วนร่วมคิดค้นและวิจัยปัญหาด้วยตนเอง รวมถึงให้บทบาทองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นต่อการบริหารอย่างอิสระ นอกจากนั้นต้องยกเลิกระบบบริหารส่วนภูมิภาคระดับจังหวัดและระดับอำเภอ และสนับสนุนให้จังหวัดใช้หลักบริหารราชการแผ่นดินภายใต้หลักการปกครองท้องถิ่น ที่มุ่งให้ประชาชนพึ่งตนเองและปกครองตนเองในส่วนที่เกี่ยวกับทุกข์สุขของตนเองโดยไม่ปฏิปักษ์กับรัฐ และให้จัดตั้งสภาปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ (สทช.) เป็นองค์รระบบไตรภาค คือ ผู้บริหารระดับสูงจากส่วนกลาง, ผู้แทนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีนายกฯ เป็นประธาน  

และ 3.แก้ไขความพิการเชิงโครงสร้างของระบบบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยการ ปรับบบาทการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคใหม่ โดยยุบรวมหน่วยงานระดับกระทรวงที่มีบทบาทหน้าที่ที่สัมพันธ์กันในแนวราบให้เป็นหน่วยงานเดียวกัน และตั้งกรรมการเฉพาะกิจเพื่อดูแลภารกิจอย่างบูรณาการ , ปรับบทบาทการบริหารราชการส่วนกลางและภูมิภาคใหม่  โดยเปลี่ยนหน่วยงานที่มีบทบาทให้การบริการกับประชาชน  ไปเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางและกำกับดูแลให้ไปทิศทางที่ต้องการ ส่วนการบริหารนั้นให้เป็นหน้าที่ขององค์กรมหาชน และถ่ายโอนให้ อปท.ไปทำหน้าที่แทน
หาดใหญ่ใหม่ www.facebook.com/hatyaimai
เมืองหลวงภาคใต้ หลากหลายเรื่องราว บอกเล่าแบ่งปัน